สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ประเมินผลกระทบเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง

รายละเอียดโครงการ
เลขที่ข้อตกลง ุ61-ข-045
ชื่อโครงการ ประเมินผลกระทบเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง
ชุดโครงการ แผนงานโซนใต้อันดามัน
ผู้รับผิดชอบโครงการ เชภาดร จันทร์หอม
คณะทำงาน ?
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 31 พฤษภาคม 2562
งบประมาณโครงการ 100,000.00 บาท
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย (คน) 110
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย
  • แกนนำและสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนลำขนุน 25 คน
  • แกนนำและสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนเขาหลัก 25 คน
  • แกนนำและสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนนาหมื่นศรี 25 คน
  • แกนนำและสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวเกาะลิบง 25 คน
  • ตัวแทนหน่วยงานภาคีท้องถิ่น 4 ท้องถิ่น จำนวน 4 คน
  • ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการด้านการท่องเที่ยว ภาคเอกชน ด้านการท่องเที่ยว ภาคประชาสังคม 6 คน
พื้นที่ดำเนินการ 1) บ้านเขาหลัก ต.น้ำผุด อ.เมือง 2)บ้านลำขนุน ต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว 3)บ้านนาหมื่นศรี ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง 4)เกาะลิบง ต.เกาะลิบง อ.กันตัง
จังหวัด
ละติจูด-ลองจิจูด place

หลักการและเหตุผล

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจก่อให้เกิดการลงทุนภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับประชาชนมีรายได้ ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวในการเป็นกลไกสำคัญในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจประเทศ ในสถานการณ์ความไม่แน่นอนทั้งภัยธรรมชาติ ด้านเศรษฐกิจ และการเมือง โดยภาครัฐมีทิศทางในการสนับสนุนการท่องเที่ยวทั้งเชิงนโยบาย แผนงานทั้งในระดับชาติ อาทิ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560-2564 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีความสำเร็จระดับหนึ่งทั้งในเชิงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยปี พ.ศ.2559 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 32,573,545 คน ขยายตัวร้อยละ 8.86 จากปีที่ผ่านมา มีรายได้จากการท่องเที่ยว 1,637,832 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.40 รวมทั้งจำนวนผู้มาเยี่ยมเยียนชาวไทยเที่ยวไทยรวม 148.03 ล้านคน-ครั้ง ขยายตัวร้อยละ 6.49 จากปีที่ผ่านมา ก่อเกิดรายได้ทั้งสิ้น 869,510.63 ล้านบาท(สำนักงานปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา, 2559)

ทั้งนี้ภายใต้การพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวกระแสหลักกลับพบว่าส่งผลกระทบอีกด้านนำไปสู่การพัฒนาที่ไม่สมดุล ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย การกระจุกตัวของรายได้ และแรงงานออกนอกพื้นที่ ในขณะเดียวกันกระแสการพัฒนายั่งยืนของโลกในการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลก หรือ “Earth Summit ” เมื่อปี 2535 ที่เมืองริโอ เดอ จาเนโร ยังมีส่วนผลักดันกระแสการพัฒนาการ 3 ประการ ได้แก่ 1) กระแสความต้องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 2) กระแสความต้องการของตลาดการท่องเที่ยวในการด้านการศึกษาเรียนรู้ และ 3) กระแสความต้องการพัฒนาคน จากกระแสทั้ง 3 ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของระบบการท่องเที่ยวในการแสวงหาทางเลือกใหม่(Alternative tourism) (สินธุ์ สโรบล, 2546) จึงทำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(Ecotourism)เป็นกระแสใหม่ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในช่วงปี พ.ศ.2535-2540 โดยการผลักดันของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

