ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการขยายผลโมเดล |
5 ส.ค. 2563 |
6 ส.ค. 2563 |
|
ผู้เข้าร่วม ทั้งหมด 25 คน ประกอบด้วย ผู้เข้าร่วมจากภาครัฐ ประชาสังคม แกนนำชุมชน ทีมวิทยากร และทีมประสานงาน
กระบวนการ มีดังนี้
- เริ่มด้วยการแนะนำผู้เข้าร่วมประชุม นายแพทย์มูหามะ ผอ.โรงพยาบาลรือเสาะ และทีมงานอีก 4 คน ช่วยงาน สนส.มอ. ทำเรื่องเกษตรเรื่องอาหาร เป็นผู้ประสานงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดนราธิวาสและเป็นตัวแทนระดับจังหวัด สนช. นายมะยูนัน เลขานุการสมัชชาสุขภาพ จ.นราธิวาส นายอานัติ หวังกุหลำ ดูแลโหนดจังหวัดนราธิวาส นางสาวคนึงนิจ ทำงานกับเครือข่ายชุมชนศรัทธากัมปงตักวาสามจังหวัด อ.วุฒิชัย นักวิชาการจาก มนร. นายซุไฮมี จากเกษตรและสหกรณ์จังหวัด นายธนพล ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองนราธิวาส นายทวีวัตร ประชาสังคมชุมพร นายมูนิต จากโรงเรียนชาวนา
- คุณทวีวัตร ได้นำเสนอความเป็นมา เป้าหมาย กระบวนการของโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้ง 3 ยุทธศาสตร์ 1) ความมั่นคงทางอาหาร > ขยายผลmodel พืชร่วมยาง จากโครงการอาหารสงขลา 2) อาหารปลอดภัย >ยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัย 3) ตำบลบูรณาการระบบอาหาร > กลไกกองทุนตำบลทำแผน งาน โครงการ ระบบอาหารโดยใช้ กองทุนตำบล
- แลกเปลี่ยนและปรึกษาหารืองานในประเด็นพืชร่วมยาง โดยมีข้อสรุปในการเลือกพื้นที่และเกษตรกร ดังนี้ 1) พื้นที่ดำเนินงานมากกว่า 3 ไร่ ต้นยางอายุ 3 ปีขึ้นไป 2) เป็นเกษตรกรที่ได้รับทุนจาก กยท. 3) บริบทมีความหลากหลาย โดยมอบหมายเกษตรและสหกรณ์เลือกพื้นที่ 5 แห่ง
และ กยท. เลือกพื้นที่ 5 แห่ง และมีการทำความเข้าใจเรื่องการพัฒนาศักยภาพเกษตรในด้านวิชาการจากโครงการ
- แผนการดำเนินงาน เกษตรและสหกรณ์ และ กยท. จะคัดเลือกเกษตรกรและส่งให้ทีมประสานงานภายในเดือนสิงหาคม 2563
|
|
- ผู้เข้าร่วมได้รับทราบและเข้าใจความเป็นมา เป้าหมาย กระบวนการของโครงการศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้ง 3 ยุทธศาสตร์
- ได้คณะทำงานประเด็นพืชร่วมยางจากการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดนราธิวาส เกษตรและสหกรณ์ และนักวิชาการ มนร.
