1. ขับเคลื่อนรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนให้เกิด การขยายผลในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ชายแดนเพื่อนําไปสู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ |
1 พ.ย. 2566 |
|
|
|
|
|
|
เวที policy forum เพื่อสื่อสารข้อเสนอนโยบายด้านระบบอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการ) |
1 พ.ย. 2566 |
|
|
|
|
|
|
1.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส |
1 พ.ย. 2566 |
|
|
|
|
|
|
1.2 ทีมนักวิชาการออกแบบหลักสูตรเกษตรกรรมยั่งยืนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ จากเกษตรกร 10 แห่ง และออกแบบเครื่องมือประเมินความมั่นคงทางอาหาร ระดับครัวเรือน (นำไปใช้ประเมินกลุ่มเป้าหมาย 200 คน) |
1 พ.ย. 2566 |
|
|
|
|
|
|
2.1 เตรียมความพร้อมการทำงานตำบลต้นแบบบูรณาการระบบอาหาร ประสานรพ.สต.ถ่ายโอน จำนวน 40 ตำบล และอบจ.คัดลือกแกนนำตำบล ตำบลละ 5 คน |
1 พ.ย. 2566 |
|
|
|
|
|
|
3. พัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมบริโภคอาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยกลไกกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) กลไกผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กลไกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี |
1 ธ.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
4. กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย |
1 ธ.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
5. การติดตามประเมินผลภายนอก |
1 ธ.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
1.3 สนส. และทีมวิชาการสร้างปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่งให้มีความพร้อมเป็นจุดถ่ายทอดการทำเกษตรกรรมยั่งยืน การเป็นทีมวิทยากร |
1 ธ.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
2.2 ทีมนักวิชาการ จาก Thailand Policy lab, ม.อ.ปัตตานี, วสส.ยะลา ดำเนินการ Training แกนนำตำบล มีขีดความสามารถใช้แครื่องมือ CHIA ประเมินระบบอาหารตลอดห่วงโซ่, การวิเคราะห์ข้อมูล, การจัดทำแผนที่ต้นทุนระบบอาหารชุมชน, การจัดทำแผนงานโครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ |
1 ธ.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
3.1 ประชุมทีมคณะเศรษฐศาสตร์มอ. เพื่อวางแผนประเมินโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนากลุ่มจังหวักภาคใต้ชายแดน และแผนของอบจ. แผนปี 65และ66 เพื่อประเมินถึงความคุ้มค่าในมิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคม |
1 ธ.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
3.4 การประชุมกำหนดวาระนโยบายเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร นโยบายการแก้ปัญหาโภชนาการเด็ก ให้อยู่ในแผนของกลุ่มจังหวัดและอบจ. ปัตตานี |
1 ธ.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
4.1 ประสานกับวิทยุมอ.88 หาดใหญ่ มอ.ปัตตานี เอามาออกแบบการพัฒนาประเด็นสื่อสาร ข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรกรรมยั่งยืน ตลาดสีเขียวในชุมชน อาหารปลอดภัย นโยบายแก้ปัญหาด้านโภชนาการ เช่นเด็กเตี้ย เด็กผอม |
1 ธ.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
5.1 ติดตามประเมินผลภายในโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับผิดชอบโครงการรวมทั้งช่วยประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่นค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์ |
1 ธ.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
1.4 จัด workshop ให้เกษตรกร 200 คน ในพื้นที่แปลงเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบ พร้อมกับประเมินความมั่นคงทางอาหาร ของกลุ่มเป้าหมาย 200 คน |
1 ม.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
2.3 แกนนำตำบล ดำเนินการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล |
1 ม.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
2.7 อบจ. สปสช. โหนด สสส. ทีมวิชาการ ประชุมพิจารณาโครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ จัดกลุ่มชุดโครงการที่ใช้งบประมาณจาก สปสช., ชุดโครงการที่ใช้งบประมาณจากแผนงานร่วมทุน สสสและ อบจ.,ชุดโครงการที่ใช้งบประมาณกับสำนักอื่นๆของ สสส. |
1 ม.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
2.8 โครงการสร้างปฏิบัติการในพื้นที่ (มี งบ สสส. นำร่อง 5 ตำบล และ อบจ. 40 ตำบล) |
1 ม.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
2.9 จัดหลักสูตรพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาหารให้มีความสามารถดำเนินงานการจัดการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ (หลักสูตร non degree) |
1 ม.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
3.2 ทีมนักวิชาการลงพื้นที่ประเมินโครงการ |
1 ม.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
6.1 ทีมวิชาการ ม.อ. ปัตตานี ,วสส.ยะลา ,ติดตามประเมินผลแบบเสริมพลังให้กับตำบลทั้ง 40 แห่ง โดยประเมินผลผลัพธ์ เรื่อง ความสามารถของคน ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ความรู้ที่เกิดขั้นจากการทำงาน มาตรนโยบาย |
1 ม.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
5. ระบบติดตามสนับสนุนให้คำปรึกษาการทำเกษตรกรรมยั่งยืน (กลุ่มไลน์) ให้กับแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง และแกนนำเกษตรกร 200 คน |
1 ก.พ. 2567 |
|
|
|
|
|
|
2.4 นักวิชาการ แกนนำตำบลจัดทำแผนที่ต้นทุนระบบอาหารชุมชน |
1 ก.พ. 2567 |
|
|
|
|
|
|
2.5 นักวิชาการ แกนนำตำบล workshop การเขียนแผนงาน โครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ |
1 ก.พ. 2567 |
|
|
|
|
|
|
2.6 ทีมนักวิชาการ แกนนำตำบล อสม. ออกแบบการทำกลไกติดตามด้านโภชนาการในพื้นที่ |
1 ก.พ. 2567 |
|
|
|
|
|
|
3.3 นักวิชาการนำผลการประเมินคืนให้กับส่วนราชการที่ดำเนินโครงการ พร้อมกับworkshop การยกระดับการทำแผนงานโครงการที่ตอบความคุ้มค่าในมิติเศรษฐกิจและสังคม |
1 มี.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
4.2 จัดเวทีนโยบายในพื้นที่(คลายๆ Thai pbs) |
1 มี.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
1.6 เดือน ก.ค.ประเมินความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน เกษตรกร 200 คน (ประเมินหลังการเข้าร่วมกิจกรรม) |
1 พ.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
7. การพัฒนาชุดความรู้ แนวทางปฏิบัติ และคู่มือ Model เกษตรกรรมยั่งยืนใน สวนยางพารา ขยายผลกับการยางแห่งประเทศไทยสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
1 มิ.ย. 2567 |
|
|
|
|
|
|
6.2 นักวิชาการ แกนนำตำบล สรุปบทเรียน และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ |
1 มิ.ย. 2567 |
|
|
|
|
|
|
7.1. นักวิชาการลงพื้นที่ ประเมินแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง ถอดบทเรียนการเป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดทำ model แหล่งเรียนรู้ฯ จัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา |
1 มิ.ย. 2567 |
|
|
|
|
|
|
7.2 จัดประชุมแลกเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ หรือการจัดสมัชชาเรื่องสวนยางยั่งยืน ทั้ง onsite และ online |
1 ส.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
ประชุมหาแนวทางความร่วมมือในการบูรณาการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบาย |
9 ต.ค. 2567 |
|
|
|
|
|
|
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์และจัดทำเครื่องมือส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหาร |
25 พ.ย. 2566 |
25 พ.ย. 2566 |
|
สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้จัดประชุมกับทีมวิชาการ ประกอบด้วย ดร.เพ็ญ สุขมาก น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี, ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล, ผศ.ดร.ธัญญรัตน์ อุทัยพันธ์,อาจารย์ศรีลา สะเตาะ อ.ซูวารี มอซู , อ.ชัญณยา หมันการ , อ.วีณาพร วงศ์สถาพรพัฒน์ , ผศ.ดร.วุฒิชัย ศรีช่วย, ดร.มุมตาส มีระมาน และนางสาวมัสกะห์ นาแว เพื่อรวมรวบเครื่องมือเรื่องความรอบรู้ด้านอาหาร ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือ 1) แบบสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร (เครื่องมือ SEA ปรับจากเวที HIA) 2) การประเมินความรอบรู้ระบบการจัดการอาหารกลุ่มครู 3) แบบประเมินการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการตามตัวชี้วัดของ ศพด. 4) แบบประเมินความรอบรู้ทางด้านอาหาร สำหรับบุคคลทั่วไปวัยผู้ใหญ่ 5) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัย แม่ครัวร้านอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน และแม่ค้าแผงลอย โดยเครื่องมือทั้งหมดจะถูกนำไปใช้การประเมินตำบลนำร่อง 41 ตำบลในจังหวัดปัตตานี และตำบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยข้อมูลที่ได้ไปใช้จัดทำแผนที่ระบบอาหารชุมชน กิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อแก้ปัญหาโภชนาการ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารระดับท้องถิ่น รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถเกิดการจัดการตนเองระบบระบบอาหารตลอดห่วงโซ่
|
|
เกิดร่างเครื่องมือความรอบรู้ด้านอาหาร จำนวน 5 ชิ้น 1) แบบสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร (เครื่องมือ SEA ปรับจากเวที HIA) 2) การประเมินความรอบรู้ระบบการจัดการอาหารกลุ่มครู 3) แบบประเมินการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการตามตัวชี้วัดของ ศพด. 4) แบบประเมินความรอบรู้ทางด้านอาหาร สำหรับบุคคลทั่วไปวัยผู้ใหญ่ 5) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัย แม่ครัวร้านอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน และแม่ค้าแผงลอย
|
|
การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส |
6 ธ.ค. 2566 |
6 ธ.ค. 2566 |
|
- ชี้แจงวัตถุการประชุมสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส : ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ
- การคืนข้อมูลการวิจัย : การศึกษาการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานและการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ของระบบการผลิต จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
และข้อเสนอแนวทางการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดย ดร.ไชยยะ คงมณี, ผศ.ดร.อริศรา ร่มเย็น เณรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่
- การมอบนโยบาย แผนปฏิบัติการของการยางแห่งประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา โดย นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านปฏิบัติการ และนายวิวรรธน์ สงประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- การชี้แจงแผนงาน กิจกรรม และกรอบระยะเวลาเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.
- แบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่มตามรายจังหวัด (จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) เพื่อจัดทำแผนการสนับสนุนขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน
กลุ่มที่ 1 จังหวัดปัตตานี วิทยากรกลุ่ม ดร.ไชยยะ คงมณี
กลุ่มที่ 2 จังหวัดยะลา วิทยากรกลุ่ม น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี
กลุ่มที่ 3 จังหวัดนราธิวาส วิทยากรกลุ่ม ดร.เพ็ญ สุขมาก
โจทย์กิจกรรมกลุ่มย่อย
- วิเคราะห์แปลงต้นแบบเกษตรกร จำนวน 10 แห่ง และข้อเสนอแนะในการยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืน (ตามเอกสารแนบท้าย 1)
- การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นกลุ่มขยายผลการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมจำนวน 200 ราย (ครูยาง,โควต้า กยท.) (เกษตรกร โควต้า สปก.) (ตามเอกสารแนบท้าย 2)
- การร่วมวางกลไกพี่เลี้ยงซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ กยท., สปก. ทีมนักวิชาการ เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (ตามเอกสารแนบท้าย 2)
- ข้อเสนอแนะ ต่อแผนงาน กิจกรรม และกรอบระยะเวลาเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) (ตามเอกสารแนบท้าย 3)
|
|
ได้เกษตรกรที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายเพื่อการขยายผลเรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา โดยจะเป็นแปลงต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. กลุ่ม 1 จังหวัดปัตตานี
1.1 กลุ่มเกษตรกร บ้านคลองปอม ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เกษตรกร จำนวน 20 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: สำนักงานเกษตร จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณกัญญาภัค นวลศิลป (พี่อร) โทร.0862942019 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานเกษตรจังหวัดปัตตานี
1.2 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรยิ้มแป้น ต.แป้น อ.สายบุรี จ.ปัตตานี สมาชิก 21 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จ.ปัตตานี ติดต่อ: ประธาน คุณนเรศ อินทร์ทองเอียด โทร.0870993498 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานปฏิรูปที่ดินจังหวัดปัตตานี
1.3 ครูยาง, เกษตรกรต้นแบบ, อาสาสมัครเกษตรกร, เกษตรกรแปลงใหญ่, smart farmer ที่ขึ้นทะเบียนกับกยท. ใน ต.ตะโละแมะนะ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี จำนวน 30 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: การยางแห่งประเทศไทย จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณนูรอด๊ะ ดะมิ โทร.0622349360 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดปัตตานี
1.4 เกษตรกร อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณอดุล ดือราแม
2. กลุ่ม 2 จังหวัดยะลา
2.1 คุณตอยฮีเราะ อยู่อำเภอยะหา เป็นคนรวบรวมผลิตในชุมชน และทำการตลาดออนไลน์ สำหรับสวนยางยังไม่สามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดได้
2.2 คุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก (อยู่อำเภอเบตง) กยท.เบตงกำลังยกเป็นแหล่งเรียนรู้ ภายในแปลงมีการเลี้ยงปลาพวงชมพู เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผัก และไม้ผล และกำลังยกระดับเป็นเกษตรท่องเที่ยว (ติดต่อ กยท คุณเสะอุเซ็ง สาแมง 086-9561729)
2.3 คุณอิสมาแอ ล่าแต๊ะ (ตำบลลำใหม่)เป็นเครือข่าย กยท. (ติดต่อ กยท. คุณภาสกร ปาละวัล 0982802495)
2.4 คุณชาลี ฉัตรทัน ม.1 ต.ท่าธง อ.รามัน มีโซล่าเซลล์ที่ กยท.สนับสนุน ในสวนจะมีการปลูกยาง ทุเรียน กล้วย กระท่อม พืชผักสวนครัว เนื้อที่ 15 ไร่ (ติดต่อ กยท. คุณบุคอรี เจ๊ะแว 084-3130403)
2.5 คุณรอยาลี ดอเลาะ ม.3 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา(อำเภอบันนังสตา) (ติดต่อ กยท. คุณมารีกัน มะมิง 098-1853588)
3. กลุ่ม 3 จังหวัดนราธิวาส
3.1 คุณชมสิทธิ์
3.2 มีแนวคิดพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ อำเภอละ 1 แปลง รวม 11 แปลง (กยท………….)
3.3 กลุ่มเป้าหมายที่จะร่วมอบรม จำนวน 80 คน แบ่งเป็น กยท. (ติดต่อสุบันดริโอ มะเก๊ะ 064-1804740) สปก. (ติดต่อ ซุลกิฟลี เจะและ 089-4844433) เกษตรจังหวัด (ติดต่อ ณัฐพัฒน์ เสาะสมบูรณ์ 085-5792426) กยท.รือเสาะ นาราวี ดือเระ 086-9684241
3.4 กลไกติดตาม เกษตรอำเภอ กยท. ประมง ปศุสัตว์ สหกรณ์ พัฒนาที่ดิน
|
|
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอด ห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน |
7 ธ.ค. 2566 |
7 ธ.ค. 2566 |
|
- ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมฯ และแนวทางการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ
- ระดมความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน โดยกลไก รพ.สต.ที่ถ่ายโอนภารกิจมายัง อบจ.ปัตตานี โดยส่งเสริมความรอบรู้และสร้างปฏิบัติการด้านอาหาร (ความมั่นคงอาหาร/อาหารปลอดภัย/ โภชนาการ) โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี สถาบันนโยบายสาธารณะ
3.แบ่งกลุ่มย่อย ให้แต่ละ รพ.สต.
• กำหนดกลุ่มเป้าหมายภาคี เครือข่ายที่จะร่วมขับเคลื่อนพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน
|
|
รพ.สต.ที่จะเข้าร่วมดำเนินงานมีความเข้าใจในโครงการฯมากขึ้น แต่มีข้อเสนอแนะให้มีการประชุมกับผู้บริหาร อปท, ที่ รพ.สต.อยู่ในเขตรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
|
การประชุมสร้างความร่วมมือพัฒนาตำบลต้นแบบจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาวะที่แก้ปัญหาโภชนาการระดับชุมชน |
27 ธ.ค. 2566 |
27 ธ.ค. 2566 |
|
- ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมฯ และทิศทางความร่วมมือการขับเคลื่อนโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
- เสวนาและร่วมแลกเปลี่ยน : พื้นที่ตัวอย่างที่มีการจัดการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น
• เทศบาลตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา นโยบายท้องถิ่นความยั่งยืนบูรณาการระบบเกษตรอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร) ยกระดับโภชนาการเด็กนักเรียนและคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง โดย นายถาวร ไชยมะโณ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลชะแล้ และนางจิตรา เขาไข่แก้ว ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะแล้
• ตำบลนาท่อม จังหวัดพัทลุง การจัดการอาหารปลอดภัยชุมชนนำสู่การจัดการระบบเศรษฐกิจอาหารชุมชนแบบครบวงจรโดย นายถาวร คงศรี และกำนันอนุชา เฉลาชัย
- สรุปรูปแบบการขับเคลื่อนงานการจัดการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น
• เทศบาลตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา
• ตำบลนาท่อม จังหวัดพัทลุง
- กลไกความร่วมมือยกระดับโครงการ กิจกรรมระบบเกษตรและอาหารที่เชื่อมโยงการแก้ปัญหาโภชนาการ โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
- Work Shop ผู้เข้าร่วมประชุม :
• แนวทางความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบายท้องถิ่นให้เกิดการจัดการระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่
• การขับเคลื่อนศักยภาพชุมชน ท้องถิ่น ให้เกิดการจัดการระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน เพื่อยกระดับโภชนาการชุมชน
|
|
- รพ.สต. และอปท. พื้นที่เป้าหหมายการดำเนินโครงการฯ มีความเข้าใจในการทำงาน และมีความต้องการพัฒนาศักยภาพชุมชนเรื่องการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ แผนสุขภาพ ตลอดจนการการสร้างปฏิบัติการเพื่อการแก้ปัญหาโภชนาการในพื้นที่
- รพ.สต. มีความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการเมนูอาหารกลางวัน โดยใช้โปรแกรม thai school lunch
|
|
การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการทรพ.สต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ |
17 พ.ค. 2567 |
17 พ.ค. 2567 |
|
เอกสารประกอบการประชุมพัฒนาโครงการฉบับย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ
รพ.สต. ทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
วันที่ 15 พฤษภาคม 2567
ความเป็นมา
สืบเนื่องเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา และสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ลงนามความร่วมมือการขับเคลื่อนต้นแบบตำบลบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการจังหวัดปัตตานี โดยใช้ศักยภาพตามภารกิจ ต้นทุนของทั้งสี่หน่วยงานเพื่อบูรณาการและหนุนเสริมการทำงานร่วมกัน สถาบันนโยบายสาธารณะฯ จึงได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา และสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ระยะเวลาตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 – 31 ตุลาคม 2567 งบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำร่องพัฒนาตำบลต้นแบบระบบอาหารในจังหวัดปัตตานีจำนวน 39 แห่ง และ ตำบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาสจำนวน 1 แห่ง สำหรับกระบวนการทำงานสถาบันนโยบายสาธารณะฯมีการพัฒนาศักยภาพทีมวิชาการ และแกนนำชุมชนตำบลละ 5 คนซึ่งประกอบไปด้วย บุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน อสม. และแกนนำที่เกี่ยวข้อง มีศักยภาพเป็นวิทยากรกลุ่ม และการใช้เครื่องมือนโยบายสาธารณะ 8 ขั้นตอน เมื่อผ่านการอบรมแล้วทีมนักวิชาการและแกนนำตำบลจะนำไปใช้ระดมความคิดเห็นกับชุมชนพัฒนาแผนงาน โครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารและโภชนาการต่อไป
การดำเนินงานที่ผ่านมาสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับสถาบันวิชาการในพื้นที่ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตปัตตานี วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 38 แห่งในจังหวัดปัตตานี ได้เก็บข้อมูลเก็บข้อมูลชุมชนในด้าน 1) สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารระดับชุมชน 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและผู้ประกอบอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานสำหรับจำหน่าย 3) แบบประเมินการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน และการประเมินความรอบรู้ของคุณครูต่อการจัดการระบบอาหารกลางวันเพื่อการบริโภคอาหารอย่างมีสุขภาวะของนักเรียน ขณะนี้ได้ผลการวิเคราะห์เบื้องต้น พบข้อมูลสำคัญ ดังนี้
1. สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน (กลุ่มตัวอย่าง 218 คน)
1.1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ร้อยละ 87.2
1.2 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงมัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 41.9
และประถมศึกษาร้อยละ 31.8
1.3 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน 5001 – 10000 บาท ร้อยละ 47.2
1.4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) รับจ้างร้อยละ 29.8 เกษตรกรรมร้อยละ 25.7
1.5 วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง
- ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 92.9
- ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 20.0
- ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 5.8
- ร้อยละ 99 ของการเพาะปลูกเป็นการปลูกพืชผักเพื่อการบริโภค
- รูปแบบการเกษตร แบบอินทรีย์ ร้อยละ 33.3 ,แบบปลอดภัย ร้อยละ 18.4
และแบบอื่น ๆ ร้อยละ 48.2
1.6 สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
- ร้อยละ 36.4 ไม่เคยมีอาหารครบ 5 หมู่ ได้แก่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน)
2. ความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและผู้ประกอบอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานสำหรับจำหน่าย (กลุ่มตัวอย่าง 23 คน)
2.1 การใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร ปฎิบัติบางครั้ง
ร้อยละ 39.1 ปฏิบัติประจำร้อยละ 13.0
2.2 การใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร ปฎิบัติบางครั้ง ร้อยละ 47.6
ปฏิบัติประจำร้อยละ 4.8
2.3 การให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย
