สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แผนงานกลาง ระบบอาหาร นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

ประชุมระดมความคิดเห็นต่อการทบทวนแผนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา (ประเด็นสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ) วันที่ 7-8 ก.ค.2559 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 58 คน8 กรกฎาคม 2559
8
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย dezine
circle
วัตถุประสงค์

ให้เกิดแผนงาน/โครงการและสามารถนำไปปฎิบัติเป็นรูปธรรมได้ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทบทวนโครงการจากแต่ละแผน และเสนอโครงการที่จะให้มีการดำเนินการในยุทธศาสตร์ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ คือ ประเด็นสังคม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานฯ ได้ทบทวนโครงการจากแต่ละแผน และเสนอโครงการที่จะให้มีการดำเนินการในยุทธศาสตร์ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ คือ ประเด็นสังคม (ประเด็นตั้งต้นคือ) การเพิ่มขีดความสามารถของคน และการสร้างชุมชนเข้มแข็ง เด็ก เยาวชน ครอบครัว ได้แผนงาน/โครงการ คือ 1. การส่งเสริมหลักสูตรสมาธิในเด็ก/เยาวชน

  1. จัดกิจกรรมให้เด็กมีการผลิตสื่อส่งเสริมให้เกิดการสำนึก/รักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  2. โครงการโรงเรียนครอบครัว/โรงเรียนพ่อแม่ โดยให้ท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญ

  3. ปัญหาเด็กนอกระบบ/เด็กในชุมชนแออัด

  4. การแก้ปัญหายาเสพติด

  5. การมีศูนย์ OSCC one stop crisis center

  6. การจัดทำฐานข้อมูลสิทธิเด็กตั้งแต่เกิดในสถานสงเคราะห์/เด็กถูกทอดทิ้ง

  7. โครงการเลิกตีตราผู้เสพยา ให้กลับเข้าสู่สังคมได้

  8. โครงการบ้าน-วัด-โรงเรียน รื้อฟื้นความสัมพันธ์ทั้ง 3 สถาบัน

  9. โครงการอาหารของแม่

การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว แรงงานเด็ก
1. การสร้างเฝ้าระวังแรงงานเพื่อนบ้าน

  1. สร้างกระบวนการให้แรงงานเพื่อนบ้านเป็นสังคมเดียวกัน โดยเฉพาะพื้นที่สุ่มเสี่ยง/ชายแดน

ผู้พิการให้ผู้สูงอายุ 1. ให้มีการเข้าถึงระบบการศึกษา

  1. การสร้างสัมมาอาชีพให้กับคนพิการ

  2. การเข้าถึงบริการสาธารณะของรัฐ เช่น รถสาธารณะ

  3. ส่งเสริมการกีฬาของคนพิการ : ตัวชี้วัดเป็นการสร้างนักกีฬาผู้พิการเพิ่มขึ้น

  4. การปรับโครงสร้างพื้นฐานที่เอต่อการดำรงชีวิตของผู้พิการและผู้สูงอายุ เช่น ทางราบ ทางลาด ลิฟท์ เป็นต้น

ประเด็นสิ่งแวดล้อม (ประเด็นตั้งต้น คือ การจัดการน้ำทั้งระบบ, การจัดการขยะ, การจัดการทรัพยากรทางทะเล (การกัดเซาะชายฝั่ง, ลุ่มน้ำทะเลสาบ) การจัดการป่าไม้, ภูเขาและผังเมือง

ด้านการจัดการขยะ 1. สร้างระบบกลไกที่ปรึกษาด้านการจัดการขยะให้กับท้องถิ่น โดยมีสถาบันการศึกษาและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คำปรึกษา เพื่อแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฎิบัติ

  1. มีพื้นที่/เวที เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และข้อมูลต่างๆ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    1. มีนโยบาย/มาตรการในท้องถิ่น ในการทำ 3R (คัดแยก การทำธนาคารขยะ/กองทุนขยะ และการปฏิเสธการใช้โฟม
      ด้านการจัดการน้ำ
    2. ปัญหาน้ำแล้งให้ชุมชนและท้องถิ่นมีการทำฝายมีชีวิต แก้ปัญหาน้ำแล้งบริเวณที่เป็นเขา ( มีโครงการนำร่องที่คลองหลา ใช้งบประมาณ 20,000-50,000 บาท)

    3. การจัดการน้ำสู่การทำนา (จากงานวิจัยคลองจำไหล)

    4. การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหรือป่าพรุ (wetland)

    5. การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ

    6. การจัดการน้ำเสีย

    7. ระบบน้ำประปา

    8. การมีกลไก/สร้างกติกา

การจัดการผังเมือง 1. การจัดการผังเมือง โซนนิ่ง (ผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา) ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด (ผังเมือง รวมเมือง 16 ตำบล 5 อำเภอ) โดยให้ชุมชนรับรู้/และท้องถิ่นนำไปปฎิบัติอย่างเคร่งครัด

ประเด็นเศรษฐกิจ(ประเด็นตั้งต้น การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้านการเกษตร อาหาร และการท่องเที่ยวชุมชนโดยเพิ่มมูลค่าในเชิงปริมาณ และคุณภาพ โดยการทำ Matching Model ระหว่างภาคเอกชน ชุมชน และวิชาการ, ยกระดับผลผลิต OTOP โดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน)

  1. การส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนมีการทำการเกษตรผสมผสาน เศรษฐกิจพอเพียง เช่น การแบ่งพื้นที่จัดการเกษตร สวนยาง สวนปาล์ม เลี้ยงสัตว์ และที่อยู่อาศัย

  2. สนับสนุนให้มีตลาดสีเขียวที่จำหน่ายผลผลิตที่ปลอดสารเคมี

  3. มีมาตรการเข้มงวดในการควบคุม ดูแลเกษตรกรที่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

  4. ส่งเสริมให้โรงพยาบาล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บริโภคผลผลิตจากเกษตรกรที่ปลูกในชุมชน

  5. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

  6. การแปรรูป และการเพิ่มมูลค่าผลผลิต และให้เน้นคุณค่าด้านโภชนาการ

  7. การวิเคราะห์ความต้องการด้านตลาดเพื่อให้เกษตรกรผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 58 คน จากที่ตั้งไว้ 19 คน
ประกอบด้วย
  • หน่วยงานราชการ
  • ภาคเอกชน -ภาคประชาสังคม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-