สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการทรพ.สต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์17 พฤษภาคม 2567
17
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
  • 1715734137397.jpg
  • 1715764711117.jpg
  • IMG_20240515_103308.jpg
  • IMG_20240515_105004.jpg
  • 1715764770868.jpg
  • 1715767182922.jpg
  • 1715767183986.jpg
  • 1715782601295.jpg
  • 1715782601162.jpg
  • 1715782602187.jpg
  • 1715782610388.jpg
  • 1715782615170.jpg
  • 1715767181703.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เอกสารประกอบการประชุมพัฒนาโครงการฉบับย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ

รพ.สต. ทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

วันที่ 15 พฤษภาคม 2567

ความเป็นมา สืบเนื่องเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา และสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ลงนามความร่วมมือการขับเคลื่อนต้นแบบตำบลบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการจังหวัดปัตตานี โดยใช้ศักยภาพตามภารกิจ ต้นทุนของทั้งสี่หน่วยงานเพื่อบูรณาการและหนุนเสริมการทำงานร่วมกัน สถาบันนโยบายสาธารณะฯ จึงได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา และสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ระยะเวลาตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 – 31 ตุลาคม 2567 งบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำร่องพัฒนาตำบลต้นแบบระบบอาหารในจังหวัดปัตตานีจำนวน 39 แห่ง และ ตำบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาสจำนวน 1 แห่ง สำหรับกระบวนการทำงานสถาบันนโยบายสาธารณะฯมีการพัฒนาศักยภาพทีมวิชาการ และแกนนำชุมชนตำบลละ 5 คนซึ่งประกอบไปด้วย บุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน อสม. และแกนนำที่เกี่ยวข้อง มีศักยภาพเป็นวิทยากรกลุ่ม และการใช้เครื่องมือนโยบายสาธารณะ 8 ขั้นตอน เมื่อผ่านการอบรมแล้วทีมนักวิชาการและแกนนำตำบลจะนำไปใช้ระดมความคิดเห็นกับชุมชนพัฒนาแผนงาน โครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารและโภชนาการต่อไป การดำเนินงานที่ผ่านมาสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับสถาบันวิชาการในพื้นที่ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตปัตตานี วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 38 แห่งในจังหวัดปัตตานี ได้เก็บข้อมูลเก็บข้อมูลชุมชนในด้าน 1) สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารระดับชุมชน 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและผู้ประกอบอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานสำหรับจำหน่าย 3) แบบประเมินการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน และการประเมินความรอบรู้ของคุณครูต่อการจัดการระบบอาหารกลางวันเพื่อการบริโภคอาหารอย่างมีสุขภาวะของนักเรียน ขณะนี้ได้ผลการวิเคราะห์เบื้องต้น พบข้อมูลสำคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน (กลุ่มตัวอย่าง 218 คน) 1.1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ร้อยละ 87.2 1.2 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงมัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 41.9
และประถมศึกษาร้อยละ 31.8
1.3 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน 5001 – 10000 บาท ร้อยละ 47.2 1.4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) รับจ้างร้อยละ 29.8 เกษตรกรรมร้อยละ 25.7 1.5 วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง
- ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 92.9
- ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 20.0 - ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 5.8
- ร้อยละ 99 ของการเพาะปลูกเป็นการปลูกพืชผักเพื่อการบริโภค
- รูปแบบการเกษตร แบบอินทรีย์ ร้อยละ 33.3 ,แบบปลอดภัย ร้อยละ 18.4
  และแบบอื่น ๆ ร้อยละ 48.2 1.6 สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
- ร้อยละ 36.4 ไม่เคยมีอาหารครบ 5 หมู่ ได้แก่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 2. ความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและผู้ประกอบอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานสำหรับจำหน่าย (กลุ่มตัวอย่าง 23 คน) 2.1 การใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร ปฎิบัติบางครั้ง
  ร้อยละ 39.1 ปฏิบัติประจำร้อยละ 13.0 2.2 การใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร ปฎิบัติบางครั้ง ร้อยละ 47.6
  ปฏิบัติประจำร้อยละ 4.8 2.3 การให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย
  ปฎิบัติบางครั้ง ร้อยละ 4.3 ข้อมูลที่ได้นำเข้าสู่การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนให้มีความสามารถใช้เครื่องมือแบบใหม่ 8 ขั้นตอนเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล ระหว่างวันที่ 22-25 เมษายน และ 29-30 เมษายน 2567 โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมฯ ได้แก่บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขฯ ครู และแกนนำชุมชน จำนวน 200 คน ซึ่งมาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 38 แห่งในจังหวัดปัตตานี และตำบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยมีวิทยากรจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP Thailand) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,Thailand Policy Lab นำเครื่องมือ Systems Map, Problem Statement, How might we?, Ideation – Idea flower ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมฯ สามารถมองภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ และสามารถระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการในแต่ละตำบล หลังจากนี้ทีมนักวิชาการและผู้เข้าอบรมฯจะนำไอเดียที่ได้จากการอบรมฯ กลับไประดมความคิดเห็นเพิ่มเติมจากชุมชน และร่วมกันออกแบบโครงการฉบับย่อฯต่อไป ผลการทำกิจกรรมเพื่อค้นหาไอเดียการแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ มีรายละเอียด ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ (Systems Map) 1.1 ห่วงโซ่อุปทานอาหาร - ร้อยละ 41.9 สามารถหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ - มีแหล่งที่มีประโยชนืในชุมชนแต่ไม่มีกระบวนการจัดการในการนำไปใช้ประโยชน์ - มีอ่างเก็บน้ำ 2 แหล่ง
- มีน้ำตก - มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 1051 ไร่ ทั้งตำบล - มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 355 ไร่ (พื้นที่ ม.4,5) - ชุมชนมีแหล่งบ่อปลาน้ำจืด - อาหารทะเลมาจากรถเร่ขายที่รับจากสะพายปลา - ปลูกข้าวแบบใช้สารเคมี - ครัวเรือนมีการปลูกผักกินเอง - มีการแปรรูปอาหารหลากหลาย เช่น ไข่เค็ม, ปลาส้ม) 1.2.ปัจจัยแวดล้อม - ร้อยละ 92.9 ไม่มีปัจจัยการผลิต - ร้อยละ 71.5 รายได้น้อยกว่า 10,000/เดือน - ร้อยละ 68 ครัวเรือนผลิตอาหารเอง - ร้อยละ 28 ที่ผลิตอาหารไม่เพียงพอ - หาซื้อวัตถุดิบได้ง่าย เนื่องจากมีตลาดนัดใกล้บ้าน - ราคาวัตถุดิบเข้าสามารถถึงได้ เนื่องจากร้านค้าเยอะมีการแข่งขันกัน - มีอาหารที่อยู่คู่กับชุมชน - ผัก/เครื่องปรุง รับจากร้านขายของชำที่นำเข้าจากต่างถิ่น - สื่อ/โฆษณาชวนเชื่อ 1.3.