นโยบายสวนยางยั่งยืน
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการจัดทำสวนยางยั่งยืน
ออกแบบกระบวนการ/ประสานความร่วมมือ/ประสานผู้เข้าร่วมทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน
สภาเกษตร : -รายได้หลักชาวเกษตรกรในพื้นที่ จ.ยะลา มี 3 ตัว คือ 1.ยางพารา 2.ทุเรียน 3.ลองกอง ส่วนสถานการณ์ในปัจจุบันจะมีพืชเศรษฐกิจที่ก่อเกิดรายได้ในเฉพาะบางพื้นที่ ของอำเภอในจังหวัดยะลาเช่น 4.มังคุด 5.เงาะ 6.กาแฟ 7.โก้โก้
-และปัจจัยรายได้ของจังหวัดยะลายังมีในส่วนของการเลี้ยงปศุสัตว์ และนโยบายของการผลักดัน การเลี้ยงวัวในพื้นที่
-สภาพที่ผ่านของชาวสวนยางยั่งยืน ปัจจัยราคา เรื่องโรค
-ในเรื่องน้ำยางทีดีสุดของโลก ในจังหวัดยะลา เราควรจะมีแผนการพัฒนายุทธศาสตร์ต่อไปอย่างไร
-สิ่งที่น่าสนในการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กับสิ่งที่ดีๆมีในพื้นที เช่น การตลาดในพื้นที ตัวอย่างของเอกชนที่มีการเปิดโรงงานและรับซื้อหมาก
•ผอ.กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง (นายสุรชัย บุญวรรโณ)
-ปัญหาของอาชีพสวนยางพารา มีปัญหาเรื่องโรคระบาดใบร่วง และผลผลิตของสวนยางพาราที่ไม่ได้คุณภาพ
-เรื่องของคุณภาพของน้ำยางพาราที่ดีที่สุดของโลก อยู่ในพื้นที จ.ยะลา
-เรื่องกลไกตลาด โรงน้ำยาสด ที่จะช่วยในการดึงราคา ในจ.ยะลา ปัจจุบันมีเหลือใน อ.เบตง
-เรื่องการยกระดับรายได้ชองชาวสวนยาง แนวทางปัจจุบัน กยท. คือ การโคนต้นยาง ปลูกพื้นทดแทน การปลูกพืชอื่นๆแซมในรองสวนยาง
-เรื่องการปลูกต้นทุเรียนแทน ซึ่งต้องไปดูว่า จีนมีลักษณะอย่างไรในการบริโภค
-แนวทางการให้ทุน ส่งเคราะห์ 3 แนวทาง คือ การปลูกยางทดแทน การปลูกสวนยางยั่งยืน (เหลือ 40ต้น /ไร่) การปลูกพืชอื่นๆเสริม แนวทางการปลูกพืชร่วมยาง เช่น ต้นหมาก การปลูกถั่ว การปลูกไม้ยืนต้นในการใช้ไม้ การสนับสนุนทุนงบประมาณ 16,000 บาท
-การสนับสนุนการมีรายได้ก่อน การตัดยางได้ 8 ปี
-ปัญหาหลักชาวสวนยาง คือ รายได้ไม่เพียงพอ
-ปัจจุบัน ทางกยท.เขตได้มีการเชื่อมกับบริษัท ยางมิชลิน ในการรับซื้อน้ำยางสด 7หมืน ตัน/ปี นำรองพื้นที จ.สงขลาและสตูล
•สปก.จ.ยะลา ( นายสมบัติ กลางวัง)
-ภารกิจหลัก การจัดการที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
-ปัญหาปัจจุบัน: การมีพื้นทีกระจัดกระจาย
-พื้นทีลักษณ: 1.การยึดพื้นทีเช่าคืน
-การทำงานสนับสนุนที่ผ่านมา : การทำเกษตรอินทรีย์ การทำเกษตรวนเกษตร การทำเกษตรทฤฎีใหม่
-การทำฐานข้อมูล : เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในการบูรณการ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
•อาจารย์ มหาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ( )
-จากการลงพื้นที ในพื้นที 3 จชต. ในชาวเกษตรกร ในพื้นที มีหลายรูปแบบของการดำเนินงาน ในการทำเกษตร ซึ่งปัญหาหลัก คือ เรื่องการตลาด
-ในประเด็นภาคี ซึ่งยังขาดในการเชื่อมโยง กลุ่มทีประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่ทำงานเป็นกลุ่ม และเกษตรกรทีมีทุนเยอะในการดำเนินกิจกรรม มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า ที่กลุ่มทีทุนน้อย
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
สภาเกษตร/สปก./กยท./นักวิชาการ/แกนนำเครือข่ายเกษตรในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด
-