วิสัยทัศน์ (Vision)

วิชาการ
chevron_right
เพื่อขับเคลื่อน
chevron_right
นโยบายสาธารณะ
chevron_right
สู่
chevron_right
การพัฒนาที่ยั่งยืน

พันธกิจ (Mission)

สถาบันนโยบายสาธารณะ(สนส.) มีบทบาทสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน มีศักยภาพในการสร้างชุดความรู้ เกิดกลไกการจัดการเชิงระบบ และการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ โดยใช้บริบทพื้นที่เป็นตัวตั้ง ทั้งนี้เพื่อให้สังคมมีการใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา สร้างนวัตกรรมเชิงระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตอบสนองยุทธศาสตร์ของประเทศ

  1. เป็นสถาบัน ที่ทำหน้าที่ สนับสนุน ส่งเสริม และดำเนินการจัดการงานวิจัย พัฒนานวัตกรรมเชิงระบบ และเชิงนโยบาย เพื่อสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ นำไปสู่กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาทั้งระดับพื้นที่ ระดับประเทศ
  2. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในสหวิทยาการที่เข้มแข็ง ทั้งที่มาจากสถาบันอุดมศึกษาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จากองค์กรพัฒนาเอกชนและจากชุมชน เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วม
  3. เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งการผลิตบัณฑิต การพัฒนาศักยภาพของคนและเครือข่าย เพื่อเป็นกำลังหลักในการแก้ปัญหาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์หลัก การดำเนินงานของ สนส.

  1. ใช้กระบวนการทางวิชาการและงานวิจัย เป็นเครื่องมือและกลไกในการประสานงาน
  2. ใช้การทำงานแบบเครือข่าย โดยระดมนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เครือข่ายประชาสังคม องค์กรชุมชน ราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งที่เป็นผู้บริหาร ผู้มีอำนาจตัดสินใจ นักวิเคราะห์ระบบ นักเคลื่อนไหวในพื้นที่ เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายทำงานและจัดการประเด็นที่เรียงลำดับตามความสำคัญ
  3. ใช้กระบวนการบริหารจัดการความรู้ การสร้างองค์กรและสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในเครือข่ายระดับต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเป็นพลังในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับชุมชนท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง
  4. ใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะ กระบวนการสมัชชา ในการผลักดันนโยบายทั้งในระดับพื้นที่ ระดับภาคและระดับประเทศ

แนวทางการเปลี่ยนยุทธศาสตร์เป็นกลวิธีการปฏิบัติงาน

  1. การปรับกระบวนทัศน์ของนักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้คิดเชิงระบบและเชิงนโยบายมองเห็นถึงความเชื่อมโยงของแต่ละปัจจัยในเชิงระบบ โดยอาศัยการทำ Research and Policy Mapping และ การแลกเปลี่ยนในเวทีวิชาการ
  2. การสร้างทีมนักวิจัย นักจัดการ ทั้งกลุ่มที่มี ศักยภาพสูง ปานกลาง และกลุ่มที่ยังต้องการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ไปด้วยกัน โดยมีลักษณะเป็นเครือข่ายความรู้ (Knowledge Network) และใช้ระบบพี่เลี้ยง (Research Counselors : RC) ทั้งเชิงพื้นที่และเชิงประเด็น
  3. การพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการ ได้แก่ ระบบข้อมูลสารสนเทศ ระบบติดตาม ระบบการประเมินผล ระบบการเงินและงบประมาณจากแหล่งทุนต่าง ๆ
  4. การพัฒนาคุณภาพของงานวิจัยและพัฒนา ทั้งเชิงระบบและเชิงนโยบาย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ใช้ประโยชน์จากงานในแต่ละประเด็น และ การสร้างเวทีวิชาการ เวทีนโยบายเพื่อการติดตามความก้าวหน้าและการผลักดันนโยบาย
  5. การพัฒนากลไกและวิธีการในการจัดการเพื่อให้งานวิจัยและพัฒนาเกิดการนำไปใช้ประโยชน์ (research utilization) โดยการดึง stakeholder ซึ่งรวมทั้ง User เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การตั้งโจทย์ การร่วมศึกษา และร่วมผลักดัน เพื่อทำให้เกิดคุณค่าตรงกับความต้องการของ user
  6. ใช้การจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ และสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพในการทำวิจัยเชิงระบบและการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย

บุคลากรภายในสถาบัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ

รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์

ดร.เพ็ญ สุขมาก

ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม)
ม.สงขลานครินทร์, 2557
ตำแหน่ง: ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ. ม.อ.


บุคลากรฝ่ายวิชาการ (อาจารย์ประจำสถาบัน)

ดร.ซอฟียะห์ นิมะ

ปร.ด. (เภสัชศาสตร์), ม.สงขลานครินทร์, 2555
ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.

ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย

Ph.D. (Epidemiology), ม.สงขลานครินทร์, 2551
ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.

ดร.สุวภาคย์ เบญจธนวัฒน์

ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.

ดร.ซูวารี มอซู

ตำแหน่ง: อาจารย์ สนส. ม.อ.


บุคลากรฝ่ายสนับสนุน

หทัยทิพย์ เอ้งฉ้วน

นักวิชาการอุดมศึกษา

นายญัตติพงศ์ แก้วทอง

เจ้าหน้าที่วิจัย

นางสาวเยาวลักษณ์ ศรีสุกใส

นักวิชาการอุดมศึกษา

นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี

เจ้าหน้าที่วิจัย

นางสาวจินดาวรรณ รามทอง

เจ้าหน้าที่วิจัย

นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์

เจ้าหน้าที่วิจัย

นายภวินท์ แซ่คู

นักวิชาการคอมพิวเตอร์

นางสาวอิสรา มิตรช่วยรอด

เจ้าหน้าที่วิจัย

นางสาวศศิวิมล รุ่งบานจิต

นักวิชาการเงินและบัญชี



การประกันคุณภาพหลักสูตร