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - กังวลไม่มีอาหารกิน - ร้อยละ 43 ไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ - ร้อยละ 44 กินอาหารซ้ำๆ - ร้อยละ 53 ยังใช้น้ำมันทอดซ้ำ - การดูแลอุปกรณ์ใช้ในการประกอบอาหาร - ผู้ปกครองไม่มีความรู้เพียงพอในเรื่องอาหารที่ส่งผลต่อโภชนาการ - ความตระหนักของผู้ปกครอง เน้นตามความสะดวก - ยังปฏิบัติในด้านสุขลักษณะไม่ถูกต้อง
- ร้านค้า/ผู้ผลิต ผลิตตามความนิยมของผู้ซื้อ - ประมาณร้อยละ 40 คนในชุมชนไม่มีความมั่นคงทางอาหาร - ผู้ปกครองทำงานมาเลย์ ลูกอยู่กับยาย - ครัวเรือน มีการปลูกผักริมรั้ว เพื่อจะได้สะดวกเอามาปรุงเอง - อาหารต้องมีฮาลาล เพื่อความเหมาะสม 1.4.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว/ผู้ปกครอง - ร้อยละ 36.4 ชาวบ้านกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ - ศพด.มีวัตถุดิบ/ร้านค้าชุมชนใกล้เคียง/จ้างแม่ครัวปรุงอาหารเมนูที่กำหนดให้เด็ก - พ่อแม่ซื้ออาหารตามร้านค้าชุมชน เป็นอาหารสำเร็จรูป - พ่อแม่ปรุงอาหารเอง จากการซื้อวัตถุดิบจากรถเร่ ที่มีสารอาหารไม่ครบ - โรงเรียนมีการกำหนดเมนูอาหารแต่ละวันในรอบสัปดาห์ 1.5.อาหารที่รับประทานของนักเรียน - มื้อเช้า บางคนไม่ทาน บางคนทานเป็นข้าวต้ม/โจ๊ก โรตี ข้าวหมกไก่ ข้าวแกงราด นม - มื้อกลางวัน ก๋วยเตี๋ยว เมนูตามร.ร.กำหนด ข้าวต้ม มาม่าลวก
- มื้อเย็น พ่อแม่ ปรุงเองที่บ้านเอง อาหารปรุงสำเร็จ(แกงถุง) ข้าวต้มไข่เจียว/ไข่ดาว ข้าวเหนียวไก่ทอด ข้าวหมกไก่ - มื้ออาหารว่าง ลูกชิ้น ขนมกรุบกรอบ ลูกอม นม   2. การระบุปัญหาด้านระบบอาหารและโภชนาการ (Problem Statement เพื่อระบุประเด็นใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) 2.1. เด็ก 0-5 ปี
- ทานอาหารตามความชอบ เพราะผู้ปกครองซื้ออาหารตามความสะดวกให้ลูกทานเป็นประจำ - ไม่ได้รับประทานหารครบ 5 หมู่ เพราะเด็กไม่รับประทานอาหารครบทุกมื้อ พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ซื้อกินเอง - ภาวะโภชนาการเกิน/ทุพโภชนาการ เพราะซื้ออาหารตามความสะดวกของพ่อแม่และให้ลูกเลือกซื้อกินเอง 2.2. พ่อแม่ – ผู้ปกครอง
- ไม่มีเวลาเตรียมอาหารทำให้เด็กขาดโภชนาการ เพราะต้องรีบไปทำงานและมีร้านขายอาหารที่ซื้อง่าย - ขาดความรู้ ความตระหนักในการสรรหาและปรุงอาหาร เพราะกังวลไม่มีอาหารกินและไม่สามารถหาอาหารครบ 5 หมู่ได้ - ไม่ได้เตรียมอาหารให้ลูก เพราะไม่มีเวลาเจอกัน¬ ขาดวัตถุดิบในการเตรียมอาหารและรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 2.3. ครู
- แหล่งที่มาของวัตถุดิบในการผลิตอาหารรายละเอียด เพราะซื้อวัตถุดิบและเครื่องปรุงจากร้านชำ
2.4. โรงเรียน (แม่ครัว) - ได้รับอาหารไม่ครบตามกำหนดของเด็ก เพราะการทำอาหารไม่ตรงกับเมนู เพราะไม่เข้าใจสูตรอาหารสำหรับเด็กอย่างแท้จริง - รสชาติอาหารที่ไม่เหมาะกับเด็ก เพราะปรุงรสชาติไม่คำนึงถึงเด็ก 2.5. ร้านค้าในชุมชน
- อาหารที่จำหน่ายไม่ครบ 5 หมู่ คุณภาพอาหาร เพราะแหล่งที่มาของวัตถุดิบและความสะอาดของแม่ ครัว 3. การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา(How might we? ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ) 3.1. กลุ่มเด็ก - เราจะทำยังไงให้เด็กทานอาหารครบ 3 มื้อ - เราจะทำยังไงให้เด็กสามารถซื้ออาหารเองได้โดยที่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ - เราจะทำยังไงให้เด็กได้รับประทานที่มีคุณภาพ ครบ 5 หมู่ 3.2. กลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็ก - เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ผู้ปกครองหันมาสนใจเรื่องโภชนาการให้กับเด็ก - เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเตรียมอาหารที่มีคุณภาพให้เด็ก - จะทำอย่างไรให้พ่อแม่สามารถบริหารเวลาในการเตรียมอาหารให้ลูก - เราจะทำยังไรให้พ่อแม่ มีปกครองมีความรู้และเวลาในการเตรียมอาหาร - เราจะทำยังไง ผู้ปกครองมีเวลาเพียงพอและอยู่กับช่วงเวลาที่สำคัญ - จะถ้ายังไงให้แม่หรือเด็ก เลือกอาหารที่มีความเหมาะสมและรสชาติที่เหมาะสมกับช่วงวัย - เราจะทำยังไงให้ผู้ปกครองประกอบอาหารได้ถูกต้องสะอาดครบ 5 หมู่ และน่ารับประทาน - จะทำอย่างไรให้วัตถุดิบในการเตรียมอาหารเพียงพอในครัวเรือน - จะทำยังไง ผู้ปกครองมีเงินเพียงพอต่อการประกอบอาหารแต่ละมื้อ - จะทำยังไงให้พ่อแม่สามารถใช้นวัตกรรมการสร้างสรรอาหารมีความน่ากินและรวมทำกับทำอาหารพร้อมๆกัน - จะทำยังไงให้พ่อแม่ให้ความสำคัญอาหารมื้อเช้าต่อลูก 3.3. ชุมชน - เราจะทำยังไงให้ชุมชนมีอาหารที่มีอาหารทีมีคุณภาพโดยที่เด็กและผู้ปกครองไม่ต้องมีความรู้ - จะทำยังไงให้ ตลาดนัดมีซองกินอร่อย ถูกสุขลักษณะและมีโภชนาการ - เราจะทำยังไงให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตอาหารที่ดีคุณภาพ ถูกหลักโภชนาการ - เราจะทำยังไงให้เทคโนโลยีมีผลต่อโภชนาการเด็ก 4. การระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ (Ideation – Idea flower) เลือกปัญหา
- เราจะทำยังไงให้นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาประกอบอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ - เราจะทำยังไงให้นำความนำความเชื่อและวิถีชีวิตของคนในชุมชนมาเปลี่ยนแปลงความเชื่อในการกินอาหารที่ถูกต้อง 4.1. ไอเดียทำได้เลย การทำปลาดดุกร้า,ปลาส้มน้ำจืด 4.2. ไอเดียไม่ใช้งบประมาณ
- ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกผักที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร - คิดเมนูโดยใช้วัตถุดิบในครัวเรือนแต่ละบ้านตอบโดยตอบโจทย์โภชนาการ - ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ประกอบอาหาร 4.3. ไอเดียปกติทั่วไป - เรื่องหลักสูตรอาหารในยูทูป - จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับโภชนาการ - คืนข้อมูลโภชนาการเด็กในชุมชนให้ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนทราบ 4.4. ไอเดียผู้สูงอายุ - หาวัตถุดิบริมรั่วและทำเมนูที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ - กำหนดวันให้ผู้อายุเข้าครัวเพื่อเด็กๆ(เป็นกิจกรรมครอบครับ)
4.5. ไอเดียสำหรับเด็ก - ชวนน้องทำอาหารพร้อมกัน - จัดมนูอาหารที่ดูน่ากินสำหรับเด็ก - จัดอาหารตามตัวการ์ตูนที่เด้กชอบ 4.6. ไอเดีย AI - ใช้ AI ประมวล BMT และโภชนาการ - ใช้ AI ช่วยตอบอาหารนี้มีประโยชน์ 4.7. ไอเดียอุตสาหกรรม - ใช้ระบบสะสมแต้ม ลูกใครกินอาหารครบ 5 หมู่จะได้แต้ม - นำอาหารที่เข้าถึงง่ายในชุมชนมาถนอมอาหาร 4.8. ไอเดียกระแสออนไลน์ - แม่ตัวอย่างในการทำเมนูอาหารให้ลูกที่ส่งผลต่อโภชนาการที่ดี – ทำประเพณีชุมชนลาซังลง tiktok - เอาคนดังในชุมชนมาปรุงอาหารลงโซเซียล 4.9. ไอเดียที่มี Story - เล่านิทาน /เพลง ที่นำวัตถุดิบในชุมชนมาทำเป็นเมนูอาหารและข้อดีในการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ - เล่าที่มาของอาหาร เช่นสินค้า OTOP ไก่กอและ ให้ผู้ใหญ่เล่าที่มาโดยสอดแทรกโภชนาการ 4.10. ไอเดียชุมชนมีส่วนร่วม - ปิ่นโตสุขภาพ - ทำอาหารแลกเปลี่ยนระหว่างบ้าน 4.11. ไอเดียจากเกมส์ - เกมณ์ที่เด็กชอบเปลี่ยนแปลงเป็นอาหาร - สร้างเกมส์ให้เด็กลองปรุงอาหารเอง โดยใส่วัตถุดิบ





