สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

ประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกษตรกรต้นแบบการจัดการความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ สวนยางพารา สวนปาล์มและสวนผลไม้17 กรกฎาคม 2567
17
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_20.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_19.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_18.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_17.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_16.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_15.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_14.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_13.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_12.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_11.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_10.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_9.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_8.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_7.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_6.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_5.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_4.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_3.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_2.jpg
  • LINE_ALBUM_ประชุมเกษตร ต้นแบบ 17767_240730_1.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อาจารย์ชัยยะ  คณะเศรษฐศาสตร์ วรรณา สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้มีการคืนข้อมูลที่ลงพื้นที่แปลงเกตรษของเกษตรกร ต้นแบบ 10 แห่ง และให้เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล จุดตั้งต้นของของที่มาทำจะมาทำปัจจุบัน ที่มาทำหลากหลาย มีทุกคนเข้ามาเรียนรู้ เป็นยังไงมันเกิดขึ้นได้ยังไงสวนที่ทำ มันเกิดจากความหลงใหลอะไร                 1. ครับอาจารย์ ศูนย์บ่มเพาะต้นกล้าชีวิตบ้านสุไหงบาลา เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2555 เริ่มจากการสอนอังกุรอาน ลูกลูก หลานหลานประมาณสี่ห้าคน อยู่ที่บ้านแล้วมาสอนการเกษตรการเกษตรแบบง่ายง่ายการเกษตรเบื้องต้น แค่รดน้ำปลูกต้นไม้โดยมีเด็กประมาณห้าถึงหกคนในตอนนั้น ต่อมาอีกปีสองปีเด็กก็เยอะขึ้นทำการต่อโรงรถหน้าบ้าน ขยับขยายให้มากขึ้น อยู่อีกสองปีเด็กก็เต็ม ประมาณ 30 กว่าคนก็ขยับขยายไปที่ใหม่ที่ได้ที่ตรงนี้ ที่ประมาณสองไร่ก็ทำการขยายทำเป็นสวนตามภาพที่เห็น เป็นศูนย์เรียนรู้ใหม่ ศูนย์เรียนรู้เก่าก็อยู่ที่บ้าน ช่วงนี้ก็จะมีเด็กหลายคนหน่อยถ้าผู้ชายสอนช่วงเช้าอยู่ที่ประมาณ 30 คน ผู้หญิงก็พอๆกันประมาณ 30 กว่าคน แฟน ก็ทำการสอนงานทุกวันตื่นมาตีสี่ครึ่ง ก็ไปละหมาดที่มัสยิดด้วยกันแล้วก็สอนเด็ก ช่วงหนึ่ง แล้วกลับมา เข้าสภากาแฟซัก 10 นาที กินข้าวยำแล้วก็ลง เข้าแปลง ทุกวันเป็นกิจวัตร พอ 6 โมงเย็นก็ กลับมาที่ มัสยิด ต่อก็สอนอันกุระอ่าน จริงๆสิ่งที่เกิดขึ้นคือมีความหวังที่จะสร้างสังคมยังไง ช่วงช่วงนั้นซักปี พ.ศ. 2550 ถึงปี 2560 ช่วงนั้น เหตุการณ์ที่บ้านช่วงนั้นเป็นยังไงค่อนข้างหลายอย่างที่มัน มีผลกระทบ ก็เลยเลือกที่ว่า สร้างเป็น ศูนย์เรียนรู้สักที่หนึ่ง ผมมีลูกคนนึงที่เกิดช่วงนั้นลูกประมาณห้าปี ก็คิดว่าต่อไปทำยังไงดีกับลูก ที่อยู่ในสังคมแบบนี้ ก็เลยจับมาสอนอันกุระอ่านและเกษตร มีความอยากที่จะเห็นว่าสังคมนี้หลากหลาย มีทั้งงานเกิดขึ้น เกษตรกรเด็กเด็กชาวบ้านมีความคิดมีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดที่จะทำงานให้อยู่แบบถูกต้อง ในสังคม ศูนย์บ่มเพาะต้นกล้า ชีวิตมีงานหลักๆที่ทำอยู่ สามพันธกิจหลักก็คือ สอนอันกุระอ่านแล้ว เป้าหมายต่อไป ก็เปิดเป็น ฟรีชนการ สถานท่องจำอังกุระอ่านเพื่อ ขยายความให้ถูกต้อง ตามหลักของศาสนาจริงๆ งานที่สองก็คือสัมมาชีพ ก็คือจากแต่เดิมชาวบ้านก็แค่ตัดยาง เลี้ยงวัว สองงานแต่มาช่วงหลังเนี่ยงานเกิดขึ้นเยอะมาก เป้าหมายต่อไปคือสร้างงานให้เกิดขึ้น ในชุมชน พันธกิจที่สามก็คือ ทำเป็น ศูนย์เรียนรู้แต่ละอย่างเกษตรธรรมชาติ ศูนย์หลายหลายอย่างตรงนั้นเกษตรผสมผสาน ตรงนี้ต่อไปอาจจะเป็นที่ท่องเที่ยว ของชุมชนชุมชนใกล้ใกล้ได้มาเรียนรู้ ตรงจุดแต่ละจุดที่เราทำอยู่ เป้าหมายศูนย์สามงานที่เราทำอยู่ตรงนั้น               2.สวัสดีทุกท่านนะคะ น้องก็ชื่อแอนนะคะแล้วก็พี่เติบ เราสองคนก็ทำเกษตรผสมผสานนะคะ จุดเริ่มต้นนะคะจุดเริ่มต้นของเราก็คือ ทำสวนนะคะเราก็มีสวนยาง ไม่เยอะนะคะรวมกันแล้วเราก็มีสามแปลงรวมกัน 15 ไร่ อาจจะมีมังคุดร่วมด้วยปรางแปลงนิดหน่อย แต่ว่าด้วยความชอบนะคะถ้าถามว่าความสำเร็จมาจากอะไร จุดเริ่มต้นของเราอยู่ที่เราสองคนชอบเหมือนกัน คือเราชอบในการทำเกษตรเราก็ไม่ได้จบเกษตร ปัจจุบันเรารับราชการทั้งสองคน มีโอกาสได้ทำเกษตรเราก็ขุดโค่กหนองนา เมื่อสามปีที่ผ่านมาก็มีโอกาสขุดโค่กหนองนา ของโครงการของพช.นะคะ ก็เป็นจุดเริ่มต้นจากนั้นมานะคะ ปัจจุบันทำเกษตรผสมผสานมีสี่ด้าน หนึ่งด้านเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง ด้านอื่นๆ ในด้านของ ประมง ก็จะมีการเลี้ยงปลาน้ำจืดนะคะ 5  บ่อ โดยบ่อแรกได้รับการสนับสนุนจากพช.  เข้าโครงการโค่กหนองนาหนึ่งไร่ในครั้งแรก ต่อมาเราก็ได้มีการต่อยอดใช้พื้นที่ของตนเองขุดเพิ่มอีกสี่บ่อ เพื่อที่จะเลี้ยงปลาเพิ่มเติมโดยขุดต่อจากที่นา โดยต้องการเปลี่ยนที่นาให้เป็นแหล่งคลังอาหาร จากนั้นทำการเลี้ยงปลาทั้งในบ่อดินและในกระชัง ปลาที่เลี้ยงก็จะมีปลาดุก ปลากดเหลือง ปลานิลปลาทับทิมปลาปลาบ้า ปลายี่สกรวมรวมกันไป มีทั้งปลากินพืชและกินสัตว์ ปลาดุกนั้น นั้นจะเป็นปลาเศรษฐกิจ ของทางสวนเพราะได้นำปลาดุกขึ้นมาแปรรูป เราก็จะไปแปรรูปเป็นปลาดุกแดดเดียว นำไปขึ้นจดทะเบียนโอท๊อปด้วย ต่อมาก็เพิ่มปลานิลแดดเดียวอีกชนิดหนึ่ง ส่วนในด้านการเกษตรก็จะมีการปลูกผักยกแคร่ ก็ได้เรียนรู้จากพี่อรบ้านสวน เป็นเกษตรกรต้นแบบที่ให้ความรู้กับเราในครั้งแรก แล้วก็ดูแลกันตลอดมาแล้วนอกจากผักยกแคร่ จะทำในส่วนของมีการเพาะเห็ดฟาง ไม่ใช่เห็ดนางฟ้าค่ะ ขออภัยค่ะมีการเพาะเห็ดนางฟ้า มีการเพาะต้นกล้ามีการผสมดินปลูก แล้วก็มีการเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย เลี้ยงแหนแดง และปัจจุบันมีการเลี้ยงหอยขมเพิ่มเติม ซึ่งเป็นฐานการเรียนรู้ใหม่ซึ่งหอยขมพันธุ์ ยักษ์รัตนะ และหอยขมพันธุ์เกษตรเพิ่มเติม ส่วนทางด้านปศุสัตว์ก็ได้เลี้ยงเป็ดเป็ดสายพันธุ์บาบาลี ปัจจุบันก็มี15 ตัวแล้วมีการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง ไข่ที่ได้มาจากพ่อแม่แม่พันธุ์ ก็เอามาทำการฟักตู้ มาจากการฟักตู้ทั้งหมดรวมรวมกันแล้วปัจจุบันเกือบ 60 ตัว ก็เลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ ส่วนที่เพิ่มมาด้านอื่นก็จะมีการเผาถ่านใบโอชา ก็เป็นนวัตกรรมจากการเผาถ่านโดยถังเผาถ่าน ซึ่งจากการเผาถ่านตรงนี้ได้ผลผลิตจากน้ำส้มควันไม้ด้วย ที่จะได้เพิ่มมาเพื่อนำไปใช้ในการขับไล่แมลงในสวน               3. สวัสดีนะคะชื่อเนตรนภา มณีศรี ชื่อน้องแทค นะคะอาชีพหลักก็คือทำสวน แต่ว่าเป็นสมาชิกอบต. อยู่ในหมู่บ้านด้วย ดีหน่อยตรงที่เป็นผู้นำชุมชนก่อนอื่นเลยก็ต้องก็ต้อง ขอขอบคุณพี่อรกายพัฒน์ นวลสิน ที่ชักจูงนำเข้ามาในวิถีเกษตร โดยปกติก็ไม่ชอบเกษตรเท่าไหร่แต่ติดตามพี่อรมาตลอด กลายว่าเป็นเราก็ชอบตามพี่อรไปเลยนะคะอันที่จริงว่า อันที่จริงก็ว่าประมาณหนึ่งปีได้ ที่มาเริ่มกับพี่อร จริงๆแล้วที่เริ่มทำจริงจังก็ซักหนึ่งปี แต่เหมือนว่าที่บ้านเราทุนเดิมก็มีการทำนาทำเกษตรอยู่แล้ว สนใจเมื่อไม่สนใจเราไม่ได้โฟกัส เพราะตอนนี้เริ่มเข้ามาในก้าวแรกก็จะเริ่มเปลี่ยนตัวเอง เริ่มจากปลูกผัก ยกแคร่ เริ่มแรกพี่อรก็จะบอกว่าปลูกผักอย่างนี้ ผสมดินอย่างนี้พี่อรก็จะบอกทุกอย่างโดยเริ่มจากทุนเดิมที่บ้าน แฟนเลี้ยงวัวอยู่แล้วตอนนี้ก็เลี้ยงอยู่ 16 ตัว มีแม่พันธุ์เจ็ดตัวเราก็ใช้วิถีเดิม พอมาเริ่มก็เริ่มจากการทำคอกให้เป็นสัดส่วน ส่วน ขี้วัวเราก็ขายได้กระสอบละ 50 บาท ก็ขายอยู่ปกติตอนนี้หนึ่งเดือนก็ขายอยู่ที่ 15 ถึง 30 กระสอบ ที่เป็นรายได้หลักนะ พอพี่อรมาก็จะเริ่มปรับเปลี่ยน แล้วก็ดินที่มีที่ดินมีอยู่ประมาณห้าไร่ก็เริ่มปรับเปลี่ยนเริ่มไถ ส่วนนึงก็แบ่งมาปลูกหญ้าวัว ดินมันเยอะก็เลยมาปลูกอ้อยเพิ่ม อ้อยก็จะแบ่งเป็นสองส่วนแปลงแรกก็ลงไปแล้วตอนนี้ก็เริ่มจะสมบูรณ์แล้วค่ะ อันนี้ก็คืออาชีพใหม่ที่เราเริ่มเรียนรู้ ตั้งปลุกอ้อยแล้วก็การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก อันนี้ก็เป็นสิ่งใหม่ที่เริ่มเรียนรู้เหมือนกันเพราะว่า ก็เป็นการเรียนรู้ใหม่ก็เป็นน้ำครึ่งแก้วก็พยายามโดยที่พี่อรก็สนับสนุน ทุกอย่างก็ความดีให้พี่เค้าเลย พี่เค้าจะบอกปัญหาเวลาปลูกบอกวิธีการผสมดิน บอกว่าต้องทำแบบนี้คือบอกทุกอย่างค่ะ เราก็เป็นคนที่สนใจก็ดึงแม่ยายดึงสามี จากที่แบบเดิมๆก็มีขั้นตอนมีวิธี มีสาระมากขึ้นก็จะลูกก็จะดึงมาช่วย ช่วยในกิจกรรมในบ้านต่อจากนี้ก็เริ่มที่จะเข้าระบบ มากขึ้นอันนี้คือความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น พื้นที่ใกล้ใกล้เหมือนน้าเหมือนญาติใกล้ใกล้ก็เริ่มความสนใจ เห็นความเปลี่ยนแปลงเพราะเราเป็นผู้นำชุมชน จะปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่มันว่างที่มันรกร้าง เปลี่ยนเป็นปลูกผักหน้าบ้านจากที่เรามีต้นไม้ เอาทิ้งไปปลูกผักมะเขือ ตะไคร้จัดระบบเอาแบบว่า ที่มันแบบพอเพียงใช้ไม้ไผ่บ้าง ที่ต้นทุนต่ำนี่แหละไม่ต้องเอาหรูหราหาในพื้นที่ ชุมชนสิ่งที่มันตามมาคือเรามีรายได้เพิ่มขึ้น เราเป็นแหล่งเรียนรู้ก็คือชาวบ้านเค้าเห็นน่ะ ความเปลี่ยนแปลงเริ่มเริ่มเค้าก็อาจจะมาถาม เล็กน้อยในระดับที่เราพอทำได้ มันก็กลายเป็นแบบนี้พอเห็นว่าเราทำจริงมันก็เริ่มเลียนแบบ ส่วนตัวแทคเองก็ในตัวบ้านเริ่มปรับเป็นสัดส่วน ในตอนนี้ก็เมื่อวานก็ไปเอาไม้เศรษฐกิจและจากแปลงของพี่นิภาก็จะพยายามปลูกให้เป็นแนว ในอนาคตที่จะทำเลยก็คือปลูกหญ้าเอาไว้ให้วัวตัวเองที่เหลือก็จะได้ขาย เพราะว่าเรามีพื้นที่เยอะข้างหลังในอนาคตก็อาจจะมีการปลูกไม้เศรษฐกิจเพิ่มเติม ก็ปลูกอ้อยแปลงแรกก็สำเร็จไปแล้วมันสมบูรณ์มากก็จะขยายแปลงก็แปลงต่อไปก็ติดกับหญ้าวัวนะคะ ต่อไปโครงการที่ว่าก็ขี้วัวที่เราขายต่อไปก็มีโครงการที่จะอัดเม็ดอัดแคปซูล อันนี้ก็คืออนาคตที่วางเป้าไว้นะคะ ก็ต้องการปรับเปลี่ยนใน บริเวณ บ้านให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้เท่าที่พอจะทำได้ ปรับเป็นพื้นที่จุดเรียนรู้ปรับเป็นแปลงที่พอเข้าพักได้ ก็เหมือนพี่อรแหละค่ะพี่อรมียุวเกษตรพอมีกิจกรรมก็จะดึงเทเข้าไปตลอด เพราะทีนี้ก็กลายเป็นเราได้เรียนรู้ โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีค่าตอบแทน เพราะคิดว่าพี่อรได้ตอบแทนน้องแล้วการที่ดึงน้องเข้าไปทุกอย่างเวลามีกิจกรรมยุวเกษตร ก็ได้เรียนรู้จากพี่อรกลายเป็นอาจารย์เป็นทุกอย่างได้กับมาใช้ในแปลงของตัวเอง โดยอัตโนมัติเราก็กลายเป็นแปลงย่อยของพี่อรไปเลย ก็กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถปรับในระดับของเราได้ ก็ได้ปรับไปอีกแปลงหนึ่งก็เป็นทำนาที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ตรงนั้นก็เป็นพื้นที่ห้าไร่เหมือนกันก็เป็นพื้นที่ตัวเองแบ่งกับพี่สาว มันมีบ่อปลาอยู่แล้วเพราะอาจจะมีการปลูกหญ้าเพิ่ม ส่วนนึงก็อาจจะมีการอนุอนุรักษ์การทำนาไว้เหมือนเดิม บนบ่อปลาก็อาจจะมีไม้เศรษฐกิจแล้วก็จะมีปลูกอ้อย เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่อันนี้เป็นอนาคตที่เลี้ยงที่เลี้ยงที่จะวางไว้ ก็ประมาณนี้ ค่ะคร่าวๆ                 4. ดิฉันนางสาวพัทยา สังข์กมล หรือเรียกสั้นสั้นว่าหญิงนะคะ เป็นตัวแทนของพ่อสวัสดิ์ค่ะ พ่อสวัสก็เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการทำทุกอย่างนะคะส่วนดิฉันก็ ลูกสาวก็อยู่หน้าที่ฝ่ายการตลาด ก็จะไม่ค่อยชำนาญเท่าไหร่เกี่ยวกับการปฏิบัติก็จะเน้นอยู่ฝ่ายขายมากกว่า ชอบออกไปเดินตลาดก็ต้องเอาผลผลิตที่พ่อคุณพ่อทำไว้ออกไปจำหน่าย ก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายยังไงเหมือนกันแต่ว่า

ก็อธิบายอาจารย์ว่าตอนนี้ขายอะไรบ้าง อธิบายได้ว่าว่าขายอะไรบ้าง ขายอะไรบ้างจากสวนในตอนนี้

ค่ะก็ในสวนก็จะแปลมาเป็นปัจจัยในการใช้จ่ายได้ทุกอย่างค่ะ ก็อย่างเช่นผักกูดก็จะเก็บขายเองก็ไม่ได้ขายแพงก็จะขายกรรมละ 10 บาทอะค่ะ อย่างอื่นก็มีหน่อไม้หวานผักเหนียง ช่วงที่ผ่านมาก็จะมีหมากก็หมากก็จะราคาตกหน่อย แล้วก็ตอนนี้ที่กำลังจะออกผลผลิตก็ทุเรียนแล้วก็มังคุด มันเป็นมันไม่ได้เป็นแปลงมันเป็นผสมผสาน ที่สวนก็จะยกความดีคุณชอบให้คุณพ่อเพราะลูกอยากกินอะไรพ่อก็จะปลูก ทุกอย่าง ส่วนหมูนะคะหมูที่เลี้ยงก็เป็นพันธุ์พื้นบ้าน ก็ขายได้อยู่ค่ะก็จะเลี้ยงเป็นรุ่นรุ่นน่ะค่ะ ก็จะมีขายตลอดก็จะตกอยู่ที่กิโลละ 80 บาทค่ะ แล้วก็ผลดีของการเลี้ยงหมูก็คือไม่ต้องลงทุนเยอะ เขาจะให้กินหยวกกล้วยผสมกับรำก็จะผสมกับบอน ที่ขึ้นตามพอดีพูดไม่ถูกอ่ะพอดีเป็นคนพูดไม่เก่ง               5. เริ่มจากไม้ เศรษฐกิจเริ่มแรก นั้นมันชอบอ่ะ ไม่มีใครปลูกหรอกไม้เศรษฐกิจในสวนยาง โคนยางแล้วก็ปลูกไม้ ทีแรกกันว่าจะปลูก 10 เมตร ระหว่างต้นยาง ทีนี้แฟนบอกว่าถ้า 10 เมตรเค้าจะไม่ช่วย ก็เลยขอลดลงมาเป็น 8 เมตรแล้วก็ปลูกไม้เศรษฐกิจ ไม้ป่าระหว่างกลาง พอเรามาปลูก 8 เมตรก็รถไถที่เค้าตัดหญ้าก็เข้าได้ แล้วบางคนบอกว่าปลูกหลังปลูกยางซักสามปี แต่ว่าตัวเองนั้นปลูกพร้อมยาง สิ่งที่ดลใจก็เคยได้ไปอบรมกับคนกล้าคืนถิ่น เหมือนที่ครูถั่วหรือพี่เจริญเจริญที่ไปอบรมรุ่นเดียวกัน จำได้ไหมคะครู เคยไปเที่ยวแปลงแกที่เบตงด้วย เค้าจัดคาราวานคนกล้า แล้วพอเราเข้าเครือข่ายบอกตรงตรงเลยนะว่าการเข้าเครือข่ายเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะบางทีเราทำอยู่ที่แปลงเราคนเดียวนั้นบางทีใจเราก็ตกนะ ถึงเราจะกำลังใจดีแค่ไหนพอเราไปเจอความหลากหลาย ที่ว่าแต่ละคนได้มาพูดมาแลกเปลี่ยนกันก็จะกลายเป็น แรงกระตุ้นให้เรากลับมาสู้ต่อได้ นะคะตรงนี้มันดีมากๆสำหรับเครือข่าย แล้วก็พอหลังจากนั้นเมื่อปีที่แล้วก็ได้ไปอบรมกสิกรรม ก็มาเข้ากลุ่มกสิกรรมธรรมชาติของอาจารย์ยักษ์ การที่ว่าเราติดตามอาจารย์ยักษ์มานานอาจารย์ยักษ์นี่ก็เป็นส่วนหนึ่ง เราก็ส่วนหนึ่งวันนี้ขี้เกียจพอเปิดอาจารย์ยักษ์ฟังก็เป็นการกระตุ้น เราต้องไปแปลงอ่ะอยากจะปลูกไอ้นั่นอยากจะปลูกไอ้นี่ เพราะได้ไปเจอกับอาจารย์แล้วก็ได้มาสืบสานต่อยอดงานของพ่อ ก็ได้รับมาทางด้านนี้ด้วยก็ได้มาเข้าโครงการปลูกป่า กับเครือข่ายกสิกรรม วันนั้นที่ไปอบรมเค้าก็ให้เลือกหัวข้อว่าแต่ละกลุ่มนั้นจะทำอะไร ตัวเราก็เลือกที่จะปลูกป่าคุยไปคุยมา คุยกับอาจารย์ยักษ์ว่าพี่พามีที่เท่าไหร่ ประมาณ 20 ไร่เกือบเกือบแล้วพี่พอจะปลูกกี่ต้น บอกว่า 20,000 ต้น พี่พาจะปลูกได้ยังไง 20,000 ต้นแต่ตอนนั้นเราก็รับปากกับอาจารย์ไว้แล้ว พอเข้าเครือข่ายปั๊บพอลงมาเราก็ลงทะเบียน ก็เอาสวนยางที่เป็นโฉนดที่ดินของเรามาทำก่อน มาเข้าร่วมทางโครงการก็ส่งเจ้าหน้าที่มา มาเยี่ยมมาตรวจแปลงที่เราลงทะเบียน ปลูกต้นไม้ไปปีแรกเค้าก็ให้ต้นละ 14 บาทเลย ก็ข้อความที่เราทำมานานแล้วเรากลับมาเราก็รายงานต้นไม้ที่เรามีได้เลย ของพี่ก็ได้มากกว่าเพื่อนในกลุ่ม               6. ก่อนอื่นขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านนะครับที่ให้โอกาส และสวัสดีเพื่อนเพื่อนทุกท่านนะครับผมเจริญ เป็นเกษตรมาจากเบตงนะครับขอเล่า ขอเล่าเรื่องส่วนตัวนิดหน่อยเพื่อเชื่อมโยงว่าทำไมผมถึงหันมาเป็นเกษตรกร สายเขียวผมอายุประมาณ 43 ถึง 45 ก็ได้แต่งงานกับแฟนคนปัจจุบันนี้แหล่ะพอดีว่าพ่อตามีสวนยางเยอะ 100 กว่าไร่แล้วไม่มีใครอยู่อยู่กันสองคนตายาย ก็ผมเป็นคนขี้เกียจนะเยอะเยอะไม่รู้เอาไว้ทำอะไร ผมก็คุยกับแฟนว่าขอซักห้าไร่ทำไว้เป็นตัวอย่างให้ดู ว่าดีไหมเค้าก็ค้านพี่น้องก็ค้านชี้ให้ ถ้าคุณจะทำคุณต้องทำแค่เนี่ยก็เลยต้องลงมือทำ 20 ไร่ คือถ้าจะให้ผมทำ 20 ไร่นี้นะต้องลดเคมีหมดคือไม่ให้ฉีดหญ้า เพราะว่าสภาพดินเสียหมดแล้วหมดปลูกยางมาหลายรุ่นแล้วใช้แต่ยาฆ่าหญ้า จนสภาพดินนี้ไม่มีหน้าดินเลยผมว่าผมจะทำให้ดู ว่าจะฟื้นให้ได้ภายในสามปีแต่ต้องทำตามแนวทางของผม แล้วก็ถามเขาว่าในพื้นที่เนี่ยคุณจะทำอะไร ปลุกยางสิเราอยู่กับยางมาตลอดชีวิตก็ต้องปลูกยาง แล้วจะไปหาคนงานที่ไหนตัดล่ะทุกวันนี้ถ้าถางหญ้ายังไม่พอ ตัดยางแล้วยังไม่พอค่าถางหญ้าเลยมันแพงเหลือเกิน ที่เบตงนี่ประมาณ 800 บาทต่อไร่นะแพงมากๆผมก็เลยต้องตัดเอง ทุกวันนี้แปลงที่ผมตัดผมก็ต้องตัดหญ้าเองถางหญ้าเอง ใช้เครื่องก็ตัดไปเรื่อยเรื่อยผมก็วางแผนว่า 20 ไร่นี้ ผมจะเรียกที่สวยสวยบุกยางให้คุณคุณตัดไว้วันละกี่ต้น ก็อายุมากแล้ววันละ 200 ต้นพอมั้ง ผมก็ว่าอย่างนี้แล้วกันผมปลูกให้ 500 ต้นผมก็เลือกที่สวยสวย ผมก็ปลูกให้เขา 500 ต้นที่เหลือที่เหลือจะทำยังไง ผมก็ไปปลูกป่าให้เขาแต่ผมเป็นพนักงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีความรู้ ทางการเกษตรก็วิ่งไปศึกษาหาความรู้ จากอาจารย์โจน จันใดที่ตอนหลังเป็นเพื่อนเป็น เกลอกัน ก็ไปศึกษากันว่าคุณอย่าทำแปลงใหญ่เลยทำแปลงใหญ่ก็ขาดทุน ไม่มีกำไรแล้วก็ไม่มีโอกาสมากับด็อกเตอร์เกริก ที่อยู่เขาฉกรรจ์ก็เป็นวนเกษตร ก็ไปศึกษาเค้าว่าต้องทำยังไงจากการล้มละลายจากธุรกิจ มาทำสวนป่ามาทำวนเกษตร แล้วมาที่พ่อเลี่ยมสวนออนซอนที่ฉะเชิงเทรา ก็เป็น เกลอกัน ก็มาที่อาจารย์คำนึง ที่ไปอบรมกันก็เป็นเพื่อนกันจนทุกวันนี้ เจอกันก็กินข้าวกันตลอดก็มีคุณต้มป่าพะยอม คุณอีกคนนึงคุณประไพอีกคนนึง ผมก็มีไปศึกษาจนมีความเข้าใจในเมืองไทยแล้ว ผมก็ไปศึกษาต่อที่ประเทศมาเลเซียเนาะผมก็โชคดี พูดภาษาจีนเป็นพอเข้าไปหาเค้าไม่ไว้วางใจ กลัวผมไปทำธุรกิจอะไรพวกเนี่ยเพราะว่าผมเป็นข้าราชการเก่า เค้าให้เก็บเป็นความลับ เรื่องพันธุ์ยาง ผมก็ตื๊อเขาทุกรอบแหละไปบ่อยไปทุกอาทิตย์เอาของไปฝาก จนเข้าใจผมว่าคนนี้ไว้ใจได้ก็เลยให้ความรู้เรื่องยางพารา จนเขาทดสอบผมปิดตาผม ให้ไปคลำต้นยางดูว่านี่ต้นยางพันธุ์อะไรถูกบ้างผิดบ้าง ก็ศึกษาเป็นอาทิตย์จนได้รู้ว่า พันธุ์ยาง นี้ดีไม่ดี แต่เมืองไทยไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่องพันธุ์ยางมากนัก ผมไปศึกษาจนซีรี่ส์ 4000 จนในช่วงหลังนี้รู้สึกว่าจะ 5000 กว่า จะ 6000 แล้วผมก็ไม่ทราบนะครับพัฒนาเร็วจัง สิ่งที่ได้ไปจากการศึกษายังง่ายง่ายคือทำให้เรารู้ว่า มีน้ำยางเค้าแค่เด็ดก้านใบ เด็ดออกมาก็ดูออกออกว่าน้ำยางที่พุ่งออกมาเนี่ย ดีไม่ดีง่ายง่ายไม่ต้องไปกรีดเลยคุณแค่ลองไปเด็ด อันนี้เป็นการศึกษาพันธุ์ยางว่าดีไม่ดี ง่ายเนอะก็ปะยางที่ดีไม่ดีเนี่ยเมื่องอกออกมาลำต้นก็จะลื่นลื่นหน่อย อันนี้แน่นอนว่าน้ำยางจะดีแล้วเปลือกยางก็จะนิ่ม อันนี้พื้นฐานง่ายง่ายไม่ขอพูดยาวแล้ว ก็กลับมาที่ว่าผมปลูกยางก็เหมือนที่อื่นก็คือมันมีระเบียบของการยาง ยังคุมอยู่ก็ต้องทำตามระเบียบของเค้า หลังจากปลูกไปหนึ่งปีผมก็กล้าไม้ แต่ผมพยามขุดหลุมให้ใหญ่ให้ลึก แล้วปรุงดินให้ดีก่อนปลูกทุกครั้งผมขุดดินก่อนนะ ก็ผมจะเตรียมดินดินก่อนให้เรียบร้อยก่อนสมมุติผมขุดได้ 200 หลุมผมก็จะเตรียมสั่งกล้าไม้มา 200 ต้น ก็ปลูกเลยไม่คิดคำนึงรู้สึกถึงสภาพอากาศ แต่หลุมของผมเวลาปลูกไปผมจะทำเป็นครึ่งวงกลม เผื่อเวลาฝนตกหรือให้น้ำก็จะให้สะดวกหรือให้น้ำไปหนึ่งกระป๋องน้ำก็ยังอยู่ในหลุม ไม่ไหลออกไปที่อื่นเนาะครึ่งวงกลม ที่ผมเป็นเขานะก็จะหันขึ้นเขาเพื่อจะดัก ดักน้ำเวลาฝนตกน้ำก็จะไหลเข้าหลุมมากที่สุด แต่ถ้าไม่มีไอ้นี่เลยทำเป็นดินกลบดินเสมอน้ำก็จะไหลวิธีอื่น นี่คือสิ่งที่ผมได้เปรียบแล้วก็ผมไม่เคยใช้ยาพ่นหญ้า ยาฉีดหญ้าผมใช้วิธีถางหญ้าอย่างเดียวแล้วก็เอาใจใส่ศึกษาทำไมถึงเป็นอย่างนั้น คือได้ตั้งไจเรียนเรียนรู้จากการทำงานด้วยจนได้ประสบความสำเร็จ แต่จริงๆใจผมอยากจะทำแค่ห้าไร่เพราะใจผมเป็นคนขี้เกียจ เอาตามที่ผมบอกตั้งแต่ต้นแล้วว่าในห้าไร่เนี่ยผมจะปลูกยาง สองไร่ก็ประมาณ 100 ต้น ในสองไร่นี้ผมก็จะปลูกไม้ป่าเข้าไปอีก 120 ต้น แต่ทำไมถึงผมปลูกแค่นี้ผมคิดว่า ผมตัดวันเว้นวันพอ 100 ตอนเนี่ยผมกรีดยางผมกะได้วันละประมาณ 200 บาทพอ เป็นค่าใช้จ่ายไปตามรายวันแค่นั้นเอง จากพื้นที่ที่ผมปลูกไม้ป่าเข้าไปก็เป็นพื้นที่มาฟีฟรีก็เหมือนทำสองไร่แต่ได้สี่ไร่ ก็อยู่ในพื้นที่ด้วยกันทั้งยางทั้งไม้ป่าแล้วผมก็จะทำสวนทุเรียนอีกสองไร่ประมาณ 40 ต้นเอง แต่ผมใช้ระบบธรรมชาติหมดไม่มีการใช้สปริงเกอร์ไม่มีการวางท่อ แล้วในสองรายนี้ที่เป็นทุเรียนนี้ผมจะมีบ่อปลาอยู่ด้วยบางคนงงว่ามีบ่อปลา คุณต้องงงบ่อปลาผมขุดยังไงไม่คือบ่อปลาผมก็เป็นบ่อแคบแคบแค่ 1 เมตร 50 เซนต์ แต่ความลึกประมาณ 2 เมตรไอ้นี่เอาไว้เก็บน้ำ ทำปุ๋ยระหว่างแถวทุเรียนนี้ก็จะมีร่องทำคูนะ ลึก 50 เซนต์เอาไว้รดน้ำก็จะไม่ใช้ท่อแต่จะใช้คู มีทุกแถวก็เป็นการประหยัดเงิน ก็ให้น้ำเดินไปไม่ต้องเฝ้าก็ไม่ต้องใช้กลไกอะไรแค่เปิดประตูน้ำให้น้ำเข้าไป แล้วก็ขังไว้ให้ให้เต็มคูปล่อยเขาซึมซึมให้เต็ม เมื่อพอแล้วก็ปล่อยน้ำออก เวลาฝนตกมาน้ำก็จะไหลลงไปในบ่อปลาผม ไม่ทำให้น้ำขังไม่ทำให้เป็นโรครากเน่าง่าย แล้วการขุด 50 เซนต์เนี่ยเป็นการสำรวจพื้นที่ว่าน้ำใต้ดินเราสูงขนาดไหน 50 เซนต์นี้ก็จะทำให้รู้ว่าน้ำใต้ดินสูงก็ทุเรียนทุเรียนจะกลัวน้ำใต้ดินพอปีที่สาม ก็จะขุดลูกลงไปอีกเพื่อไล่น้ำใต้ดิน เราต้องควบคุมทุกอย่างให้ได้ถ้าเราปลูกทุเรียน ถ้าเราไม่สามารถควบคุมพื้นฐานตรงนี้ได้จะนำมาซึ่งการตาย อยู่ประจำผมเห็นใน LINE ผมพวกนี้ไม่สามารถแก้ทีหลังได้ แก้ยากถ้าเป็นการเริ่มต้นที่ถูก แล้วผมก็ไม่สนับสนุนให้ท่านปลูกทุเรียนหมอนทองอย่างเดียว ในแปลง 40 ต้นนี้ผมจะมี 10 ชนิด ผมปลูกให้ค้างคาวก่อนเพื่อสร้างพันธุ์ของผมเพื่อที่ว่า ผมเคยปลูกมาแล้วสมัย 11 19 ปีพ่อผมเป็นคนสุราษฎร์ เพราะไม่ได้ เป็นคนอยู่เบตงเค้าก็เอาที่ดินที่ผมทำเนี่ยเอาไปขายทิ้ง ก็ถ้าขายทิ้งก็ไม่เอาก็ไม่มีที่อยู่ก็เลยต้องไปอยู่บ้านพ่อตา ก็พยามจะสร้างแต่ ที่เค้าบอกคือคนทั่วไปจะดื้อก็จริงนะผมก็ดื้อ เค้าจะไม่ค่อยฟังเหตุผลเค้าจะทำไมต้องทำอย่างนี้ทำยังไงให้เสียเวลา ทำไมคุณไม่ปลุกเลยทำไมคุณต้องเว้นวรรค เป็นหกเดือนสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ ทำให้เราทำเกษตรไม่สำเร็จ ผมทำอย่างนี้เพราะอะไรสวนยางเหมือนกับตู้เอทีเอ็ม ไปเอาเมื่อไหร่ก็ได้เงิน ปัจจุบันขายสดเลย ไปส่งงวดนี้ได้เงินงวดนี้ ทุกวันนี้เป็นอย่างนี้หมดส่วนทุเรียน 40 ต้น คุณจะได้เงินเท่าไหร่เรามาคิดร่วมกันเนอะ ถ้าทำแบบ 40 ต้นทำเป็นออร์แกนิคออกมาเป็นพรีเมี่ยม คุณไม่ต้องขยันคุณทำตัวขี้เกียจเหมือนผม ตื่น 6 โมงไปดูห้าต้นไม่ต้องขยันดูหมด ดูห้าต้นพอแล้วไปทำกิจวัตร คุณเป็นข้าราชการคุณไม่ทำงานคุณเป็นลูกจ้างคุณก็ไป แล้วตอนเย็นกลับมาดูอีกห้าต้น ไม่ต้องขยันดูห้าต้นแล้ววันนึงดู 10 ต้น สี่วันก็ 40 ต้นเดือนนึงคุณ ดูหกเที่ยวหกสี่ 24 เดือนนึงดู 24 วัน ยังพักผ่อนอีกอาทิตย์นึง เพราะฉะนั้นก็ทำเกษตรไอ้ขี้เกียจเพราะอาจารย์โจนจันใด คนขยันยิ่งจน ไปเปิดดู ผมก็ถามว่าจนก็ดูสิชาวนาขยัน เกษตรกรขยัน ยังไงแต่ไม่มีเงิน ขายจน ขายที่หมด แล้วเรามาคำนวณพร้อมกันนะครับ 40 ต้น ผมขอสรุปนะเรามีลูกทุเรียน 30 ลูกต่อต้น 40 ต้น ครบหกปีนะให้เขามีทุเรียน 30 ลูก ก็มี 1200 ลูก ไม่ต้องเอาเยอะไม่ต้องไปเผื่อใคร เผื่อลงเผื่อนายทุน เผื่อคนกินทำให้เป็นออร์แกนิค เป็นพรีเมี่ยมผมไม่บอกเป็นยังไงนะคุณไปดูที่ตลาด อตก ซึ่งผมมีเครือข่ายอยู่ซึ่งเค้าบอกว่าคุณส่งมาเลย เค้ารับซื้อจากผมเป็นลูกนะลูกละ 1000 บาท 1000 บาท ไปขายยังไงคุณไม่ต้องอิจฉานะลูกเล็ก สองกิโลกรัม ± เค้าขาย 3500 บาท ลูกหนึ่งเค้าไม่ชั่งกิโลขอให้เป็นออร์แกนิคขอให้เป็นพรีเมี่ยม ลูก 3 กิโลกรัม ± เค้าขาย 4500 บาท ผมไม่อิจฉาแต่ผมได้เท่าไหร่ล่ะผมได้ แล้วพอใจไหมปีนึงผมได้ 1,200,000 บาท ผมก็ไม่ทำงานหนัก ผมก็ขี้เกียจเนี่ยปีนึงผมก็มีปลากิน ผมเลี้ยงปลานิลใส่ในคูปีนึงผมก็ลอกที่ดินขึ้นมา ใส่ในโคนต้นทุเรียนผมก็ประหยัดปุ๋ย แต่การปรุงดินในทุเรียนนี้ไม่เหมือนนะแต่ผมไม่เอามาพูด กลัวมัน จะยาว ที่สวนทุเรียนมีผมเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ได้อาจารย์จะไปเห็นผมผมเลี้ยงปล่อยหมดเลย ถามผมว่าผมมีรายรับไหมแต่ผมไม่มีนะเพื่อนเพื่อนอยากกินก็มาเอา ใครจะมาจับก็เอาผมไม่ได้เน้นทำลายชีวิตเขาพอเลี้ยงแล้วผมก็มีรายได้จากสวนแล้ว ผมพยามสร้างพันธุ์ใหม่ไก่ผมก็สร้างพันธุ์ใหม่เป็นของตัวเอง ทำไมทุเรียนผมจึงปลูก 10 ชนิดผมให้เค้าผสมข้ามพันธุ์ แล้วสร้างเป็นแบรนด์เนมของผมเองผมก็เอาชื่อตายาย ทุเรียน จำไว้เลย ถ้าเค้าขยายขยายข้าม สายพันธุ์หมอนทองก็จะไม่เป็นหมอนทอง ชะนีก็จะไม่เป็นชะนีนี่ผมทำมาแล้ว แล้วขายไม่ทันบางคนก็มาแย่งแย่งบางคนก็ไม่ให้เงิน คืนงี้เกษตรกรเราต้องหัดเป็นคนขี้เกียจ แล้วพยายามสร้างแบรนด์เนมของตัวเองไม่ว่าอะไรก็ตามแล้วอย่าไปปลูกทุเรียน 400 ต้นต้องเอาเวลาไปดูเวลาไม่มีก็ต้องจ้างคนงาน งานไม่มีความรักใจรักเหมือนเราใส่ปุ๋ยก็ใส่ซี้ซั้ว แล้วฉีดยาก็ฉีดซี้ซัว ฉีดเสร็จก็เสร็จ ต้นทุนมันก็หนักทุกวันนี้ที่ปิยะมิตรนะ ไปซื้อโดรนมา เวลาฉีดยาก็ใช้ยาเป็นเท่าตัว เพราะอะไรเวลาพ่นเนี่ยมันไม่ทั่วถึง น่ะ ต้องเสียค่าแรงเพิ่มอีกไปฉีดพ่นเพิ่ม เพราะใต้ใบมันฉีดไม่ถึง บางทีเราใช้เทคโนโลยีเยอะเกินไปคิดว่ามันสะดวก อยู่กรุงเทพแล้วก็กดเปิดน้ำปิดน้ำได้ ผมไม่รู้นะขอให้เป็นแมนนวลแมนนวลหน่อย คืออัตโนมัติหน่อยนะ เปิดเองถึงเวลาพอใจก็ปิด ง่ายง่ายนั่นง่ายง่ายเนอะถ้าเพื่อนเพื่อนมีอะไร สอบถามมีอะไรที่สงสัยก็ยินดี ลงพื้นที่ดีกว่าอย่ามาดูของผมไงพอไปดูของผมกับพื้นที่ของตัวเองมันไม่เหมือนกัน                 7. ครับเรียนคณะอาจารย์และพี่พี่เกษตรกรต้นแบบทุกท่านนะครับ ผมทศพล รุ่งเรืองประโยชน์ เป็นเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเบตง ไปสวนก็เดิมทีผมก็เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอยู่ด้วยนะครับ เป็น เลขาของ สหกรณ์แล้ว และเครือข่ายสวนยางในอำเภอเบตง ในสวนก็ทำเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรกรต้นแบบ ผสมผสานในสวนก็ทำหลักๆเลยก็คือการเลี้ยงปลา ปลาพวงชมพู ปลาจีน ปลานิล ปลานิลกระแสน้ำไหลตอนนี้ปลานิลก็จะขึ้นทะเบียนเป็นปลานิลจีไอ แม่ก็จะทำในวันข้างหน้าให้ทำไปเรื่อยเรื่อยครับผมปลานิลจีไอก็จะเป็นปลานิลใสสามโลขึ้นไป โลนึงก็จะขายในพื้นที่ในที่นี้ผมก็จะพูด ไม่ค่อยเยอะนะครับเพราะช่วงบ่ายผมก็ต้องไปขนปุ๋ยที่ ทานโตอีก ในสวนก็ที่ผ่านมาที่ศูนย์ก็คือมีการศึกษาดูงานจากนราธิวาส มาดูที่สวนแล้วก็เดือนหน้าอธิการของกรมตรวจบัญชีบัณฑิต ก็จะมาดูที่สวน ในสวนก็มีหลายอย่างครับแต่ถ้าเล่าก็ได้เอาเป็นว่าพี่พี่ สงสัยอะไรหรืออยากถามข้อมูลอะไรก็ถามเพิ่มเติมได้เลยครับ อาจารย์                 8. สวัสดีอาจารย์ นะคะและ เพื่อนเกษตรกรต้นแบบทุกท่านออนอรณภัทร นวลศิลป์ ก็ปัจจัยที่จุดประกายที่มาทำตรงนี้จริงๆ คือเมื่อก่อนทำงานบริษัทอยู่ที่หาดใหญ่ แล้วทีนี้กลับมาอยู่บ้านมาดูแลคนแก่ตอนแรกทำเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกพวดแตงกวาถั่วฝักยาววันนึงก็เก็บที 300 400 กิโลกรัม แล้วทีนี้เจอปัญหาว่าบ้านเราฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาลแล้วพอตกแล้วขังในนา ทำให้น้ำท่วมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ทำให้เกิดความเสียหาย สองปีติดกันก็เลยมองว่า เราน่าจะทำเป็นยกแคร่ แต่ต้นทุนมันจะสูงมาก เฉพาะตัวที่เป็นแคร่เหล็กที่ความยาว 4 เมตรเฉพาะตัวแร่คอย่างเดียวก็ต้นทุนอยู่ที่ 4500 บาท จากการสอบถามช่างแต่ถ้าเรามีแค่สามแคร่สี่แคร่เราไม่สามารถทำเป็นอาชีพ เราได้เพราะว่าการที่จะทำเป็นอาชีพจำเป็นต้องมีผลผลิตหมุนเวียนออกทุกวัน ก็เลยพยายามหาความรู้ในการทำแคร่อย่างง่าย ก็ได้ตัวแคร่อย่างนี้มาต้นทุนจะตกอยู่ที่ 1000 กว่าบาท 4 เมตรก็พีวีซี ซาแลนกระเบื้อง ต้นทุนก็อยู่ที่ประมาณ 1000 กว่าบาท ทำให้สามารถทำได้หลายแคร่ กิจกรรมรายได้ก็จะมาจากดินปลูกด้วย ดินปลูกเนี่ยในช่วงนี้เดือนนึงก็จะจำหน่ายอยู่ที่เดือนละ 100 ถึง 200 กระสอบ คือจะเห็นว่ายังไม่มี package เป็นกระสอบแบบเนี่ยเป็นกระสอบเหลือใช้ที่เราได้มาจากการซื้อมูลวัว ใช้กระสอบอย่างนี้ไปก่อนในหลายคนถามว่าขายดีแล้วทำไมไม่ทำแพ็คเกจ นี้ออนก็มองอย่างนี้ดีมั๊ยเพราะการทำแพ็คเกจเป็นการเพิ่มต้นทุน ออนก็จะต้องลดจำนวนดินลง เอาอย่างนี้ไหม 100 บาทพร้อมขึ้นแคร่ คือมันไม่ใช้กระสอบอ่ะ มันใช้ดินไงก็เลยไม่ยังไม่มีแนวคิดที่จะมี package คือออนไม่คิดตรงนี้เพราะในพื้นที่ตอนนี้ 100 ถึง 200 กระสอบเนี่ยออนยังใช้แรงงาน ของกลุ่มวิสาหกิจได้ก็ตอนนี้ของเขา เค้าก็มีรายได้ในการจ้างผสมอยู่ที่กระสอบละ 10 บาท ตัวเด่นของดินปลูกออนบ้านสวนก็คือน้ำหมักปลา เพราะว่าที่บ้านจะทำน้ำหมักปลาอยู่ที่ประมาณ 30 ถัง เพื่อหมักดินไว้ก่อนที่จะบรรจุกระสอบ ใช้น้ำหนักปลาเนี่ยหมักเข้าไปทำให้ดินของพี่อรทำเนี่ยมีความพิเศษ ลูกค้าที่เอาไปใช้เนี่ยก็จะรู้เลยว่ามันพิเศษยังไง ก็ในส่วนของน้ำหนักปลาเราจะขาย 5 ลิตร ฮาก็คือ 100 บาท ไม่ได้ขายแพงเพราะเราไม่ได้ผ่านการสกัดจากห้องทดลอง หรือห้องแลป ทำให้เราสามารถขายราคานี้ได้ ก็รายได้หลักอีกตัวนึงก็จะเป็นต้นกล้า ต้นกล้าก็จะขายถาดละ 200 บาท คืน 105 หลุม จะมีต้นกล้าผักสวนครัวผักสลัด ก็จะมี ทุกประเภทใดที่ขาย ตรงนี้ก็จะเป็นรายได้หลักเหมือนกันที่จะสามารถสร้างงานให้กับสมาชิกในกลุ่มได้ มีของในสวนก็จะมีข้อจำกัดว่าหนึ่งเรื่องกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำปลายน้ำเราจบในที่เดียว เราผลิตดินเองเราผลิตต้นกล้าเองเราผลิตปุ๋ยใช้เอง ส่วนดีก็คือออนได้จัดทำงานกับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ศูนย์ดินปุ๋ยชุมชน เราสามารถเอากระบวนการจัดการความรู้ตรงนี้มาจัดการมาเผยแพร่ เกษตรกรที่เข้ามาในแปลงในฐานะ ที่เราเป็นศูนย์เรียนรู้เพราะตรงนี้ที่เราเป็นในเรื่องของยุวเกษตร เข้ามาเข้าค่ายที่บ้าน ก็จะพยามเขาเห็นว่าการที่คุณมีครัวมีคลังอาหารอยู่รอบ บ้านมันทำให้สามารถทำให้คุณมีชีวิตอยู่ได้จริงๆ ทุกคนตอนนี้มีเงินแต่เค้าซื้อสุขภาพ ในเขตเราจะเห็นว่าทำไมจะเห็นว่าพวกดารามาปลูกผักกินเอง เค้าบอกไปเรื่องถึงสุขภาพเพราะตรงนั้นมันซื้อไม่ได้ นั้นการปลูกกินเองที่บ้านมันมันสามารถช่วยในเรื่องสุขภาพได้ เราจะต้องไม่ต้องไปหาหมอไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่ตอนนี้ พื้นที่ที่แ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อาจารย์สรุปมาได้แล้วก็คือแนวคิด ทางการเกษตร ที่อาจารย์ เคยสัมภาษณ์ พวก เราทุกคน หลักในการ ผลิตการตลาดการจัดการ ได้สัมภาษณ์หมดแล้ว ปัจจัยความสำเร็จอาจารย์ก็เก็บได้ระดับหนึ่งแล้วแหละ ว่าแต่ละคนนั้นมีจุดเงื่อนไขที่สำคัญยังไง บ้างแต่สิ่งที่อาจารย์ต้องไปทำข้อมูลต่อก็คือ วางแผนในที่เราจะขับเคลื่อนในระยะถัดไป หลัง จากนี้ ประมาณเดือนสิงหาอาจารย์อาจต้องลงพื้นที่ที่กลุ่ม สัมภาษณ์เกษตรกรใกล้เคียงสมาชิกกลุ่มนิดนึง ที่ที่กลุ่มของออน กลุ่มของอาเยาะ กลุ่มของมานพ กลุ่มของทศพล กลุ่มของเติบอะไรประมาณเนี่ย สมาชิกที่อยู่ใกล้เคียงเนอะ อาจจะรวบรวมเกษตรกรกลุ่มนั้นนิดนึงเพื่อ ดูว่าเค้ารับรู้ สิ่งที่เราทำ และก็นำไปปรับใช้ ของออนนี่น่าจะเห็นชัด ที่เคยไปเห็น เห็นอยู่หลายแปลงตรงนั้น ที่อาเยาะอาจารย์ต้องเข้าไปดูว่าตรงนั้นมีการติดขัดอะไรบ้าง ก็จะเก็บตรงนั้นแต่ละจุดน่าจะประมาณประมาณ 15 ถึง 20 ราย เหมือนเบตงก็เหมือนกันก็จะเก็บ ประมาณนั้นเพื่อประเมิน ข้อมูลพื้นฐานของเชิงพื้นที่ จะเตรียมการขับเคลื่อน ในระยะถัดไป ถัดไปต่อ ถ้ามีอะไรเราก็สื่อสารผ่าน LINE กลุ่มเนาะก็ขอขอบคุณมาก มีความคึกคักดีเห็นกิจกรรมต่างๆ เวลาอาจารย์อยู่นอกพื้นที่อาจารย์ไม่รู้จักโพสต์อะไรดี ก็โพสต์ว่า ว่าวันนี้ฉันไปทำงานอะไร ก็ขอบคุณทุกที่โพสต์ให้ในกลุ่มคึกคักก็ตอนนี้รู้จักกันหมดแล้วนะก็ต่อไปก็ขับเคลื่อนกลุ่มให้อยู่ในระดับต่อไป