ปฎิบัติบางครั้ง ร้อยละ 4.3
ข้อมูลที่ได้นำเข้าสู่การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนให้มีความสามารถใช้เครื่องมือแบบใหม่ 8 ขั้นตอนเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล ระหว่างวันที่ 22-25 เมษายน และ 29-30 เมษายน 2567 โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมฯ ได้แก่บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขฯ ครู และแกนนำชุมชน จำนวน 200 คน ซึ่งมาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 38 แห่งในจังหวัดปัตตานี และตำบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยมีวิทยากรจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP Thailand) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,Thailand Policy Lab นำเครื่องมือ Systems Map, Problem Statement, How might we?, Ideation – Idea flower ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมฯ สามารถมองภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ และสามารถระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการในแต่ละตำบล หลังจากนี้ทีมนักวิชาการและผู้เข้าอบรมฯจะนำไอเดียที่ได้จากการอบรมฯ กลับไประดมความคิดเห็นเพิ่มเติมจากชุมชน และร่วมกันออกแบบโครงการฉบับย่อฯต่อไป
ผลการทำกิจกรรมเพื่อค้นหาไอเดียการแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ มีรายละเอียด ดังนี้
1. การวิเคราะห์ภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ (Systems Map)
1.1 ห่วงโซ่อุปทานอาหาร
- ร้อยละ 41.9 สามารถหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ
- มีแหล่งที่มีประโยชนืในชุมชนแต่ไม่มีกระบวนการจัดการในการนำไปใช้ประโยชน์
- มีอ่างเก็บน้ำ 2 แหล่ง
- มีน้ำตก
- มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 1051 ไร่ ทั้งตำบล
- มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 355 ไร่ (พื้นที่ ม.4,5)
- ชุมชนมีแหล่งบ่อปลาน้ำจืด
- อาหารทะเลมาจากรถเร่ขายที่รับจากสะพายปลา
- ปลูกข้าวแบบใช้สารเคมี
- ครัวเรือนมีการปลูกผักกินเอง
- มีการแปรรูปอาหารหลากหลาย เช่น ไข่เค็ม, ปลาส้ม)
1.2.ปัจจัยแวดล้อม
- ร้อยละ 92.9 ไม่มีปัจจัยการผลิต
- ร้อยละ 71.5 รายได้น้อยกว่า 10,000/เดือน
- ร้อยละ 68 ครัวเรือนผลิตอาหารเอง
- ร้อยละ 28 ที่ผลิตอาหารไม่เพียงพอ
- หาซื้อวัตถุดิบได้ง่าย เนื่องจากมีตลาดนัดใกล้บ้าน
- ราคาวัตถุดิบเข้าสามารถถึงได้ เนื่องจากร้านค้าเยอะมีการแข่งขันกัน
- มีอาหารที่อยู่คู่กับชุมชน
- ผัก/เครื่องปรุง รับจากร้านขายของชำที่นำเข้าจากต่างถิ่น
- สื่อ/โฆษณาชวนเชื่อ
1.3.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- กังวลไม่มีอาหารกิน
- ร้อยละ 43 ไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่
- ร้อยละ 44 กินอาหารซ้ำๆ
- ร้อยละ 53 ยังใช้น้ำมันทอดซ้ำ
- การดูแลอุปกรณ์ใช้ในการประกอบอาหาร
- ผู้ปกครองไม่มีความรู้เพียงพอในเรื่องอาหารที่ส่งผลต่อโภชนาการ
- ความตระหนักของผู้ปกครอง เน้นตามความสะดวก
- ยังปฏิบัติในด้านสุขลักษณะไม่ถูกต้อง
- ร้านค้า/ผู้ผลิต ผลิตตามความนิยมของผู้ซื้อ
- ประมาณร้อยละ 40 คนในชุมชนไม่มีความมั่นคงทางอาหาร
- ผู้ปกครองทำงานมาเลย์ ลูกอยู่กับยาย
- ครัวเรือน มีการปลูกผักริมรั้ว เพื่อจะได้สะดวกเอามาปรุงเอง
- อาหารต้องมีฮาลาล เพื่อความเหมาะสม
1.4.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว/ผู้ปกครอง
- ร้อยละ 36.4 ชาวบ้านกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่
- ศพด.มีวัตถุดิบ/ร้านค้าชุมชนใกล้เคียง/จ้างแม่ครัวปรุงอาหารเมนูที่กำหนดให้เด็ก
- พ่อแม่ซื้ออาหารตามร้านค้าชุมชน เป็นอาหารสำเร็จรูป
- พ่อแม่ปรุงอาหารเอง จากการซื้อวัตถุดิบจากรถเร่ ที่มีสารอาหารไม่ครบ
- โรงเรียนมีการกำหนดเมนูอาหารแต่ละวันในรอบสัปดาห์
1.5.อาหารที่รับประทานของนักเรียน
- มื้อเช้า บางคนไม่ทาน บางคนทานเป็นข้าวต้ม/โจ๊ก โรตี ข้าวหมกไก่ ข้าวแกงราด นม
- มื้อกลางวัน ก๋วยเตี๋ยว เมนูตามร.ร.กำหนด ข้าวต้ม มาม่าลวก
- มื้อเย็น พ่อแม่ ปรุงเองที่บ้านเอง อาหารปรุงสำเร็จ(แกงถุง) ข้าวต้มไข่เจียว/ไข่ดาว ข้าวเหนียวไก่ทอด ข้าวหมกไก่
- มื้ออาหารว่าง ลูกชิ้น ขนมกรุบกรอบ ลูกอม นม
2. การระบุปัญหาด้านระบบอาหารและโภชนาการ (Problem Statement เพื่อระบุประเด็นใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights)
2.1. เด็ก 0-5 ปี
- ทานอาหารตามความชอบ เพราะผู้ปกครองซื้ออาหารตามความสะดวกให้ลูกทานเป็นประจำ
- ไม่ได้รับประทานหารครบ 5 หมู่ เพราะเด็กไม่รับประทานอาหารครบทุกมื้อ พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ซื้อกินเอง
- ภาวะโภชนาการเกิน/ทุพโภชนาการ เพราะซื้ออาหารตามความสะดวกของพ่อแม่และให้ลูกเลือกซื้อกินเอง
2.2. พ่อแม่ – ผู้ปกครอง
- ไม่มีเวลาเตรียมอาหารทำให้เด็กขาดโภชนาการ เพราะต้องรีบไปทำงานและมีร้านขายอาหารที่ซื้อง่าย
- ขาดความรู้ ความตระหนักในการสรรหาและปรุงอาหาร เพราะกังวลไม่มีอาหารกินและไม่สามารถหาอาหารครบ 5 หมู่ได้
- ไม่ได้เตรียมอาหารให้ลูก เพราะไม่มีเวลาเจอกัน¬ ขาดวัตถุดิบในการเตรียมอาหารและรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
2.3. ครู
- แหล่งที่มาของวัตถุดิบในการผลิตอาหารรายละเอียด เพราะซื้อวัตถุดิบและเครื่องปรุงจากร้านชำ
2.4. โรงเรียน (แม่ครัว)
- ได้รับอาหารไม่ครบตามกำหนดของเด็ก เพราะการทำอาหารไม่ตรงกับเมนู เพราะไม่เข้าใจสูตรอาหารสำหรับเด็กอย่างแท้จริง
- รสชาติอาหารที่ไม่เหมาะกับเด็ก เพราะปรุงรสชาติไม่คำนึงถึงเด็ก
2.5. ร้านค้าในชุมชน
- อาหารที่จำหน่ายไม่ครบ 5 หมู่ คุณภาพอาหาร เพราะแหล่งที่มาของวัตถุดิบและความสะอาดของแม่ ครัว
3. การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา(How might we? ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ)
3.1. กลุ่มเด็ก
- เราจะทำยังไงให้เด็กทานอาหารครบ 3 มื้อ
- เราจะทำยังไงให้เด็กสามารถซื้ออาหารเองได้โดยที่เป็นอาหารที่มีประโยชน์
- เราจะทำยังไงให้เด็กได้รับประทานที่มีคุณภาพ ครบ 5 หมู่
3.2. กลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็ก
- เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ผู้ปกครองหันมาสนใจเรื่องโภชนาการให้กับเด็ก
- เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเตรียมอาหารที่มีคุณภาพให้เด็ก
- จะทำอย่างไรให้พ่อแม่สามารถบริหารเวลาในการเตรียมอาหารให้ลูก
- เราจะทำยังไรให้พ่อแม่ มีปกครองมีความรู้และเวลาในการเตรียมอาหาร
- เราจะทำยังไง ผู้ปกครองมีเวลาเพียงพอและอยู่กับช่วงเวลาที่สำคัญ
- จะถ้ายังไงให้แม่หรือเด็ก เลือกอาหารที่มีความเหมาะสมและรสชาติที่เหมาะสมกับช่วงวัย
- เราจะทำยังไงให้ผู้ปกครองประกอบอาหารได้ถูกต้องสะอาดครบ 5 หมู่ และน่ารับประทาน
- จะทำอย่างไรให้วัตถุดิบในการเตรียมอาหารเพียงพอในครัวเรือน
- จะทำยังไง ผู้ปกครองมีเงินเพียงพอต่อการประกอบอาหารแต่ละมื้อ
- จะทำยังไงให้พ่อแม่สามารถใช้นวัตกรรมการสร้างสรรอาหารมีความน่ากินและรวมทำกับทำอาหารพร้อมๆกัน
- จะทำยังไงให้พ่อแม่ให้ความสำคัญอาหารมื้อเช้าต่อลูก
3.3. ชุมชน
- เราจะทำยังไงให้ชุมชนมีอาหารที่มีอาหารทีมีคุณภาพโดยที่เด็กและผู้ปกครองไม่ต้องมีความรู้
- จะทำยังไงให้ ตลาดนัดมีซองกินอร่อย ถูกสุขลักษณะและมีโภชนาการ
- เราจะทำยังไงให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตอาหารที่ดีคุณภาพ ถูกหลักโภชนาการ
- เราจะทำยังไงให้เทคโนโลยีมีผลต่อโภชนาการเด็ก
4. การระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ (Ideation – Idea flower)
เลือกปัญหา
- เราจะทำยังไงให้นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาประกอบอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ
- เราจะทำยังไงให้นำความนำความเชื่อและวิถีชีวิตของคนในชุมชนมาเปลี่ยนแปลงความเชื่อในการกินอาหารที่ถูกต้อง
4.1. ไอเดียทำได้เลย การทำปลาดดุกร้า,ปลาส้มน้ำจืด
4.2. ไอเดียไม่ใช้งบประมาณ
- ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกผักที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร
- คิดเมนูโดยใช้วัตถุดิบในครัวเรือนแต่ละบ้านตอบโดยตอบโจทย์โภชนาการ
- ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ประกอบอาหาร
4.3. ไอเดียปกติทั่วไป
- เรื่องหลักสูตรอาหารในยูทูป
- จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับโภชนาการ
- คืนข้อมูลโภชนาการเด็กในชุมชนให้ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนทราบ
4.4. ไอเดียผู้สูงอายุ
- หาวัตถุดิบริมรั่วและทำเมนูที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่
- กำหนดวันให้ผู้อายุเข้าครัวเพื่อเด็กๆ(เป็นกิจกรรมครอบครับ)
4.5. ไอเดียสำหรับเด็ก
- ชวนน้องทำอาหารพร้อมกัน
- จัดมนูอาหารที่ดูน่ากินสำหรับเด็ก
- จัดอาหารตามตัวการ์ตูนที่เด้กชอบ
4.6. ไอเดีย AI
- ใช้ AI ประมวล BMT และโภชนาการ
- ใช้ AI ช่วยตอบอาหารนี้มีประโยชน์
4.7. ไอเดียอุตสาหกรรม
- ใช้ระบบสะสมแต้ม ลูกใครกินอาหารครบ 5 หมู่จะได้แต้ม
- นำอาหารที่เข้าถึงง่ายในชุมชนมาถนอมอาหาร
4.8. ไอเดียกระแสออนไลน์
- แม่ตัวอย่างในการทำเมนูอาหารให้ลูกที่ส่งผลต่อโภชนาการที่ดี
– ทำประเพณีชุมชนลาซังลง tiktok
- เอาคนดังในชุมชนมาปรุงอาหารลงโซเซียล
4.9. ไอเดียที่มี Story
- เล่านิทาน /เพลง ที่นำวัตถุดิบในชุมชนมาทำเป็นเมนูอาหารและข้อดีในการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่
- เล่าที่มาของอาหาร เช่นสินค้า OTOP ไก่กอและ ให้ผู้ใหญ่เล่าที่มาโดยสอดแทรกโภชนาการ
4.10. ไอเดียชุมชนมีส่วนร่วม
- ปิ่นโตสุขภาพ
- ทำอาหารแลกเปลี่ยนระหว่างบ้าน
4.11. ไอเดียจากเกมส์
- เกมณ์ที่เด็กชอบเปลี่ยนแปลงเป็นอาหาร
- สร้างเกมส์ให้เด็กลองปรุงอาหารเอง โดยใส่วัตถุดิบ
1. การวิเคราะห์ภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ (Systems Map)
ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์
1.1.สิ่งที่เกิดขึ้น
- คลอดที่บ้านจากความเชื่อ
- ไม่พึ่งพอใจในระบบบริการ
- ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์
- ขาดการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์
- ขาดความรู้ความเข้าใจในการรับประทาน
- อายุของการตั้งครรภ์มาก
1.2 ปัจจัยส่วนบุคคล
- ยากจน
- ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง
- รับประทานอาหารที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพครรภ์
- ไม่กินยาเสริมธาตุเหล็ก
1.3.ปัจจัยแวดล้อม
- การเข้าถึงบริการของ รพ.สต. เพราะกลัวและอาย
- ไม่รู้ว่าควรฝากครรภ์ เวลาไหน
- การประชาสัมพันธ์กระจ่ายความรู้ให้กับชุมชน
- คนในชุมชนยังมีความเชื่อเรื่องการคลอดกับโตะปีแด/ทำให้ไม่ได้ฝากครรภ์ในสถานบริการ
- ระบบการให้บริการรอนาน
1.4.ปัจจัยภายนอก/ระดับครัวเรือน
- ขาดความรู้/ความเข้าใจ/ความตระหนักในการกินอาหาร
- ไม่ให้ความสำคัญกับการกิน
- ขาดความรู้การดูแลครรภ์
- ส่วนใหญ่ต้องทำงาน ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง
- รายได้ไม่เพียงพอ
1.5 พฤติกรรม
- ไม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
- การไม่ฝากท้องอย่างสม่ำเสมอ
- การไม่รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก
- ทานยาไม่ครบมื้อตามที่หมอสั่ง
- ตั้งครรภ์ที่แม่อายุมาก
- รับประทานอาหารตามใจปาก
- ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่
- ทานน้อยและทานแต่ของไม่มีประโยชน์
- รู้ตัวเองช้าว่าตัวเองตั้งครรภ์
2. การระบุปัญหาด้านระบบอาหารและโภชนาการ (Problem Statement เพื่อระบุประเด็นใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights)
2.1 หญิงตั้งครรภ์
- ไม่กินยาเสริมธาตุเหล็ก เนื่องจากกินแล้วอาเจียนและขาดความตระหนัก
- ไม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เนื่องจากไม่มีเวลาและไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์
- ไม่ฝากครรภ์/ฝากครรภ์ช้า เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์เรื่องระบบการบริการ
2.2 หน่วยงานเจ้าหน้าที่
- ประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์น้อยมาก และมีจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ
2.3 หน่วยบริการ
- การให้บริการล่าช้า เนื่องจากยังขาดระบบบริการจัดการ
2.4 สามี
- ขาดความรู้ในการดูแลภรรยา เนื่องจากไม่ได้รับการอบรม
3. การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา (How might we? ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ)
- เราจะทำอย่างไรให้คนท้องกินยาแล้วไม่มีอาการข้างเคียง
- ทำอย่างไรให้คนท้องได้รับธาตุเหล็กพอเพียง
- จะทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์ไปพบหน่วยบริการตามนัด
- จะทำอย่างไรให้คนท้องรับสารอาหารยาที่แพทย์สั่งครบมื้อและมีความเพียงพอ
- จะทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์กินยาเสริมเหล็กสม่ำเสมอ
- ทำอย่างไรให้คนท้องสนใจกับการดูแลสุขภาพของครรภ์
- ทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์ รู้และป้องกันเกี่ยวกับโรคต่างๆที่มีผลต่การตั้งครรภ์
- ทำอย่างไรให้สามีมาสนับสนุนการดูแดสุขภาพของคนท้อง
4. การระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ (Ideation – Idea flower)
เลือกปัญหา เราจะทำอย่างไรให้คนท้องและครองครัวทราบปัญหาช่วงภาวะตั้งครรภ์มีความสำคัญที่สุด
4.1. ไอเดียทั่วไป
- รณรงค์ตั้งครรภ์คุณภาพ
- ทำโพสต์ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับรู้ถึงปัญหาหารตั้งครรภ์
- จนท.ลงพื้นที่ให้ความรู้และความสำคัญช่วงระยะตั้งครรภ์
- โรงเรียนพ่อแม่
4.2. ไอเดียไม่ใช้งบประมาณ
- ประชาสัมพันธ์ช่วงทำเวทีประชาคมของชุมชน
- การประชาสัมพันธ์
- เสียงตามสายสื่อความรู้
4.3. ไอเดียอุตสาหกรรม
- หญิงตั้งครรภ์ไม่ซีด/กินยาครบได้รับกิ๊ฟวอชเชอร์
- ให้บริการคำปรึกษา 24 ชม. (ได้ทุกครั้งที่ต้องการเหมือน 7-11)
4.4. ไอเดียที่มีชุมชนมาเป็นส่วนร่วม
- ชุมชนมีส่วนร่วมในกการประชาสัมพันธ์ให้กับหญิงตั้งครรภ์มาฝากผ่านประเพณีลาซัง (สอดแทรกกิจกรรม)
- บ้านสีชมพู สำหรับหญิงตั้งครรภ์(ปรึกษากับเจ้าหน้าที่โดยตรง)
- สร้างวัฒนธรรมลูกของฉัน = ลูกของโลก ร่วมด้วยช่วยกันดูแล
4.5. ไอเดียทางศาสนา
- วายับ(จำเป็น)ที่สามีจะต้องดูแลภรรยาในขณะตั้งครรภ์
- การดูแลหญิงตั้งครรภ์สามารถเพิ่มพูนริสกี้
4.6.ไอเดียกระแสออนไลน์
- ตั้งไลน์กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน
- ทำTik Tok บ้านชมพู (หญิงตั้งครรภ์)
- แอปเช็ค-เตือน กินยาเม็ดเหล็ก
- ตั้งไลน์สื่อสาร ปรึกษา จนท-เพื่อนช่วยเพื่อน
- คลิปแชร์ประสบการณ์ความสำเร็จในทานยาสม่ำเสมอในการตั้งครรภ์คุณภาพ
4.7. ไอเดียที่มี Story
- อ่านหนังสือสั้น เพื่อสร้างสรรด์ให้เด็กในครรภ์และหญิงตั้งครรภ์อารมณ์ดี
- ทำหนังสั้นแชร์ประสบการณ์หญิงตั้งครรภ์ตัวอย่าง
- บันทึกประสบการณ์การตั้งครรภ์เป็นความภาคภูมิใจของฉันเมื่อฉันตั้งครรภ์
4.8. ไอเดียแปลกๆ
- ส่งพ่อเข้าครอสเรียนดูแลแม่ตั้งครรภ์
- คุยไป บ่นไป เรื่องคนท้องที่ร้านน้ำชา
- ชวนพ่อๆคุยที่ร้านน้ำชา ประเด็นดูแลเมียอย่างไร
สรุปกิจกรรมประชุมตำบลทุ่งพลา วันที่15 พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.ทุ่งพลา
เนื่องจากทางทุ่งพลาได้เห็นความสำคัญของเด็กในเรื่องโภชนาการอาหารที่เด็กยังขาดอยู่จึงคิดทำโครงการเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็กขึ้น โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทนรพ.สต ผู้ใหญ่บ้าน ครู อสม
มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน
• ให้พระสงฆ์หรือผู้สูงอายุในชุมชนมาให้ความรู้เรื่องอาหารสมัยโบราณที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่
• จัดกางบประมาณให้เพียงพอต่อโรงเรียนเพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่เพียงพอและมีสุขภาพร่างกายที่สมส่วน
• คิดวิธีฝึกให้เด็กกินผัก
• ให้คุณพ่อช่วยคุณแม่ประกอบอาหารที่บ้าน
• ชวนน้องทำอาหารตามธาตุเจ้าเรือน
• ให้เด็กทำอาหารกับพ่อแม่และคนในครอบครัว
• แจกนมและไข่สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักน้อย
• ประกวดหนูน้อยฟันสวย
• ประกวดหนูน้อยสมส่วน
• ให้เด็กทำอาหารกินเองให้ดูน่ากิน
• จัดอาหารเช้าสำหรับเด็กที่มรภาวะทุพโภชนาการ
• จัดตลาดสุขภาพเด็กน้อยในชุมชน
• เปลี่ยนเมนูผักให้เป็นขนมทานเล่น
• จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการทำอาหารให้กับลูกน้อย
• ประกวดเด็กน้อยโภชนาการดีในชุมชน
• จัดตลาดเด็กน้อยเด็กดีทำอาหารที่มีประโยชน์มาขาย
• สร้างเซเว่นหนูน้อย
|
|
การออกแบบโครงการฉบับย่อ
กิจกรรมที่จะดำเนินการ
• ชวนหนูน้อยมาปลูกผักกินกันเอง
• ทำโรงเรือนให้กับกลุ่มไก่กอและข้าวหลามให้ถูกหลักอนามัย
• ประกวดเด็กดีมีร่างกายตามเกณฑ์มาตรฐาน
• จัดตลาดครอบครัวในชุมชนแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องอาหารที่แต่ละครอบครัวทำมาขาย
• ตั้งกลุ่มแม่บ้านแปรรูปอาหารให้ถูกหลักโภชนาการโดยเฉพาะ
• จัดให้มีชุมชนสำหรับขายอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในตลาดนัดชุมชน
• สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ให้ความรู้กับครัวเรือนในการปลูกผักประจำบ้านกินเองเหลือให้นำมาขายในตลาดนัดชุมชน
• ปลูกผักไร้สารพิษและ 1 ครัวเรือนต้องมี 1 อย่าง
• อบรมแปรรูปข้าวไรซ์เบอรี่เป็นไอศครีมเพื่อขายในตลาดนัดชุมชน
• แลกเปลี่ยนผักระหว่างครัวเรือน
• จัดกิจกรรมกลุ่มเด็กไปขายอาหารที่ตลาด
• จัดประชาสัมพันธ์ในชุมชนว่ามีอาหารเพื่อสุขภาพจากเด็กมาขาย
• ทำหนังสือขอความร่วมมือจากยุวเกษตรเพื่อมาให้ความรู้
• ขอความร่วมมือระดับตำบลจากทุกโรงเรียนเพื่อเป็นการนำร่อง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
• เพิ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการโดยการรับสมัคร
• จัดอบรมเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
• จัดอบรมให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนคิดเมนูใหม่ๆเพื่อมาขายในตลาด
• ขอการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จากอบตและมาให้ความรู้เรื่องการปลูกการดูแลพืชผักให้กับเด็กๆ
• ให้เด็กฝึกทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพในโรงเรียน
• เพิ่มหลักสูตรอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียนสู่ชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย
• เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะตา
• เด็กนักเรียนโรงเรียนซอลีฮียะ
• แกนนำครัวเรือนในชุมชน
ระดมความคิดชื่อโครงการ
• โครงการอาหารเช้าเพื่อน้องอิ่มท้องสมองดี
• อาหารดีมีประโยชน์
• หนูน้อยสุขภาพดีได้รับอาหารครบ 5 หมู่
• เด็กสมวัยจิตใจร่าเริง
• ตลาดนัดอาหารหนูน้อยโภชนาการสมวัย
• อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ
• หนูน้อยสุภาพดี
จากชื่อจากๆที่ระดมมาจึงเกินเป็นชื่อโครงการ
โครงการยกระดับตลาดนัดเกาะตาใส่ใจสุขภาพและโภชนาการ
ปัจจุบันมีตลาดนัดเกาะตาซึ่งเปิดขายทุกเย็นวันพฤหัสบดีภายในตลาดเป็นของเอกชนร้านค้าที่ขายเป็นประจำอยู่แล้วขายทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จดังนี้มีแผงขายผัก 4-5 ร้านมีปลาสดผลไม้ผักอาหารสำเร็จมีข้าวหมกไก่ข้าวหลามไก่กอและของทอดต่างๆลูกชิ้นทอดโดยทางโครงการจะประสานงานเจ้าของตลาดเพื่อขอเข้าไปขายอาหารเพื่อสุขภาพผักปลอดภัยอาหารปรุงเพื่อสุขภาพซึ่งอาจจะต้องมีการจัดโซนโดยมีกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ขาย
ต้นทุนในพื้นที่ในพื้นที่ได้มีการปลูกตะไคร้จำนวนมากเพื่อส่งปัตตานีและยะลา
โรงเรียนซอลีฮียะห์มีการฝึกให้เด็กนักเรียนปลูกผักเช่นผักบุ้งผักกาดขาวผักสลัดมีการเลี้ยงปลาดุกปลาสลิดดอนนาเลี้ยงไก่ไข่ทั้งหมดนี้ไม่ใช้สารเคมีโดยใช้ปุ๋ยคอกและมีการให้นักเรียนนำปุ๋ยมาเองจากบ้านเพื่อมีส่วนร่วมในการปลูกผักของโรงเรียนในอนาคตกำลังจะมีการขอพันธุ์ไก่ดำมาเลี้ยงที่โรงเรียนด้วยผลผลิตจากการปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์จะนำมาใช้ในการทำอาหารภายในโรงเรียนใช้ระบบโรงเรียนซื้อของโรงเรียนเพื่อเป็นเงินหมุนเวียนและนำไปซื้อเมล็ดพันธุ์และพันธุ์สัตว์ต่อไปเหลือจากการนำมาใช้ในโรงเรียนจะมีการขายให้ครูในโรงเรียนและแจกเด็กนักเรียนให้กลับบ้านด้วย
ได้อะไรจากการมาประชุมครั้งนี้
• ตัวแทนอบตได้ความรู้วิสัยทัศน์ในการนำไปพัฒนาอบตนำไปใช้ในการทำแผนตำบลต่อไป
• ได้นำไปปฏิบัติในโรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ซึ่งในโรงเรียนมีการปลูกอยู่แล้วแต่ไม่ได้นำมาขายภายนอกโรงเรียนยินดีเข้าร่วมกับโครงการเพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
• อยากให้โครงการนี้เกิดขึ้นจริงและจะสู้ไปด้วยกันเด็กๆจะได้มีรายได้และปลูกฝังในเรื่องอาหารสุขภาพให้กับเด็กๆและผู้ปกครองผู้ปกครองจะได้มีส่วนร่วมและเห็นถึงความสำคัญของอาหารของเด็ก
• ตัวแทนอสมเป็นโครงการที่ดีได้ปลูกฝังเด็กให้กินผักและปลูกฝังให้มีพัฒนาการยินดีที่จะช่วยเหลือเต็มที่
• ตัวแทนโรงเรียนซอลีฮียะห์นักเรียนที่อยู่ในหอพักจะได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์มีอาชีพรองรับลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง
• ตัวแทนรพ. สตมีความภูมิใจที่ได้เข้าร่วมโครงการและและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจากชุมชนอยากสร้างสหวิชาชีพจากทุกส่วนเพราะทุกคนมีศักยภาพที่จะช่วยกันได้อยากให้เยาวชนทั้งตำบลมีโอกาสที่ดีขึ้นได้รับความรู้มากขึ้นและดีใจที่ทุกคนที่มามีความหลากหลายอยากให้เด็กมีการพัฒนาการด้านการศึกษาให้ดีที่สุด
|
|
สรุปการประชุมรพ.สต.บางโกรก |
23 พ.ค. 2567 |
23 พ.ค. 2567 |
|
.ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบล บางโกระ อำเภอ โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n = 146)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 10 6.8
หญิง 132 90.4
อายุ (ปี) (mean+SD) 44.6+13.5
ระดับการศึกษา
ไม่ได้ศึกษา 4 2.8
ประถมศึกษา 61 42.1
มัธยมศึกษา/ปวช. 37 25.5
อนุปริญญา/ปวส. 13 9.0
ปริญญาตรี 24 16.6
สูงกว่าปริญญาตรี 6 4.1
รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 12 8.3
5001 – 10000 บาท 35 24.1
10001 – 15000 บาท 57 39.3
15001 – 20000 บาท 27 18.6
20001 – 25000 บาท 6 4.1
25001 – 30000 บาท 4 2.8
มากกว่า 30000 บาท 4 2.8
จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) (mean+SD) 5.5+2.4
อาชีพ
รับจ้าง 34 23.9
รับราชการ 7 4.9
เกษตรกรรม 15 10.6
ธุรกิจส่วนตัว 7 4.9
ทำอาชีพมากว่า 1 อาชีพ 74 52.1
อื่น ๆ 11 7.7
วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n = 142)
รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ
ผลิตอาหารเอง 91(64.1) เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง
1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 67.6
2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 8.1
3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 16.2
รูปแบบการเกษตร
1. แบบอินทรีย์ ร้อยละ 7.9
2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 51.7
3.แบบอื่น ๆ ร้อยละ 40.4
- การเพาะปลูก
- ปศุสัตว์ 37 (38.9)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 4 (4.3)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 0 (0)
ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- พอเพียง 80 (83.3)
- ไม่พอ 16 (16.7)
หาจากธรรมชาติ 58 (42.3) หาจากแหล่ง ….
สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา (n = )
เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง
(3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) เฉลี่ยคะแนน
1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 77.5 12.3 7.2 2.9 1.4+0.7
2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 80.7 10.3 7.6 1.4 1.3+0.7
3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 84.2 12.3 2.7 0.7 1.2+0.5
4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 93.2 4.8 2.1 0 1.1+0.4
5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 95.2 2.7 2.1 0 1.1+0.3
6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 97.3 2.7 0 0 1.0+0.2
7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 80.8 15.1 3.4 0.7 1.2+0.5
8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 95.9 2.1 2.1 0 1.1+0.3
9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 95.2 2.7 2.1 0 1.1+0.3
10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 70.1 5.6 11.1 13.2 3.3+1.1
ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา
การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ
มีการเตรียมการ 53 39.0
ไม่มีการเตรียมการ 83 61.0
ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น
ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ
ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 139 95.2
2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 99 67.8
3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 145 99.3
ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 145 99.3
5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 141 97.2
6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 134 91.8
7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 136 93.2
ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 109 74.7
9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 144 99.3
10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 143 99.3
11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 142 100
12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 121 82.9
ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 88 60.3
14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 97 66.4
15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 81 55.9
16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 136 93.2
ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n = )
องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวางแผนและจัดการ 3 2.6 0.6
การเลือกอาหาร 4 3.8 0.5
การเตรียมอาหาร 5 4.5 0.7
การรับประทานอาหาร 4 2.8 0.8
คะแนนรวม 16 13.7 1.7
ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลบางโกระ อำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =21)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 4 19.0
หญิง 17 81.0
อายุ (ปี) (mean + SD) 52.2+15.8
ศาสนา
อิสลาม 11 52.4
พุทธ 12 47.6
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา 10 47.6
มัธยมศึกษา/ปวช. 8 38.1
อนุปริญญา/ ปวส. 2 9.5
ปริญญาตรี 1 4.8
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 2 9.5
5001 – 10000 บาท 11 52.4
10001 – 15000 บาท 6 28.6
15001 – 20000 บาท 2 9.5
ลักษณะสถานบริการอาหาร
โรงอาหารในโรงเรียน 1 5.0
โรงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 5.0
ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 5 25.0
แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผงร้านค้า) 6 30.0
แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 6 30.0
อื่น ๆ 1 5.0
บทบาทในการประกอบอาหาร
ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 8 38.1
แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 19 90.5
ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 5 23.8
ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 5.2+4.2
การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง
ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร
แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ
ตลาด 18 85.7
ร้านค้าในชุมชน 11 52.4
รถเร่/รถพุ่มพวง 1 4.8
ผู้ผลิต (เกษตรกร) 4 19.0
อื่น ๆ 1 4.8
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร
ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ
ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร
1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 14.3 4.8 81.0
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 47.6 14.3 38.1
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 19.0 38.1 42.9
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 14.3 9.5 76.2
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 0 0 100
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 0 4.8 95.2
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 0 100
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 0 4.8 95.2
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 0 100
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 9.5 90.5
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 0 100
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร)
13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 0 0 100
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 5.0 95.0
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 0 100
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 85.7 0 14.3
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 57.1 9.5 33.3
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 95.2 0 4.8
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 0 0 100
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 0 100
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 0 14.3 85.7
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 0 19.0 81.0
การขนส่ง
23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 81.0 9.5 9.5
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 9.5 0 90.5
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 90.5 4.8 4.8
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 4.8 4.8 90.5
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 95.2 0 4.8
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 0 0 100
ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 18.9 1.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.9 0.4
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 28.4 1.6
การขนส่ง 18 17.1 1.8
รวมทั้งหมด 84 79.3 3.7
|
|
สรุปกิจกรรมประชุมตำบลบางโกระ วันที่23พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.บางโกระ
เนื่องจากทางบางโกระได้เห็นความสำคัญของเด็กในเรื่องโภชนาการอาหารที่เด็กยังขาดอยู่จึงคิดทำโครงการเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็กขึ้น และปัญหาด้านสุขภาพฟันในช่องปากของเด็กส่งผลทำให้เด็กไม่อยากทานอาหารหรือกินอาหารได้น้อยลง
โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน
รพ.สต.บางโกระ
-อสม
-ผู้ปกครอง
-บัณฑิตอาสา
-ผู้ใหญ่บ้าน
-แพทย์ประจำตำบล
-ครูรร.บ้านล้อแตก
-ครูศพด.ตำบลบางโกระ
-กำนัน ต.บางโกระ
-อบต.บางโกระ
-รร.วัดสุนทรวารี
มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน
• ประกวดเด็กสุขภาพดี
• กิจกรรมเฝ้าติดตามช่องน้ำหนักส่วนสูงทุกๆ 3 เดือนเพื่อให้เข้าเกณฑ์ตามมาตรฐาน
• แนะนำผู้ปกครองให้ทำอาหารท้องถิ่นให้เด็กรับประทานตอนเช้า
• ปลูกฝังสร้างวินัยการกินตั้งแต่เด็กเรื่องอาหารทุกประเภทให้ประโยชน์และโทษอย่างไร
• กิจกรรมแนะนำมารดาหลังคลอดให้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
• กิจกรรมแปรงฟันให้ถูกวิธีโดยไม่ใช้น้ำ
• จัดกิจกรรมแนะนำผู้ปกครองเรื่องอาหารและการแปรงฟันที่ถูกวิธี
• แนะนำการบริโภคอาหารให้เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพรวมถึงรสชาติอย่างไรส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย
• จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการกินอาหารอย่างไรให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกินอย่างไรไม่ให้เป็นโรค
• ให้ความรู้เรื่องกินหวานมันเค็มมีโทษต่อร่างกายอย่างไร
• จัดทำกิจกรรมโดยอาศัยกลุ่มเครือข่ายออกประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับคนในพื้นที่เช่นสถานศึกษาในพื้นที่ตำบล
• ส่งเสริมการอุดฟันแบบสมาร์ทเทคนิค
• จัดกิจกรรมสนทนาอาหาร 5 หมู่และแอโรบิคเอโรใจเต้นแอโรบิคยามเช้า
• จัดอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับการกินที่ถูกหลักโภชนาการ
• กิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง
• จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายเรื่องอาหารถูกหลัก 5 หมู่
• จัดงบประมาณแจกอาหารทุกวันในมื้อเช้า
• จัดกิจกรรมแข่งกีฬาในชุมชนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมกับเด็กๆ
• จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในช่องปากเพื่อสุขภาพฟันที่ดี
• จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหาร
• จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เดือนละ 1 ครั้งโดยให้ความรู้กับผู้ปกครอง
• ให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องอาหารสำหรับลูก
• จัดกิจกรรมประกวดเมนูอาหารสำหรับลูกรัก
• กิจกรรมแดนซ์แม่ลูกยามเย็น
• ประกวดหนูน้อยฟันสวย
• แนะนำและให้ความรู้ผู้ปกครองและคนในครอบครัวโดยตรง
• จัดอบรมผู้ปกครองหรือคนที่ดูแลเด็กให้เข้าร่วมกิจกรรมการดูแลเด็กในด้านต่างๆ
การระดมความคิดชื่อโครงการ
• โครงการกินฟรีอยู่ดีมีสุข
• โครงการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
• โครงการกินอย่างไรให้ถูกใจคนรักสุขภาพ
• โครงการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพ
• โครงการกินให้ถูกหลักและสอดคล้องกับแหล่งอาหาร
• โครงการกินดีสุขภาพดีหนูน้อยปลอดภัย
• โครงการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ครอบครัวอบอุ่น
• โครงการอาหารดีสุขภาพเลิศ
• โครงการกินดีสุขภาพดีหนูน้อยปลอดภัย
• โครงการเด็กดีสุขภาพดีกินอาหารดีมีสุข
• โครงการกินได้กินดีกินแล้วต้องดีต่อสุขภาพ
• โครงการส่งเสริมสุขภาพพลานามัยเด็ก
• โครงการวัยรุ่นฟันน้ำนมโภชนาการดีกินอาหารครบ 5 หมู่
• โครงการกินได้กินดีเด็กบางโกระฟันสวยสูงดีสมส่วน
• โครงการอาหารดีชีวิตเป็นสุข
• โครงการ You are what you eat กินอะไรเป็นอย่างนั้น
• โครงการกินดีกินเป็นหนูน้อยสูงดีสมส่วน
• โครงการกินถูกหลักโภชนาการเพื่อสุขภาพดี
• โครงการเด็ก 0-5 ปีปรับพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพของเด็กน่ารัก
• โครงการสุขภาพดีชีวีมีสุข
• โครงการดีพัฒนาการสมวัยถูกหลักโภชนาการ
กลุ่มเป้าหมาย
• ผู้ปกครอง
• เด็ก 0 ถึง 5 ปี
• ผู้นำชุมชน
• เจ้าหน้าที่รพ. สต
• อสม
• คุณครู
• องค์กรในชุมชนเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
• สถานศึกษาต่างๆ
• คนในชุมชน
ความรู้สึก /ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้
• ยินดีที่มีคนเห็นความสำคัญของเด็กปฐมวัย
• ได้รับความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของการกินของเด็ก 0-5 ปีและคนในชุมชน
• มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาหารในพื้นที่ตำบลเพื่อนำไปปรับปรุง
• ได้รับความรู้และแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก 0-5 ปี
• ได้มีการระดมความคิดในการพัฒนาเด็กในชุมชนให้มีสุขภาพที่ดี
• ได้แลกเปลี่ยนความรู้รับรู้ข่าวสาร
• ขอบคุณโครงการดีๆที่ทำให้เกิดความรู้
• ได้รับความรู้ประเด็นเรื่องอาหารและโภชนาการทราบถึงปัญหาแนวทางแก้ไขในการนำไปปฏิบัติ
• ได้รับความรู้เกี่ยวกับการกินอาหารของเด็กและสุขภาพการแปรงฟันที่ถูกวิธีช่วยแนะนำผู้ปกครองในการพัฒนาการของเด็ก
• แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตัวแทนในชุมชนเรื่องอาหารและโภชนาการของเด็กเพื่อพัฒนาเด็กในชุมชน
• ได้รับความรู้เรื่องอาหารและภาชนะในการใส่อาหารอย่างปลอดภัย
• เห็นความสำคัญของผู้ปกครองให้มาดูแลเด็กมากขึ้น
• ได้รู้ถึงปัญหาและโครงการที่ผู้เข้าร่วมอบรมนำเสนอ
• ได้ทราบปัญหาของเด็กในชุมชนและได้แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น
• ได้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารเด็กในชุมชน
• ได้รู้ถึงปัญหาโภชนาการของตำบลบางโกระ
|
|
สรุปการประชุม รพ.สต.ควน |
24 พ.ค. 2567 |
24 พ.ค. 2567 |
|
ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n = 202)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 63 31.2
หญิง 137 67.8
อายุ (ปี) (mean+SD) 52.9+13.0
ระดับการศึกษา
ไม่ได้ศึกษา 5 2.5
ประถมศึกษา 57 28.2
มัธยมศึกษา/ปวช. 65 32.2
อนุปริญญา/ปวส. 31 15.3
ปริญญาตรี 43 21.3
สูงกว่าปริญญาตรี 1 0.5
รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน (บาท)
น้อยกว่า 5000 37 18.3
5001 – 10000 110 54.5
10001 – 15000 27 13.4
15001 – 20000 17 8.4
20001 – 25000 6 3.0
25001 – 30000 4 2.0
มากกว่า 30000 1 0.5
จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) (mean+SD) 4.1+2.0
อาชีพ
รับจ้าง 56 27.7
รับราชการ 15 7.4
เกษตรกรรม 50 24.8
ประมง 1 0.5
ธุรกิจส่วนตัว 27 13.4
อื่น ๆ 14 6.9
ประกอบอาชีพ มากกว่า 1 อาชีพ 39 19.3
วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n = 196)
รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ
ผลิตอาหารเอง 99 (50.5) เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง
1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 65.6
2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 58.3
3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 3.1
รูปแบบการเกษตร
1. แบบอินทรีย์ ร้อยละ 59.7
2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 9.1
3.แบบอื่น ๆ ร้อยละ 31.2
- การเพาะปลูก 92 (93.9)
- ปศุสัตว์ 25 (25.5)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 3 (3.1)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 1 (1.0)
ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- ไม่พอ 0 (0.0)
- พอเพียง 104 (100.0)
หาจากธรรมชาติ 39 (26.4) หาจากแหล่ง
สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา
เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง
(3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) เฉลี่ยคะแนน
(mean+SD)
1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 81.6 13.3 5.1 0.0 1.2+0.5
2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 86.0 11.5 2.5 0.0 1.2+0.4
3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 79.0 17.0 3.0 1.0 1.3+0.6
4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 91.5 8.0 0.5 0.0 1.1+0.3
5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 92.5 7.0 0.5 0.0 1.1+0.3
6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 94.5 5.5 0.0 0.0 1.1+0.2
7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 85.9 12.6 1.0 0.5 1.2+0.4
8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 96.0 3.5 0.5 0.0 1.0+0.2
9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 93.0 6.5 0.5 0.0 1.1+0.3
10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 59.8 4.5 10.6 25.1 3.0+0.3
ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา (n= )
การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ
ไม่มีการเตรียมการ 8 4.3
มีการเตรียมการ 177 95.7
ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น
ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ
ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 196 98.0
2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 188 94.0
3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 196 98.0
ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 195 97.5
5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 189 94.5
6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 178 89.0
7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 172 86.0
ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 193 96.5
9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 194 97.0
10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 196 98.0
11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 198 99.0
12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 77 38.5
ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 96 48.0
14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 52 26.0
15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 93 46.5
16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 149 74.5
ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n = 200)
องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวางแผนและจัดการ 3 2.9 0.4
การเลือกอาหาร 4 3.7 0.8
การเตรียมอาหาร 5 4.3 0.6
การรับประทานอาหาร 4 2.0 1.2
คะแนนรวม 16 12.8 1.7
ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =19)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 1 5.3
หญิง 18 94.7
อายุ (ปี) (mean + SD) 53.3+11.8
ศาสนา
อิสลาม 13 68.4
พุทธ 6 31.6
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา 8 42.1
มัธยมศึกษา/ปวช. 10 52.6
อื่น ๆ 1 5.3
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
5001 – 10000 บาท 17 89.5
10001 – 15000 บาท 1 5.3
15001 – 20000 บาท 1 5.3
ลักษณะสถานบริการอาหาร
ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 9 47.4
แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผงร้านค้า) 4 21.1
แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 5 26.3
อื่น ๆ 1 5.3
บทบาทในการประกอบอาหาร
ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 6 37.5
แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 15 93.8
ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 5 31.3
ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 6.7+7.2
การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง
ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร
แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ
ตลาด 18 94.7
ร้านค้าในชุมชน 2 10.5
รถเร่/รถพุ่มพวง 0 0
ผู้ผลิต (เกษตรกร) 1 5.3
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร
ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ
ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร
1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 0 0 100
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 0 5.3 94.7
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 0 33.3 66.7
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 0 0 100
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 0 0 100
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 0 0 100
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 0 0 100
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 0 100
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 0 0 100
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 0 100
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 0 100
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 0 100
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร)
13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 0 0 100
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 0 100
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 0 100
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 100 0 0
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 94.7 5.3 0
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 100 0 0
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 0 0 100
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 0 100
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 0 26.3 73.7
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 0 5.3 94.7
การขนส่ง
23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 100 0 0
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 0 0 100
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 100 0 0
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 0 0 100
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 100 0 0
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 0 0 100
ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 20.6 0.6
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 15.0 0.0
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 29.6 0.6
การขนส่ง 18 18.0 0.0
รวมทั้งหมด 84 83.2 1.2
สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ
ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก
รอบที่ 1 วันที่ 22-23 เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี
รพ.สต. ……ควน...… อำเภอ……....…ปะนาเระ……....…จังหวัด………………ปัตตานี…………….
ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ
เครื่องมือ 1:
Systems Map
เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2:
Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ
วันที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบ
1.ห่วงโซ่อุปทานอาหาร
- ตลาดสด/ตลาดนัด
- ร้านขายของชำ
- รถเร่ขายตามบ้าน
- ชาวบ้านมาขายตามบ้าน
- มีการผลิตอาหารเอง เช่น ปลูกผัก,เลี้ยงปลา,เลี้ยงไก่
- ซื้อตามห้างบิ๊กซี
- การซื้อวัตถุดิบตามยแหล่งผลิต
- การหาวัตถุดิบจากแหล่งอาหารธรรมชาติ
2.ปัจจัยแวดล้อม
- ซื้อตามโฆษณา/Facebook
- ซื้อตามคำบอกเล่าต่างๆของเพื่อนบ้าน/ที่ทำงาน
- ตามความสะดวก แม่ค้าสามารถส่งถึงที่ได้
- ความสะอาดของแม้ค้า
- วัตถุดิบที่ซื้อมาประกอบอาหาร
- ผลิตภัณฑ์/ภาพลักษณ์ของอาหาร
- เด็กอยากกินตามเพื่อน
- เด็กอยากกินตามสื่อที่เห็น เช่น ทีวี ยูทูป เป็นต้น
- ต้องมีความมั่นใจว่าไม่มีสารพิษ ยาฆ่าแมลง
3.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/ร.ร./ศพด.
- รายได้ในการซื้อ
- เลือกอาหารที่ลูกชอบกิน
- ต้องมีความสด/ความสะอาด
- แหล่งซื้อวัตถุดิบ
- ความต้องการของเด็ก
- ประโยชน์ของอาหาร
- พ่อแม่รีบไปทำงาน
- ลูกหลายคน
- ซื้ออาหารที่ร้ายค้าปรุงสะอาด/ราคาย่อมเยา
4.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว/ผู้ปกครอง
- ผู้ปกครองไม่มีเวลา ซื้อแกงถุงตามตลาดนัดใกล้บ้าน
- ผู้ปกครองซื้อตามที่ลูกอยากกิน/ลูกชอบ
- ผู้ปกครองทำอาหารเองเป็นบ้างครั้งจำพวก ทอด/ผัด
- ผู้ปกครองทำอาหารกันเองทุกมื้อ
- ครู/แม่ครัวทำอาหารมีความหลากหลาย
- ครู/แม่ครัวเน้นทำอาหารที่มีประโยชน์
- ครู/แม่ครัวทำอาหารเมนูที่เด็กต้องการ
- ครู/แม่ครัวทำอาหารตามงบประมาร
5.อาหารที่รับประทาน
- มื้อเช้า
1.)ข้าว+ไข่ดาว/ไข่ต้ม
2.)โรตี
3.)ซีเรียล+นมสด
4.)ข้าวต้ม/โจ๊ก
5.)ข้าวเหนียวไก่ทอด
6.)ผลไม้
7.)ขนมโตเกียว
8.)นม/น้ำเต้าหู้/โยเกิร์ต
9.)ซาลาเปา
10.)ขนมปัง/แซนวิช
-มื้อกลางวัน
1.)ข้าว
2.)ไข่เจียว/ไข่ดาว
3.)ข้าวแกง
4.)ผลไม้
5.)น้ำหวาน
6.)ขนมขบเคี้ยว
-มื้อเย็น
1.)ข้าว+แกงจืด/แกง
2.)ก๋วยเตี๋ยว
3.)มาม่าผัด
4.)ข้าวต้มทรงเครื่อง
5.)ข้าวเหนียวไก่ทอด
6.)ผลไม้
7.)นม/น้ำเต้าหู้/โยเกิร์ต
- มื้ออาหารว่าง
1.)นมกล่อง
2.)ขนมขบเคี้ยว
3.)ไอติม
4.)โดนัท/เค้ก
5.)เมนูทอด เช่น ลูกชิ้น
6.)เบอร์เกอร์
7.)ขนมปัง
8.)เยลลี่
9.)ไส้กรอก
10.)นมเปรี้ยว
ใคร = เด็ก
ปัญหา = ไม่อยากกินอาหารที่พ่อแม่ทำ
เพราะอะไร = เด็กอยากกินอาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก
ใคร = ผู้ปกครอง
ปัญหา = การจัดสรรเวลาในการทำอาหารในเด็ก
เพราะอะไร = เนื่องจากเร่งรีบไปทำงาน ทำให้มีการกินอาหารที่หาซื้อได้ง่าย กินง่าย ทำง่าย สะดวกในเวลาเร่งรีบและมีเวลาจำกัด
ใคร = พ่อแม่-คนดูแล
ปัญหา = ไม่มีเวลาทำอาหาร
เพราะอะไร = มีความรู้และเข้าใจในอาหารเพียงแต่ไม่มีเวลาไม่มาก ไม่สะดวก ต้องรีบไปทำงาน
ใคร = ผู้ปกครอง
ปัญหา = มีรายได้น้อยและคิดว่ากินอะไรก็ได้ที่กินแล้วอิ่ม
เพราะอะไร = เพราะผู้ปกตรองมีความรู้แต่ไม่สามารถทำตามได้
ใคร = เด็ก
ปัญหา = เด็กชอบกินอาหารจุกจิก ทำให้ขาดสารอาหาร กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่
เพราะอะไร = เด็กชอบกินอาหารจุกจิก กินของทอด กินขนมขบเคี้ยว กินน้ำหวาน
ไม่ชอบกินผัก
- เราจะทำอย่างไรไม่ให้เด็กไปทานอาหารกึ่งสำเร็จรูป
- เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองมีเวลาในการจัดสรรเวลา เตรียมวัตถุดิบในการทำอาหารให้เด็กไว้ตั้งแต่ช่วงกลางคืน
- ทำอย่างไรให้ผู้ปกครองมีเวลา
- ทำไมไม่มีเวลา
1.)ตื่นสาย
2.)มีลูกเยอะ
3.)เอาเวลาไปปเล่นโทรศัพท์
4.)ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ปกครองเรื่องการบริหารเวลา
- บอกข้อเสียของอาหารกึ่งสำเร็จรูป
- เราจะนำความรู้ไปใช้กับชุมชนได้อย่างไร
- อยากให้เด็กๆได้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ผู้ปกครองสามารถทำอาหารครบ 5 หมู่ ได้หรือไม่
- เราจะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้อย่างไร
- เราควรนำความรู้ที่ได้ไปบอกชาวบ้านในไลน์กลุ่ม
ชุมชน
- มีการจัดรูปแบบอาหาร
- ทำคลิปสั้นๆสอนทำอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ทำเป็นโมเดลการ์ตูนอาหารให้เด็กได้ร่วมทำกิจกรรม
- ส่งกลุ่มไลน์ในชุมชนถึงวิธีการทำอาหาร
- ให้เด็กมาทำกิจกรรมทำขนม/อาหารร่วมกับผู้ปกครอง
- ชุมชนมีการจัดกิจกรรมแข่นขันสุขภาพเด็กดีกับเมนูอาหารครบ 5 หมู่
- การจัดสรรเวลาการเรียนรู้
ไอเดียผู้สูงอายุ
-ปลูกผัก,เลี้ยงไก่,เลี้ยงปลาให้เด็ก
ทำได้เลย
- เล่าเรื่องการกินผักทำให้ร้างกายแข็งแรง สุขภาพดี
- ทำเกมส์เป็นแบบการลงมือทำอาหารให้เด็กๆได้เลือกทำเลือกปรุงได้
วันที่ 2 โภชนาการในเด็ก 0-5 ปี
การเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
- มีตลาดใหญ่
- มีความมั่นคงในการซื้อ-ขาย
นโยบาล มาตรการ กฎหมาย
- มีการปลูกผักเคมี เพื่อบริโภค
การเติบโตของประชากรและการย้ายถิ่น
- ไม่มีผลต่อการบริโภคอาหาร
ความเป็นเมือง
- มี 7-11 ตั้ง 2 แห่ง
บริบททางสังคม-วัฒนธรรม
- กินอาหารที่มีรส หวาน มัน เค็ม
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบ
1.ห่วงโซ่อุปทานอาหาร
- ชาวบ้านปลูกผัก,ปลูกข้าว
- หาปลากินเองตามหมู่บ้าน
- มีการสั่งซื้ออาหารที่ครบ 5 หมู่
- มีการทำอาหารกินเอง
- อาหารสำเร็จรูป
- สิ่งค้าที่นำมาขายมาจากตลาดกลาง
- มีการผลิตอาหารเอง เช่น ปลูกผัก,เลี้ยงปลา,เลี้ยงไก่ เพื่อกินและขาย
2.ปัจจัยแวดล้อม
- อาหารบางอย่าง เป็นอาหารแช่แข็ง (ไม่สด) เพราะราคาถูก
- หาซื้อง่าย
- มีบริการส่งถึงบ้าน
- มีรายได้น้อย
- ไม่มีเวลาในการทำอาหาร
- สะดวกในการซื้อ
- โซเซียล/สื่อ ที่ใช้โฆษณาอาหาร
- รูปแบบของอาหารเป็นสิ่งล่อให้เด็กอยากกิน
- มีตลาดนัดเกือบทุกวันมีแต่อาหารไม่มีประโยชน์ มีขนมที่เด็กๆชอบกิน
- มีรถฟาร์มขายผักปลอดกสารพิษในชุมชน
3.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/ร.ร./ศพด.
- ไม่มีเวลาเตรียมทำอาหาร
- เด็กเรียกร้องสิ่งที่อยากกิน
- ความรู้ ความเข้าใจของพ่อแม่
- เวลากับรายได้ที่ไม่สามารถทำได้
- ขี้เกียจ เน้นความสะดวก
- รายได้น้อย ไม่สามารถทำอาหารที่ครบ 5 หมู่ได้
- การศึกษา
- ความเคยชินของผู้ปกครอง ความสะดวกสบายของพ่อแม่
4.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว
- ซื้อตามร้านค้าในชุมชน
- สั่งอาหารจากร้านค้าประจำ
- เด็กๆชอบทายอาหารจากเซเว่น
- พ่อแม่ไม่ได้คำนึงถึงสารอาหารให้ครบ ขอให้เด็กอิ่มก็เพียงพอ
- กินอาหารจำเจ
- เก็บอาหารที่เหลือใช้กินมื้อต่อไป
- ซื้ออาหารจาก 7-11 / ร้านขายของชำ/ ซุปเปอร์มาร์เก็ต
- เด็กทานขนมหวาน/น้ำหวาน
- เด็กเบื่ออาหารไม่ค่อยทานข้าวเป็นเวลา
5.อาหารที่เด็ก 0-5 ปี
- มื้อเช้า
1.)ข้าวต้ม/โจ๊ก
2.)นม
3.)ข้าวเหนี่ยวไก่ทอด
4.)ข้าวหมก
5.)ไข่ตุ๋น
6.)ข้าวยำ
7.)โรตี
8.)ไส้กรอก
9.)ไข่ดาว
10.)ขนมจีบ
11.)ซาลาเปา
-มื้อกลางวัน
1.)พ่อแม่ ปรุงเองที่บ้านเอง
2.)พ่อแม่ พาไปซื้อของใน 7-11
3.)เด็กทานอาหารที่ร.ร0.เตรียมให้
4.)ข้าวหมก
5.)ข้าวผัด
6.)ข้าวแกง
-มื้อเย็น
1.)พ่อแม่ ปรุงเองที่บ้านเอง
2.)อาหารปรุงสำเร็จ(แกงถุง)
3.)ข้าวผักไก่/ไข่
4.)ข้าวแกงจืด
5.)ข้าวสวยปลากะพง
6.)ข้าวเหนี่ยวไก่ทอด
7.)ข้าวหมก
8.)ข้าวปลาทอด
9.)ข้าวต้มไข่เจียว/ไข่ดาว
10.)ผัดผักบุ้ง
11.)สุกี้
12.)บะหมี่น้ำ
- มื้ออาหารว่าง
1.)ไส้กรอก
2.)ขนมกรุบกรอบ
3.)ลูกอม
4.)โอรีโอ้
5.)นมเปรี้ยว
6.)สาหร่าย
7.)โยเกิร์ต
8.)นักเก็ตไก่
ใคร = เด็ก
ปัญหา = ขาดสารอาหารและเจริญเติบโตช้า
เพราะอะไร = เด็กไม่ยอมทานอาหารสิ่งที่เตรียมไว้ให้
ใคร = เด็ก
ปัญหา = ชอบเล่นเกมส์/ติกมือถือ
เพราะอะไร = เด็กไม่ได้รับความสนใจและเด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่และเด็กบางคนอยู่กับปู่ยาตายาย ทำให้ไม่ได้รับความใส่ใจเท่าที่ควรด้วนเวลาและอายุ
ใคร = ผู้ปกครอง
ปัญหา = ไม่มีเวลาทำอาหาร
เพราะอะไร = เนื่องจากเร่งรีบไปทำงานประจำ ไม่มีเวลามากพอที่จะทำอาหาร
ใคร = พ่อแม่
ปัญหา = ขาดความรู้ทางด้านโภชนาการและความตะหนักในการดูแลเรื่องอาหารให้ลูก
เพราะอะไร = มีเงินแต่ขาดความตระหนักเรื่องอาหาร และเอาแต่ความสะดวกเป้นหลัก
ใคร = สื่อโฆษณา
ปัญหา = ทำให้เด็กอยากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ (มาม่า,น้ำอัดลม)
เพราะอะไร = เพราะเห็นโฆษณาในทีวี
ใคร = พ่อแม่
ปัญหา = เด็กขาดสารอาหารเพราะกินตามมีตามเกิด
เพราะอะไร = เพราะพ่อแม่แยกทางกันทำให้ขาดการดูแล
ใคร = ผู้ปกครอง
ปัญหา = เด็กกินอาหารกึ่งสำเร็จรูป ทำให้ขาดสารอาหาร กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่
เพราะอะไร = ผู้ปกครองตื่นสาย ทำให้ไม่มีเวลาในการทำอาหาร
ใคร = พ่อแม่
ปัญหา = มีรายได้ไม่เพียงพอทำให้ได้รับ่ารอาหารไม่ครบ 5 หมู่
เพราะอะไร = รายได้ไม่เพียงพอต่อการซื้ออาหาร
- เราจะทำอย่างไรเด็กให้ได้รับอาหารครบ 5 หมู่
- เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองตระหนักถึงเรื่องการทำอาหารของเด็กให้ครบ 5 หมู่
- ทำอย่างไร ทำให้ผู้ปกครอง/พ่อแม่ เห็นถึงโทษหรือปัญหาทางสุขภาพของเด็กที่ขาดสารอาหาร
- ทำอย่างไรให้พ่อแม่มีความรับผิดชอบมากขึ้น
- ทำอย่างไรให้ผู้ปกครองได้คิดเมนูที่เด็กๆชอบและมีประโยชน์
-จะทำอย่างไรให้พ่อแม่มีจิตสำนึกในการทำอาหารให้ลูกกิน
- เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองมีความสุขกับการทำอาหารอยากทำกินเองทุกมื้อ
-เราจะทำอย่างไรให้เด็กอยากทานอาหารที่เราทำ - ทำอย่างไรให้เด็กให้ได้รับอาหารครบ 5 หมู่
ทำได้เลย
- คิดเมนูอาหารสำหรับเด็ก
ไม่ใช้งบประมาณ
- ปลูกผัก/ผลไม้กินเอง
- ลงมือทำอาหารเองจากวัตถุดิบในบ้านที่มีอยู่
ไอเดียรักษ์โลก
- มีส่วนร่วมในการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์
ที่ทำกันเป็นปกติในการแก้ปัญหานี้
- อบรมให้ความรู้
- จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ลงพื้นที่ให้ความรู้
ภาคธระกิจมีส่วนร่วม
- การทำแปรรูปอาหารเพิ่มมากขึ้น เช่น ไอติมผลไม้
- ร้านค้าจัดหมวดหมู่เมนูที่เหมาะสมกับเด็กมากขึ้น
มิติทางศาสนา
- ความเชื้อด้านอาหารในชุมชน
- ให้ผู้นำให้ความรู้ให้กับผู้ปกครองด้านอาหารสำหรับเด็ก
กระแสออนไลน์
- ทำคลิปสั้นๆถึงขั้นตอนการทำอาหารและให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการทำอาหาร – คลิปสั้นๆเกี่ยวกับการ์ตูนเชินชวนทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ไอเดียที่มี Story
- เล่านิทาน เช่นเรื่อง ป๊อปอายกินผักขมแล้วแข็งแรง
ชุมชนมีส่วนร่วม
- ส่งเสริมให้ทุกบ้านปลูกผักกินเอง
- ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่,เลี้ยงเป็ด,เลี้ยงปลา
ไอเดียจากเกมส์
- เกมส์จับคู่อาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ไม่มีประโยชน์
ไอเดีย AI
- ใช้ AI ทำตัวอย่างกินผักให้เด็กดู
|
|
สรุปกิจกรรมประชุมตำบลควน วันที่24พฤษภาคม 2567
สถานที่ อบต.ควน
เนื่องจากทางต.ควน ได้เห็นความสำคัญของเด็กวัย 0-5 ปีที่กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ต่อวันและเด็กไม่รับประทานผักจึงได้คิดทำโครงการต่างๆเกิดขึ้น
โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน
รพ.สต.ควน
-นายกอบต.ควน
-อสม.
-ผู้ใหญ่บ้าน
-ผู้ปกครอง
-อบต.ควน
-โรงเรียนวัดควน
มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน
• ประกวดหนูน้อยสุขภาพดี 0-5 ปี
• กิจกรรมรณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษ
• จัดประกวดการประกอบอาหารของผู้ปกครอง
• กิจกรรมกินผักดีมีรางวัล
• จัดกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อเพิ่มศักยภาพให้เด็กปฐมวัย
• จัดทำคลิปประกอบอาหารที่ครบ 5 หมู่ให้ผู้ปกครองได้เรียนรู้
• จัดกิจกรรมประกวดอาหารเกี่ยวกับผักให้ผู้ปกครองและเด็กทำร่วมกัน
• ให้ความรู้เรื่อง ผักดีๆผักบ้านๆมีประโยชน์
• แปรรูปผักให้เป็นอาหารที่เด็กชอบกิน
• จัดทำนิทานเช่นป๊อปอายกินผักโขมแล้วแข็งแรง
• จัดฝึกอบรมการทำอาหารของเด็กๆช่วงปิดเทอม
• ประชาสัมพันธ์กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ควบคู่กับการออกกำลังกาย
• ตรวจเช็คถาดอาหารของเด็กว่าอันไหนเด็กกินหรือไม่กิน
กิจกรรมที่เคยจัด
ใน ศพด.คือให้ผู้ปกครองและเด็กมาทำอาหารและรับประทานร่วมกัน
โรงเรียนวัดควนไม่ขายอาหารที่ไม่มีประโยชน์
การระดมความคิดชื่อโครงการ
• โครงการให้ความรู้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก 0-5 ปี
• โครงการกินได้อาหารอร่อยปลอดภัย
• โครงการพัฒนาเด็กในชุมชนให้ห่างไกลอาหารสำเร็จรูป
• โครงการ 5 หมู่สดใสใส่ใจเด็กกำลังโต
• โครงการ ซุปเปอร์เชฟ ตำบลควน
• โครงการเติบโตสมวัยพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
• โครงการกินดีอยู่ดีสุขภาพแข็งแรง
• โครงการเสริมสร้างศักยภาพทางด้านอาหารเด็กในวัย 1-5 ปี
• โครงการอบรมผู้ปกครองเกี่ยวกับการกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
• โครงการอาหารดีมีประโยชน์
• โครงการอาหารดีสุขภาพสมบูรณ์
• โครงการอาหารดีควบครอบครัวดีสู่เด็กวัย 0-5 ปี
• โครงการอาหารตามวัย 0-5 ปี
• โครงการอาหารสุขใหม่ไม่เกิดพยาธิ
• โครงการถูกหลักถูกใจอาหารถูกหลักอนามัยเด็ก 0-5 ปี
• โครงการอาหารดีกินผักปลอดสารพิษ
กลุ่มเป้าหมาย
• ผู้ปกครอง
• เด็ก 0 ถึง 5 ปี
• ผู้นำชุมชน
• คนในชุมชน
จากจากการดูวีดีทัศน์ของการจัดการอาหารของเด็กนักเรียนญี่ปุ่นผู้เข้าร่วมอบรมได้ความรู้ดังนี้
• ได้เห็นถึงการรับผิดชอบของเด็ก
• เด็กเกิดประสบการณ์เรียนรู้โดยตรงในเรื่องทักษะการใช้ชีวิต
• เด็กฝึกช่วยเหลือตนเองในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
• ได้รู้ถึงวิถีการดำเนินชีวิตของเด็กช่วงอยู่ในโรงเรียน
• ได้เห็นถึงการปรุงอาหารที่สะอาดและอุปกรณ์ในการทำอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
• มีการจัดรูปแบบอาหารอย่างมีระเบียบเรียบร้อย
• มีการจัดการอย่างถูกวิธีถูกหลักอนามัยและเห็นถึงการมีส่วนร่วมความสามัคคี
• เด็กได้มีการทำงานที่มีความรับผิดชอบร่วมกับผู้อื่น
• ฝึกการอยู่ร่วมกัน
• ได้รู้ถึงการมีส่วนร่วมกันในการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก
ความรู้สึก /ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้
• ได้รู้ถึงการทำโครงการและการของบประมาณในการช่วยเหลือสนับสนุนในชุมชน
• ได้นำความรู้ไปใช้ในชุมชนต่อไปและชาวบ้านได้รับรู้วิธีการทำอาหารอย่างถูกวิธี
• อยากให้โครงการนี้มีการพัฒนาในลำดับต่อไป
• ได้รับข้อมูลของพื้นที่
• ได้ความรู้ในการหาอาหารให้เด็ก 0-5 ปี
• สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นในของคนในชุมชน
|
|
สรุปการประชุม รพ.สต.คลองใหม่ |
27 พ.ค. 2567 |
27 พ.ค. 2567 |
|
สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ
ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก
รอบที่ 2 วันที่ 24-25 เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี
รพ.สต. ……คลองใหม่...… อำเภอ……....…ยะรัง……....…จังหวัด………………ปัตตานี…………….
ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ
เครื่องมือ 1:
Systems Map
เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2:
Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ
วันที่ 1 โลกาภิวัตน์และการค้าระหว่างประเทศ
-นมกระป๋องราคาถูก(ของมาเล ถูกกว่าไทย)
การเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
-รพ.สต.มาบ่อยไม่ได่เพราะคิดว่าไปจับผิด
-บางรร.ปรุงอาหารที่มีโซเดียม(รพ.สต.ไปตรวจ)
การเติบโตของประชากรและการย้ายถิ่น
-พ่อแม่ปล่อยถูกเล่นมือถือจะได้ไม่โกง
-เด็กชอบเล่นมือถือมากกว่ากิน(ไม่กินเลย)
เด็กร้องไป7-11(ได้หยิบทุกอย่าง)
-เล่นมากกว่ากิน
นโยบายมาตรการกฎหมาย
-อบต.ทำโครงการโภชนาแลกนม ไข่
ห่วงโซ่อาหาร
-อาหารที่มีประโยชน์เด็กไม่ชอบกินเพราะไม่อร่อยไม่มีรสชาติ
ปัจจัยแวดสิ่งแวดล้อม
-ในชุมชมมีการขายอาหารที่ไม่มีประโยชน์(ขายยำ,น้ำปั่น,ลูกชิ้น ไส้กรอก)
-ร้านเยอะทำให้ล่อตาล่อใจเด็ก
-7-11ขายนมผงแพงมาก
-เทศการรายอเด็กมีเงินเข้า7-11
-มือถือมีส่วนให้เด็กรู้จัก
7-11
ปัจจัยระดับครอยครัว/ชุมชน/ร.ร./ศพด.
-ครอบครัวใหม่ทำอาหารที่ไม่มีประโยชน์(มาม่า)เพราะฐานทางเศรษฐกิจไม่ดี
-น้าอา-ลูกพี่ลูกน้องตามใจ (ไม่มีความตระหนักเรื่องประโยชน์)
-พ่อแม่ไม่มีเงิน
-พี่ไม่อยากให้น้องร้องไห้(คนเลี้ยงโมโห)
-กลับไปเราจะแวะตลาดข้างทาง เพื่อซื้ออาหารให้ลูก
พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว
-พ่อแม่ไม่มีเวลาทำกับข้าวในมื้อเช้าเพราะต้องรีบไปทำงาน
-พ่อแม่ตั่งเงินบนตู้เย็นให้พี่จัดการซื้อข้าวอาหารเช้าให้น้อง
-แม่ค้าใส่เครื่องปรุงรสให้เด็ก
-การเลี้ยงดูของพ่อแม่เพื่อความสะดวก
-ความตระหนักของพ่อแม่ที่ไม่เห็นค่าของโภชนา
-พ่อแม่ซื้อนมกระป๋อง
(นมข้นหวาน) ผสมให้ลูกตั่งแต่ตั่งแต่เกิด(จนชินหวาน)
-พ่อแม่เอานมโรงเรียนมาปรุงใหม่(ผู้ปกครองรุ่นใหม่)พ่อแม่คิดยุ่งยาก(เน้นทำงาน)
-ความเชื่อพ่อแม่ว่ากินแล้วไม่มีปัญหา
-ครูอนุบาลไม่ได้ตระหนัก
(ปล่อยให้กินนมในร.ร.บางโรงเรียนไม่เข้มงวดเรื่องขนม
-พ่อแม่พยายามบอก แต่ร.ร.ไม่ห้ามเด็ก/เพื่อนยังกินได้
-ยายทำอาหารที่ไม่มีประโยชน์
-ยายคิดว่าแค่กินก็พอแล้ว
อาหารที่รับประทาน
-เด็กชอบกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (ชอบกินของที่ไม่มีประโยชน์)
-เด็กชอบซื้อของกินไม่มีประโยชน์เองจากตลาดข้างบ้าน
-ไม่ชอบดื่มนมร.ร.เพราะจืด
-เด็กไม่ยอมกินอาหารเช้า
-ชอบกินอาหารจุกจิก
-ไม่ชอบกินข้าว กินแต่ขนม/ไอศกรีม
สารอาหารและผลต่อสุขภาพโภชนาการ(เด็ก 0-5 ปี)
-คนสมัยก่อนไม่ขาดสารอาหาร(ผลไม้เยอะ)ทำเองปลูกเองไม่มีขาย = ลูกยุคใหม่ทำงานนอกพื้นที่(ส่งเงินให้พ่อแม่)
ใคร = เพื่อนเด็ก
ปัญหา
-แลกเปลี่ยนอาหารที่ไม่ถูกต้อง
-เพื่อนมีอะไรหลากหลาย
-มีการสื่อสารอาหารที่ไม่ถูกโภชนาการ
ใคร = พ่อ-แม่ -ผู้ปกครอง
ปัญหา
-แม่ไม่ตระหนักถึงการเลี้ยงแบบถูกโภชนาการและมีด้านจำกัดเศรษฐกิจ
-ซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ให้ลูก
-เลี้ยงดูเด็กด้รับสารอาหารที่ไม่มีปประโยชน์
-แม่มีปัญหาไม่มีเวลาเลี้ยงดู เพราะตระหนักแต่เรื่องงาน
-คนเลี้ยงดูเด็กไม่เห็นคุณค่าทางโภชนาการ
ใคร = ครู
ปัญหา
-ไม่ตระหนักเน้นสอนเรื่องการกินอาหารที่มีประโยชน์
-ครูไม่ตระหนักเมนูอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ
-ครูไม่คัดแม่ครัว แต่อาจใช้ระบบเส้นสาย
ใคร = ร้านค้า
ปัญหา
-ร้านค้า,7-11 ขายของไม่มีประโยชน์ให้เด็ก
ใคร = แม่ครัว
ปัญหา
-ประกอบอาหารในร.ร.ไม่ดูหลักโภชนาการ
-เราจะทำอย่างไรให้แม่ที่มีลูกหลายคน มีอาหารครบ 5 หมู่ แบบยั่งยืน
-เราจะทำอย่างไรการทำอาหารที่ดีให้ลูกปันความสุข
-เราจะทำอย่างไรให้สามีสามารถมาเปลี่ยนโภชนาการภายในบ้าน
-เราจะทำอย่างไรให้โภชนาการกลายเป็นสิ่งสวยงาน
-เราจะทำอย่างไรกับโภชนาที่เราทำกลายเป็นเกม
-เราจะทำอย่างไรให้โภชนาการที่ดีเข้าถึงง่าย
-เราจะทำอย่างไรให้การสร้างตระหนักเปลี่ยนเป็นรายได้
-เราจะทำอย่างไรให้การเตรียมอาหารที่ดีกลายเป็นเรื่องสนุก
-เราจะทำอย่างไรให้บังคับมาตรการเชิงให้แก่แม่
-เราจะทำอย่างไรให้โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญ
-เราจะทำอย่างไรให้โภชนาการดีขึ้นภายในครอบครัว
-เราจะทำอย่างไรให้สามีตระหนักในเรื่องโภชนา
-เราจะทำอย่างไรให้โภชนาการได้มีการประกวดภายในหมู่บ้าน
-เราจะทำอย่างไรให้ลูกได้กินของที่มีประโยชน์โดยไม่มีแม่
เราจะทำอย่างไร ให้โภชนาที่ดีเป็นข้อบังคับ
(ในบ้าน,ในร.ร.)
ไอเดียที่ทำให้เป็นกระแสออนไลน์
-ใช้ช่องFมาสร้างความตระหนัก
-ใส่ความรู้ในโซเซียลมีเดีย
ที่เค้าสนใจ
ไอเดียที่สนุกสนาน
-กิจกรรมไปหาหอย
ไอเดียที่ชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้อง
-ใช่เสียงตามสายของ อบต.
ไอเดียสำหรับเด็ก
-ขายอาหารโภชนาการถูก
-ทำกับข้าวเป็นสีสันให้ดูน่ากิน
-แลกผักในร.ร.(ก่อนเข้าแถว)
-ร่วมปลูกผักกับทางร.ร.
ไอเดียที่ควรทำตั่งแต่ 10 ปีที่แล้ว
-บังคับให้ปลูกผัก/กฎเกณฑ์ภายในหมู่บ้าน
ไอเดียที่ไม่ใช้งบประมาณ
-เรียนอ่านศาสนา ก่อนละมาดให้แม่ฟัง/ทุกวันเสาร์
-ใช้โต๊ะครูมาสอนที่มัสยิดทุกวันศุกร์
-ทุกวันศุกร์ให้เอาเรื่องนั้นมาพูดใช้วันศุกร์เพิ่มเติม
ไอเดียที่ทำได้ตอนนี้
-ให้รางวัลแก่แม่ที่ทำดี
ไอเดียที่ทำเป็นปกติในการแก้ปัญหา
-ให้เงินในการที่สามีไปอบรม
-ส่งสามีไปอบรม(ปรับพฤติกรรม)
-ให้เงินกับบ้านที่ทำสำเร็จ(รางวัล)
ตัดขั้นตอนอะไรออกจากวิธีนี้ได้ได้บ้าง
-ให้ปลุกปักกินเอง
-มีรางวัลสามีต้นแบบเรื่องโภชนาการ
-ปลูกผักให้กลุ่มแม่บ้าน+ให้ขายผักบางสวนมีไว้กิน
-มีพื้นที่ส่วนกลางในการปลูกผัก
ไอเดียที่ใช้AI
-ใช้AI ดึง ad (เตือนความจำคุณแม่)
โครงการสามีคนขยันเพื่อโภชนาการที่ดีของลูกน้อย
วิธีการ:1.ใช้หลักศาสนาสอดแทรกความรู้ทางโภชนาการ
2.สร้างกิจกรรมภายในหมู่บ้าน,ตลาดนัดทางโภชนาการ (หอย,ปู,ปลา)
3.ให้รางวัลสามีดีเด่น
จะทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมภรรยา
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โต๊ะครู,ผู้นำชุมชน,สามี,ผู้นำหมู่บ้าน
สิ่งที่ไม่แน่ใจ/หาข้อมูลเพิ่ม
-Demand 4 Supply
วันที่ 2 เด็ก1ปีครึ่ง-5ปีถูกเลี้ยงดูด้วยมือถือและจออื่นๆ
ปัจจัยแวดล้อม
-เริ่มแรกจากเรียน Online
-เศรษฐกิจของพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยมือถือ
-พ่อแม่ไม่มีกฎ
-ไม่มีสนามเด็กเล่น
-มีร้านขายมือถือใกล้บ้าน
-พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วย
-มีWi-Fiประชารัฐในหมู่บ้าน
พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
-แม่ไม่ให้ลูกงอแงเลยให้เล่นมือถือ
-แม่ติดความรำคราญ ความขัดแย่ง
-ระบบมือถือสะกดจิต
-ครูเปิดเรียนออนไลน์
-ชวนน้อง ดู เล่น เกมในมือถือ
-ศูนย์เด็กเล็ก/ครูเปิดทีวีให้ดูการ์ตูน
-เห็นเพื่อนเล่นก็เลยเล่นด้วย
-ตั่งกลุ่มเพื่อนเล่นเกม
-ยายคิดว่าให้แล้วลูกจฉลาด
-ยายตามใจเกินไปเพราะไม่อยากให้งอแง
ปัจจัยภายนอก
-Wi-Fiถูก , ฟรี
-มือถือถูก
-มีร้านขายมือถือตามหมู่บ้าน
-รสนิยม
เศรษฐกิจ
-ต้องทำงานนอกบ้าน
สิ่งที่เกิดขึ้น
-หงุดหงิดง่าย
-อารมณ์โมโหร้าย
-เด็กก้าวร้าว
-สายตาสั้น
-เด็กจะติดเดม
-เด็กมีความเครียดโมโหง่าย เมื่อwi-fiหรือเน็ตติดกระทั้งโยนมือถือ
-เด็กจะเป็นออทิสติกเทียม
-เด็กจะไม่สนใจการเรียน
-เด็กจะถูกตามใจจนติดเป็นนิสัย
-ลูกจะรอไม่เป็น
-เด็กจะสมาธิสั้น
-ติดหน้าจอจนไม่ได้กินข้าว,อาหาร,อาบน้ำ
ใคร = ยาย
ปัญหา
-เลือกสื่อให้เด็กไม่เป็น
ใคร = พ่อ-แม่-ผู้ปกครอง
ปัญหา
-ไม่มีเวลาให้ ไม่อยากให้กวนเวลาทำงานเลยให้ดูจอ
-ไม่เห็นข้อเสียระยะยาว
-ไม่ตระหนักถึงปัญหา เนื่องจากผลที่เกิดขึ้นในระยะยาว
-ผู้ปกครองไม่ชี้แนะในการเลือกเล่นมือถือ
-พ่อแม่ปล่อยให้ลูกเล่นมือถือ โดยมไม่ให้กำหนดกิจกรรม
ใคร = พี่สาว
ปัญหา
-พี่สาวขี้เกียจเลี้ยงเลยให้ดูจอพร้อมกันมือถือ
ปัญหา
-ไม่จำกัดContent ในการดู
-ราคาถูกทำให้ทุกช่วงเข้าถึงทุกช่วงวัย -เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองแก้ไขได้เร็ว
-เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองเลี้ยงลูกโดยไม่ต้องใช้จอ
-เราจะทำอย่างไรให้เด็กติดจอลดลง
-เราจะทำอย่างไรใหผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูจอกับเด็ก
-เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองเน้นโทษ/กลัวในการติดจอ
-เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองตระหนักถึงผลเสียของการที่เด็กติดจอ
-เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองมรกฎเกณฑ์ในการเล่นมือถือ
-เราจะทำอย่างไรให้สนุกมากกว่าติดจอ
-เราจะทำอย่างไรให้เด็กมีกิจกรรมอื่นนอกจากจอ ผู้ปกครองตระหนักถึงผลเสีของเด็กติดจอและมีพื้นที่ทางเลือกให้เด็ก
ไอเดียที่ใช้AI
-ให้ใช้ AI Scan อายุในการเข้าถึง
ไอเดียที่ทำให้เป็นกระแสออนไลน์
-ใส่ความรู้ในโซเชียลเรื่องผลกระทบต่อเด็กติดจอ
ไอเดียที่ไม่ใช้งบประมาณ
-กำหนดเวลาเล่นชัดเจน
-ผู้ปกครองเพิ่มกิจกรรม วาดรูป ปั้นดินน้ำมัน เล่นเกม
-กิจกรมชวนปลูกผักสวนครัว
ไอเดียที่ทำได้เลยตอนนี้
-ส่งผู้ปกครองอบรมเกี่ยวกับผลเสียเด็กติดจอ
ไอเดียสำหรับผู้สูงอายุ
-ให้เล่านิทานให้ฟังเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจากจอ
-ผู้ปกครองเพิ่มเวลาอ่านหนังสือให้ฟัง
ไอเดียที่ชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้อง
-กิจกรรมประเพณีในหมู่บ้าน
ไอเดียที่สนุกสนาน
-มีสนามเด็กเล่นเฉพาะในชุมชน
-แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในชุมชน
ไอเดียควรใช้10ปีที่แล้ว
-มีป้ายโฆษณาเกี่ยวกับผลเสียของเด็กติดจอการตามจุดแยงของหมู่บ้าน
โครงการชวนบ้านไปเล่นนอกบ้าน
วิธีการ/กระบวนการ
1.ชี้แจงเรื่องความสำคัญและสาเหตุของเด็กติดจอ
2.สร้างกิจกรรมและสนามเด็กเล่นหมู่ละ1ที่/แห่ง
3.สร้างแหล่งการเรียนรู้ภายในตำบล เช่นการเลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก
โดยเน้นให้เด็กมีส่วนร่วม
4.สร้างแรงจูงใจโดยมีการประกวดครอบครัวดีเด่น(เด็กไม่ติดจอ)
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
-ผู้ปกครอง
-เด็ก
-ผู้นำชุมชน
-อปท.
-รพ.สต./อสม.
สิ่งที่ไม่แน่ใจ
-งบประมาณ(สนามเด็กเล่น)
-พื้นที่
-รางวัล
ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลคลองใหม่ อำเภอยะรัง จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =22)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 1 4.5
หญิง 21 95.5
อายุ (ปี) (mean + SD) 42.2+13.7
ศาสนา
อิสลาม 22 100
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา 10 47.5
มัธยมศึกษา/ปวช. 10 47.6
อนุปริญญา/ปวสซ 1 4.8
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 12 54.5
5001 – 10000 บาท 6 27.3
10001 – 15000 บาท 2 9.1
15001-20000 บาท 1 4.5
มากกว่า 20000 บาท 1 4.5
ลักษณะสถานบริการอาหาร
โรงอาหารในโรงเรียน 3 13.6
โรงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 4.5
ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 5 22.7
แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผง) 5 22.7
แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 5 22.7
อื่น ๆ 3 13.6
บทบาทในการประกอบอาหาร
ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 11 52.4
แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 17 81.0
ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 10 47.6
ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 7.8+6.7
การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง
ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร
แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ
ตลาด 12 54.5
ร้านค้าในชุมชน 18 81.8
รถเร่/รถพุ่มพวง 2 9.1
ผู้ผลิต (เกษตรกร) 2 9.1
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร
ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ
ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร
1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 5 15 80
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 30 50 20
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 25 70 5
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 10.5 36.8 52.6
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 9.5 9.5 81.0
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 10.0 10.0 80.0
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 5.3 15.8 78.9
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 0 100
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 10.0 20.0 70.0
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 4.5 9.1 86.4
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 4.8 4.8 90.5
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 4.5 0 95.5
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร)
13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 13.6 18.2 68.2
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 4.5 13.6 81.8
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 5.0 40.0 55.0
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 68.4 15.8 15.8
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 44.4 16.7 38.9
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 40.0 40.0 20.0
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 9.5 42.9 47.6
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 40.9 59.1
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 13.6 22.7 63.6
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 18.2 50.0 31.8
การขนส่ง
23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 55.0 15.0 30.0
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 4.5 4.5 90.9
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 72.7 22.7 4.5
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 9.5 9.5 81.0
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 95.5 4.5 0
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 0 4.5 95.5
ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 16.9 2.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.2 1.4
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 24.2 3.8
การขนส่ง 18 16.3 1.4
รวมทั้งหมด 84 69.8 7.3
ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลคลองใหม่ อำเภอยะรัง จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =22)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 1 4.5
หญิง 21 95.5
อายุ (ปี) (mean + SD) 42.2+13.7
ศาสนา
อิสลาม 22 100
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา 10 47.5
มัธยมศึกษา/ปวช. 10 47.6
อนุปริญญา/ปวสซ 1 4.8
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 12 54.5
5001 – 10000 บาท 6 27.3
10001 – 15000 บาท 2 9.1
15001-20000 บาท 1 4.5
มากกว่า 20000 บาท 1 4.5
ลักษณะสถานบริการอาหาร
โรงอาหารในโรงเรียน 3 13.6
โรงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 4.5
ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 5 22.7
แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผง) 5 22.7
แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 5 22.7
อื่น ๆ 3 13.6
บทบาทในการประกอบอาหาร
ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 11 52.4
แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 17 81.0
ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 10 47.6
ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 7.8+6.7
การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง
ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร
แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ
ตลาด 12 54.5
ร้านค้าในชุมชน 18 81.8
รถเร่/รถพุ่มพวง 2 9.1
ผู้ผลิต (เกษตรกร) 2 9.1
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร
ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ
ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร
1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 5 15 80
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 30 50 20
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 25 70 5
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 10.5 36.8 52.6
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 9.5 9.5 81.0
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 10.0 10.0 80.0
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 5.3 15.8 78.9
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 0 100
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 10.0 20.0 70.0
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 4.5 9.1 86.4
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 4.8 4.8 90.5
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 4.5 0 95.5
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร)
13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 13.6 18.2 68.2
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 4.5 13.6 81.8
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 5.0 40.0 55.0
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 68.4 15.8 15.8
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 44.4 16.7 38.9
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 40.0 40.0 20.0
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 9.5 42.9 47.6
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 40.9 59.1
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 13.6 22.7 63.6
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 18.2 50.0 31.8
การขนส่ง
23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 55.0 15.0 30.0
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 4.5 4.5 90.9
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 72.7 22.7 4.5
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 9.5 9.5 81.0
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 95.5 4.5 0
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 0 4.5 95.5
ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 16.9 2.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.2 1.4
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 24.2 3.8
การขนส่ง 18 16.3 1.4
รวมทั้งหมด 84 69.8 7.3
|
|
สรุปกิจกรรมประชุมตำบลคลองใหม่ วันที่27พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.คลองใหม่
เนื่องจากทางตำบลคลองใหม่ได้เห็นความสำคัญของโภชนาการด้านอาหารของเด็กที่ยังไม่ครบ5หมู่และหาวิธีการให้เด็กกินผักให้มากขึ้นจึงคิดทำโครงการดังนี้
โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน
-รพ.สต.คลองใหม่
-อสม
-ผู้ใหญ่บ้าน
-ครู
-ครูศพด.
-อบต.
มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน
• ให้ความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพและใส่ผักเป็นส่วนมากในทุกๆการปรุง
• ประกวดถ่ายคลิปสั้นๆเกี่ยวกับโภชนาการลงโซเชียล
• ชักชวนเพื่อนบ้านปลูกผักกินเองเพื่อสุขภาพ
• อยากให้เกษตรตำบลแจกพันธุ์ผักและพันธุ์เป็ดไก่แก่คนในตำบล
• จัดให้มีวิทยากรให้ความรู้ในการปรุงอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ
• จัดตั้งชมรมให้ความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับด้านอาหารหลัก 5 หมู่
• จัดประกวดสำรับอาหารง่ายๆ
• ให้ผู้นำชุมชนจัดประกวดปลูกผักสวนครัว
• จัดทำภาวะโภชนาการนักเรียนแต่ละห้อง
• คัดเลือกนักเรียนน้ำหนักน้อยเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด
• จัดทำเมนูอาหารเช้าในแต่ละวันเพื่อให้นักเรียนได้ทานอาหารเสริม
• ตรวจภาวะโภชนาการนักเรียนทุกสิ้นเดือน
• สรุปผลและประเมินผลโครงการเพื่อแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง
• ตั้งเวลาให้สมาชิกในครอบครัวช่วงเย็นๆรดน้ำผักที่ปลูก
• กิจกรรมสามีเตรียมพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว
• รณรงค์ให้มีการปลูกพืชผักสวนครัวเปรียบเสมือนมีตู้เย็นอยู่หน้าบ้าน
• สอบถามสมาชิกในบ้านว่าชอบทานผักชนิดไหน
• ให้ความรู้กับหัวหน้าครอบครัวที่จัดสรรอาหารเข้าบ้าน
• จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการมีผักเป็นอาหารอย่างน้อย 1 ประเภทในแต่ละมื้อ
การระดมความคิดชื่อโครงการ
• โครงการแก้ปัญหาภาวะทุกโภชนาการนักเรียนอนุบาลถึงป 6 เพื่อแก้ปัญหานักเรียนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
• โครงการอาหารสุขภาพพ่อแม่ทำกินร่วมกันในครัวเรือน
• โครงการสามีคนขยันเพื่อโภชนาการของลูกน้อย
• โครงการชวนเด็กปลูกผักสวนครัว
• โครงการผักในรั้วย่อมดีกว่าในตู้เย็น
• โครงการอบรมให้ความรู้โภชนาการในชุมชน
• โครงการอบรมแม่ค้าขายผักปลอดสารพิษ
• โครงการสุขภาพดีกินอาหารครบ 5 หมู่
• โครงการคลองใหม่ปลูกผักไร้สารพิษ
• โครงการเชฟน้อยทำเองกินเองอร่อยดี
• โครงการผักสดเพื่อน้องคลองใหม่ปลอดภัยจากภาวะทุพโภชนาการ
• โครงการปลูกเองกินเองสุขภาพแข็งแรง
• โครงการตลาดผักยามเช้าในโรงเรียน
• โครงการปลูกทุกอย่างที่กินกินทุกอย่างที่ปลูก
กลุ่มเป้าหมาย
• ผู้ปกครอง
• เด็ก 0 ถึง 5 ปี
• แม่ค้า
• แม่ครัว
• คนในชุมชน
ความรู้สึก /ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้
• ได้มีความรู้จากการสร้างความตระหนักถึงการแก้ปัญหาด้านโภชนาการที่เราได้รับกันอยู่
• ได้ความรู้และได้มองเห็นแนวทางที่จะปรับใช้ในชีวิตแต่ละวันให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
• พูดง่ายเสนอง่ายแต่ทำยากจะเริ่มอย่างไรการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและคนในชุมชน
• เริ่มที่โรงเรียนดีที่สุดให้ความรู้ปฏิบัติแก่ครูและเด็ก
• จัดอบรมผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ตระหนักถึงเรื่องโภชนาการอาหาร
• ได้รู้การประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
• ได้รู้ถึงการเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ปลอดภัย
• ได้รับความรู้แลกเปลี่ยนจากที่บ้านถึงโรงเรียน
• ได้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ปลอดภัยปลอดสารพิษ
• ควรจัดอบรมแม่ครัวให้มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหาร
• ได้ทราบรายละเอียดปัญหาภายในตำบล
• ได้รู้ถึงปัญหาภาวะโภชนาการของเด็กในชุมชนจากการสำรวจที่ผ่านมา
• การจัดอบรมเรียนรู้ในสิ่งที่เรายังไม่รู้เพื่อมาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการปลูกผักไร้สารพิษ
• ได้เรียนรู้ในสิ่งที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็กๆในชุมชนให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
หมายเหตุ มี2ครัวเรือนที่มีปัญหาด้านการเลี้ยงดูบุตรและไม่มีอาชีพนี่ชัดเจนทำให้บุตรที่เกิดมาเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร ได้มีการพูดคุยหาวิธีการช่วยเหลือ ดังนี้
-ทางรพ.สต.หาวิธีให้ความรู้เรื่องการคุมกำเนิดที่ปลอดภัย
-เข้าแนะนำการปลูกพืชผักให้พอกินและเหลือขายเพื่อสร้างรายได้ระยะยาว
|
|
สรุปกิจกรรมการประชุม รพ.สต.สะดาวา |
27 พ.ค. 2567 |
27 พ.ค. 2567 |
|
ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n = 297)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 42 14.1
หญิง 251 84.5
ไม่ระบุเพศ
อายุ (ปี) (mean+SD) 40.3+11.5
ระดับการศึกษา
ไม่ได้ศึกษา 9 3.1
ประถมศึกษา 116 40.6
มัธยมศึกษา/ปวช. 116 40.6
อนุปริญญา/ปวส. 14 4.9
ปริญญาตรี 30 10.5
สูงกว่าปริญญาตรี 1 0.3
รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน (บาท)
น้อยกว่า 5000 77 26.1
5001 – 10000 134 45.4
10001 – 15000 45 15.3
15001 – 20000 14 4.7
20001 – 25000 10 3.4
25001 – 30000 8 2.7
มากกว่า 30000 7 2.4
จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) (mean+SD) 6.2+2.1
อาชีพ
รับจ้าง 158 53.4
รับราชการ 5 1.7
เกษตรกรรม 17 5.7
ธุรกิจส่วนตัว 18 6.1
อื่น ๆ 48 16.2
ประกอบอาชีพ มากกว่า 1 อาชีพ 50 16.9
วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n = 297)
รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ
ผลิตอาหารเอง 136 (45.8) เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง
1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 85.6
2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 26.3
3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 7.9
รูปแบบการเกษตร
1. แบบอินทรีย์ ร้อยละ 16.1
2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 50.8
3.แบบอื่น ๆ ร้อยละ 25.8
- การเพาะปลูก 39 (93.3)
- ปศุสัตว์ 65 (49.2)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 2 (1.5)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 0 (0.0)
ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- ไม่พอ 32 (23.7)
- พอเพียง 103 (76.3)
หาจากธรรมชาติ 60 (21.5) หาจากแหล่ง
สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา
เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง
(3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) เฉลี่ยคะแนน
(mean+SD)
1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 40.1 32.9 21.9 5.1 1.9+0.9
2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 41.4 33.9 23.1 1.7 1.9+0.8
3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 40.4 34.0 21.9 3.7 1.9+0.9
4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 79.3 14.9 5.4 0.3 1.3+0.6
5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 77.0 17.2 5.1 0.7 1.3+0.6
6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 90.9 7.1 2.0 0.0 1.1+0.4
7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 43.8 38.7 14.8 2.7 1.8+0.8
8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 83.5 12.5 3.4 0.7 1.2+0.5
9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 72.3 22.3 4.7 0.7 1.3+0.6
10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 8.8 29.1 39.5 22.6 2.2+0.9
ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา (n= 256)
การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ
ไม่มีการเตรียมการ 102 39.8
มีการเตรียมการ 154 60.2
ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น
ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ
ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 277 93.9
2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 251 85.1
3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 272 92.5
ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 276 94.2
5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 195 66.6
6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 149 51.0
7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 191 64.7
ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 277 94.2
9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 293 99.7
10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง
11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 292 99.7
12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 286 97.3
ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 135 45.9
14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 153 52.4
15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 101 34.4
16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 162 55.3
ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n = 277)
องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวางแผนและจัดการ 3 2.7 0.6
การเลือกอาหาร 4 2.8 1.2
การเตรียมอาหาร 5 4.6 0.6
การรับประทานอาหาร 4 1.9 1.2
คะแนนรวม 16 12.0 2.3
ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =24)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 6 25
หญิง 18 75
อายุ (ปี) (mean + SD) 47.5+9.7
ศาสนา
อิสลาม 23 95.8
อื่นๆ 1 4.2
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา 12 50.0
มัธยมศึกษา/ปวช. 9 37.5
อนุปริญญา/ปวสซ 1 4.2
ปริญญาตรี 2 8.3
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 6 25.0
5001 – 10000 บาท 11 45.8
10001 – 15000 บาท 7 29.2
ลักษณะสถานบริการอาหาร
โรงอาหารในโรงเรียน 5 20.8
โรงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 4.2
ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 9 37.5
แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผง) 4 16.7
แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 4 16.7
อื่น ๆ 1 4.2
บทบาทในการประกอบอาหาร
ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 16 66.7
แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 23 95.8
ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 3 12.5
ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 11.5+6.5
การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง
ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร
แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ
ตลาด 19 79.2
ร้านค้าในชุมชน 9 37.5
รถเร่/รถพุ่มพวง 1 4.2
ผู้ผลิต (เกษตรกร) 2 8.3
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร
ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ
ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร
1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 0 12.5 87.5
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 0 79.2 20.8
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 0 87.5 12.5
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 4.2 58.3 37.5
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 0 4.2 95.8
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 4.2 4.2 91.7
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 0 4.3 95.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 4.2 95.8
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 0 4.2 95.8
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 4.2 95.8
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 25 75
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 0 100
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร)
13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 0 25 75
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 25 75
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 33.3 66.7
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 39.1 47.8 13.0
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 58.3 33.3 8.3
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 62.5 25.0 12.5
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 0 25 75
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 8.3 91.7
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 0 50 50
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 0 54.2 45.8
การขนส่ง
23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 54.2 33.3 12.5
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 0 4.2 95.8
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 83.3 8.3 8.3
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 0 41.7 58.3
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 83.3 0 16.7
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 4.2 4.2 91.7
ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 18.3 1.4
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.6 0.7
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 26.0 2.8
การขนส่ง 18 16.3 1.5
รวมทั้งหมด 84 75.1 4.5
|
|
สรุปกิจกรรมประชุมตำบลสะดาวา วันที่27พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.สะดาวา
เนื่องจากในพื้นที่สะดาวายังมีปัญหาด้านโภชนาการของเด็กที่ไม่ครบ 5 หมู่รวมถึงเด็กที่ไม่กินผักและวิธีการจัดการด้านอาหารของในโรงเรียนจึงได้มีการจัดทำโครงการเกี่ยวกับโภชนาการของเด็กเกิดขึ้น
ผู้เข้าร่วมประชุม
รพ.สต.สะดาวา
-ครู
-อสม.
