สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 8

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ เจ้าหน้าที่กองทุนฯ และผู้เสนอโครงการในเรื่องการจัดทำแผนงาน โครงการ การติดตาม ประเมินผล (ครั้งที่ 3-7)10 พฤษภาคม 2566
10
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นายศุภศิษฐ์ ราชกรม
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม…จัดประชุมทบทวนตรวจสอบ 10  แผนงาน  80 ตัวชี้วัดของกองทุนตนเอง  คำนวณขนาดสถานการณ์ของประเด็นปัญหาแต่ละตัวชี้วัด  เพื่อนำไปสู่การเลือกปัญหาเพื่อการทำแผนกองทุนตำบล วันที่ 10 พฤษภาคม 2566  ณ  ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง วันที่ 11 พฤษภาคม 2566  ณ  ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลท่าแร่ วันที่ 18 พฤษภาคม 2566  ณ ห้องประชุมสุขเกษม ชั้น ๕ อาคารสำนักงานเทศบาลนครสกลนคร วันที่ 19  พฤษภาคม 2566  ณ  ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลงิ้วด่อน วันที่ 26  พฤษภาคม 2566  ณ  ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลธาตุนาเวง ผู้เข้าร่วมทำกิจกรรม/ประชุม • ทีมงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดสกลนครระดับเขต ๘
• ทีมงานระดับตำบล ได้แก่ แอดมินและผู้ช่วยแอดมินคีย์ข้อมูล เจ้าหน้าที่ประจำกองทุนตำบล  พื้นที่เป้าหมายคือ           1.เขตพื้นที่ปกครองของเทศบาลนครสกลนคร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร รวม 8 คน 2. เขตพื้นที่ปกครองของเทศบาลตำบลท่าแร่ ต.ท่าแร่ อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร  รวม  6  คน 3. เขตพื้นที่ปกครองของเทศบาลตำบลธาตุนาเวง อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร            รวม 7  คน 4. เขตพื้นที่ปกครองของเทศบาลตำบลงิ้วด่อน อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร                รวม  9  คน 5. เขตพื้นที่ปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนคร  รวม  6  คน คณะทำงานจัดประชุมทบทวนตรวจสอบ 10  แผนงาน  80 ตัวชี้วัดของกองทุนตนเอง
-คำนวณขนาดสถานการณ์ของประเด็นปัญหาแต่ละตัวชี้วัด  เพื่อนำไปสู่การเลือกปัญหาเพื่อการทำแผนกองทุน โดย ดร.ปทมุทิพย์  ม่านโคกสงู หัวหน้าศูนย์ประสานสมัชชาสุขภาพฯ และทีมงาน -พิจารณาขนาดสถานการณ์ของประเด็นปัญหาแต่ละตัวชี้วัด เพื่อนำไปสู่การเลือกปัญหาเพื่อการทำแผนกองทุนของตนเองให้มีความเชื่อมโยงของส่วนประกอบในการทำแผน (สถานการณ์  วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด  แนวทาง/วิธีการสำคัญ  งบประมาณ  โครงการที่ควรดำเนินการ  โครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน โครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อติดตาม) -ให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นในการทำแผนกองทุน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ทีมงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดสกลนครระดับเขต 8 / ระดับอำเภอและทีมงานระดับตำบล ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดประชุมทบทวนตรวจสอบ 10  แผนงาน  80 ตัวชี้วัดของกองทุนตนเอง  ทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ พูดคุยแลกเปลี่ยนทำให้พื้นที่มีความเข้าใจในการคำนวณขนาดสถานการณ์ของประเด็นปัญหาแต่ละตัวชี้วัด  นำไปสู่การเลือกปัญหาเพื่อการทำแผนกองทุนตำบล