
เพื่อร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นในตำบลหูล่อง ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย
- กล่าวชี้แจงการขยายผลโมเดลควนรู (รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร) ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยคุณวรรณา สุวรรณชาตรี
- นำเสนอข้อมูลผลจากแบบสอบถาม เรื่อง ความมั่นคงทางอาหารของตำบลหูล่อง โดยคณะทำงาน
- ระดมความคิด และจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหารของตำบลหูล่องร่วมกัน
- คณะทำงานสรุปผลการจัดเวทีร่วมกับ สจรส.ม.อ. และให้คำแนะนำการตรวจเอกสารการเงินและรายงานในเว็บไซต์
ได้ข้อมูลสถานการณ์ และแผนงานการจัดทำยุทธศาสตร์ระบบอาหาร ดังนี้
1.เรื่องความมั่นคงทางอาหาร
1.1เรื่องข้าว มีสถานการณ์ ดังนี้
- มีกลุ่มทำนาในหมู่ 4จำนวน 1 กลุ่ม และไม่เข้มแข็ง ทำนาขาดทุน เพราะมีต้นทุนสูง และมีปัญหาการปลูกปาล์ม ทำให้เกิดการแย่งน้ำ และข้าวมีราคาถูก
- กลุ่มทำนาในหมู่ 6 ทำนาปีมีการทำนาเพื่อไว้กิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์
- ช่วงเก็บข้าว ใช้รถเกี่ยว ทำให้เมล็ดพันธุ์ที่ปลูกในครั้งต่อไปผสมกัน ไม่มีการคัดสรรเมล็ดพันธุ์ข้าว
- พื้นที่นาเริ่มลดลง เพราะขาดทุน มีการปลูกปาล์ม สวนมะพร้าวแทน
- มีปัญหาน้ำท่วมนาข้าว ค่าใช้จ่ายสูง นกและหนูมากินข้าวในนา และไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าว
- ในกลุ่มทำนา มีกิจกรรมการออม ฝากเงิน มีกิจกรรมทำปุ๋ยหมัก เพื่อช่วยลดต้นทุน
ต้นทุนเรื่องนาข้าว
- มีสำนักงานเกษตร เข้ามาสอนการวิเคราะห์ดิน สนับสนุนรถไถนาร้าง และสนับสนุนเมล็ดพันธุ
แผนงาน/สิ่งที่อยากเห็น
- มีเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นของพื้นที่
- ต้นแบบนาอินทรีย์ 1 แปลง
- พัฒนาฐานข้อมูลเกษตรกร
- การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว
- มีตลาดจำหน่ายผลผลิตของชุมชน (ตลาดนัดหมู่ 5 / ตลาดกลางเทศบาล)
- มีขนมลาเป็นอาหารขึ้นชื่อของหูล่อง ซึ่งทำมาจากข้าว
1.2มะพร้าว มีสถานการณ์ คือมีศูนย์รวมรับซื้อมะพร้าวที่บ้านผู้ใหญ่ ซึ่งอยู่ในช่วงติดต่อให้ชาวบ้านเอามะพร้าวมาขาย และราคามะพร้าวมีราคาสูง
1.3ขนมลา มีสถานการณ์ คือ มีการทำขนมลาที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก มี ธกส.เข้ามาสนับสนุนเงินกู้ ต่างคนต่างทำขนมลาในหมู่บ้าน
แผนงานเรื่องขนมลา
- ผลิตอาหารพื้นบ้านของหูล่อง เช่น กะปิปลา ผักเสี้ยนดอง ปลาดี่แดดเดียว
- นำผลิตภัณฑ์ที่มีในหมู่บ้านไปขายในอำเภอ
1.4ฟักทอง มีสถานการณ์ คือ มีพ่อค้าคนกลางเข้ามาซื้อในสวนและกำหนดราคาเอง ทำให้ราคาตก ฟักทองมีปริมาณเยอะ ขายไม่ค่อยได้ ปลูกใช้ปุ๋ยเคมีในระยะปลอดภัย
2.ประเด็นอาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย
2.1.เมนูอาหารกลางวัน (โรงเรียนประถม) มีสถานการณ์ คือ
- ใช้โปรแกรมเมนูอาหารจาก สพฐ.
- ซื้อวัตถุดิบจากชุมชน เป็นผักบ้าน ๆ และซื้อเนื้อสัตว์จากตลาด
- เด็กในโรงเรียนยังชอบทานน้ำหวานและน้ำอัดลม โดยที่โรงเรียนไม่สามารถกำหนดร้านค้ารอบโรงเรียนได้
- เด็กไม่ได้ทานข้าวเช้ามาจากบ้านส่วนหนึ่ง ทำให้มีเด็กขาดสารอาหาร
แผนงาน/ที่อยากทำ
- ทางโรงเรียนอยากมีนโยบายทำอาหารเช้าให้นักเรียนได้ทานซึ่งเป็นอาหารเช้าที่มีปะโยชน์
- ทางโรงเรียนมีแนวทางการรับซื้อวัตถุดิบอาหารกลางวันที่ปลอดสารเคมีจากในหมู่บ้าน
2.2.กองทุนหลักประกันตำบล (สปสช.) ทาง รพ.สต.มีโครงการที่ทำอยู่ คือ ทำโครงการตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกรปี 60
2.3. รพ.สต. มีแผนงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน คือ
- ตรวจสารตกค้างในหมู่ 4 และ 1
- หมู่ 5 ส่งเสริมุขภาพผู้สูงอายุ
- หมู่ 6 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เบาหวาน ความดัน
- โครงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในโรงเรียนสองพี่น้อง
- รพ.สต.เจอปัญหาเด็กอ้วนในศูนย์เด็กเล็ก มีแผนงานแก้ปัญหาเด็กอ้วน
- สรุปผลการจัดเวทีร่วมกัน พบปัญหาและอุปสรรค เรื่อง การให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการของ อบต.น้อยมาก จึงหารือร่วมกันว่าจะให้ทางโรงเรียนวัดสองพี่น้อง และ รพ.สต.บ้านน้ำน้อง เป็นผู้ขับเคลื่อนและหนุนเสริมในการทำโครงการ โดยในวันที่จัดประชุมเขียนแผนยุทธศาสตร์จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมเรียนรู้และหารือร่วมกัน
- ผลการตรวจรายงานในเว็บไซต์และเอกสารการเงิน พบว่า ทางคณะทำงานยังไม่กล้าเบิกค่าใช้จ่ายเพราะกังวลว่าเวลาเบิกจ่ายกับ อบต.จะมีปัญหา จึงแนะนำให้ทำเอกสารแยกเป็นรายกิจกรรมให้ถูกต้อง และนำส่งให้ อบต.ทุกครั้ง ก่อนที่จะทำเรื่องเบิกเงินมาจัดกิจกรรม
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
สภา อบต.หูล่อง ผอ.รพ.สต.น้ำน้อง อสม. ครูโรงเรียนวัดสองพี่น้อง ตัวแทนเกษตรกรชาวนา คณะทำงานในโครงการ และทีม สจรส.ม.อ.
-
-
-