สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

ประเมินผลภายใน ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร : พืชร่วมยาง

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมปรึกษาหารือประเด็นความมั่นคงทางอาหาร พืชร่วมยาง จังหวัดชุมพรและระนอง 28 ก.พ. 2564 28 ก.พ. 2564

 

ปรึกษาหารือประเด็นความมั่นคงทางอาหาร พืชร่วมยาง จังหวัดชุมพรและระนอง

 

  1. ทราบรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการพืชร่วมยาง/สวนยางยั่งยืน จังหวัดชุมพร จำนวน 13 ราย
  2. ทราบรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการพืชร่วมยาง/สวนยางยั่งยืน จังหวัดระนอง จำนวน 5 ราย
  3. ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน
  4. รูปแบบการทำพืชร่วมยางในแต่ละพื้นที่ค่อนข้างแตกต่างกัน

 

ประชุมวางแผน ออกแบบการเก็บข้อมูล จากการดำเนินงาน ประเด็นพืชร่วมยาง จ.ระนองและชุมพร 31 มี.ค. 2564 31 มี.ค. 2564

 

วางแผน ออกแบบการเก็บข้อมูล จากการดำเนินงาน ประเด็นพืชร่วมยาง จ.ระนองและชุมพร

 

  1. เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการ เครือข่ายกยท.ของแต่ละจังหวัด เกษตรกรพื้นที่เป้าหมาย ภาคประชาสังคม และผู้ดูแลโครงการ
  2. ทราบปัญหาและอุปสรรคของการทำสวนยาง
  3. ทราบการดำเนินงานสวนยางยั่งยืนที่ผ่านมาของจังหวัดระนองและชุมพร   1. สุจินต์ ศรีเกษ (เกษตรกรต้นแบบ ทำเกษตรรูปแบบแบบผสมผสาน มีไม้ป่า ไม้เศรษฐกิจร่วมสวนยาง ทำปศุสัตว์ เลี้ยงปลาร่วมด้วย)
      2. บ่าหรี หมาดหมัน (เกษตรกรต้นแบบ ทำเกษตรรูปแบบแบบผสมผสาน) เมื่อปีที่แล้วทำแผงโซล่าเซลล์ มีปาล์มน้ำมัน ไม้ผล และพืชผักในแปลง (แหล่งอาหารปลอดภัย) ซึ่งมีเกษตรอำเภอและพชอ. เข้ามาดูแลด้วย เช่นเดียวกับสวนคุณพูนธวัช
        และสมศักดิ์ ไชยนาสัก ซึ่งเป็นเกษตรต้นแบบของอำเภอสุขสำราญ กำลังผลิตพื้นที่เกษตร 1 ไร่ ทำโคกหนองนาโมเดลและผลิตสวนผสมด้วย ควบคู่การทำโซล่าเซลล์และสวนยางยั่งยืน   3. พูนธวัช เล่าประวัติชัย มีข้อเสนอในการพัฒนา คือ ทำอย่างไรให้มีศูนย์เรียนรู้กับสถาบันการศึกษา และทำความร่วมมือกับกยท.ระนอง สวนสุนันทา และวิทยาลัยชุมชน ในการช่วยพัฒนาสวนยางยั่งยืน สวนยางยั่งยืนได้จัดรูปแบบออกเป็น 3 ส่วน
        คือ บริการที่พักและจัดอบรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร การจัดการแหล่งเรียนรู้ (อาจจะต้องพัฒนาหลักสูตร) จัดโปรแกรมเรียนรู้ (สวนยางยั่งยืน 2 แบบ วนเกษตร และผสมผสาน) การบริหารจัดการน้ำ (พลังงาน) และระบบจัดการน้ำที่ใช้โซล่าเซลล์
        พืชผักสมุนไพร ปศุสัตว์
      4. ฉลองชาติ ยังปักษี ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ต.ท่าข้าม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร: ดำเนินงานภายใต้ concept หลัก “สืบสาน รักษา ต่อยอด วิถีพอเพียง แบ่งปัน ดิน (ไม่ใช้สารเคมี) น้ำ (สมบูรณ์) ป่า (ร่วมกับยางพารา สู่การทำสวนยางอย่างยั่งยืน)
        อาหาร และพลังงาน” มียางร่วมกับพืชผัก ไม้ผล และไม้อื่นๆ
      5. ผู้ประสานงานเครือข่ายข้าวไร่ของจังหวัดชุมพร: มีการขับเคลื่อนงานพันธุกรรมข้าวไร่และผลักดันในระดับจังหวัด แต่มีปัญหาเรื่องของพื้นที่ที่ยังไม่มีพื้นที่ปลูก ซึ่งงานวิจัยบอกว่าข้าวไร่สามารถปลูกในพื้นที่ร่มเงาได้ โดยผลวิจัยออกมาว่าการปลูก
        ข้าวในที่ร่มได้ผลผลิตสูงกว่าในที่โล่ง (งานวิจัย ดร.ร่มจิต) จึงใช้พื้นที่ของนาชะอัง/กลุ่มวิสาหกิจนาเกษตรชะอัง เป็นพื้นที่ทดลอง/วิจัย และทำเรื่องเมล็ดพันธุ์ ก่อเกิดเป็นกลุ่มนักวิจัยชุมชนทำเรื่องข้าวไร่ ซึ่งเมื่อได้ผลผลิตที่ดีกว่าการปลูกในที่
        โล่งทำให้มีผู้ที่สนใจมาก แต่ก็ยังเกิดปัญหาของแหล่งผลิตพันธุ์ข้าวที่ไม่เพียงพอ (พื้นที่และระบบแหล่งน้ำที่ไม่เหมาะสม)
      6. กำนันสมศักดิ์ ไชยนาสัก: เตรียมพื้นที่ทำโคก หนอง นา มียางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล(ทุเรียน) และระบบน้ำดีมาก   7. ยืนยง นุ่นลอย: (พื้นที่ 3 x 7) ปลูกไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ ผสมผสานในแปลงสวนยาง ด้วยปัญหายางพาราเป็นโรครากขาว จึงต้องปลูกพืชชนิดอื่นแซม พื้นที่ด้านหลังเป็นบ่อปลา (ป่าชายเลน)
  4. ออกแบบรูปแบบแปลน ซึ่งจะต้องประกอบด้วยการวิเคราะห์ขนาดพื้นที่ ระยะปลูก ผลผลิตที่ได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ

