สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการพัฒนาเครือข่ายสื่อสาธารณะภาคใต้

ประชุมกอง บก.เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร20 พฤศจิกายน 2559
20
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย chabeeah
circle
วัตถุประสงค์

  เพื่อสนับสนุนให้เกิดงานสมัชชาสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม  ในการขับเคลื่อนงานในทุกด้านสู่ความ อยู่ดีมีสุข อย่างยั่งยืน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดสมัชชาเพื่อให้เกิดเวทีสาธารณะ ที่ร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อให้ คนคอน สู่เป้าหมาย “นครศรีฯ อยู่ดีมีสุข” โดยการประสานให้เกิดความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เป็นภาคีร่วม  โดยการกำหนดกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  การจัดให้มีการเสวนา ในประเด็นต่าง ๆ  ที่เครือข่ายจังหวัดนครศรีฯ ขับเคลื่อน  การแลกเปลี่ยนและกำหนดมติในประเด็นขับเคลื่อน  และการจัดบู๊ดแสดงนิทรรศการ 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ในการขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพจังหวัด และภาคีที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนงานขับเคลื่อนตามภารกิจคือการสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายองค์กรชุมชนในทุกๆระดับทั้งนี้การสนับสนุนขึ้นอยู่กับภารกิจของแต่ละหน่วยงานเช่น ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การจัดงานเพื่อการผนึกกำลังทั้ง 3 ภาคส่วน คือ ภาคประชาชน,ภาคราชการ,ภาควิชาการ ที่ร่วมคิด ร่วมทำ เป้าหมายเดียวกัน คือการพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราชในทุกด้านให้สู่ความ อยู่ดีมีสุข อย่างยั่งยืนซึ่งคณะทำงานขับเคลื่อนนครศรีฯ อยู่ดี มีสุขได้กำหนดชื่องานในครั้งนี้ให้สอดคล้องกับแนวทางการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขที่วางแผนไว้ 3 ปี ด้วยกัน ปีที่ 1(2559) สมัชชาสุขภาวะคนคอน สู่ นครศรีอยู่ดีมีสุข ปีที่ 2(2560) ร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ปีที่ 3(2561) ร่วมประกาศวาระเมืองนคร โดยคนเมืองคอน เพื่อคนเมืองคอน ทั้งหมดนี้ คือ“แผนนครฯบูรณาการ” ซึ่งในปีนี้ตามกำหนดแผนงานปีที่ 1 คือ การร่วมกันจัดงาน สมัชชา คนคอน สู่ นครศรีฯ อยู่ดีมีสุข ในวันนี้
กระบวนการขับเคลื่อนงานจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีมาเป็นลำดับแผนชุมชนเป็นนวัตกรรมที่สำคัญมาก คือฝายมีชีวิต กระบวนภาคประชาชนนครถือว่ามีพลังที่เข้มแข็ง มีรูปธรรมการขับเคลื่อนจากเวทีเสวนาพบว่า แนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายที่ บอกพวกเรามี 8 ประเด็นคนนครศรีฯจะอยู่ดีมีสุขได้การขับเคลื่อนงานเครือข่าย คือการขับเคลื่อนต่อไปและมีปฏิสัมพันธ์ของการขับเคลื่อน ที่มีเรื่องราว บนจริตของเครือข่ายตนเองกระบวนการขับเคลื่อนเป็นต้นแบบเรื่องสารสนเทศมีการพัฒนาโมเดลของเรื่อง สิ่งที่พูดถึงและสำคัญมากอีกเรื่องคือ เมื่อเครือข่ายมาสัมพันธ์กันจะเชื่อมกันแบบไหนที่เป็นเชิงบวกเพื่อการเสริมพลังซึ่งกันและกันพลังของประเด็นร่วมจะส่งผลให้นครศรีธรรมราชไปได้ไกล ที่เสริมพลังซึ่งกันและกันภาคประชาชนไม่ได้ทำเพื่อองค์กรใดองค์กรหนึ่งหรืทำแต่เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ “นครศรีฯ อยู่ดี มีสุข”

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 350 คน จากที่ตั้งไว้ 500 คน
ประกอบด้วย
  1. สำนักงานคระกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
  2. จากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาช  (พอช.) ผ่านเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
  3. สภาพัฒนากรเมือง (สพม.) ผ่านคณะกรรมการเครือข่ายประชาสังคม (คปจ.) นครศรีธรรมราช
  4. สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านเครือข่ายองค์กรงดเหล้า/ศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ และ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.)
  5. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
  6. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  7. การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัดนครศรีธรรมราช
  8. สภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช
  9. เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช
  10. คณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ขยายผลการขับเคลื่อนตามประเด็นงานในพื้นที่ให้ครอบคลุมมากขึ้น