การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี
-
1717119117087.jpg
-
IMG_20240530_114946.jpg
-
IMG_20240530_100513.jpg
-
IMG_20240530_092822.jpg
-
IMG_20240530_091654.jpg
-
IMG_20240530_091033.jpg
-
IMG_20240530_091643.jpg
-
IMG_20240530_091654.jpg
-
IMG_20240530_090844.jpg
ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบล นาเกตุ อำเภอ โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n= 282)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 58 20.6
หญิง 224 79.4
อายุ (ปี) (mean+SD) 49.6 + 15.2
ระดับการศึกษา
ไม่ได้ศึกษา 32 11.5
ประถมศึกษา 119 42.8
มัธยมศึกษา/ปวช. 83 29.9
อนุปริญญา/ปวส. 19 6.8
ปริญญาตรี 23 8.3
สูงกว่าปริญญาตรี 2 0.7
รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน (บาท)
น้อยกว่า 5000 138 49.1
5001 – 10000 86 30.6
10001 – 15000 16 5.7
15001 – 20000 22 7.8
20001 – 25000 9 3.2
25001 – 30000 6 2.1
มากกว่า 30000 4 1.4
จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) (mean+SD) 4.6 + 2.0
อาชีพ
รับจ้าง 128 45.7
รับราชการ 5 1.8
เกษตรกรรม 42 15.0
ประมง 0 0.0
ธุรกิจส่วนตัว 22 7.9
อื่น ๆ 54 19.3
ประกอบอาชีพ มากกว่า 1 อาชีพ 29 10.4
วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n = 272)
รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ
ผลิตอาหารเอง 103 (37.9) เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง
1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 79.6
2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 28.3
3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 3.9
รูปแบบการเกษตร
1. แบบอินทรีย์ ร้อยละ 46.8
2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 9.1
3.แบบอื่น ๆ ร้อยละ 44.2
- การเพาะปลูก 50 (97.5)
- ปศุสัตว์ 24 (22.9)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 1 (1.0)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 0 (0.0)
ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- ไม่พอ 24 (18.9)
- พอเพียง 103 (81.1)
หาจากธรรมชาติ 78 (37.3) หาจากแหล่ง ….
สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา
เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง
(3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) เฉลี่ยคะแนน
(mean+SD)
1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 39.4 40.1 17.9 2.6 1.8+0.8
2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 53.5 29.1 14.5 2.9 1.7+0.8
3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 55.4 27.5 14.9 2.2 1.6+0.8
4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 77.1 15.3 6.2 1.5 1.3+0.7
5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 71.7 18.5 8.0 1.8 1.4+0.7
6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 83.7 9.8 6.2 0.4 1.2+0.6
7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 62.2 23.3 14.2 0.4 1.5+0.7
8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 78.2 14.5 5.5 1.8 1.3+0.7
9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 74.5 18.2 5.8 1.5 1.3+0.7
10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 37.3 32.2 15.6 14.9 2.9+1.1
ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา (n= 255)
การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ
ไม่มีการเตรียมการ 103 40.4
มีการเตรียมการ 152 59.6
ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น
ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ
ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 234 85.1
2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 231 84.0
3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 260 94.5
ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 270 98.2
5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 244 89.1
6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 184 67.4
7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 217 79.2
ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 264 96.4
9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 267 97.4
10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 270 98.2
11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 247 89.8
12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 182 66.7
ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 107 38.9
14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 135 49.3
15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 118 43.1
16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 225 81.8
ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n = 267)
องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวางแผนและจัดการ 3 2.6 0.7
การเลือกอาหาร 4 3.3 1.0
การเตรียมอาหาร 5 4.5 0.7
การรับประทานอาหาร 4 2.1 0.9
คะแนนรวม 16 12.6 2.2
ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =26)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
หญิง 26 100
อายุ (ปี) (mean + SD) 48.5+9.5
ศาสนา
อิสลาม 24 92.3
พุทธ 2 7.7
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา 14 58.3
มัธยมศึกษา/ปวช. 9 37.5
ปริญญาตรี 1 4.2
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 10 38.5
5001 – 10000 บาท 12 46.2
10001 – 15000 บาท 3 11.5
15001 – 20000 บาท 1 3.8
ลักษณะสถานบริการอาหาร
โรงอาหารในโรงเรียน 7 29.2
โรงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 4.2
ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 9 37.5
แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผงร้านค้า) 2 8.3
แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 4 16.7
อื่น ๆ 1 4.2
บทบาทในการประกอบอาหาร
ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 14 56.0
แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 23 92.0
ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 11 44.0
ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 11.3+10.2
การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง
ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร
แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ
ตลาด 20 76.9
ร้านค้าในชุมชน 19 73.1
รถเร่/รถพุ่มพวง 3 11.5
ผู้ผลิต (เกษตรกร) 1 3.8
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร
ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ
ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร
1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 0 11.5 88.5
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 42.3 30.8 26.9
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 50.0 30.8 19.2
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 7.7 23.1 69.2
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 3.8 15.4 80.8
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 3.8 19.2 76.9