 

ประชุมติดตามความก้าวหน้าประเด็นความมั่นคงทางอาหาร เรื่องพืชร่วมยาง จังหวัดชุมพร ระนอง นราธิวาส และนครศรีธรรมราช 15 มิ.ย. 2564 15 มิ.ย. 2564

 

ติดตามความก้าวหน้าและร่วมให้ข้อเสนอแนะ ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร เรื่องพืชร่วมยาง จังหวัดชุมพร ระนอง นราธิวาส และนครศรีธรรมราช

 

  1. เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการ เครือข่ายกยท.ของแต่ละจังหวัด เกษตรกรพื้นที่เป้าหมาย ภาคประชาสังคม และผู้ดูแลโครงการ
  2. ทราบผลการดำเนินการขับเคลื่อนพืชร่วมยางของแต่ละจังหวัด เช่น เกิดกลไกการทำงานขับเคลื่อน ร่างโมเดลพืชร่วมยาง เกษตรกรที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติในพื้นที่ตนเอง เป็นต้น

 

ประชุมวางแผนการดำเนินงานพืชร่วมยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 21 มิ.ย. 2564 21 มิ.ย. 2564

 

ประชุมวางแผนการดำเนินงานพืชร่วมยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับกยท. 3 สาขา ได้แก่ สาขานาบอน ฉวาง และร่อนพิบูลย์

 