- ได้แผนการคัดเลือกเกษตรกร 10 ราย
|
|
ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการขยายผลโมเดล ครั้งที่ 2 |
2 ต.ค. 2563 |
2 ต.ค. 2563 |
|
ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 8 คน ประกอบด้วย ทีมผู้ประสาน 2 คน กยท. 1 คน นักวิชาการ มนร. 1 คน ทีมโรงพยาบาลรือเสาะ 4 คน
- อานัติ ทีมประสานได้ชี้แจงกำหนดการเวทีเวทีเครือข่ายเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้
และประชุมเชิงปฏิบัติการแผนงานสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับพื้นที่ระหว่างวันที่ 3 – 4 ตุลาคม 2563 ให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ และชี้แแจงวัตถุประสงค์เพื่อร่างแผนการดำเนินงานด้านพืชร่วมยางและตำบลบูรณาการจังหวัดนราธิวาส
- ประเด็นปรึกษาหารือ ด้านพืชร่วมยางปัจจุบัน ทาง กยท.ได้คัดเลือกเกษตรกรมาแล้ว จำนวน 10 ราย และได้มีการหารือและมีข้อเสนอ 2 เรื่อง 1) เพิ่มรายชื่อคณะทำงาน 2) วางแผนการดำเนินงานและร่วมกำหนดวัน ส่วนประเด็นตำบลบูรณาการเนื่องจากพี่เลี้ยงกองทุนไม่ได้เข้ามาร่วม เลยวางแผนไปปรึกษากันในวันที่ 4 ตุลาคม 2563
|
|
- กลไกขับเคลื่อนงานประเด็นพืชร่วมยาง มีดังนี้ นายธนพล ดุลยกุล ผอ.กยท.สาขาเมือง นส.ศุภลักษณ์ มณีแสง กยท. นายซูฮัยมี เจะแต เกษตรและสหกรณ์ นายแวฮามะ บากา สภาเกษตรกร
ผศ.ดร.วุฒิชัย นักวิชาการ มนร. ศุภวรรณ เกษตรจังหวัด และมีนายอานัติ หวังกุหลำ เป็นผู้ประสานงาน นพ.มาหะมะ เมาะมูลา เป็นที่ปรึกษา
- แผนการดำเนินงาน พัฒนาศักยภาพเกษตรกร ปลายเดือนตุลาคม 63 นักวิชาการติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ และถอดบทเรียน จำนวน 2 ครั้ง
|
|
พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 รายร่วมกับ กยท. |
29 ต.ค. 2563 |
29 ต.ค. 2563 |
|
การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรชาวสวนยางและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงาน 3 ส่วนหลัก ได้แก่
- การประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อม ในวันที่ 26 ตุลาคม 2563 โดยทีมผู้ประสานงานกับทีม กยท. ผู้เข้าร่วม 4 คน ได้หารือในประเด็นหลักๆ ได้แก่ 1) ผู้เข้าร่วมจำนวน 10 คนตามที่ได้ส่งรายชื่อและภาคีหนุนเสริมที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ให้ทำหนังสือเชิญผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศจังหวัดนราธิวาสมาร่วมพูดคุยด้วย 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยเชิญ ผศ.ดร.ปราโมทย์ แก้ววงศรี มาเป็นวิทยากรด้านความรู้เรื่องความสำคัญและรูปแบบวนเกษตร และการเรียนรู้ในแปลงตัวอย่าง 3) ด้านการจัดการ ให้ทีมประสานงานเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ได้แก่ การเดินทาง งบประมาณ อาหาร
- อบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่อง วนเกษตรยางพารา วันที่ 29 ตุลาคม 2563 มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 24 คน ประกอบด้วย เกษตรกรชาวสวนยาง 10 คน ภาคีหลักและภาคีหนุนเสริมที่เกี่ยวข้อง 9 คน ทีมวิทยากร 3 คน ทีมประสานงาน 2 คน กระบวนการสำคัญมีดังนี้