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 4.2 4.2 91.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 3.8 96.2
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 3.8 11.5 84.6
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 7.7 92.3
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 11.5 88.5
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 3.8 96.2
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร)
13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 3.8 3.8 92.3
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 7.7 92.3
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 11.5 88.5
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 46.2 0 53.8
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 42.3 11.5 46.2
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 57.7 7.7 34.6
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 7.7 7.7 84.6
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 3.8 96.2
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 0 19.2 80.8
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 19.2 7.7 73.1
การขนส่ง
23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 69.2 0 30.8
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 0 0 100
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 88.5 0 11.5
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 7.7 3.8 88.5
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 81.6 3.8 11.5
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 0 3.8 96.2
ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 17.4 2.5
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.5 0.9
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 25.9 3.7
การขนส่ง 18 16.7 2.1
รวมทั้งหมด 84 74.3 6.7
สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ
ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก รอบที่ 1 วันที่ 22-23 เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี รพ.สต. ……นาเกตุ...… อำเภอ……....…โคกโพธิ์……....…จังหวัด………………ปัตตานี…………….
ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ
เครื่องมือ 1:
Systems Map
เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2:
Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ
วันที่ 1 การเติบของประชากรและการย้ายถิ่น
- มีการไปทำงาน กทม.,มาเลย์ ให้ลูกอยู่กับย่ายาย=10%
ความเป็นเมือง
- ถนนสายหลักมีรถใหญ่ผ่านเยอะ ทำให้มีร้านค้าเพิ่มมากขึ้น
บริบททางสังคม-วัฒนธรรม
- พหุวัฒนธรรม
- 50:50 กลมเกลียว สามัคคี
- เดือน 10 ไทยพุทธ แบ่งปันอาหารให้มุสลิม ขนมเดือน 10
- ตุป้ะ/ตาแป จากมุสลิมแบ่งปันไทยพุทธ
นโยบาล มาตรการ กฎหมาย - อบต. ส่งเสริม (เลี้ยงไก่ไข่,ผัก Hydro)
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบ 1.ห่วงโซ่อุปทานอาหาร - ดิน+น้ำ เหมาะสมปลูกข้าว ผัก - อยู่ใกล้เมือง - อยู่ใกล้สะพานปลา(จ. เมือง)เข้าถึงแหล่งง่าย - คมนาคมสะดวกในการขนส่ง ปัจจัยแวดล้อม - ตลาดมะกรูด (ทุกวัน) - สะพานปลาปัตตานี (ทุกวัน) - ราคาอาหารไม่แพง - มีตลาดในชุมชน 1 สัปดาห์ มี 5 วัน - ร้านค้าขายของชำ - ร้านค้าขายผัก - ร้านขายอาหาร - ตลาดนัดในชุมชน - ตลาด สว. - ปลาสลิดแดดเดียว (กลุ่มเกษตรกร) - ผลิตอาหารในพื้นที่ - กลุ่มปลูกผัก
ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/รร./ศพด. - มีร้านค้าใกล้บ้าน - มีร้านค้าแผงลอยขายเช้าๆ - มีร้านสะดวกซื้อในชุมชน - ทำเองที่บ้าน ไม่อยากซื้อร้าน (ใส่ผงชูรส/ได้คุณค่าน้อย) - ร้อยละ 49% มีรายได้น้อย < 5000/เดือน (จากแบบสอบถาม) - มีทำนาปีปลูกข้าวพันเมือง (บริจาค ศพด.) - มีรายได้ปานกลาง - เวลา เน้นความสะดวก - 10% อยู่กับย่า ยาย พ่อแม่ไปทำงานที่มาเลย์ กทม. - คนที่อยู่กับปู่ย่าตายาย ไม่ได้กินตามมื้อ - กรีดยางเป็นหลัก รับจ้างทั่วไป (45%) + รับจ้างกรีดยาง - พ่อแม่ซื้อ ลูกกินตาม (ชาเย็น,น้ำหวาน) - กินไม่ครบ 5 หมู่ - อยากกินแค่บางอย่าง - ผู้ปกครองแค่ให้เด็กกินอิ่ม โดยไม่นึกถึงประโยชน์ของอาหาร
พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว - ความเชื่อของพ่อแม่ เรื่องพันธุกรรม - ทำตามแผนงานใน 1 เดือน - ครู ศพด. ใส่ใจในเรื่องโภชนาการ - มีอาหารเช้า-เที่ยง มีผลไม้
อาหารที่รับประทาน - มื้อเช้า 1.)ข้าวต้ม/โจ๊ก 2.)โรตี 3.)ข้าวเหนียวไก่ทอด 4.)ไข่ต้ม 5.)นม 6.)ข้าวผัดไข่ 7.)ข้าวมันไก่ 8.)ข้าวหมก 9.)ข้าวเหนียวปิ้ง
-มื้อกลางวัน
1.)ใช้โปรแกรมหมุนเวียนอาหารใน 1 เดือน ไม่ซ้ำหลากหลาย
2.)ต้มจืด
3.)ก๋วยเตี๋ยว
4.)ไข่เจียว
5.)ขนมหวาน
6.)พะโล้
7.)ผลไม้ (ตามฤดูกาล)
8.)นมเปรี้ยว
9.)ขนมขบเคี้ยว
10.)ขนมไข่
-มื้อเย็น
1.)ข้าวไข่เจียว
2.)ข้าวปลาทอด
3.)ข้าวไข่ดาวทรงเครื่อง
-มื้ออาหารว่าง
1.)ลูกชื้นทอด
2.)ขนมกรุบกรอบ (เลย์,เทสโต)
3.)น้ำอัดลม/น้ำหวาน
4.)ลูกอม
5.)ยำไก่แซ่บ
6.)ยำมาม่า
7.)ชาเย็น
8.)ขนมยุโร่
9.)คุกกี้
10.)ไก่ชุบแป้งทอด
11.)ไส้กรอก,ลูกชิ้น
- ปัญหา = เด็ก / คนสร้างปัญหา = พ่อแม่ / เหตุผล = พ่อแม่ทำงานจนไม่มีเวลาและไม่ได้ใส่ใจในเรื่องอาหารที่มีคุณค่าให้กับลูก
- พ่อแม่ไม่มีเวลาในการเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ให้ลูกทาน
- พ่อแม่ไม่มีเวลา เด็กไม่ได้กินครบ 5 หมู่
- พ่อแม่ทำอาหารตามใจเด็ก
- พ่อแม่รีบทำงาน
- ผู้ดูแล(ไม่ใช่พ่อแม่) ตามใจเด็กมากเกินไป กินอะไรก็ได้ให้อิ่มโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของอาหาร
- ตามใจจากคนรอบๆข้าง
- พ่อแม่ไม่มีเวลาในการเตรียมอาหารให้ลูก เนื่องจากต้องรีบไปทำงาน ทำให้ลูกได้อาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่
- เด็กกินอาหารไม่ครบ
- เด็ก 0-5 ปี เด็กไม่ยอมกินอาหาร
- อาหารไม่ถูกปาก/ชอบกินขนมจุกจิก
- เด็กเลือกกินเฉพาะที่ตัวเองชอบ
- เนื่องจากเด็กสมัยนี้จะกินอาหารขยะมากกว่าอาหารที่มีประโยขน์ เช่น KFC เบอร์เกอร์ ฯลฯ
- เด็กชอบดูยูทูเบอร์การรีวิวอาหาร
- ให้พ่อแม่มีเวลาในการเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ให้ลูกทาน
- ให้เด็กไม่เลือกกินหรือเลือกกินเฉพาะที่ชอบ
- จะให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับเวลาลูกมากขึ้น
- ให้ผู้ปกครองทำอาหารให้เด็กๆได้ทานเองที่บ้าน
- ให้เด็กเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์
- ให้พ่อแม่รักในการเตรียมอาหาร
- ให้เด็กชอบอาหารที่พ่อแม่เตรียมให้
- ให้การทำอาหารให้ลูกสนุก
- ให้การทำอาหารประหยัดเวลา
- พ่อแม่ให้เวลาลูกในวันหยุด เช่น ทำกิจกรรมถายในครอบครัว (รดน้ำต้นไม้,ปลูกต้นไม้,ทำอาหารรวมกัน)
- พ่อแม่ไม่ซื้อขนมขบเคี้ยวให้ลูกกิน
- ให้เด็กได้รับสารอาหารให้ครบ
- ให้พ่อแม่ขยันในการทำอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกกิน
- จะทำยังไงยูทูบเบอร์รีวิวอาหารที่มีประโยชน์สำหรับเด็ก
- ทำอย่างไรให้เด็กๆที่ชอบกินอาหารขยะแล้วได้รับอาหารที่ครบ 5 หมู่
- ทำอย่างไรให้พ่อมีส่วนร่วมในการทำอาหารร่วมกับแม่และลูกๆ
- สินค้าใหม่,สดทุกวัน
- ทำคลิปรีวิวอาหารสำหรับเด็กลงโซเซียล
- มีรางวัลล่อใจจากการเล่นเกมส์กินอาหาร
- สอนผู้ปกครองทำอาหาร
- ชวนเด็กมาทำอาหาร
- ให้ผู้ปกครองนำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาสาธิตการแปรรูปทำอาหาร
- มีตลาด สว.
- เดลิเวอรี่จากตลาด สว.
- จัดเวทีประชาคมสะท้อนปัญหา
- มีโปรแกรมคิดเมนูอาหารให้เด็ก
วันที่ 2 ยาเสพติด - ยาบ้า
