โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)
-
รายงาน PA เขื่องใน 050767.docx
-
20.jpg
-
19.jpg
-
18.jpg
-
17.jpg
-
16.jpg
-
15.jpg
-
14.jpg
-
13.jpg
-
12.jpg
-
11.jpg
-
10.jpg
-
9.jpg
-
8.jpg
-
7.jpg
-
6.jpg
-
5.jpg
-
4.jpg
-
3.jpg
-
2.jpg
-
1.jpg
ในวันศุกร์ดี ที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมสาธารณสุขอำเภอเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.ม.อ.) ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มูลนิธิประชาสังคมจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและจัดทำแผน พร้อมทั้งเขียนโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และปรับปรุงกิจกรรมโครงการให้สอดคล้องกับแบบพื้นที่สุขภาวะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพื้นที่นำร่อง อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
โดยมี น.ส.จงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานโครงการเขตสุขภาพที่ 10 ได้กล่าววัตถุประสงค์ของโครงการฯ และเป้าหมายของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ และได้รับการต้อนรับผู้แทนจากสำนักงานสาธารสุขอำเภอเขื่องในโดย นายศรีไพร ปัญญาวิชัย สสอ.เขื่องใน ร่วมแลกเปลี่ยน
พร้อมกันนั้น ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ให้หลักการสำคัญที่จะมีการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
อาจารย์ชุนันทร์ วามะขัน ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำผลการออกแบบของ เทศบาลตำบลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี พื้นที่สาธารณะ: “ย่านตลาดเก่า”ให้เป็นถนนคนเดิน สนามเด็กเล่น ที่พักผู้สูงอายุ พื้นที่กิจกรรมของเด็กวัยรุ่น ลานดนตรี ถนนศิลปะ ถนนอาหาร ร้านกาแฟ ที่ออกกำลังกาย ตลาดนัด และพื้นที่ขายสินค้า และองค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี พื้นที่สาธารณะ: สนามเด็กเล่น ที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา สวนสาธารณะ ลานศิลปะ จุด Check In จัดทำลู่วิ่ง ศูนย์เรียนรู้อาชีพ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ศาลานั่งเล่น ลานปั่นจักรยาน ห้องคาราโอเกะ ที่จอดรถ
นายรพินทร์ ยืนยาว คณะทำงานโครงการได้นำกระบวนการแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการปรับโครงการให้สมบูรณ์ มีดังนี้
เทศบาลตำบลเขื่องใน
- โครงการสวนฉำฉาพาสุขสันต์
- วัตถุประสงค์: เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในวันเด็กและวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ
- กิจกรรม/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สนับสนุนเอกลักษณ์วัฒนธรรมการละเล่นท้องถิ่น ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในเขตพื้นที่ได้มีลานกิจกรรม แสดงศิลปะได้หลากหลายมากขึ้น
2. จัดกิจกรรมลานถนนดนตรี ให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรรค์ในด้านศิลปะดนตรีเพิ่มมากยิ่งขึ้น
3. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มแรงจูงใจในเด็ก เยาวชน ประชนในเขตพื้นที่ ได้มีแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น
- โครงการสานฝันปันรัก
- วัตถุประสงค์ : เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในวันเด็กและวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ
- กิจกรรม/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- อาหาร ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพื่อให้เด็ก เยาวชน ประชาชน ในพื้นที่มีศิลปะการแสดง ด้านอาหาร ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพิ่มขึ้น
- การดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ ด้านอาชีพ เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์เป็นเอกลักษณ์ของทุกกลุ่มวัย
- พัฒนาลานสาธิตกิจกรรมที่แปลกใหม่เพื่อพัฒนาทางด้านจิตใจ ร่างกาย สมอง
องค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้
- โครงการหนูน้อยเคลื่อนไหวใส่ใจสุขภาพ
- วัตถุประสงค์ : เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย เด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่
- กิจกรรม
1. จัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายพื้นถิ่น 3 ครั้ง ส่งผลให้เด็กและผู้ปกครองได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการของเด็ก ได้บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่
2. ระดมปัญญาสร้างสนามเด็กเล็กเพื่อพัฒนาการ ส่งผลให้เกิดลานปัญญาสร้างสนามเด็กเล็กเพื่อพัฒนาการ
3. สวนสายใยรัก ปลูกผักพืชสมุนไพร ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายโครงการได้ผักพืชสมุนไพร ได้อาหารสุขภาพรับประทานที่บ้าน
4. กิจกรรมขันหมากเบ็ง ส่งผลให้เยาวชนสืบสานวัฒนธรรมกิจกรรมขันหมากเบ็ง ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ช่วงวัย (วัยเด็ก วัยทำงาน ผู้สูงอายุ) เพิ่มขึ้น
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข
- โครงการออกกำลังกายปั่นจักรยานปลูกป่า
