สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

ประชุมเชิงปฏิบัติการด้านความรอบรู้การจัดการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน8 กรกฎาคม 2567
8
กรกฎาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
  • IMG_20240708_132051.jpg
  • IMG_20240708_091447.jpg
  • IMG_20240708_131626.jpg
  • IMG_20240708_110610.jpg
  • IMG_20240708_131348.jpg
  • IMG_20240708_140326.jpg
  • IMG_20240708_140329.jpg
  • IMG_20240708_131048.jpg
  • IMG_20240708_110442.jpg
  • IMG_20240708_131755.jpg
  • IMG_20240708_110451.jpg
  • IMG_20240708_111615.jpg
  • IMG_20240708_110431.jpg
  • IMG_20240708_110349.jpg
  • IMG_20240708_110323.jpg
  • IMG_20240708_091440.jpg
  • IMG_20240708_105217.jpg
  • IMG_20240708_104543.jpg
  • IMG_20240708_091432.jpg
  • IMG_20240708_093501.jpg
  • IMG_20240708_090915.jpg
  • 1721046285302.jpg
  • IMG_20240708_093520.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดเนื้อหาให้การจัดอบรม อาหารเพื่อสุขภาพ
บรรยายโดย ผศ.ดร ลักษณา ไชยมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอ.ปัตตานี และ อ.ศรีลา สะเตาะ ความปลอดภัยด้านอาหาร วิธีการเลือกผักผลไม้และเนื้อสัตว์ อาหารแปรรูป บรรยายโดย
อ.ทินมณี แซ่เหลียง อ.วีณาพร วงศ์สภาพรพัฒน์ อ.ชัญณยา หมันการ อ.วิชญาพร ไสยสิทธิ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมอบรม
จากรพ.สต.นาเกตุ รพ.สต.คลองใหม่ รพ.สต.สะดาวา รพสต.บางโกระ รพ.สต.ทุ่งพลา รพ.สต.ทรายขาว
รพ.สต สุคิริน ครูโรงเรียนบ้านล้อแตก ,โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้,โรงเรียนวัดอรัญสิการาม

เนื้อหาดังนี้ ทำอาหารธรรมดาธรรมดาให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพได้ไม่ใช่เรื่องยาก
ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล หลักสูตรโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหารค ณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอ.ปัตตานี 1.ความคาดหวังของฉันที่มาเข้าอบรมนี้
-อ.ได้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านคิดว่าในการมาอบรมครั้งนี้คาดหวังว่าจะได้อะไรกลับไปให้จดไว้กับที่ตัวเองเพื่อตอนสุดท้ายจะได้ตอบได้ว่าสิ่งที่ตัวเองได้รับสอดคล้องกับความคาดหวังของตัวเองหรือไม่

2.อาหารสุขภาพคืออะไร -กินแล้วได้สุขภาพดีดูได้จาก ไม่อ้วนไม่ผอม สัดส่วนของร่างกายน้ำหนักส่วนสูงองค์ประกอบของร่างกายมวลกล้ามเนื้อมวลไขมันกระดูกน้ำ ระบบร่างกายทำงานปกติ การตรวจสุขภาพการเจ็บป่วย ปลอดภัย ไม่มีปัญหาที่เกิดจากการกินอาหารเช่นท้องเสียคลื่นไส้อาเจียนอาการแพ้อาหารต่างๆ

3.หลักการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ -การบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ด้วยอาหารจะต้องสมดุลทั้งสารอาหารและโภชนาการ -ให้คิดเสมอว่าอาหารคือตัวเราเพราะฉะนั้นองค์ประกอบทั้งหมดในร่างกายของเรามาจากอาหารที่เรากินเข้าไปแต่ละคนอาจจะมีสัดส่วนในการต้องการอาหาร แร่ธาตุ,น้ำ,ไขมันคาร์โบไฮเดรต,โปรตีน,วิตามินที่แตกต่างกัน

4.เลือกอย่างไรที่เรียกว่าฉลาดเลือกบริโภคHow to -สารอาหารครบ,ปลอดภัย,ปริมาณพอเพียง

