สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10

ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ เขต 10 อุบลราชธานี กองทุนสุขภาพตำบลพื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร23 มิถุนายน 2564
23
มิถุนายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทบทวนแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ
  2. นำเสนอผลการดำเนินงานจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกกองทุนสุขภาพตำบล
  3. การจัดทำแผนงานและโครงการกองทุนสุขภาพตำบลภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  4. กระบวนการสรุปบทเรียนการดำเนินงานกระบวนการพัฒนาโครงการกองทุนสุขภาพตำบล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อเสนอแนะต่อการบริหารโครงการศึกษาวิจัย
  5. สรุปผลการสรุปบทเรียนและแนวทางการพัฒนาแผนงานและโครงการกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10 อุบลราชธานี
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปข้อมูลการติดตามการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการคุณภาพ ปี 2563 ดังนี้  1) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอดงลวง จ.มุกดาหาร 21 แผนงาน 11 โครงการที่พัฒนา 12 โครงการที่ติดตาม 2) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอหนองสูง จ.มุกดาหาร 19 แผนงาน 17 โครงการที่พัฒนา 22 โครงการที่ติดตาม 3) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอคำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร 71 แผนงาน 24 โครงการที่พัฒนา 23 โครงการที่ติดตาม 4) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ 31 แผนงาน 17 โครงการที่พัฒนา 14 โครงการที่ติดตาม 5) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ 37 แผนงาน 19 โครงการที่พัฒนา 19 โครงการที่ติดตาม 6) กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 3 แผนงาน 6 โครงการที่พัฒนา 4 โครงการที่ติดตาม
  2. สรุปการบูรณาการขับเคลื่อนประเด็น พชอ.คำเขื่อนแก้วกับกองทุนสุขภาพตำบล 2 แผนงาน ได้แก่ แผนงานอาหารและโภชนาการ และ แผนงานสิ่งแวดล้อม
  3. สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
    3.1 ข้อดี 1) ไม่ต้องพิมพ์หลักการและเหตุผล  แค่ป้อนข้อมูล  ก็ทำให้ได้หลักการและเหตุผลของโครงการ รวมถึงได้ข้อมูลเชิงปริมาณที่ชัดเจน คิดเป็นร้อยละที่ชัดเจน  2) มีตัวอย่างโครงการที่ดี มีวัตถุประสงค์โครงการที่ชัดเจน  นำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้เลย 3) แบบฟอร์มกะทัดรัด ชัดเจน เพียงกรอกข้อมูลเข้าไป ทำให้ได้โครงการที่มีคุณภาพ ช่วยให้คนทำงานเขียนโครงการได้ง่าย และชัดเจน
    3.2 ข้อด้อย 1) ในช่วงแรกของการเข้าใช้งานโปรแกรม ยังไม่เข้าใจการกรอกข้อมูลร้อยละ ต่างๆ  แต่หลังจากเข้าใจงานอย่างต่อเนื่องทำให้เข้าใจมากขึ้น 2) มีรหัสเข้าระบบเดียว ส่งผลให้ไม่ชัดเจนว่าใครจะเป็นคนกรอกข้อมูลในระบบ จะเป็น อบต. หรือ รพ.สต. 3) ไม่มีข้อมูลครบตามโปรแกรม ส่งผลให้ไม่สามารถกรอกต่อได้
    3.3 ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีการแจกคู่มือการใช้งานโปรแกรม  เพราะการเรียนรู้ของคนไม่เท่ากัน ถ้ามีเอกสารคู่มือ จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าถึงได้ง่ายขึ้น 2) ข้อมูลในโปรแกรมมีรายละเอียด และชัดเจน และใช้ประโยชน์ต่อไป  ดังนั้นกระบวนการพัฒนาแผนโครงการ ควรมีการพัฒนาแผน กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมชัดเจน กรอกลงในระบบ และนำไปสู่การติดตามประเมินผลโครงการได้