สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10

ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ เขต 10 อุบลราชธานี กองทุนสุขภาพตำบลพื้นที่อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร15 มิถุนายน 2564
15
มิถุนายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ทบทวนแผนการดำเนินงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างสุขภาวะ
2.นำเสนอผลการดำเนินงานจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกกองทุนสุขภาพตำบล
3.การจัดทำแผนงานและโครงการกองทุนสุขภาพตำบลภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
4.กระบวนการสรุปบทเรียนการดำเนินงานกระบวนการพัฒนาโครงการกองทุนสุขภาพตำบล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อเสนอแนะต่อการบริหารโครงการศึกษาวิจัย
5.สรุปผลการสรุปบทเรียนและแนวทางการพัฒนาแผนงานและโครงการกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10 อุบลราชธานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปข้อมูลการติดตามการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการคุณภาพ ปี 2563 ดังนี้  1) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอดงลวง จ.มุกดาหาร 21 แผนงาน 11 โครงการที่พัฒนา 12 โครงการที่ติดตาม 2) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอหนองสูง จ.มุกดาหาร 19 แผนงาน 17 โครงการที่พัฒนา 22 โครงการที่ติดตาม 3) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอคำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร 71 แผนงาน 24 โครงการที่พัฒนา 23 โครงการที่ติดตาม 4) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ 31 แผนงาน 17 โครงการที่พัฒนา 14 โครงการที่ติดตาม 5) กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ 37 แผนงาน 19 โครงการที่พัฒนา 19 โครงการที่ติดตาม 6) กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 3 แผนงาน 6 โครงการที่พัฒนา 4 โครงการที่ติดตาม
  2. สรุปการบูรณาการขับเคลื่อนประเด็น พชอ.ดงหลวงกับกองทุนสุขภาพตำบล 2 แผนงาน ได้แก่ แผนงานอนามัยแม่และเด็ก และแผนงานโรคเรื้อรัง
  3. สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ มีประเด็นสำคัญ ได้แก่
    3.1 โปรแกรมมีความละเอียด มีความชัดเจน ซึ่งสามารถจัดทำเอกสารรายงานโครงการได้สะดวก และเอื้อให้การจัดทำโครงการได้มีคุณภาพ
    3.2 แบบฟอร์มของทางโปรแกรมกับกองทุนของ สปสช. ควรเป็นแบบฟอร์มเดียวกัน และให้พัฒนาเป็นแพตฟอร์มที่ง่ายต่อการใช้งาน
    3.3 การใช้งานโปรแกรมช่วงเริ่มต้นอาจจะเกิดความสับสนในการใช้งาน โดยเฉพาะการรกรอกข้อมูลสถานการณ์ปัญหา ซึ่งพื้นที่ไม่มีข้อมูลครบทุกประเด็น หากได้ใช้โปรแกรมอย่างต่อเนื่องน่าจะมีประโยชน์สำหรับการจัดทำโครงการที่มีคุณภาพได้
    3.4 ข้อเสนอต่อการพัฒนากระบวนการดำเนินงาน ควรมีการเสริมศักยภาพการจัดทำโครงการคุณภาพให้กรรมการกองทุนทุกแห่ง เพื่อให้สามารถจัดทำโครงการที่มีคุณภาพและเครื่องมือที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการจัดทำโครงการให้ดูเป็นตัวอย่าง