สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10

ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ เขต 10 อุบลราชธานี กองทุนสุขภาพตำบลพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ22 มิถุนายน 2564
22
มิถุนายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทบทวนแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ
  2. นำเสนอผลการดำเนินงานจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกกองทุนสุขภาพตำบล
  3. การจัดทำแผนงานและโครงการกองทุนสุขภาพตำบลภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  4. กระบวนการสรุปบทเรียนการดำเนินงานกระบวนการพัฒนาโครงการกองทุนสุขภาพตำบล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อเสนอแนะต่อการบริหารโครงการศึกษาวิจัย
  5. สรุปผลการสรุปบทเรียนและแนวทางการพัฒนาแผนงานและโครงการกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10 อุบลราชธานี
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปข้อมูลการติดตามการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการคุณภาพ ปี 2563 ดังนี้  1) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอดงลวง จ.มุกดาหาร 21 แผนงาน 11 โครงการที่พัฒนา 12 โครงการที่ติดตาม 2) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอหนองสูง จ.มุกดาหาร 19 แผนงาน 17 โครงการที่พัฒนา 22 โครงการที่ติดตาม 3) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอคำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร 71 แผนงาน 24 โครงการที่พัฒนา 23 โครงการที่ติดตาม 4) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ 31 แผนงาน 17 โครงการที่พัฒนา 14 โครงการที่ติดตาม 5) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ 37 แผนงาน 19 โครงการที่พัฒนา 19 โครงการที่ติดตาม 6) กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 3 แผนงาน 6 โครงการที่พัฒนา 4 โครงการที่ติดตาม
  2. สรุปการบูรณาการขับเคลื่อนประเด็น พชอ.ปทุมราชวงศากับกองทุนสุขภาพตำบล 2 แผนงาน ได้แก่ แผนงานสิ่งแวดล้อม และแผนงานกิจกรรมทางกาย
  3. สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
    3.1 ข้อดี เป็นโปรแกรมที่ดี มีตัวอย่างโครงการที่หลากหลาย  สามารถเก็บข้อมูล นำมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาต่อได้ (งานวิจัย)
    3.2 ข้อด้อย 1) ไม่เข้าใจโปรแกรมเท่าที่ควร จึงไม่ได้ใช้งาน ทั้งนี้มองว่าโปรแกรมดังกล่าวเป็นทางเลือกในการขับเคลื่อนงาน ดังนั้นในช่วงภาวะงานเยอะ มีโรคระบาด มีเวลาจำกัด  จึงต้องเลือกทำงานหลักก่อน 2) ไม่กล้ากรอกข้อมูลในโปรแกรม เพราะไม่มั่นใจ กลัวทำผิด 3) ปกติโครงการของกองทุนก็ต้องกรอกลงในโปรแกรมของ สปสช. ทุกโครงการอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีเวลาที่จะนำข้อมูลมาลงโปรแกรมนี้  แต่ถ้าปรับโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ต้องไปใช้งานหลัก ก็ต้องมีการใช้งาน 4) กรณีทำโครงการระดับหมู่บ้าน (กองทุนฯ ส่วนมากทำโครงการระดับหมู่บ้าน) แต่ในโปรแกรมต้องกรอกข้อมูลสถานการณ์ทั้งตำบล ดังนั้นการหาข้อมูลต้องประสานหลายหน่วยงานเพื่อจะได้ข้อมูลครบตามที่โปรแกรมกำหนด 3.3 ข้อเสนอแนะ 1) ควรมีตัวแทนในการเชื่อมประสานงานระหว่างอำเภอ กับกองทุน  เพื่อให้ทุกกองทุนเข้าใจงานโปรแกรม 2) ควรมีการปริ้นโครงการตัวอย่างที่อยู่ในโปรแกรมออกมาเป็นเอกสาร เพื่อประกอบการเขียนข้อมูล หรือเขียนโครงการ 3) การกรอกข้อมูลเป็นร้อยละลงในโปรแกรม ค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นหากจะให้ง่าย เข้าถึง คือ ปรับการกรอกเป็นจำนวนเต็ม แล้วออกแบบให้โปรแกรมสามารถคำนวณเป็นร้อยละได้ 4) ปรับระบบข้อมูลในโปรแกรม ให้สามารถกอกข้อมูลระดับหมูบ้านได้