สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการเสริมศักยภาพกลไกคณะทำงานพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นด้วยการจัดการความรู้เขต 11สุราษฎร์ธานี (ภาคใต้ตอนบน)

เวทีประชุมเวทีสรุปการพัฒนาระบบและกลไกพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเทศบาลตำบลทรายขาว ส่งเสริมการพัฒนาธรรมนูญสุขภาพตำบลจังหวัดกระบี่18 ตุลาคม 2559
18
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นิฮาฟีซา นิมะมิง
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา 2.เพื่อวางแผนการดำเนินงานกองทุนฯ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายงานบันทึกการประชุม เวทีประชุมเวทีสรุปการพัฒนาระบบและกลไกพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเทศบาลตำบลทรายขาว ส่งเสริมการพัฒนาธรรมนูญสุขภาพตำบล วันที่ 18 ธันวาคม 2559 ณ โรงพยาบาลสุขภาพบ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว  อ.คลองท่อม  จ.กระบี่

09.00 - 09.30    ลงทะเบียน

09.30 - 10.00    กล่าวเปิดเวทีประชุม โดย นายอรรถพร พิรุณรัตน์

10.00 - 10.30    ทบทวนและชี้แจงแนวทางและที่มาของของกองทุนฯ  โดย นายอนันต์  เขียวสด

10.30 - 12.00    แลกเปลี่ยนการทำงานในแต่ละพื้นที่

12.00 - 13.00    รับประทานอาหารเที่ยง

13.00 - 14.00  นำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการจัดทำธรรมนูญสุขภาวะชุมชน

14.00 - 15.30  จัดทำแผนเสนอโครงการเข้ากองทุนฯ

15.30 - 16.00  นำเสนอ

                      ปิดการประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานบันทึกการประชุม เวทีประชุมเวทีสรุปการพัฒนาระบบและกลไกพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเทศบาลตำบลทรายขาว ส่งเสริมการพัฒนาธรรมนูญสุขภาพตำบล วันที่ 18 ธันวาคม 2559 ณ โรงพยาบาลสุขภาพบ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว  อ.คลองท่อม  จ.กระบี่

สรุปจำนวน ผู้เข้าร่วม 30 คน จากกลุ่มเป้าหมาย 30 คน ดังนี้ ที่ หน่วยงาน/ภาคี จำนวน หมายเหตุ 1. คณะทำงานจากศูนย์ สป.สช จังหวัดกระบี่ 3  คน
2. คณะกรรมการ/คณะทำงาน กองทุนท้องถิ่น 7 คน
3. ท้องที่และท้องถิ่น 10 คน
4. เจ้าหน้าที่ รพ.สต ทั้ง 2 แห่ง 2 คน
5. เจ้าหน้าที่ อสม. ชมรมผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป 8 คน


แนะนำทักทาย โดย นายอรรถพร พิรุณรัตน์
กล่าวตอนรับตัวแทนคณะกรรมการกองทุนท้องถิ่นทุกๆพื้นที่  เวทีวันนี้จัดขึ้นเพื่อทบทวนการปฏิบัติงานของงานหลักประกันสุขภาพ(สปสช.)ของแต่ละพื้นที่ และเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางจังหวะก้าวต่อไปในอนาคตและให้ในที่ประชุมแนะนำตัวและพื้นที่ปฏิบัติการในหมู่บ้านของตน

