งานประเมินกองทุนจังหวัดภูเก็ต
- การปรับปรุงและพัฒนาโครงการที่มีอยู่เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในอนาคต 2. การเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินงานในอนาคตโดยการปรับปรุงกระบวนการและการทำงาน 3. สร้างความร่วมมือและเชื่อมโยงระหว่างองค์กรและเครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อพัฒนาโครงการในอนาคตให้เป็นไปตา
การถอดบทเรียนและวางแผนการดำเนินงานบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์ และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต - Phuket: Health for Future of Life” ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมบูกิตอันดา โรงแรมบูกิตตา บูทีค โฮเทล
08.40 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.15 น. กรอบการดำเนินงานบูรณาการกลไกฯ โดย นางสาวซูวารี มอซู
09.15 – 10.00 น. ผลการดำเนินงานบูรณาการกลไกฯ โดย ดร.ขวัญณภัสสร ชาญทะเล
10.00 – 15.00 น. แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม ทีมขับเคลื่อน ทีมขอรับทุน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
15.00 – 15.30 น. สะท้อนผลการถอดบทเรียน (รายกลุ่ม)
วันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566 09.00 – 09.30 น. ทิศทางบูรณาการกลไกฯ โดย นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว
09.30 – 12.00 น. แนวทางการดำเนินงานบูรณาการกลไกฯ โดย ดร.ขวัญณภัสสร ชาญทะเล สรุปเติมเต็มข้อมูลรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ
1.การก่อตัวของกลไก:เริ่มต้นด้วยความตระหนักต่อปัญหาในพื้นที่ เริ่มการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ การชักชวนบุคคล ชุมชน หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับประเด็นที่กำลังขับเคลื่อน ประกอบด้วยคนที่ได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ บุคคลหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงกับประเด็น นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปหรือผู้ที่สนใจ โดยอาศัยหลักคิดของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีโครงสร้างกองทุนฯ คณะกรรมการฯ คณะอนุกรรมการฯ **ทีมประเมิน ทีมสื่อ ทำหน้าที่เพื่อสนับสนุน กำกับดูแล ประเมินผล
2.การบริหารจัดการกองทุน
2.1 การสื่อสาร กองทุนมีการจัดตั้ง Line ชื่อว่า Phuket HFS เพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารกับคณะอนุกรรมการ และ Line ชื่อว่า งานกลไกจังหวัดภูเก็ตร่วมกับ อบจ.ภูเก็ต เพื่อความรวดเร็วและความคล่องตัวใน การติดต่อสื่อสาร แจ้งข้อมูลข่าวสารแก่เครือข่าย และยึดหลักการบริหารกองทุนฯ ด้วย POSDCROB PDCA และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2.2 แผนการทำงาน : กำหนดการกำหนดการประชุม คณะอนุกรรมการ 2 ครั้งต่อ 1 เดือนเพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ กำหนดการประชุมคณะกรรมการนโยบาย 2 เดือนต่อครั้ง มีกลไกพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือเครือข่ายในการเขีบยโครงการ มีทีมติดตามงานเข้าร่วมติดตามความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนกิจกรรมของเครือข่าย 3 คน/โครงการ
2.3 การพิจารณางบประมาณ : ประเด็นเชื่อมโยงกับ NCDs ภาคีเครือข่ายสุขภาวะภูเก็ต วงเกินไม่เกิน 100,000 บาท ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี ผู้รับทุนต้องร่วมสมทบโครงการ ต้องมีภาคีร่วมดำเนินโครงการ อนุมัติโครงการเดือนละ 2 ครั้ง ทีมติดตามประเมินผลทีมละ 3 คน/โครงการ
3.ผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการ
3.1 จำนวนโครงการ ซึ่งแบ่งเป็น มีโครงการยื่นเสนอ 5 โครงการได้รับงบประมาณ 3 โครงการและถูกเสนอไประดับจังหวัด 1 โครงการ รวมทั้งมีโครงการรออณุมัติ 14 โครงการ ในปีงบประมาณ 2567
3.2 ขยายเครือข่าย การขยายขอบเขตของโครงการ ฯ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น เด็กและเยาวชน และกลุ่มเปราะบาง ทำให้โครงการมีผลกระทบที่มากกว่าและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น
3.3 เกิดกลไกการทำงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพทำให้โครงการ ฯ มีความสำเร็จและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่
3.4 การบูรณาการงบประมาณร่วมกัน: โครงการนี้ได้สร้างกลไกการบูรณาการงบประมาณร่วมกัน ที่ช่วยให้หลายหน่วยงานและเครือข่ายที่เข้มแข็งร่วมทำงานร่วมกัน แบ่งปันทรัพยากร และสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4.ปัจจัยความสำเร็จ/ไม่สำเร็จในการดำเนินงานโครงการ
ปัจจัยความสำเร็จ:
1. เครือข่ายที่เข้มแข็ง
2. การบูรณาการงบประมาณ
3. คณะกรรมการและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจและควบคุมการดำเนินงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ
4. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ปัจจัยความไม่สำเร็จ:
1. การวางแผนและการบริหารเวลาที่ไม่เหมาะสม
2. ครือข่ายที่เข้มแข็งอาจมีสมาชิกที่มีความเหมือนซ้ำกันในเรื่องความรู้และความเชี่ยวชาญ ทำให้เกิดความขาดความหลากหลายในการดำเนินงาน
3. การเปลี่ยนแปลงในนโยบายหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอาจส่งผลให้โครงการต้องปรับปรุงแผนการดำเนินงานและทรัพยากรในขณะที่การประยุกต์ใช้นโยบายหรือกฎหมายใหม่อาจเพิ่มความซับซ้อนในการดำเนินงาน
4. สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เสถียรหรือการเปลี่ยนแปลงในตลาดอาจส่งผลให้โครงการไม่สามารถใช้ทรัพยากร
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
อนุกรรมการฯ ทีมวิชาการ เครือข่ายผู้ขอรับทุน