- กัญชา
- น้ำท่อม
- บุหรี่
- ยาไอผสมน้ำท่อม
- บุหรี่ไฟฟ้า
- โซแล่ม
1.ปัจจัยส่วนบุคคล - อยากรู้อยากลอง - ความชอบ - ตำเอง ต้มเอง กินเอง - เจอปัญหาในชีวิต เลยหันไปพึ่งยาเสพติด - ความเชื่อแก้โรค (ไอ) - เป็นยาชูกำลัง - เชื่อว่ากินแล้วแก้ปวด ทำงานได้ทนได้นาน - เห็นว่าเป็นเรื่องปกติใครๆก็กิน ใครๆก็สูบ
2.ปัจจัยแวดล้อม - ไม่ทำงาน/ตกงาน - ง่ายต่อการหาซื้อ - มีการขายน้ำกระท่อมแบบสำเร็จพร้อมทาน - มีพ่อค้ารายใหญ่ในหมู่บ้าน - บ้านไหนที่ไม่มีคนแก่ มักจะมารวมตัวกันกิน - ราคาถูก - ปัญหาครอบครัว - เข้าถึงง่าย มีต้นปลูก - ครอบครัวยากจน/ไม่เรียนหนังสือ
3.ปัจจัยภายนอก - เพื่อน - ผู้นำชุมชนไม่แข็งแรง - ครอบครัว - กฎหมายเปิดโอกาศ - ผู้ปกครองไม่เชื่อว่าลูกตัวเองติดยา เพราะลูกบอกว่าตัวเองไม่ได้เล่น
4.ผลกระทบ
- ลักขโมย
- ส่งผลกระทบด้านจิตใจ
- ทำร้ายข้าวของภายในบ้าน
- มีคนติดยาเป็นโรคจิตเวช
- ชิงทรัพย์
- ทำร้ายร่างกาย
- ทำร้ายร่างกายบุคคลใกล้ตัว (พ่อแม่)
- ขาดสติ
- จนลงๆ
- คนในครอบครัวไม่มีความสุข
- พูดจาหยาบคาย
- ก้าวร้าวกับพ่อแม่และคนรอบข้าง
ใคร = วัยรุ่นชายอายุ 15-30 ปี + ทำอะไร = ติดยาเสพติด + ลายละเอียด = เนื่องจากเข้าถึงได้ง่ายและมีราคาถูก - ทำอย่างไรให้ชุมชนน่าอยู่ - ทำอย่างไรให้ผู้ค้ายาเสพติดไม่มีในหมู่บ้าน - ทำอย่างไรให้วัยรุ่นไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด(ใบท่อม) - ให้วัยรู้จักโทษของกระท่อม - ให้มีการส่งเสริมกิจกรรมให้วัยรุ่นห่างไกลยาเสพติด - ทำอย่างไรให้เยาวชนหันมาเล่นกีฬา - ทำอย่างไรให้วัยรุ่นชักชวนกันไปดื่มน้ำกระท่อม - เราสามารถห้ามไม่ให้มีการค้าขายน้ำกระท่อมในพื้นที่ได้ไม่ - ผู้นำศาสนาส่งเสริมการอบรมทางด้านศาสนาให้ลดการเสพยาเสพติด - ให้ผุ้ปกครองให้คำปรึกษาแก่ลูกๆในเรื่องโทษและภัยของยาเสพติด ไอเดียที่ทำกันปกติ - ไม่ต้องให้เงิน - ส่งเสริมให้ขายอย่างอื่นที่ไม่ใช้กระท่อม - กิจกรรม To be number - ห้ามคนในหมู่บ้านปลูกต้นกระท่อม - จัดอบรมให้ความรู้วัยรุ่นในชุมชน ไอเดียชุมชนมีส่วนร่วม - มัสยิดสีขาว/ชุมชนสีขาว - สร้างกลุ่ม Line เลิกน้ำกระท่อม - ติดป้านสัญลักษณ์ ไม่ซื้อ ไม่ปลูก ไม่ต้มเอง - เรื่องเล่าเร้าพลัง(ติดได้ เลิกได้ คืนความสุขให้ครอบครัว) - จ้างงานให้คนที่เลิกน้ำท่อมได้ - สร้างพื้นที่ขายจัดโซนนิ่ง - สายด่วนปรึกษาปัญหา - ส่งเสริมการจัดแข่งขันกีฬา - ไม่ซื้อ ไม่กิน ไม่ปลูก กระท่อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน - สอดส่องดูแลให้ตำรวจมาจับ - บอกถึงโทษที่มีผลต่อสุขภาพ ( เป็นมะเร็ง,โรคไต,หูรูดอุจจาระเสื่อม)
ไอเดียที่ไม่ใช่งบประมาณ - ให้คนในชุมชนตัดต้นกระท่อมทิ้ง - คนในชุมชนร่วมมือกันค้านคนขาย - เพื่อนชวนเพื่อน ( ชวนเลิกยาเสพติด)
ไอเดียที่ทำได้เลยตอนนี้ - รณรงด์ไม่ให้ปลูกต้นกระท่อมหมู่บ้าน - บ้านไหนปลูกกระท่อมไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน - ผู้นำตั้งกฎกติกาหมู่บ้านให้เด็ดขาด - พ่อแม่ให้ความสำคัญในเรื่องของยาเสพติด - ผู้นำศาสนาให้ความรู้เรื่องศาสนาในเรื่องโทษของน้ำกระท่อม - อบรมให้ผู้ขายให้เห็นถึงอันตราย
ไอเดียสนุกสนาน - ให้รางวัลกับคนที่สามารถเลิกน้ำกระท่อมได้ -บัตรสะสมแต้มเข้าร่วมกิจกรรม ไอเดียกระแสออนไลน์ - ทำคลิปเกี่ยวกับโทษของการกินน้ำกระท่อม - ทำหนังสั้น - ทำเพลง -เปิดเพลงมาร์คในหมู่บ้านทุกวัน - เปลี่ยนมาขายสมุนไพรอื่น
สรุปกิจกรรมประชุมตำบลนาเกตุ วันที่30 พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.นาเกตุ
เนื่องจากทางตำบลนาเกตุได้เห็นความสำคัญของโภชนาการด้านอาหารของเด็กที่ยังไม่ครบ5หมู่และหาวิธีการให้เด็กกินผักให้มากขึ้นจึงคิดทำโครงการดังนี้
โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน
รพ.สต.นาเกตุ
-ครูโรงเรียนบ้่นนาเกตุ
-อสม.
