สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 12 สงขลา

ประชุมคณะทำงาน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ จ.ตรัง25 มกราคม 2564
25
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย Panuddapo2536
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แผนสุขภาพชุมชน เป็นแผนงานด้านสุขภาพของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน เป็นกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมค้นหา ร่วมกำหนดทิศทาง ร่วมจัดกิจกรรมพัฒนาและร่วมรับผลประโชยน์โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำ การทบทวนงานในอดีตเพื่อกำหนดอนาคต การสำรวจข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล สภาพปัญหา และการประเมินศักยภาพของชุมชน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเอง โดยคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชน รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชน กระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตนเอง ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพ และร่วมติดตามประเมินผลโดยสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้

การจัดทำแผนสุขภาพชุมชน จึงเป็นการจัดทําแผนงานที่ใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาและกําหนดทิศทางการดําเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนต่อการแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชน ส่งผลให้บริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบลได้ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภามากขึ้น เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบที่ดีต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดหลักการคิดและปฏิบัติ หลักคิดการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน ใช้แนวคิดง่ายๆ 4 ขั้นตอนตามกรอบดังนี้


  1. อยู่ไหน  คือ    การรู้ถึงสถานการณ์สุขภาวะระดับปัญหาด้านสุขภาพ ข้อมูลทั่วไปด้านประชากร ข้อมูลด้านสุขภาวะของประชากร ข้อมูลของหมู่บ้าน  ข้อมูลเบื้องต้นด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ  ชุมชน กล่าวคือการรู้ว่าชุมชนมีปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง เท่าไหร่ (ตัวเลขควรชัดเจน) เช่น ร้อยละ 75 ของ ครัวเรือนในชุมชนเป็นครอบครัวที่มีผู้สูบบุหรี่
  2. จะไปไหน  คือ  การตั้งเป้าหมายในการดำเนินการของการจัดกิจกรรมในการแก้ปัญหานั้นๆ เช่นชุมชนต้องการตั้งเป้าหมายการแก้ปัญหาด้านบุหรี่ในชุมชน โดยการลดจำนวครัวเรือนในชุมชนเป็นครอบครัวที่มีผู้สูบบุหรี่ เหลือร้อยละ 70
  3. ไปอย่างไร  คือ การออกแบบกิจกรรม วิธีการ กระบวนการในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจมีการออกแบบกิจกรรมที่เป็นไปตามหลักการส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา (Ottawa charter) ประกอบด้วย  1) สร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี  2)  สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 3)  สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน 4) พัฒนาทักษะส่วนบุคคล 5) ปฏิรูปการบริการสาธารณสุข
  4. ไปถึงหรือยัง  คือ การติดตามหรือประเมินผล ผลการดำเนินโครงการที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ เพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับการปรับปรุงการดำเนินโครงการ สรุปผลสำเร็จของโครงการและพัฒนาโครงการต่อไป