สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 1-6

ประชุมประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และทีมพี่เลี้ยงในเขต 2 และ37 มกราคม 2566
7
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย เพชรรุ่งเขต1
  • พชอกับนโยบาย _ พิจิตร _สุวิทย์.pdf
  • แผนกองทุน.pdf
  • ชี้แจงโครงการกองทุนสปสชและพชอ _พิจิตร.pdf
  • เชิญประชุม7 มค 256_พ002_00.pdf
  • เชิญประชุม7 มค 66_พ002_สปสช.2.pdf
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ 2) เพื่อวางแผนการจัดทำแผนปฏิบัติการกิจกรรมของโครงการในพื้นที่ เขต และ 3

1.ชี้แจงทิศทางสำคัญของการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน เขต 1 -6  ดังนี ทิศทางสำคัญของการดำเนินงานโครงการ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ แนวทาง และขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ  แผนการบริหารจัดการยกระดับกองทุนฯ เป็นศูนย์เรียนรู้ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 3 และ แผนการบริหารจัดการกองทุนสมัครใจในพื้นที่เขตสุขภาพที่2 และ 3 โดย นายสุวิทย์ สมบัติ  ผู้ประสานงานโครงการเขต 1-6

2.แนวทางการประสานงาน  การหนุนเสริมและสนับสนุนโครงการ การจัดทำแผนปฏิบัติการของโครงการในเขต 2,3
โดย นางสาวเพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์ 3.แลกเปลี่ยนแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการงานโครงการฯในพื้นที่ 2 และ 3 การใช้ประโยชน์จากโปรแกรมกองทุนตำบลและ ความสอดคล้องกับการบันทึกข้อมูลของโปรแกรมบันทึกข้อมูลสปสช. โดย พี่เลี้ยงเขตและจังหวัดและทีม 4.การคัดเลือกพื้นที่สนใจ การเตรียมพี่เลี้ยง 5.สรุปผลและปิดการประชุม โดย คุณสุวิทย์ สมบัติ และนางสาวเพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์ ุ6.สอบถามจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมชี้แจงการจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผ่านzoom meetingในวันที่11 มกราคม 2566

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีการจัดประชุมความร่วมมือกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องระดับเขต จังหวัด อำเภอและตำบลเขต 2,3 จำนวน 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุม 17 คน ประกอบด้วย ผู้ประสานงานระดับเขต (สป.สช. เขต 2 พิษณุโลก , สป.สช.เขต3 นครสวรรค์)  ผู้ประสานงานระดับจังหวัด  พี่เลี้ยงพื้นที่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ของจังหวัดในเขต 3 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดชัยนาทและจังหวัดพิจิตร  หน่วยงานที่เข้าร่วม  มูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาทและ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบรรพตพิสัยและ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
2. มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันที่จะดำเนินการตามตัวชี้วัด คือ ได้กองทุนฯ ที่เป็นศูนย์เรียนรู้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น  ในพื้นที่อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร  จำนวน 10 กองทุนและอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท จำนวน 7 กองทุน และกองทุนเปิดรับทั่วไป ของอำเภอบรรพตพิสัย  จังหวัดนครสวรรค์  จำนวน 5 กองทุน และอำเภอเก้าเลี้ยว  จังหวัดนครสวรรค์  จำนวน 5 กองทุน 3.จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมชี้แจงการจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผ่านzoom meetingในวันที่11 มกราคม 2566 ของเขต 2 และ 3 จำนวน 12 คน