สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ ต.สุคิริน6 มิถุนายน 2567
6
มิถุนายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
  • 1717744686803.jpg
  • IMG_20240606_115847.jpg
  • IMG_20240606_093118.jpg
  • IMG_20240606_094534.jpg
  • IMG_20240606_114929.jpg
  • IMG_20240606_093640.jpg
  • IMG_20240606_094247.jpg
  • IMG_20240606_092719.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ
ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก รอบที่ 3 วันที่ 29-30 เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี รพ.สต. ……สุคิริน…… อำเภอ……………สุคิริน……..จังหวัด……นราธิวาส……

ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องมือ 1: Systems Map เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2: Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ วันที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ - น้ำท่วม -ดินสไลด์ 1.ปัจจัยแวดล้อม - มีการเพาะปลูกเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน - ประชาชนในชุมชน 40 % รับจ้างกรีดยาง รายได้น้อย - ราคาอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีราคาสูง - สินค้าอาหารในชุมชนไม่มีความหลากหลาย - ในชุมชุนมีอาหารสำเร็จรูป เช่น ของทอดต่าง ๆ - ในชุมชนมีอาหารธรรมชาติในพื้นที่ 39 %

2.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/ร.ร./ศพด. - สมาชิกในครอบครัวมีจำนวนเยอะ รายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย - ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยาง - รูปแบบการปรุงเน้นรสชาติ หวาน มัน เค็ม - ชาวบ้านมีวิถีชุมชนแบ่งปันวัตถุดิบ การช่วยเหลือกัน
- ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา เข้าถึงชุมชน ครอบครัวเปราะบาง 3.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว/ผู้ปกครอง - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของผู้ปกครองก่อนเพราะมีอิทธิพลต่อลูก - ตลาดนัดชุมชนขายอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพไม่ดี - ราคายางตกต่ำส่งผลต่อรายได้ของผู้ปกครอง - ในชุมชนมีตลาดนัดและรถเร่ขายของ 4.อาหารที่รับประทาน - มื้อเช้า 1.) ส่วนใหญ่ไม่ได้ทานที่บ้าน - มื้อจุกจิก 1.) ในร้านค้าในโรงเรียน 5.สารอาหารและผลต่อสุขภาพ - กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดัน สูงขึ้นทุกปี - มีภาวะทุกโภชนาการ - 90% มีสารเคมีในเลือดจากการสุ่มตรวจ ใคร = พ่อแม่ ปัญหา = ทำอาหารรสชาติที่พ่อแม่กินทำให้เด็กติดรสชาติตามพ่อแม่

ใคร = แม่ค้า ปัญหา = ทำอาหารที่ไม่มีคุณภาพและไม่คำนึงถึงหลักโภชนาการ

ใคร =แม่ครัวในโรงเรียน ปัญหา = เลือกวัตถุดิบที่ต้นทุนต่ำไม่เน้นคุณภาพ

ใคร = คนในชุมชน ปัญหา = ไม่ตระหนักเรื่องโภชนาการ

  • เราจะทำอย่างไรให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์

    • เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองหวาดกลัวต่อการบริโภคอาหารที่ทำให้ลูกมีภาวะทุกโภชนาการ
    • เราจะทำอย่างไรให้คนในชุมชนมีความรู้และความตระหนักด้านอาหารเพิ่มมากขึ้น
    • เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีแหล่งอาหารที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น
    • เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองมีมุมมองในเรื่องการบริโภคอาหารที่ดีของตนเองและครอบครัว
    • เราจะทำอย่างไรให้แม่ค้าขายอาหารที่มีประโยชน์และต้นทุนต่ำ
    • เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่รู้จักโน้มน้าวใจให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์
    • เราจะทำอย่างไรให้มีค่านิยมบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ

    ทำอย่างไรให้อาหารสุขภาพกลายเป็น เทรนของชุมชน ไอเดียรักษ์โลก

    • ผลิตบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติในชุมชน ไอเดียที่ทำกับต่างประเทศ
    • จัดทำนิทรรศการอาหารนานาชาติจากวัตถุดิบในชุมชน ไอเดียที่ชุมชนมีส่วนร่วม
    • ให้ผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างในการรักสุขภาพ ไอเดียที่ใช้AI
    • ออกแบบตัวการ์ตูนโปรโมทอาหารสุขภาพ ไอเดียสำหรับผู้สูงอายุ
    • ดัดแปลงอาหารพื้นบ้านให้ทันสมัยตามยุค ไอเดียที่ทำให้เป็นกระแสออนไลน์
    • โปรโมทในสื่อสังคมออนไลน์ -สร้าง content บนโลกโซเชียล ไอเดียที่ทำกันเป็นปกติในการแก้ปัญหานี้
    • สร้างสูตรอาหารที่มีคุณภาพ ดึงดูดและน่าสนใจ
    • มีตรารับรองมาตรฐานผู้ประกอบการอาหารปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ
    • จัดเมนูอาหารที่มีประโยชน์
    • ปรับอาหารให้มีสีสัน หาวัตถุดิบที่เด็กชอบมาใส่ในอาหาร
    • ถามเด็กว่าอยากกินอะไรแล้วให้ผู้ปกครองใช้วัตถุดิบที่เด็กอย่างกินร่วมกับวัตถุดิบที่มีประโยชน์
    • ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ ไอเดียที่ทำได้เลยตอนนี้
    • ทำเมนูอาหารพร้อมทานที่มีประโยชน์

    ไอเดียที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

    • สร้างชุดความรู้คุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบในท้องถิ่น


      ไอเดียสนุกสนาน
    • ประกวดเมนูอาหารปลอดภัย
    • แข่งขันการทำอาหารโดยใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน ชื่อโครงการ/กิจกรรม :

วิธีการ/กระบวนการ

-

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

-

สิ่งที่ยังไม่แน่ใจ/ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม

-

วันที่ 2 ยาเสพติดในวัยรุ่น 1.ปัจจัยภายนอก - มีพ่อค้าในหมู่บ้าน - มีนโยบาย 5 เม็ดไม่ใช่ผู้ค้า - ราคาถูก 2.ปัจจัยแวดล้อม - เพื่อนชักชวน - หาซื้อได้ง่าย - ภาครัฐปล่อยปะละเลย

  1. .ปัจจัยส่วนบุคคล

- ตามเพื่อน - เด็กมีปัญหาครอบครัว - พ่อกินลูกกินตาม - ไม่เรียนหนังสือ - ไม่ทำงาน 4.พฤติกรรม - ก้าวร้าว - ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น - ขี้เกียจทำงาน - นอนทั้งวัน 5.สิ่งที่เกิดขึ้น - ฆ่าตัวตาย - เป็นภาระสังคม - ลักขโมย - จิตเวช - ชาวบ้านต้องอยู่อย่างหวาดระแวง - ขาดทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ - มีปัญหาด้านสุขภาพ ใคร =วัยรุ่น ปัญหา = ไม่เรียนหนังสือ เพราะ =เป็นช่วงคึกคะนอง


ใคร = วัยรุ่น ปัญหา = ว่างงาน เพราะ =ขาดความรู้

ใคร = วัยรุ่น ปัญหา = ไม่มีครอบครัว เพราะ =ขาดคนชักจูงไปในทางที่ดี

ใคร = พ่อแม่ผู้ปกครอง ปัญหา = - ไม่มีเวลา - ขาดจิตวิทยาในการสั่งสอนเด็ก เพราะ = - พ่อแม่ไม่มีความรู้ - พ่อแม่ไม่สั่งสอนไปในทางที่ดี - ขาดความอบอุ่น - พ่อแม่แยกทาง

ใคร = เพื่อน ปัญหา =เพื่อนชักจูงไปในทางที่ผิด เพราะ = เพื่อนติดยาอยู่แล้ว

ใคร =ชุมชน ปัญหา = - ผู้นำไม่เข้มแข็ง
- ขาดมาตรการชุมชน - ผู้นำไม่แก้ปัญหา - ผู้นำเอาแต่ผลประโยชน์ตนเอง เพราะ = ผู้นำกลัวผลกระทบกับผ็มีอิทธิพลและไม่อยากยุ่งกับเรื่องละเอียดอ่อน

