โครงการเสริมศักยภาพกลไกคณะทำงานพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นด้วยการจัดการความรู้เขต 11สุราษฎร์ธานี (ภาคใต้ตอนบน)
- เพื่อทบทวนคณะกรรมการ 2. เพื่อถอดบทเรียนกองทุนฯ 3. เพื่อพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจังหวัดกระบี่
09.00 - 09.30 ลงทะเบียน
09.30 - 10.00 ชี้แจงวัตถุประสงค์ พร้อมทั้งทำความรู้จักแนะนำตัวผู้เข้าร่วมประชุม
10.00 - 10.30 ทบทวนและชี้แจงแนวทางและที่มาของของกองทุน
10.30 - 11.00 แลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่
11.00 - 12.00 แบ่งกลุ่มตามพื้นที่
12.00 - 13.00 รับประทานอาหารเที่ยง
13.00 - 15.30 แบ่งกลุ่มตามพื้นที่ (ต่อ)
15.30 - 16.00 นำเสนอ ปิดการประชุม
แนะนำทักทาย โดย นายประพันธ์ ช่างเรือ
ในนามของตัวแทน คณะกรรมการศูนย์ สปสช.จังหวัดกระบี่ ขอตอนรับตัวแทนคณะกรรมการกองทุนท้องถิ่นทุกๆพื้นที่ เวทีวันนี้จัดขึ้นเพื่อทบทวนการปฏิบัติงานของงานหลักประกันสุขภาพ(สปสช.)ของแต่ละพื้นที่ และเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางจังหวะก้าวต่อไปในอนาคตและให้ในที่ประชุมแนะนำตัวและพื้นที่ปฏิบัติการ
ทบทวนและชี้แจงแนวทางและที่มาของของกองทุน นายอนันต์ เขียวสด
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำการสร้างเสริมสุขภาพ โดยการใช้งบจากภาษีเหล้าบุหรี่ ซึ่งสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการทำงานส่งเสริมสุขภาพที่อยู่ภายใต้งานกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เรื่องการส่งเสริมป้องกันโรคในระดับพื้นที่
(กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) สท. ทำในเรื่องของตำบลสุขภาพ เพื่อให้ทุกคนได้ประโยชน์อย่างทั่วถึง ซึ่งคนดูแลหลักคือท้องถิ่น อบต. อบจ. และท้องถิ่นปกครองพิเศษ คือ กรุงเทพ และพัทยา
จากการทำงานร่วมกัน จะทำให้ทุกคนเกิดประโยชน์ร่วมกันในการขับเคลื่อนงานต่อไปในอนาคต เช่น การเกิดธรรมนูญสุขภาพในชุมชน เกิดการทำงานส่งเสริมป้องกันโรคในพื้นที่ เกิดการเสริมสุขภาพในพื้นที่ ซึ่งการทำงานเรื่องสุขภาพจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่การร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ และภาคประชาชนเพื่อหนุนงานของท้องถิ่น ซึ่งเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคนโดยเฉพาะประชาชน ดังนั้น ทุกคนต้องช่วยกัน
ในส่วนของประกันสังคมนั้น ดูแลโดยสำนักงานประกันสังคม งบประมาณได้เงินจาก 3 ส่วน คือ ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐสมทบ ในการทำงานของประกันสังคมนั้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สวัสดิการ และรักษาพยาบาล แต่มีการประชุมได้มีการเสนอให้ประกันสังคมดูแลเรื่องสวัสดิการ ส่วนการรักษาพยาบาลให้เป็นหน่วยงานอื่นเป็นคนดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล
แนวทางการสนับสนุนการดำเนินงาน
นายรวี บ่อหนา นำเสนอกระบวนการคิดแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยื่นในการบริหารจัดการกองทุนท้องถิ่นในพื้นที่ โดยเปิดประเด็น ดังนี้
ความเป็นมา
สำนักสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ดำเนินการสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ เช่น จัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจกับเครือข่ายต่างๆ อบรมวิทยากรแกนนำ โครงการขยายผลการสร้างรู้ความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน มีภารกิจคือการสร้างความรู้ความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพ รับเรื่องราวร้องทุกข์ ร่วมพัฒนาระบบบริการ ตลอดจนผลักดันเชิงนโยบาย โดยในปี 2547 ดำเนินการ 29 ศูนย์ 21 จังหวัด ปี 2549 จำนวน 72 ศูนย์ ในพื้นที่ 43 จังหวัด ปี 2550 จำนวน 85 ศูนย์ ในพื้นที่ 61 จังหวัด สำหรับปี 2551 มีแนวทางการสนับสนุนโดยพิจารณาตามศักยภาพและความพร้อมของศูนย์ โดยมีศูนย์ประสานงานฯ ครอบคลุมทุกพื้นที่ จากปี 2550 จำนวน 85 ศูนย์ในพื้นที่ 61 จังหวัด เพิ่ม 15 จังหวัดที่ยังไม่มีศูนย์ ส่วน กทม.