- กิจกรรม: ปั่นจักรยานออกกำลังกายปลูกป่า มีตารางการนัดหมาย ทุกวันพฤหัสบดี เริ่มวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567 จำนวน 5 ครั้ง ในการดำเนินกิจกรรม เริ่มเวลา 14.00 น-16.00 น. จำนวน ผู้เข้าร่วม 80 ท่าน
- ส่งผลกับชุมชนดังนี้ เป็นการได้มีความรู้ ความเข้าใจการพัฒนากิจกรรมทางร่างกาย และจิตใจการเสริมสร้างกล้ามเนื้อในการปั่นจักรยาน การหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่
องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำใหญ่
- โครงการปั่นสร้างสุข
- วัตถุประสงค์: เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
- กิจกรรม : ปั่นรักษ์โลก(กลุ่ม อถล.ปั่นเก็บขยะตามถนนในชุมชน) ปั่นรณรงค์ต่างๆ เช่น ปั่นต่อต้านยาเสพติด ป้องรณรงค์ป้องกันโรค ปั่นปันสุข (ปั่นออกเยี่ยม,ให้กำลังใจ กลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติในพื้นที่ตำบลนาคำใหญ่) ชวนน้องปั่นไปวัด (ทำกิจกรรมต่างๆเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา เช่น ทำบุญ สวดมนต์ เวียนเทียน ทำความสะอาด) -ปั่นปลูกป่า ปล่อยปลา (อถล.ปั่นไปทำกิจกกรรมปลูกป่า ปล่อยปลา เนื่องในวันสำคัญต่างๆ)
- ส่งผลกับชุมชนดังนี้ 1.ประชาชนในตำบลนาคำใหญ่ได้เพิ่มกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 2.ประชาชนได้ผ่อนคลายหลังจากการทำงาน 3.ประชาชนมีความตระหนักถึงการมีสุขภาพที่ดี 4. ประชาชนในชุมชนมีความสามัคคี และสัมพันธ์อันดีภายในชุมชน
5.ประชาชนมีความตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ 6.การปั่นจักยานเป็นการประยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไห
- โครงการ ท่าไห workout on workday
- วัตถุประสงค์ : เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กปฐมวัย ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ
- กิจกรรม:
1. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ พร้อมวางแผนงาน
-จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการโครงการ โดยแกนหลักคือข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของอบต. และพิจารณาเชิญชวนตัวแทนหมู่บ้านทั้ง 13 หมู่บ้านๆละ 1 คน ที่เป็นที่ยอมรับนับถือของคนในชุมชนร่วมเป็นคณะทำงาน -คณะทำงานประชุมวางแผน กำหนดกิจกรรมทางกายที่จะดำเนินการโดยเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่คนทุกวัยสามารถทำได้ เช่น การเต้นแอโรบิค .การออกกำลังด้วยเครื่องออกกำลังกายต่างๆ, การออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ฯลฯ กำหนดวันและเวลาการทำกิจกรรม อาทิตย์ละ 3 วันๆละ 1-2 ชั่วโมง -วางแผนประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกาย โดยผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ของหมู่บ้าน และตัวแทนหมู่บ้านที่เชิญชวนเข้ามา เพื่อสร้างความรับรู้ของชุมชน
2. การดำเนินการกิจกรรมตามโครงการ
-จัดทำหนังสือ/บันทึกแจ้งเวียนถึงกลุ่มเป้าหมายของโครงการ เพื่อให้ทราบและเข้าร่วมกิจกรรม
-ดำเนินการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 วัน ดังนี้
กำหนดวันดำเนินกิจกรรม คือ วันจันทร์,พุธ,ศุกร์ ช่วงเวลาเวลาทำกิจกรรม 15.30 - 16.30 น. ลักษณะกิจกรรม -การออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายที่ อบต.จัดหาไว้ สำหรับกลุ่มวัยทำงาน และตัวแทนชุมชน ช่วงอายุ 18-64 ปี -กิจกรรมเต้นแอโรบิค สำหรับกลุ่มวัยทำงาน และเด็ก
-กิจกรรมออกกำลังกายด้วยไม้พลอง, การใช้อุปกรณ์ยางยืด สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ -การออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์กีฬาต่างๆ เช่นลูกบอล,แบตมินตัน ฯลฯ สำหรับกลุ่มเด็กและวัยทำงาน -จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆที่ดำเนินการลงในช่องทางประชาสัมพันธ์ของ อบต. ในทุกสัปดาห์ เพื่อเพิ่มการรับรู้ของชุมชน -ประชาสัมพันธ์ผ่านตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ
3. สรุปประเมินรายงานผลตามโครงการ
-ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมด้วยการประเมินผลทางด้านร่างกายของผู้เข้าร่วมโครงการ ว่ามีสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การประเมินระดับน้ำตาลในเลือด ฯลฯ -ประเมินผลความพึงพอใจ ปัญหา อุปสรรค ด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ -คณะทำงานรวบรวมข้อมูล สรุปผลการดำเนินโครงการ เพื่อทราบปัญหา อุปสรรค -ประชุมคณะทำงานเพื่อรับทราบผลสรุป และร่วมกันวางแผนและปรับปรุงโครงการในปีต่อๆไป
-จัดทำผลการดำเนินโครงการและประชาสัมพันธ์ในประชาชนทราบ
องค์การบริหารส่วนตำบลกลางใหญ่
- โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ ร่วมกับชมรมรักสุขภาพตำบลกลางใหญ่
- วัตถุประสงค์: เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
- กิจกรรม 1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการรวมกลุ่มคนรักสุขภาพในการออกกำลังกายช่วงเย็น บริเวณ ลานตลาดบ้านกลางใหญ่ ทุกวัน เวลา 16.30 – 18.00 น 2. จัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่
ส่งผลให้ประชาชนกินผักปลอดสารพิษและเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
องค์การบริหารส่วนตำบลแดงหม้อ
- โครงการบ้านสวยเมืองสุข
