สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

การบูรณาการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายระบบอาหารร่วมกับจังหวัดปัตตานี9 ตุลาคม 2567
9
ตุลาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
  • S__5636122_0.jpg
  • S__5636120_0.jpg
  • LINE_ALBUM_จังหวัดปัตตานี_241010_38.jpg
  • LINE_ALBUM_จังหวัดปัตตานี_241010_39.jpg
  • LINE_ALBUM_จังหวัดปัตตานี_241010_35.jpg
  • LINE_ALBUM_จังหวัดปัตตานี_241010_13.jpg
  • LINE_ALBUM_จังหวัดปัตตานี_241010_24.jpg
  • LINE_ALBUM_จังหวัดปัตตานี_241010_30.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หาแนวทางความร่วมมือในการบูรณาการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบาย จากเวที Policy forum ที่ผ่านมา และการขับเคลื่อนระบบอาหารจังหวัดปัตตานี โดยกลไกคณะกรรมการอาหารระดับจังหวัด  ตามคำสั่งคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ที่ 1/2567

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แนวทางการดำเนินงานร่วมกันดังนี้
1.แนวทางการขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายของโครงการ ฯ จากเวที Policy forum ได้มีการกำหนดพื้นที่ต้นแบบบูรณาการระดับอำเภอในเบื้องต้น จำนวน 6 อำเภอ คืออำเภอมายอ ยะหริ่ง ปานาเระ โคกโพธิ์ ทุ่งยางแดง ยะรัง (และอาจมีกำหนดพื้นที่เพิ่มเติมภายหลังได้อีก) โดยหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดได้คัดเลือกจากพื้นที่ ๆ ที่ปัญหาโภชนาการรุนแรง มีต้นทุน กลไกการทำงานที่ส่วนราชการที่ลงไปขับเคลื่อนในพื้นที่อยู่แล้ว โดยรูปแบบการดำเนินงานร่วมกันตามห่วงโซ่ระบบอาหาร ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร การขยายผลรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนในพืชเชิงเดี่ยว ประเด็นอาหารปลอดภัย การพัฒนารูปแบบกลไกการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย และการจัดการภาวะโภชนาการในพื้นที่โดยใช้กลไกกองทุนตำบล กลไก รพ.สต.ถ่ายโอน กลไกนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัด และการพัฒนาแผนงาน โครงการเข้าสู่แผนจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน
2.ผลการหารือเรื่องกลไกคณะกรรมการอาหารระดับจังหวัด ตามคำสั่งคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ที่ 1/2567 เรื่องแต่งตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการจัดการอาหารประเทศไทยระดับจังหวัด ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ท่านรอง ผวจ.ปัตตานี ประธานที่ประชุม มอบหมายให้เลขานุการร่วม 3 หน่วยงาน ตามคำสั่ง อาหารระดับจังหวัด  ไปสรรหาผู้แทนจากท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และเสนอรายชื่อเพื่อจัดทำคำสั่งอย่างเร่งด่วน และให้กำหนดประชุมคณะกรรมการ ฯ นัดแรกภายในเดือนพฤศจิกายน 2567 โดย ให้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)” สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับผิดชอบ จัดทำข้อมูล จะร่างแผนการขับเคลื่อนระบบอาหารที่ยั่งยืนของจังหวัดปัตตานี และแผนปฏิบัติการ ๆ ในดำเนินงานร่วมกัน ในการประชุมนัดแรกของคณะกรรมการ ฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2567