สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

เกษตรกรรมยั่งยืน

ทบทวนการจัดทำยุทธศาสตร์ภายใต้แผนปฎิบัติการ พื้นที่นำร่องเกษตรกรรมยั่งยืนพื้นที่จังหวัดพัทลุง15 ตุลาคม 2565
15
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Kero
  • สรุปผลการจัดเวทีทบทวนข้อมูลทุนและศักยภา.docx
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนการขับเคลื่อนงานเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประสานรวบรวมข้อมูล/สังเคราะห์ข้อมูลและกำหนดวันประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการพื้นที่นำร่องเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นจะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจะได้มาซึ่งแผนยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยฐานข้อมูลจริงจากพื้นที่  คณะทำงานปฏิบัติการพื้นที่นำร่องเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดเวทีทบทวนข้อมูลทุนและศักยภาพพื้นที่ ขึ้นเมื่อวันที่ 15-16 ตุลาคม 25565 ณ  ทรัพย์นาคารีสอร์ท  อ.ป่าพะยอม  จ.พัทลุง  โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 42 คน การดำเนินการเป็นการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามภูมินิเวศของจังหวัดพัทลุง คือ เขา ป่า นา เล ซึ่งลักษณะภูมินิเวศน์นี้จะ เป็นทั้งลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิถีความเป็นอยู่และวิถีการผลิต ตลอดจนภูมิวัฒนธรรมอันเกี่ยวเนื่องมาจากภูมินิเวศน์นั้น ๆ ดังต่อไปนี้
ภูมินิเวศน์ เขา-ป่า คือบริเวณตอนในของจังหวัดพัทลุงซึ่งอยู่ริมเทือกเขาบรรทัด ได้แก่
- อำเภอกงหรา
- อำเภอตะโหมด
- อำเภอศรีนครินทร์
ภูมินิเวศน์ นา- เล คือบริเวณที่ราบระหว่างทะเลสาบและเทือกเขาบรรทัด ได้แก่
- อำเภอเมือง
- อำเภอควนขนุน
- อำเภอบางแก้ว
- อำเภอเขาชัยสน
- อำเภอปากพะยูน
- อำเภอป่าบอน

1. อ.กงหรา ตะโหมด ศรีนครินทร์<br />

1.1 ด้านสังคม
ปัญหา - ไม่มีเอกสารสิทธิ์ทำกิน
- บ้านไม่มั่นคง ด้อยโอกาส ไม่มีที่อยู่อาศัย (อยู่ในกงสี - บ้านเจ้านาย) ไม่มีทรัพย์สิน
- คนในครอบครัวไม่มีเวลาให้เพื่อนบ้านไม่สัมพันธ์/ไม่รู้จักกัน
ความต้องการ - ให้สำรวจปัญหาผู้เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย (แต่งงานไปแล้ว ยังอยู่บ้านเดิม ไม่ได้ออกไปสร้างบ้านใหม่)
- ต้องการให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ให้คนอยู่กับป่าได้ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน
1.2  ด้านเศรษฐกิจ
ปัญหา
- ราคายางตกต่ำ
- ไม่มีเอกสารสิทธ์ ในส่วนของผู้ปลูกยางพารา พบว่า มีผู้ปลูกยางพาราที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ประมาณ 10,000 ครัวเรือน หรือประมาณ 40,000 คน และพื้นที่รวมกันกว่า 120,000 ไร่ - เรื่องสวัสดิการคนกรีดยาง กรณีตายระหว่างกรีดยางระหว่างเที่ยงคืน ถึงเที่ยงวัน ได้รายละ 250,000 บาท
- เรื่องราคาข้าวและพืชอื่น
- เรื่องการรับรองมาตรฐานกันเอง
- ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ทำกิน - ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องคนรุกป่า
ความต้องการ - ให้มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรดั้งเดิม เช่น ยางพารา
