สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการสื่อสารสาธารณะ (อีสาน,อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ)

การประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัยในพื้นที่นำร่อง12 อปท.อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี25 เมษายน 2567
25
เมษายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
  • 1715833721823.jpg
  • 1715833713462.jpg
  • 1715833704020.jpg
  • 1715833697592.jpg
  • 1715833683287.jpg
  • 1715833676625.jpg
  • สรุปกิจกรรมทางกาย วันที่25เม.ย.67PA เขื่องใน.docx
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อหน่วยงานกำหนดนโยบายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผ่านสื่อสาธารณะเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอเขื่องใน และเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวน 12 แห่ง ของอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี พิจารณา และยินยอม ใน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและพัฒนาพื้นที่สุขภาวะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย” และลงนามความร่วมมือกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ/พื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้สามารถจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ โดย คณะทำงานแผน/โครงการ/เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน จำนวน 12 อปท. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูล และสถานการณ์สุขภาพชุมชนเพื่อนำมาจัดทำแผนและโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์เทพ  สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้นำเข้าเวทีโดยการกล่าวต้อนรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และได้มีการแนะนำตัว และองค์กร สสส. ถึงวิสัยทัศน์ รูปแบบการขับเคลื่อนงาน สุขภาวะ ที่ สสส. กำลังขับเคลื่อนอยู่ โดย หวังเห็นคนไทยมีสุขภาพดีครบทั้ง 4 มิติ (กาย จิต ปัญญา สังคม) โดยมี "ระบบสุขภาพ" ที่มีคุณลักษณะเหมาะสมเป็นหลักประกันการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน โยงเข้าสู่ประเด็น การขับเคลื่อน คือ กิจกรรมทางกาย (PA : Physical activity) ได้ยกเอาสถานการณ์ตัวอย่าง มาเล่าและอธิบายในที่ประชุม พร้อมทั้งหยิบยกเอาข้อมูลสถิติ การมีกิจกรรมทางกายของคนไทย แต่ละช่วงวัยมานำเสนอในเวที พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแนวทาง การมีกิจกรรมทางกาย ที่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ของชีวิต คือ 1. กิจกรรมทางกายในสถานการณ์ ของการเดินทาง หรือสัญจร อาจจะส่งเสริมให้มีการ ใช้จักรยาน แทนรถยนต์ หรือ จักรยานยนต์ หรือ ถ้าหาก เดินทางใกล้ ๆ อาจใช้วิธี การเดิน การพัฒนาพื้นทีสาธารณะที่ส่งเสริมให้คนออกมาเดิน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือ กิจกรรมการเรียนรู้
2. กิจกรรมทางกาย ในสถานการณ์ของการ เรียน การทำงาน การประกอบอาชีพ อาจส่งเสริม ให้ในโรงเรียน มีชั่วโมงเรียนที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหมร่างกาย เช่น กิจกรรมกลุ่ม  หรือ การเดินย้ายห้องเรียน ในชั่วโมงที่เปลี่ยนคาบ การส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมที่มีการรวมกลุ่ม กัน เช่น ออกมาทำบปุ๋ยหมัก การออกมารวมกลุ่มกันทำเครื่องจักรสาน ในส่วนของพนักงาน Office ที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมทางกาย มีแต่นั่งอยู่กับที่ ในสถานที่ทำงานเอง อาจมีการส่งเสริม ให้มีการใช้บันได แทนใช้ลิฟท์ หรือ กิจกรรม ภาระงานที่ส่งเสริมการออกแรง หรือ เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น 3. กิจกรรมทางกาย ในสถานการณ์ ของนันทนาการ หรือการเล่นกีฬา อาจส่งเสริม กิจกรรม หรือชมรม ได้ ออกมาเล่น ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การละเล่นไทย การรำมวยไทย เป็นต้น ส่วน ในวัยทำงาน อาจส่งเสริมให้มีการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน หรือ มี โซน fitness ให้ออกกำลังกาย ผู้สูงอายุ  อาจดึงเอากิจกรรมทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การออกมาเต้นมารำประกอบเพลง เป็นต้น