การท่องเที่ยวโดยชุมชน(Community Based Tourism) เป็นความพยายามหนึ่งของการสร้างทางเลือกในการพัฒนาประเด็นการท่องเที่ยวที่ให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวและมีบทบาทในการกำหนดทิศทางการพัฒนา ประเทศไทยมีการก่อตัวการท่องเที่ยวโดยชุมชนคู่ขนานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายใต้การทำงานในระดับพื้นที่ของโครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ(REST)(สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน, 2560) และในหลายปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภายหลัง พ.ศ.2558 รัฐบาลประกาศให้เป็นปีท่องเที่ยววิถีไทยนำเสนอภาพลักษณ์มุมมองใหม่ให้นักท่องเที่ยว เริ่มมีการตลาดที่สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนหลากหลายช่องทางทำให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้นของนักท่องเที่ยว และในปี พ.ศ. 2560 มีการประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559-2563 รวมถึงนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เน้นการสร้างรายได้ในชุมชนเลือกสนับสนุนประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนทำให้หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานสนับสนุนต่างๆ สถาบันการศึกษา มีแผนงานโครงการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน ยิ่งทำให้เกิดกระแสการตื่นตัวของชุมชนในหลายพื้นที่ลุกขึ้นมาพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากยิ่งขึ้น

จังหวัดตรังมีชุมชนที่ริเริ่มดำเนินการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 และมีการขยายแนวคิดไปอีกหลายชุมชน ทั้งนี้พบว่ามีทั้งชุมชนที่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และบางชุมชนหยุดชะงักรอปรับตัว บ้างยุติการดำเนินงาน และหลายชุมชนให้ความสนใจการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งนี้แผนงานสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนของหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดเป็นลักษณะกิจกรรม โครงการของแต่ละหน่วยงาน ขาดการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขาดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เป็นทิศทาง นโยบายร่วมกันของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มีหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ได้แก่ กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health impact assessment) เป็นรูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่มุ่งคาดการณ์ หรือศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม ต่อประชาชน เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจหรือเสนอทางเลือกสำหรับการดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

จากสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อให้การกำหนดทิศทางนโยบายและการวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดตรังมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนป้องกันผลกระทบระยะยาว ผู้วิจัยเห็นจึงเห็นว่าควรใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ(Health impact assessment)มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน และพัฒนาข้อเสนอแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรังต่อไป

กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ / ตัวชี้วัด / การดำเนินกิจกรรม

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / เป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จ

วัตถุประสงค์โดยตรง

1) เพื่อศึกษาผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง

1) ข้อมูลสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัดอันดามัน และระดับชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
2) ตัวชี้วัดการประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน
3) ผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน 4 ชุมชน

2) เพื่อเสนอแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง

1) แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง

กิจกรรมหลัก

วันที่ทำกิจกรรมชื่อกิจกรรมหลักงบประมาณ
(บาท)
กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
กิจกรรม
(ครั้ง)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
(ครั้ง)
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 การกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening) 5,000.00 0 1 5,000.00 1 5,000.00 more_vert
16 ส.ค. 61 การกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (screening) 0 - -
2 การกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping) 20,000.00 0 1 20,000.00 1 19,900.00 more_vert
5 ก.ย. 61 การกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public screening and Public scoping) 25 - -
3 ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Assessing) 30,000.00 0 4 30,000.00 4 56,400.00 more_vert
20-21 ก.ย. 61 ลงประเมินผลกระทบต่อสุขภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาหมื่นศรี (Assessing) 20 - -
9-10 ต.ค. 61 ลงพื้นที่ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลิบง (Assessing) 20 - -
14-15 พ.ย. 61 ลงพื้นที่ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านลำขนุน (Assessing) 20 - -
20-21 ธ.ค. 61 ลงพื้นที่ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก (Assessing) 20 - -
4 ทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาโดยสาธารณะ (Public review) 15,000.00 0 1 15,000.00 1 11,500.00 more_vert
26 ก.พ. 62 ทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาโดยสาธารณะ (Public review) 25 - -
5 การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง 15,000.00 0 1 15,000.00 1 6,300.00 more_vert
15 มี.ค. 62 การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง 10 - -
6 เวทีข้อเสนอเชิงนโยบายแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง 15,000.00 0 1 15,000.00 1 8,300.00 more_vert
25 มิ.ย. 62 เวทีข้อเสนอเชิงนโยบายแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง 15 - -
รวม 100,000.00 0 9 100,000.00 9 107,400.00

โครงการเข้าสู่ระบบโดย เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2567 น.

วันที่ - เวลากิจกรรม - รายละเอียด
25 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยเชภาดรเชภาดรเมื่อ 13 ธันวาคม 2562 12:35:24
Project owner
แก้ไขโดย เชภาดร เมื่อ 13 ธันวาคม 2562 12:43:04 น.

