สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์ข้าวอินทรีย์ จ.พัทลุง

ประชุมรับฟังความคิดเห็นแนวทางการจัดการข้าวอินทรีย์โซนใต้21 กรกฎาคม 2559
21
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย เสณี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแสดงความคิดเห็นจัดทำแผนงานการขับเคลื่อนแผนแม่บทข้าวอินทรีย์ให้เป็นแผนยุทธศาสร์ข้าวอินทรีย์จังหวัดพัทลุง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ลงทะเบียนและแจกเอกสารประกอบผู้เข้าร่วมได้ศึกษา
  2. ดำเนินรายการชี้แจ้งที่มาโดย นายเสณี จ่าวิสูตร ได้เล่าถึงวัตถุประสงค์ของเวที ว่าต้องการให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบยุทธศาสตร์การทำนาอินทรีย์ของคนพัทลุงเพื่อเข้ากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบและผลักดันให้เกิดการทำนาอินทรีย์ และให้ผู้เข้าร่วมได้แนะนำตนเอง
  3. เวทีเปิดเมื่อเวลา 9.30 น. โดย รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายอนุรัฐ ไทยตรง ทบทวนวิสัยทัศน์จังหวัดพัทลุง เกษตรยั่งยืนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และคุณภาพชีวิตที่ดีสถานการณ์พัทลุงนั้นพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรยั่งยืนยังน้อยอยู่ภาคส่วนต่างขับเคลื่อนอย่างไรให้มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น ส่วนของผู้บริโภคมีกระแสของการดูแลสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม บริโภคผลผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์การขับเคลื่อนตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำ ปลายน้ำเพื่อให้ชาวนามีคุณภาพชีวิตที่ดี และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดของไทยหลายจังหวัดเขาเคลื่อนมาก อย่างยโสฯก็เคลื่อนมาให้เป็น 100000 ไร่ ที่จังหวัดอื่นเขาก็ขับมากเพราะคนอยากกินข้าวอินทรีย์ ตอนผมอยู่ที่หนองคาย ฝรั่งเขาเข้ามาถามผมว่าอยากกินข้าวอินทรีย์ กินผักปลอดภัยจะหาซื้อได้ที่ไหน ก็แนะนะว่าโรงพยาบาลอำเภอน่าจะมี หรือไปหาแถวร้านดอยคำ ฝรั่งเขากลัวมากเรื่องเคมี เขาบอกว่าคนไทยไม่น่าใส่ปุ๋ยสารเคมีมากขนาดนี้ บ้านเขาใช้น้อยมาก
  4. นายเทพรัตน์ จันทพันธุ์ ผอ.วิทยาลัยภูมิปัญญา ได้นำเสนอให้ผู้เข้าร่วมเห็นความสำคัญที่ต้องผลักดันการการนาอินทรีย์ ว่ามีความสำคัญในหลายด้าน และแนวโน้มของตลาดจะมีกว้างขึ้น รวมทั้งเสนอให้เห็นถึงการเคลื่อนงานของวิทยาลัยภูมิปัญญาที่ได้ทำงานกับหลายภาคส่วนเพื่อที่จะผลักดันในเรื่องนี้ ภาพรวมข้าวอินทรีย์มี 2 ส่วนที่ต้องร่วมกัน คือ 1) หน่วยงานซึ่งที่ผ่านมาก็มีท่านรองผู้ว่ามาเป็นหลัก มาร่วมทุกเวที มีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องก็คือเกษตรจังหวัด เกษตรสหกรณ์จังหวัด เป็นต้น 2) ภาคเอกชน ต้องมาช่วยกันคิดในเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องคิด start up คือให้มองว่าตัวเล็กๆ สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้
  5. หัวหน้าสนง.เกษตรสหกรณ์จังหวัดพัทลุงได้มาเสนอสิ่งที่หน่วยงานกำลังวางแผนและดำเนินการ บอกว่าในปัจจุบันกำลังทำชวนเข้าร่วมงานตลาดปลอดสารพิษ วันที่ 25 กรกฎาคม2559ณ บนถนนหน้าสำนักงานเกษตร
  6. ช่วงต่อมาเป็นการแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยเพื่อร่วมเสนอวิธีการหาแนวร่วมในการเพิ่มพื้นที่และผลผลิต โดย
    • ทำอย่างไรที่จะชวนคนที่ยังไม่คิดยังไม่เริ่มมาร่วม
    • ทำอย่างไรให้กลุ่มคนที่ทำอยู่แล้วทำมากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  7. วงใหญ่ นำเสนอผลการแลกเปลี่ยนกลุ่มย่อยและแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม สรุปการประชุม ปิด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม เพื่อร่วมเสนอ วิธีการหาแนวร่วมในการเพิ่มพื้นที่และผลผลิต 1. ทำอย่างไรที่จะชวนคนที่ยังไม่คิดยังไม่เริ่มมาร่วม 2. ทำอย่างไรให้กลุ่มคนที่ทำอยู่แล้วทำมากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัจจุบันพื่นที่ยังมีน้อย เพราะมีปัญหาหลายด้าน ที่สำคัญคือชาวนายังมองไม่เห็นตลาดจึงขาดแรงจูงใจขาดความรู้ขาดข้อมูลในทุกด้านรวมทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบข้างเพราะคนทั่วไปยังใช้สารเคมี


