สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 1

การติดตามแผนและโครงการของแต่ละกองทุนตำบลฯ และท้องถิ่น. ในพื้นที่ เขต13 สิงหาคม 2564
3
สิงหาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย เพชรรุ่งเขต1
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

16 มีนาคม -15 มิถุนายน 2564 ออกติดตาม หนุนเสริมการจัดทำแผนปัจจัยเสี่ยงและแผนงานตามบริบทพื้นที่อย่างน้อย 5 แผน แก้ไขข้อมูลสถานการณ์ แนะนำแหล่งที่มาของข้อมูลในการบันทึก การการตรวจสอบข้อมูล โดยทีมพี่เลี้ยงและตัวแทนผู้รับผิดชอบกองทุนในแต่ละพื้นที่ ร่วมดำเนินการในการบันทึก การแก้ไขเพิ่มเติมและลบข้อมูลที่ไม่ถูกต้องในโปรแกรมทั้งการพัฒนาแผน การพัฒนาโครงการและการติดตามโครงการ การตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลการจัดทำแผนระดับอำเภอ ในพื้นที่เขต 1 ดังนี้ 1.ในพื้นที่เทศบาลขนาดใหญ่ที่นครลำปาง 2 ครั้ง ในวันที่ 10 เมษายน 2564และ 5 พฤษภาคม 2564
2.รพสต.ถ่ายโอนเทศบาลสันนาเม็ง 1 ครั้ง ในวันที่ 7 มิถุนายน 2564
3.พื้นที่ พชอ. 5 แห่ง คือ 3.1 ติดตาม 2 ครั้ง พื้นที่อำเภอร้องกวางจังหวัดแพร่ จำนวน10 กองทุนในวันที่ 30 เมษายน และ21 พฤษภาคม 2564
3.2 ติดตาม 3 ครั้งที่พชอ.อำเภอลี้ จำนวน 10 กองทุน ในวันที่ 16 มีนาคม , 12 พฤษภาคมและ11 มิถุนายน 2564 และแม่ลาน้อย จำนวน 9 กองทุนในวัยที่ 18 มีนาคม,14 พฤษภาคมและ15มิถุนายน2564 3.3 ติดตาม 2 ครั้งที่พชอ.อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน 16 กองทุน โดยครั้งที่ 1 แบ่งติดตามวันละ 8กองทุน ในวันที่ 22 มีนาคม และ 23มีนาคม ครั้งที่3 และ4 วันละ 16 กองทุนในวันที่ 22 เมษายนและ18พฤษภาคม 2564 และอำเภอเมืองพะเยา จำนวน 14 กองทุนดยครั้งที่ 1 แบ่งติดตามวันละ 7กองทุน ในวันที่ 25 มีนาคม และ 26 มีนาคม ครั้งที่3 และ4 วันละ 16 กองทุนในวันที่ 26เมษายนและ 19 พฤษภาคม 2564

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ติดตามในพื้นที่ 7 จังหวัด จำนวน 19 ครั้ง และมีการปรับปรุงแผนคงเหลือ 16 ชุดแผนงาน จำนวน 528 แผนและพัฒนาโครงการ 350 โครงการ โดยมีการจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการ ติดตามโครงการใน 5 แผน ดังนี้ 1.แผนงานอาหารและโภชนาการ 57 แผน 31 โครงการ
2.แผนงานกิจกรรมทางกาย 58 แผน 22 โครงการ 3.แผนงานบุหรี่ 52 แผน 7 โครงการ
4.แผนงานสารเสพติด 51 แผน 3 โครงการ
5.แผนงานเหล้า 49 แผน 3 โครงการ
ปัญหาอุปสรรคในการติดตาม  ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โควิด 19 ทำให้เกิดความล่าช้าต่อการดำเนินงานของแต่ละกองทุนฯ แต่ก็พบว่าส่วนใหญ่เป็นแผนงานสามารถเชื่อมโยงกับพชอ.และอปท เป็นระดับนโยบาย  มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบ และผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯในแต่ละอปท.มีน้อย มีภาระงานหลายด้าน  การใช้ข้อมูลในระบบยังไม่สามารถเห็นภาพรวมของการดำเนินของพื้นที่ได้ชัดเจน  ข้อมูลในการเติมสถานการณ์ต้องใช้แหล่งข้อมูลจากหลายแหล่งเป็นอุปสรรคต่อการค้นหาและการตรวจสอบความถูกต้อง