โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 9
- ชี้แจงรายละเอียดโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน
- แลกเปลี่ยนให้ข้อมูลการบริหารจัดการกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น ปี 2566
- ชี้แจงและวางแผนการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน 8 ประเด็น
- สรุปผลการดำเนินงานและวางแผนปฏิบัติการครั้งต่อไป
- ชี้แจงและทำความเข้าใจรายละเอียดโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน และสถานการณ์-ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชน ในประเด็น ดังนี้
1.1 ทำความเข้าใจกับคำว่า สุขภาพ คือ สุข+ภาวะ หมายถึง ภาวะที่เป็นสุข สถานการณ์สุขภาพชุมชนและปัญหาสุขภาพในชุมชนมาจากปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่ สารเสพติด/อุบัติเหตุ/มลพิษสิ่งแวดล้อม/โรคอุบัติใหม่/สุขภาพจิต) และโรคเรื้อรัง (อาหาร/กิจกรรมทางกาย) และยกตัวอย่างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ระดับความรุนแรงของสารเสพติดที่สร้างอันตรายและเสียหายต่อคน พบว่า เหล้ามีคะแนนความรุนแรงสูงที่สุด มากกว่ายาเสพติด
1.2 แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ ได้แก่ ส่งเสริมให้กรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในระบบสุขภาพชุมชน ทำให้กองทุนฯ มีแผนการดำเนินงาน รู้สถานการณ์และวางเป้าหมายได้ มีโครงการที่มีคุณภาพสอดคล้องกับแผน มีการติดตามประเมินผลเพื่อปรับปรุงแผน - แลกเปลี่ยนและสอบถามเป้าหมายการดำเนินโครงการกับการหนุนเสริมการบริหารจัดการกองทุนหลักประสุขภาพท้องถิ่น ปี 2566 ทั้ง 5 กองทุนเป้าหมาย
2.1 ให้ข้อมูลการดำเนินงานของกองทุนฯ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรของ สปสช.เขต ให้มีการแบ่งกลุ่มจังหวัด 2 กลุ่ม รพ.สต.ที่ถ่ายโอน ยังได้รับงบประมาณสมทบจาก สปสช.เหมือนเดิม โครงการ สสส.จะเข้ามาหนุนเสริมพัฒนางานกองทุน ให้เกิดโครงการที่มีคุณภาพและพัฒนานวัตกรรมของงานกองทุนได้มากขึ้น ระเบียบเกี่ยวกับกองทุนฯที่ปรับใหม่ - ต้องมีการขออนุมัติแผนการใช้จ่ายงบกองทุน เมื่อ สปสช.อนุมัติแผนแล้วจึงจะโอนงบสมทบ
- แผนกองทุน ต้องเอาปัญหาพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยต้องมีความเชื่อมโยงกับปัญหาของชุมชน(ใช้ข้อมูลจากหน่วยบริการ รพ.สต. และใช้กระบวนการประชาคม นำข้อมูลปัญหาสุขภาพ มาเรียงลำดับความสำคัญ) เพื่อมุ่งให้เกิดการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนได้จริง
- ไม่ให้มีเงินค้างเกิน 2 เท่า
- เพิ่มหมวดที่ 6 ให้จัดสรรงบในการซื้อผ้าอ้อมผู้ใหญ่ได้ (ผู้ป่วยเฉพาะราย)
- หลังเดือนมีนาคมของทุกปี กองทุนสามารถของบสมทบจาก สปสช.เพิ่มได้ โดยกองทุนต้องสมทบเพิ่ม 100%
2.2 เป้าหมายและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับการเข้าร่วมโครงการ คือ คณะกรรมการกองทุนฯ ได้พัฒนาศักยภาพตนเอง และการเก็บข้อมูลท้องถิ่น เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนา ได้นำข้อมูลไปพัฒนาเขียนโครงการ เพื่อตอบสนองท้องถิ่น ตอบโจทย์ตัวชี้วัด สอดคล้องกับความต้องการของแหล่งทุน (ภายใน ภายนอก) เกิดการบริหารจัดการกองทุนที่มีประสิทธิภาพ (ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน/วางรากฐานการพัฒนา เกิดการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ) เกิดโครงการที่มีประสิทธิภาพ “พร้อมยื่นของบประมาณ 2567 จากแหล่งทุนภายในและแหล่งทุนภายนอก”
3. วางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการบูรณาการกลไกสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ โดยมีแนวทางการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน ดังนี้
3.1 กองทุนฯ คัดเลือกทีมพี่เลี้ยง/คณะทำงานหลักจาก 2 ส่วน ได้แก่ อปท.+รพ.สต. (อย่างน้อย 5 คนต่อกองทุน)
3.2 คัดเลือกทีมเก็บข้อมูล (อย่างน้อย 5 คนต่อกองทุน)
3.3 กำหนดเก็บข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ก.พ.2566
3.4 นัดหมายกรอกข้อมูลในระบบออนไลน์และการสร้างแผนงาน วันที่ 24 ก.พ.2566
4. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเก็บข้อมูล ดังนี้
- ผู้ให้ข้อมูลเป็นตัวแทน 1 คน/ครัวเรือน
- ประเด็นคำถามเกี่ยวกับจำนวนผู้เสพยาเสพติด ซึ่งต้องประสานขอข้อมูลกับสถานีตำรวจหรือ รพ.สต. ในพื้นที่
- ประเด็นข้อมูล PM2.5 ให้สืบค้นข้อมูลจาก สนง.สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจังหวัด หรือเว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