ขณะเดียวกัน นายเกียรติศักดิ์ บาระมี&nbsp; ปลัดอาวุโส อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ แผนและนโยบายการพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย อำเภอเขื่องใน เพื่อเป็นข้อเสนอนโยบายร่วมกันในการขับเคลื่อนงานครั้งนี้ อำเภอเขื่องในถือเป็นอำเภอขนาดใหญ่ มีพื้นที่อยู่ 18 ตำบล 19 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จุดแข็งของผู้บริหารที่นี้ ส่วนใหญ่เป็นคนเขื่องใน ทำงานในพื้นที่ ทำให้มีเวลาที่จะดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างเต็มที่ ในภาพรวมวิสัยทัศน์ของอำเภอเขื่องใน โดยหลักส่วนใหญ่ก็จะถือนบายตสมกระทรวงมหาดไทย คือ การมีค่านิยมที่บำบัดทุกบำรุงสุข และสอดคล้องกับภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ประชาชนทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น ซึ่งอำเภอเขื่องในยังคงยึดมั่นในเจตนารมณ์ นี้ในการดูแลประชาชนในพื้นที่ จุดแข็งที่สำคัญของอำเภอเขื่องใน คือ การฐรูณาการงานกันหลายส่วน ในวิสัยทัศน์ร่วม คือ “อำเภอเขื่องใน อำเภอแห่งความสุข” เป็นค่านิยม ที่ข้าราชการทุกคนมุ่งมั่นในเป้าหมายเดียวกัน เร็ว ๆ นี้เอง ทางอำเภอก็จะมีการเปิดพื้นที่สาธารณะให้คนเขื่องในได้ออกมารวมกัน หรือ มีกิจจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกัน คือ ตลาดนัดสีเขียว โดยใช้สถานที่ ทีว่าการอำเภอเขื่องใน เปิดพื้นที่สาธารณะให้กับกลุ่มที่รักการออกกำลังกาย และนิยมบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ได้มาร่วมจับจ่าย สินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปลอดสารพิษ อาจจะมีการเปิดพื้นที่ทุกวันพุธ เนื่องจาก เรามีนโยบาย ส่งเสริมการออกกำลังกายทุกวันพุธอยู่ด้วย อาจจะชวนผู้ที่มาจับจ่ายได้มาออกกำลังกาย และได้เดินชม และเลือกซื้อ สินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปลอดสารพิษ ในตลาดด้วย ในส่วนกิจกรรมทางกาย ทางอำเภอเองก็มีแนวนโยบายส่งเสริม ตั้งแต่ในวัยเด็ก ไปจนถึงผู้สูงอายุ เช่น การส่งเสริมการแข่งขันเซปักตระกร้อ รวมทั้ง ส่งเสริมไปยังผู้สูงอายุ ให้มามีส่วนร่วมในการแข่งขันด้วย ทางอำเภอเองก็ได้มีความพยายามที่จะกระตุ้นให้ประชาชน ได้เห็นคุณค่าของการออกกำลังกาย ในส่วนรับดับราชการ คนทำงาน ก็มีนโยบายให้ออกกำลังกายทุกวันพุธอยู่แล้ว ถือ เป็นวันกีฬา ขององค์กร นอกจากนี้สิ่งที่เรากำลังส่งเสริมนั้นก็สอดคล้องกับแนวนโยบายของกระทรวงมหาดไทย คือ ให้ข้าราชการ มีสุขภาวะทางกายที่ดี มีจิตใจที่ดี มีกำลังกายกำลังใจที่เข้มแข็ง และสามารถดูแลพี่น้องประชาชนได้ “ให้ข้าราชการทุกคน คึกคัก คึกครื้น และครื้นเครง”<br />

ในเวทีได้มีการแลกเปลี่ยนร่วมกับผู้เข้าร่วมประชุม จนทุกคนให้ความสนใจ และเข้าใจถึงแนวทางวัตถุประสงค์ของโครงการร่วมกัน จนนำไปสู่ การประกาศ ข้อตกลงร่วมกัน และได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ในข้อเสนอนโยบาย ดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและท้องถิ่น ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แนวทาง แผนงาน และโครงการสำคัญ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) รับทราบ 2. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) บูรณาการภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ร่วมกันจัดทำระบบข้อมูล พัฒนาแผน และโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่คำนึงถึงความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษาหรือชุมชน รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะประเด็นกิจกรรมทางกายแก่ชุมชน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงบประมาณทั้งจากกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำแผน จัดทำโครงการและการจัดทำพื้นที่สาธารณะในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับแผนงานทั้งระดับตำบล (เทศบาลและ อบต.) และระดับอำเภอ 4. สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU UDC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ ในการพัฒนาแผน พัฒนาโครงการ และออกแบบพื้นที่สาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับตำบลและระดับอำเภอ 5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และหน่วยจัดการร่วมจังหวัด หรือ โหนด สสส. สำนัก 6 (สำนักสร้างสรรค์โอกาส) เป็นองค์กรสนับสนุนความรู้ ทักษะ งบประมาณและบทเรียน ให้ขยายผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่พื้นที่ใกล้เคียง ทั้งนี้ เพื่อให้การบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายในหน่วยงานและชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ลงนามไว้เป็นหลักฐาน” 2) ภายในเวทีคณะทำงานแผน/โครงการ/เก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน จำนวน 12 อปท. ได้นำเอาข้อมูลสถานการณ์สุขภาพชุมชน ที่ได้มีการลงสำรวจ ใน 3 ส่วน คือ  บุคคลทั่วไป ครัวเรือน และชุมชน แล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน ในระบบเว็บไซต์ ได้มีการ พิจารณา และตรวจสอบข้อมูลร่วมกัน ถึงความเป็นไปได้ความหน้าเชื่อถือ และได้มีการ Workshop กรอก แผนพัฒนาโครงการเพื่อจัดการกับปัญหาที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัญหาสุขภาพชุมชน ที่ได้มีการสำรวจ และวิเคราะห์ร่วมกัน คณะทำงาน เกิดความเข้าใจ ถึงการใช้เครื่องมือ ในการวิเคราะห์ข้อมูล และการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซต์ และท้องถิ่น ได้แผนโครงการเพื่อยื่นเสนอต่อ กองทุนตำบล (กปท.) ในรอบงบประมาณต่อไป