5.เลือกอาหารยังไงให้ได้สารอาหารครบ 1.ข้าวแป้งสิ่งที่ได้คาร์โบไฮเดรตธัญพืชที่ไม่ขัดสีใยอาหารวิตามินบีธาตุเหล็กสังกะสี ควรเป็นประเภทที่ไม่ขัดสีหลักหลายพืชตระกูลถั่วต่างๆผักที่มีแป้งเยอะพืชมีหัว 2.ผักผลไม้สิ่งที่ได้จากผักและผลไม้คือวิตามิน,เกลือแร่,ใยอาหาร,สารพฤกษเคมี,คาร์โบไฮเดรต
สีในผักผลไม้มีสารสำคัญที่มีสรรพคุณแตกต่างกันดังนั้นจึงต้องกินผักผลไม้ที่สีสันหลากหลายเช่นสีขาวช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน สีเขียวกำจัดพิษ สีเหลืองความงาม สีส้มป้องกันมะเร็ง สีแดงดีต่อหัวใจ สีม่วงอายุยืน
การฉลากเลือกอาหารชนิดผลไม้ให้น้ำตาลมากน้อยแตกต่างกันตามชนิดผลไม้ต้องจำกัดปริมาณผลไม้ 1 ส่วนมีน้ำตาลเทียบได้ปริมาณ 3 ช้อนชา 3.เนื้อสัตว์ไข่นมถั่วต่างๆ สิ่งที่ได้คือโปรตีนระวังไขมันอิ่มตัวคอเลสเตอรอล,วิตามิน,เกลือแร่,แคลเซียม,ธาตุเหล็ก,สังกะสีไอโอดีน,วิตามินบี 12 วิธีการเลือกหมวดเนื้อสัตว์นมไข่เนื้อไม่ติดมันนมพร่องมันเนยไข่สัปดาห์ละ 3 ฟอง,ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายมีกรดไขมันชนิดดีเลี่ยงอาหารแปรรูปซึ่งมีโซเดียมสูง 4.ไขมัน น้ำมัน ใช้น้ำมันพืชแทนการใช้น้ำมันสัตว์ใช้น้ำมันถูกประเภทสำหรับทอดสำหรับผัดใช้แต่พอประมาณ 5.ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว

สรุปเลือกอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ 1.กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวันให้หลากหลาย 2.ฉลาดเลือกอาหารในแต่ละหมู่ -ข้าวแป้งไม่ขัดสีถั่วต่างๆ -ผักผลไม้หลากหลายสีผลไม้ที่ไม่หวานจัด -เนื้อสัตว์ไม่ติดมันปลานมไข่ -ไขมันน้ำมันพืชตามสำหรับทอดน้ำมันถั่วเหลืองสำหรับผัดน้ำมันรำข้าว -ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ

6.กินปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอดี พลังงานที่แนะนำ 1,600 กิโลแคลอรี่สำหรับเด็ก 6-13 ปีและหญิงวัยทำงาน 2,000 แคลอรี่สำหรับวัยรุ่นและชายวัยทำงาน 2,400 แคลอรี่สำหรับนักกีฬาและผู้ใช้แรงงาน 1,400 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60 ถึง 80 ปีที่มีกิจกรรมเบามากคือแทบไม่ได้ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมที่ใช้กำลังกายน้อยมาก 1,600 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60 ถึง 80 ปีที่มีกิจกรรมเบาคือออกกำลังกาย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ 1,800 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60 ถึง 80 ปีที่มีกิจกรรมปานกลางคือออกกำลังกาย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์

7.กินอย่างไรให้ปลอดภัย การปนเปื้อนสารพิษในอาหารเกิดขึ้นได้อย่างไร -ยาสารกระตุ้นการเจริญเติบโต -ปุ๋ย -สารอื่นๆที่อันตราย -เชื้อโรค -สารเติมแต่งอาหารสุขลักษณะการผลิตไม่ดี -สารเติมแต่งอาหารศุภลักษณะในการผลิตไม่ดีสารก่อมะเร็งจากการปรุง

8.แนวทางการป้องกัน 1.ปรุงอาหารกินเองโดยทำความสะอาดให้ทั่วถึงแยกเก็บอาหารสุกดิบให้ความร้อนอาหารสุกทั่วเก็บอาหารไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม 2.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโอกาสสูงที่จะมีสารพิษเจือปน 3.เลือกร้านที่ถูกสุขลักษณะ