-ครูศพด.
-ทหาร
-ผู้ใหญ่บ้าน
-กำนัน
-ปลัดอบต.
-ผู้ปกครองเด็ก
มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน
• จัดการประกวดเมนูอาหารที่ครบ 5 หมู่ประจำหมู่บ้าน
• ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการคิดค้นเมนูอาหารที่เขาชื่นชอบและอยากกินโดยให้นักเรียนได้มาลงมือทำเองด้วยเมนูง่ายๆเช่นไข่เจียวทรงเครื่อง
• จัดกิจกรรมทำอาหารกินเอง
• ให้ความรู้แก่เด็กให้รู้จักห่างไกลอาหารที่ก่อโรคร้าย
• ให้เด็กร่วมกันทำกิจกรรมกับคุณครูเช่นจัดกิจกรรมทำกับข้าวง่ายๆโดยเพิ่มผักและสารอาหารที่ครบ 5 หมู่เด็กๆจะได้เรียนรู้ไปในตัว
• จัดประกวดกิจกรรมหนูน้อยสุขภาพดี
• ให้ความรู้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่องโภชนาการด้านอาหาร
• ประกวดคลิปวีดีโอเมนูสุขภาพ
• ส่งเสริมกิจกรรมปลูกผักทั้งที่บ้านและโรงเรียน
• อบรมและดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับอาหารที่ถูกหลักอนามัย
• ส่งเสริมให้มีการปลูกผักสวนครัวโดยให้เด็กครูและผู้ปกครองชุมชนมีส่วนร่วม
• รังสรรค์เมนูจากผักที่ปลูก
• ประกวดเมนูอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
• คัดเลือกโรงเรียนและศพดให้เป็นต้นแบบของตำบล
• จัดให้เด็กและครูร่วมกันทำอาหารเช่นผักชุบไข่
• จัดอบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง
• จัดกิจกรรมเมนูจากผู้สูงอายุในท้องถิ่น
การระดมความคิดชื่อโครงการ
• โครงการปลูกทุกอย่างที่กินกินทุกอย่างที่ปลูก
• โครงการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
• โครงการพัฒนาอาหารปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ
• โครงการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่สะอาดปลอดภัยออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
• โครงการอาหารเช้าเพื่อสุขภาพ
• โครงการเด็กไทยสุขภาพแข็งแรง
• โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเด็กและชุมชน
• โครงการอาหารดีมีประโยชน์
• โครงการอาหารถูกหลักอนามัยสุขภาพแข็งแรงตลอดกาล
• โครงการอาหารดีถูกหลักอนามัยสบายใจสบายกาย
• โครงการนมเปรี้ยวนมหวานอยากให้เด็กทานจริงๆ
• โครงการอาหารดีตามโภชนาการ
• โครงการอาหารดีมีสุข
• โครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชนเด็กไทยมีสุขสุขภาพแข็งแรง
• โครงการอาหารดีที่เด็กชอบ
• โครงการเมนูดีเพื่อสุขภาพของหนูๆ
• โครงการโรงเรียน/ศพดต้นแบบอาหารดีมีประโยชน์
• โครงการอาหารดีมีประโยชน์
• โครงการผักหมุนเวียนเพื่อสุขภาพ
• โครงการมื้ออาหารที่มีสีสัน
กลุ่มเป้าหมาย
• ผู้ปกครอง
• เด็ก 0 ถึง 5 ปี
• ครู
• คนในชุมชน
• ผู้สูงอายุในชุมชน
ความรู้สึก /ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้
• ได้ดูวีดีทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นและอบต. ควรรูสามารถนำไปปรับใช้ได้ดังนี้
1. มีการจัดระบบการจัดการด้านอาหารที่มีความพร้อมนักเรียนมีความพร้อมโรงเรียนจัดการได้อย่างมีระบบ
2. สามารถนำไปปรับใช้ในโรงเรียนและศพดได้แต่ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่นการจัดทำแปลงเกษตรหรือการเลี้ยงไข่ไก่ไม่มีพื้นที่เพียงพอและต้องใช้เวลางบประมาณและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
• ได้ประโยชน์และรับรู้ถึงโภชนาการของเด็กเพิ่มขึ้น
• ได้ความรู้เกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่
• ได้รู้วิธีการเด็กๆในเมืองอยากให้ใช้ต้นแบบญี่ปุ่นมาพัฒนาใช้ในโรงเรียน
• ได้ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการสามารถนำไปปรับใช้ที่โรงเรียน
• ได้ความรู้มากเกี่ยวกับอาหารที่ถูกหลักอนามัยทางโรงเรียนจะนำไปพัฒนาในเรื่องอาหารและโภชนาการของนักเรียนและจะให้ความรู้กับเด็กและแม่ครัว
• ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพของเด็กๆ
• อยากให้โครงการดีๆต่อยอดไปถึงโรงเรียน
• ได้ความรู้หลักการดูแลโภชนาการอาหาร
• ได้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการอาหารที่ดี
• จะนำความรู้ไปเป็นต้นแบบในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
• ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโภชนาการที่หลากหลายที่จะนำมาบูรณาการทำให้เด็กได้สารอาหารที่ครบถ้วนตามบริบทของชุมชน
• ได้รับความรู้ถึงปัญหาที่มีอยู่ในชุมชนและได้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมอบรมรวมถึงสามารถคิดโครงการต่อยอดและสมบูรณ์แบบมากขึ้น
|
|
นาเกตุ |
30 พ.ค. 2567 |
27 พ.ค. 2567 |
|
ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบล นาเกตุ อำเภอ โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n= 282)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 58 20.6
หญิง 224 79.4
อายุ (ปี) (mean+SD) 49.6 + 15.2
ระดับการศึกษา
ไม่ได้ศึกษา 32 11.5
ประถมศึกษา 119 42.8
มัธยมศึกษา/ปวช. 83 29.9
อนุปริญญา/ปวส. 19 6.8
ปริญญาตรี 23 8.3
สูงกว่าปริญญาตรี 2 0.7
รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน (บาท)
น้อยกว่า 5000 138 49.1
5001 – 10000 86 30.6
10001 – 15000 16 5.7
15001 – 20000 22 7.8
20001 – 25000 9 3.2
25001 – 30000 6 2.1
มากกว่า 30000 4 1.4
จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) (mean+SD) 4.6 + 2.0
อาชีพ
รับจ้าง 128 45.7
รับราชการ 5 1.8
เกษตรกรรม 42 15.0
ประมง 0 0.0
ธุรกิจส่วนตัว 22 7.9
อื่น ๆ 54 19.3
ประกอบอาชีพ มากกว่า 1 อาชีพ 29 10.4
วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n = 272)
รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ
ผลิตอาหารเอง 103 (37.9) เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง
1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 79.6
2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 28.3
3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 3.9
รูปแบบการเกษตร
1. แบบอินทรีย์ ร้อยละ 46.8
2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 9.1
3.แบบอื่น ๆ ร้อยละ 44.2
- การเพาะปลูก 50 (97.5)
- ปศุสัตว์ 24 (22.9)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 1 (1.0)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 0 (0.0)
ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- ไม่พอ 24 (18.9)
- พอเพียง 103 (81.1)
หาจากธรรมชาติ 78 (37.3) หาจากแหล่ง ….
สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา
เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง
(3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) เฉลี่ยคะแนน
(mean+SD)
1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 39.4 40.1 17.9 2.6 1.8+0.8
2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 53.5 29.1 14.5 2.9 1.7+0.8
3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 55.4 27.5 14.9 2.2 1.6+0.8
4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 77.1 15.3 6.2 1.5 1.3+0.7
5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 71.7 18.5 8.0 1.8 1.4+0.7
6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 83.7 9.8 6.2 0.4 1.2+0.6
7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 62.2 23.3 14.2 0.4 1.5+0.7
8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 78.2 14.5 5.5 1.8 1.3+0.7
9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 74.5 18.2 5.8 1.5 1.3+0.7
10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 37.3 32.2 15.6 14.9 2.9+1.1
ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา (n= 255)
การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ
ไม่มีการเตรียมการ 103 40.4
มีการเตรียมการ 152 59.6
ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น
ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ
ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 234 85.1
2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 231 84.0
3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 260 94.5
ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 270 98.2
5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 244 89.1
6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 184 67.4
7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 217 79.2
ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 264 96.4
9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 267 97.4
10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 270 98.2
11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 247 89.8
12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 182 66.7
ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 107 38.9
14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 135 49.3
15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 118 43.1
16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 225 81.8
ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n = 267)
องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวางแผนและจัดการ 3 2.6 0.7
การเลือกอาหาร 4 3.3 1.0
การเตรียมอาหาร 5 4.5 0.7
การรับประทานอาหาร 4 2.1 0.9
คะแนนรวม 16 12.6 2.2
ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =26)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
หญิง 26 100
อายุ (ปี) (mean + SD) 48.5+9.5
ศาสนา
อิสลาม 24 92.3
พุทธ 2 7.7
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา 14 58.3
มัธยมศึกษา/ปวช. 9 37.5
ปริญญาตรี 1 4.2
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 10 38.5
5001 – 10000 บาท 12 46.2
10001 – 15000 บาท 3 11.5
15001 – 20000 บาท 1 3.8
ลักษณะสถานบริการอาหาร
โรงอาหารในโรงเรียน 7 29.2
โรงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 4.2
ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 9 37.5
แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผงร้านค้า) 2 8.3
แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 4 16.7
อื่น ๆ 1 4.2
บทบาทในการประกอบอาหาร
ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 14 56.0
แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 23 92.0
ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 11 44.0
ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 11.3+10.2
การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง
ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร
แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ
ตลาด 20 76.9
ร้านค้าในชุมชน 19 73.1
รถเร่/รถพุ่มพวง 3 11.5
ผู้ผลิต (เกษตรกร) 1 3.8
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร
ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ
ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร
1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 0 11.5 88.5
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 42.3 30.8 26.9
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 50.0 30.8 19.2
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 7.7 23.1 69.2
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 3.8 15.4 80.8
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 3.8 19.2 76.9
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 4.2 4.2 91.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 3.8 96.2
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 3.8 11.5 84.6
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 7.7 92.3
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 11.5 88.5
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 3.8 96.2
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร)
13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 3.8 3.8 92.3
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 7.7 92.3
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 11.5 88.5
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 46.2 0 53.8
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 42.3 11.5 46.2
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 57.7 7.7 34.6
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 7.7 7.7 84.6
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 3.8 96.2
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 0 19.2 80.8
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 19.2 7.7 73.1
การขนส่ง
23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 69.2 0 30.8
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 0 0 100
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 88.5 0 11.5
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 7.7 3.8 88.5
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 81.6 3.8 11.5
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 0 3.8 96.2
ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 17.4 2.5
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.5 0.9
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 25.9 3.7
การขนส่ง 18 16.7 2.1
รวมทั้งหมด 84 74.3 6.7
สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ
ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก
รอบที่ 1 วันที่ 22-23 เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี
รพ.สต. ……นาเกตุ...… อำเภอ……....…โคกโพธิ์……....…จังหวัด………………ปัตตานี…………….
ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ
เครื่องมือ 1:
Systems Map
เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2:
Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ
วันที่ 1 การเติบของประชากรและการย้ายถิ่น
- มีการไปทำงาน กทม.,มาเลย์ ให้ลูกอยู่กับย่ายาย=10%
ความเป็นเมือง
- ถนนสายหลักมีรถใหญ่ผ่านเยอะ ทำให้มีร้านค้าเพิ่มมากขึ้น
บริบททางสังคม-วัฒนธรรม
- พหุวัฒนธรรม
- 50:50 กลมเกลียว สามัคคี
- เดือน 10 ไทยพุทธ แบ่งปันอาหารให้มุสลิม ขนมเดือน 10
- ตุป้ะ/ตาแป จากมุสลิมแบ่งปันไทยพุทธ
นโยบาล มาตรการ กฎหมาย
- อบต. ส่งเสริม (เลี้ยงไก่ไข่,ผัก Hydro)
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบ
1.ห่วงโซ่อุปทานอาหาร
- ดิน+น้ำ เหมาะสมปลูกข้าว ผัก
- อยู่ใกล้เมือง
- อยู่ใกล้สะพานปลา(จ. เมือง)เข้าถึงแหล่งง่าย
- คมนาคมสะดวกในการขนส่ง
ปัจจัยแวดล้อม
- ตลาดมะกรูด (ทุกวัน)
- สะพานปลาปัตตานี (ทุกวัน)
- ราคาอาหารไม่แพง
- มีตลาดในชุมชน 1 สัปดาห์ มี 5 วัน
- ร้านค้าขายของชำ
- ร้านค้าขายผัก
- ร้านขายอาหาร
- ตลาดนัดในชุมชน
- ตลาด สว.
- ปลาสลิดแดดเดียว (กลุ่มเกษตรกร)
- ผลิตอาหารในพื้นที่
- กลุ่มปลูกผัก
ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/รร./ศพด.
- มีร้านค้าใกล้บ้าน
- มีร้านค้าแผงลอยขายเช้าๆ
- มีร้านสะดวกซื้อในชุมชน
- ทำเองที่บ้าน ไม่อยากซื้อร้าน (ใส่ผงชูรส/ได้คุณค่าน้อย)
- ร้อยละ 49% มีรายได้น้อย < 5000/เดือน (จากแบบสอบถาม)
- มีทำนาปีปลูกข้าวพันเมือง (บริจาค ศพด.)
- มีรายได้ปานกลาง
- เวลา เน้นความสะดวก
- 10% อยู่กับย่า ยาย พ่อแม่ไปทำงานที่มาเลย์ กทม.
- คนที่อยู่กับปู่ย่าตายาย ไม่ได้กินตามมื้อ
- กรีดยางเป็นหลัก รับจ้างทั่วไป (45%) + รับจ้างกรีดยาง
- พ่อแม่ซื้อ ลูกกินตาม (ชาเย็น,น้ำหวาน)
- กินไม่ครบ 5 หมู่
- อยากกินแค่บางอย่าง
- ผู้ปกครองแค่ให้เด็กกินอิ่ม โดยไม่นึกถึงประโยชน์ของอาหาร
พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว
- ความเชื่อของพ่อแม่ เรื่องพันธุกรรม
- ทำตามแผนงานใน 1 เดือน
- ครู ศพด. ใส่ใจในเรื่องโภชนาการ
- มีอาหารเช้า-เที่ยง มีผลไม้
อาหารที่รับประทาน
- มื้อเช้า
1.)ข้าวต้ม/โจ๊ก
2.)โรตี
3.)ข้าวเหนียวไก่ทอด
4.)ไข่ต้ม
5.)นม
6.)ข้าวผัดไข่
7.)ข้าวมันไก่
8.)ข้าวหมก
9.)ข้าวเหนียวปิ้ง
-มื้อกลางวัน
1.)ใช้โปรแกรมหมุนเวียนอาหารใน 1 เดือน ไม่ซ้ำหลากหลาย
2.)ต้มจืด
3.)ก๋วยเตี๋ยว
4.)ไข่เจียว
5.)ขนมหวาน
6.)พะโล้
7.)ผลไม้ (ตามฤดูกาล)
8.)นมเปรี้ยว
9.)ขนมขบเคี้ยว
10.)ขนมไข่
-มื้อเย็น
1.)ข้าวไข่เจียว
2.)ข้าวปลาทอด
3.)ข้าวไข่ดาวทรงเครื่อง
-มื้ออาหารว่าง
1.)ลูกชื้นทอด
2.)ขนมกรุบกรอบ (เลย์,เทสโต)
3.)น้ำอัดลม/น้ำหวาน
4.)ลูกอม
5.)ยำไก่แซ่บ
6.)ยำมาม่า
7.)ชาเย็น
8.)ขนมยุโร่
9.)คุกกี้
10.)ไก่ชุบแป้งทอด
11.)ไส้กรอก,ลูกชิ้น
- ปัญหา = เด็ก / คนสร้างปัญหา = พ่อแม่ / เหตุผล = พ่อแม่ทำงานจนไม่มีเวลาและไม่ได้ใส่ใจในเรื่องอาหารที่มีคุณค่าให้กับลูก
- พ่อแม่ไม่มีเวลาในการเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ให้ลูกทาน
- พ่อแม่ไม่มีเวลา เด็กไม่ได้กินครบ 5 หมู่
- พ่อแม่ทำอาหารตามใจเด็ก
- พ่อแม่รีบทำงาน
- ผู้ดูแล(ไม่ใช่พ่อแม่) ตามใจเด็กมากเกินไป กินอะไรก็ได้ให้อิ่มโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของอาหาร
- ตามใจจากคนรอบๆข้าง
- พ่อแม่ไม่มีเวลาในการเตรียมอาหารให้ลูก เนื่องจากต้องรีบไปทำงาน ทำให้ลูกได้อาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่
- เด็กกินอาหารไม่ครบ
- เด็ก 0-5 ปี เด็กไม่ยอมกินอาหาร
- อาหารไม่ถูกปาก/ชอบกินขนมจุกจิก
- เด็กเลือกกินเฉพาะที่ตัวเองชอบ
- เนื่องจากเด็กสมัยนี้จะกินอาหารขยะมากกว่าอาหารที่มีประโยขน์ เช่น KFC เบอร์เกอร์ ฯลฯ
- เด็กชอบดูยูทูเบอร์การรีวิวอาหาร
- ให้พ่อแม่มีเวลาในการเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ให้ลูกทาน
- ให้เด็กไม่เลือกกินหรือเลือกกินเฉพาะที่ชอบ
- จะให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับเวลาลูกมากขึ้น
- ให้ผู้ปกครองทำอาหารให้เด็กๆได้ทานเองที่บ้าน
- ให้เด็กเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์
- ให้พ่อแม่รักในการเตรียมอาหาร
- ให้เด็กชอบอาหารที่พ่อแม่เตรียมให้
- ให้การทำอาหารให้ลูกสนุก
- ให้การทำอาหารประหยัดเวลา
- พ่อแม่ให้เวลาลูกในวันหยุด เช่น ทำกิจกรรมถายในครอบครัว (รดน้ำต้นไม้,ปลูกต้นไม้,ทำอาหารรวมกัน)
- พ่อแม่ไม่ซื้อขนมขบเคี้ยวให้ลูกกิน
- ให้เด็กได้รับสารอาหารให้ครบ
- ให้พ่อแม่ขยันในการทำอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกกิน
- จะทำยังไงยูทูบเบอร์รีวิวอาหารที่มีประโยชน์สำหรับเด็ก
- ทำอย่างไรให้เด็กๆที่ชอบกินอาหารขยะแล้วได้รับอาหารที่ครบ 5 หมู่
- ทำอย่างไรให้พ่อมีส่วนร่วมในการทำอาหารร่วมกับแม่และลูกๆ
- สินค้าใหม่,สดทุกวัน
- ทำคลิปรีวิวอาหารสำหรับเด็กลงโซเซียล
- มีรางวัลล่อใจจากการเล่นเกมส์กินอาหาร
- สอนผู้ปกครองทำอาหาร
- ชวนเด็กมาทำอาหาร
- ให้ผู้ปกครองนำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาสาธิตการแปรรูปทำอาหาร
- มีตลาด สว.
- เดลิเวอรี่จากตลาด สว.
- จัดเวทีประชาคมสะท้อนปัญหา
- มีโปรแกรมคิดเมนูอาหารให้เด็ก
วันที่ 2 ยาเสพติด
- ยาบ้า
- กัญชา
- น้ำท่อม
- บุหรี่
- ยาไอผสมน้ำท่อม
- บุหรี่ไฟฟ้า
- โซแล่ม
1.ปัจจัยส่วนบุคคล
- อยากรู้อยากลอง
- ความชอบ
- ตำเอง ต้มเอง กินเอง
- เจอปัญหาในชีวิต เลยหันไปพึ่งยาเสพติด
- ความเชื่อแก้โรค (ไอ)
- เป็นยาชูกำลัง
- เชื่อว่ากินแล้วแก้ปวด ทำงานได้ทนได้นาน
- เห็นว่าเป็นเรื่องปกติใครๆก็กิน ใครๆก็สูบ
2.ปัจจัยแวดล้อม
- ไม่ทำงาน/ตกงาน
- ง่ายต่อการหาซื้อ
- มีการขายน้ำกระท่อมแบบสำเร็จพร้อมทาน
- มีพ่อค้ารายใหญ่ในหมู่บ้าน
- บ้านไหนที่ไม่มีคนแก่ มักจะมารวมตัวกันกิน
- ราคาถูก
- ปัญหาครอบครัว
- เข้าถึงง่าย มีต้นปลูก
- ครอบครัวยากจน/ไม่เรียนหนังสือ
3.ปัจจัยภายนอก
- เพื่อน
- ผู้นำชุมชนไม่แข็งแรง
- ครอบครัว
- กฎหมายเปิดโอกาศ
- ผู้ปกครองไม่เชื่อว่าลูกตัวเองติดยา เพราะลูกบอกว่าตัวเองไม่ได้เล่น
4.ผลกระทบ
- ลักขโมย
- ส่งผลกระทบด้านจิตใจ
- ทำร้ายข้าวของภายในบ้าน
- มีคนติดยาเป็นโรคจิตเวช
- ชิงทรัพย์
- ทำร้ายร่างกาย
- ทำร้ายร่างกายบุคคลใกล้ตัว (พ่อแม่)
- ขาดสติ
- จนลงๆ
- คนในครอบครัวไม่มีความสุข
- พูดจาหยาบคาย
- ก้าวร้าวกับพ่อแม่และคนรอบข้าง
ใคร = วัยรุ่นชายอายุ 15-30 ปี + ทำอะไร = ติดยาเสพติด + ลายละเอียด = เนื่องจากเข้าถึงได้ง่ายและมีราคาถูก
- ทำอย่างไรให้ชุมชนน่าอยู่
- ทำอย่างไรให้ผู้ค้ายาเสพติดไม่มีในหมู่บ้าน
- ทำอย่างไรให้วัยรุ่นไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด(ใบท่อม)
- ให้วัยรู้จักโทษของกระท่อม
- ให้มีการส่งเสริมกิจกรรมให้วัยรุ่นห่างไกลยาเสพติด
- ทำอย่างไรให้เยาวชนหันมาเล่นกีฬา
- ทำอย่างไรให้วัยรุ่นชักชวนกันไปดื่มน้ำกระท่อม
- เราสามารถห้ามไม่ให้มีการค้าขายน้ำกระท่อมในพื้นที่ได้ไม่
- ผู้นำศาสนาส่งเสริมการอบรมทางด้านศาสนาให้ลดการเสพยาเสพติด
- ให้ผุ้ปกครองให้คำปรึกษาแก่ลูกๆในเรื่องโทษและภัยของยาเสพติด
ไอเดียที่ทำกันปกติ
- ไม่ต้องให้เงิน
- ส่งเสริมให้ขายอย่างอื่นที่ไม่ใช้กระท่อม
- กิจกรรม To be number
- ห้ามคนในหมู่บ้านปลูกต้นกระท่อม
- จัดอบรมให้ความรู้วัยรุ่นในชุมชน
ไอเดียชุมชนมีส่วนร่วม
- มัสยิดสีขาว/ชุมชนสีขาว
- สร้างกลุ่ม Line เลิกน้ำกระท่อม
- ติดป้านสัญลักษณ์ ไม่ซื้อ ไม่ปลูก ไม่ต้มเอง
- เรื่องเล่าเร้าพลัง(ติดได้ เลิกได้ คืนความสุขให้ครอบครัว)
- จ้างงานให้คนที่เลิกน้ำท่อมได้
- สร้างพื้นที่ขายจัดโซนนิ่ง
- สายด่วนปรึกษาปัญหา
- ส่งเสริมการจัดแข่งขันกีฬา
- ไม่ซื้อ ไม่กิน ไม่ปลูก กระท่อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
- สอดส่องดูแลให้ตำรวจมาจับ
- บอกถึงโทษที่มีผลต่อสุขภาพ ( เป็นมะเร็ง,โรคไต,หูรูดอุจจาระเสื่อม)
ไอเดียที่ไม่ใช่งบประมาณ
- ให้คนในชุมชนตัดต้นกระท่อมทิ้ง
- คนในชุมชนร่วมมือกันค้านคนขาย
- เพื่อนชวนเพื่อน ( ชวนเลิกยาเสพติด)
ไอเดียที่ทำได้เลยตอนนี้
- รณรงด์ไม่ให้ปลูกต้นกระท่อมหมู่บ้าน
- บ้านไหนปลูกกระท่อมไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน
- ผู้นำตั้งกฎกติกาหมู่บ้านให้เด็ดขาด
- พ่อแม่ให้ความสำคัญในเรื่องของยาเสพติด
- ผู้นำศาสนาให้ความรู้เรื่องศาสนาในเรื่องโทษของน้ำกระท่อม
- อบรมให้ผู้ขายให้เห็นถึงอันตราย
ไอเดียสนุกสนาน
- ให้รางวัลกับคนที่สามารถเลิกน้ำกระท่อมได้
-บัตรสะสมแต้มเข้าร่วมกิจกรรม
ไอเดียกระแสออนไลน์
- ทำคลิปเกี่ยวกับโทษของการกินน้ำกระท่อม
- ทำหนังสั้น
- ทำเพลง
-เปิดเพลงมาร์คในหมู่บ้านทุกวัน
- เปลี่ยนมาขายสมุนไพรอื่น
|
|
สรุปกิจกรรมประชุมตำบลนาเกตุ วันที่30 พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.นาเกตุ
เนื่องจากทางตำบลนาเกตุได้เห็นความสำคัญของโภชนาการด้านอาหารของเด็กที่ยังไม่ครบ5หมู่และหาวิธีการให้เด็กกินผักให้มากขึ้นจึงคิดทำโครงการดังนี้
โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน
รพ.สต.นาเกตุ
-ครูโรงเรียนบ้่นนาเกตุ
-อสม.
