สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

จัดกิจกรรมงานสร้างสุขภาคใต้ ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร วันที่ 4 ตุลาคม 2559

วัตถุประสงค์
  1. งานสร้างสุขภาคใต้ระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 นำเสนอประเด็นความมั่นคงทางอาหาร วันที่ 4 ตุลาคม 2559
กลุ่มเป้าหมาย
จำแนกตามช่วงวัยจำแนกกลุ่มเฉพาะ
เด็กเล็ก0คน คนพิการ0คน
เด็กวัยเรียน0คน ผู้หญิง0คน
วัยทำงาน0คน มุสลิม0คน
ผู้สูงอายุ0คน แรงงาน0คน
อื่น ๆ ระบุ...0คน
รายละเอียดกิจกรรม

กิจกรรมงานสร้างสุขภาคใต้ 2559 ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร
1.นำเสนอนิทรรศการของ ม.ทักษิณ และ อบต.ควนรู
2.กิจกรรมการเสวนาเรื่องแกะรอยข้าวใต้ใครทำใครกิน
3.ข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องความมั่นคงทางอาหาร 4.หนังสือถอดบทเรียน ความมั่นคงทางอาหารแกะรอยข้าใต้ ใครทำใครกิน

ระยะเวลาดำเนินงาน

1 วัน

ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดงานสร้างสุขภาคใต้ 2559 ประเด็นความมั่นคงทางอาหารได้นำเสนอสถานการณ์ของข้าวของภาคใต้ โดยมีกรณีตัวอย่างของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง และ การบูรณาการด้านอาหารและโภชนาการ อบต.ควนรู จังหวัดสงขลา ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่นำเสนอนิทรรศการ การสังเคราะห์เอกสารวิชาการเรื่องความมั่นคงทางอาหารแกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน และการเสวนาเรื่อง แลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ “แกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยคุณอนุรัฐ ไทยตรง รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง คุณเกียรติศักดิ์ ยั่งยืน มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน คุณเทพรัตน์ จันทพันธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน คุณถั่น จุลนวล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรู คุณชิต สง่ากุลพงษ์  มูลนิธิชุมชนสงขลา คุณเทอด  นมรักษ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และคุณนัด อ่อนแก้ว ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง อ.ควนขนุน ซึ่งที่ประชุมได้สรุปข้อเสนอเชิงนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหาร ดังนี้ 1. ข้อเสนอต่อ สสส. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายที่ทำงานด้านอาหาร เพื่อผลักดันให้เกิดยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารในทุกระดับ และผลักดันให้เกิดกองทุนความมั่นคงทางอาหารในระดับจังหวัด เช่น ให้มีการจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยงเรื่องความมั่นคงทางอาหาร 2. ข้อเสนอต่อ สช. กำหนดให้ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารเป็นวาระหลักในกระบวนการสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัดเพื่อสร้างนโยบายสาธารณะทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร 3. ข้อเสนอต่อ สปสช. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลต้องมีการจัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคงทางอาหาร โดยควรมีการจัดสรรงบประมาณของกองทุนไม่น้อยกว่า 10 % ในแต่ละปี 4. ข้อเสนอต่อ กระทรวงสาธารณสุข ควรจะต้องบูรณาการเรื่องความมั่นคงทางอาหารกับเรื่องอาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัยโดยจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในทุกระดับ 5. ข้อเสนอต่อสถานีโทรทัศน์ Thai PBS 1. ควรมีรายการหลักที่มีการสื่อสารเรื่องวัฒนธรรมอาหาร ภูมิปัญญาด้านอาหาร ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร มิติทางวัฒนธรรมเพื่อการแบ่งปันด้านอาหาร เกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรรมยั่งยืน
2. ควรให้นักข่าวพลเมืองมีการนำเสนอเรื่องความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นหลัก เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความมั่นคงทางอาหาร 6. ข้อเสนอต่อองค์กรอื่นๆ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1. ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์ของภาคใต้ ตลอดจนมาตรการและการจัดการข้าวของภาคใต้ เนื่องจากข้าวของภาคใต้มีความเฉพาะในเรื่องฤดูกาล พันธุ์ข้าวพื้นเมือง การแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวให้เป็นอาหาร หรือ เวชสำอาง 2. ส่งเสริมการสร้างแปลงนารวมของชุมชน เพื่อให้คนที่ไร้ที่ดินทำกินได้มีส่วนร่วมในการผลิตอาหารด้วยตนเอง และสามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย 3. สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกองบุญข้าว (วันทำขวัญข้าว) ในระดับตำบล เพื่อกระจายอาหารให้กับผู้ด้อยโอกาสในชุมชน 4. สนับสนุนให้มีการสร้างกลไกการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดให้เป็นกลไกที่ยั่งยืน โดยมีสำนักงานมาตรฐาน มกอช. เป็นหน่วยงานหลักในการทำงาน  และมีมาตรฐานรับรอง 3 ระดับ ได้แก่ -  ระดับตนเอง (GPS)
- ระดับประเทศ (ออแกร์นิกไทยแลนด์) - ระดับต่างประเทศ (Ifoam) 5. สนับสนุนการจัดทำกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ ( เมล็ดพันธุ์)  กลางน้ำ (โรงสีข้าว) และปลายน้ำ (การแปรรูปและการส่งออก) ให้ได้มาตรฐาน GMP. 6. กำหนดมาตรการส่งเสริมโครงการตลาดเกษตรอินทรีย์ในรูปองค์กร โดยเป็นโครงการนำร่องในระดับจังหวัด เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน โรงพยาบาล ให้รับซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ขององค์กรในชุมชน หรือเครือข่ายในระดับจังหวัด 7.  สนับสนุนให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ (Matching) ระหว่างชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ในภาคการผลิตและภาคการตลาด เช่น การสั่งซื้ออาหารล่วงหน้าระหว่างชุมชนกับชุมชนหรือองค์กรกับองค์กร เพื่อสร้างระบบรับประกันการมีอาหารกินที่ยั่งยืน
8. สนับสนุนและผลักดันระบบ Co - farming ระหว่างเกษตรกรกับผู้บริโภค เพื่อประกันความเสี่ยงของเกษตรกร

ภาคีร่วมสนับสนุน (ระบุชื่อภาคีและวิธีการสนับสนุน เช่น งบประมาณ สิ่งของ การเข้าร่วมอื่นๆ)

1จังหวัดพัทลุงโดยรองผู้ว่า อนุรัฐ ไทยตรงร่วมเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการสนับสนุนนโยบายในระดับจังหวัด
2.มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน 3.มูลนิธิชุมชนสงขลา 4.อบต.ควนรู 5.ตลาดเกษตร ม.อ. 6.มหาวิทยาลัยทักษิณ ึ7.เครือข่ายข้าวจังหวัดพัทลุง

รายละเอียดงบประมาณ
ประเภทจำนวนบาทครั้งรวม(บาท)
รวมค่าใช้จ่าย 0

กิจกรรมย่อยตามปฏิทินกิจกรรมของโครงการ

วันที่กิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย(คน)งบประมาณ(บาท)
4 ต.ค. 59 งานสร้างสุขภาคใต้ 150 - more_vert
รวม 1 กิจกรรม 150 0.00

Refresh