นโยบายสวนยางยั่งยืน
ประชุมปรึกษาหารือและพัฒนากลไกความร่วมมือระดับจังหวัดและภาคใต้ และติดตามความก้าวหน้าของคณะทำงาน
ประสานงานรวบรวมข้อมูลของ กยท./สปก.และเครือข่ายเกษตร
เกิการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การสร้างสวนยางพาราที่มีความหลากหลายนั้น สามารถประยุกต์ใช้หลักการ
การปลูกพืชแซมยาง คือ พืชที่ปลูกระหว่างแถวยางในขณะที่ต้นยางอายุไม่เกิน 4 ปี หรือพิจารณาขนาดของ
ต้นยางร่วมด้วย (จะให้ผลดีที่ต้นยางอายุไม่เกิน 3 ปี) ซึ่งควรเป็นกลุ่มพืชล้มลุกหรือพืชไร่ และการปลูก
พืชร่วมยาง คือ พืชที่ปลูกเพื่อให้ผลผลิตพร้อม ๆ กับยางพารา ซึ่งสามารถขึ้นได้ดีในสภาพร่มเงา โดยพบว่าใน
กลุ่มนี้สามารถจำแนกประเภทพืชที่ปลูกได้หลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล-ไม้ยืนต้น-ไม้ป่า หรือเรียกว่า
กลุ่มไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ หรือถ้าแบ่งตามการใช้ประโยชน์อาจจำแนกเป็นกลุ่มพืชอา หาร สมุนไพรและ
เครื่องเทศ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ใช้สอย ไม้ให้ร่มเงา พืชปรับปรุงดิน เป็นต้น นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถเลี้ยง
สัตว์ในสวนยางได้ เช่น แพะ หมู ไก่ เป็ด เป็นต้น และกลุ่มสัตว์น้ำหรือกิจกรรมประมงในแปลงสวนยาง เช่น
ปลา กบ เป็นต้น และเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพเสริมรายได้อื่น ๆ เช่น การเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์ม
ในสวนยาง นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ยางบางส่วนเพื่อปลูกพืชอื่น ๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน กล้วย กาแฟ และ
พืชอื่น ๆ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรได้ โดยสามารถการเลือกชนิดพืชที่ปลูก
ที่คำนึงถึงการตลาดในพื้นที่ สภาพพื้นที่ ระยะเวลาการให้ผลตอบแทน เช่น มีรายได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์
รายเดือน และรายปี
การปลูกพืชในสวนยางแบบหลากหลายต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ คือ (1) ชนิดพืชที่เลือกปลูกควร
พิจารณาถึงความต้องการของตลาด ความต้องการใช้ประโยชน์ของครัวเรือน ระบบราก ความทนทานต่อร่มเงา
ความเกื้อกูลกัน ความเหมาะสมกับพื้นที่ อายุเก็บเกี่ยว และอายุของยางพารา (2) ความรู้ ความสามารถ
ความถนัดในการจัดการของเกษตรกรในการปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวพืชแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสม
(3) อายุและช่วงระยะเวลาการปลูกพืชควรเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้ได้ผลผลิตและรายได้สูงสุด
สำหรับชนิดพืชที่ปลูกไม่ว่าจะโดยหลักการปลูกแซมหรือปลูกร่วมในสวนยางพารา นอกจากจะขึ้นอยู่กับ
ความต้องการของเกษตรกรแล้วถ้าจะให้ได้ผลดีควรคำนึงถึงกับสภาพพื้นที่และอายุของยางพารา ความพร้อม
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ค
ในเรื่องแหล่งน้ำ และความต้องการของตลาด รวมถึงเทคนิควิธีในการจัดการเพื่อลดปัญหาการแย่งธาตุอาหาร
น้ำ และการได้รับแสงแดดของพืช อย่างไรก็ตาม จากกรณีตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเกษตรกรสามารถเลือกชนิดพืช
ที่ได้หลากหลายชนิดไม่สามารถกำหนดตายตัวเนื่องจากวัตถุประสงค์ในการปลูกแตกต่างกันไป แต่สามารถ
ให้ข้อมูลเป็นตัวอย่าง เช่น กรณีการปลูกพืช มีพืชหลายชนิดที่สามารถแยกเป็นกลุ่ม พืชไร่ กลุ่มพืชสมุนไพร
และเครื่องเทศ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ กลุ่มไผ่ กลุ่มไม้ผล กลุ่มเห็ด กลุ่มผักพื้นบ้าน นอกจากนี้เกษตรกร