  • เราจะทำอย่างไรให้ปัญหายาเสพติดหมดไปจากชุมชน
    • เราจะทำอย่างไรให้เด็กได้เรียนหนังสือ
    • เราจะทำอย่างไรให้เด็กทีภูมิคุ้มกันทางด้านความคิด
    • เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่เข้าใจเด็ก
    • เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนปลอดยาเสพติด
    • เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีมาตรการที่เข้มแข็ง
    • เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหายาเสพติด
    • เราจะทำอย่างไรให้เด็กมกิจกรรมที่มีประโยชน์
    • เราจะทำอย่างไรให้เด็กรู้พิษภัยของยาเสพติด
    • เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนเป็นเปราะป้องกันสอดส่องไม่ให้เด็กมั่วสุม
    • เราจะทำอย่างไรเราจะทำอย่างไรให้เด็กมีงานทำ
    • เราจะทำอย่างไรให้พ่อค้ามีจิตสำนึก
    • เราจะทำอย่างไรให้เข้าใจวิถีชีวิตของคนติดยา
    • เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่เปิดใจยอมรับ
    • เราจะทำอย่างไรไม่ให้พ่อแม่งมงาย
    • เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่เข้าใจถึงความสำคัญของการเรียน
    • เราจะทำอย่างไรให้วัยรุ่นกลัวตายและกลัวเป็นบ้าจากการติดยา
    • เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่ดูแลลูกให้มากกว่านี้
    • เราจะทำอย่างไรให้สายใยในครอบครัวอบอุ่น
    • เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีมาตรการเป็นเกาะกำบังที่ไม่นำยาเสพติดเข้ามาในชุมชน
    • เราจะทำอย่างไรให้ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาเห็นความสำคัญของยาเสพติด
    • เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนตระหนักร่วมกันว่าถ้ามีคนติดยาเยอะวิถีชีวิตตัวเองก็จะไม่ปลอดภัย
      ทำอย่างไรให้วัยรุ่นใช้เวลาว่างทำอาชีพเสริม ไอเดียสำหรับผู้หญิง
    • จัดกิจกรรม TO BE  Number 1 Idol
      ไอเดียจากเกม
    • จัดแข่งขันเล่นเกมฟีไฟล์
      ไอเดียที่ไม่ใช้งบประมาณ
    • นำวัสดุที่มีในชุมชนมาแปรรูปเพื่อส่งเสริมในอาชีพ ไอเดียการสร้าง Story telling
    • จัดกิจกรรมสร้าง Story โปรโมทชุมชน ไอเดียจากผู้ประกอบการภาคเอกชน
    • หารูปแบบสินค้าที่เป็นที่นิยม
    • ส่งเสริมอาชีพที่น่าสนใจ
    • เยาวชนผลิตสินค้าส่งร้านสะดวกซื้อ

ไอเดียจากกระแสออนไลน์ - ฝึกประสบการณ์ขายสินค้าออนไลน์

ไอเดียสนุกสนาน - จัดแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด - หากิจกรรมเป้าหมายในชีวิต - จัดประกวดนวัตกรรมที่สามารถขายได้

ไอเดียที่ทำกันเป็นปกติในการแก้ปัญหานี้ - อบรมให้ความรู้ ปรับทัศนคติ ไอเดียที่ชุมชนมีส่วนร่วม - กำจัดแหล่งมั่วสุม - หาแบบอย่างที่น่าเชื่อถือ - ชุมชนต้องสอดส่องดูแล - ให้บุคคลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในชุมชนมาแชร์ประสบการณ์ให้ฟัง

ชื่อโครงการ/กิจกรรม :

วิธีการ/กระบวนการ

-

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

-

สิ่งที่ยังไม่แน่ใจ/ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม

-

ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบลสุคิริน อำเภอ สุคิริน จ.นราธิวาส ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n = 377) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 200 53.1 หญิง 176 46.7 ไม่ระบุเพศ 1 0.3 อายุ (ปี) (mean+SD) 53.78±13.05 ระดับการศึกษา ไม่ได้ศึกษา 39 10.3 ประถมศึกษา 203 53.8 มัธยมศึกษา/ปวช. 103 27.3 อนุปริญญา/ปวส. 9 2.4 ปริญญาตรี 18 4.8 สูงกว่าปริญญาตรี 1 0.3 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 137 36.3 5001 – 10000 บาท 116 30.8 10001 – 15000 บาท 72 19.1 15001 – 20000 บาท 25 6.6 20001 – 25000 บาท 9 2.4 25001 – 30000 บาท 10 2.7 มากกว่า 30000 บาท 5 1.3 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) (mean+SD)
อาชีพ รับจ้าง 88 23.3 รับราชการ 11 2.9 เกษตรกรรม 133 61.9 ประมง 2 0.5 ธุรกิจส่วนตัว 7 1.9 อื่น ๆ 35 9.3 วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n =361 ) รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ ผลิตอาหารเอง เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง 1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ14.1……. 2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 4.5...... 3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 4.5.... ทำไม่ไหว,ไม่มีเวลา,อุทกภัย รูปแบบการเกษตร 1. แบบอินทรีย์ ร้อยละ 3.7...... 2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 23.6... 3.แบบอื่น ๆ ร้อยละ 42.2....... - การเพาะปลูก 260(69.0)
- ปศุสัตว์ 24(6.4)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 15(4.0)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม -
ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- พอเพียง 208(55.2)
- ไม่พอ 55(14.6)
หาจากธรรมชาติ 150(39.8) หาจากแหล่ง คลอง ป่า เขา


  สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา (n = ) เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง (3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) 1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 48.5 40.1 7.4 2.7 2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 49.9 39.5 9.8 0.3 3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 53.1 25.2 18.3 2.9 4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 79.8 19.4 2.1 1.1 5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 76.9 19.4 2.1 1.1 6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 82.5 14.3 1.6 1.3 7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 66.6 28.5 3.7 0.8 8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 85.7 9.8 3.2 0.8 9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 69.0 25.2 2.9 2.1 10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 21.5 35.8 33.4 8.8

ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ มีการเตรียมการ 230 61.0 ไม่มีการเตรียมการ 119 31.6

ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 358 95 2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 301 79.8 3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 354 93.9 ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 370 98.12 5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 348 92.3 6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 311 82.5 7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 333 88.3 ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 367 97.3 9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 372 98.7 10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 365 96.8 11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 371 98.4 12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 335 88.9 ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 261 69.2 14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 226 59.9 15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 145 38.5 16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 212 56.2

ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n = ) องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวางแผนและจัดการ 3 2.69 0.63 การเลือกอาหาร 4 3.61 0.80 การเตรียมอาหาร 5 4.80 0.61 การรับประทานอาหาร 4 2.24 1.07 คะแนนรวม 16 13.35 1.27

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปกิจกรรมประชุมตำบลสุคิริน วันที่ 6 มิถุนายน 2567
สถานที่ อบต.สุคิริน เนื่องจากทางตำบลสุคิรินได้เห็นความสำคัญของโภชนาการด้านอาหารของเด็กที่ยังไม่ครบ5หมู่และหาวิธีการให้เด็กกินผักให้มากขึ้น  จึงคิดทำโครงการดังนี้ โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน รพ.สต.สว.นอก กรมปกครอง โรงเรียนบ้านจุฬาภรณ์ โรงเรียนพัฒนา7 ศพด.สุคิริน สอบต. อสม. ผู้ใหญ่บ้าน อบต.สุคิริน มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน • ส่งเสริมให้แม่ค้าผลิตอาหารที่มีประโยชน์มาจำหน่ายในตลาดชุมชน • นำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาดัดแปลงเป็นเมนูอาหารที่แปลกใหม่น่าสนใจ • อบต.จัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษของตำบลสุคิริน • รณรงค์ให้มีการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวในสพด • จัดกิจกรรมส่งเสริมการเพาะปลูกผักเพื่อออกแบบอาหารให้กับเด็ก • ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อสุขภาพ • คัดกรองเด็ก 0-5 ปีที่มีภาวะเตี้ยและทุกโภชนาการ • ส่งเสริมโปรตีนธาตุเหล็กและแคลเซียมในเด็ก • ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ดีอาหารที่มีประโยชน์แก่คนในชุมชน • ร่วมกันประกอบอาหารสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน • รณรงค์ปลูกผักใช้สมุนไพรไล่แมลงและปลูกผักกางมุ้งและให้ความรู้ในชุมชนและโรงเรียน • จัดตลาดปลอดสารพิษในชุมชน • ส่งเสริมการปลูกพืชรั้วกินได้ • ประชุมผู้ปกครองให้ความรู้เรื่องอาหารที่มีประโยชน์และพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็ก • จัดสาธิตการทำอาหารดีมีประโยชน์ • ส่งเสริมให้ร้านอาหารหันมาสนใจในโภชนาการอาหารและความปลอดภัยของอาหาร • ส่งเสริมการสร้างแหล่งอาหารเพื่อความยั่งยืนในชุมชน การระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็ก • โครงการอาหารดีมีประโยชน์นำสู่สุขภาพที่ดี • โครงการการเกษตรเพื่อโภชนาการที่ดีในเด็กเล็ก • โครงการผักไร้สารชีวิตยั่งยืน • โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็ก 0-5 ปี • โครงการเด็กสุคิรินกินดีมีพัฒนาการสมวัยด้วยระบบห่วงโซ่อาหารและโภชนาการ • โครงการเกษตรในครัวเรือนปลอดภัยไร้สารพิษ • โครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษเพื่อคนสุคิริน • โครงการแบ่งปันอาหารเด็กสุครินทร์ในพื้นที่ยากไร้ • โครงการอาหารยั่งยืนเพื่อชุมชนสุขภาพดี • โครงการปลูกผักริมรั้วปลอดสารพิษเพื่อชุมชนตำบลสุรินทร์ • โครงการอาหารดีมีประโยชน์นำสู่สุขภาพที่แข็งแรง • โครงการวัยใสสมวัยสุขภาพดีสมส่วนด้วยอาหารครบ 5 หมู่ • โครงการปลูกต้นขี้เหล็กตะไคร้ลดรายจ่ายเพื่อสุขภาพ • โครงการพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็กเล็ก • โครงการตลาดดีมีสุขสร้างโภชนาการที่ดีเพื่อชาวสุคิริน • โครงการโภชนาการอาหารพืชผักปลอดสารพิษ • โครงการผักปลอดสารที่ดีเพื่อชีวิตของเด็กๆในโรงเรียน • โครงการกินเป็นสุขภาพดีชีวีมีสุข

