สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

ตลาดนัดเด็กน้อยแก้มใส โรงเรียนบ้านคลองช้าง ต.นาเกตุ29 สิงหาคม 2567
29
สิงหาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
  • 1724997468038.jpg
  • 1724997609062.jpg
  • IMG_20240829_073725.jpg
  • IMG_20240829_075545.jpg
  • IMG_20240829_073751.jpg
  • IMG_20240829_082845.jpg
  • IMG_20240829_082456.jpg
  • IMG_20240829_082453.jpg
  • IMG_20240829_082657.jpg
  • IMG_20240829_084431.jpg
  • IMG_20240829_075725.jpg
  • IMG_20240829_074239.jpg
  • IMG_20240829_074034.jpg
  • IMG_20240829_073721.jpg
  • IMG_20240829_074328.jpg
  • IMG_20240829_074000.jpg
  • IMG_20240829_075720.jpg
  • IMG_20240829_073817.jpg
  • IMG_20240829_074018.jpg
  • IMG_20240829_073701.jpg
  • IMG_20240829_073624.jpg
  • IMG_20240829_073535.jpg
  • 1724997509521.jpg
  • 1724997481116.jpg
  • 1724997525912.jpg
  • 1724997520677.jpg
  • 1724997547673.jpg
  • 1724997555643.jpg
  • 1724997563532.jpg
  • 1724997574157.jpg
  • 1724997577855.jpg
  • 1724997581638.jpg
  • 1724997584850.jpg
  • 1724997591910.jpg
  • 1724997596900.jpg
  • 1724997602849.jpg
  • 1724997618731.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตลาดนัดโรงเรียนบ้านคลองช้างตำบลนาเกตุ สรุปขั้นตอนเปิดตลาดนัดในโรงเรียนบ้านคลองช้าง ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 1.ประชุมหารือภายใน รพ.สต.เพื่อหาโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ  ผลที่ได้คือโรงเรียนบ้านคลองช้าง เหตุผลที่เลือก
    1.1 เป็นโรงเรียนทีมีเด็กในพื้นที่เรียนในโรงเรียนนี้ 98% ทำให้เด็กและผุ้ปกครองในตำบลนาเกตุได้รับประโยชน์ในเรื่องโภชนาการเต็มที่     1.2นักเรียนในโรงเรียนเป็นมุสลิม 100% เวลาเลือกซื้ออาหารจะได้ไม่ต้องเลือกร้าน     1.3ผอ.และคุณครูในโรงเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

  1. วันที่ 20 มิถุนายน 2567 ผอ.ประสพพร สังข์ทอง และเจ้าหน้าที่รพ.สตนาเกตุ เข้าชี้แจงโครงการตลาดนัดในโรงเรียน ให้แก่ ผอ.โรงเรียน และครูผุ้รับผิดชอบงานอาหารกลางวัน โดยอธิบายถึงรายละเอียด วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเปิดตลาดนัด หลังจากอธิบายเสร็จผอ.ขอเวลาพูดคุยกับทีมครูในโรงเรียนแล้วจะให้คำตอบวันถัดไป 3.คุณครูโทรแจ้งว่า ผอ.อนุมัติให้เปิดตลาดในโรงเรียนได้