2.1 นายอานัติ หวังกุหลำ ผู้ประสานงานโครงการฯ จังหวัดนราธิวาส ชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ โครงการนี้เป็นความร่วมมือของสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.หาดใหญ่) กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จะขับเคลื่อนงานเป็นจังหวัดนำร่อง จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช และนราธิวาส จะขับเคลื่อนงานใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์อาหาร ในส่วนจังหวัดนราธิวาสทำในเรื่องข้าวอินทรีย์ เน้นเรื่องอาหารปลอดภัยเป็นหลัก 2) ตำบลบูรณาการ เน้นในเรื่องของการทำแผนอาหารและโภชนาการ และ 3) ประเด็นของพืชร่วมยาง และได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อมาแลกเปลี่ยนและเติมเต็มข้อมูลจากอาจารย์ที่ได้ศึกษาและทำงานทางด้านพืชร่วมยางมาอย่างยาวนาน และมีบทเรียนมาจากพื้นที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้จากจังหวัดสงขลา และ 2) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และนำความรู้จากการศึกษาดูงานไปปรับใช้ในการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราในพื้นที่ของตนเองได้
2.2 นายพนัสพล โกสิยาภรณ์ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดนราธิวาส กล่าวต้อนรับและได้เล่าให้ฟังถึงโรคระบาดในต้นยางพารา ทำให้ต้นยางใบร่วง นำยางลดลง เป็นจำนวนมาก และยังคงระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง และได้ฝากถึงเกษตรกรให้พยายามเรียนรู้เรื่องพืชร่วมยางซึ่งเป็นทางออกหนึ่งแก่เกษตรกร
2.3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ถ่ายทอดความรู้วนเกษตรจากงานวิจัยที่ผ่านมา ความหมาย วัตถุประสงค์และรูปแบบต่างๆ ของวนเกษตรยางพารา โดยเป้าหมายหลักอาจารย์ได้สรุปไว้ว่า เพื่อแก้ปัญหาความยากจนแก่เกษตรกร สร้างสมดุลระบบนิเวศ และสุขภาวะที่ดีต่อเกษตรกร รูปแบบแปลงวนเกษตร ตัวอย่างเช่น สวนวนเกษตรยางพารา แบบที่ 1ปลูกยางพาราสลับแถวเดี่ยวระยะ 3x8 เมตร มีต้นยางพารา 42 ต้นต่อไร่ พืชร่วมไม้ยืนต้นอื่น 42 ต้นต่อไร่ และพืชแซมทนร่ม/ผักพื้นบ้าน/สมุนไพร/สัตว์เลี้ยง นอกจากนี้อาจารย์ได้แนะนำพันธุ์ไม้ยืนต้น ผักพื้นบ้านประเภทต่างๆ ที่สามารถปลูกร่วมกับต้นยางได้
2.4 นายซูฮัยมี เจะแต นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส ได้แนะนำนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรชาวสวนยางของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส
- ศึกษาเรียนรู้แปลงเกษตรผสมผสานสวนยางพารา วันที่ 30 ตุลาคม 2563 โดยผู้เข้าร่วมออกเดินทางจากจังหวัดนราธิวาส และนัดรวมตัวที่ ปั้ม ปตท. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มี อาจารย์ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี และพี่นุ้ย สนส. คอยต้อนรับและนำทางเข้าพื้นที่
3.1 สวนเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายจรูญ พรหมจรรย์เวลา 11.00 น. คณะดูงานจากจังหวัดนราธิวาส มาร่วมเรียนรู้และและแลกเปลี่ยน ณ แปลงเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านท่าหมอไชย ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ของนายจรูญ พรหมจรรย์ ซึ่งทำการเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา โดยการปลูกสละพันธุ์สุมาลี จำนวน 160 ต้น บนเนื้อที่ 4 ไร่ และเลี้ยงแพะ เริ่มต้นด้วยการซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ จำนวน 2 ตัว จนปัจจุบันขยายเป็น 20 ตัว และปลูกสละจนสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว การจำหน่ายผลผลิตในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อผลสละที่แปลง แต่กว่าจะถึงวันนี้ก็ได้พยายามเรียนรู้ ลองผิดลองถูก มาพอสมควร ยกตัวอย่างเมื่อก่อนยังไม่มีใครรู้จัก เวลาลุงไปร่วมร่วมประชุมทุกครั้งก็จะนำผลสละไปฝากผู้เข้าร่วมประชุมให้ได้ลองชิม