โครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 1
26 มิถุนายน 2564
1.ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และรายงานนำเสนอภาพรวมผลการดำเนินงาน ผ่านเว็บ
โดย นายสุวิทย์ สมบัติ
2.นำเสนอรายละเอียดการบันทึกข้อมูลแผนงานของแต่ละพื้นที่ ในโปรแกรมโดย นายสุวิทย์ สมบัติ
3.นำเสนอวิธีการวิเคราะห์สถานการณ์และการจัดทำแผนระดับอำเภอการบันทึกกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ โดยใช้เว็บไซต์กองทุนฯ และปฏิบัติการเพิ่มข้อมูล แก้ไขข้อมูลของพื้นที่ในเว็บไซต์กองทุนฯโดย เพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์ และทีมพี่เลี้ยง
4.ระดมสมองกำหนดกรอบในการถอดบทเรียนโครงการและช่องทางการคืนข้อมูล
สรุปการรายงานผลการดำเนินงานโครงการ โดย นายสุวิทย์ สมบัติ ดังนี้
พื้นที่ดำเนินการ การขับเคลื่อนพัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่ายสสส. สปสช. และสธ.ของกองทุนตำบลตามบริบทพื้นที่ดังนี้
1. นำร่องในพื้นที่กองทุนตำบลของอปท.ที่มีการดำเนินการร่วมกับพชอ.5 จังหวัดๆละ 1 อำเภอ ๆละ 9-11 กองทุน รวม 51 กองทุน คือ แพร่ อำเภอร้องกวาง จ. น่าน อ.ลี้ จ. ลำพูน อ.เมืองพะเยา จ.พะเยาและอ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน หลังดำเนินการมีพื้นที่ขอเข้าร่วมเพิ่มใน๒ จังหวัดคืออำเภอเมืองพะเยาเพิ่ม 4 พื้นที่และอ.เวียงสาน่านเพิ่ม 5 กองทุน จังหวัดน่าน รวม 60กองทุน
2. ดำเนินการในพื้นที่เทศบาลขนาดใหญ่ 2 จังหวัดคือเทศบาลนครลำปางและเชียงราย
3. ดำเนินการกองทุนตำบลในรพสต.ถ่ายโอนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 1 แห่ง ที่เทศบาลตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย
มีทีมร่วมดำเนินการ 3 ทีมหลักคือ1.ทีมอำนวยการกลาง ทำหน้าที่บริหารจัดการ สนับสนุน หนุนเสริมและขับเคลื่อนโครงการจำนวน 5 คน2. พี่เลี้ยงระดับเขตประกอบด้วยตัวแทนจากอปท. สปสช.1 สาธารณสุขจำนวน 7 คน และ 3.ทีมพี่เลียงระดับจังหวัดและพื้นที่มีตัวแทนครอบคลุมทุกพื้นที่ๆละ 1-3 คน จำนวน 20 คน มีบทบาทประสาน หนุนเสริม ขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันทั้ง ๓ ทีมและติดตามประเมินผล
มีกิจกรรมหลัก 4 กลุ่มกิจกรรมคือ
1 การ coaching ทีมระดับเขต ให้สามารถสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ มีกิจกรรม 4 ครั้ง ประชุมชี้แจงระดัลเขต คืนข้อมูล สรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
2. การ coaching ทีมระดับพื้นที่ ให้สามารถสนับสนุนผู้เสนอโครงการในการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามโครงการ ทั้งในขั้นตอนการจัดทำแผนกองทุนตำบลฯ พัฒนาโครงการและการติดตาม มีการประชุมและการติดตามในพื้นที่ๆละ1-2ครั้ง รวม17 ครั้ง
3. การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแผนและข้อเสนอโครงการ (ทีมพี่เลี้ยงลงพื้นที่/จัดประชุมในพื้นที่ พชอ.) สามารถดำเนินการได้ 4 ครั้ง ในพื้นที่พชอ.3 แห่ง พชอ.ส่วน 2 แห่งและกองทุนขนาดใหญ๋ 2แห่ง มีสถานการณ์โควิดไม่สามารถจัดประชุมในพื้นที่ได้แต่ประสานไม่เป็นทางการกับพื้นที่แทน และรพสต.ถ่ายโอน 1 ครั้ง
4. การติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโครงการในพื้นที่เขต1 มีการติดตามหนุนเสริมใน๗พื้นที่ยกเว้นเทศบาลนครเชียงรายที่สามารถดำเนินการต่อได้จากอุปสรรคภายในองค์กร พื้นที่อื่น สามารถจัดประชุมและติดตามหนุนเสริมในพื้นที่โดยพี่เลี้ยงเขต จังหวัด พื้นที่ละ 2-4 ครั้ง รวม26 ครั้ง
2.นำเสนอวิธีการวิเคราะห์สถานการณ์และการจัดทำแผนระดับอำเภอการบันทึกกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ โดยใช้เว็บไซต์กองทุนฯ และปฏิบัติการเพิ่มข้อมูล แก้ไขข้อมูลของพื้นที่ในเว็บไซต์กองทุนฯ โดย เพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์
-ปี2563 มีการจัดทำแผน 16 แผน จำนวน 452 แผนงาน พัฒนาโครงการ 274 โครงการและติดตาม 263โครงการ งบประมาณ 4,025,097 บาท
- ปี 2564 มีการจัดทำแผน16 แผน รวมทั้งหมดจำนวน 528 แผนงาน พัฒนาโครงการ 350โครงการและติดตาม 307 โครงการ งบประมาณ 4,867,912.25 บาท
- คุณภาพของโครงการพี่เลี้ยงแต่ละพื้นที่สามรถตรวจสอบและแก้ไขได้
- นำเสนอวิธีการวิเคราะห์สถานการณ์และการจัดทำแผนระดับอำเภอ การบันทึกกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ และการติดตามประเมินผลโครงการ โดยใช้เว็บไซต์กองทุนฯ
3.นำเสนอการเข้าไปใช้ข้อมูลวิเคราะห์การใช้เงินของแต่ละกองทุนโดยเวปของสปสช.1ในการใช้อ้างอิงจาก https://www.localfund-cmi.info/ โดย มนัสชนก ณ มงคล
4.ปฏิบัติการเพิ่มข้อมูล แก้ไขข้อมูลของพื้นที่ในเว็บไซต์กองทุนฯ
5. ระดมสมองกรอบการถอดบทเรียนโดยพี่เลี้ยงแต่ละพื้นที่ทบทวนและวิเคราะห์กลไกการทำงานของพื้นที่ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอ และพิจารณร่วมกับกรอบรายงานพื้นที่ของสนส.กำหนด และนัดหมายการถอดบทเรียนในวันที่ 2 กรกฎาคม 2564