สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การศึกษาศักยภาพและความพร้อมในการจัดทำหลักสูตรและการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ท่องเที่ยวชุมชน

ทบทวนหลักสูตร (Mapping)29 พฤษภาคม 2562
29
พฤษภาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย areeandaman
circle
วัตถุประสงค์

ทบทวนหลักสูตร (Mapping)

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ด้านการจัดทำหลักสูตรและการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ท่องเที่ยวชุมชน ได้ดังนี้ ผลผลิต (Output) : คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนชุมชน สังคมและภูมิภาค
    ผลลัพธ์ (Outcome) : หลักสูตรที่พึงประสงค์ และมีความสอดคล้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในปัจจุบัน ควรเป็นหลักสูตรระยะสั้น ด้วยองค์ประกอบและขีดจำกัดของการพัฒนาชุมชนหลายๆ ด้าน เช่น ด้านระยะเวลา ด้านต้นทุนค่าใช้จ่าย และด้านการจัดการความรู้ในระยะยาว ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม: ความต้องการศึกษาในหลักสูตรการท่องเที่ยวชุมชนและการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ท่องเที่ยวชุมชน เป็นหลักสูตรรูปแบบระยะสั้น ซึ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในชุมชน ด้านต่างๆ เช่น ทักษะด้านภาษา ทักษะด้านการบริการ ด้านการตลาด และด้านเทคโรชนโลนี ซึ่งมาจากหน่วยงานที่ศักยภาพและความพร้อมที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ต่างๆ เช่น สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจัดหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และมหาวิทยาลัยในเขตภูมภาคภาคใต้ฝั่งอันดามัน อีก 6 แห่ง เป็นต้น ซึ่งได้จัดทำโครงการพัฒนา เป็นหลักสูตรระยะสั้น หลากหลายโครงการ ตามรอบระยะเวลาของปีงบประมาณ ที่ได้รับการจัดสรร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

นักวิชาการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-หลักสูตรระยะสั้นที่เกิด จากการสะท้อนภาพ จากกกิจกรรมการ mapping ทำให้ทราบข้อมูล ด้วยความหลากหลายของความรู้บนวิถีชีวิตท้องถิ่นต่างๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรในชุมชน ชาวบ้าน หรือกลุ่มผู้นำตามหลักการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชน ซึ่งหลักสูตรระยะสั้นการท่องเที่ยวชุมชน ในปัจจุบันมีกรอบของลักษณะหลักสูตรที่มีวัตถุประสงค์ในการอบรม ดังรายละเอียดหลักสูตรระยะสั้นต่อไปนี้ หลักสูตรระยะสั้นของ CBT 1. หลักสูตรแนวคิด-หลักการ “การท่องเที่ยวโดยชุมชน”
2. หลักสูตรบันได 10 ขั้นในการเตรียมความพร้อมชุมชน
3. หลักสูตรการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน
4. หลักสูตรทักษะการสร้างการเรียนรู้ให้กับชุมชน CBT 5. หลักสูตรประเมินศักยภาพของชุมชนด้านการท่องเที่ยว 6. หลักสูตรการพัฒนาการให้บริการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน
หลักสูตรตัวอย่างข้างต้นนี้ ควรมาจากการสำรวจจากคความต้องการของชุมชน ร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวชุมชน จัดทำขึ้น อย่างต่อเนื่อง มีกรอบระยะเวลา ที่ชัดเจน และจัดหลักสูตร เป็นรุ่น พัฒนาให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนที่สามารถเป็นต้นแบบด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนแต่ละด้าน เป็นต้น

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-หน่วยงาน สสส. ควรมีการสนับสนุน หลักสูตรระยะสั้น ร่วมกันกับหน่วยงานหรือองค์กรผู้มีาส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-