- อยากให้องค์กรชุมชนสามารถรับรองสิทธิ์ได้
1.3  ด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหา -  เรื่องโครงสร้างพื้นฐานทำลายลาธารธรรมชาติ -  ขาดน้ำทำการเกษตรในฤดูแล้ง
ความต้องการ - ต้องทำชลประทานต้นน้ำ - ต้องปรับปรุงดิน - น้ำ
- ส่งเสริมจิตสำนึกในการดูแลป่าต้นน้ำ
- ขอให้องค์กรชุมชนผลักดันเรื่องเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ ปลอดสารเคมี
- ต้องมีการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐที่เข้ามาดูแลเกษตรกร เช่น มหาดไทย อุทยาน ฯลฯ เพื่อ รับรองสิทธิ์ในการเป็นเกษตรกร 1.4  ทุนในพื้นที่ -  มีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ - มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการจัดการน้ำ - มีเครือข่ายภาคประชาชนหลายองค์กร เช่น สมาคมคนรักษ์ลุ่มน้ำพัทลุง  กลุ่มทำนาปลอดภัย ต.ตะโหมด  เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน  เครือข่ายสินธุ์แพรทอง  กลุ่มคนกล้าคืนถิ่น - มีพื้นที่ต้นแบบในการทำเกษตรยั่งยืน เช่น เครือข่ายสวนยางแปลงใหญ่ที่อำเภอตะโหมด  พื้นที่นาปลอดภัยที่ตะโหมด 2. อำเภอศรีบรรพต และอำเภอป่าพะยอม
2.1 ด้านเศรษฐกิจ
ปัญหา - การปลูกยางพาราเกินความต้องการของตลาด
- ขาดการส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศอย่างจริงจัง - มาตรฐานคุณภาพที่ทำให้ส่งออกยาก
- นโยบายของภาครัฐไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน
- การเปลี่ยนแปลงสภาพสวนยางพารา ไม่สอดคล้องกับสภาพวิถีชีวิต
- ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ โค่นยางไม่ได้
ความต้องการ
-การแปลงสวนยางเป็นป่ายาง ต้องเพิ่มมูลค่าในการใช้พื้นที่
- ถ้าโค่นได้ ก็จะลดจำนวนต้นยางลงได้ และให้ปลูกไม้ยืนต้นทดแทน
- ลดต้นยางตามความเหมาะสมของพื้นที่ ไม่ควรเอานามาปลูกยางพารา
- รวมกลุ่มเพื่อยกระดับการผลิต
- ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าให้ครบวงจร
- ทบทวนนโยบายของรัฐให้เหมาะสมกับสภาพวิถีชีวิต
- ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการผลิตในวิถีอินทรีย์
- ส่งเสริมการผลิตพืชที่หลากหลาย ไม่ส่งเสริมการผลิตพืชเชิงเดี่ยว 2.2 ด้านสังคม
ปัญหา -สังคมเปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นสังคมเมืองทำให้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเริ่มห่างเหินกัน -การแพร่ระบาดของยาเสพติด จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเมืองหลวงพืชกระท่อมของภาคใต้ -ปัญหาการใช้ความรุนแรงและอาชญากรรม ความต้องการ - ต้องมุ่งเน้นที่การสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง
- ส่งเสริมการดูแลพัฒนาเด็กในทุกช่วงวัย
- ดูแลผู้สูงอายุให้เหมาะสม


2.3 ด้านสิ่งแวดล้อม
ปัญหา - มีพื้นที่พิพาทระหว่างรัฐกับชาวบ้าน พื้นที่โฉนด ร้อยละ 80 เป็นของคน 10 นามสกุล
- มีการบุกรุกป่า จากนโยบายภาครัฐและเอกชน มีการใช้กฎหมายในการบริหารจัดการป่า แต่พื้นที่ป่าลดลง ความต้องการ - ยกเลิกการใช้สารเคมี ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
- หมอดินต้องทำงานเชิงรุก
- ยกเลิกนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