-บัณฑิตอาสา
-ผู้ใหญ่บ้าน
-โรงเรียนคลองช้าง
มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน
• เปิดตลาดให้เด็กๆมาทำร่วมมาทำอาหารร่วมกันขายและแลกเปลี่ยนอาหาร
• ถ่ายคลิปวีดีโอการทำอาหารกับเด็กๆ
• จัดกิจกรรมให้เด็กๆมาทำอาหารร่วมกัน
• ดัดแปลงเมนูไข่ให้มีประโยชน์และหลากหลาย
• จัดอบรมผู้ปกครองและกลุ่มเป้าหมายในเรื่องของการทำอาหารสำหรับเด็กโดยตรง
• จัดทำนิทรรศการให้ความรู้เรื่องอาหารเกี่ยวกับเด็กให้ผู้ปกครองในโรงเรียน
• สร้างเกมเสริมทักษะเกี่ยวกับอาหารครบ 5 หมู่
• จัดกิจกรรมสอนเด็กอ่านฉลากโภชนาการ
• แปรรูปอาหารให้เด็กทุกอย่างให้ง่ายต่อการกิน
• ให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการปลูกฝังการกินผักและอาหารที่มีประโยชน์
• จัดครัวจิ๋วในการทำอาหารสำหรับเด็กๆในโรงเรียน
• ส่งเสริมการออกกำลังกายในเด็กและผู้ปกครองร่วมกัน
• จัดทำลานกีฬาประจำหมู่บ้าน
• จัดกิจกรรมโภชนาการสัญจรถ่ายทอดความรู้สู่ครัวเรือน
• สาธิตอาหารลูกกับแม่
• กิจกรรมแม่ลูกจูงมือเดินตลาด
• นำเสนอเมนูอาหารที่มีประโยชน์ที่สามารถทำเองได้
• จัดกิจกรรมพ่อแม่ลูกร่วมกันทำร่วมกันกิน
• จัดการเข้าค่ายอาหารเรียนรู้เรื่องอาหารและผักปลอดสารพิษ
• ทำตลาดนัดเหรียญบาทโดยให้ผู้ปกครองกับลูกได้มีส่วนร่วมในการทำอาหารสุขภาพมาขายในตลาดของนักเรียน
• จัดกิจกรรมโภชนาการในโรงเรียน
• ให้ผู้ปกครองแบ่งเวลาให้กับลูกในการทานอาหาร
• จัดกิจกรรมปลูกฝังให้เด็กกินนม
• ดัดแปลงนมโรงเรียนให้น่ากิน
การระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการเล่นให้ชินกินให้เป็นเล่นให้สนุก • โครงการอาหารมหัศจรรย์พลังแห่งการเจริญเติบโต • โครงการปลูกผักที่ชอบ • โครงการอาหารเป็นยาวิเศษ • โครงการบูรณาการอาหารขยะสู่อาหารยุคใหม่ • โครงการสร้างสุขนิสัยการกินที่ดีเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก • โครงการอาหารเช้าเป็นยาวิเศษ • โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพเสริมสร้างคุณภาพชีวิต • โครงการตลาดเล็กๆเพื่อเด็กนาเกด • โครงการอาหารดีอยู่ดีเพื่อน้อง • โครงการบูรณาการความรู้โภชนาการเพื่อสมองอันสดใสสู่อนาคตที่ดี • โครงการอาหารอร่อยเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ • โครงการอาหารสร้างสุข • โครงการผักและผลไม้ตามฤดูกาล • โครงการตลาดเด็กยุคใหม่ • โครงการกินเป็นสุขรสชาติถูกปาก • โครงการเลือกอาหารอย่างไรให้เกิดประโยชน์ • โครงการกินเกลี้ยงกินง่ายได้ประโยชน์เพื่อสุขภาพ • โครงการอาหารอร่อยเพื่อเด็กๆในชุมชน • โครงการกิจกรรมน้องกับพี่ทำคลิปอาหารอร่อยมีประโยชน์ • โครงการจานนี้ฉันรังสรรค์อร่อยและดีต่อสุขภาพ • โครงการส่งเสริมการกินสู่เด็กพัฒนา • โครงการอาหารเพื่อน้องกินผักปรับโภชนาการ • โครงการเลือกกินอะไรเพื่อไม่ให้เกิดโรค • โครงการทำอะไรดีให้นาเกดปลอดภัยจากสารพิษจากอาหารการกิน • โครงการทำอาหารกินเองกิจกรรมไม่ซื้ออาหารถุง • โครงการเด็กนาเกดยืน 1 อาหารของหนู
