สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แผนงานกลาง ระบบอาหาร นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

ประชุมเชิงปฏิบัติการ การบันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เรื่องความมั่นคงทางอาหาร28 กุมภาพันธ์ 2560
28
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำแผนที่สารสนเทศของแต่ละท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการสมวัยในระดับท้องถิ่น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 28 ก.พ.60 ได้สอนการบันทึกข้อมูลแบบสอบถามที่เก็บมาได้ลงใน Excel โดย อ.มุมตาส มีระมาน จากนั้นแบ่งกลุ่มปฏิบัติการคีย์ข้อมูลลงในโปรแกรม โดยมีเป้าหมายว่าต้องคีย์ให้เสร็จในวันนี้ เพราะต้องเอาข้อมูลไปวิเคราะห์เป็นแผนที่ในวันที่ 2 มีนาคม 60
  • วันที่ 2 มี.ค.60 ทบทวนผลการคีย์ข้อมูล ชี้แจงการจัดทำแผนที่ยุทธศาตร์ โดย อ.เพ็ญ สุขมาก เรื่องการบูรณาการระบบอาหารโดย อปท.มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และเป้าประสงค์ ส่วนการดำเนินงานตำบลบูรณาการใน อปท.มี 6 ขั้นตอน คือ 1) กระบวนการรวบรวมข้อมูล 2) การวิเคราะห์ข้อมูล 3) การคืนข้อมูล 4) กำหนดแผนงานกิจกรรม 5) ดำเนินงานตามแผน 6) ติดตามประเมินผล
  • จากนั้น อ.เพ็ญ สุขมาก และ อ.มุมตาส มีระมาน ได้สอนการวิเคราะห์ข้อมูล แต่เนื่องจากทุกพื้นที่ยังคีย์ข้อมูลไม่เสร็จ เพราะข้อมูลแบบสอบถามมีจำนวนมาก จึงยังไม่สามารถดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ให้ดูได้ ในวันนี้จึงให้คีย์ข้อมูลให้เสร็จต่อ และได้สอนการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่นา พื้นที่ผัก และอื่น ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเขียนเป็นแผนโครงการของแต่ละท้องถิ่น และนำเสนอข้อมูลจากแบบสอบถามที่คีย์ได้
  • วันที่ 3 มี.ค.60 แบ่งกลุ่มแต่ละพื้นที่ ระดมเขียนแผนโครงการความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการสมวัย โดยอ้างอิงข้อมูลจากแบบสอบถามที่คีย์ และนำเสนอในที่ประชุมเพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แต่ละพื้นที่ได้นำเสนอแผนโครงการ เป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้เพื่อจัดทำแผนต่อไป
  1. ตำบลหูล่อง ทำเรื่องนาอินทรีย์ มีข้อแนะนำว่า ให้กลับไปศึกษาข้อมูลปัจจัยกำหนดสุขภาพ ด้านสภาพแวดล้อม กลไก และคน เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุที่เิกิดขึ้น และต้องวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ในตำบลหูล่อง
  2. ตำบลไสหร้า ทำเรื่องตลาดสีเขียวในชุมชน มีข้อแนะนำว่า หากทำตลาดสีเขียวต้องสร้างกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค โดยประสานร่วมกับโรงพยาบาลให้ทำการสุ่มตรวจผักและให้ป้ายประกันอาหารปลอดภัย โดยอาจจะตรวจสามเดือนครั้ง และจัดเวทีแลกเปลี่ยนนวัตกรรมในการเพาะปลูก เช่น การทำน้ำหมักชีวภาพ
  3. ตำบลเขาแก้ว ทำเรื่องมังคุดและทุเรียน มีข้อแนะนำว่า ต้องศึกษาเรื่องดินและน้ำ การจัดการน้ำ ความพอเพียงของน้ำในการเกษตร หานักวิชาการที่เชี่ยวชาญมาช่วย เรื่อง ผู้ผลิตร่วมกันใช้เทคโนโลยี และวิเคราะห์ข้อมูลของตำบลส่งมาให้ สจรส.ม.อ.
  4. ตำบลจันดี ทำเรื่องอาหารเป็นยา มีข้อแนะนำว่า ทำ timeline ชนิดของผักที่มีในแต่ละช่วงเดือน เพื่อสื่อให้เห็นว่าพื้นที่นี้มีผักเด่น และมีทุกฤดูกาล เน้นการสร้างธนาคารเมล็ดพันธุ์ และค้นหาประโยชน์ สรรพคุณของผักแต่ละชนิด
  5. ตำบลนางหลง เด่นเรื่องมังคุด มีข้อแนะนำเหมือนกับตำบลเขาแก้ว
  • นัดครั้งต่อไป ทุกตำบลต้องส่งงานให้ สจรส.ม.อ.ภายในวันที่15 มีนาคม จำนวน 2 ชิ้น คือ ข้อมูลที่วิเคราะห์จากแบบสอบถาม และร่างแผนยุทธศาสตร์แต่ละตำบล และจะจัดเวทีระดมความคิดเห็นร่างแผนยุทธศาตร์ท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีในวันที่ 5 เมษายน 2560
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • อบต.นางหลง เทศบาล ต.จันดี อบต.ไสหร้า อบต.หูล่อง และ อบต.เขาแก้ว พื้นที่ละ 3-5 คน
  • ทีม สจรส.ม.อ.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-