สนับสนุนเป็นโซน 6 โซน 4 ประเด็นและเพิ่มพื้นที่โซนเจ้าพระยาอีก 1 โซน รวมจำนวน 101 ศูนย์ การดำเนินงานศูนย์ประสานงานฯ เน้นการพัฒนาศักยภาพยกระดับการดำเนินกิจกรรมจากประสบการณ์ที่ผ่านมา การเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับพื้นที่ สสจ. อปท. โดยเฉพาะกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุน อบต.) บางแห่งเริ่มดำเนินกิจกรรมแล้ว เป็นต้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ความเข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพ รวมถึงนำข้อมูลความคืบหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพไปถ่ายทอดต่อในระดับพื้นที่ ตามแผนกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการที่เสนอ
2. เพื่อประสานความร่วมมือกับ เครือข่ายองค์กร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีอื่นในระดับพื้นที่ และ สปสช.ส่วนกลาง/สาขาเขตพื้นที่/สาขาจังหวัด
3. เพื่อดำเนินการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และกรณีส่งต่อ
4. เพื่อติดตามและพัฒนาคุณภาพระบบบริการหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่
5. เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน องค์กรประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพและผลักดันเชิงนโยบาย
เป้าหมาย
ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ที่เคยได้รับงบสนับสนุนในปี 2547-2550 หรือองค์กรเครือข่ายต่างๆ ที่ดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่
บทบาทภารกิจของทีมกลไกภาค
1. การบริหารจัดการให้เป็นไปตามแผนงาน
2. การพัฒนาศักยภาพแกนนำในจังหวัดที่เป็นศูนย์ใหม่ทั้งสองระดับ
3. หนุนเสริมกระบวนการทำงานตามบทบาทภารกิจของศูนย์ประสานงานฯ
4. ประสานให้เกิดกลไกการทำงานการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน เครือข่ายผู้ให้บริการและ อปท.
5. เชื่อมประสานกับ สปสช.ส่วนกลาง/สาขาเขตพื้นที่/สาขาจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. ติดตามประเมินผล และสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานฯ ร่วมกับ สปสช.สาขาเขตพื้นที่
ขอบเขตการดำเนินงานทีมกลไกภาค ประกอบด้วย กิจกรรมหลัก ดังนี้
1. สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการเชื่อมร้อยเครือข่ายในระดับพื้นที่ภาค/เขต/โซน/จังหวัด
2. ประสานความร่วมมือสนับสนุนและหนุนเสริมกระบวนการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของ
ศูนย์ประสานงานในพื้นที่
3. ประสานงานให้เกิดกลไกการดำเนินงานการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนและเครือข่ายผู้ให้บริการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. เชื่อมประสานข้อมูลการดำเนินงานร่วมกับ สปสช.ส่วนกลาง/สาขาเขตพื้นที่/สาขาจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในระดับพื้นที่
5. ติดตามประเมินผล และสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หลังจากเริ่มดำเนินงานร่วมกับ สปสช.สาขาเขตพื้นที่
บทบาทภารกิจ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน
1. เผยแพร่ข้อมูล ความรู้ สร้างความเข้าใจ เรื่องหลักประกันสุขภาพ
2. รับเรื่องร้องทุกข์ ให้คำแนะนำปรึกษา ประสานงานแก้ไขปัญหา
3. ติดตามและพัฒนาคุณภาพบริการในระดับพื้นที่
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมองค์กรชุมชน/องค์กรประชาชน ในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
5. จัดทำข้อเสนอและความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ
6. รายงาน ผลการทำกิจกรรมตามกรอบ ระยะเวลา และเงื่อนไข ตามที่สัญญษกำหนด
ขอบเขตการดำเนินงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้
1. เผยแพร่ข้อมูล ความรู้ สร้างความเข้าใจ ระบบหลักประกันสุขภาพ รวมถึงนำข้อมูลความคืบหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพไปถ่ายทอดต่อไปในระดับพื้นที่ด้วยการจัดกิจกรรมตามโครงการที่เสนอ
