โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)
-เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดยคณะทำงานเก็บข้อมูล/จัดทำแผนและโครงการ ได้เรียนรู้หลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) -เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่มาวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนและเขียนโครงการ
เรื่องแนวคิดและหลักการพัฒนาแผนงาน พัฒนาโครงการ กิจกรรมทางกาย (PA) โดย สร้างความเข้าใจ กับผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับ กิจกรรมทางกาย ให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยน และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือ กิจกรรมทางกาย นั้น เป็นกุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี กิจกรรมทางกาย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายทุกประเภทที่ใช้พลังงานมากกว่าการนั่งเฉยๆ การมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
วิทยากรได้พยามอธิบาย ความเข้าใจ ความต่างระหว่าง กิจกรรมทางกาย กับการออกกำลังกาย ที่หลายคนคิดว่ามันคือ สิ่งเดียวกัน คือ กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) และการออกกำลังกาย (Exercise) มีความแตกต่างกันในหลาย ๆ แง่มุม แม้ทั้งสองจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้
กิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ความหมาย คือ กิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวและใช้พลังงาน ซึ่งรวมถึงทุกการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การทำงานบ้าน การเล่นกับลูก การ ทำสวน หรือแม้แต่การยืนขึ้นจากการนั่ง เป็นการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะไม่มีกฎเกณฑ์หรือรูปแบบเฉพาะ สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา มีประโยชน์ คือ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง รวมถึงช่วยพัฒนาความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกายตัวอย่าง คือ เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์, ทำความสะอาดบ้าน, เดินเล่นกับสัตว์เลี้ยง
ในขณะเดียวกันการออกกำลังกาย (Exercise) คือ กิจกรรมทางกายที่มีการวางแผน มีโครงสร้าง และทำเป็นประจำเพื่อให้ได้ผลเฉพาะทาง เช่น การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การลดน้ำหนัก หรือการพัฒนาความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายนั้นมีลักษณะที่ มีความเข้มข้นและรูปแบบที่แน่นอน มีการตั้งเป้าหมายเฉพาะ เช่น การวิ่ง การยกน้ำหนัก การฝึกโยคะ นอกจากประโยชน์ต่อสุขภาพทั่วไปแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ปรับปรุงสมดุลและการประสานงานของร่างกาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของกระดูก เช่น การวิ่งจ๊อกกิ้ง, การปั่นจักรยาน, การเล่นกีฬา, การฝึกเวทเทรนนิ่ง
กล่าวคือ ทั้งกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายมีความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาพ แต่การออกกำลังกายมีลักษณะเฉพาะและเป็นกิจกรรมที่มีการวางแผนและเป้าหมายชัดเจน ขณะที่กิจกรรมทางกายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของเรา
พร้อมกันนั้นวิทยากร ได้ยกตัวอย่าง กรณีศึกษา การพัฒนากิจกรรมโครงการ ที่สอดคล้องกับแผนงานกิจกรรมทางกาย ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห้นภาพที่ชัดขึ้น เพื่อที่จะได้ออกแบบ หรือ พัฒนาโครงการ ในพื้นที่ของต้นเอง ได้อย่างมีคุณภาพ<br />
ผลที่เกิดขึ้น
นายรพินทร์ ยืนยาว และนายอรรถพล ต่องสุพรรณ ได้นำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะในพื้นที่ ที่คณะทำงานกรอกในระบบเว็บไซต์ของโครงการ มาร่วมวิเคราะห์ข้อมูล ไปพร้อม ๆ กันในเวที คณะทำงานได้ทบทวน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และได้ร่วมกันสังเคราะห์อีกครั้ง ซึ่ง จากการเก็บข้อมูล ก็แสดงผลออกมาเป็น สถานการณ์ สุขภาพในแผนงานกิจกรรมทางกาย ออกมา 9 ตัวชี้วัด คือ
1. ร้อยละของเด็กปฐมวัย 2-4 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับเบา ปานกลาง และมาก สะสมอย่างน้อย 180 นาทีต่อวัน)
2. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
3. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
4. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
5. ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
6. ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน
7. ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
8. ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)
9. ร้อยละของสำนักงานหรือหน่วยงานราชการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน
จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ทั้ง 9 ตัวชี้วัด วิทยากรได้พาผู้เข้าร่วมประชุม กำหนดวัตถุประสงค์ ที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ดังกล่าวให้ดีขึ้น โดย คณะทำงานกองทุนทุกกองทุนที่เข้าร่วมประชุม ได้ร่างแนวคิดการจัดทำโครงการ ทั้งหมด พื้นที่ ละ 9 โครงการ เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 9 ตัวชี้วัด และได้หยิบขึ้นมา 1 โครงการเพื่อพัฒนาโครงการ