-บัณฑิตอาสา
-ผู้ใหญ่บ้าน
-โรงเรียนคลองช้าง
มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน
• เปิดตลาดให้เด็กๆมาทำร่วมมาทำอาหารร่วมกันขายและแลกเปลี่ยนอาหาร
• ถ่ายคลิปวีดีโอการทำอาหารกับเด็กๆ
• จัดกิจกรรมให้เด็กๆมาทำอาหารร่วมกัน
• ดัดแปลงเมนูไข่ให้มีประโยชน์และหลากหลาย
• จัดอบรมผู้ปกครองและกลุ่มเป้าหมายในเรื่องของการทำอาหารสำหรับเด็กโดยตรง
• จัดทำนิทรรศการให้ความรู้เรื่องอาหารเกี่ยวกับเด็กให้ผู้ปกครองในโรงเรียน
• สร้างเกมเสริมทักษะเกี่ยวกับอาหารครบ 5 หมู่
• จัดกิจกรรมสอนเด็กอ่านฉลากโภชนาการ
• แปรรูปอาหารให้เด็กทุกอย่างให้ง่ายต่อการกิน
• ให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการปลูกฝังการกินผักและอาหารที่มีประโยชน์
• จัดครัวจิ๋วในการทำอาหารสำหรับเด็กๆในโรงเรียน
• ส่งเสริมการออกกำลังกายในเด็กและผู้ปกครองร่วมกัน
• จัดทำลานกีฬาประจำหมู่บ้าน
• จัดกิจกรรมโภชนาการสัญจรถ่ายทอดความรู้สู่ครัวเรือน
• สาธิตอาหารลูกกับแม่
• กิจกรรมแม่ลูกจูงมือเดินตลาด
• นำเสนอเมนูอาหารที่มีประโยชน์ที่สามารถทำเองได้
• จัดกิจกรรมพ่อแม่ลูกร่วมกันทำร่วมกันกิน
• จัดการเข้าค่ายอาหารเรียนรู้เรื่องอาหารและผักปลอดสารพิษ
• ทำตลาดนัดเหรียญบาทโดยให้ผู้ปกครองกับลูกได้มีส่วนร่วมในการทำอาหารสุขภาพมาขายในตลาดของนักเรียน
• จัดกิจกรรมโภชนาการในโรงเรียน
• ให้ผู้ปกครองแบ่งเวลาให้กับลูกในการทานอาหาร
• จัดกิจกรรมปลูกฝังให้เด็กกินนม
• ดัดแปลงนมโรงเรียนให้น่ากิน
การระดมความคิดชื่อโครงการ
• โครงการเล่นให้ชินกินให้เป็นเล่นให้สนุก
• โครงการอาหารมหัศจรรย์พลังแห่งการเจริญเติบโต
• โครงการปลูกผักที่ชอบ
• โครงการอาหารเป็นยาวิเศษ
• โครงการบูรณาการอาหารขยะสู่อาหารยุคใหม่
• โครงการสร้างสุขนิสัยการกินที่ดีเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก
• โครงการอาหารเช้าเป็นยาวิเศษ
• โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพเสริมสร้างคุณภาพชีวิต
• โครงการตลาดเล็กๆเพื่อเด็กนาเกด
• โครงการอาหารดีอยู่ดีเพื่อน้อง
• โครงการบูรณาการความรู้โภชนาการเพื่อสมองอันสดใสสู่อนาคตที่ดี
• โครงการอาหารอร่อยเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
• โครงการอาหารสร้างสุข
• โครงการผักและผลไม้ตามฤดูกาล
• โครงการตลาดเด็กยุคใหม่
• โครงการกินเป็นสุขรสชาติถูกปาก
• โครงการเลือกอาหารอย่างไรให้เกิดประโยชน์
• โครงการกินเกลี้ยงกินง่ายได้ประโยชน์เพื่อสุขภาพ
• โครงการอาหารอร่อยเพื่อเด็กๆในชุมชน
• โครงการกิจกรรมน้องกับพี่ทำคลิปอาหารอร่อยมีประโยชน์
• โครงการจานนี้ฉันรังสรรค์อร่อยและดีต่อสุขภาพ
• โครงการส่งเสริมการกินสู่เด็กพัฒนา
• โครงการอาหารเพื่อน้องกินผักปรับโภชนาการ
• โครงการเลือกกินอะไรเพื่อไม่ให้เกิดโรค
• โครงการทำอะไรดีให้นาเกดปลอดภัยจากสารพิษจากอาหารการกิน
• โครงการทำอาหารกินเองกิจกรรมไม่ซื้ออาหารถุง
• โครงการเด็กนาเกดยืน 1 อาหารของหนู
ความรู้สึก /ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้
• ได้เห็นความร่วมมือในการแก้ปัญหาของชุมชน
• สามารถนำไปปรับใช้กับที่บ้านและบอกต่อกับคนอื่นได้
• ได้รู้ถึงปัญหาที่พบในเด็กและภาวะเด็กเตี้ยที่พบได้ในไตรมาสนี้
• ส่งเสริมใส่ใจในโรงเรียนและผู้ปกครอง
• สร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงเรียน
• ทำให้รู้ว่าคนในพื้นที่นาเกดไม่นิยมปลูกเน้นซื้อตามความสะดวกควรเน้นสร้างที่เพาะปลูกจะได้กินผักปลอดสารพิษ
• ได้รู้เรื่องโภชนาการเด็กเพิ่มขึ้น
• ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
• ทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชน
• ได้เรียนรู้ว่าเด็กจะเติบโตอย่างมีคุณภาพต้องเริ่มที่ผู้ปกครอง
• ได้แนวทางในการปรับปรุงและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของคนในชุมชน
• โภชนาการที่ดีเริ่มต้นที่พ่อแม่
สิ่งที่ได้จากการดูคลิปวีดีโอการจัดโภชนาการอาหารในประเทศญี่ปุ่น
• ได้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมของเด็กในชุมชน
• การเอาวัตถุดิบในชุมชนมาทำอาหารส่งเสริมให้โรงเรียนมีกิจกรรมการปลูกผักเลี้ยงสัตว์ที่ปลอดสารพิษ
• สร้างอาชีพให้ชุมชน
• การนำ thai school lunch มาใช้ในโรงเรียน
• เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
• ความเอาใจใส่ในการเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาประกอบอาหาร
• ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการของเด็ก
• ได้เรียนรู้การอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง
• ร่วมด้วยช่วยกันของนักเรียนที่สามารถนำมาปรับใช้ในโรงเรียน
• จะนำกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในโรงเรียน
• สามารถนำไปพัฒนาชุมชนให้เกิดการบูรณาการมากขึ้น
• ได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆที่ได้กินของอร่อยและมีประโยชน์
• เห็นถึงการแก้ปัญหาที่ตรงจุดของโรงเรียนและชุมชนทำให้เด็กโตมาแบบมีคุณภาพ
• สร้างจิตสำนึกให้เด็กมีความรับผิดชอบ
• ช่วยสร้างให้เด็กมีวินัยและความรับผิดชอบมากขึ้น
• เด็กใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อลดปัญหายาเสพติด
|
|
ทรายขาว |
30 พ.ค. 2567 |
30 พ.ค. 2567 |
|
ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบล ทรายขาว อำเภอ โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n = 207)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 26 12.6
หญิง 108 87.0
อายุ (ปี) (mean+SD) 51.2+12.1
ระดับการศึกษา
ไม่ได้ศึกษา 1 0.5
ประถมศึกษา 47 22.7
มัธยมศึกษา/ปวช. 100 48.3
อนุปริญญา/ปวส. 19 9.2
ปริญญาตรี 37 17.9
สูงกว่าปริญญาตรี 3 1.4
รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 62 30.1
5001 – 10000 บาท 71 34.5
10001 – 15000 บาท 33 16.0
15001 – 20000 บาท 20 9.7
20001 – 25000 บาท 4 1.9
25001 – 30000 บาท 5 2.4
มากกว่า 30000 บาท 11 5.3
จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) (mean+SD) 3.9+1.8
อาชีพ
รับจ้าง 46 22.2
รับราชการ 12 5.8
เกษตรกรรม 89 43.0
ประมง 1 0.5
ธุรกิจส่วนตัว 11 5.3
ประกอบอาชีพมากกว่า 1 อาชีพ 17 8.2
อื่น ๆ 30 14.5
วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n = 201)
รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ
ผลิตอาหารเอง 127(63.2) เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง
1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 67.5
2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 42.0
3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 15.4
รูปแบบการเกษตร
1. แบบอินทรีย์ ร้อยละ 23.6
2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 19.3
3.แบบอื่น ๆ ร้อยละ 56.4
- การเพาะปลูก 143 (92.9)
- ปศุสัตว์ 28 (21.2)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 12 (5.8)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 0 (0)
ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- พอเพียง 117 (74.1)
- ไม่พอ 41 (25.9)
หาจากธรรมชาติ 76 (39.6) หาจากแหล่ง ….
สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา (n = )
เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง
(3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) เฉลี่ยคะแนน
1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 47.5 25.0 25.5 2.0 2.0+0.9
2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 49.8 26.8 18.5 4.9 2.0+0.9
3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 54.4 28.2 13.6 3.9 1.0+0.9
4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 76.7 17.0 5.8 0.5 1.0+0.6
5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 76.7 14.1 9.2 0 1.0+0.6
6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 82.9 11.2 5.4 0.5 1.0+0.6
7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 52.5 31.9 14.7 1.0 1.0+0.8
8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 85.9 12.1 1.9 0 1.0+0.6
9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 85.4 8.8 4.9 1.0 1.0+0.6
10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 33.2 14.1 20.0 32.7 2.0+1.3
ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา
การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ
มีการเตรียมการ 110 68.3
ไม่มีการเตรียมการ 51 31.7
ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น
ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ
ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 170 83.3
2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 158 77.5
3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 190 93.1
ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 197 96.6
5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 173 85.2
6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 160 78.4
7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 159 78.3
ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 175 86.2
9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 191 92.3
10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 196 96.6
11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 194 96.5
12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 143 71.5
ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 115 56.7
14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 126 62.1
15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 122 60.1
16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 153 75.0
ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n = )
องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวางแผนและจัดการ 3 2.5 0.7
การเลือกอาหาร 4 3.4 0.9
การเตรียมอาหาร 5 4.4 0.9
การรับประทานอาหาร 4 2.5 1.2
คะแนนรวม 16 13.0 2.5
ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =23)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 0 0
หญิง 23 100
อายุ (ปี) (mean + SD) 46.95+12.3
ศาสนา
อิสลาม 17 73.9
พุทธ 6 26.1
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา 4 18.2
มัธยมศึกษา/ปวช. 11 50.0
อนุปริญญา/ ปวส. 5 22.7
ปริญญาตรี 2 9.1
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 5 21.7
5001 – 10000 บาท 14 60.9
10001 – 15000 บาท 3 13.0
15001 – 20000 บาท 1 4.3
ลักษณะสถานบริการอาหาร
โรงอาหารในโรงเรียน 4 18.2
ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 1 4.5
แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผงร้านค้า) 2 9.1
แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 10 45.5
อื่น ๆ 5 22.7
บทบาทในการประกอบอาหาร
ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 9 40.9
แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 17 77.3
ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 4 18.2
ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 9.1+7.7
การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง
ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร
แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ
ตลาด 18 78.3
ร้านค้าในชุมชน 15 65.2
รถเร่/รถพุ่มพวง 23 100
ผู้ผลิต (เกษตรกร) 1 4.3
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร
ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ
ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร
1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 0 13.0 87.0
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 0 26.1 73.9
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 4.3 52.2 43.5
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 9.1 40.9 50.0
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 4.3 4.3 91.3
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 4.3 13.0 82.6
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 4.8 9.5 85.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 8.7 91.3
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 0 17.4 82.6
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 13.0 87.0
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 8.7 91.3
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 4.3 95.7
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร)
13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 4.8 14.3 81.0
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 4.3 95.7
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 8.7 91.3
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 56.5 4.3 39.1
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 45.5 18.2 36.4
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 56.5 26.1 17.4
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 4.3 13.0 82.6
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 17.4 82.6
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 9.1 18.2 72.7
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 4.3 21.7 73.9
การขนส่ง
23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 73.9 13.0 13.0
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 4.3 4.3 91.3
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 69.6 8.7 21.7
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 4.3 8.7 87.0
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 73.9 8.7 17.4
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 8.7 4.3 87.0
ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 19.0 1.6
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.5 1.2
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 26.2 2.7
การขนส่ง 18 16.1 2.1
รวมทั้งหมด 84 75.7 6.0
ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =23)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 0 0
หญิง 23 100
อายุ (ปี) (mean + SD) 46.95+12.3
ศาสนา
อิสลาม 17 73.9
พุทธ 6 26.1
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา 4 18.2
มัธยมศึกษา/ปวช. 11 50.0
อนุปริญญา/ ปวส. 5 22.7
ปริญญาตรี 2 9.1
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 5 21.7
5001 – 10000 บาท 14 60.9
10001 – 15000 บาท 3 13.0
15001 – 20000 บาท 1 4.3
ลักษณะสถานบริการอาหาร
โรงอาหารในโรงเรียน 4 18.2
ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 1 4.5
แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผงร้านค้า) 2 9.1
แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 10 45.5
อื่น ๆ 5 22.7
บทบาทในการประกอบอาหาร
ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 9 40.9
แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 17 77.3
ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 4 18.2
ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 9.1+7.7
การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง
ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร
แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ
ตลาด 18 78.3
ร้านค้าในชุมชน 15 65.2
รถเร่/รถพุ่มพวง 23 100
ผู้ผลิต (เกษตรกร) 1 4.3
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร
ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร
พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ
ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร
1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 0 13.0 87.0
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 0 26.1 73.9
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 4.3 52.2 43.5
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 9.1 40.9 50.0
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 4.3 4.3 91.3
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 4.3 13.0 82.6
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 4.8 9.5 85.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 8.7 91.3
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 0 17.4 82.6
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 13.0 87.0
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 8.7 91.3
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 4.3 95.7
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร)
13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 4.8 14.3 81.0
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 4.3 95.7
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 8.7 91.3
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 56.5 4.3 39.1
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 45.5 18.2 36.4
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 56.5 26.1 17.4
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 4.3 13.0 82.6
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 17.4 82.6
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 9.1 18.2 72.7
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 4.3 21.7 73.9
การขนส่ง
23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 73.9 13.0 13.0
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 4.3 4.3 91.3
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 69.6 8.7 21.7
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 4.3 8.7 87.0
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 73.9 8.7 17.4
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 8.7 4.3 87.0
ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 19.0 1.6
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.5 1.2
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 26.2 2.7
การขนส่ง 18 16.1 2.1
รวมทั้งหมด 84 75.7 6.0
สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ
ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก
รอบที่ 1 วันที่ 22-23 เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี
รพ.สต. ……ทรายขาว...… อำเภอ……....…โคกโพธิ์……....…จังหวัด………………ปัตตานี…………….
ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ
เครื่องมือ 1:
Systems Map
เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2:
Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ
วันที่ 1 การเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายราย
- เปลี่ยนจากปลูกข้าวไปปลูกทุเรียนแทน ราคาทุเรียนได้มากกว่า
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- สภาพแห้งแล้ง ทำให้การเพาะปลูกและการเกษตรได้รับผลผลิตน้อยลง
นโยบาย มาตรการ กฎหมาย
- ราคายางขึ้น ทำให้มีกำลังในการซื้ออาหารในครัวเรือนมากขึ้น
ความเป็นเมือง
- พื้นที่เป็นชุมชนท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชน
การเติบโตของประชากรและการย้ายถิ่น
- ไม่อยากมีลูก เนื่องจากว่างงาน มีรายได้น้อย
บริบททางสังคม-วัฒนธรรม
- เป็นพหุวัฒนธรรมมีทั้งศาสนาอิสลาม/พุทธ อยู่ร่วมกัน ไม่แตกแยก
- ช่วงเดือนรอมฎอน(ถือศีลอด) เด็กจะงดมื้อและรอรับประทานอาหารช่วงละศีลอด(ค่ำ)
โลกาภิวัฒน์และการค้าระหว่างประเทศ
- ทุเรียนส่งไปจีน
- ส่งห้าง
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบ
1.ห่วงโซ่อุปทานอาหาร
- พื้นที่อุดมสมบูรณ์
- ดินดี
- น้ำเพียงพอ
- เป็นสินค้า OTOP
- มีการแปรรูปอาหารและส่งจำหน่ายไปยังพื้นที่ต่างๆ
- มีการจำหน่ายในพื้นที่และพื้นที่ข้างเคียง เนื่องจากเพียงพอในพื้นที่
- ปลูกพืช,ผลไม้เฉพาะ ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
- มีการผลิตอาหารเอง เช่น ปลูกผัก,เลี้ยงปลา,เลี้ยงไก่
- มีสภาพแวดล้อมที่ดี
- ทุเรียนทรายขาวสร้างชื่อเสียงให้กับพื้นที่ ทำให้ได้รับการรู้จักจากพื้นที่อื่นๆ ในประเทศ
2.ปัจจัยแวดล้อม
- อาหารบางอย่าง เป็นอาหารแช่แข็ง (ไม่สด) เพราะราคาถูก
- มีตลาดวันอาทิตย์
- มีตลาดวันจันทร์/วันศุกร์
- อาหารในตลาดมีปนเปื้อนสารเคมี
- ผลิตอาหารเน้นการสร้างรายได้มากกว่ารับประทาน
- เป็นพื้นที่ที่คนรวยกระจุก คนจนกระจาย
3.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/ร.ร./ศพด.
- พ่อแม่ไม่มีเวลาทำอาหาร เนื่องจากต้องไปทำงาน
- เด็กอยู่กับ ปู่-ยา-ตา-ยาย
- มีโปรแกรมThai school lunch
- หย่าร้าง
- ฐานะทางการเงินของครอบครัวไม่ดี หาเช้ากินค่ำ
4.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว
- คุณแม่ไปทำงานให้ลูกทานนมผสม/นมกล้อง
- ซื้อจากร้านขายอาหารเช้า
- บางครอบครัวทำเอง
- ไม่คำนึงถึงโภชนาการ(ไม่มีเวลา)
- ขึ้นอยู่กับความชอบของลูก
- ทางร.ร./ครูโภชนาการ ได้รับการอบรมและจัดทำเมนูอาหาร+มีการอบรม
- เก็บอาหารที่เหลือใช้กินมื้อต่อไป
- ปัญหาจากเด็ก
1.)เด็กไม่ชอบทานนม
2.)เด็กไม่ชอบทานปลา
3.)เด็กไม่ชอบทานผัก
- พ่อแม่เร่งรีบไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหารให้
- เด็กตื่นสาย
- เด็กเบื่อการทานอาหาร แค่นมก็พอ
- ปัจจัยที่มีผลต่อการทานอาหารครบ 5 หมู่ ขาดความรู้ ความเข้าใจในความหมายของคำว่า 5 หมู่ ว่ามีอาหารประเภทใดบ้าง
5.อาหารที่รับประทาน
- มื้อเช้า
1.)ข้าวต้ม/โจ๊ก
2.)นมกล่อง
3.)ข้าวเหนี่ยวไก่ทอด
4.)ข้าวหมก
ไม่ครบโภชนาการ ไม่ครบอาหารหลัก 5 หมู่ ส่วนใหญ่ซื้อจากร้านในชุมชนและทำกินเองส่วนน้อย เด็กบางคนไม่ชอบกินข้าว
-มื้อกลางวัน(ร.ร./ศพด.)
1.)ขึ้นอยู่กับอาหารที่ศูนย์เด็กจัดให้/นม
2.)ผลไม้
3.)อาหารว่าง
-มื้อกลางวัน(อยู่บ้าน)
1.)ก๋วยเตี๋ยว/ผัด/น้ำ
2.)ข้าวไข่เจียว
3.)มาม่า
-มื้อเย็น
1.)พ่อแม่ ปรุงเองที่บ้านเอง
2.)อาหารปรุงสำเร็จ(แกงถุง)
-มื้ออาหารว่าง
1.)นมเปรี้ยว
2.)ขนมกรุบกรอบ/ขนมซอง
3.)ลูกชิ้น
4.)อาหารสำเร็จรูป ใคร = พ่อ-แม่
ปัญหา = ไม่ทันเตรียมอาหารให้ลูก
เพราะอะไร = เพราะรีบไปทำงานต่างพื้นที่,ไม่มีเวลาทำอาหารให้ลูกกินในมื้อเช้า
ใคร = คนในครอบครัวที่ดูแล-เลี้ยงดูเด็ก
ปัญหา = ไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหาร เพราะต้องเร่งรีบในการประกอบอาชีพ
ทำอะไร = ต้องให้ความรู้ ความเข้าใจในปัญหาที่จะส่งผลต่อลูกในอนาคต/สมอง
เพราะอะไร = ไม่มีความรู้และความเข้าใจถืองผลเสียของการกินอาหารไม่ครบ
ใคร = พ่อแม่-คนดูแล
ทำอะไร = ตามใจเด็กในสิ่งที่เด็ก/ลูกต้องการหรือถูกใจ แต่ไม่ถูกต้อง
เพราะอะไร = ไม่ดีต้องแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องจะต้องไม่ตามเด็กใจเด็ก
ใคร = พ่อ-แม่
ปัญหา = สภาพปัญหาทางครอบครัว,พ่อแม่อย่าร้างกัน
เพราะอะไร = ทำให้เด็กขาดคนดูแล
ใคร = เด็ก
ปัญหา = เลือกอาหารที่ชอบ
การแก้ = ต้องให้ผู้ปกครอง ทำให้หลากหลายเมนูแต่ละวันไม่ซ้ำ
ใคร = เด็ก
ปัญหา = ไม่อยากกินข้าว
เพราะอะไร = กินขนม กินนมเป็นส่วนมากเลย ทำให้ไม่อยากกินข้าว
ใคร = ชุมชน/ตลาด
ปัญหา = การจำหน่ายอาหาร
เพราะอะไร = มีการจำหน่ายอาหารที่มีรสชาติทานได้ไม่เบื่อ ทำให้เด็กเลือกกินแต่อาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดมากกว่าอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เฟรนช์ฟราย,ไส้กรอก,ชานม,ชาไข่มุก
ใคร = พ่อ-แม่
ปัญหา = ความรู้ที่ไม่เพียงพอ,ความเชื่อที่ผิด
เพราะอะไร = เชื่อว่าเด็กจะโตตามช่วงวัยและไม่มีความรู้เพียงพอต่อประเภทอาหาร จึงความเข้าใจผิดในการดูแลเรื่องอาหารของลูก
ใคร = รัฐบาล
ปัญหา = แจกนมจืดที่ไม่อร่อย เด็กไม่ชอบทาน
แก้ไข = นำมาแปรรูปอาหาร จากนมเป็นนมอัดเม็ด(รสชาติต่างๆ)
- เราจะทำอย่างไรให้แบ่งเวลาให้กับลูกก่อนทำงาน
- เราจะทำอย่างไรให้รัฐบาลต่อยอด จากอาชีพที่ได้ส่งเสริมหรือให้งบ เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ที่ถาวร
- เราจะทำยังไง ให้รัฐบาลลดค่าครองชีพลง เพื่อให้ผู้ปกครองมีเวลาดูแล-ใส่ใจลูกได้มาก
- แปรรูปอาหารในหน้าดึงดูดและมีสีสัน ทำให้หน้ารับประทานมากขึ้น
- จะทำยังไงให้เล่นโทรศัพท์ระหว่างกินอาหาร
- ไม่ให้อาหารถุงมาให้เด็กทาน ด้วยเวลาเร่งรีบทีจะต้องออกไปทำงานต่างพื้นที่ เพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัว - เราจะทำอย่างไร มีการจัดกิจกรรมภายในหมู่บ้านในเรื่องอาหารที่มีประโยชน์
- เราจะทำอย่างไร ให้การเตรียมอาหารให้กับลูกเป็นเรื่องสนุกและถูกโภชนาการ
- ให้รัฐบาลเปลี่ยนจากเงินส่งเคราะห์บุตร เป็นเงิน เนื้อ-นม-ไข่ (ของอุปโภคบริโภคในครัวเรื่อง)
สิ่งที่ทำได้เลย
- มีการแสดงจากกลุ่มคนดังในพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่ใกล้เคียง
- มีการพบปะพูดคุยในชุมชนและแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องอาหาร
ไอเดียไม่ใช้งบ
- คอนเทนต์ประกอบอาหารลง Tik Tok
- เสนอสส.ในชุมชน/เขตรับผิดชอบ เพื่อแก้ปัญหาต่อไป
ไอเดียสำหรับเด็ก
- ประกวดเด็กสุขภาพดี
- เชฟเด็กน้อย เมนูเด็กๆ
- กินอาหารมีประโยชน์ เช่น กินผัก,ผลไม้,นม เก็บแต้ม เพื่อแลกรับของและได้ของมี่อยากได้
ไอเดียสำหรับเด็ก
- ปลูกผักปลอดสารพิษกับลูกหลาน
- ปลูกผักปลอดสารพิษให้กับคนในครอบครัว
ร้านค้า/7-11
- แปรรูปผัก/ผลไม้อบกรอบ
- ซื้อผักในร้านค้า/7-11 ได้แต้ม
- การขนส่ง ลดราคาการขนส่งในอาหารที่มีโภชนาการดี
ชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้อง
- ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการรับบริจาคเผื่อใช้จัดกิจกรรม
- จัดกิจกรรมประจำปีในการประกวดเด็กดีโภชนาการเยียม
- มีตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพทุก 1-2 วันของสัปดาห์
- เชฟกระทะเหล็กในกลุ่มเด็กเล็ก
กระแสออนไลน์
- เชิญชวนเน็ตไอดอลในชุมชน/ดาว Tik Tok
- มีเพจประจำหมู่บ้าน เช่น Facebook ,Tik Tok,Twitter, IG , Youtube
วันที่ 2 ความรู้ พฤติกรรม การบริโภคอาหารของคนในพื้นที่
“ตำบลทรายขาว”
1.สิ่งที่เกิดขึ้น
- ไม่มีอาหารให้บริโภค
- รายได้ไม่เพียงพอ
- การศึกษา
- มีความรู้ไม่เพียงพอ
- ดำเนินชีวิตตามความเคยชิน
- เวลาที่เร่งรีบ
2.ปัจจัยส่วนบุคคล
- ความเชื่อส่วนบุคคล
- ในหญิงหลังคลอดจะเลือกบริโภคเฉพาะปลา
- หญิงตั้งครรภ์ไม่ค่อยกินอาหารเสริมธาตุเหล็กมีความเชื่อว่ากินแล้วจะทำให้โตในครรภ์
- เน้นกินอาหารที่มีพลังงานสูง เพื่อใช้งานในแต่ละวัน
3.ปัจจัยแวดล้อม
- เศรษฐกิจ
- อาชีพ
- พื้นที่อุดมสมบูรณ์
- เปลี่ยนความคิดการเพาะปลูกจากปลูกข้าวมาปลูกทุเรียน
- เน้นปลูกพืชเศรษฐกิจมากกว่าพืชผักสวนครัว
- อุทยานน้ำตกทรายขาว
- มัสยิด 300 ปี
-ทุเรียนพรีเมียม (หมอนทอง)
4.ปัจจัยภายนอก
- สื่อโฆษณาชวนเชื่อ
- ร้านค้า/ค่าเฟ่ เปิดใหม่มากขึ้น
- ร้านค้าออนไลน์และระบบขนส่งสะสวกขึ้น
- สื่อจากการเช็คอินร้านค้าเช่น Facebook ,Tik Tok,Twitter, IG , Youtube
5.พฤติกรรม
- เลือกกินอาหารที่ชอบ
- เลือกซื้ออาหารที่ไม่มีคุณภาพและไม่มีอย.
- ไม่อ่านฉลากก่อนเลือกบริโภค
- กินอาหารค้างคืน
- เลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จ เช่น แกงถุง
- กินอาหารสำเร็จรูป
- อาหารแช่แข็ง
- โรคประจำตัว เช่น ความดัน,เบาหวาน,เก๊าท์
- สภาพอากาศที่ร้อน ใคร = พ่อ-แม่
ปัญหา = ไม่มีเวลาในการหาวัตถุดิบ
ใคร = คนในครอบครัวที่ดูแล-เลี้ยงดูเด็ก
ปัญหา = ขาดความตะหนักในการเลือกบริโภคอาหาร
ใคร = คนในครอบครัวที่ดูแล-เลี้ยงดูเด็ก
ปัญหา = ความเชื่อในเรื่องอาหารบางชนิด
ใคร = คนในครอบครัวที่ดูแล-เลี้ยงดูเด็ก
ปัญหา = ขาดความรู้,ความเข้าใจในเรื่องการเลือกบริโภคอาหาร - เพิ่มบทเรียนในห้องเรียน
- ส่งเสริมกิจกรรมการเลือกบริโภคอาหาร
- มีตลาดสุขภาพในชุมชน
- เพิ่มแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
- อบรมให้ความรู้ในแต่ละช่วงวัยจากผู้เกี่ยวข้อง
- มีการประกวดสุขภาพดีภายในชุมชน
- ส่งเสริมรับประทานอาหารที่หลากหลาย
- ในชุมชนมีร้านอาหารเพื่อสุขภาพ
- เผยแพร่สื่อโซเซียลในช่องทางออนไลน์ Facebook ,TikTok,Twitter, IG , Youtube
- ทำอาหารที่มีประโยชน์และที่ดีต่อเด็กทุกกลุ่มวัย
- ส่งเสริมในครัวเรือนปลุกผัก ,เลี้ยงไก่,เลี้ยงปลา ไว้กินเอง
- ประเมินภาวะโภชนาการก่อนรับเงินอุกหนุนเพิ่ม-ลดตามสภาพปัญหาของแต่ละคน
- เราจะทำอย่างไรให้การกินอาหารสำเร็จรูปลดลง
- กลุ่มคนเปราะบาง
1.)ด้อยโอกาส
2.)หญิงตั้งครรภ์
3.)พิการ
4.)สูงอายุ
- เราจะทำอย่างไร ให้ประชาชนกินอาหารครบ 5 หมู่
สิ่งที่ทำได้เลย
- ให้ความรู้และนะไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ไอเดียไม่ใช้งบ
- ส่งต่อกันในกลุ่มไลน์
ชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้อง
- เปิดตลาดสุขภาพในชุมชน
- จัดกิจกรรมในเรื่องโภชนาการ
กระแสออนไลน์
- ทำคลิปลงช่องทางออนไลน์ เช่นFacebook ,Tik Tok,Twitter, IG , Youtube
ไอเดียประชาชน
- ลบความเชื่อในด้านที่ผิดเกี่ยวกับโภชนาการ
|
|
สรุปกิจกรรมประชุมตำบลทรายขาว วันที่30 พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.ทรายขาว
เนื่องจากทางตำบลทรายขาวได้เห็นความสำคัญของโภชนาการด้านอาหารของเด็กที่ยังไม่ครบ5หมู่และหาวิธีการให้เด็กกินผักให้มากขึ้น รวมถึงความสำคัญของอาหารเช้า จึงคิดทำโครงการดังนี้
โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน
รพ.สต.ทรายขาว
-อสม.
