ประเมินผลภายใน ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร : พืชร่วมยาง
ประชุมวางแผน ออกแบบการเก็บข้อมูล จากการดำเนินงาน ประเด็นพืชร่วมยาง จ.ระนองและชุมพร31 มีนาคม 2564
31
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย Aitsara
circle
วัตถุประสงค์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
วางแผน ออกแบบการเก็บข้อมูล จากการดำเนินงาน ประเด็นพืชร่วมยาง จ.ระนองและชุมพร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
- เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการ เครือข่ายกยท.ของแต่ละจังหวัด เกษตรกรพื้นที่เป้าหมาย ภาคประชาสังคม และผู้ดูแลโครงการ
- ทราบปัญหาและอุปสรรคของการทำสวนยาง
- ทราบการดำเนินงานสวนยางยั่งยืนที่ผ่านมาของจังหวัดระนองและชุมพร
1. สุจินต์ ศรีเกษ (เกษตรกรต้นแบบ ทำเกษตรรูปแบบแบบผสมผสาน มีไม้ป่า ไม้เศรษฐกิจร่วมสวนยาง ทำปศุสัตว์ เลี้ยงปลาร่วมด้วย)
2. บ่าหรี หมาดหมัน (เกษตรกรต้นแบบ ทำเกษตรรูปแบบแบบผสมผสาน) เมื่อปีที่แล้วทำแผงโซล่าเซลล์ มีปาล์มน้ำมัน ไม้ผล และพืชผักในแปลง (แหล่งอาหารปลอดภัย) ซึ่งมีเกษตรอำเภอและพชอ. เข้ามาดูแลด้วย เช่นเดียวกับสวนคุณพูนธวัช
และสมศักดิ์ ไชยนาสัก ซึ่งเป็นเกษตรต้นแบบของอำเภอสุขสำราญ กำลังผลิตพื้นที่เกษตร 1 ไร่ ทำโคกหนองนาโมเดลและผลิตสวนผสมด้วย ควบคู่การทำโซล่าเซลล์และสวนยางยั่งยืน 3. พูนธวัช เล่าประวัติชัย มีข้อเสนอในการพัฒนา คือ ทำอย่างไรให้มีศูนย์เรียนรู้กับสถาบันการศึกษา และทำความร่วมมือกับกยท.ระนอง สวนสุนันทา และวิทยาลัยชุมชน ในการช่วยพัฒนาสวนยางยั่งยืน สวนยางยั่งยืนได้จัดรูปแบบออกเป็น 3 ส่วน
คือ บริการที่พักและจัดอบรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร การจัดการแหล่งเรียนรู้ (อาจจะต้องพัฒนาหลักสูตร) จัดโปรแกรมเรียนรู้ (สวนยางยั่งยืน 2 แบบ วนเกษตร และผสมผสาน) การบริหารจัดการน้ำ (พลังงาน) และระบบจัดการน้ำที่ใช้โซล่าเซลล์
พืชผักสมุนไพร ปศุสัตว์
4. ฉลองชาติ ยังปักษี ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ต.ท่าข้าม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร: ดำเนินงานภายใต้ concept หลัก “สืบสาน รักษา ต่อยอด วิถีพอเพียง แบ่งปัน ดิน (ไม่ใช้สารเคมี) น้ำ (สมบูรณ์) ป่า (ร่วมกับยางพารา สู่การทำสวนยางอย่างยั่งยืน)
อาหาร และพลังงาน” มียางร่วมกับพืชผัก ไม้ผล และไม้อื่นๆ
5. ผู้ประสานงานเครือข่ายข้าวไร่ของจังหวัดชุมพร: มีการขับเคลื่อนงานพันธุกรรมข้าวไร่และผลักดันในระดับจังหวัด แต่มีปัญหาเรื่องของพื้นที่ที่ยังไม่มีพื้นที่ปลูก ซึ่งงานวิจัยบอกว่าข้าวไร่สามารถปลูกในพื้นที่ร่มเงาได้ โดยผลวิจัยออกมาว่าการปลูก
ข้าวในที่ร่มได้ผลผลิตสูงกว่าในที่โล่ง (งานวิจัย ดร.ร่มจิต) จึงใช้พื้นที่ของนาชะอัง/กลุ่มวิสาหกิจนาเกษตรชะอัง เป็นพื้นที่ทดลอง/วิจัย และทำเรื่องเมล็ดพันธุ์ ก่อเกิดเป็นกลุ่มนักวิจัยชุมชนทำเรื่องข้าวไร่ ซึ่งเมื่อได้ผลผลิตที่ดีกว่าการปลูกในที่
โล่งทำให้มีผู้ที่สนใจมาก แต่ก็ยังเกิดปัญหาของแหล่งผลิตพันธุ์ข้าวที่ไม่เพียงพอ (พื้นที่และระบบแหล่งน้ำที่ไม่เหมาะสม)
6. กำนันสมศักดิ์ ไชยนาสัก: เตรียมพื้นที่ทำโคก หนอง นา มียางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล(ทุเรียน) และระบบน้ำดีมาก 7. ยืนยง นุ่นลอย: (พื้นที่ 3 x 7) ปลูกไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ ผสมผสานในแปลงสวนยาง ด้วยปัญหายางพาราเป็นโรครากขาว จึงต้องปลูกพืชชนิดอื่นแซม พื้นที่ด้านหลังเป็นบ่อปลา (ป่าชายเลน) - ออกแบบรูปแบบแปลน ซึ่งจะต้องประกอบด้วยการวิเคราะห์ขนาดพื้นที่ ระยะปลูก ผลผลิตที่ได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม
()
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
project version 4.4.01 release 2022-02-13. ช่วยเหลือ