ความรู้สึก /ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้ • ได้เห็นความร่วมมือในการแก้ปัญหาของชุมชน • สามารถนำไปปรับใช้กับที่บ้านและบอกต่อกับคนอื่นได้ • ได้รู้ถึงปัญหาที่พบในเด็กและภาวะเด็กเตี้ยที่พบได้ในไตรมาสนี้ • ส่งเสริมใส่ใจในโรงเรียนและผู้ปกครอง • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงเรียน • ทำให้รู้ว่าคนในพื้นที่นาเกดไม่นิยมปลูกเน้นซื้อตามความสะดวกควรเน้นสร้างที่เพาะปลูกจะได้กินผักปลอดสารพิษ • ได้รู้เรื่องโภชนาการเด็กเพิ่มขึ้น • ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา • ทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชน • ได้เรียนรู้ว่าเด็กจะเติบโตอย่างมีคุณภาพต้องเริ่มที่ผู้ปกครอง • ได้แนวทางในการปรับปรุงและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของคนในชุมชน • โภชนาการที่ดีเริ่มต้นที่พ่อแม่
สิ่งที่ได้จากการดูคลิปวีดีโอการจัดโภชนาการอาหารในประเทศญี่ปุ่น • ได้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมของเด็กในชุมชน • การเอาวัตถุดิบในชุมชนมาทำอาหารส่งเสริมให้โรงเรียนมีกิจกรรมการปลูกผักเลี้ยงสัตว์ที่ปลอดสารพิษ • สร้างอาชีพให้ชุมชน • การนำ thai school lunch มาใช้ในโรงเรียน • เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม • ความเอาใจใส่ในการเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาประกอบอาหาร • ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการของเด็ก • ได้เรียนรู้การอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง • ร่วมด้วยช่วยกันของนักเรียนที่สามารถนำมาปรับใช้ในโรงเรียน • จะนำกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในโรงเรียน • สามารถนำไปพัฒนาชุมชนให้เกิดการบูรณาการมากขึ้น • ได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆที่ได้กินของอร่อยและมีประโยชน์ • เห็นถึงการแก้ปัญหาที่ตรงจุดของโรงเรียนและชุมชนทำให้เด็กโตมาแบบมีคุณภาพ • สร้างจิตสำนึกให้เด็กมีความรับผิดชอบ • ช่วยสร้างให้เด็กมีวินัยและความรับผิดชอบมากขึ้น • เด็กใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อลดปัญหายาเสพติด