ชื่อกิจกรรม : เวทีข้อเสนอเชิงนโยบายแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง

คุณภาพกิจกรรม : เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
วัตถุประสงค์

เพื่อผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรังสู่การปฏิบัติ

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

  • กลุ่มภาคีภาครัฐ
  • กลุ่มภาคประชาชน กลุ่มสมาชิกท่องเที่ยวโดยชุมชน
  • กลุ่มภาคเอกชน และวิชาการ

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

คณะวิจัยเปิดเวทีนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาฉันทามติต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางสำคัญต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวชุมชนทั้งภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคชุมชนและประชาสังคม

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 6 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

  • คณะทำงานวิจัย
  • ภาคีภาครัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง
  • แกนนำชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  • จัดเวทีข้อเสนอเชิงนโยบายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง โดยนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาฉันทามติต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ระหว่างผู้แทนภาครัฐ แกนนำชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชน และคณะทำงานวิจัย
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ข้อเสนอเชิงนโยบายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรังที่สามารถนำไปแปลงเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
15 มีนาคม 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยเชภาดรเชภาดรเมื่อ 13 ธันวาคม 2562 11:45:31
Project owner
แก้ไขโดย เชภาดร เมื่อ 13 ธันวาคม 2562 11:49:24 น.

ชื่อกิจกรรม : การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง

คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

  • คณะทำงานวิจัย
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ทีมวิจัยเปิดเวทีนำเสนอผลการศึกษาและร่วมระดมความคิดเห็นค้นหาภาพอนาคต และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนตรัง โดยให้มีส่วนร่วมทั้งหน่วยงานภาครัฐ การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนเอกชน ทั้งจากผู้ประกอบการท่องเที่ยว  สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง แกนนำชุมชนท่องเที่ยว ตัวแทนนักวิชาการ และสื่อมวลชน 2.คณะวิจัยพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง โดยคณะนักวิจัยประมวลความคิดเห็น จากทั้งค้นพบจากรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง และจากข้อเสนอแนะจากเวทีนำเสนอผลการศึกษาและค้นหาภาพอนาคตการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 5 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

  • คณะทำงาน 4 คน
  • ภาคีภาครัฐ 1 คน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

-คณะทำงานวิจัยและภาคีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมระดมความคิดเห็น แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง และยกร่างเป็นแผนพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ร่างเป็นแผนพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยเชภาดรเชภาดรเมื่อ 13 ธันวาคม 2562 11:31:39
Project owner
แก้ไขโดย areeandaman เมื่อ 13 ธันวาคม 2562 15:56:45 น.

ชื่อกิจกรรม : ทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาโดยสาธารณะ (Public review)

คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน 4 พื้นที่

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

  • กลุ่มแกนนำและสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวพื้นที่ละ 4 คน x4 = 16 คน
  • กลุ่มภาคีภาครัฐ ภาควิชการ และภาคเอกชน 4 คน
  • คณะทำงาน 5 คน

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ทีมวิจัยจัดเวทีร่วมกับ Stakeholder เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฯ
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 28 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

  • คณะทำงาน 4 คน
  • ภาคีหน่วยงาน 2 คน
  • แกนนำและสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยว 4 พื้นที่รวม 18 คน 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

การทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ (Public review ) โดยนักวิจัยจัดเวทีรับฟังความเห็นร่างรายงานผลการประเมินผลกระทบฯ โดยนำเสนอต่อกลุ่มประชุมกลุ่มย่อย ได้แก่ ผู้แทนองค์กรชุมชนท่องเที่ยวและกลุ่มจัดตั้งอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ  สื่อมวลชน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของร่างรายงานการประเมินผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน และรับฟังข้อเสนอแนะในการปรับปรุงยุทธศาสตร์ โดยการอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion)

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ร่างรายงานการประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
20 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยเชภาดรเชภาดรเมื่อ 13 ธันวาคม 2562 11:00:30
Project owner
แก้ไขโดย เชภาดร เมื่อ 13 ธันวาคม 2562 11:06:18 น.