    4.วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 เจ้าหน้าที่รพ.สต ลงโรงเรียนเพื่อพูดคุยกับคุณครูอีกครั้ง โดยให้ครูเปิดรับสมัครนักเรียน 30 คน เป็นตัวแทนเปิดร้านขายอาหารเช้าในโรงเรียน คุณครูขอแบ่งกลุ่มๆละ6คน จะได้ทั้งหมด 5 ร้าน โดยแต่ละร้านจะมีครูผู้รับผิดชอบ และผู้ปกครองของนักเรียนมาช่วยปรุงอาหาร 5.วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 เจ้าหน้าที่รพ.สต.เชิญนักเรียนมาให้ความรู้เรื่อง อาหารแปรรูป วิธีการเลือกผักผลไม้และเนื้อสัตว์ ให้ความรู้อาหารสุขภาพและภาวะโภชนาการอาหารที่ถูกต้อง ให้ความรู้เรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ให้ความรู้วิธีการถ่ายวีดีโอ หลังจากให้ความรู้เสร็จ มีการระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเปิดตลาดนัด 6.วันที่ 5 สิงหาคม 67 เจ้าหน้าที่รพ.สตลงโรงเรียนอีกครั้งเพื่อกำหนดวันเปิดตลาดนัด พร้อมสอบถามนักเรียนและคุณครูว่าจะขายอาหารอะไรบ้าง และเตรียมความพร้อมของสถานที่
    7.วันที่8สิงหาคม2567 เปิดตลาดโครงการตลาดนัดอาหารเด็กน้อยแก้มใสในโรงเรียน(อิ่มท้อง สมองไบร์ท)วันแรก โดยร้านที่ 1 ข้าวต้มไก่ ถ้วยละ 5 บาท                 ร้านที่2 ขนมปังปิ้งแยมสตอเอร์รี่ ช็อคโกเลต เชอรรี่ และหมี่ผัดไข่ ชิ้นละ5บาท   ร้านที่3เซนวิสไข่ ชิ้นละ 10 บาท   ร้านที่4 ขนมปังโรยไมโล ชิ้นละ5บาท ขนมปังใส่กล้วย ชิ้นละ 5บาท ไข่นกกระทาทอด 3ลูก5บาท     ร้านที่5 ข้าวยำไข่ต้ม 10บาท หรือข้าวหมกไก่ต้ม 10 บาท กับน้ำผลไม้ตามฤดุกาลและน้ำไมโล ถุงละ 5บาท


    8 เจ้าที่รพ.สต.ลงโรงเรียนพบปะคุณครูและนักเรียนเพื่อสอบถามปัญหาอุปสรรค จากการเปิดร้านวันแรก ปัญหาคือ 1.ผู้ขายกินไม่ทันเนื่องจากเด็กที่ซื้อมีจำนวนมากของที่เตรียมมาหมด           2. ขณะขายอาหารผู้ซื้อต่อแถวยาวมากผู้ขายทำไม่ทันทำให้ใช้เวลาในการขายของนานเลยเวลาเคารพธงชาติ เช่นร้านขนมปังปิ้ง กับร้านเซนวิส                 3.ปกติเวลาที่เปิดร้านเป็นเวลาเก็บขยะของนักเรียนทำให้วันแรกที่เปิดร้านขยะเยอะมากนักเรียนไม่ทันเก็บ
    วิธีแก้ปัญหา 1.เก็บอาหารที่ผุ้ขายจะกินไว้ก่อนแล้วที่เหลือนำมาขาย                     2. อาหารที่สามารถทำไว้ล่วงหน้าก่อนที่ผุ้ซื้อจะมาซื้อให้ทำตั้งไว้ก่อนครึ่งหนึ่งเพื่อลดเวลาในการขาย
                      3.นักเรียนที่กินอาหารเสร็จก่อนให้เริ่มเก็บขยะก่อน เพื่อความสะอาดของโรงเรียน

ข้อดี ของกิจกรรม จะเห็นได้ว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้ทานอาหารเช้ามาจากบ้านการมีตลาดอาหารเช้าทำให้เด็กกลุ่มนี้ได้รับสารอาหารในช่วงเช้าที่มีประโยชน์และ นักเรียนเกือบทุกคนอยู่ในรั่วโรงเรียน เพราะปกติก่อนมีตลาดนัดนักเรียนจะออกไปซื้ออาหารเช้าหรือขนมกรุบกรอบนอกโรงเรียน ซึ่งมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เพราะเคยมีเหตุการณ์นักเรียนโดนรถชนหน้าโรงเรียน
ข้อเสีย คุณครูและนักเรียนผู้ประกอบการต้องมาเตรียมตลาดแต่เช้าทำให้เหนื่อยในวันเปิดตลาด แต่นักเรียนมีความสุขมากกว่า