เมื่อเขาชอบเขาก็จะสั่งซื้อและเป็นลูกค้าเรา ลุงเป็นคนชอบเรียนรู้ได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้กับหลายๆ หน่วยงานที่เขามีการสนับสนุนเกษตร รวมถึงได้รู้จักกับอาจารย์ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี และพี่นุ้ย สนส. ทางหน่วยงานสามารถช่วยได้เยอะ หลังจากนั้นได้พาผู้เข้าร่วมเดินชมสวนสละ แนะนำวิธีการผสมเกศร รวมถึงการดูแลสละให้ได้ผลดี ในสวนยังมีผักพื้นบ้านอื่นๆ อีกด้วย จากการสังเกตผู้เข้าร่วมมีความสนใจเป็นอย่างมาก จากนั้นได้รับประทานอาหารร่วมกัน และสุดท้ายนายแวฮามะ บากา ตัวแทนผู้มาดูงานได้กล่าวขอบคุณ
3.2 สวนเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา พื้นที่แปลงนายนิวัฒน์ เนตรทองคำ เวลา 13.30 น. เริ่มต้นด้วยนายนิวัฒน์ เนตรทองคำ เจ้าของสวนได้ต้อนรับและเล่าแปลงเกษตรให้ฟังว่า พื้นที่แปลงทั้งหมด 13 ไร่ พื้นที่แปลงแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 จำนวน 10 ไร่ มีการปลูกยางร่วมกับไม้ผล เช่น ลองกอง มะนาว ส่วนที่ 2 จำนวน 3 ไร่ มีการปลูกกล้วย และผักกูด นอกจากนี้มีเลี้ยงสัตว์ทั้ง หมู เป็ด ปลาชนิดต่างๆ นายนิวัฒน์ได้พาทีมดูงานชมพื้นที่ต่างๆ จุดแรกที่เด่นคือ ผักกูด นายนิวัฒน์เล่าว่าผักกูดสามารถสร้างรายได้ได้ดีมาก มีคนสั่งต้นกล้าผักกูดจนบางครั้งของมีไม่พอ เพราะมีคนสั่งจำนวนมาก จุดที่สองคือ ฝูงเป็ด แกเล่าว่าเป็ดคือเครื่องตัดหญ้าเคลื่อนที่ ตรงไหนรกหญ้าเยอะก็ให้เป็ดช่วยจัดการ จุดต่อมาบ่อ/คูเลี้ยงปลาชนิดต่างๆ
|
|
- เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการปลูกพืชร่วมยางมากยิ่งขึ้น หลังจากที่ได้รับความรู้จากวิทยากรและเห็นประโยชน์จากแปลงพื้นที่จริง
- เกษตรกรมีแนวทาง ความคิดใหม่ๆ ต่อการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปปรับใช้กับพื้นที่แปลงของตัวเอง
- หน่วยงานที่เป็นกลไกการสนับสนุน กยท. กษ. เกษตรจังหวัด สภาเกษตร มีการพูดคุย มีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นต่อความร่วมมือในการสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยาง
- ได้เครือข่ายการทำงานด้านพืชร่วมยางเพิ่มขึ้น
|
|
ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโดยทีมวิชาการเชื่อมโยงเครือข่าย กับเกษตรต้นแบบ และหรือ สถาบันเกษตรที่สังกัด |
10 ธ.ค. 2563 |
9 ธ.ค. 2563 |
|
อาจารย์วุฒิชัย ลงพื้นที่เยี่ยมและเก็บข้อมูลเกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 2 ราย
|
|
ได้รับทราบการปลูกพืชร่วมยางของเกษตรกรชาวสวนยาง 2 แปลง
|
|
ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าและวางแผนการติดตามสนับสนุนการดำเนินงานเกษตรกรชาวสวนยาง |
21 ม.ค. 2564 |
21 ม.ค. 2564 |
|
ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 8 คน ประกอบด้วย ทีมผู้ประสาน 2 คน กยท. 1 คน นักวิชาการ มนร. 1 คน เกษตรและสหกรณ์ 1 คน สภาเกษตร 2 คน โรงพยาบาลรือเสาะ 1 คน
- เริ่มประชุม 10.00 น. โดย นพ.มาหะมะ เมาะมูลา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรือเสาะ เปิดการประชุม และได้แจ้งเรื่องงานสร้างสุขภาคใต้ที่จะจัดในเดือนพฤษภาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเชิญคณะทำงานในประเด็นพืชร่วมยางมาร่วมด้วย