1. การวิเคราะห์ภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ (Systems Map) ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ 1.1.สิ่งที่เกิดขึ้น - คลอดที่บ้านจากความเชื่อ - ไม่พึ่งพอใจในระบบบริการ - ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ - ขาดการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ - ขาดความรู้ความเข้าใจในการรับประทาน - อายุของการตั้งครรภ์มาก 1.2 ปัจจัยส่วนบุคคล - ยากจน - ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง - รับประทานอาหารที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพครรภ์ - ไม่กินยาเสริมธาตุเหล็ก 1.3.ปัจจัยแวดล้อม - การเข้าถึงบริการของ รพ.สต. เพราะกลัวและอาย - ไม่รู้ว่าควรฝากครรภ์ เวลาไหน - การประชาสัมพันธ์กระจ่ายความรู้ให้กับชุมชน - คนในชุมชนยังมีความเชื่อเรื่องการคลอดกับโตะปีแด/ทำให้ไม่ได้ฝากครรภ์ในสถานบริการ - ระบบการให้บริการรอนาน 1.4.ปัจจัยภายนอก/ระดับครัวเรือน - ขาดความรู้/ความเข้าใจ/ความตระหนักในการกินอาหาร - ไม่ให้ความสำคัญกับการกิน - ขาดความรู้การดูแลครรภ์ - ส่วนใหญ่ต้องทำงาน ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง - รายได้ไม่เพียงพอ 1.5 พฤติกรรม - ไม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ - การไม่ฝากท้องอย่างสม่ำเสมอ - การไม่รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก - ทานยาไม่ครบมื้อตามที่หมอสั่ง - ตั้งครรภ์ที่แม่อายุมาก - รับประทานอาหารตามใจปาก - ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ - ทานน้อยและทานแต่ของไม่มีประโยชน์ - รู้ตัวเองช้าว่าตัวเองตั้งครรภ์ 2. การระบุปัญหาด้านระบบอาหารและโภชนาการ (Problem Statement เพื่อระบุประเด็นใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) 2.1 หญิงตั้งครรภ์
- ไม่กินยาเสริมธาตุเหล็ก เนื่องจากกินแล้วอาเจียนและขาดความตระหนัก - ไม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เนื่องจากไม่มีเวลาและไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ - ไม่ฝากครรภ์/ฝากครรภ์ช้า เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์เรื่องระบบการบริการ 2.2 หน่วยงานเจ้าหน้าที่
- ประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์น้อยมาก          และมีจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ 2.3 หน่วยบริการ
- การให้บริการล่าช้า เนื่องจากยังขาดระบบบริการจัดการ 2.4 สามี