2. รับเรื่องร้องทุกข์ ให้คำแนะนำปรึกษา ประสานงานแก้ไขปัญหาจากการใช้บริการและติดตามและพัฒนาคุณภาพบริการในระดับพื้นที่
3. สนับสนุนการมีส่วนร่วมองค์กรชุมชน/องค์กรประชาชน ในการเชื่อมร้อยเครือข่ายในระดับพื้นที่ที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพ
7. พัฒนาศักยภาพยกระดับการดำเนินกิจกรรมจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
8. จัดทำข้อเสนอและความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ
ลักษณะโครงสร้างของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเป็นศูนย์ที่ดำเนินการโดยภาคประชาชน ไม่อยู่ในหน่วยบริการ โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือหน่วยงานของภาครัฐทุกประเภท และอาจเป็นศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมที่ดำเนินอยู่เดิม หรือเป็นศูนย์ที่ก่อตั้งใหม่ โดยมีลักษณะดังนี้
1. มีสถานที่หรือที่ตั้งชัดเจน
2. มีบุคคลากรหรือองค์กรที่มีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
3. บุคลากรที่ดำเนินงานมีความรู้ในเรื่องหลักประกันสุขภาพ
4. มีระบบบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้
เกณฑ์การคัดเลือกศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน
1. มีสถานที่หรือที่ตั้งชัดเจน ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้บริการได้โดยสะดวก
2. มีโครงสร้างของการดำเนินงาน ในรูปของคณะกรรมการ มิใช่การดำเนินการโดยคนใดคน หนึ่งเพียงคนเดียว
3. มีประสบการณ์ หรือเคยจัดกิจกรรมในเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีลักษณะเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมศูนย์ฯ
4. ผู้รับผิดชอบดำเนินการศูนย์เป็นที่ยอมรับของหน่วยบริการและประชาชนผู้รับบริการใน พื้นที่
5. ดำเนินการโดยประชาชนในชุมชน หรือ ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนและมีความผูกพันกับชุมชนหรือ องค์กรเอกชน (NGO) เป็นต้น
นำเสนอกระบวนการกลุ่ม วิทยากรโดย นายอนันต์ เขียวสด คณะทำงาน ศูนย์ สป.สช.จังหวัดกระบี่ สรุปผลการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การปฏิบัติงานกองทุนท้องถิ่นอย่างรู้เท่าทัน ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ทิศทางเป้าหมายพัฒนายกระดับกองทุนท้องถิ่น คนคลองพนสร้างสุข วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ของกองทุนท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้ 1. ปรับและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานของทีมคณะกรรมการพัฒนากองทุน ขับเคลื่อนงานอย่างมีพลัง สร้างการมีส่วนร่วมของทุกระดับทุกหน่วยงานภาคีในพื้นที่ 2. มีการวางยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และแผน กำหนดทิศทางการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ 3. มีการสื่อสาร ขยายผล เจตนารมณ์ แนวคิด เป้าหมาย ความตั้งใจรวมถึงพื้นที่รูปธรรม ให้เป็นพื้นที่จัดการองค์ความรู้สู่ต้นแบบของการดำเนินงาน 4. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจ เข้าถึง ว่ากองทุนท้องถิ่นเป็นเครื่องมือพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
กลุ่มที่ 2 แผนปฏิบัติงานกองทุนสุขภาพ เทศบาลคลองพน สู่ วิธีคิดใหม่ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทิศทางการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้
กิจกรรม รายละเอียดงาน
ห้วงเวลา / สถานที่ ผลผลิต/ผลลัพท์
1. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/จัดการความรู้ระดับตำบล สนับสนุนเวทีโดย ศูนย์ประสานงาน สป.สช.จังหวัดกระบี่
ม.ค 60 รายงานสรุปเวที/ข้อเสนอต่อการจัดการสุขภาพท้องถิ่น
2.ติดตามหนุนเสริม :
ถอดบทเรียนกองทุนเด่น
-ค่าสังเคราะห์บทเรียน/นวัตกรรม
ส.ค 60 ชุดบทเรียนกรณีศึกษา และนวัตกรรม ในกลุ่มวัยหรือโครงการ
- เวทีพัฒนาโครงการเชิงรุก (กลุ่มเด็ก/ผู้สูงอายุหรือพิการ) ส่งผู้แทนกองทุนหรือตำบล ละๆ 5 คน รอกำหนดการ จาก สป.สช 11 ชุดโครงการเชิงรุกการเสริมสร้างสุขภาพในกลุ่มวัย......