ทบทวนและชี้แจงแนวทางและที่มาของของกองทุน นายอนันต์  เขียวสด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำการสร้างเสริมสุขภาพ  โดยการใช้งบจากภาษีเหล้าบุหรี่ ซึ่งสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการทำงานส่งเสริมสุขภาพที่อยู่ภายใต้งานกองทุน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เรื่องการส่งเสริมป้องกันโรคในระดับพื้นที่ (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) สท. ทำในเรื่องของตำบลสุขภาพ เพื่อให้ทุกคนได้ประโยชน์อย่างทั่วถึง ซึ่งคนดูแลหลักคือท้องถิ่น อบต. อบจ. และท้องถิ่นปกครองพิเศษ คือ กรุงเทพ และพัทยา จากการทำงานร่วมกัน จะทำให้ทุกคนเกิดประโยชน์ร่วมกันในการขับเคลื่อนงานต่อไปในอนาคต เช่น การเกิดธรรมนูญสุขภาพในชุมชน เกิดการทำงานส่งเสริมป้องกันโรคในพื้นที่ เกิดการเสริมสุขภาพในพื้นที่  ซึ่งการทำงานเรื่องสุขภาพจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่การร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ และภาคประชาชนเพื่อหนุนงานของท้องถิ่น  ซึ่งเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของทุกคนโดยเฉพาะประชาชน ดังนั้น ทุกคนต้องช่วยกัน ในส่วนของประกันสังคมนั้น  ดูแลโดยสำนักงานประกันสังคม  งบประมาณได้เงินจาก 3 ส่วน  คือ ผู้ประกันตน  นายจ้าง และรัฐสมทบ ในการทำงานของประกันสังคมนั้น แบ่งเป็น  2 ส่วน คือ สวัสดิการ และรักษาพยาบาล  แต่มีการประชุมได้มีการเสนอให้ประกันสังคมดูแลเรื่องสวัสดิการ ส่วนการรักษาพยาบาลให้เป็นหน่วยงานอื่นเป็นคนดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล แนวทางการสนับสนุนการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ความเข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพ รวมถึงนำข้อมูลความคืบหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพไปถ่ายทอดต่อในระดับพื้นที่ ตามแผนกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการที่เสนอ 2. เพื่อประสานความร่วมมือกับ เครือข่ายองค์กร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีอื่นในระดับพื้นที่ และ สปสช.ส่วนกลาง/สาขาเขตพื้นที่/สาขาจังหวัด 3. เพื่อดำเนินการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น และกรณีส่งต่อ 4. เพื่อติดตามและพัฒนาคุณภาพระบบบริการหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ 5. เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน องค์กรประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพและผลักดันเชิงนโยบาย เป้าหมาย ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ที่เคยได้รับงบสนับสนุนในปี 2547-2550 หรือองค์กรเครือข่ายต่างๆ ที่ดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ บทบาทภารกิจของทีมกลไกภาค 1. การบริหารจัดการให้เป็นไปตามแผนงาน 2. การพัฒนาศักยภาพแกนนำในจังหวัดที่เป็นศูนย์ใหม่ทั้งสองระดับ 3. หนุนเสริมกระบวนการทำงานตามบทบาทภารกิจของศูนย์ประสานงานฯ 4. ประสานให้เกิดกลไกการทำงานการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชน เครือข่ายผู้ให้บริการและ อปท. 5. เชื่อมประสานกับ สปสช.ส่วนกลาง/สาขาเขตพื้นที่/สาขาจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6. ติดตามประเมินผล และสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานฯ ร่วมกับ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ ขอบเขตการดำเนินงานทีมกลไกภาค ประกอบด้วย กิจกรรมหลัก ดังนี้ 1. สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการเชื่อมร้อยเครือข่ายในระดับพื้นที่ภาค/เขต/โซน/จังหวัด 2. ประสานความร่วมมือสนับสนุนและหนุนเสริมกระบวนการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของ ศูนย์ประสานงานในพื้นที่ 3. ประสานงานให้เกิดกลไกการดำเนินงานการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนและเครือข่ายผู้ให้บริการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4. เชื่อมประสานข้อมูลการดำเนินงานร่วมกับ สปสช.ส่วนกลาง/สาขาเขตพื้นที่/สาขาจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในระดับพื้นที่ 5. ติดตามประเมินผล และสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หลังจากเริ่มดำเนินงานร่วมกับ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ บทบาทภารกิจ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน 1. เผยแพร่ข้อมูล ความรู้ สร้างความเข้าใจ เรื่องหลักประกันสุขภาพ 2. รับเรื่องร้องทุกข์ ให้คำแนะนำปรึกษา ประสานงานแก้ไขปัญหา 3. ติดตามและพัฒนาคุณภาพบริการในระดับพื้นที่ 4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมองค์กรชุมชน/องค์กรประชาชน ในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 5. จัดทำข้อเสนอและความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ 6. รายงาน ผลการทำกิจกรรมตามกรอบ ระยะเวลา และเงื่อนไข ตามที่สัญญษกำหนด ขอบเขตการดำเนินงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ดังนี้ 1. เผยแพร่ข้อมูล ความรู้ สร้างความเข้าใจ ระบบหลักประกันสุขภาพ รวมถึงนำข้อมูลความคืบหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพไปถ่ายทอดต่อไปในระดับพื้นที่ด้วยการจัดกิจกรรมตามโครงการที่เสนอ 2. รับเรื่องร้องทุกข์ ให้คำแนะนำปรึกษา ประสานงานแก้ไขปัญหาจากการใช้บริการและติดตามและพัฒนาคุณภาพบริการในระดับพื้นที่ 3. สนับสนุนการมีส่วนร่วมองค์กรชุมชน/องค์กรประชาชน ในการเชื่อมร้อยเครือข่ายในระดับพื้นที่ที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพ 7. พัฒนาศักยภาพยกระดับการดำเนินกิจกรรมจากประสบการณ์ที่ผ่านมา 8. จัดทำข้อเสนอและความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ ลักษณะโครงสร้างของศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเป็นศูนย์ที่ดำเนินการโดยภาคประชาชน ไม่อยู่ในหน่วยบริการ โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือหน่วยงานของภาครัฐทุกประเภท และอาจเป็นศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจากกิจกรรมที่ดำเนินอยู่เดิม หรือเป็นศูนย์ที่ก่อตั้งใหม่ โดยมีลักษณะดังนี้ 1. มีสถานที่หรือที่ตั้งชัดเจน 2. มีบุคคลากรหรือองค์กรที่มีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน 3. บุคลากรที่ดำเนินงานมีความรู้ในเรื่องหลักประกันสุขภาพ 4. มีระบบบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ เกณฑ์การคัดเลือกศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน
1. มีสถานที่หรือที่ตั้งชัดเจน ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้บริการได้โดยสะดวก 2. มีโครงสร้างของการดำเนินงาน ในรูปของคณะกรรมการ มิใช่การดำเนินการโดยคนใดคน หนึ่งเพียงคนเดียว 3. มีประสบการณ์ หรือเคยจัดกิจกรรมในเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีลักษณะเอื้อต่อการดำเนินกิจกรรมศูนย์ฯ 4. ผู้รับผิดชอบดำเนินการศูนย์เป็นที่ยอมรับของหน่วยบริการและประชาชนผู้รับบริการใน พื้นที่ 5. ดำเนินการโดยประชาชนในชุมชน หรือ ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนและมีความผูกพันกับชุมชนหรือ องค์กรเอกชน (NGO) เป็นต้น

นำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการจัดทำธรรมนูญสุขภาวะชุมชน เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรคแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่เทศบาลตำบลทรายขาว. วิทยากรและนำเสนอ วิเคราะหโครงการโดย นายอนันต์ เขียวสด คณะทำงาน ศูนย์ สป.สช.จังหวัดกระบี่ ได้นำเสนอปัจจัยการกำหนดสุขภาพ ดังนี้ -สุขภาพคือ ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา
และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล


หลังจากการนำเสนอองค์ความรู้ในการดำเนินการเสร็จ จึงได้นำเสนอโครงการจัดทำธรรมนูญสุขภาวะชุมชน เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรคแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่เทศบาลตำบลทรายขาว  ดังนี้ 1.หลักการและเหตุผล การการปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพป้องกันและควบคุมโรคและภัยคุกคามสุขภาพในทศวรรษหน้า  มุ่งเน้นให้ประชาชน ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในพัฒนาและจัดการสุขภาพ  ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี  ประกอบกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ ระยะ 20 ปี ของของประเทศ ที่นำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter) รวมถึงกฎบัตรกรุงเทพ (Bangkok Charter) ที่หน่วยงานและองค์กรต่างๆ  นำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการสนับสนุนโครงการที่สอดคล้องกับการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ

อนึ่งสืบเนื่องจากองค์การอนามัยโลก  ได้เป็นแกนนำระดับนานาชาติในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก เมื่อ ค.ศ. 1977 โดยประเทศที่เข้าร่วมได้กำหนดเป้าหมายหลักการของสาธารณสุข คือให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ปี 2543  หรือ “Health for All by the Year 2000”    และจากการประชุมใหญ่ที่เมือง  อัลมา อตา  ประเทศรัสเซีย ใน ค.ศ.1978  ได้ข้อตกลงร่วมกันในการใช้กลวิธีหลัก คือ การ        สาธารณสุขมูลฐาน (Primary health care)  เพื่อให้บรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า  ต่อมา ปี ค.ศ.1986  (พศ.2529) องค์การอนามัยโลกได้จัดประชุมหาแนวทางในการแก้ปัญหาสุขภาพอีกครั้ง  โดยจัดประชุมที่เมืองออตตาวา ประเทศคานาดา  ได้มีข้อตกลงใช้นโยบายหลักของการพัฒนาสาธารณสุขแนวใหม่ คือ เน้นการ ส่งเสริมสุขภาพ  ซึ่งมีการเรียกนโยบายนี้ว่า กฎบัตรออตตาวา (Ottawa charter) ประเทศ    ต่าง ๆ ระดับนานาชาติได้นำไปประยุกต์ใช้แตกต่างกันไป เป็นกระบวนการของการเพิ่มสมรรถนะ ให้คนสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลมีสุขภาพดี สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเอง ให้เหมาะสม รวมไปถึงการปรับสิ่งแวดล้อม ให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี" ซึ่งมีสาระสำคัญ 5 องค์ประกอบ คือ    1) การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Healthy public policy) 2) การสร้างสิ่งแวดล้อม/สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (Create healthy environment)  3.การสร้างเสริมความเข้มแข็งชุมชน/กระบวนการชุมชน (Community strengthening)  4)การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลให้ สามารถปรับพฤติกรรมเพื่อการสร้างสุขภาพ (Personal skill development)  5)การปรับเปลี่ยนระบบบริการการแพทย์ และสาธารณสุข ให้เป็นไปในลักษณะผสมผสาน และองค์รวม (Health care service system re-orientation) ตาม พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พศ. 2550 นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Healthy Public Policy) :  นโยบายสาธารณะที่แสดงความห่วงใยอย่างชัดเจนเรื่องสุขภาพ และพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลกระทบทางด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดจากนโยบายนั้น ขณะเดียวกันก็เป็นนโยบายที่มุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมทั้งทางสังคมและทางกายภาพที่เอื้อต่อการมีชีวิตที่มีสุขภาพดี และมุ่งให้พลเมืองมีทางเลือกและสามารถเข้าถึงทางเลือกที่ก่อให้เกิดสุขภาพที่ดีได้ อนึ่งจากเวทีสร้างความร่วมมือพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ เขต ๑๑ โรงแรมบรรจงบุรี  อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฏร์ธานี    เมื่อวันที่  ๒๕  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๕๙  ที่มีบันทึกข้อตกลง (MOU)    ว่าด้วยความร่วมมือดำเนินงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (ปี ๕๘-๖๐) ระหว่าง  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๑ สุราษฎร์ธานี (สปสช.) , สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) , กระทรวงสาธารณสุข พื้นที่ เขต ๑๑ , ศูนย์ประสานงานวิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวสต./สสส.) สถาบันการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น .เทศบาลตำบลทรายขาว.. ได้ประชุมผู้นำและแกนนำชุมชนท้องถิ่น ต่างมีฉันทามติร่วมกันที่จะดำเนินการจัดทำธรรมนูญสุขภาวะชุมชน เพื่อการเสริมสร้างสุขภาพป้องกันโรคแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่..เทศบาลตำบลทรายขาว.

