สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์ข้าวอินทรีย์ จ.พัทลุง

ประชุมเตรียมงานรับฟังความคิดเห็นแนวทางการจัดการข้าวอินทรีย์ เวทีใหญ่28 กรกฎาคม 2559
28
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย สุจิวรรณ พวงพริก
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประเด็นการสร้างพื้นที่นาแปลงใหญ่

  • ให้เป็นเกษตรที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน 1,000 ไร่(ในปีแรก) เพิ่มขึ้นประมาณ 20 %จากของเดิม
  • การทำนาแบบปลอดภัยหรือปรับเปลื่ยน (GAP) 3,000 ไร่
  • เงื่อนไขสนับสนุน 2,000 บาทต่อไร่
  • กลไกการสนับสนุนปัจเจก

ประเด็นการสร้างการเรียนรู้

  • แหล่งเรียนรู้ ตามระบบนิเวศน์ กับการจัดการที่ดี (Model กลุ่มและปัจเจก)
  • โรงเรียนชาวนา 11 โรงทั่วจังหวัด เป็นชาวนารุ่นใหม่
  • ปราชญ์ชาวนา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ประเด็นกลไกการทำงาน
    • ให้มีตัวแทนชาวนาเกษตรอินทรีย์อยู่ในคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชน (ตัวแทน กรอ.)
  2. งานรณรงค์ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
  3. โมเดลกองทุน (สร้างแรงจูงใจ) ที่มา (เงินมาจากไหน)
    • ลงขันร่วมกันระหว่าง 4 เส้า รัฐ เอกชน ท้องถิ่น ชุมชน(หารือว่ารูปแบบควรเป็นอย่างไร)
    • ภาษีรังนก 30% โดยเสนอเป็นการใช้กองทุนสิ่งแวดล้อม เพราะการทำนาอินทรีย์ เป็นการดูแลสิ่งแวดล้อม นกมีอาหารกิน
    • สปสช. ระดับตำบล (กำหนดแผนเพื่อเสนอให้ผู้ที่จะทำนาเกษตรอินทรีย์ได้ใช้เงินก้อนนี้)
  4. งานวิจัยการตลาด แปรรูป
  5. ให้มี กรรมการข้าวระดับจังหวัดที่ดูภาพรวมการจัดการข้าวระดับจังหวัด ทั้งในเรื่องการผลิต การตลาด งานวิจัย การตรวจสอบมาตรฐาน ติดตามประเมินผลโครงการต่างๆ และเชื่อมโยงคณะกรรมการ กรอ. และคณะกรรมการข้าวระดับชาติ
  6. เสนอให้หน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัดที่มีบทบาทในการทำงานวิจัย เช่น สวพ. ศูนย์วิจัยและพัฒนาเขต 8 ศูนย์วิจัยข้าว ม.ทักษิณ วิทยาลัยเกษตร วิทยาลัยการอาชีพ ทำยุทธศาสตร์หรือแผนส่งเสริมการวิจัยข้าวอินทรีย์ครบวงจร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 60 คน
  • การสร้างพื้นที่นาแปลงใหญ่
  • การสร้างการเรียนรู้
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  1. กลไกการจัดการ(ใครจะจัดการอย่างไร) เช่น นิติบุคคลทางกฎหมาย หรือ ท้องถิ่น กรณีปัจเจก บุคคลที่พร้อมจะปรับเปลี่ยน สามารถเข้าถึง กลุ่มที่จะเข้าถึง พื้นที่ระดับหมู่บ้านที่จะเข้าถึง
  2. มีคณะกรรมการพิจารณา (ใครเป็นกรรมการ)
  3. ต้องมีเอกสารให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรอินทรีย์ รูปแบบอย่างไร มีคณะกรรมการ พิจารณา (กี่ขั้นตอน)
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่