สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส6 ธันวาคม 2566
6
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
  • 37604_0.jpg
  • 37600_0.jpg
  • 37602_0.jpg
  • 37616_0.jpg
  • 37596_0.jpg
  • 37572_0.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงวัตถุการประชุมสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส : ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ
  2. การคืนข้อมูลการวิจัย : การศึกษาการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานและการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ของระบบการผลิต จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
      และข้อเสนอแนวทางการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดย ดร.ไชยยะ คงมณี, ผศ.ดร.อริศรา ร่มเย็น เณรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่
  3. การมอบนโยบาย แผนปฏิบัติการของการยางแห่งประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา โดย นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านปฏิบัติการ และนายวิวรรธน์ สงประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี  สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  4. การชี้แจงแผนงาน กิจกรรม และกรอบระยะเวลาเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.
  5. แบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่มตามรายจังหวัด (จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) เพื่อจัดทำแผนการสนับสนุนขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน กลุ่มที่ 1 จังหวัดปัตตานี วิทยากรกลุ่ม ดร.ไชยยะ คงมณี
    กลุ่มที่ 2 จังหวัดยะลา วิทยากรกลุ่ม น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี กลุ่มที่ 3 จังหวัดนราธิวาส วิทยากรกลุ่ม ดร.เพ็ญ สุขมาก โจทย์กิจกรรมกลุ่มย่อย
  6. วิเคราะห์แปลงต้นแบบเกษตรกร จำนวน 10 แห่ง และข้อเสนอแนะในการยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืน (ตามเอกสารแนบท้าย 1)
  7. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นกลุ่มขยายผลการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมจำนวน 200 ราย (ครูยาง,โควต้า กยท.) (เกษตรกร โควต้า สปก.) (ตามเอกสารแนบท้าย 2)
  8. การร่วมวางกลไกพี่เลี้ยงซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ กยท., สปก. ทีมนักวิชาการ เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (ตามเอกสารแนบท้าย 2)
  9. ข้อเสนอแนะ ต่อแผนงาน กิจกรรม และกรอบระยะเวลาเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) (ตามเอกสารแนบท้าย 3)
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เกษตรกรที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายเพื่อการขยายผลเรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา โดยจะเป็นแปลงต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กลุ่ม 1 จังหวัดปัตตานี
1.1 กลุ่มเกษตรกร บ้านคลองปอม ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เกษตรกร จำนวน 20 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: สำนักงานเกษตร จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณกัญญาภัค นวลศิลป (พี่อร) โทร.0862942019 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานเกษตรจังหวัดปัตตานี 1.2 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรยิ้มแป้น ต.แป้น อ.สายบุรี จ.ปัตตานี สมาชิก 21 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จ.ปัตตานี ติดต่อ: ประธาน คุณนเรศ อินทร์ทองเอียด โทร.0870993498 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานปฏิรูปที่ดินจังหวัดปัตตานี 1.3 ครูยาง, เกษตรกรต้นแบบ, อาสาสมัครเกษตรกร, เกษตรกรแปลงใหญ่, smart farmer ที่ขึ้นทะเบียนกับกยท. ใน ต.ตะโละแมะนะ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี จำนวน 30 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: การยางแห่งประเทศไทย จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณนูรอด๊ะ ดะมิ โทร.0622349360 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดปัตตานี 1.4 เกษตรกร อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณอดุล ดือราแม 2. กลุ่ม 2 จังหวัดยะลา 2.1 คุณตอยฮีเราะ อยู่อำเภอยะหา เป็นคนรวบรวมผลิตในชุมชน และทำการตลาดออนไลน์ สำหรับสวนยางยังไม่สามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดได้ 2.2 คุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก (อยู่อำเภอเบตง) กยท.เบตงกำลังยกเป็นแหล่งเรียนรู้ ภายในแปลงมีการเลี้ยงปลาพวงชมพู เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผัก และไม้ผล และกำลังยกระดับเป็นเกษตรท่องเที่ยว (ติดต่อ กยท คุณเสะอุเซ็ง สาแมง 086-9561729) 2.3 คุณอิสมาแอ ล่าแต๊ะ (ตำบลลำใหม่)เป็นเครือข่าย กยท. (ติดต่อ กยท. คุณภาสกร ปาละวัล 0982802495) 2.4 คุณชาลี ฉัตรทัน ม.1 ต.ท่าธง อ.รามัน มีโซล่าเซลล์ที่ กยท.สนับสนุน ในสวนจะมีการปลูกยาง ทุเรียน กล้วย กระท่อม พืชผักสวนครัว เนื้อที่ 15 ไร่ (ติดต่อ กยท. คุณบุคอรี เจ๊ะแว 084-3130403) 2.5 คุณรอยาลี ดอเลาะ ม.3 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา(อำเภอบันนังสตา) (ติดต่อ กยท. คุณมารีกัน มะมิง 098-1853588) 3. กลุ่ม 3 จังหวัดนราธิวาส 3.1 คุณชมสิทธิ์
3.2 มีแนวคิดพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ อำเภอละ 1 แปลง รวม 11 แปลง (กยท………….) 3.3 กลุ่มเป้าหมายที่จะร่วมอบรม จำนวน 80 คน แบ่งเป็น กยท. (ติดต่อสุบันดริโอ มะเก๊ะ 064-1804740) สปก. (ติดต่อ ซุลกิฟลี เจะและ 089-4844433) เกษตรจังหวัด (ติดต่อ ณัฐพัฒน์ เสาะสมบูรณ์ 085-5792426) กยท.รือเสาะ นาราวี ดือเระ 086-9684241 3.4 กลไกติดตาม เกษตรอำเภอ กยท. ประมง ปศุสัตว์ สหกรณ์ พัฒนาที่ดิน