- รัฐต้องหนุนเสริมกองทุนที่ดินในระดับตำบล ชพค. มีเงิน 6,000 ล้านบาท แต่ใช้ทำงานไม่ได้ เพราะขาดกลไกในระดับตำบล
- ควรส่งเสริมการปลูกป่าในพื้นที่ของรัฐและเอกชน
- ต้องมีการทบทวนกฎหมายและนโยบาย ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เรื่องของการกระจายอำนาจรัฐต้องให้ท้องถิ่นบริหารจัดการพื้นที่ให้ได้ ชุมชนต้อง ออกกฎในการบริหารจัดการพื้นที่ป่า คนในชุมชนต้องช่วยกันดูแลป่า
- บังคับใช้กฎหมายกับผู้ทำน้ำเสียอย่างจริงจัง
- การบริหารจัดการน้ำต้องไม่ใช่แค่การ ขุดลอกคูคลอง แต่ต้องอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย
- ส่งเสริมการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน 2.4  ทุนในพื้นที่ -  มีมหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่เรียนรู้ของชุมชน
- มีต้นทุนผลิตภัณฑ์เกษตรที่หลากหลาย
- เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ - มีแหล่งเรียนรู้ตลาดต้นไม้ชายคลอง - มีเครือข่ายภาคประชาชนหลายองค์กร เช่น กลุ่มคนต้นน้ำตะแพน  เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน  กลุ่มคนกล้าคืนถิ่น  เครือข่ายนวัตกรชุมชนของมหาวิทยาลัยทักษิณ
3. อำเภอเมือง
3.1 ด้านเศรษฐกิจ
ปัญหา - พึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก
- การตลาด มีปัญหาการปลูกตามคนอื่น ปลูกแข่งกันเอง หาตลาดไม่เป็น
- ขาดความรู้ในการจัดการข้อมูล
- ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
- ภาระหนี้สินมาก
ความต้องการ - ทำแผนเชิงระบบกันใหม่ ตั้งแต่การปลูก การดูแล การตลาด
- การจัดการข้อมูล ให้คนปลูกอยู่ได้ คนกินอยู่สบาย
- กลุ่มเกษตรต้องร่วมมือกันเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายและพัฒนาเป็นกลไกจังหวัด และหวังว่าคน บริโภคก็จะจับมือกันเพื่อเลือกบริโภคอาหารปลอดภัย ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเรื่องเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุง
- พัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลผลิตและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจาก การเกษตรที่มีศักยภาพให้เกิดมูลค่าเพิ่มและการพัฒนาพลังงานทางเลือกเพื่อการพึ่งพาตนเอง รวมกลุ่มผู้ผลิต เพื่อต่อรองและเป็นเพื่อนกับผู้บริโภค 3.2 ด้านสิ่งแวดล้อม
ปัญหา - วัชพืชในแหล่งน้ำ มีผักกระฉูด (คล้ายผักกระเฉด) รื้อจากลำคลองมาทิ้งไว้ริมคลองก็จะงอกมาอีก
- หมา แมว จรจัด ภาครัฐเคยทำเรื่องขึ้นทะเบียน แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่คาดหวัง ความต้องการ
-    สารเคมีทางการเกษตร แม้จะใช้น้อยแต่ก็มีผลกระทบต่อภาพรวม -ต้องแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์เท่านั้น
-ต้องจดทะเบียนพร้อมทำหมัน เพื่อลดการเกิดและควบคุมประชากร หมา แมว
-การคัดแยกขยะ ร้อยละ 90 เป็นขยะอินทรีย์ที่ควรจะถูกนำไปแปรรูปเป็นปุ๋ยหมัก ส่วนขยะอื่น โดยเฉพาะสารเคมีที่จัดการยากควรให้หน่วยงานราชการจัดจุดทิ้งที่เหมาะสม ต้องพัฒนาจิตสำนึก ต้องใช้เทศบัญญัติ กฎท้องถิ่นควบคุมควบคู่ไปกับการให้ความรู้แก่ประชาชน
3.3 ด้านสังคม