- ขาดความรู้ในการดูแลภรรยา เนื่องจากไม่ได้รับการอบรม 3. การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา (How might we? ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ) - เราจะทำอย่างไรให้คนท้องกินยาแล้วไม่มีอาการข้างเคียง - ทำอย่างไรให้คนท้องได้รับธาตุเหล็กพอเพียง - จะทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์ไปพบหน่วยบริการตามนัด - จะทำอย่างไรให้คนท้องรับสารอาหารยาที่แพทย์สั่งครบมื้อและมีความเพียงพอ - จะทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์กินยาเสริมเหล็กสม่ำเสมอ - ทำอย่างไรให้คนท้องสนใจกับการดูแลสุขภาพของครรภ์ - ทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์ รู้และป้องกันเกี่ยวกับโรคต่างๆที่มีผลต่การตั้งครรภ์ - ทำอย่างไรให้สามีมาสนับสนุนการดูแดสุขภาพของคนท้อง 4. การระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ (Ideation – Idea flower) เลือกปัญหา เราจะทำอย่างไรให้คนท้องและครองครัวทราบปัญหาช่วงภาวะตั้งครรภ์มีความสำคัญที่สุด 4.1. ไอเดียทั่วไป - รณรงค์ตั้งครรภ์คุณภาพ - ทำโพสต์ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับรู้ถึงปัญหาหารตั้งครรภ์ - จนท.ลงพื้นที่ให้ความรู้และความสำคัญช่วงระยะตั้งครรภ์ - โรงเรียนพ่อแม่ 4.2. ไอเดียไม่ใช้งบประมาณ - ประชาสัมพันธ์ช่วงทำเวทีประชาคมของชุมชน - การประชาสัมพันธ์ - เสียงตามสายสื่อความรู้ 4.3. ไอเดียอุตสาหกรรม - หญิงตั้งครรภ์ไม่ซีด/กินยาครบได้รับกิ๊ฟวอชเชอร์ - ให้บริการคำปรึกษา 24 ชม. (ได้ทุกครั้งที่ต้องการเหมือน 7-11) 4.4. ไอเดียที่มีชุมชนมาเป็นส่วนร่วม - ชุมชนมีส่วนร่วมในกการประชาสัมพันธ์ให้กับหญิงตั้งครรภ์มาฝากผ่านประเพณีลาซัง (สอดแทรกกิจกรรม) - บ้านสีชมพู สำหรับหญิงตั้งครรภ์(ปรึกษากับเจ้าหน้าที่โดยตรง) - สร้างวัฒนธรรมลูกของฉัน = ลูกของโลก ร่วมด้วยช่วยกันดูแล 4.5. ไอเดียทางศาสนา - วายับ(จำเป็น)ที่สามีจะต้องดูแลภรรยาในขณะตั้งครรภ์ - การดูแลหญิงตั้งครรภ์สามารถเพิ่มพูนริสกี้ 4.6.ไอเดียกระแสออนไลน์ - ตั้งไลน์กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน - ทำTik Tok บ้านชมพู (หญิงตั้งครรภ์) - แอปเช็ค-เตือน กินยาเม็ดเหล็ก - ตั้งไลน์สื่อสาร ปรึกษา จนท-เพื่อนช่วยเพื่อน - คลิปแชร์ประสบการณ์ความสำเร็จในทานยาสม่ำเสมอในการตั้งครรภ์คุณภาพ 4.7. ไอเดียที่มี Story - อ่านหนังสือสั้น เพื่อสร้างสรรด์ให้เด็กในครรภ์และหญิงตั้งครรภ์อารมณ์ดี - ทำหนังสั้นแชร์ประสบการณ์หญิงตั้งครรภ์ตัวอย่าง - บันทึกประสบการณ์การตั้งครรภ์เป็นความภาคภูมิใจของฉันเมื่อฉันตั้งครรภ์ 4.8. ไอเดียแปลกๆ - ส่งพ่อเข้าครอสเรียนดูแลแม่ตั้งครรภ์ - คุยไป บ่นไป เรื่องคนท้องที่ร้านน้ำชา - ชวนพ่อๆคุยที่ร้านน้ำชา ประเด็นดูแลเมียอย่างไร







