สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 8

ประชุมคณะทำงานระดับอำเภอ (ครั้งที่ 1) เพื่อวางแผน/เตรียมการดำเนินงานระดับอำเภอและตำบล (action plan)9 ธันวาคม 2565
9
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย วินัย วงศ์อาสา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ ประชุมคณะทำงานระดับอำเภอ (ครั้งที่ 1)
เพื่อวางแผน/เตรียมการดำเนินงานระดับอำเภอและตำบล (action plan)
วันที่ 9 ธันวาคม 2565 เวลา 09.00-16.00น. ณ ห้องประชุมสมาคมพัฒนาประชาสังคมไทสกล อ.เมือง จ.สกลนคร

เวลา 08.30-09.00น. ลงทะเบียน เวลา 09.00-09.30น. ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการโครงการบูรณาการกลไก สร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน
วิทยากรโดย นายวินัย วงศ์อาสา มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี
(ทีมพี่เลี้ยงเขต 10) เวลา 09.30-11.30น. บรรยายเรื่อง ตัวชี้วัดระดับกองทุนที่เข้าร่วมโครงการฯ
ตัวชี้วัดที่ 1 เก็บข้อมูลโดยแบบสำรวจ (10 ประเด็น) ได้แก่ อาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต) ตัวชี้วัดที่ 2 จัดทำแผนงานขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ในโปรแกรมออนไลน์
ตัวชี้วัดที่ 3 พัฒนาโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในโปรแกรมออนไลน์
วิทยากรโดย นายวินัย วงศ์อาสา มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี
(ทีมพี่เลี้ยงเขต 10)
เวลา 11.30-12.00น. คณะทำงานระดับเขต/อำเภอ (เขต 8) ซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เวลา 12.00-13.00น. พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.00-14.00น. บรรยายเรื่อง บทบาทหน้าที่ทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัด/อำเภอ วิทยากรโดย นายวินัย วงศ์อาสา มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี
(ทีมพี่เลี้ยงเขต 10)
เวลา 14.00-15.30น. บรรยายเรื่อง การวางแผนปฏิบัติการ เขต 8
วิทยากรโดย นายวินัย วงศ์อาสา มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี
(ทีมพี่เลี้ยงเขต 10) เวลา 15.30-16.00น. สรุปผลการประชุม และปิดการประชุม หมายเหตุ : รับประทานอาหารว่างระหว่างการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลสรุปการประชุม (9 ธันวาคม 2565) 1. แผนปฎิบัติงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน เขต 8 (อ.เมือง จ.สกลนคร พื้นที่ขยายผล 5 ตำบล) วัน/เดือน/ปี กิจกรรม 5 ธ.ค 65 ประชุมคณะทำงานระดับอำเภอ (ครั้งที่ 1) เพื่อวางแผน/เตรียมการดำเนินงานระดับอำเภอและตำบล (action plan) กลุ่มเป้าหมาย 5 คน ม.ค.-66 - ทีมพี่เลี้ยงลงพื้นที่ 5 ตำบล เข้าพบนายก อปท. เพื่อชี้แจงเป้าหมายของโครงการ - ประชุมชี้แจงเป้าหมาย/ขั้นตอนการดำเนินโครงการ และออกแบบการเก็บข้อมูลระดับตำบล กลุ่มเป้าหมาย 20 คน ม.ค. - ก.พ. 2566 เก็บข้อมูลระดับตำบล พื้นที่เป้าหมาย 5 ตำบล ก.พ. 2566- ก.ย.2566 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯเจ้าหน้าที่กองทุนฯ และผู้เสนอโครงการในเรื่องการจัดทำแผนงาน โครงการ ติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย 10 คน
(รวม 4 ครั้ง) ดังนี้
ครั้งที่ 1 เดือน ก.พ. 2566 ครั้งที่ 2 เดือน มี.ค. 2566 ครั้งที่ 3 เดือน มิ.ย. 2566 ครั้งที่ 4 เดือน ก.ย. 2566 พ.ย.-66 สรุปบทเรียนการดำเนินงานและวางแนวทางการพัฒนากองทุนตำบล กลุ่มเป้าหมาย 20 คน

  1. ตัวชี้วัดระดับตำบล
    1. มีการเก็บข้อมูลโดยแบบสำรวจ (10 ประเด็น) ได้แก่ อาหาร กิจกรรมทางกาย สุรา ยาสูบ สารเสพติด ปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ (โควิด-19) อุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจิต)
      *เก็บข้อมูลทุกกองทุนๆละ 400 ชุด
    2. จัดทำแผนงานขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ในโปรแกรมออนไลน์ อย่างน้อย 2 แผนงานต่อกองทุน (แผนงบปี 2566 และงบปี 2567)
    3. พัฒนาโครงการสร้างเสริมสุขภาวะในโปรแกรมออนไลน์  อย่างน้อย 2 โครงการต่อแผนงาน
      (รวมอย่างน้อย 4 โครงการต่อกองทุน)
    4. ได้รับอนุมัติงบประมาณจากกองทุน และมีการติดตามประเมินผลโครงการในโปรแกรมออนไลน์  (รวมอย่างน้อย 4 โครงการต่อกองทุน)