-ครูศพด.ทรายขาว
-ผู้ใหญ่บ้าน
-ปลัด
-ผู้ใหญ่บ้าน
มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน
• ตลาดนัดวิชาการด้านโภชนาการ
• ส่งเสริมการเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนสนับสนุนและเมล็ดพันธุ์พืช
• ปลูกผักปลอดสารในโรงเรียนและชุมชน
• อบรมให้ความรู้และโทษของอาหารแต่ละประเภทโดยเฉพาะอาหารที่จำหน่ายในพื้นที่
• จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารของแม่ครัวแต่ละโรงเรียน
• จัดกิจกรรมทำอาหารครบ 5 หมู่สำหรับเด็กนักเรียนในวัดเสาร์อาทิตย์
• จัดกิจกรรมแผงลอยเมนูอาหารสำหรับเด็ก
• ให้เด็กกินไข่ต้มก่อนมาโรงเรียนวันละ 1 ฟอง
• ปลูกผักแลกตังค์เลี้ยงไก่ได้กินไข่
• ชุมชนเลี้ยงไก่ส่งไข่ให้โรงเรียน
• ประกวดหนูน้อยฟันดี
• จัดเวทีพูดคุยกิจกรรมร่วมกันระหว่างวัดบ้านพ่อแม่โรงเรียนครูและนักเรียน
• ปลูกผักข้างรั้วบ้านรั้วโรงเรียน
• จัดเมนูอาหารที่เด็กชอบโดยไม่กินซ้ำกันในแต่ละวัน
• แลกเปลี่ยนพันธุ์ผักแต่ละฤดูกาล
• ให้นักเรียนทำกิจกรรมการทำอาหารโดยเอาผักปลอดสารพิษที่ปลูกเองคนละอย่างมาทำร่วมกันและรับประทานร่วมกัน
• จัดอาหารเช้าในโรงเรียนทุกวัน
• เลี้ยงไก่ไว้ในโรงเรียน
• ประกวดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ
การระดมความคิดชื่อโครงการ
• โครงการเยาวชนพ้นภัยผอมเตี้ย
• โครงการปลอดสารพิษชีวิตปลอดภัย
• โครงการอาหารหลัก 5 หมู่เพื่อหนูน้อย
• โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กในโรงเรียน
• โครงการเด็กสมบูรณ์พ่อแม่สุขใจ
• โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยใส่ใจสุขอนามัย
• โครงการชีวิตหนูจะปลอดภัยต้องอาศัยฝีมือแม่ครัว
• โครงการอาหารเช้าอิ่มท้องสมองดี
• โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค
• โครงการอาหารถูกหลักลูกหลานถูกใจสุขภาพเด็กสมวัย
• โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ปกครอง
• โครงการเด็กทรายขาวสุขภาพดีแข็งแรงอาหารอร่อย
• โครงการตลาดสุขภาพชุมชนปลอดภัยเพื่อเด็กและครอบครัว
• โครงการเยาวชนเข้าใจรู้ภัยโภชนาการ
• โครงการคุณยายเข้าใจรู้ภัยโภชนาการ
• โครงการอาหารปลอดภัยจากใจผู้ประกอบการ
• โครงการผู้ปกครองใส่ใจตระหนักภัยโภชนาการ
• โครงการตอบรับแผนสุขภาพเด็กตำบลทรายขาวโดยผู้ปกครอง
• โครงการอาหารดีมีประโยชน์สุขภาพแข็งแรงปลอดภัยใส่ใจลูกหลาน
• โครงการอาหารมื้อนี้ดีจังผู้ปกครองไม่ควักตังค์สักบาท
• โครงการอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อเตรียมพร้อมเด็กก่อนวัยเรียนด้านโภชนาการ
• โครงการงบประมาณที่ให้ต้องเพียงพอกับอาหารหลัก 5 หมู่
• โครงการสร้างเสริมสุขภาพเด็กด้วยอาหารเช้าของโรงเรียน
ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้
• ได้รับความรู้มากขึ้น
• จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กๆในศูนย์เด็กเล็กทรายขาว
• ได้รับความรู้ทั้งจากดูวีดีโอเด็กที่มีความรับผิดชอบมีความเป็นระเบียบและความรู้ที่ได้จากการคืนข้อมูล
• จะนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ในชุมชน
• ได้รับความรู้ความเข้าใจกับสิ่งที่ได้รับฟัง
• ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เข้าร่วมอบรมเป็นความรู้ที่ใกล้ตัวและจะนำแนวคิดมาใช้กับเด็กในโรงเรียน
• เป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
• จะนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียน
• เป็นกิจกรรมที่ดีเพื่อพัฒนาเด็กครูแม่ครัวในการจัดกิจกรรมโภชนาการเราจะได้เดินทางไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่ดีกินอาหารที่มีประโยชน์
• ได้ทราบภาวะปัญหาจากแบบสำรวจที่แท้จริงเพื่อคิดกิจกรรมและโครงการในลำดับต่อไป
• อยากให้กิจกรรมในวันนี้มีการต่อยอดให้เด็กในพื้นที่ทรายขาวได้ผ่านเกณฑ์ 100%
• ได้รับความรู้และความภูมิใจที่จะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก
• ถือเป็นการระดมความคิดจากทุกฝ่ายในพื้นที่เด็กๆจะต้องมีสุขภาพดีขึ้นในอนาคต
• ได้รับความรู้มากๆเกี่ยวกับหลักโภชนาการและจะนำมาใช้กับตนเองเพื่อเน้นการกินอาหารให้ถูกหลักอนามัยสะอาดและปลอดภัยใส่ใจต่อสุขภาพ
|
|
สุคิริน |
6 มิ.ย. 2567 |
6 มิ.ย. 2567 |
|
สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ
ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก
รอบที่ 3 วันที่ 29-30 เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี
รพ.สต. ……สุคิริน…… อำเภอ……………สุคิริน……..จังหวัด……นราธิวาส……
ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ
เครื่องมือ 1:
Systems Map
เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2:
Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ
วันที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
- น้ำท่วม
-ดินสไลด์
1.ปัจจัยแวดล้อม
- มีการเพาะปลูกเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน
- ประชาชนในชุมชน 40 % รับจ้างกรีดยาง รายได้น้อย
- ราคาอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีราคาสูง
- สินค้าอาหารในชุมชนไม่มีความหลากหลาย
- ในชุมชุนมีอาหารสำเร็จรูป เช่น ของทอดต่าง ๆ
- ในชุมชนมีอาหารธรรมชาติในพื้นที่ 39 %
2.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/ร.ร./ศพด.
- สมาชิกในครอบครัวมีจำนวนเยอะ รายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย
- ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยาง
- รูปแบบการปรุงเน้นรสชาติ หวาน มัน เค็ม
- ชาวบ้านมีวิถีชุมชนแบ่งปันวัตถุดิบ การช่วยเหลือกัน
- ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา เข้าถึงชุมชน ครอบครัวเปราะบาง
3.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว/ผู้ปกครอง
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของผู้ปกครองก่อนเพราะมีอิทธิพลต่อลูก
- ตลาดนัดชุมชนขายอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพไม่ดี
- ราคายางตกต่ำส่งผลต่อรายได้ของผู้ปกครอง
- ในชุมชนมีตลาดนัดและรถเร่ขายของ
4.อาหารที่รับประทาน
- มื้อเช้า
1.) ส่วนใหญ่ไม่ได้ทานที่บ้าน
- มื้อจุกจิก
1.) ในร้านค้าในโรงเรียน
5.สารอาหารและผลต่อสุขภาพ
- กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดัน สูงขึ้นทุกปี
- มีภาวะทุกโภชนาการ
- 90% มีสารเคมีในเลือดจากการสุ่มตรวจ ใคร = พ่อแม่
ปัญหา = ทำอาหารรสชาติที่พ่อแม่กินทำให้เด็กติดรสชาติตามพ่อแม่
ใคร = แม่ค้า
ปัญหา = ทำอาหารที่ไม่มีคุณภาพและไม่คำนึงถึงหลักโภชนาการ
ใคร =แม่ครัวในโรงเรียน
ปัญหา = เลือกวัตถุดิบที่ต้นทุนต่ำไม่เน้นคุณภาพ
ใคร = คนในชุมชน
ปัญหา = ไม่ตระหนักเรื่องโภชนาการ
เราจะทำอย่างไรให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์
- เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองหวาดกลัวต่อการบริโภคอาหารที่ทำให้ลูกมีภาวะทุกโภชนาการ
- เราจะทำอย่างไรให้คนในชุมชนมีความรู้และความตระหนักด้านอาหารเพิ่มมากขึ้น
- เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีแหล่งอาหารที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น
- เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองมีมุมมองในเรื่องการบริโภคอาหารที่ดีของตนเองและครอบครัว
- เราจะทำอย่างไรให้แม่ค้าขายอาหารที่มีประโยชน์และต้นทุนต่ำ
- เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่รู้จักโน้มน้าวใจให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์
- เราจะทำอย่างไรให้มีค่านิยมบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ
ทำอย่างไรให้อาหารสุขภาพกลายเป็น เทรนของชุมชน
ไอเดียรักษ์โลก
- ผลิตบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติในชุมชน
ไอเดียที่ทำกับต่างประเทศ
- จัดทำนิทรรศการอาหารนานาชาติจากวัตถุดิบในชุมชน
ไอเดียที่ชุมชนมีส่วนร่วม
- ให้ผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างในการรักสุขภาพ
ไอเดียที่ใช้AI
- ออกแบบตัวการ์ตูนโปรโมทอาหารสุขภาพ
ไอเดียสำหรับผู้สูงอายุ
- ดัดแปลงอาหารพื้นบ้านให้ทันสมัยตามยุค
ไอเดียที่ทำให้เป็นกระแสออนไลน์
- โปรโมทในสื่อสังคมออนไลน์
-สร้าง content บนโลกโซเชียล
ไอเดียที่ทำกันเป็นปกติในการแก้ปัญหานี้
- สร้างสูตรอาหารที่มีคุณภาพ ดึงดูดและน่าสนใจ
- มีตรารับรองมาตรฐานผู้ประกอบการอาหารปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ
- จัดเมนูอาหารที่มีประโยชน์
- ปรับอาหารให้มีสีสัน หาวัตถุดิบที่เด็กชอบมาใส่ในอาหาร
- ถามเด็กว่าอยากกินอะไรแล้วให้ผู้ปกครองใช้วัตถุดิบที่เด็กอย่างกินร่วมกับวัตถุดิบที่มีประโยชน์
- ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ
ไอเดียที่ทำได้เลยตอนนี้
- ทำเมนูอาหารพร้อมทานที่มีประโยชน์
ไอเดียที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน
- สร้างชุดความรู้คุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบในท้องถิ่น
ไอเดียสนุกสนาน
- ประกวดเมนูอาหารปลอดภัย
- แข่งขันการทำอาหารโดยใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน
ชื่อโครงการ/กิจกรรม :
วิธีการ/กระบวนการ
-
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
-
สิ่งที่ยังไม่แน่ใจ/ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
-
วันที่ 2 ยาเสพติดในวัยรุ่น
1.ปัจจัยภายนอก
- มีพ่อค้าในหมู่บ้าน
- มีนโยบาย 5 เม็ดไม่ใช่ผู้ค้า
- ราคาถูก
2.ปัจจัยแวดล้อม
- เพื่อนชักชวน
- หาซื้อได้ง่าย
- ภาครัฐปล่อยปะละเลย
- .ปัจจัยส่วนบุคคล
- ตามเพื่อน
- เด็กมีปัญหาครอบครัว
- พ่อกินลูกกินตาม
- ไม่เรียนหนังสือ
- ไม่ทำงาน
4.พฤติกรรม
- ก้าวร้าว
- ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น
- ขี้เกียจทำงาน
- นอนทั้งวัน
5.สิ่งที่เกิดขึ้น
- ฆ่าตัวตาย
- เป็นภาระสังคม
- ลักขโมย
- จิตเวช
- ชาวบ้านต้องอยู่อย่างหวาดระแวง
- ขาดทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ
- มีปัญหาด้านสุขภาพ ใคร =วัยรุ่น
ปัญหา = ไม่เรียนหนังสือ
เพราะ =เป็นช่วงคึกคะนอง
ใคร = วัยรุ่น
ปัญหา = ว่างงาน
เพราะ =ขาดความรู้
ใคร = วัยรุ่น
ปัญหา = ไม่มีครอบครัว
เพราะ =ขาดคนชักจูงไปในทางที่ดี
ใคร = พ่อแม่ผู้ปกครอง
ปัญหา = - ไม่มีเวลา
- ขาดจิตวิทยาในการสั่งสอนเด็ก
เพราะ = - พ่อแม่ไม่มีความรู้
- พ่อแม่ไม่สั่งสอนไปในทางที่ดี
- ขาดความอบอุ่น
- พ่อแม่แยกทาง
ใคร = เพื่อน
ปัญหา =เพื่อนชักจูงไปในทางที่ผิด
เพราะ = เพื่อนติดยาอยู่แล้ว
ใคร =ชุมชน
ปัญหา = - ผู้นำไม่เข้มแข็ง
- ขาดมาตรการชุมชน
- ผู้นำไม่แก้ปัญหา
- ผู้นำเอาแต่ผลประโยชน์ตนเอง
เพราะ = ผู้นำกลัวผลกระทบกับผ็มีอิทธิพลและไม่อยากยุ่งกับเรื่องละเอียดอ่อน
- เราจะทำอย่างไรให้ปัญหายาเสพติดหมดไปจากชุมชน
- เราจะทำอย่างไรให้เด็กได้เรียนหนังสือ
- เราจะทำอย่างไรให้เด็กทีภูมิคุ้มกันทางด้านความคิด
- เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่เข้าใจเด็ก
- เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนปลอดยาเสพติด
- เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีมาตรการที่เข้มแข็ง
- เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหายาเสพติด
- เราจะทำอย่างไรให้เด็กมกิจกรรมที่มีประโยชน์
- เราจะทำอย่างไรให้เด็กรู้พิษภัยของยาเสพติด
- เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนเป็นเปราะป้องกันสอดส่องไม่ให้เด็กมั่วสุม
- เราจะทำอย่างไรเราจะทำอย่างไรให้เด็กมีงานทำ
- เราจะทำอย่างไรให้พ่อค้ามีจิตสำนึก
- เราจะทำอย่างไรให้เข้าใจวิถีชีวิตของคนติดยา
- เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่เปิดใจยอมรับ
- เราจะทำอย่างไรไม่ให้พ่อแม่งมงาย
- เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่เข้าใจถึงความสำคัญของการเรียน
- เราจะทำอย่างไรให้วัยรุ่นกลัวตายและกลัวเป็นบ้าจากการติดยา
- เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่ดูแลลูกให้มากกว่านี้
- เราจะทำอย่างไรให้สายใยในครอบครัวอบอุ่น
- เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีมาตรการเป็นเกาะกำบังที่ไม่นำยาเสพติดเข้ามาในชุมชน
- เราจะทำอย่างไรให้ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาเห็นความสำคัญของยาเสพติด
- เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนตระหนักร่วมกันว่าถ้ามีคนติดยาเยอะวิถีชีวิตตัวเองก็จะไม่ปลอดภัย
ทำอย่างไรให้วัยรุ่นใช้เวลาว่างทำอาชีพเสริม
ไอเดียสำหรับผู้หญิง
- จัดกิจกรรม TO BE Number 1 Idol
ไอเดียจากเกม
- จัดแข่งขันเล่นเกมฟีไฟล์
ไอเดียที่ไม่ใช้งบประมาณ
- นำวัสดุที่มีในชุมชนมาแปรรูปเพื่อส่งเสริมในอาชีพ
ไอเดียการสร้าง Story telling
- จัดกิจกรรมสร้าง Story โปรโมทชุมชน
ไอเดียจากผู้ประกอบการภาคเอกชน
- หารูปแบบสินค้าที่เป็นที่นิยม
- ส่งเสริมอาชีพที่น่าสนใจ
- เยาวชนผลิตสินค้าส่งร้านสะดวกซื้อ
ไอเดียจากกระแสออนไลน์
- ฝึกประสบการณ์ขายสินค้าออนไลน์
ไอเดียสนุกสนาน
- จัดแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด
- หากิจกรรมเป้าหมายในชีวิต
- จัดประกวดนวัตกรรมที่สามารถขายได้
ไอเดียที่ทำกันเป็นปกติในการแก้ปัญหานี้
- อบรมให้ความรู้ ปรับทัศนคติ
ไอเดียที่ชุมชนมีส่วนร่วม
- กำจัดแหล่งมั่วสุม
- หาแบบอย่างที่น่าเชื่อถือ
- ชุมชนต้องสอดส่องดูแล
- ให้บุคคลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในชุมชนมาแชร์ประสบการณ์ให้ฟัง
ชื่อโครงการ/กิจกรรม :
วิธีการ/กระบวนการ
-
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
-
สิ่งที่ยังไม่แน่ใจ/ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
-
ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบลสุคิริน อำเภอ สุคิริน จ.นราธิวาส
ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n = 377)
คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 200 53.1
หญิง 176 46.7
ไม่ระบุเพศ 1 0.3
อายุ (ปี) (mean+SD) 53.78±13.05
ระดับการศึกษา
ไม่ได้ศึกษา 39 10.3
ประถมศึกษา 203 53.8
มัธยมศึกษา/ปวช. 103 27.3
อนุปริญญา/ปวส. 9 2.4
ปริญญาตรี 18 4.8
สูงกว่าปริญญาตรี 1 0.3
รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 137 36.3
5001 – 10000 บาท 116 30.8
10001 – 15000 บาท 72 19.1
15001 – 20000 บาท 25 6.6
20001 – 25000 บาท 9 2.4
25001 – 30000 บาท 10 2.7
มากกว่า 30000 บาท 5 1.3
จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) (mean+SD)
อาชีพ
รับจ้าง 88 23.3
รับราชการ 11 2.9
เกษตรกรรม 133 61.9
ประมง 2 0.5
ธุรกิจส่วนตัว 7 1.9
อื่น ๆ 35 9.3
วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n =361 )
รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ
ผลิตอาหารเอง เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง
1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ14.1…….
2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 4.5......
3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 4.5....
ทำไม่ไหว,ไม่มีเวลา,อุทกภัย
รูปแบบการเกษตร
1. แบบอินทรีย์ ร้อยละ 3.7......
2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 23.6...
3.แบบอื่น ๆ ร้อยละ 42.2.......
- การเพาะปลูก 260(69.0)
- ปศุสัตว์ 24(6.4)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 15(4.0)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม -
ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- พอเพียง 208(55.2)
- ไม่พอ 55(14.6)
หาจากธรรมชาติ 150(39.8) หาจากแหล่ง คลอง ป่า เขา
สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา (n = )
เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง
(3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง)
1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 48.5 40.1 7.4 2.7
2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 49.9 39.5 9.8 0.3
3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 53.1 25.2 18.3 2.9
4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 79.8 19.4 2.1 1.1
5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 76.9 19.4 2.1 1.1
6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 82.5 14.3 1.6 1.3
7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 66.6 28.5 3.7 0.8
8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 85.7 9.8 3.2 0.8
9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 69.0 25.2 2.9 2.1
10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 21.5 35.8 33.4 8.8
ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา
การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ
มีการเตรียมการ 230 61.0
ไม่มีการเตรียมการ 119 31.6
ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น
ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ
ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 358 95
2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 301 79.8
3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 354 93.9
ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 370 98.12
5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 348 92.3
6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 311 82.5
7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 333 88.3
ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 367 97.3
9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 372 98.7
10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 365 96.8
11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 371 98.4
12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 335 88.9
ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 261 69.2
14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 226 59.9
15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 145 38.5
16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 212 56.2
ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n = )
องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวางแผนและจัดการ 3 2.69 0.63
การเลือกอาหาร 4 3.61 0.80
การเตรียมอาหาร 5 4.80 0.61
การรับประทานอาหาร 4 2.24 1.07
คะแนนรวม 16 13.35 1.27
|
|
สรุปกิจกรรมประชุมตำบลสุคิริน วันที่ 6 มิถุนายน 2567
สถานที่ อบต.สุคิริน
เนื่องจากทางตำบลสุคิรินได้เห็นความสำคัญของโภชนาการด้านอาหารของเด็กที่ยังไม่ครบ5หมู่และหาวิธีการให้เด็กกินผักให้มากขึ้น จึงคิดทำโครงการดังนี้
โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน
รพ.สต.สว.นอก
กรมปกครอง
โรงเรียนบ้านจุฬาภรณ์
โรงเรียนพัฒนา7
ศพด.สุคิริน
สอบต.
อสม.