9.ทางโรงเรียนเปิดตลาดสัปดาห์ละ 2วัน วันอังคารกับวันพฤหัสบดี โดยผอ.โรงเรียนบ้านคลองช้างเห็นด้วยกับการเปิดตลาดนัดขายอาหารเช้าให้กับนักเรียนในโรงเรียน และมีความเห็นอยากจะขายต่อหลังจากหมดโครงการนี้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์ ตลาดนัดโรงเรียนบ้านคลองช้างตำบลนาเกตุ

ความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนจากกิจกรรมที่จัดขึ้น เป็นกิจกรรมที่ดีได้รับความสนใจจากนักเรียนเป็นจำนวนมากจากเมื่อก่อนที่เด็กจะซื้ออาหารที่หน้าโรงเรียนซึ่งจะเป็นอาหารทั่วๆไปแต่พอมีอาหารเพื่อสุขภาพมาขายในโรงเรียนและเป็นการขายโดยเพื่อนนักเรียนด้วยกันเด็กจึงให้ความสนใจแล้วก็มาโรงเรียนเร็วขึ้นพอรู้ว่าวันไหนที่จะมีตลาดเด็กก็จะรีบมาโรงเรียนแต่เช้าเพื่อที่จะมากินของที่ขายในโรงเรียน ที่สำคัญคือนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าร้อยละ 80 คือจะเตรียมเงินมาเพื่อที่จะซื้ออาหารเช้าที่โรงเรียนในเรื่องของราคาจะอยู่ระหว่าง5-10บาท ราคาไม่แพง 20 บาทสามารถกินได้ทุกร้านแต่ละร้านเริ่มต้นที่ 5 บาทเด็กก็จะได้รับประทานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นกินทำให้เด็กอิ่มท้อง ในส่วนของผู้ปกครองเมื่อรู้ว่ามีตลาดก็มาซื้ออาหารในโรงเรียนซึ่งเขาบอกว่ามันมีความหลากหลายซึ่งร้านค้าในชุมชนไม่มีและมีรสชาตที่อร่อย หน้าตาก็น่ารับประทานมีผู้ปกครองหลายคนนำปิ่นโตมาซื้อก็มี ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชน อย่างเช่นวันไหนที่ทางโรงเรียนมีตลาดบางร้านค้าบริเวณหน้าโรงเรียนก็จะขายของไม่ได้เลยซึ่งแนวทางการแก้ไขของทางโรงเรียนก็จะเป็นโครงการต่อไปก็คือคุยและประชาสัมพันธ์กับร้านค้ารอบโรงเรียนซึ่งอาจจะดึงมาเข้าร่วมโครงการโดยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารที่มีประโยชน์มีคุณภาพหากทางร้านค้าเข้าร่วมก็จะเป็นการดีอย่างยิ่งเพราะเด็กก็จะได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตลอดไปทุกวันและทางร้านค้าก็ไม่เสียผลประโยชน์ด้วย กิจกรรมในครั้งนี้ได้คุยกับทางคุณครูผู้รับผิดชอบว่าอย่างน้อยควรจะมีสัปดาห์ละ 1 ครั้งเพื่อที่จะให้เด็กได้มีเมนูที่หลากหลายและมีประโยชน์รับประทานต่อไปเพื่อที่จะให้ร้านค้าข้างนอกได้เห็นว่าอาหารแบบนี้ถ้าทำเด็กชอบเด็กรับประทานเขาก็จะได้เอาไปปรับปรุงกับเมนูที่เขามีขายอยู่แล้วหรือคิดเมนูขึ้นมาใหม่รวมถึงคนในชุมชนก็จะได้กินอาหารที่มีประโยชน์ด้วยจากร้านค้าในชุมชมเอง อีกประการหนึ่งที่เด็กจะได้ก็คือให้เด็กได้ฝึกเรื่องการค้าขายเรื่องการคำนวณต้นทุนรายรับรายจ่ายปริมาณอาหารที่นำมาขายแต่ละวันเด็กได้ฝึกทักษะเพิ่มมากขึ้น ก่อนหน้าที่จะมีโครงการนี้เกิดขึ้นโดยปกติแล้วเด็กจะไม่ค่อยได้รับประทานอาหารมาจากบ้านหรือไม่ก็เป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์เช่นของกินง่ายๆขนมซองมาม่าเนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่ไปทำงานกรีดยางตอนเช้าก็จะไม่มีเวลาหาอาหารหาข้าวให้เด็กกินตอนเช้าก็จะใช้วิธีวางเงินไว้ให้กับลูกมาหาซื้อของกินหน้าโรงเรียนแทนพอมีกิจกรรมนี้ผู้ปกครองก็ชอบมากแล้วก็ให้ความร่วมมือ และเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ดีควรทำต่อเนื่อง เมนูที่นักเรียนชอบ 50% ก็คือข้าวต้มหลังจากนั้นก็ทยอยไปซื้ออย่างอื่น ความคิดเห็นจากนายอัสมี เจ๊ะอ๊ะ ประธานคณะกรรมการการศึกษา อยากให้มีการขยายผลให้ทำจริงจังในเรื่องของการส่งเสริมด้านอาชีพของเด็กที่ชอบในด้านของการค้าขายและมีความหลากหลายของอาหารและดีใจที่ได้เห็นศักยภาพของเด็กที่นอกจากจะอยู่ในห้องเรียนแล้วเขายังยังสามารถมีศักยภาพด้านอื่นนอกห้องเรียนที่นำมาใช้ได้จริงจึงอยากให้สนับสนุนเด็กในส่วนนี้อย่างจริงจัง การที่มีตลาดในโรงเรียนมีข้อดีหลายอย่างหรือเรื่องความปลอดภัยเด็กก็ไม่ต้องวิ่งข้ามถนนไปซื้อของแล้วก็เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกันของเด็กในการช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือทั้งผู้หญิงผู้ชายรวมถึงการแบ่งหน้าที่กันทำงาน สิ่งที่อยากให้มีการพัฒนาคือเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ใส่อาหารให้มันมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นอย่างเช่นโฟมก็ต้องให้เลิกใช้ไปเลยให้มันมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นรวมถึงหัวใจของการบริการด้วยหากเด็กได้เรียนรู้ไปตรงนี้เขาจะได้รู้ว่าการที่จะเป็นพ่อค้าแม่ค้าเราต้องบริการลูกค้ายังไงพูดจายังไงยิ้มแย้มแจ่มใสจะได้ฝึกเขาไปในตัวเรื่องการตกแต่งร้านอาหารต้องน่ากินสะอาดอันนี้เราต้องให้ความรู้เขาด้วยแต่ว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็ดีมากๆแล้วรู้สึกว่าเด็กทุกคนทั้งพ่อค้าแม่ค้าและลูกค้าก็มีความสุขกับกิจกรรมตรงนี้รวมถึงคุณครูและผู้ปกครองด้วย ในส่วนของโรงเรียนตอนนี้ก็มีการนำพื้นที่มาทำแปลงผักเล้าไก่บ่อเลี้ยงปลา ซึ่งขณะนี่ได้มีการดำเนินการปลูกผักบางชนิด เช่นผักบุ้ง ผักคะน้า มันญี่ปุ่นแล้วก็กำลังรอไก่เลี้ยงเพื่อเอาไข่มาใช้ในการประกอบอาหารในมื้อเที่ยงของโรงเรียน เป็นการให้เด็กได้เรียนรู้กันปลูกผักสวนครัวด้วยเผื่อจะได้เป็นอาชีพของเขาต่อไป ให้เขาได้รู้ถึงประโยชน์ของดิน ทำดินให้มีชีวิตทำดินให้มีประโยชน์ไม่ให้มันเป็นพื้นที่ว่างทำให้มันกินได้ทั้งในโรงเรียนแล้วก็ในบ้านของตัวเอง ความรู้สึกของคุณครูที่ทำกิจกรรมครั้งนี้ ความรู้สึกแรกที่ได้รับโครงการนี้ตอนแรกก็ไม่ค่อยอยากจะรับเพราะอาจจะมีปัญหากับเรื่องของเวลาของเด็กนักเรียนแล้วก็ของตัวครูเองแต่เมื่อเห็นรูปแบบของโครงการแล้วจึงเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีก็เลยให้ความร่วมมือโดยโดยการประสานกับทางผู้ปกครองด้วยเพราะว่ามีบางอย่างที่เด็กทำไม่ได้ก็จะให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในการช่วยให้ความรู้กับเด็กในแต่ละขั้นตอนของการทำอาหาร