สรุปกิจกรรมประชุมตำบลทุ่งพลา วันที่15 พฤษภาคม 2567

สถานที่ รพ.สต.ทุ่งพลา

เนื่องจากทางทุ่งพลาได้เห็นความสำคัญของเด็กในเรื่องโภชนาการอาหารที่เด็กยังขาดอยู่จึงคิดทำโครงการเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็กขึ้น โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทนรพ.สต ผู้ใหญ่บ้าน ครู อสม

มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน

• ให้พระสงฆ์หรือผู้สูงอายุในชุมชนมาให้ความรู้เรื่องอาหารสมัยโบราณที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

• จัดกางบประมาณให้เพียงพอต่อโรงเรียนเพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่เพียงพอและมีสุขภาพร่างกายที่สมส่วน

• คิดวิธีฝึกให้เด็กกินผัก

• ให้คุณพ่อช่วยคุณแม่ประกอบอาหารที่บ้าน

• ชวนน้องทำอาหารตามธาตุเจ้าเรือน

• ให้เด็กทำอาหารกับพ่อแม่และคนในครอบครัว

• แจกนมและไข่สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักน้อย

• ประกวดหนูน้อยฟันสวย

• ประกวดหนูน้อยสมส่วน

• ให้เด็กทำอาหารกินเองให้ดูน่ากิน

• จัดอาหารเช้าสำหรับเด็กที่มรภาวะทุพโภชนาการ

• จัดตลาดสุขภาพเด็กน้อยในชุมชน

• เปลี่ยนเมนูผักให้เป็นขนมทานเล่น

• จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการทำอาหารให้กับลูกน้อย

• ประกวดเด็กน้อยโภชนาการดีในชุมชน

• จัดตลาดเด็กน้อยเด็กดีทำอาหารที่มีประโยชน์มาขาย

• สร้างเซเว่นหนูน้อย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การออกแบบโครงการฉบับย่อ กิจกรรมที่จะดำเนินการ • ชวนหนูน้อยมาปลูกผักกินกันเอง • ทำโรงเรือนให้กับกลุ่มไก่กอและข้าวหลามให้ถูกหลักอนามัย • ประกวดเด็กดีมีร่างกายตามเกณฑ์มาตรฐาน • จัดตลาดครอบครัวในชุมชนแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องอาหารที่แต่ละครอบครัวทำมาขาย • ตั้งกลุ่มแม่บ้านแปรรูปอาหารให้ถูกหลักโภชนาการโดยเฉพาะ • จัดให้มีชุมชนสำหรับขายอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในตลาดนัดชุมชน • สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ให้ความรู้กับครัวเรือนในการปลูกผักประจำบ้านกินเองเหลือให้นำมาขายในตลาดนัดชุมชน • ปลูกผักไร้สารพิษและ 1 ครัวเรือนต้องมี 1 อย่าง • อบรมแปรรูปข้าวไรซ์เบอรี่เป็นไอศครีมเพื่อขายในตลาดนัดชุมชน • แลกเปลี่ยนผักระหว่างครัวเรือน • จัดกิจกรรมกลุ่มเด็กไปขายอาหารที่ตลาด • จัดประชาสัมพันธ์ในชุมชนว่ามีอาหารเพื่อสุขภาพจากเด็กมาขาย • ทำหนังสือขอความร่วมมือจากยุวเกษตรเพื่อมาให้ความรู้ • ขอความร่วมมือระดับตำบลจากทุกโรงเรียนเพื่อเป็นการนำร่อง ขั้นตอนการดำเนินงาน • เพิ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการโดยการรับสมัคร • จัดอบรมเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ • จัดอบรมให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนคิดเมนูใหม่ๆเพื่อมาขายในตลาด • ขอการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จากอบตและมาให้ความรู้เรื่องการปลูกการดูแลพืชผักให้กับเด็กๆ • ให้เด็กฝึกทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพในโรงเรียน • เพิ่มหลักสูตรอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียนสู่ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย • เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะตา • เด็กนักเรียนโรงเรียนซอลีฮียะ • แกนนำครัวเรือนในชุมชน

ระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการอาหารเช้าเพื่อน้องอิ่มท้องสมองดี • อาหารดีมีประโยชน์ • หนูน้อยสุขภาพดีได้รับอาหารครบ 5 หมู่ • เด็กสมวัยจิตใจร่าเริง • ตลาดนัดอาหารหนูน้อยโภชนาการสมวัย • อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ • หนูน้อยสุภาพดี จากชื่อจากๆที่ระดมมาจึงเกินเป็นชื่อโครงการ โครงการยกระดับตลาดนัดเกาะตาใส่ใจสุขภาพและโภชนาการ ปัจจุบันมีตลาดนัดเกาะตาซึ่งเปิดขายทุกเย็นวันพฤหัสบดีภายในตลาดเป็นของเอกชนร้านค้าที่ขายเป็นประจำอยู่แล้วขายทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จดังนี้มีแผงขายผัก 4-5 ร้านมีปลาสดผลไม้ผักอาหารสำเร็จมีข้าวหมกไก่ข้าวหลามไก่กอและของทอดต่างๆลูกชิ้นทอดโดยทางโครงการจะประสานงานเจ้าของตลาดเพื่อขอเข้าไปขายอาหารเพื่อสุขภาพผักปลอดภัยอาหารปรุงเพื่อสุขภาพซึ่งอาจจะต้องมีการจัดโซนโดยมีกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ขาย ต้นทุนในพื้นที่ในพื้นที่ได้มีการปลูกตะไคร้จำนวนมากเพื่อส่งปัตตานีและยะลา โรงเรียนซอลีฮียะห์มีการฝึกให้เด็กนักเรียนปลูกผักเช่นผักบุ้งผักกาดขาวผักสลัดมีการเลี้ยงปลาดุกปลาสลิดดอนนาเลี้ยงไก่ไข่ทั้งหมดนี้ไม่ใช้สารเคมีโดยใช้ปุ๋ยคอกและมีการให้นักเรียนนำปุ๋ยมาเองจากบ้านเพื่อมีส่วนร่วมในการปลูกผักของโรงเรียนในอนาคตกำลังจะมีการขอพันธุ์ไก่ดำมาเลี้ยงที่โรงเรียนด้วยผลผลิตจากการปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์จะนำมาใช้ในการทำอาหารภายในโรงเรียนใช้ระบบโรงเรียนซื้อของโรงเรียนเพื่อเป็นเงินหมุนเวียนและนำไปซื้อเมล็ดพันธุ์และพันธุ์สัตว์ต่อไปเหลือจากการนำมาใช้ในโรงเรียนจะมีการขายให้ครูในโรงเรียนและแจกเด็กนักเรียนให้กลับบ้านด้วย

ได้อะไรจากการมาประชุมครั้งนี้ • ตัวแทนอบตได้ความรู้วิสัยทัศน์ในการนำไปพัฒนาอบตนำไปใช้ในการทำแผนตำบลต่อไป • ได้นำไปปฏิบัติในโรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ซึ่งในโรงเรียนมีการปลูกอยู่แล้วแต่ไม่ได้นำมาขายภายนอกโรงเรียนยินดีเข้าร่วมกับโครงการเพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ • อยากให้โครงการนี้เกิดขึ้นจริงและจะสู้ไปด้วยกันเด็กๆจะได้มีรายได้และปลูกฝังในเรื่องอาหารสุขภาพให้กับเด็กๆและผู้ปกครองผู้ปกครองจะได้มีส่วนร่วมและเห็นถึงความสำคัญของอาหารของเด็ก • ตัวแทนอสมเป็นโครงการที่ดีได้ปลูกฝังเด็กให้กินผักและปลูกฝังให้มีพัฒนาการยินดีที่จะช่วยเหลือเต็มที่ • ตัวแทนโรงเรียนซอลีฮียะห์นักเรียนที่อยู่ในหอพักจะได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์มีอาชีพรองรับลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง • ตัวแทนรพ. สตมีความภูมิใจที่ได้เข้าร่วมโครงการและและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจากชุมชนอยากสร้างสหวิชาชีพจากทุกส่วนเพราะทุกคนมีศักยภาพที่จะช่วยกันได้อยากให้เยาวชนทั้งตำบลมีโอกาสที่ดีขึ้นได้รับความรู้มากขึ้นและดีใจที่ทุกคนที่มามีความหลากหลายอยากให้เด็กมีการพัฒนาการด้านการศึกษาให้ดีที่สุด