สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
โครงการตลาดสีเขียวชุมชนlสาวอ (Greenmatket) 1 ก.ค. 2565

 

 

 

 

 

ประชุมเตรียมความพร้อมเปิดตลาดสีเขียว 2 ส.ค. 2565 2 ส.ค. 2565

 

หัวข้อ ประชุมชี้แจง เรื่องรูปแบบตลาด ปรึกษาหารือ ถามความเห็น เรื่อง แนวทางการจัดการรูปแบบตลาด และสถานที่ ร่วมกับผู้นำท้องถิ่น วันที่ 2 สิงหาคม 2565 08.30-09.00 ลงทะเบียน 09.00-10.15 รายงานตัว ชี้แจงการดำเนินงานกิจกรรมตลาดสีเขียว 10.15-10.30 พักเบรก 10.30-11.30 ระดมความคิดเห็นแนวทางการจัดกิจกรรมตลาดสีเขียว 11.30-12.00 แสดงความคิดเห็น สรุปและปิดการประชุม

 

ข้อสรุปจากการประชุม เรื่อง การเปิดตลาดใหม่ -ไม่สามารถจัดออกมาได้ เนื่องจากไม่เหมาะต่อบริบทในพื้นที่ และด้วยความน้อยประสบการณ์ของทีมงานในการเข้าถึงการประชาสัมพันธ์ รวมถึงค่านิยมในพื้นที่ ข้อแนะนำในที่ประชุม -เปิดแผงผักสดในตลาดที่มีอยู่ในพื้นที่
    -ตั้งหน้าร้านของร้านค้าในชุมชน
-ดูผลตอบรับและการรับรู้เรื่องผักปลอดภัยและจัดกิจกรรม มหกรรม

 

ทดลองเปิดตลาดเพื่อการประชาสัมพันธ์ตลาดสีเขียวที่จะเปิดตลาดในพื้นที่ตำบลสาวอ 6 ส.ค. 2565 6 ส.ค. 2565

 

ทดลองเปิดตลาดเพื่อการประชาสัมพันธ์ตลาดสีเขียวที่จะเปิดตลาดในพื้นที่ตำบลสาวอ

 

สรุปผลการทดลองเปิดตลาด -ผักกรีนโอ๊คและสะตอมีผลผลิตไม่พอต่อความต้องการของตลาด ข้อเสนอแนะ -ประชาชนให้ความสนใจในรูปแบบขอลการขายผักปลอดภัยในท้องถิ่น -ผู้บริโภคให้ความเห็นในเรื่องของการเปิดหน้าร้านในตลาดของชุมชน

 

อบรมทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดสีเขียวให้กับเกษตรกรในตำบลสาวอ 9 ส.ค. 2565 9 ส.ค. 2565

 

ชี้แจงรูปแบบตลาด/ทำความเข้าใจ/ทำความรู้จัก/Q&A/แบ่งกลุ่มเพื่อแบ่งโซนการทำงานและการผลิต ผู้เข้าร่วมอบรม -เกษตรกร จำนวน 64 คน -เยาวชน จำนวน 6 คน -เจ้าหน้าที่ อบต.จำนวน 7 คน -ผู้ใหญ่บ้านจำนวน 3 คน -ทีมงาน U2Tจำนวน 8 คน -ผู้นำศาสนาจำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 90 คน กำหนดการอบรม

08.30-09.00 น ลงทะเบียน 09.00-09.30 น เปิดพิธีโดย รองนายก นายมักตา สาและ 09.30-10.15 น ทำความรู้จักตลาดสีเขียว ชี้แจงวัตถุประสงค์ โดยทีมงาน นายอิสมาแอ ซามะ
10.15-10.30 น พักเบรก 10.30-12.00 น แนะนำตัวเกษตรกร ชนิดของผลิตผลทางการเกษตร 12.00-13.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00-13.30 น ชี้แจงรูปแบบการจัดการตลาดสีเขียว 13.30-14.30 น ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการรูปแบบตลาด 14.30-14.45 น พักเบรก 14.45-15.30 น แบ่งกลุ่ม วางแผนงานในการจัดพื้นที่การเกษตร และการเก็บผลผลิต 15.30-16.00 น สรุปและปิดการอบรม