- อานัติ หวังกุหลำ ผู้ประสานงาน ชี้แจงวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทุกท่านรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงาน เพื่อช่วยกันกำหนดแผนหนุนเสริมเกษตรกร เก็บข้อมูล ถอดบทเรียน และบทบาทการทำงาน เพื่อหารือความร่วมมือกับทีมสื่อเพื่อสื่อสารกับภายนอก จากนั้นได้นำเสนอความก้าวหน้าของเกษตรกรในการดำเนินงานปลูกพืชร่วมยาง และคุณธนพล ดุลยกุล ผอ.กยท.สาขาเมืองนราธิวาส ช่วยเติมเต็มข้อมูล จากเกษตรกร 10 ราย พบว่า ปัจจุบันได้ปลูกไม้ยืนต้น ไม้แซม ไม้ผล และผักสวนครัวเพิ่มขึ้น 7 ราย ยังไม่ได้ปลูกเพิ่ม 3 ราย นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 2 ราย พันธุ์ไม้ยืนต้นที่ปลูกเพิ่ม ได้แก่ ตะเคียน ยางนา ตำเสา มะฮอกกานี ไม้แซมยางที่นิยมปลูกคือ กล้วย ไม้ให้ผลที่นิยมปลูก ได้แก่ เงาะ มังคุด ทุเรียน สะตอ สัปปะรด ผักสวนครัว ได้แก่ พริก กระเจี๊ยบ มะเขือ เป็นต้น ซึ่งแต่ละแปลงปลูกไม่เท่ากันแตกต่างไปตามความสนใจและบริบทพื้นที่ ความตั้งใจหรือแผนของเกษตรกรที่จะเริ่มปลูก ได้แก่ ต้นกาแฟ ทุเรียน มังคุด มะม่วง สละพันธุ์สุมาลี และเลี้ยงปลาดุก ปลานิล (รายละเอียดเพิ่มเติมตามเอกสารแนบ)
- คุณธนพล ได้เล่าสถานการณ์ปัญหาสำคัญของเกษตรชาวสวนยางว่า ตอนนี้ได้เกิดโรคระบาดในสวนยาง ทำให้ต้นยางใบแห้งร่วง ลำต้นไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้น้ำยางลดลง ในจังหวัดนราธิวาสโรคได้ระบาดไปประมาณ ร้อยละ 90 ของสวนยางทั้งหมด ประมาณ 7 แสนกว่าไร่ ซึ่งตอนนี้ยังไม่พบยารักษา ปัญหาอีกอย่างที่ผ่านมาที่ส่งผลต่อการปลูกพืชร่วมยางคือ น้ำท่วมในหลายพื้นที่ บางสวนต้นไม้ที่ปลูกเพิ่มในสวนยางตายหมด จึงต้องวางแผนปลูกใหม่ ในส่วนนี้ทาง กยท.เป็นที่ปรึกษาและหนุนเสริมเกษตรกรชาวสวนยางอย่างต่อเนื่อง
- ด้านการติดตามเก็บข้อมูล ถอดบทเรียน และร่างโมเดลสวนพืชร่วมที่เหมาะสมของจังหวัดนราธิวาส ผศ.ดร.วุฒิชัย ได้พัฒนาเครื่องมือการเก็บข้อมูลมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะลงพื้นที่เก็บข้อมูลหลังจากนี้
- ได้หารือกันเบื้องต้นในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบพืชร่วมยาง วนเกษตร ฯ จากแปลงต้นแบบของเกษตรกรที่มีการนำร่องนำรูปแบบไปใช้ เพื่อพัฒนารูปแบบ ฯ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย
- ประเด็นความร่วมมือกับทีมสื่อเพื่อสื่อสาร ทุนคนในทีมเห็นด้วยว่าควรพาทีมสื่อลงพื้นที่ไปดูที่แปลงและพูดคุยกับเจ้าของสวน โดยทางคุณธนพล กยท. ช่วยคัดเลือกพื้นที่ว่าจะให้สื่อลงพื้นที่ไหน และจะแจ้งให้กับผู้ประสานงานอีกครั้ง
|
|
- คณะทำงานทุกคนได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงาน ตามรายละเอียดเอกสารแนบ
- ได้แผนการดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้น ได้แก่ ด้านการสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางปลูกพืชร่วมยางเพิ่มขึ้นเป็นบทบาทหลักของ กยท. ด้านการเก็บข้อมูลสนับสนุนเพื่อตอบตัวชี้วัดโครงการ การออกแบบโมเดลจากแปลงเกษตรของชาวสวนยาง การร่างข้อเสนอ ส่วนนี้อาจารย์วุฒิชัย เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ด้านการจัดเวทีแลกเปลี่ยนหลังจากได้ข้อมูลพื้นที่มาแล้ว เพื่อมาสรุปเป็นโมเดลและข้อเสนอแนะต่อไป นอกจากนี้ได้แผนงานที่จะให้สื่อลงพื้นที่เพื่อสื่อสารต่อไป
|
|
เครือข่ายร่วมกับ กยท. จัดทำพัฒนาข้อเสนอ แนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง และสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนและผลักดันทางนโยบาย |
15 มี.ค. 2564 |
|
|
|
|
|
|
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทบทวนวิเคราะห์ รูปแบบ/วิธีการปรับใช้การทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง ที่เหมาะสมและสรุปร่างข้อเสนอ |
25 มี.ค. 2564 |
|
|
|
|
|
|