สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10

เวทีติดตามและประเมินผลกองทุนสุขภาพตำบลในระบบ ครั้งที่ 2 กองทุน อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ25 กุมภาพันธ์ 2564
25
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
  • 25กพ64-อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ_0001.pdf
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงวัตถุ เป้าหมาย และความเป็นมาของการประชุมติดตามและพัฒนาโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง
  2. รายงานการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลต้นแบบ ปี 2563
  3. การสนับสนุนและดำเนินการโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง
  4. ทิศทางการพัฒนาโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยงปี 2564
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปข้อมูลการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพต้นแบบ ปี 2563
      - กองทุนสุขภาพตำบล ทต.หนองข่า : การบริหารกองทุนประเภทกลุ่มที่ ๑ ร้อยละ ๔๐ ประเภทกลุ่มที่ ๒ ร้อยละ ๒๕ ประเภทกลุ่มที่ ๓ ร้อยละ ๑๒ ประเภทที่ ๔ การบริหารจัดการกองทุน ร้อยละ ๑๕ ประเภทที่ ๕ การส่งเสริมผู้สูงอายุร้อยละ ๒๐ ประเภทที่ ๖ การป้องกันภัยพิบัติ ร้อยละ ๑.๓๐ ยอดงบประมาณกองทุน๒๔๔,๒๒๕บาท ใช้งบประมาณ ๗๐,๐๐๐ กว่าบาท การบริหารกองทุนใช้เกือบหมดโครงการ ๒๐ กว่า โครงการส่วนประเภทที่ ๑ ของ เทศบาล ประเภทที่ ๒ ของ รพ.สต. สอดคล้องกับนโยบายของ พชอ. เรื่องโรคพยาธิใบไม้ในตับ มะเร็งท่อน้ำดีและมะเร็งตับจำนวนมาก ด้วยบริบทพื้นที่ชาวบ้านมีการรับประทานอาหารเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีและใบไม้ในตับส่วนของเทศบาลตำบลหนองข่า จะดำเนินการโรคไข้เลือดออกประเภทที่ ๒ สนับสนุนให้ชมรมรักสุขภาพ เช่น โครงการออกกำลังกาย มีเสียงสะท้อนในทิศทางที่ดี มีความสามัคคีและสุขภาพดีขึ้นประเภทที่ ๓ สนับสนุนให้ ศพด. มีโครงการเกี่ยวกับด้าน อุบัติเหตุ การจัดการขยะ พัฒนาการเด็ก ประเภทที่ ๔ สนับสนุนโครงการ ภาวะพึ่งพิง ผู้สูงอายุประเภทที่ ๕ สนับสนุนเรื่องภัยพิบัติ โรคไข้เลือดออก ประมาณ ๕,๐๐๐ บาท ได้มีการเข้าร่วมเป็นทีมในการพัฒนากองทุนในเขตสปสช.เขต ๑๐ ส่วนของกองทุนส่วนใหญ่มีการประชาคมของหมู่บ้าน การหาแนวทางของประชาชน ตรงตามสถานการณ์ปัญหาของประชาชน เช่น การออกกำลังกาย ที่สอดคล้องนโยบายของ พชอ.และของจังหวัด การสนับสนุนโครงการให้หน่วยงานในพื้นที่ การจัดสรรงบประมาณ จะมีการพิจารณาของคณะกรรมการก่อน ตรวจเอกสารตรงตามสถานการณ์ในพื้นที่ มีการระดมความคิดของคนในพื้นที่เป็นหลัก การดำเนินงานตามเงื่อนไขของกองทุน เช่น การเยี่ยมดูแลผู้สูงอายุ การส่งเสริมทีมดูแลผู้สูงอายุ การให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ เสียงสะท้อนในทิศทางที่ดี การจัดสรรงบประมาณ มีการดำเนินงานชี้แจง ประชาสัมพันธ์ พัฒนาโครงการในเดือน ก.ย.ทุกปี โดยมีการสรุปผลการดำเนินงานทุกปี ซึ่งมีทางทีมระดับอำเภอเข้ามาตรวจเยี่ยมและข้อเสนอแนะ การเสนอโครงการภายในเดือน ต.ค. การพิจารณาตามกลุ่มใน ๗ กลุ่ม หลักการพิจารณาจะพิจารณาจากงบประมาณ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ศักยภาพของผู้รับการสนับสนุน พิจารณาโดยคณะกรรมการชุดเล็กก่อน ต่อจากนั้นเสนอให้กรรมการชุดใหญ่ในเดือน ต.ค. การโอนเงินสนับสนุนจะไม่รอการสนับสนุนเพิ่มเติมจาก อบต. จะมีการดำเนินการไปก่อน โครงการต่างๆต้องผ่านคณะกรรมการภายในไตมาสแรก กลุ่มชมรมจะมีเวลาในการเสนอโครงการ มีการจัดสรรงบประมาณและแจ้งยอดในการเสนอโครงการ การสมทบต้องผ่านสภาฯท้องถิ่น เพื่อให้เพิ่มงบประมาณสมทบ โดยต้องอาศัย สมาชิกสภาฯเสนอให้การเพิ่มงบประมาณสมทบความคาดหวังให้มีการสมทบถึงร้อยละ ๑๐๐ ให้ได้   - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลือ : สถานการณ์การดำเนินงานของกองทุนตำบลลืออำนาจ พื้นที่ ๑๔หมู่บ้าน โรงเรียน ๘ ศพด.