โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 5
1 ประธานแจ้งให้ทราบ
1.1 ความเป็นมาของโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เขต 5 ราชบุรี
1.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ
วาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุม
ไม่มี
วาระที่ 3 เรื่องแจ้งให้ทราบ/สืบเนื่อง
3.1 พื้นที่ดำเนินการ และงบประมาณที่ได้รับสนับสนุนฯ
วาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
4.1 ขั้นตอนการดำเนินการโครงการฯ ในระยะต่างๆ
1) ขั้นเตรียมการ
- การจัดประชุมคณะกรรมการระดับเขต (ผลลัพธ์ที่ต้องการ วาระการประชุม เนื้อหาในการ
ประชุม)
2) ขั้นดำเนินการ
- การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการระดับพื้นที่ (ผลลัพธ์ที่ต้องการ กำหนดการประชุม
เนื้อหาในการประชุม ขั้นตอนในการประชุม การทำกลุ่มเป็นรายจังหวัดเพื่อมอบหมาย และ
แบ่งหน้าที่)
- ขั้นตอนการดำเนินงานในพื้นที่
- การนิเทศ กำกับติดตามงานในพื้นที่
3) สรุปผลการดำเนินงาน
4.2 การมอบหมายหน้าที่ในการกำกับติดตามการดำเนินงานในพื้นที่
1 ประธานแจ้งให้ทราบ
1.1 ความเป็นมาของโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับ
พื้นที่ เขต 5 ราชบุรี
สปสช.เห็นความสำคัญ ว่าการร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องจะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ ในการทำงานจริงพื้นที่มีการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพในบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานอยู่แล้ว แต่เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการในการสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เขต 5 ราชบุรี จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการขึ้น โดยมีความคาดหวังให้ช่วยวางแผน ควบคุมกำกับ และติดตามประเมินผล เป็นในลักษณะการเติมเต็มให้กับพื้นที่
1.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อขับเคลื่อนงานในภาพรวม (รายละเอียดอยู่ในวารที่ 4) ขั้นตอนการทำงานร่วมกับ สสส.อาจดูว่ามีหลายขั้นตอน ซึ่งหากพิจารณากิจกรรมเป็นสิ่งที่พื้นที่ดำเนินการตามปกติ สปสช.ถืองบประมาณที่จะดำเนินการด้านสุขภาพในระดับตำบลคือกองทุนสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่(กองทุนตำบล) สสส. ขับเคลื่อนด้วยการเติมกระบวนการให้เกิดความเข้มแข็งในพื้นที่ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จัดทำโครงการด้านสุขภาพที่ตอบสนองปัญหาและใช้งบกองทุนตำบล 3.1 โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่ ของ สสส. ก่อนที่จะเข้าสู่โครงการในภาพเขต ขอนำเข้าสู่โครงการในภาพรวมของ สสส.เพื่อจะได้เห็นความเชื่อมโยง และเป็นพิมพ์เขียวส่งยกร่างโครงการระดับเขต ดังนี้
โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่
โดย กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)
กลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (สปสช.)
กลไกภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส. ม.อ.)
หน่วยงานสนับสนุน
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
กลไกสุขภาพชุมชนที่สำคัญในปัจจุบัน
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) : กลไกการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน กระจายทั่วทุกตำบล
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.) : ทุกอำเภอ เพื่อแก้ปญหาระดับพื้นที่ อย่างน้อย 2
เรื่อง โดยใชเกณฑ์ตามบริบทพื้นที่
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.)
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่หรือท้องถิ่น (กปท.) หรือที่ เราเรียกว่ากองทุนตำบล
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
มีการดำเนินงานของแผนสุขภาวะชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง
มีการพัฒนากลไกหน่วยจัดการ (Node) ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อจำกัดการดำเนินงานระบบสุขภาพชุมชนในปัจจุบัน
ทบทวนข้อจำกัดในการดำเนินการตั้งแต่อดีดถึงปัจจุบัน ได้ข้อจำกัดดังนี้
กลไกของทั้ง สธ. สปสช. สสส. มีการบูรณาการการทำงานกันน้อย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ และการกำหนดภาพอนาคตระบบสุขภาพของชุมชน ยังไม่ครบถ้วน
สมบูรณ์
การจัดทำแผน และ คุณภาพของแผนสุขภาพชุมชน ไม่ตอบโจทย์ที่แท้จริง ความเข้าใจในกระบวนการ
จัดทำแผน การปฏิบัติตามแผน และ การติดตาม ประเมินผล มีความหลากหลายแตกต่างกัน
โครงการต่างๆ มักเป็นกิจกรรมซ้ำ ๆ ที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป้าหมายไม่ชัดเจน โครงการ
ไม่มีคุณภาพคุณภาพ ยังต้องการปรับปรุง
ขาดการจัดเก็บข้อมูล เป็นคลังข้อมูลที่จะใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง
ขาดการติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบ
การดำเนินงานที่ผ่านมาในการบูรณาการความร่วมมือของ สปสช. สสส. พ.ศ. 2560-2561 ภายใต้การทำงานของ สจรส.มอ.
เพื่อเพิ่มศักยภาพของโครงการในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยทำงานร่วมกับ
สปสช.ใน 4 ภาค 12 เขตทั่วประเทศ มีกองทุนนำร่องมากกว่าเป้าหมาย 270 กองทุน (ประมาณ 700 กองทุน)
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
กองทุนฯ มีแผน มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด) อาหาร และ
กิจกรรมทางกาย
เกิดหลักสูตรการจัดการปัจจัยเสี่ยง (เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด) อาหาร และการส่งเสริมกิจกรรมทางกายใน
กองทุน ฯ
มีการพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบกองทุน ให้รู้ เข้าใจ สามารถพัฒนาโครงการในพื้นที่ได้
มีเครือข่ายนักวิชาการในการทำหลักสูตร
มีแผนกองทุน (ประเด็นเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร และกิจกรรมทางกาย) ทั้ง 12 เขตทั่วประเทศรวมกัน
จำนวน 6,602 แผนงาน / โครงการพัฒนา 9,271 โครงการ / การติดตามประเมินผล 29,897 โครงการ (ข้อมูล ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2562) รายละเอียดตามตาราง