  1. เครือข่ายกยท. จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าร่วมจำนวน ุ6 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากกยท. จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 1 คน สาขาร่อนพิบูลย์จำนวน 2 คน สาขานาบอนจำนวน 1 คน สาขาฉวาง 1 คน และท่าศาลา (เข้าร่วมเรียนรู้) จำนวน 1 คน เกษตรกรเป้าหมายเข้าร่วมจำนวน 2 ท่าน
  2. ได้เครือข่ายนักวิชาการจากคณะเกษตรศาสตร์ มทร.ไสใหญ่ ร่วมถอดบทเรียนและวิเคราะห์สังเคราะห์แปลงต้นแบบ
  3. ได้พื้นที่เป้าหมายและเกษตรกรเป้าหมายจำนวน 13 คน ประกอบด้วยเกษตรในพื้นที่นาบอน 5 คน ฉวาง 3 คน และร่อนพิบูลย์ 5 คน

 

ทีมประเมินลงติดตามและถอดบทเรียนการทำพืชร่วมยางในพื้นที่ (จ.นราธิวาส) 20 ก.ย. 2564 20 ก.ย. 2564

 

ติดตามและถอดบทเรียนการทำพืชร่วมยางในพื้นที่ (จ.นราธิวาส) จำนวน 6 แปลง

 

  1. ได้พื้นที่ต้นแบบการทำพืชร่วมยาง จำนวน 6 แปลง ประกอบด้วย 1. แปลงนายเด่น พรหมจันทร์ (อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส) 2. แปลงนายแจ้ง อินทิมา (อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส) 3. แปลงนายสมศักดิ์ พรหมชาติ (อ.เมือง จ.นราธิวาส) 4. แปลงนายมะหะมะซาเบท์ มาหะมะ (อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส) 5. แปลงนายนฤชาติ ศรีสุวรรณ (อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส) และ 6.แปลงนางซารีพะห์ ต่วนเพ็ง (อ.เมือง จ.นราธิวาส)
  2. ได้รูปแบบแปลนจำนวน 6 รูปแบบ มีการวิเคราะห์ขนาดพื้นที่ ระยะปลูก ผลผลิตที่ได้ และความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ

 

ประชุมติดตามการดำเนินงานพืชร่วมยาง จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง 24 ก.ย. 2564 24 ก.ย. 2564

 

ติดตามการดำเนินงานและร่วมให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ประเด็นการทำพืชร่วมยาง จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง

 

  1. มีกลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร ประเด็นอาหารปลอดภัย-ยาง ที่ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร สมาคมเพื่อนสิ่งแวดล้อม/สมัชชาสุขภาพชุมพร เครือข่ายธนาคารต้นไม้ สภาองค์กรชุมชน และรพสต.บ้านทับช้าง อ.ทุ่งตะโก
  2. ได้ข้อเสนอและแนวทางการดำเนินงานร่วมกันของ กยท.-สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
  3. เกษตรแปลงต้นแปลงและเกษตรในพื้นที่ใกล้เคียงเข้าร่วมเรียนรู้รูปแบบการเกษตรผสานผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ และเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 110 ราย
  4. เกษตรกรเป้าหมาย ทำพืชร่วมร่วมยาง 100%
  5. ครัวเรือนเป้าหมายที่ทำพืชร่วมยาง มีผลผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อบริโภคในครัวเรือนทุกครัวเรือน
  6. เศรษฐกิจครัวเรือนเป้าหมายดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5,000 บาทต่อเดือน และมีรายจ่ายลดลงเฉลี่ย 3000 บาท ต่อเดือน

 

ทีมประเมินลงติดตามและถอดบทเรียนการทำพืชร่วมยางในพื้นที่ัจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมกับกยท. 30 ก.ย. 2564 19 ต.ค. 2564

 

ติดตามและถอดบทเรียนการทำพืชร่วมยางในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมกับกยท. จำนวน 13 แปลง

 

  1. พื้นที่ต้นแบบจำนวน 13 แปลง ประกอบด้วยอำเภอนาบอน 5 แปลง ร่อนพิบูรณ์ 5 แปลง และฉวาง 3 แปลง
  2. ได้รูปแบบการทำพืชร่วมยางในบริบทพื้นที่ที่แตกต่างกันของ 3 อำเภอ (นาบอน ร่อนพิบูลย์ และฉวาง)
  3. ทราบชนิดและประเภทพืชที่ปลูกร่วมในสวนยางพารา และรายได้จากผลผลิตพืชที่ปลูกร่วมในสวนยาง