สามารถเลี้ยงสัตว์และประมงร่วมในสวนยางพาราได้เช่นกัน
เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนการปลูกยางพาราให้เข้าสู่การทำสวนยางแบบยั่งยืนได้ 2 ลักษณะ คือ
(1) การปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ร่วม หรือแบบเกษตรผสมผสาน หรือพืชสัตว์เศรษฐกิจอื่น
นอกเหนือจากการทำสวนยางไปพร้อมกับการคงพื้นที่ปลูกยางโดยแบ่งสัดส่วนพื้นที่ปลูกยางพาราเชิงเดี่ยวและ
ผสมผสานอย่างชัดเจนซึ่งอาจจะแบ่งจากแปลงเดิมหรือแปลงอื่น ๆ ก็ได้ในกรณีเกษตรกรมีที่ดินมากกว่า 1
แปลง (2) การปรับเปลี่ยนทั้งแปลง โดยการปลูกพืชร่วมหรือผสมผสานและทำกิจกรรมอื่นในสวนยางพาราเต็ม
แปลง โดยมีตัวอย่างการจัดการที่เสนอไว้หลายรูปแบบ ที่เกษตรกรสามารถปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปเริ่ม
จากพื้นที่ขนาดเล็กและเมื่อมีความพร้อมจึงขยายพื้นที่มากขึ้น สำหรับการจัดการระยะปลูกและตำแหน่ง
การปลูก สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น ปลูกสลับแถว วิธีปลูกเป็นแนวกันลม วิธีปลูกผสมผสานแบบไม่เป็น
แถวเป็นแนวในร่องยางหรือบริเวณที่ยังมีพื้นที่ว่างในสวนยางทั้งภายในแปลงหรือบริเวณขอบแปลง หรือจะ
เลือกปลูกแบบไม่กี่ชนิดไปจนถึง ปลูกแบบหลากหลายในลักษณะเกษตรผสมผสานและระบบวนเกษตรที่มี
ความซับซ้อนเลียนแบบระบบนิเวศของป่าธรรมชาติซึ่งจะต้องใช้หลักการปลูกพืชหลายระดับชั้นเข้ามา
ประยุกต์ใช้
อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชเพื่อเพิ่มความหลากหลายในสวนยางพารานั้น ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว
แต่ขึ้นอยู่กับการวางแผนจัดการแปลงของเกษตรกรเพื่อให้เกิดผลที่สนองความต้องการของครัวเรือนได้อย่าง
เหมาะสม โดยเกษตรกรแต่ละรายจำเป็นต้องกำหนดชนิดและกิจกรรมให้เหมาะสมกับระบบนิเวศของแปลง
ที่ดินในแต่ละพื้นที่ ความพร้อมของครัวเรือน (เช่น แรงงาน เงินทุน ความรู้ในตั้งแต่การปลูก จนถึงขาย
เป็นต้น) ความต้องการใช้ประโยชน์ของเกษตรกรเอง ความต้องการของตลาด รวมถึงก ารตระหนักถึง
ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และควรเริ่มทดลองจากพืชที่ขนาดเล็กก่อน หากได้ผลดีและมีประสบการณ์ใน
การจัดการแล้วจึงขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนสวนยางพาราตามแนวทางดังกล่าวข้างต้นนั้น
เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กล่าวคือ เกษตรกรยัง
สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากยางพาราและเกิดผลผลิตอื่น ๆ จากกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย
จากการศึกษาพบว่าแม้ว่าผลผลิตรายกิจกรรมในสวนยางพาราที่มีการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ร่วมหรือทำ
เกษตรผสมผสาน อาจจะไม่ได้เต็มศักยภาพ แต่เมื่อคิดในภาพรวมของการใช้ประโยชน์ที่ดินแล้วจะได้รับ
ประโยชน์มากกว่ายางเชิงเดี่ยวอย่างแน่นอน จะเห็นได้จากผลการศึกษาของนักวิชาการ หน่วยงานของรัฐ และ
กรณีตัวอย่างเกษตรกรที่ได้ปฏิบัติแล้ว ยืนยันว่าการสร้างความหลากหลายในสวนยางพาราจะให้ผลดีมากกว่า
ผลเสีย โดยเฉพาะประโยชน์ในเรื่องการช่วยลดความเสี่ยง และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกรซึ่งประโยชน์และ
ระดับความมั่นคงยั่งยืนจะขึ้นอยู่กับทักษะความสามารถในการบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนอง
ง
ความต้องการของครัวเรือนโดยเฉพาะความมั่นคงด้านรายได้และอาหาร นอกจากนี้ การฟื้นตัวของระบบนิเวศ
ในแปลงเกษตรกรรมที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตลอดจนหากเกษตรกร
ปฏิบัติตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบเกษตรผสมผสาน/วนเกษตรและปรับเปลี่ยนการจัดการดิน