9.สรุปเลือกอย่างไรที่เรียกว่าฉลาดเลือก ปลอดภัยปริมาณพอเพียงสารอาหารครบถ้วน

10.เทคนิคการสร้างสรรค์ตำรับอาหารสุขภาพ ใช้หลักการจานอาหารสุขภาพ 2:1:1 -จานขนาด 9 นิ้ว -แบ่งพื้นที่บนจานเป็น 4 ส่วนจัดอาหารลงจานดังนี้ 2 ส่วนเป็นผัก 1 ส่วนเป็นข้าวกล้องอาหารทำจากแป้งที่ไม่ขัดสี 1 ส่วนเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันปลาเต้าหู้ -เลือกรายการอาหารที่ใช้น้ำมันน้อยๆในการปรุง -จัดผลไม้ในมื้ออาหาร -ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบในรายการอาหารให้ได้เป็นตำรับอาหารสุขภาพ -ปรับเปลี่ยนวิธีปรุงอาหารให้ได้เป็นตำรับสุขภาพ

11.อาหารเป็น 1 ใน 5 ของปัจจัยพื้นฐานของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้าง 3 อ เลี่ยง 2 ส 3 อ อ่อนหวานอ่อนเค็มอ่อนมันปรุงน้อยๆก็อร่อยชัวร์เน้นผักผลไม้

วิธีการเลือกซื้อผักผลไม้และเนื้อสัตว์ 5 วิธีการเลือกซื้อผักให้ปลอดภัย 1 เลือกซื้อผักที่สะอาด 2 เลือกซื้อผักที่มีรอยกัดแทะของแมลง 3 เลือกซื้อผักตามฤดูกาล 4 เลือกซื้อผักพื้นบ้าน 5 เลือกซื้อผักจากแหล่งที่ไว้ใจได้ว่าเป็นผักปลอดสารเคมี จะมีสัญลักษณ์ผักผลไม้ปลอดภัยจะมีมาตรฐานผักผลไม้อนามัยปลอดภัยรับรองโดยภาครัฐ และมาตรฐานผักผลไม้อินทรีย์รับรองโดยภาครัฐ วิธีเลือกซื้อผลไม้ให้ปลอดภัย 1 เลือกซื้อตามฤดูกาล 2 มีผิวสดใสไม่แห้งซีด 3 ขั้วหรือก้านยังแข็งและเขียว เทคนิคเลือกเนื้อสัตว์ให้ปลอดสาร เนื้อหมูเนื้อควรมีสีชมพูอ่อนนุ่มมันมีสีขาวไม่มีเม็ดสาคู เนื้อวัวเนื้อสีแดงสดไม่เขียวคล้ำมันมีสีเหลืองไม่มีเม็ดสาคู เนื้อไก่เลือกตัวอ้วนกดดูตรงหน้าอกจะนูนแน่นตีนนุ่มหนังสดใสไม่เหี่ยวย่นไม่มีกลิ่นเหม็นลูกตาไม่ลึกบุ๋มไม่มีรอยช้ำตามท้องและคอ ปลาปลาสดจะมีหนังมันตราสดใสเหงือกแดงท้องไม่แตกเนื้อแน่นกดไม่บุ๋ม หอยหอยบางชนิดต้องซื้อทั้งเปลือกที่ยังเป็นๆอยู่เช่นหอยลายหอยแครงหอยกะพงหอยที่แกะเปลือกแล้วเช่นหอยแมงภู่ต้องมีสีสดใสตัวหอยอยู่ในสภาพดีไม่ขาดรุ่งริ่งน้ำแช่หอยไม่มีเมือกมากและไม่มีกลิ่นเน่า กุ้งเปลือกแข็งใสหัวติดกับตัวแน่น ปลาหมึกตาต้องใสไม่ขุ่นเห็นตาดำด้านในอย่างชัดเจนหัวและลำตัวของหมึกต้องติดกันแน่นหนวดปลาหมึกมีสภาพสมบูรณ์ไม่เปื่อยยุ่ยไม่มีกลิ่นเหม็น ปูสีเขียวเข้มกลางหน้าอกต้องแข็งกดไม่ยุบตัวหนักตาใส