๗ แห่ง การดำเนินงานปี ๖๓ มีการดำเนินงานจากนโยบายของ สปสช. มีการสมทบงบประมาณ ได้มีการดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ จะมีการสนับสนุนใน ๓ ส่วน คือ โรงเรียน ศพด. และชุมชน งบประมาณ ๒๗๐,๐๐๐ มีการสมทบ ๔๙๐,๐๐๐ มีการแบ่งงบประมาณออก ปัญหาที่พบมากที่สุด โรคเบาหวาน ความดัน รองลงมา โรคไข้เลือดออก การสนับสนุนและบริหารกองทุน การดำเนินงาน มีการจัดสรรงบประมาณจากอนุกรรมการดำเนินการก่อนเข้าคณะกรรมการกองทุน มีการตั้งงบประมาณเพื่อให้เกิดความคล้องตัวในการจัดสรรหรือสนับสนุน การบริหารจะมีการประชุมช่วงบ่ายส่วนใหญ่ การเบิกจ่ายในเรื่องอาหารเที่ยง อาหารว่างก็ลดลง โครงการในปี ๖๓ ทั้งหมด ๔๖ โครงการ โดยมียึดนโยบาย พชอ. และสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ รพ.สต.เป็นหลัก เช่น เรื่องเด็กจมน้ำ โดยการคัดเลือก นักเรียนว่ายน้ำไม่เป็น สอนว่ายน้ำในสระ เป็นโครงการที่ดีเป็นประโยชน์ การสนับสนุน รพ.สต. เบาหวาน ความดัน เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง โควิด๑๙ การจัดการขยะของชุมชน การส่งเสริมเด็กเยาชนในชุมชน การส่งเสริมสุขภาพ การออกกำลังกาย มีงบประมาณปี ๖๓ เหลือ ประมาณ ๒๔,๐๐๐ บาท ยกยอดมาดำเนินงานในปี ๖๔
      - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำโพน : สถานการณ์การบริหารกองทุนตำบลคำโพน หมู่บ้าน ๑๐ แห่ง ประชากรจำนวน ๗,๙๖๐ คน รพ.สต. 2 แห่ง โรงเรียน ๖ แห่ง มีโรงเรียน ตชด. ศพด.มี ๕ แห่ง งบประมาณปี ๖๓ มีการสนับสนุนโครงการ๒๗๖,๐๐๐ สมทบ ประมาณร้อยละ ๔๐ ประมาณ ๑๑๐,๕๗๔ บาท สถานการณ์ปัญหาในพื้นที่มากที่สุด โรคไข้เลือดออก รองลงมา โรคเบาหวาน ความดัน การสนับสนุนของโครงการ หน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุน ได้แก่ รพ.สต.โรงเรียนชมรมต่างๆในท้องถิ่นและกำนัน/ผญบ. การบริหารจัดการปี ๖๓ มีการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ ๑ วันที่ ๘ เดือน พ.ย.๖๒ มีการชี้แจงรายละเอียดรายงานผลการดำเนินงานปี ๖๒ และสถานการณ์การเงินของกองทุนตำบลปี ๖๓ การแบ่งกลุ่มเป้าหมายการสนับสนุน และมีการวางแผนการสนับสนุนตามกลุ่มเป้าหมาย ในการดำเนินงานโครงการแต่ละปี จะมีการพูดคุย วางแผนการสนับสนุนตามสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่ มีการประชาสัมพันธ์ไปยังหน่วยงานในชุมชน กลุ่มต่างๆ การสนับสนุนโครงการปี ๖๓ จำนวน๖ โครงการ ประเภทการสนับสนุนโดยได้เน้นในการสนับสนุนพัฒนาเด็กเยาวชนห่างยาเสพติดใช้กีฬาในประเภทที่ ๒ การส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค การสนับสนุนให้ผู้นำชุมชน กำนัน/ผญบ. ร่วมกับ อสม. โดยนำงบประมาณไปสนับสนุนในการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม โรคไข้เลือดออก การให้มีการดำเนินงานโครงการให้เสร็จก่อนการเบิกจ่าย ซึ่งทำให้การดำเนินงานจะง่ายต่อการบริหารจัดการ การตามเอกสาร
  2. ได้ต้นแบบของกองทุนที่ดำเนินการจัดทำโครงการคุณภาพและแผนปัจจัยเสี่ยง จำนวน 3 กองทุน ได้แก่ (1) โครงการโครงการพัฒนาทักษะการดูแลส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กร่วมกับผู้ปกครองตามประเภทของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ของกองทุนสุขภาพตำบล ทต.หนองข่า (2) โครงการเด็กและเยาวชนตำบลลือยุคใหม่ห่างไกลภัยบุหรี่ ของกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลือ (3) โครงการเสริมสร้างสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ของกองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำโพน
  3. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ช่วยเลขาฯ กองทุน และผู้รับขอการสนับสนุนงบประมาณกองทุน (รพ.สต.) มีความเข้าใจและสามารถที่จะได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการ รายงานผลการดำเนินงานการติดตามประเมินผลโครงการ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และได้จัดทำแผนงานในปี 2564 และพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง