สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10

ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ เขต 10 อุบลราชธานี กองทุนสุขภาพตำบลพื้นที่อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร16 มิถุนายน 2564
16
มิถุนายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ทบทวนแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ
2.นำเสนอผลการดำเนินงานจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกกองทุนสุขภาพตำบล
3.การจัดทำแผนงานและโครงการกองทุนสุขภาพตำบลภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
4.กระบวนการสรุปบทเรียนการดำเนินงานกระบวนการพัฒนาโครงการกองทุนสุขภาพตำบล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อเสนอแนะต่อการบริหารโครงการศึกษาวิจัย
5.สรุปผลการสรุปบทเรียนและแนวทางการพัฒนาแผนงานและโครงการกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10 อุบลราชธานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.สรุปข้อมูลการติดตามการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการคุณภาพ ปี 2563 ดังนี้  1) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอดงลวง จ.มุกดาหาร 21 แผนงาน 11 โครงการที่พัฒนา 12 โครงการที่ติดตาม 2) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอหนองสูง จ.มุกดาหาร 19 แผนงาน 17 โครงการที่พัฒนา 22 โครงการที่ติดตาม 3) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอคำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร 71 แผนงาน 24 โครงการที่พัฒนา 23 โครงการที่ติดตาม 4) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ 31 แผนงาน 17 โครงการที่พัฒนา 14 โครงการที่ติดตาม 5) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ 37 แผนงาน 19 โครงการที่พัฒนา 19 โครงการที่ติดตาม 6) กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 3 แผนงาน 6 โครงการที่พัฒนา 4 โครงการที่ติดตาม 2.สรุปการบูรณาการขับเคลื่อนประเด็น พชอ.หนองสูงกับกองทุนสุขภาพตำบล 2 แผนงาน ได้แก่ แผนงานเผชิญพิบัติภัยและโรคระบาด และ แผนงานสิ่งแวดล้อม 3.สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
3.1 ข้อดี โปรแกรมมีรายละเอียดองค์ประกอบการจัดทำโครงการครบ ได้แก่ ความเป็นมา หลักการและเหตุผล วิธีการดำเนินงาน ตัวชี้วัด ซึ่งผู้เสนอโครงการสามารถจัดทำโครงการได้มีคุณภาพ มีตัวย่างโครงการคุณภาพ สามารถนำเอาเนื้อหารายละเอียดความเป็นมา ข้อมูล วิธีการดำเนินงานโครงการ ในโปรแกรมไปปรับใช้ในการเขียนโครงการอื่นๆ ได้
3.2 ข้อด้อย ผู้ใช้งานโปรแกรมขาดความต่อเนื่องการใช้โปรแกรมเนื่องจากมีเวลาที่จำกัดส่งผลให้ไม่เกิดความชำนาญและการขาดข้อมูลเติมในระบบโปรแกรม การใช้งานยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว /ยังศึกษารายละเอียดไม่มากพอ
3.3 ข้อเสนอแนะ ให้ผู้เสนอโครงการเห็นความสำคัญในการเข้าใจโปรแกรม เพื่อเขียนโครงการควรจัดกระบวนการเรียนรู้การใช้โปรแกรมให้กับผู้เขียนโครงการเป็นหลัก เพื่อที่จะนำความรู้ไปใช้ในการเขียนโครงการ เพื่อให้โครงการมีคุณภาพดีขึ้น นำข้อมูล เนื้อหารายละเอียดในโปรแกรมมาจัดทำเป็นเอกสาร ให้แต่ละกองทุน หรือผู้เขียนโครงการ  เพื่อที่จะใช้เป็นตัวอย่างในการเขียนโครงการ