วิธีการล้างผักผลไม้และเนื้อสัตว์ให้ลดสารตกค้าง 1 ใช้ผงฟูเบกกิ้งโซดา 2 ใช้น้ำไหลผ่าน 3 ใช้ด่างทับทิม 4 การใช้น้ำส้มสายชู 5 การใช้เกลือ

วิธีกำจัดฟอร์มาลีนออกจากผักผลไม้และเนื้อสัตว์(ปลา) 1 ให้แช่ในน้ำที่ผสมกับเกลือในอัตราส่วน 90:10 2 ผักให้แช่อย่างน้อย 10-15 นาที 3 ผลไม้ให้แช่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง 4 ปลาให้แช่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง30 นาที 5 ล้างน้ำสะอาดอีกครั้งซึ่งจะสามารถกำจัดฟอร์มาลีนได้ 90-95%

วิธีการเตรียมส่วนประกอบในการประกอบอาหาร การเตรียมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ สัตว์บกเช่นเนื้อหมูวัววิธีการเตรียมทำความสะอาดเนื้อหมูเนื้อวัวด้วยน้ำสะอาดจากนั้นหั่นแบ่งตามตามขวางชิ้นเนื้อให้มีขนาดสั้นลงโดยหั่นเป็นชิ้นพอคำ การเตรียมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ สัตว์ปีกเช่นไก่เป็ดห่านวิธีการเตรียมทำความสะอาดเนื้อไก่เนื้อเป็ดเนื้อหาด้วยน้ำสะอาดก่อนตัดแยกชิ้นส่วนเช่นอกน่องสะโพกปีกปีกบน การเตรียมอาหารประเภทเนื้อสัตว์สัตว์น้ำ ปลาปลาที่มีเกล็ดคอดเกร็ดปลาก่อนล้างน้ำแล้วจึงควักเหงือกและไส้ออก ปลาไม่มีเกล็ดน้ำปลาล้างน้ำแล้วหาวัสดุที่มีผิวสัดๆขูดเมือกออกจากนั้นควักเหงือกและไส้ หอยล้างหอยด้วยน้ำสะอาดใช้แปรงขัดหรือล้างน้ำหลายๆครั้งหอยบางประเภทต้องนำมาแช่น้ำเกลือทิ้งไว้เพื่อให้หอยคายโคลนออกมา กุ้งล้างด้วยน้ำสะอาดตัดหัวกุ้งปอกเปลือกให้เหลือส่วนหางใช้มีดผ่าหลังกุ้งดึงเส้นดำออก ปลาหมึกล้างปลาหมึกออกก่อนด้วยน้ำแรกลอกหนังและเอาเครื่องในปลาหมึกออก การเตรียมอาหารประเภทผัก 1 ใช้มีดตัดส่วนที่ช้ำเน่าหรือกินไม่ได้ออก 2 ล้างผักให้สะอาดผักประเภทใบเช่นผักกาดขาวควรเด็ดใบออกทีละกาบก่อนล้างน้ำ 3 เด็ดใบหั่นหรือปอกเปลือกตามประเภทของผักหรือตามความต้องการในการปรุง 4 เมื่อล้างเสร็จแล้วนำไปวางไว้ในตะกร้าหรือตะแกรงเพื่อให้ผักสะเด็ดน้ำผักจะไม่ช้ำ

ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสุขาภิบาลอาหาร อันตรายที่พบในอาหารทางกายภาพ
เส้นผมเศษเล็บไม้แก้วหินพลาสติกแมลงส่วนของแมลงลวดเย็บกระดาษเข็มกลัด ทางเคมี สารเร่งเนื้อแดงสารบอแรกซ์สารฟอกขาวฟอร์มาลีนสารโพล่ายาฆ่าแมลง ทางชีวภาพ แบคทีเรียไวรัสเชื้อราพยาธิ

