สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

การประชุมเชิงปฏิบัติการในการเขียนแผนและโครงการ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ28 พฤษภาคม 2567
28
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
  • รายงาน PA เขื่องใน 270567.docx
  • 6.png
  • 5.png
  • 4.png
  • 3.png
  • 2.png
  • 1.png
  • 2.png
  • 1.png
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดยคณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ ได้เรียนรู้หลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) -เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกของการดำเนินกระบวนการเรียนรู้ หลังจากที่เปิดการประชุม นายรพินทร์ ยืนยาว ได้ทำหน้าที่แทน ผศ.ดร. พลากร  สืบสำราญ ได้บรรยายเรื่องแนวคิดและหลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) โดย สร้างความเข้าใจ กับผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับ กิจกรรมทางกาย ให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยน และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือ กิจกรรมทางกาย นั้น เป็นกุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี กิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายทุกประเภทที่ใช้พลังงานมากกว่าการนั่งเฉยๆ การมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ  ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง  เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
วิทยากรได้พยายามอธิบาย ความเข้าใจ ความต่างระหว่าง กิจกรรมทางกาย กับการออกกำลังกาย ที่หลายคนคิดว่ามันคือ สิ่งเดียวกัน คือ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) และการออกกำลังกาย (Exercise) มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ แง่มุม แม้ทั้งสองจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพ แต่การออกกำลังกายมีลักษณะเฉพาะและเป็นกิจกรรมที่มีการวางแผนและเป้าหมายชัดเจน ขณะที่กิจกรรมทางกายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของเรา จากนั้นนายรพินทร์ ได้ให้แง่คิดกับผู้เข้าร่วมประชุม ได้เห็นถึงความสำคัญของแผนงาน ว่า การมีแผน นั้นเปรียบเสมือน การมีอำนาจต่อรองต่อผู้บริหาร หรือ แหล่งทุน ที่เรามีแผนในการพัฒนาอยู่ในมือ ทั้งแผนโครงการการ และแผนงบประมาณ คณะทำงานได้ให้ความสนใจ และร่วมแลกเปลี่ยน แผนการดำเนินงานที่ผ่านมา
ผลที่เกิดขึ้น นายรพินทร์ ยืนยาว และนายอรรถพล ต่องสุพรรณ ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ ที่คณะทำงานกรอกในระบบเว็บไซต์ของโครงการ มาร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ไปพร้อม ๆ กันในเวที คณะทำงานได้ทบทวน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และได้ร่วมกันสังเคราะห์อีกครั้ง ซึ่ง จากการเก็บข้อมูล ก็แสดงผลออกมาเป็น สถานการณ์ สุขภาพในแผนงานกิจกรรมทางกาย ออกมา 9 ตัวชี้วัด คือ 1. ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน) 2. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) 3. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 4. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) 5. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน 6. ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน 7. ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน 8. ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)
9. ร้อยละของสำนักงานหรือหน่วยงานราชการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ทั้ง 9 ตัวชี้วัด วิทยากรได้พาผู้เข้าร่วมประชุม กำหนดวัตถุประสงค์ ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวให้ดีขึ้น โดย คณะทำงานกองทุนทุกกองทุนที่เข้าร่วมประชุม ได้ร่างแนวคิดการจัดทำโครงการ ทั้งหมด พื้นที่ ละ 9 โครงการ เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 9 ตัวชี้วัด และได้หยิบขึ้นมา 1 โครงการเพื่อพัฒนาโครงการ