ชื่อกิจกรรม : ลงพื้นที่ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก (Assessing)

คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ทีมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด 2.ทีมวิจัยวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำร่างรายงานการประเมินผลกระทบซึ่ง ซึ่งครอบคลุม 2.1 ตัวชี้วัดหลักของโครงการ และปัจจัยกำหนดสุขภาพ 2.2 ปัจจัยความสำเร็จ อุปสรรค และโอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 15 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

  • กลุ่มล่องแก่งเขาหลัก
  • กลุ่มแม่บ้าน 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  • ทีมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด
  • การประชุมกลุ่มย่อย และสัมภาษณ์
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อมูลผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเขาหลัก

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
14 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยเชภาดรเชภาดรเมื่อ 13 ธันวาคม 2562 10:42:59
Project owner
แก้ไขโดย เชภาดร เมื่อ 13 ธันวาคม 2562 11:21:00 น.

ชื่อกิจกรรม : ลงพื้นที่ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านลำขนุน (Assessing)

คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านลำขนุน

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

  • กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านลำขนุน

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ทีมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด 2.ทีมวิจัยวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำร่างรายงานการประเมินผลกระทบซึ่ง ซึ่งครอบคลุม 2.1 ตัวชี้วัดหลักของโครงการ และปัจจัยกำหนดสุขภาพ 2.2 ปัจจัยความสำเร็จ อุปสรรค และโอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านลำขนุน
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 19 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

  • กลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยวบ้านลำขนุน 9 คน
  • กลุ่มแม่บ้าน 4 คน
  • กลุ่มแสดงศิลปวัฒนธรรม 2 คน
  • กลุ่มพายเรือนำเที่ยว 2 คน
  • ผู้นำชุมชนท้องที่ ท้องถิ่น 2 คน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  • ทีมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด
  • ใช้การประชุมกลุ่มย่อย และสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ข้อมูลผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาหมื่นศรี ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
9 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยเชภาดรเชภาดรเมื่อ 13 ธันวาคม 2562 11:07:36
Project owner
แก้ไขโดย เชภาดร เมื่อ 13 ธันวาคม 2562 11:12:05 น.

ชื่อกิจกรรม : ลงพื้นที่ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลิบง (Assessing)

คุณภาพกิจกรรม : เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลิบง

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

  • กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลิบง เช่น กลุ่มที่พัก กลุ่มเรือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ทีมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด 2.ทีมวิจัยวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำร่างรายงานการประเมินผลกระทบซึ่ง ซึ่งครอบคลุม 2.1 ตัวชี้วัดหลักของโครงการ และปัจจัยกำหนดสุขภาพ 2.2 ปัจจัยความสำเร็จ อุปสรรค และโอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลิบง
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 19 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

  • กลุ่มที่พักโฮมสเตย์ 3 คน
  • กลุ่มท่องเที่ยวฯ 9 คน
  • กลุ่มแม่บ้าน 5 คน
  • ผู้นำชุมชน 2 คน 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  • ทีมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด
  • การประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ข้อมูลผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะลิบง
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
20 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยเชภาดรเชภาดรเมื่อ 13 ธันวาคม 2562 11:14:09
Project owner
แก้ไขโดย เชภาดร เมื่อ 13 ธันวาคม 2562 11:18:24 น.

ชื่อกิจกรรม : ลงประเมินผลกระทบต่อสุขภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาหมื่นศรี (Assessing)

คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาหมื่นศรี

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

  • สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี กลุ่มลูกลมฯ กลุ่มผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ทีมวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ ตามตัวชี้วัดและเครื่องมือที่กำหนด 2.ทีมวิจัยวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำร่างรายงานการประเมินผลกระทบซึ่ง ซึ่งครอบคลุม 2.1 ตัวชี้วัดหลักของโครงการ และปัจจัยกำหนดสุขภาพ 2.2 ปัจจัยความสำเร็จ อุปสรรค และโอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาหมื่นศรี
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 18 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

  • กลุ่มผู้นำท้องที่ท้องถิ่น 3 คน
  • กลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี 6 คน
  • กลุ่มทำนา 3 คน
  • กลุ่มวิสาหกิจลูกลม 4 คน
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์OTOP ลูกหยี 2 คน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

การลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพตามตัวชี้วัด
โดยใช้การประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อมูลผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จากการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาหมื่นศรี

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
5 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยเชภาดรเชภาดรเมื่อ 12 ธันวาคม 2562 22:23:06
Project owner
แก้ไขโดย เชภาดร เมื่อ 13 ธันวาคม 2562 12:44:35 น.