และสารกำจัดศัตรูพืชมาเป็นรูปแบบเกษตรอินทรีย์หรือเป็นเกษตรที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็จะยิ่งส่งผลให้เกิดผล
ดีทั้งต่อเกษตรกรชุมชนและระบบนิเวศโดยรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาแม้ว่าการยอมรับและปรับตัวของเกษตรกรยังไม่
กว้างขวางนัก แต่การปฏิบัติในกลุ่มเกษตรกรที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทำให้เห็นแนวโน้มที่ดีในการลดปัญหา
ความเสี่ยงต่าง ๆ จากการปลูกยางเชิงเดี่ยวได้ ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญกับมาตรการที่สามารถพัฒนา
ศักยภาพของเกษตรกรด้านการผลิตและการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงและยั่งยืนมากขึ้นโดยควรส่งเสริมให้
เกษตรกรลดเนื้อที่ปลูกยางพารา และ/หรือ ปรับระบบการผลิตที่สร้างความหลากหลายมากขึ้น รวมถึงพัฒนา
ความรู้และใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉพาะการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้
ที่ดิน ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือการพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนแนวคิดของเกษตรกรในเรื่องการ
บริหารจัดการเงิน พฤติกรรมการใช้จ่ายและการบริโภค รวมถึงการสร้างวินัยทางการเงินที่เหมาะสมสอดคล้อง
กับรายได้ เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองและดำรงอยู่ได้แม้ว่าจะเผชิญกับภาวะวิกฤติราคายางพารา และ
ปัจจัยจากภายนอกอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยลบและเกิดขึ้นแบบรวดเร็วขั้นวิกฤติ หรือ Shock
ในส่วนของ ส.ป.ก. สามารถขับเคลื่อนการส่งเสริมยางพาราแบบยั่งยืนผ่านโครงการที่ดำเนินการอยู่ใน
ปัจจุบัน เช่น โครงการส่งเสริมระบบวนเกษตร และการปลูกพืชสมุนไพร โดยควรกำหนดให้เกษตรกรชาวสวน
ยางเป็นหนึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตสู่การปลูกพืชร่วมยาง เกษตรผสมผสานและ
วนเกษตรตามในสวนยางลำดับ ทั้งนี้ ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงคุณภาพมากขึ้นโดยเน้นสร้างการ
เปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมผ่านเกษตรกรต้นแบบ และสร้างกลุ่มแกนนำและเครือข่ายผู้นำ เพื่อเป็นกลไกใน
การขยายผลความรู้และการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ รวมถึงการประสานความร่วมมือกับการยางแห่งประเทศ
ไทย กรมป่าไม้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เครือข่ายภาคประชาชน รวมถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
ในระดับพื้นที่ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรลดความเสี่ยงจากการปลูกพืช
เศรษฐกิจเชิงเดี่ยว เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับครัวเรือนเกษตรกรในระยะยาว
..... ความเป็นมา หลักการและรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน 5 รูปแบบ
สถาบันนโยบายสาธารณะ ร่วมกับ ดร.ไชยยะ คงมณี ดร.อริศรา ร่มเย็น เณรานนท์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ศึกษาทางเลือกของระบบเกษตรผสมผสานที่มีความเป็นไปได้ของจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีรูปแบบ 4 ระบบ คือ 1) ระบบยาง - ผสมผสาน (mixed cropping) 2) ระบบยางร่วมไม้เศรษฐกิจหรือพืชอาหาร (intercropping) และ 3) ระบบเกษตรแบบปลูกแยกแปลง (multi cropping) 4. ระบบวนเกษตร (agroforestry)ดร่างชุดคู่มือการขับเคลื่อนงานเกษตรกรรมยั่งยืน
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
ทีมวิชาการ/กรรมการการยางชุมพร/ผู้แทนศูนย์เรียนรู้ กยท.และแกนนำเกษตรกร