มติที่ประชุม  รับทราบเห็นด้วยกับหลักการและเหตุผลดังกล่าว

2.วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค โดยเครื่องมือธรรมนูญสุขภาวะชุมชน 2.2 เพื่อให้เกิดเป้าหมาย กติกา  และแนวทางปฏิบัติในการจัดการระบบสุขภาพร่วมกันชุมชนท้องถิ่น  และหน่วยงานองค์กรต่างๆ ในพื้นที่

มติในที่ประชุม  เสนอให้เพิ่มเติมวัตถุประสงค์อีกหนึ่งข้อ ดังนี้ 2.3 เพื่อให้ประชาชนสามารถนำธรรมนูญสุขภาวะชุมชนสู่การจัดการตำบลสุขภาวะแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน เพื่อชุมชนได้อย่างแท้จริง

และได้ร่วมกันประชุมจัดทำแผนการปฏิบัติงาน  เพื่อให้กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพเทศบาลตำบลทรายขาวเกิดการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของทุกหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการในพื้นที่ จึงมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

ที่ กิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย ห้วงเวลา ผู้รับผิดชอบ 1 จัดทำโครงการฯ เพื่อใช้งบประมาณจากกองทุน ธ.ค 59
2 ประชุมสร้างความเข้าใจผู้นำ/แกนนำ ในกระบวนพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ สร้างความร่วมมือ/จัดตั้งคณะทำงาน ผู้นำท้องถิ่น/ท้องที่/  แกนนำชุมชน / จนท.ทีเกี่ยวข้อง ม.ค. 60 คณะทำงาน 3 ดำเนินงานตามแผนงาน/กิจกรรม
3.1 คณะทำงานทบทวน/รวบรวม  วิเคราะห์  สังเคราะห์ ข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะ  เส้นทางการพัฒนา เป็นฐานในการกำหนดเป้าหมาย/แนวทางพัฒนาสุขภาวะชุมชนท้องถิ่น คณะทำงานฯ ม.ค. 60 คณะทำงาน 3.2 จัดเวทีเรียนรู้ นำเสนอข้อมูลฯ / แลกเปลี่ยนเติมเต็ม / เป้าหมาย-ทิศทาง มาตรการฯ ประชาชนในชุมชนท้องถิ่น ก.พ 60 คณะทำงาน 3.3 จัดเวทีเรียนรู้ (สมัชชาสุขภาพ) ยกร่างเป้าหมาย-ทิศทาง มาตรการฯ ผู้นำ/ประชาชน/จนท.ในพื้นที่ ก.พ 60 คณะทำงาน 3.4 คณะทำงานฯ จัดทำร่างธรรมนูญสุขภาวะชุมชน ผู้นำ/ประชาชน/จนท.ในพื้นที่ มี.ค 60 คณะทำงาน 3.5 จัดเวทีประชาคม(ประชาพิจารณ์) ประกาศใช้ธรรมนูญ ผู้นำ/ประชาชน/จนท.ในพื้นที่ มี.ค. - เม.ย 60 คณะทำงาน 4 การนำใช้ธรรมนูญสุขภาวะชุมชน
-จัดตั้งคณะทำงานธรรมนูญ/ศูนย์ประสานงาน -จัดทำแผนยุทธศาสตร์หรือแผนสุขภาพชุมชน -จัดทำโครงการเสริมสร้างสุขภาพฯ คณะทำงาน / กรรมการกองทุนฯ /สภาท้องถิ่น เม.ย – ส.ค 60 คณะทำงาน / กรรมการกองทุนฯ 5 การติดตามประเมินผล ระยะที่ 1 คณะทำงาน สค.-กย. 60
6 การขยายผล และพัฒนาระบบการดำเนินงาน อปท. ก.ย- ธ.ค 60

6.งบประมาณ จำนวน .........80,000.......บาท -จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น.เทศบาลตำบลทรายขาว......50,000 บาท -จาก .....ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน..... 30,000 บาท หลังจากนั้นได้สรุปร่วมกันในการดำเนินงานภายใต้ จุดอ่อนการดำเนินนโยบายสาธารณะของคนในสังคมเพื่อสร้างจิตสำนึก มีส่วนร่วม ดังนี้



ปิดการประชุม เวลา 16.00 น.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

-คณะทำงานจากศูนย์ สป.สช จังหวัดกระบี่

-คณะกรรมการ/คณะทำงาน กองทุนท้องถิ่น

-ท้องที่และท้องถิ่น

-เจ้าหน้าที่ รพ.สต ทั้ง 2 แห่ง

-เจ้าหน้าที่ อสม. ชมรมผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-