 

ข้อเสนอแนะในที่ประชุม -หาพ่อค้าคนกลางรายใหญ่ -การจัดหาตลาด -เพิ่มการโปรโหมดให้หลากหลาย -ออกบูธเพื่อกระตุ้นยอดขายและการประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนรู้จัก -จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรให้เป็นทางการ -สร้างมาตรฐาน GMP -การประสานงานต้องมีความชัดเจนทุกครั้ง สรุปการอบรม เกษตรกรเห็นด้วยกับการเปิดตลาดสีเขียวและยินดีที่จะมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือกับการเปิดตลาดครั้งนี้ เพื่อเป็นการกระจายผลผลิตของเกษตรกรและเป็นการสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

 

แลกเปลี่ยนรูปแบบการจัดการตลาด มหกรรมศิลปวัฒนธรรม สืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระพันปีหลวง 14 ก.ย. 2565 14 ก.ย. 2565

 

รูปแบบกิจกรรม ศึกษาดูงานเกี่ยวกับลักษณะการเปิดตลาด การจัดระเบียบ การจัดหาพื้นที่ทำเล การออกแบบหน้าร้าน โปรโมชั่น การสร้างจุดเด่น เรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภค และการสร้างบริการที่ดีให้แก่ลูกค้า

 

สรุปผลการแลกเปลี่ยน 1.ได้เรียนรู้รูปแบบการจัดตลาดที่หลากหลาย น่าสนใจ นำสิ่งที่เป็นแรงจูงใจเพื่อให้ผู้คนมาเที่ยวชมตลาดของเรา 2.การแยกร้านค้าออกเป็นย่อยๆตามหน่วยงานและองค์กร เช่น สโมสรนักศึกษากับชมรม หน่วยงานภาครัฐกับร้านค้าชุมชน และเรื่องการจัดการระบบความปลอดภัยแยกเป็นต่างหากบริเวณจุดเข้างานทุกประตู 3.วิธีการสร้างจุดเด่นให้กับร้านค้าตลาดของแต่ละร้านที่ที่หลากหลาย เช่น การแต่งกายที่เชื่อมโยงกับสินค้า และการจัดตกแต่งหน้าร้านที่ดึงดูดและสะดุดตามองเห็นชัดเจน 4.ได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคและทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ของเรา ผู้บริโภคมองว่า ผลผลิตทางการเกษตรที่มาจากท้องถิ่นหายาก และควรส่งเสริมให้เกิดการค้าขายผลผลิตมากยิ่งขึ้น

 

ประชุมถอดบทเรียน 22 ก.ย. 2565 22 ก.ย. 2565

 

รูปแบบกิจกรรม -แลกเปลี่ยนเรื่องผลผลิตที่จะขายในระยะยาว และช่วงเวลาของผลผลิตที่สามารถขายได้ -จากการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเกษตรกรในการเปิดตลาดสีเขียวในครั้งนี้ คุณมีความคิดเห็นอย่างไรหรือจะเสนอแนะอะไรบ้าง?

 

สรุปผลที่ผ่านมา ประชาชนมีความสนใจผลิตภัณฑ์ที่เราขาย มีการเข้ามาสอบถามอยู่เรื่อยๆ แต่สินค้าของเราไม่มีเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า แต่บางช่วงเวลาสินค้าก็ล้นตลาด ทำให้เกิดความเสียหาย จึงมีผลทำให้ผลผลิตของเราไม่มีแบบต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ 1.ต้องพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเกษตรกรถึงประเภทของผลผลิต โดยการจัดตั้งกลุ่มแบบแบ่งประเภทของผู้ผลิต 2.ต้องหาเกษตรกรที่เป็นเกษตรกรแบบรายย่อยที่สามารถเพาะปลูกผักหลายราย หลายประเภท 3.หาตลาดที่สามารถรองรับผลผลิตที่มีจำนวนมาก