เวที ลปรร.นโยบายสาธารณะ ; ธรรมนูญสุขภาพ (สช.) รอกำหนดการ จาก สป.สช 11 จะต้องเป็นพื้นที่นำร่อง
ผู้แทนพื้นที่กองทุนละ 5 คน 5.เวทีสร้างความเข้าใจร่วมกับ สตง : ประเมินผลกองทุนฯ รอกำหนดการ จาก สป.สช 11 สตง./ จนท.กองทุน เข้าใจร่วมกันในระเบียบปฏิบัติทางการเงิน
กลุ่มที่ 3 แนวทางการบริหารจัดการกองทุนฯการจัดตั้งกลุ่ม Line ชื่อว่า อสม.เฉลิมพระเกียรติ เพื่อความรวดเร็วและความคล่องตัวใน การติดต่อสื่อสาร แจ้งข้อมูลข่าวสารแก่คณะกรรมการ อนุกรรมการ
- ยึดหลักการบริหารกองทุนฯ ด้วย POSDCROB PDCA และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน คณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการพิจารณาด้านแผนงานและกลั่นกรองโครงการจะอนุมัติโครงการตาม Mini SLM และกระตุ้นให้ชุมชนเสนอโครงการให้สอดคล้องกับ Mini SLM มีการวิเคราะห์โครงการจำแนกตามกลุ่มอายุ สำหรับการควบคุม กำกับและติดตามการดำเนินโครงการต่างๆ กองทุนฯ
- มีการจัดตั้งทีมเลขานุการของกองทุนฯ ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นทีม เรียกว่า “5 ตัวจี๊ด” ประกอบด้วย 1.นักยุทธศาสตร์ ทำหน้าที่ในวางแผนการบริหารงานของกองทุนฯ จัดทำและทบทวนยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของกองทุน รวมทำแผนโครงการกองทุนประจำปีให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 2.นักวิชาการ ทำหน้าที่ในการจัดหา สนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อกฎหมาย ในการบริหารและดำเนินงานกองทุนฯ
3.นักจัดการ ทำหน้าที่ในการจัดการงานต่างๆ ของกองทุนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามแผนงานที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนของการจัดประชุมคณะกรรมการ เป็นต้น
4.นักสื่อสาร ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์งานต่างๆ ของกองทุนฯ ให้ประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมายได้รับข่าวสาร ผลการดำเนินงาน อย่างทั่วถึง 5.นักประสานงาน ทำหน้าที่ในการประสานงานกับกลุ่มบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุน ทั้งในส่วนของการจัดการประชุม การดำเนินงานภาคสนาม และรวมถึงการลงประเมินการดำเนินโครงการของหน่วยงาน ชุมชน ชมรม ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน
ปิดประชุม เวลา 16.00 น.
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะทำงานจากศูนย์ สป.สช จังหวัดกระบี่ 3 คน คณะกรรมการ/คณะทำงาน กองทุนท้องถิ่น จำนวน 2 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลคลองพนและเทศบาลคลองพนพัฒนา 15 คน ท้องที่และท้องถิ่น 15 คน เจ้าหน้าที่ รพ.สต ทั้ง 2 แห่ง 5 คน เจ้าหน้าที่ อสม. ชมรมผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป 22 คน
-
-
-