- วัตถุประสงค์:เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่ และเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน
- กิจกรรม: 1.ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1-6 หมู่ละ 10 คน จำนวน 60 คน เพื่อชี้แจงโครงการกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันซึ่งประกอบด้วย 1.กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในชุมชน 2. กิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 3. กิจกรรมการคัดแยกขยะต้นทางให้ถูกต้อง 4. กิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้
- ส่งผลกับชุมชนดังนี้ 1.คนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 2.ชุมชนมีความปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
3.ลดการตกค้างขยะภายในชุมชน 4.คนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี 5.ชุมชนมีสภาพแวดล้อมภายในที่ชุมชนที่น่าอยู่
องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน
- โครงการบ้านน่าอยู่หมู่บ้านสะอาดลดขยะในชุมชน
- วัตถุประสงค์:เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านให้สะอาด สวยงาม, เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรค ป้องกันการเกิดโรคติดต่อในหมู่บ้าน, เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน
- กิจกรรม:รณรงค์ทำความสะอาดพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน พร้อมทั้งดูแลบ้านเรือนให้สะอาด สวยงาม น่าอยู่ อสม. ดูแลควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
- ส่งผลกับชุมชนดังนี้ 1.สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านสะอาด สวยงาม 2.ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์เชื้อโรค 3.ปริมาณขยะในชุมชนลดลง
เทศบาลตำบลบ้านกอก
- โครงการขยับกายขยับใจไทบ้านกอก
วัตถุประสงค์:เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน, เพื่อลดความเครียดในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก
- กิจกรรม: กิจกรรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม(PA) และปฏิบัติการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ, รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ตระหนักในการออกกำลังกาย, คณะทำงานโครงการ สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายในโครงการถึง การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
- ส่งผลกับชุมชนดังนี้ 1.บุคลากรในหน่วยงานราชการตระหนักในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรค 2.บุคคลากรในหน่วยงานมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุน้อย
- โครงการธาตุน้อยขยับตัว ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม
- วัตถุประสงค์:เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่, เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน
- กิจกรรม: 1.ประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเป้าหมายเข้าใจโครงการมากขึ้น โดยการจัดทำป้ายรายละเอียดโครงการ วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และสื่อสารทางช่องทางกลุ่มไลน์ 2. กลุ่มเป้าหมายทำแบบประเมินโอกาสเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรม 3. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคออฟฟิศชินโดรม และให้ความรู้เรื่องออกกำลังกายที่เหมาะสมกับกลุ่มวัย โดยวิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย 4. อบรมฝึกปฏิบัติท่ากายบริหารออกกำลังกายป้องกันออฟฟิศซินโดรม โดยวิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย 5. ออกกำลังกายโดยท่าบริหารยึด-เหยียด กล้ามเนื้อ สัปดาห์ล่ะ 3 วัน ๆ ละ 1 ชั่วโมง หลังเลิกงาน (วันจันทร์,วันพุธ,วันศุกร์ ) อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
- ส่งผลกับชุมชนดังนี้ 1. มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับกลุ่มเป้าหมาย 2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายและการจัดการด้านอารมณ์ได้ด้วยตนเอง
3. กลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมลดลง
นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ ผู้ประสานงานระดับเขตสุขภาพที่ 10 ได้สรุปการประชุมที่ผ่านมาได้มีการประชุมชี้แจงโครงการระดับอำเภอ การจัดทำบันทึกความร่วมมือระดับอำเภอ การแต่งตั้งคณะทำงานโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานระดับตำบล การเก็บข้อมูลสถานการณ์ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนเขียนโครงการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งนี้ในระยะต่อไป คือ การทำข้อตกลงโครงการและตำบลดำเนินกิจกรรม PA ในพื้นที่ ร่วมทั้งนัดหมายมานำเสนอผลงานในวัน kickoff PA อ.หัวตะพาน ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567
การนัดหมายครั้งถัดไปจะเป็น วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ซึ่งจะไปเยี่ยมเยียนติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ว่าการอำเภอหัวตะพาน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