กิจกรรมครั้งนี้มีประโยชน์หลายอย่างนักเรียนได้บูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้มีการคำนวณมีการคิดเลขการซื้อขายการทอนเงิน และเด็กๆก็มีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมในครั้งนี้ ความรู้สึกของนักเรียนที่ได้มาทำกิจกรรมในครั้งนี้ -รู้สึกดีใจชอบทำอาหารอยู่บ้านปกติก็ทำกับข้าวอยู่แล้ว -อยากให้มีตลาดขายทุกวัน -รู้สึกชอบที่มีกิจกรรมแบบนี้เพราะบางคนที่ไม่ได้กินอาหารมาจากบ้านก็จะได้มีอาหารที่มีประโยชน์กินที่โรงเรียนและที่มีราคาที่ไม่แพงด้วย -ปกติก่อนที่จะมีตลาดก็จะมากินข้าวที่ข้างหน้าโรงเรียนแต่พอมีตลาดในโรงเรียนมีอาหารหลากหลายก็จะสลับกินกันกับของที่เพื่อนขายรู้สึกมีความสุขที่มีโครงการนี้ -ต่อไปจะคิดเมนูเพิ่มขึ้นเช่นข้าวผัดเพื่อให้มีอาหารที่หลากหลายมาขายให้เพื่อนๆในโรงเรียน เมนูที่ทำขายในวันนี้ -เมนูแซนวิสไข่ดาว เป็นเมนูที่มีประโยชน์มีแผ่นขนมปังซอสไข่ผักเป็นเมนูที่กินง่ายและคนชอบกิน -เมนูขนมปังปิ้ง/หมี่ผัด สลับกันแต่ละรอบ ปังปิ้งเป็นเมนูที่ทำง่ายมีส่วนผสมที่น้อยจะได้ใช้เวลาสั้นๆในการทำก็จะมีเป็นไส้ช็อกโกแลตไส้สตอเบอรี่และบูลเบอรี่ -เมนูข้าวยำ/ข้าวหมก จะสลับกันแต่ละรอบ เป็นเมนูที่กินง่ายมีประโยชน์และคุ้นเคยอยู่แล้ว
-เมนูข้าวต้ม เป็นเมนูที่ทำง่ายเพื่อนๆในโรงเรียนชอบกิน -น้ำไมโล/น้ำสัปปะรด
แนวทางของทางการของการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไปก็คือจะทำทุกสัปดาห์แต่อาจจะเหลือแค่ 2 หรือ 3 ร้านและเปลี่ยนเมนูเพื่อสร้างความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ในส่วนของรพ.สต มีความเห็นว่าหากต่อไปมีการร่วมมือการระหว่างผู้ปกครองกับชุมชนในการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพขายนักเรียนก็จะเป็นการดีเพราะมันเป็นความยั่งยืนของนักเรียนในมื้อเช้าของทุกวันเพราะถ้านักเรียนขายอาจจะได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งแต่ถ้าเป็นผู้ปกครองหรือเป็นคนในชุมชนขายเอง โดยที่อยู่ในเงื่อนไขของอาหารที่มีคุณภาพที่ถูกสุขลักษณะและถูกตามหลักโภชนาการแล้วเด็กหรือคนในชุมชนก็จะได้กินอาหารเช้าที่มีประโยชน์และหลากหลายได้ในทุกๆวัน
อีกส่วนหนึ่งมีความเห็นว่าเนื่องจากเป็นโครงการที่ดีอยากจะขยายกิจกรรมแบบนี้ไปที่โรงเรียนอื่นๆด้วยให้ทำกิจกรรมแบบเดียวกันซึ่งทำให้เด็กในพื้นที่ทั้งหมดเนี่ยมีโอกาสได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นอย่างน้อยก็เป็นการให้ความรู้กับผู้ปกครองคนในชุมชนผู้ที่ดูแลเด็กได้เห็นถึงความสำคัญของอาหารเช้าและอาหารในทุกๆมื้อของเด็กมากยิ่งขึ้น