เนื้อสัตว์ดิบกินได้ไหม เนื้อสัตว์มักมีการปนเปื้อนของStreptococcus suis ไม่พบในเนื้อวัวทำให้เกิดประสาทหูดับ(ไข้หูดับ) เนื้อหมู-พบพยาธิตืดหมูไข่พยาธิจะโตเป็นระยะตัวอ่อนหรือเม็ดสาคูกระจายไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆในร่างกายคน เนื้อวัว-มักมีการปนเปื้อนของ Escherichia coli อาจทำให้เกิดท้องร่วงรุนแรงพบพยาธิตืดวัว เนื้อไก่-มักมีการปนเปื้อนของSalmonellaทำให้ท้องเสียรุนแรงพบพยาธิตัวจี๊ด

โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ ไวรัสตับอักเสบ a อหิวาตกโรค โรคบิด ไข้ไทฟอยด์

แนวคิดการจัดการและการควบคุมอาหารให้ปลอดภัย สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เชื้อโรคพยาธิพิษของเชื้อโรคพิษจากพืชและสัตว์พิษจากสารเคมี ควบคุมป้องกัน คนตัวอาหารสถานที่ภาชนะอุปกรณ์สัตว์แมลงนำโรค
อาหารสะอาดปลอดภัย ผู้บริโภคสุขภาพดี

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้อาหารไม่สะอาด ผู้สัมผัสอาหาร อาหาร ภาชนะอุปกรณ์ สถานที่ แมลงนำโรค

มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับโรงอาหาร 1.บริเวณที่ปรุงอาหารจะต้องสะอาดเป็นระเบียบมีการระบายอากาศมีการปรุงอาหารบนพื้นเครื่องปรุงอาหารสะอาดพื้นโต๊ะสูงจากพื้นอย่างน้อย 60เซนติเมตร 2.อาหารน้ำน้ำแข็งเครื่องดื่มน้ำและเครื่องดื่มในภาชนะปิดสนิทมีเลขสารอาหารอย อาหารสดมีคุณภาพดีเก็บแยกเป็นสัดส่วนและต้องล้างก่อนนำมาปรุง น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาดใส่ภาชนะสะอาดมีฝาปิดมีอุปกรณ์สำหรับตักและต้องไม่มีสิ่งของอื่นมาแช่ร่วม วางอาหารที่ปรุงแล้วเก็บในภาชนะสะอาดมีการปกปิดวางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร 3.ภาชนะอุปกรณ์ ภาชนะต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายเช่นสแตนเลสกระเบื้องเคลือบขาว ภาชนะใส่น้ำส้มสายชูน้ำปลาและน้ำจิ้มใส่ภาชนะที่ปลอดภัยเช่นแก้วกระเบื้องเคลือบขาวมีฝาปิด ล้างภาชนะด้วยวิธีการอย่างน้อย 2 ขั้นตอน 1 ล้างด้วยน้ำยาล้างภาชนะ 2 ล้างด้วยน้ำสะอาด 2 ครั้ง จานชามที่ใช้แล้วเก็บคว่ำในภาชนะหรือตะแกรงสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร 4.ภาชนะอุปกรณ์ ช้อนส้อมตะเกียบวางเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางเรียงเป็นระเบียบสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร เถียงต้องอยู่ในสภาพดีไม่แตกร้าวหรือเป็นร่องมีเขียนเฉพาะใช้อาหารสุกและอาหารดิบแยกออกจากกัน 5.การรวบรวมขยะ ใช้ถังขยะที่ไม่รั่วซึมปิดฝาสนิท 6.ห้องน้ำ สะอาดไม่ส่งกลิ่น  แยกเป็นสัดส่วนและต้องมีอ่างล้างมือที่ใช้ได้ดีอยู่ในบริเวณห้องส้วม 7.ผู้เตรียมปรุง แต่งกายให้สะอาดใส่เสื้อมีแขน ผูกผ้ากันเปื้อน ต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคผิวหนัง มีสุขนิสัยที่ดีเช่นตัดเล็บสะอาดไม่สูบบุหรี่ในขณะปฏิบัติงานไม่ใช้มือหยิบจับอาหารโดยตรง
เมื่อผู้ที่มาอบรมได้รับความรู้ทั้งหมดแล้วจะนำความรู้ทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อให้กับนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมอาหารปลอดภัยในลำดับต่อไป