ปัญหา -  สภาพปัญหาสังคม เช่น เด็กอ้วน เด็กติดเกมส์ เด็กติดยา ติดพืชกระท่อม -  มีค่านิยมให้นักเรียนมาเรียนในตัวเมือง ทำให้รถติดและโรงเรียนรอบนอกไม่มีคนเรียน เสี่ยงต่อการถูกยุบ -  ปัญหาเรื่อง เบาหวาน ความดัน หัวใจ เป็นโรคยอดฮิตตามกระแสสังคม มาจากการกินของเค็ม ของมัน ของหวาน ซึ่งมีสาเหตุมาจาก การบริโภคสมัยใหม่ ขาดความรู้ทางโภชนาการ ทานอาหารเพิ่มสารปรุงแต่ง

ความต้องการ -บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
-ให้ความรู้ ส่งเสริมอาหารคลีน ปรับปรุงพฤติกรรมการกิน ส่งเสริมการปลูกสมุนไพร กิน อาหารให้เป็นยา
4. อำเภอควนขนุน
4.1 ด้านเศรษฐกิจ
ปัญหา - จังหวัดพัทลุงสามารถผลิตข้าวได้เพียงพอต่อการบริโภคในจังหวัด เป็นอันดับ 2 รองจากนครศรีธรรมราช แต่ขณะนี้มีพื้นที่ผลิตข้าวลดลง และคนเมืองพัทลุงไม่กินข้าวที่ปลูกในพัทลุง ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้อข้าวมากถึง 1,800 ล้านบาทต่อปี
- .ในพื้นที่เป็นพื้นที่ผลิตข้าวสำคัญแต่ไม่สามารถตั้งโรงสีข้าวได้ หากต้องการสร้างโรงสีข้าว หากเกิน 5 แรงม้า ต้องดำเนินการในเขตผังเมืองสีม่วงคือที่อำเภอป่าบอน - การประมง มีทะเลสาบ มีลำคลอง แต่ปริมาณสัตว์น้ำสำหรับบริโภคไม่เพียงพอ อาหารทะเลที่กิน ในตลาดพัทลุงนำมาจากภาคกลาง ไข่ปลาทะเลน้อยเอามาจากปลาไน  ภาคกลาง ความต้องการ - คนเมืองพัทลุงควรจะกินข้าวที่ปลูกในเมืองพัทลุง เพื่อลดเงินรั่วไหลออกนอกจังหวัด ให้พึ่งตัวเองได้ และควรเป็นข้าวอินทรีย์ที่ปลอดภัย
- ต้องเพิ่มพื้นที่นาอินทรีย์ โดยมีมาตรการสร้างแรงจูงใจของรัฐให้คนที่ทำนาเคมีหันมาปลูกข้าวอินทรีย์มาก
- ทีมงานคนตัดยางทำเรื่องสวัสดิการคนตัดยางทำถือว่าดีแล้ว แต่หากทำได้ถึงขนาด คนพัทลุงเลิกพึ่งยางพารา ปาล์มน้ำมัน (พืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว) ด้วยการทำป่ายาง ป่าปาล์ม เพื่อให้เกิดการมีแหล่งอาหารเพิ่มขึ้น
- ผลักเป็นนโยบายของจังหวัดเรื่องปลาน้ำจืดให้พอกับคนพัทลุงกินพอ 4.2 ด้านสิ่งแวดล้อม
ปัญหา - ไม่มีการจัดการลุ่มน้ำ
- การพัฒนาทะเลน้อย ไม่จริงจัง ไม่ประสบความสำเร็จและประชาชนรอบ ๆ ทะเลน้อย ไม่ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษาทะเลน้อย -  การจัดการน้ำถูกควบคุมโดยภาครัฐ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก การควบคุมการปล่อยน้ำไม่สอดคล้องกับวิถีการทำการเกษตรในพื้นที่ - การขุดลอกแบบล้างผลาญ ท าลายแหล่งเก็บกับน้ำ เช่น การขุดลอกที่ทำลายพืชริมตลิ่ง โดยเฉพาะต้นจาก ต้นสาคู และการขุดลอกที่ทำลายแหล่งอนุบาลพันธุ์สัตว์น้ำไปเสียทั้งหมด
- การทำนาท้องตม ที่ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะทำได้ดีเพียงใด นอกจากนี้ยังมีเรื่องปุ๋ย และ ยาปราบศัตรูพืชที่ใช้ในการทำนา ที่ทำให้คนที่ตั้งใจทำนาอินทรีย์ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์ข้าวปลอดภัยได้อย่างจริงจังด้วย ความต้องการ -ควรจะต้องมีการออกแบบแผนงาน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพทะเลน้อยเป็นการพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะ 5. อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว และปากพะยูน 5.1 ด้านเศรษฐกิจ
ปัญหา - ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะยางพารา ข้าว ตกต่ำมาก
- ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น
- ไม่มีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ชุมชน เปิดตลาดนัด - ขาดการหนุนเสริมด้านเศรษฐกิจของชุมชน รัฐมักมาส่งเสริมสิ่งที่ประชาชนไม่จำเป็นและ ไม่ต้องการ และถ้าปฏิเสธรัฐก็จะเสียโอกาส
- ขาดกลุ่มวัยแรงงานภาคผลิต
- ขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบ ทำให้การกำหนดแผนทางการเกษตรมีปัญหา - รายได้จากผลิตผลทางเกษตรตกต่ำ กับการขาดอำนาจต่อรองกับผู้ค้า เพราะต่างคนต่างทำ วิสาหกิจชุมชนมีมากแต่ไม่รวมตัวเป็นกลุ่ม เพื่อต่อรองราคาซื้อวัตถุดิบ เช่น ตอนนี้มีผู้ประกอบการในชุมชนที่เลี้ยงปลาอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณได้ว่าต้องซื้ออาหารมาเลี้ยงปลาวันละกว่า 200,000 บาท หากสามารถรวมตัวกัน เป็นกลุ่มเดียว แล้วเสนอราคาซื้อในนามกลุ่มก็จะได้ราคาที่ถูกกว่านี้แน่นอน ความต้องการ - ควรส่งเสริมการนำผลผลิตทางเกษตรมาแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า เพิ่มช่องทางขายสินค้าชุมชนทางออนไลน์ รวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง เพื่อความหลากหลายในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ใช้หลัก 4P มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สหกรณ์พัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
- ส่งเสริมการใช้ เชื้อเพลิงทดแทน ไบโอดีเซล
-  ทำห้างสรรพสินค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน
- ส่งเสริมให้ทำบัญชีครัวเรือนทั้งตำบล
-  ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ ไม้ไผ่
- การพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ต้องมีการส่งเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ต้องรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ แปรรูปผลผลิต ผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ ส่งเสริมการแปร รูปโดยมีตลาดแลกเปลี่ยนซื้อขายผลผลิตทางเกษตร แล้วเอาของ OTOP  ไปส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว โดยชุมชน โดยรัฐส่งเสริมและเปิดพื้นที่ด้วย
5.2 ด้านสังคม
ปัญหา - ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด และการพนัน
- ปัญหาครอบครัวหย่าร้าง - ปัญหาผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ขาดคนดูแล ต้องฝึกฝนทักษะให้ผู้ดูแล และสนับสนุนให้เบี้ยยังชีพ ความต้องการ -  ควรติดกล้องวงจรปิดทุกหมู่บ้าน จัดให้มีการ ตั้งด่าน
-  ส่งเสริมอาชีพ/คุณธรรมให้คนที่ติดยาเสพติด
- อบรม พอช. ต้องสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหา
5.3 ด้านสิ่งแวดล้อม
ปัญหา - ไม่มีการจัดการขยะอย่างถูกต้อง - การเลี้ยงสัตว์บนถนน ก่อให้เกิดปัญหาการจราจร - การใช้เครื่องมือช็อตปลา - แหล่งน้ำ สัตว์น้ำลดน้อยลง ความต้องการ - ควรสนับสนุนการใช้ปุ๋ยของชุมชน
- ต้องใช้มาตรการทางกฎหมาย กติกาทางศีล
- ส่งเสริมให้มีศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

แกนนำและภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานเกษตรกรรมยั่งยืน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่