ชื่อกิจกรรม : การกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public screening and Public scoping)

คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

  • แกนนำภาคประชาชน 16 คน
  • ตัวแทนหน่วยงานภาคี 4 คน
  • คณะทำงาน 5 คน

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ทีมวิจัยพิจารณาและทบทวนรายละเอียดกิจกรรมสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชนในแต่ละพื้นที่ ประเด็นความครอบคลุมของการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชน  ตัวชี้วัด ข้อจำกัด การดำเนินการ
  2. ทีมวิจัยวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง/ส่วนได้ส่วนเสียของการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Stakeholder analysis)
  3. ทีมวิจัย mapping กิจกรรมหลักของและปัจจัยกำหนดสุขภาพ (Social Determinant of Health; SDH) ที่ส่งผลกระทบถึงสุขภาวะทั้ง 4 มิติ
  4. นักวิจัยสรุป SDH ที่สำคัญจัดทำร่างตัวชี้วัดการประเมิน 5 จัดประชุมกลุ่ม/เวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำเสนอร่างตัวชี้วัดตาม SDH ที่จัดทำขึ้น 4 พื้นที่
  5. ทีมวิจัยทำเครื่องมือรวบรวมข้อมูลตามตัวที่วัดที่กำหนด
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 33 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

  • แกนนำและสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยว 27 คน
  • ภาคี 2 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง
  • คณะทำงาน 4 คน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  1. ศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร (Documentary Review) จากเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยสืบค้นเอกสารทางวิชาการที่มีการศึกษาในประเด็นการจัดการท่องเที่ยว โดยระบุประเด็นหลัก ชื่องานวิจัยที่ศึกษา มิติการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง และตัวชี้วัดสำคัญตามมิติที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาเป็นร่างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน
  2. การกลั่นกรองโดยสาธารณะ โดยนำผลการทบทวนสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง และแผนความเชื่อมโยงการท่องเที่ยวโดยชุมชนตั้งแต่ระดับชาติจนถึงระดับพื้นที่มานำเสนอให้แกนนำชุมชนท่องเที่ยวและภาคีเครือข่ายฯร่วมแลกเปลี่ยนให้เพิ่มเติมข้อมูล
  3. การกำหนดขอบเขตโดยสาธารณะ (Public Scoping) โดยนำร่างรายงานการพัฒนาตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาประชุมกับแกนนำและสมาชิกกลุ่มชุมชนท่องเที่ยวเพื่อพิจารณาถึงผลกระทบของกิจกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยกำหนดสุขภาพ (ปัจจัยด้านคน สภาพแวดล้อม และระบบกลไก)ที่เกิดจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ปัญหาและอุปสรรค
  • ร่างรายตัวชี้วัดในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
16 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยเชภาดรเชภาดรเมื่อ 12 ธันวาคม 2562 21:59:52
Project owner
แก้ไขโดย เชภาดร เมื่อ 13 ธันวาคม 2562 11:40:57 น.

ชื่อกิจกรรม : การกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (screening)

คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนสถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง  และความเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนตั้งแต่ระดับชาติถึงแผนพัฒนาระดับจังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ทีมวิจัยทำการทบทวนเอกสาร/โครงการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัดอันดามัน และระดับชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12  แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
  2. ทีมวิจัยคาดการผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นเบื้องต้นจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  • การทบทวนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด ระดับชาติ แผนพัฒนาจังหวัด และข้อมูลทุติยภูมิ จากสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตรัง และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง
  • การทบทวนรวบรวมเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ การประเมินผลกระทบการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง ความเชื่อมโยงสอดคล้องของนโยบายการท่องเที่ยวโดยชุมชนตั้งแต่ระดับชาติ ระดับภาค ถึงระดับจังหวัด ผลคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน และรายชื่อโครงการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามแผนพัฒนาจังหวัดยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ให้มีคุณภาพเพื่อสร้างรายได้ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
  • ได้ผลกระทบเบื้องต้นต่อปัจจัยกำหนดสุขภาพจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม 
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-