กลุ่มเป้าหมาย • ผู้ประกอบการร้านค้า • ผู้ปกครองเด็ก • ประชาชนทั่วไปในชุมชน • โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก • แม่ค้าในตลาด • เด็ก 0 ถึง 5 ปี

ข้อคิดที่ได้จากการชมการจัดการระบบอาหารกลางวันของโรงเรียนประเทศญี่ปุ่น • ได้ความรู้เรื่องการพัฒนาทักษะในการช่วยตนเองของเด็ก • เด็กได้รับโภชนาการที่ดีครบ 5 หมู่จากการจัดการ • รูปแบบแนวทางการดูแลเด็กให้ได้รับอาหารและโภชนาการที่ดีสามารถนำมาปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม • ได้แนวคิดใหม่มาปรับใช้ในพื้นที่ให้เด็กได้รู้จักปลูกจิตสำนึกและได้รับอาหารที่มีประโยชน์ • ได้ความรู้การถนอมอาหารการเก็บรักษาอาหารให้อยู่ได้นาน • ได้เรียนรู้ถึงการปลูกฝังเด็กในเรื่องความสำคัญของอาหารความมีระเบียบวินัยในการใส่ใจในการจัดการขยะ • ได้เห็นถึงความสำคัญของการเลือกรับประทานอาหารมากขึ้น • ได้เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนให้เด็กเลือกรับประทานอาหารเพื่อโภชนาการที่ดีและสมบูรณ์ • ได้เห็นถึงการปลูกฝังระเบียบวินัยในเด็กและเด็กได้ปฏิบัติได้อย่างดีเยี่ยม • เป็นแนวทางในการจัดการอาหารกลางวันให้เด็กครบ 5 หมู่ • เด็กได้รับอาหารที่ครบถ้วนด้านโภชนาการ • ได้รับความรู้เรื่องการบริโภคอาหารและรับประทานอาหารได้อย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ • ได้เห็นถึงความมีระเบียบวินัย • ได้เห็นถึงความรับผิดชอบของเด็กเกี่ยวกับอาหาร • เห็นถึงความใส่ใจเรื่องโภชนาการควบคู่ไปกับการเรียนการสอนในโรงเรียน ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้ • ได้รับรู้ถึงผลการวิจัยของข้อมูลในพื้นที่สุรินทร์ในการบริโภคอาหารและการเจริญเติบโตของเด็ก • ได้ความรู้เรื่องอาหารที่ถูกสุขลักษณะ • ได้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น • ได้แลกเปลี่ยนระดมความคิดเรียนรู้การพัฒนาสุขภาพเด็กในพื้นที่สุคิริน • ได้รู้ประโยชน์คุณค่าทางอาหารของแต่ละประเภทเช่นเนื้อสัตว์ไข่ไก่ประโยชน์ของโปรตีนว่าจำเป็นกับเด็กมากน้อยเพียงใด • ได้เรียนรู้ถึงบริบทในชุมชนความสำคัญของอาหารหลัก 5 หมู่ • ได้นำความรู้ไปปรับใช้ในครัวเรือนและหมู่บ้าน • ได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและโภชนาการ • ได้รับรู้ถึงการบริโภคอาหารที่ครบถ้วนว่ามีผลต่อโครงสร้างร่างกายและสมองของเด็กเพียงใด • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาหารดีมีประโยชน์และบริบทในชุมชน • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับในชุมชนและครอบครัว • ได้รับความรู้เรื่องปัญหาการบริโภคของคนในชุมชน • ได้รับรู้ถึงข้อมูลในชุมชนตำบลสุคิรินเรื่องโภชนาการและข้อมูลด้านต่างๆในชุมชน • ได้นำความรู้ที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลและจะดำเนินการในพื้นที่ในลำดับต่อไป