ทางแก้สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างครบวงจร ด้านการผลิต กระบวนการปลูก การจัดการเมล็ดพันธุ์การทำแนวกันชน เช่น กาปรับคันนา การทำปุ๋ยอินทรีย์ ผลักดันชาวบ้านให้ทำวิจัยทดลองด้วยตนเองในทุกขั้นตอนทั้งในเรื่องการปรับปรุงดิน น้ำ และการผลิตแปรรูป มีการสร้างการสนับสนุนคนรุ่นใหม่ เช่น ให้เด็กได้มีโอกาสกินข้าวอินทรีย์ ในระบบโรงเรียน และมีการให้ข้อมูลที่ดี อย่างเป็นระบบจากโรงเรียน เป็นการปลูกฝั่ง ให้ทุนนักเรียนชาวนาหรือรวมทั้งสนับสนุน ในบางโรงเรียน ที่มี พื้นที่นา ให้มีการทำนาอินทรีย์เป็นแหล่งเรียนรู้

ทางแก้ส่วนที่ 2. ส่วนของการผลิต สร้างระบบการตรวจสอยมาตราฐาน ดิน น้ำ ปุ๋ย ผลผลิตที่ครบวงจร มีระบบหรือโรงงานทำปุ๋ยอินทรีย์ที่มีมาตราฐานขายในราคาพอเหมาะ และเป็นของชาวนาจังหวัดพัทลุง โดยอาจทำเป็นสหกรณ์ปุ๋ยอินทรีย์ มีกระบวนการให้ความรู้ ส่งเสริมการผลิต เพิ่มพื้นที่นาข้าว มีแปลงนำร่อง กระจายทั่วทั้งจังหวัดเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงง่าย ใกล้บ้าน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  1. ให้มีกระบวนการสร้างแรงจูงใจเรื่องราคารายได้ที่มั่นคง ชวนให้ลดละเลิกการใช้สารเคมี มีการดูงานและศึกษาแปลงที่ประสบความสำเร็จ หรือ สร้างแปลงที่ทำสำเร็จแล้วเป็นแหล่งเรียนรู้


  2. ทำแปลงสาธิตอย่างน้อย อำเภอละ 1 จุดเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ จัดสาธิตให้เห็นกระบวนการทำนาอินทรีย์ตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยว

3.สร้างการเรียนรู้ว่าการทำนาอินทรีย์ สามารถคืนสมดุลให้กับธรรมชาติ

4.พันธู์ข้าว ควรมีวิธีการเก็บเอง

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

จะเพิ่มพื้นที่อย่างไรให้มีคุณภาพ