ผู้ใหญ่บ้าน
อบต.สุคิริน
มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน
• ส่งเสริมให้แม่ค้าผลิตอาหารที่มีประโยชน์มาจำหน่ายในตลาดชุมชน
• นำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาดัดแปลงเป็นเมนูอาหารที่แปลกใหม่น่าสนใจ
• อบต.จัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษของตำบลสุคิริน
• รณรงค์ให้มีการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวในสพด
• จัดกิจกรรมส่งเสริมการเพาะปลูกผักเพื่อออกแบบอาหารให้กับเด็ก
• ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อสุขภาพ
• คัดกรองเด็ก 0-5 ปีที่มีภาวะเตี้ยและทุกโภชนาการ
• ส่งเสริมโปรตีนธาตุเหล็กและแคลเซียมในเด็ก
• ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ดีอาหารที่มีประโยชน์แก่คนในชุมชน
• ร่วมกันประกอบอาหารสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน
• รณรงค์ปลูกผักใช้สมุนไพรไล่แมลงและปลูกผักกางมุ้งและให้ความรู้ในชุมชนและโรงเรียน
• จัดตลาดปลอดสารพิษในชุมชน
• ส่งเสริมการปลูกพืชรั้วกินได้
• ประชุมผู้ปกครองให้ความรู้เรื่องอาหารที่มีประโยชน์และพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็ก
• จัดสาธิตการทำอาหารดีมีประโยชน์
• ส่งเสริมให้ร้านอาหารหันมาสนใจในโภชนาการอาหารและความปลอดภัยของอาหาร
• ส่งเสริมการสร้างแหล่งอาหารเพื่อความยั่งยืนในชุมชน
การระดมความคิดชื่อโครงการ
• โครงการพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็ก
• โครงการอาหารดีมีประโยชน์นำสู่สุขภาพที่ดี
• โครงการการเกษตรเพื่อโภชนาการที่ดีในเด็กเล็ก
• โครงการผักไร้สารชีวิตยั่งยืน
• โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็ก 0-5 ปี
• โครงการเด็กสุคิรินกินดีมีพัฒนาการสมวัยด้วยระบบห่วงโซ่อาหารและโภชนาการ
• โครงการเกษตรในครัวเรือนปลอดภัยไร้สารพิษ
• โครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษเพื่อคนสุคิริน
• โครงการแบ่งปันอาหารเด็กสุครินทร์ในพื้นที่ยากไร้
• โครงการอาหารยั่งยืนเพื่อชุมชนสุขภาพดี
• โครงการปลูกผักริมรั้วปลอดสารพิษเพื่อชุมชนตำบลสุรินทร์
• โครงการอาหารดีมีประโยชน์นำสู่สุขภาพที่แข็งแรง
• โครงการวัยใสสมวัยสุขภาพดีสมส่วนด้วยอาหารครบ 5 หมู่
• โครงการปลูกต้นขี้เหล็กตะไคร้ลดรายจ่ายเพื่อสุขภาพ
• โครงการพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็กเล็ก
• โครงการตลาดดีมีสุขสร้างโภชนาการที่ดีเพื่อชาวสุคิริน
• โครงการโภชนาการอาหารพืชผักปลอดสารพิษ
• โครงการผักปลอดสารที่ดีเพื่อชีวิตของเด็กๆในโรงเรียน
• โครงการกินเป็นสุขภาพดีชีวีมีสุข
กลุ่มเป้าหมาย
• ผู้ประกอบการร้านค้า
• ผู้ปกครองเด็ก
• ประชาชนทั่วไปในชุมชน
• โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
• แม่ค้าในตลาด
• เด็ก 0 ถึง 5 ปี
ข้อคิดที่ได้จากการชมการจัดการระบบอาหารกลางวันของโรงเรียนประเทศญี่ปุ่น
• ได้ความรู้เรื่องการพัฒนาทักษะในการช่วยตนเองของเด็ก
• เด็กได้รับโภชนาการที่ดีครบ 5 หมู่จากการจัดการ
• รูปแบบแนวทางการดูแลเด็กให้ได้รับอาหารและโภชนาการที่ดีสามารถนำมาปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม
• ได้แนวคิดใหม่มาปรับใช้ในพื้นที่ให้เด็กได้รู้จักปลูกจิตสำนึกและได้รับอาหารที่มีประโยชน์
• ได้ความรู้การถนอมอาหารการเก็บรักษาอาหารให้อยู่ได้นาน
• ได้เรียนรู้ถึงการปลูกฝังเด็กในเรื่องความสำคัญของอาหารความมีระเบียบวินัยในการใส่ใจในการจัดการขยะ
• ได้เห็นถึงความสำคัญของการเลือกรับประทานอาหารมากขึ้น
• ได้เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนให้เด็กเลือกรับประทานอาหารเพื่อโภชนาการที่ดีและสมบูรณ์
• ได้เห็นถึงการปลูกฝังระเบียบวินัยในเด็กและเด็กได้ปฏิบัติได้อย่างดีเยี่ยม
• เป็นแนวทางในการจัดการอาหารกลางวันให้เด็กครบ 5 หมู่
• เด็กได้รับอาหารที่ครบถ้วนด้านโภชนาการ
• ได้รับความรู้เรื่องการบริโภคอาหารและรับประทานอาหารได้อย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ
• ได้เห็นถึงความมีระเบียบวินัย
• ได้เห็นถึงความรับผิดชอบของเด็กเกี่ยวกับอาหาร
• เห็นถึงความใส่ใจเรื่องโภชนาการควบคู่ไปกับการเรียนการสอนในโรงเรียน
ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้
• ได้รับรู้ถึงผลการวิจัยของข้อมูลในพื้นที่สุรินทร์ในการบริโภคอาหารและการเจริญเติบโตของเด็ก
• ได้ความรู้เรื่องอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
• ได้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น
• ได้แลกเปลี่ยนระดมความคิดเรียนรู้การพัฒนาสุขภาพเด็กในพื้นที่สุคิริน
• ได้รู้ประโยชน์คุณค่าทางอาหารของแต่ละประเภทเช่นเนื้อสัตว์ไข่ไก่ประโยชน์ของโปรตีนว่าจำเป็นกับเด็กมากน้อยเพียงใด
• ได้เรียนรู้ถึงบริบทในชุมชนความสำคัญของอาหารหลัก 5 หมู่
• ได้นำความรู้ไปปรับใช้ในครัวเรือนและหมู่บ้าน
• ได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและโภชนาการ
• ได้รับรู้ถึงการบริโภคอาหารที่ครบถ้วนว่ามีผลต่อโครงสร้างร่างกายและสมองของเด็กเพียงใด
• ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาหารดีมีประโยชน์และบริบทในชุมชน
• สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับในชุมชนและครอบครัว
• ได้รับความรู้เรื่องปัญหาการบริโภคของคนในชุมชน
• ได้รับรู้ถึงข้อมูลในชุมชนตำบลสุคิรินเรื่องโภชนาการและข้อมูลด้านต่างๆในชุมชน
• ได้นำความรู้ที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลและจะดำเนินการในพื้นที่ในลำดับต่อไป
|
|
ประชุมเชิงปฏิบัติการด้านความรอบรู้การจัดการอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน |
8 ก.ค. 2567 |
8 ก.ค. 2567 |
|
รายละเอียดเนื้อหาให้การจัดอบรม
อาหารเพื่อสุขภาพ
บรรยายโดย ผศ.ดร ลักษณา ไชยมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอ.ปัตตานี และ อ.ศรีลา สะเตาะ
ความปลอดภัยด้านอาหาร
วิธีการเลือกผักผลไม้และเนื้อสัตว์
อาหารแปรรูป
บรรยายโดย
อ.ทินมณี แซ่เหลียง
อ.วีณาพร วงศ์สภาพรพัฒน์
อ.ชัญณยา หมันการ
อ.วิชญาพร ไสยสิทธิ์
|
|
ผู้เข้าร่วมอบรม
จากรพ.สต.นาเกตุ รพ.สต.คลองใหม่ รพ.สต.สะดาวา รพสต.บางโกระ รพ.สต.ทุ่งพลา รพ.สต.ทรายขาว
รพ.สต สุคิริน
ครูโรงเรียนบ้านล้อแตก ,โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้,โรงเรียนวัดอรัญสิการาม
เนื้อหาดังนี้
ทำอาหารธรรมดาธรรมดาให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพได้ไม่ใช่เรื่องยาก
ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล
หลักสูตรโภชนศาสตร์และการกำหนดอาหารค
ณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอ.ปัตตานี
1.ความคาดหวังของฉันที่มาเข้าอบรมนี้
-อ.ได้ให้ผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่านคิดว่าในการมาอบรมครั้งนี้คาดหวังว่าจะได้อะไรกลับไปให้จดไว้กับที่ตัวเองเพื่อตอนสุดท้ายจะได้ตอบได้ว่าสิ่งที่ตัวเองได้รับสอดคล้องกับความคาดหวังของตัวเองหรือไม่
2.อาหารสุขภาพคืออะไร
-กินแล้วได้สุขภาพดีดูได้จาก
ไม่อ้วนไม่ผอม สัดส่วนของร่างกายน้ำหนักส่วนสูงองค์ประกอบของร่างกายมวลกล้ามเนื้อมวลไขมันกระดูกน้ำ
ระบบร่างกายทำงานปกติ การตรวจสุขภาพการเจ็บป่วย
ปลอดภัย ไม่มีปัญหาที่เกิดจากการกินอาหารเช่นท้องเสียคลื่นไส้อาเจียนอาการแพ้อาหารต่างๆ
3.หลักการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
-การบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ด้วยอาหารจะต้องสมดุลทั้งสารอาหารและโภชนาการ
-ให้คิดเสมอว่าอาหารคือตัวเราเพราะฉะนั้นองค์ประกอบทั้งหมดในร่างกายของเรามาจากอาหารที่เรากินเข้าไปแต่ละคนอาจจะมีสัดส่วนในการต้องการอาหาร แร่ธาตุ,น้ำ,ไขมันคาร์โบไฮเดรต,โปรตีน,วิตามินที่แตกต่างกัน
4.เลือกอย่างไรที่เรียกว่าฉลาดเลือกบริโภคHow to
-สารอาหารครบ,ปลอดภัย,ปริมาณพอเพียง
5.เลือกอาหารยังไงให้ได้สารอาหารครบ
1.ข้าวแป้งสิ่งที่ได้คาร์โบไฮเดรตธัญพืชที่ไม่ขัดสีใยอาหารวิตามินบีธาตุเหล็กสังกะสี
ควรเป็นประเภทที่ไม่ขัดสีหลักหลายพืชตระกูลถั่วต่างๆผักที่มีแป้งเยอะพืชมีหัว
2.ผักผลไม้สิ่งที่ได้จากผักและผลไม้คือวิตามิน,เกลือแร่,ใยอาหาร,สารพฤกษเคมี,คาร์โบไฮเดรต
สีในผักผลไม้มีสารสำคัญที่มีสรรพคุณแตกต่างกันดังนั้นจึงต้องกินผักผลไม้ที่สีสันหลากหลายเช่นสีขาวช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน สีเขียวกำจัดพิษ สีเหลืองความงาม สีส้มป้องกันมะเร็ง สีแดงดีต่อหัวใจ สีม่วงอายุยืน
การฉลากเลือกอาหารชนิดผลไม้ให้น้ำตาลมากน้อยแตกต่างกันตามชนิดผลไม้ต้องจำกัดปริมาณผลไม้ 1 ส่วนมีน้ำตาลเทียบได้ปริมาณ 3 ช้อนชา
3.เนื้อสัตว์ไข่นมถั่วต่างๆ สิ่งที่ได้คือโปรตีนระวังไขมันอิ่มตัวคอเลสเตอรอล,วิตามิน,เกลือแร่,แคลเซียม,ธาตุเหล็ก,สังกะสีไอโอดีน,วิตามินบี 12
วิธีการเลือกหมวดเนื้อสัตว์นมไข่เนื้อไม่ติดมันนมพร่องมันเนยไข่สัปดาห์ละ 3 ฟอง,ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายมีกรดไขมันชนิดดีเลี่ยงอาหารแปรรูปซึ่งมีโซเดียมสูง
4.ไขมัน น้ำมัน ใช้น้ำมันพืชแทนการใช้น้ำมันสัตว์ใช้น้ำมันถูกประเภทสำหรับทอดสำหรับผัดใช้แต่พอประมาณ
5.ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
สรุปเลือกอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ
1.กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวันให้หลากหลาย
2.ฉลาดเลือกอาหารในแต่ละหมู่
-ข้าวแป้งไม่ขัดสีถั่วต่างๆ
-ผักผลไม้หลากหลายสีผลไม้ที่ไม่หวานจัด
-เนื้อสัตว์ไม่ติดมันปลานมไข่
-ไขมันน้ำมันพืชตามสำหรับทอดน้ำมันถั่วเหลืองสำหรับผัดน้ำมันรำข้าว
-ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
6.กินปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอดี
พลังงานที่แนะนำ 1,600 กิโลแคลอรี่สำหรับเด็ก 6-13 ปีและหญิงวัยทำงาน
2,000 แคลอรี่สำหรับวัยรุ่นและชายวัยทำงาน
2,400 แคลอรี่สำหรับนักกีฬาและผู้ใช้แรงงาน
1,400 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60 ถึง 80 ปีที่มีกิจกรรมเบามากคือแทบไม่ได้ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมที่ใช้กำลังกายน้อยมาก
1,600 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60 ถึง 80 ปีที่มีกิจกรรมเบาคือออกกำลังกาย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์
1,800 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60 ถึง 80 ปีที่มีกิจกรรมปานกลางคือออกกำลังกาย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
7.กินอย่างไรให้ปลอดภัย
การปนเปื้อนสารพิษในอาหารเกิดขึ้นได้อย่างไร
-ยาสารกระตุ้นการเจริญเติบโต
-ปุ๋ย
-สารอื่นๆที่อันตราย
-เชื้อโรค
-สารเติมแต่งอาหารสุขลักษณะการผลิตไม่ดี
-สารเติมแต่งอาหารศุภลักษณะในการผลิตไม่ดีสารก่อมะเร็งจากการปรุง
8.แนวทางการป้องกัน
1.ปรุงอาหารกินเองโดยทำความสะอาดให้ทั่วถึงแยกเก็บอาหารสุกดิบให้ความร้อนอาหารสุกทั่วเก็บอาหารไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม
2.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโอกาสสูงที่จะมีสารพิษเจือปน
3.เลือกร้านที่ถูกสุขลักษณะ
9.สรุปเลือกอย่างไรที่เรียกว่าฉลาดเลือก
ปลอดภัยปริมาณพอเพียงสารอาหารครบถ้วน
10.เทคนิคการสร้างสรรค์ตำรับอาหารสุขภาพ
ใช้หลักการจานอาหารสุขภาพ 2:1:1
-จานขนาด 9 นิ้ว
-แบ่งพื้นที่บนจานเป็น 4 ส่วนจัดอาหารลงจานดังนี้
2 ส่วนเป็นผัก 1 ส่วนเป็นข้าวกล้องอาหารทำจากแป้งที่ไม่ขัดสี 1 ส่วนเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันปลาเต้าหู้
-เลือกรายการอาหารที่ใช้น้ำมันน้อยๆในการปรุง
-จัดผลไม้ในมื้ออาหาร
-ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบในรายการอาหารให้ได้เป็นตำรับอาหารสุขภาพ
-ปรับเปลี่ยนวิธีปรุงอาหารให้ได้เป็นตำรับสุขภาพ
11.อาหารเป็น 1 ใน 5 ของปัจจัยพื้นฐานของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้าง 3 อ เลี่ยง 2 ส
3 อ อ่อนหวานอ่อนเค็มอ่อนมันปรุงน้อยๆก็อร่อยชัวร์เน้นผักผลไม้
วิธีการเลือกซื้อผักผลไม้และเนื้อสัตว์
5 วิธีการเลือกซื้อผักให้ปลอดภัย 1 เลือกซื้อผักที่สะอาด 2 เลือกซื้อผักที่มีรอยกัดแทะของแมลง 3 เลือกซื้อผักตามฤดูกาล 4 เลือกซื้อผักพื้นบ้าน 5 เลือกซื้อผักจากแหล่งที่ไว้ใจได้ว่าเป็นผักปลอดสารเคมี
จะมีสัญลักษณ์ผักผลไม้ปลอดภัยจะมีมาตรฐานผักผลไม้อนามัยปลอดภัยรับรองโดยภาครัฐ และมาตรฐานผักผลไม้อินทรีย์รับรองโดยภาครัฐ
วิธีเลือกซื้อผลไม้ให้ปลอดภัย 1 เลือกซื้อตามฤดูกาล 2 มีผิวสดใสไม่แห้งซีด 3 ขั้วหรือก้านยังแข็งและเขียว
เทคนิคเลือกเนื้อสัตว์ให้ปลอดสาร
เนื้อหมูเนื้อควรมีสีชมพูอ่อนนุ่มมันมีสีขาวไม่มีเม็ดสาคู
เนื้อวัวเนื้อสีแดงสดไม่เขียวคล้ำมันมีสีเหลืองไม่มีเม็ดสาคู
เนื้อไก่เลือกตัวอ้วนกดดูตรงหน้าอกจะนูนแน่นตีนนุ่มหนังสดใสไม่เหี่ยวย่นไม่มีกลิ่นเหม็นลูกตาไม่ลึกบุ๋มไม่มีรอยช้ำตามท้องและคอ ปลาปลาสดจะมีหนังมันตราสดใสเหงือกแดงท้องไม่แตกเนื้อแน่นกดไม่บุ๋ม
หอยหอยบางชนิดต้องซื้อทั้งเปลือกที่ยังเป็นๆอยู่เช่นหอยลายหอยแครงหอยกะพงหอยที่แกะเปลือกแล้วเช่นหอยแมงภู่ต้องมีสีสดใสตัวหอยอยู่ในสภาพดีไม่ขาดรุ่งริ่งน้ำแช่หอยไม่มีเมือกมากและไม่มีกลิ่นเน่า
กุ้งเปลือกแข็งใสหัวติดกับตัวแน่น
ปลาหมึกตาต้องใสไม่ขุ่นเห็นตาดำด้านในอย่างชัดเจนหัวและลำตัวของหมึกต้องติดกันแน่นหนวดปลาหมึกมีสภาพสมบูรณ์ไม่เปื่อยยุ่ยไม่มีกลิ่นเหม็น
ปูสีเขียวเข้มกลางหน้าอกต้องแข็งกดไม่ยุบตัวหนักตาใส
วิธีการล้างผักผลไม้และเนื้อสัตว์ให้ลดสารตกค้าง
1 ใช้ผงฟูเบกกิ้งโซดา
2 ใช้น้ำไหลผ่าน
3 ใช้ด่างทับทิม
4 การใช้น้ำส้มสายชู
5 การใช้เกลือ
วิธีกำจัดฟอร์มาลีนออกจากผักผลไม้และเนื้อสัตว์(ปลา)
1 ให้แช่ในน้ำที่ผสมกับเกลือในอัตราส่วน 90:10
2 ผักให้แช่อย่างน้อย 10-15 นาที
3 ผลไม้ให้แช่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
4 ปลาให้แช่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง30 นาที
5 ล้างน้ำสะอาดอีกครั้งซึ่งจะสามารถกำจัดฟอร์มาลีนได้ 90-95%
วิธีการเตรียมส่วนประกอบในการประกอบอาหาร
การเตรียมอาหารประเภทเนื้อสัตว์
สัตว์บกเช่นเนื้อหมูวัววิธีการเตรียมทำความสะอาดเนื้อหมูเนื้อวัวด้วยน้ำสะอาดจากนั้นหั่นแบ่งตามตามขวางชิ้นเนื้อให้มีขนาดสั้นลงโดยหั่นเป็นชิ้นพอคำ
การเตรียมอาหารประเภทเนื้อสัตว์
สัตว์ปีกเช่นไก่เป็ดห่านวิธีการเตรียมทำความสะอาดเนื้อไก่เนื้อเป็ดเนื้อหาด้วยน้ำสะอาดก่อนตัดแยกชิ้นส่วนเช่นอกน่องสะโพกปีกปีกบน
การเตรียมอาหารประเภทเนื้อสัตว์สัตว์น้ำ
ปลาปลาที่มีเกล็ดคอดเกร็ดปลาก่อนล้างน้ำแล้วจึงควักเหงือกและไส้ออก
ปลาไม่มีเกล็ดน้ำปลาล้างน้ำแล้วหาวัสดุที่มีผิวสัดๆขูดเมือกออกจากนั้นควักเหงือกและไส้
หอยล้างหอยด้วยน้ำสะอาดใช้แปรงขัดหรือล้างน้ำหลายๆครั้งหอยบางประเภทต้องนำมาแช่น้ำเกลือทิ้งไว้เพื่อให้หอยคายโคลนออกมา
กุ้งล้างด้วยน้ำสะอาดตัดหัวกุ้งปอกเปลือกให้เหลือส่วนหางใช้มีดผ่าหลังกุ้งดึงเส้นดำออก
ปลาหมึกล้างปลาหมึกออกก่อนด้วยน้ำแรกลอกหนังและเอาเครื่องในปลาหมึกออก
การเตรียมอาหารประเภทผัก
1 ใช้มีดตัดส่วนที่ช้ำเน่าหรือกินไม่ได้ออก
2 ล้างผักให้สะอาดผักประเภทใบเช่นผักกาดขาวควรเด็ดใบออกทีละกาบก่อนล้างน้ำ
3 เด็ดใบหั่นหรือปอกเปลือกตามประเภทของผักหรือตามความต้องการในการปรุง
4 เมื่อล้างเสร็จแล้วนำไปวางไว้ในตะกร้าหรือตะแกรงเพื่อให้ผักสะเด็ดน้ำผักจะไม่ช้ำ
ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสุขาภิบาลอาหาร
อันตรายที่พบในอาหารทางกายภาพ
เส้นผมเศษเล็บไม้แก้วหินพลาสติกแมลงส่วนของแมลงลวดเย็บกระดาษเข็มกลัด
ทางเคมี สารเร่งเนื้อแดงสารบอแรกซ์สารฟอกขาวฟอร์มาลีนสารโพล่ายาฆ่าแมลง
ทางชีวภาพ แบคทีเรียไวรัสเชื้อราพยาธิ
เนื้อสัตว์ดิบกินได้ไหม
เนื้อสัตว์มักมีการปนเปื้อนของStreptococcus suis ไม่พบในเนื้อวัวทำให้เกิดประสาทหูดับ(ไข้หูดับ)
เนื้อหมู-พบพยาธิตืดหมูไข่พยาธิจะโตเป็นระยะตัวอ่อนหรือเม็ดสาคูกระจายไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆในร่างกายคน
เนื้อวัว-มักมีการปนเปื้อนของ Escherichia coli อาจทำให้เกิดท้องร่วงรุนแรงพบพยาธิตืดวัว
เนื้อไก่-มักมีการปนเปื้อนของSalmonellaทำให้ท้องเสียรุนแรงพบพยาธิตัวจี๊ด
โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ
โรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ ไวรัสตับอักเสบ a อหิวาตกโรค โรคบิด ไข้ไทฟอยด์
แนวคิดการจัดการและการควบคุมอาหารให้ปลอดภัย
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค เชื้อโรคพยาธิพิษของเชื้อโรคพิษจากพืชและสัตว์พิษจากสารเคมี
ควบคุมป้องกัน คนตัวอาหารสถานที่ภาชนะอุปกรณ์สัตว์แมลงนำโรค
อาหารสะอาดปลอดภัย
ผู้บริโภคสุขภาพดี
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้อาหารไม่สะอาด
ผู้สัมผัสอาหาร
อาหาร
ภาชนะอุปกรณ์
สถานที่
แมลงนำโรค
มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารสำหรับโรงอาหาร
1.บริเวณที่ปรุงอาหารจะต้องสะอาดเป็นระเบียบมีการระบายอากาศมีการปรุงอาหารบนพื้นเครื่องปรุงอาหารสะอาดพื้นโต๊ะสูงจากพื้นอย่างน้อย 60เซนติเมตร
2.อาหารน้ำน้ำแข็งเครื่องดื่มน้ำและเครื่องดื่มในภาชนะปิดสนิทมีเลขสารอาหารอย อาหารสดมีคุณภาพดีเก็บแยกเป็นสัดส่วนและต้องล้างก่อนนำมาปรุง น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาดใส่ภาชนะสะอาดมีฝาปิดมีอุปกรณ์สำหรับตักและต้องไม่มีสิ่งของอื่นมาแช่ร่วม วางอาหารที่ปรุงแล้วเก็บในภาชนะสะอาดมีการปกปิดวางสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร
3.ภาชนะอุปกรณ์ ภาชนะต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายเช่นสแตนเลสกระเบื้องเคลือบขาว ภาชนะใส่น้ำส้มสายชูน้ำปลาและน้ำจิ้มใส่ภาชนะที่ปลอดภัยเช่นแก้วกระเบื้องเคลือบขาวมีฝาปิด ล้างภาชนะด้วยวิธีการอย่างน้อย 2 ขั้นตอน 1 ล้างด้วยน้ำยาล้างภาชนะ 2 ล้างด้วยน้ำสะอาด 2 ครั้ง จานชามที่ใช้แล้วเก็บคว่ำในภาชนะหรือตะแกรงสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร
4.ภาชนะอุปกรณ์ ช้อนส้อมตะเกียบวางเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางเรียงเป็นระเบียบสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร เถียงต้องอยู่ในสภาพดีไม่แตกร้าวหรือเป็นร่องมีเขียนเฉพาะใช้อาหารสุกและอาหารดิบแยกออกจากกัน
5.การรวบรวมขยะ ใช้ถังขยะที่ไม่รั่วซึมปิดฝาสนิท
6.ห้องน้ำ สะอาดไม่ส่งกลิ่น แยกเป็นสัดส่วนและต้องมีอ่างล้างมือที่ใช้ได้ดีอยู่ในบริเวณห้องส้วม
7.ผู้เตรียมปรุง แต่งกายให้สะอาดใส่เสื้อมีแขน ผูกผ้ากันเปื้อน ต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคผิวหนัง มีสุขนิสัยที่ดีเช่นตัดเล็บสะอาดไม่สูบบุหรี่ในขณะปฏิบัติงานไม่ใช้มือหยิบจับอาหารโดยตรง
เมื่อผู้ที่มาอบรมได้รับความรู้ทั้งหมดแล้วจะนำความรู้ทั้งหมดไปเผยแพร่ต่อให้กับนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมอาหารปลอดภัยในลำดับต่อไป
|
|
ประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกษตรกรต้นแบบการจัดการความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ สวนยางพารา สวนปาล์มและสวนผลไม้ |
17 ก.ค. 2567 |
17 ก.ค. 2567 |
|
อาจารย์ชัยยะ คณะเศรษฐศาสตร์ วรรณา สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้มีการคืนข้อมูลที่ลงพื้นที่แปลงเกตรษของเกษตรกร ต้นแบบ 10 แห่ง และให้เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล จุดตั้งต้นของของที่มาทำจะมาทำปัจจุบัน ที่มาทำหลากหลาย มีทุกคนเข้ามาเรียนรู้ เป็นยังไงมันเกิดขึ้นได้ยังไงสวนที่ทำ มันเกิดจากความหลงใหลอะไร
1. ครับอาจารย์ ศูนย์บ่มเพาะต้นกล้าชีวิตบ้านสุไหงบาลา เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2555 เริ่มจากการสอนอังกุรอาน ลูกลูก หลานหลานประมาณสี่ห้าคน อยู่ที่บ้านแล้วมาสอนการเกษตรการเกษตรแบบง่ายง่ายการเกษตรเบื้องต้น แค่รดน้ำปลูกต้นไม้โดยมีเด็กประมาณห้าถึงหกคนในตอนนั้น ต่อมาอีกปีสองปีเด็กก็เยอะขึ้นทำการต่อโรงรถหน้าบ้าน ขยับขยายให้มากขึ้น อยู่อีกสองปีเด็กก็เต็ม ประมาณ 30 กว่าคนก็ขยับขยายไปที่ใหม่ที่ได้ที่ตรงนี้ ที่ประมาณสองไร่ก็ทำการขยายทำเป็นสวนตามภาพที่เห็น เป็นศูนย์เรียนรู้ใหม่ ศูนย์เรียนรู้เก่าก็อยู่ที่บ้าน ช่วงนี้ก็จะมีเด็กหลายคนหน่อยถ้าผู้ชายสอนช่วงเช้าอยู่ที่ประมาณ 30 คน ผู้หญิงก็พอๆกันประมาณ 30 กว่าคน แฟน ก็ทำการสอนงานทุกวันตื่นมาตีสี่ครึ่ง ก็ไปละหมาดที่มัสยิดด้วยกันแล้วก็สอนเด็ก ช่วงหนึ่ง แล้วกลับมา เข้าสภากาแฟซัก 10 นาที กินข้าวยำแล้วก็ลง เข้าแปลง ทุกวันเป็นกิจวัตร พอ 6 โมงเย็นก็ กลับมาที่ มัสยิด ต่อก็สอนอันกุระอ่าน จริงๆสิ่งที่เกิดขึ้นคือมีความหวังที่จะสร้างสังคมยังไง ช่วงช่วงนั้นซักปี พ.ศ. 2550 ถึงปี 2560 ช่วงนั้น เหตุการณ์ที่บ้านช่วงนั้นเป็นยังไงค่อนข้างหลายอย่างที่มัน มีผลกระทบ ก็เลยเลือกที่ว่า สร้างเป็น ศูนย์เรียนรู้สักที่หนึ่ง ผมมีลูกคนนึงที่เกิดช่วงนั้นลูกประมาณห้าปี ก็คิดว่าต่อไปทำยังไงดีกับลูก ที่อยู่ในสังคมแบบนี้ ก็เลยจับมาสอนอันกุระอ่านและเกษตร มีความอยากที่จะเห็นว่าสังคมนี้หลากหลาย มีทั้งงานเกิดขึ้น เกษตรกรเด็กเด็กชาวบ้านมีความคิดมีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดที่จะทำงานให้อยู่แบบถูกต้อง ในสังคม ศูนย์บ่มเพาะต้นกล้า ชีวิตมีงานหลักๆที่ทำอยู่ สามพันธกิจหลักก็คือ สอนอันกุระอ่านแล้ว เป้าหมายต่อไป ก็เปิดเป็น ฟรีชนการ สถานท่องจำอังกุระอ่านเพื่อ ขยายความให้ถูกต้อง ตามหลักของศาสนาจริงๆ งานที่สองก็คือสัมมาชีพ ก็คือจากแต่เดิมชาวบ้านก็แค่ตัดยาง เลี้ยงวัว สองงานแต่มาช่วงหลังเนี่ยงานเกิดขึ้นเยอะมาก เป้าหมายต่อไปคือสร้างงานให้เกิดขึ้น ในชุมชน พันธกิจที่สามก็คือ ทำเป็น ศูนย์เรียนรู้แต่ละอย่างเกษตรธรรมชาติ ศูนย์หลายหลายอย่างตรงนั้นเกษตรผสมผสาน ตรงนี้ต่อไปอาจจะเป็นที่ท่องเที่ยว ของชุมชนชุมชนใกล้ใกล้ได้มาเรียนรู้ ตรงจุดแต่ละจุดที่เราทำอยู่ เป้าหมายศูนย์สามงานที่เราทำอยู่ตรงนั้น
2.สวัสดีทุกท่านนะคะ น้องก็ชื่อแอนนะคะแล้วก็พี่เติบ เราสองคนก็ทำเกษตรผสมผสานนะคะ จุดเริ่มต้นนะคะจุดเริ่มต้นของเราก็คือ ทำสวนนะคะเราก็มีสวนยาง ไม่เยอะนะคะรวมกันแล้วเราก็มีสามแปลงรวมกัน 15 ไร่ อาจจะมีมังคุดร่วมด้วยปรางแปลงนิดหน่อย แต่ว่าด้วยความชอบนะคะถ้าถามว่าความสำเร็จมาจากอะไร จุดเริ่มต้นของเราอยู่ที่เราสองคนชอบเหมือนกัน คือเราชอบในการทำเกษตรเราก็ไม่ได้จบเกษตร ปัจจุบันเรารับราชการทั้งสองคน มีโอกาสได้ทำเกษตรเราก็ขุดโค่กหนองนา เมื่อสามปีที่ผ่านมาก็มีโอกาสขุดโค่กหนองนา ของโครงการของพช.นะคะ ก็เป็นจุดเริ่มต้นจากนั้นมานะคะ ปัจจุบันทำเกษตรผสมผสานมีสี่ด้าน หนึ่งด้านเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง ด้านอื่นๆ ในด้านของ ประมง ก็จะมีการเลี้ยงปลาน้ำจืดนะคะ 5 บ่อ โดยบ่อแรกได้รับการสนับสนุนจากพช. เข้าโครงการโค่กหนองนาหนึ่งไร่ในครั้งแรก ต่อมาเราก็ได้มีการต่อยอดใช้พื้นที่ของตนเองขุดเพิ่มอีกสี่บ่อ เพื่อที่จะเลี้ยงปลาเพิ่มเติมโดยขุดต่อจากที่นา โดยต้องการเปลี่ยนที่นาให้เป็นแหล่งคลังอาหาร จากนั้นทำการเลี้ยงปลาทั้งในบ่อดินและในกระชัง ปลาที่เลี้ยงก็จะมีปลาดุก ปลากดเหลือง ปลานิลปลาทับทิมปลาปลาบ้า ปลายี่สกรวมรวมกันไป มีทั้งปลากินพืชและกินสัตว์ ปลาดุกนั้น นั้นจะเป็นปลาเศรษฐกิจ ของทางสวนเพราะได้นำปลาดุกขึ้นมาแปรรูป เราก็จะไปแปรรูปเป็นปลาดุกแดดเดียว นำไปขึ้นจดทะเบียนโอท๊อปด้วย ต่อมาก็เพิ่มปลานิลแดดเดียวอีกชนิดหนึ่ง ส่วนในด้านการเกษตรก็จะมีการปลูกผักยกแคร่ ก็ได้เรียนรู้จากพี่อรบ้านสวน เป็นเกษตรกรต้นแบบที่ให้ความรู้กับเราในครั้งแรก แล้วก็ดูแลกันตลอดมาแล้วนอกจากผักยกแคร่ จะทำในส่วนของมีการเพาะเห็ดฟาง ไม่ใช่เห็ดนางฟ้าค่ะ ขออภัยค่ะมีการเพาะเห็ดนางฟ้า มีการเพาะต้นกล้ามีการผสมดินปลูก แล้วก็มีการเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย เลี้ยงแหนแดง และปัจจุบันมีการเลี้ยงหอยขมเพิ่มเติม ซึ่งเป็นฐานการเรียนรู้ใหม่ซึ่งหอยขมพันธุ์ ยักษ์รัตนะ และหอยขมพันธุ์เกษตรเพิ่มเติม ส่วนทางด้านปศุสัตว์ก็ได้เลี้ยงเป็ดเป็ดสายพันธุ์บาบาลี ปัจจุบันก็มี15 ตัวแล้วมีการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง ไข่ที่ได้มาจากพ่อแม่แม่พันธุ์ ก็เอามาทำการฟักตู้ มาจากการฟักตู้ทั้งหมดรวมรวมกันแล้วปัจจุบันเกือบ 60 ตัว ก็เลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ ส่วนที่เพิ่มมาด้านอื่นก็จะมีการเผาถ่านใบโอชา ก็เป็นนวัตกรรมจากการเผาถ่านโดยถังเผาถ่าน ซึ่งจากการเผาถ่านตรงนี้ได้ผลผลิตจากน้ำส้มควันไม้ด้วย ที่จะได้เพิ่มมาเพื่อนำไปใช้ในการขับไล่แมลงในสวน
3. สวัสดีนะคะชื่อเนตรนภา มณีศรี ชื่อน้องแทค นะคะอาชีพหลักก็คือทำสวน แต่ว่าเป็นสมาชิกอบต. อยู่ในหมู่บ้านด้วย ดีหน่อยตรงที่เป็นผู้นำชุมชนก่อนอื่นเลยก็ต้องก็ต้อง ขอขอบคุณพี่อรกายพัฒน์ นวลสิน ที่ชักจูงนำเข้ามาในวิถีเกษตร โดยปกติก็ไม่ชอบเกษตรเท่าไหร่แต่ติดตามพี่อรมาตลอด กลายว่าเป็นเราก็ชอบตามพี่อรไปเลยนะคะอันที่จริงว่า อันที่จริงก็ว่าประมาณหนึ่งปีได้ ที่มาเริ่มกับพี่อร จริงๆแล้วที่เริ่มทำจริงจังก็ซักหนึ่งปี แต่เหมือนว่าที่บ้านเราทุนเดิมก็มีการทำนาทำเกษตรอยู่แล้ว สนใจเมื่อไม่สนใจเราไม่ได้โฟกัส เพราะตอนนี้เริ่มเข้ามาในก้าวแรกก็จะเริ่มเปลี่ยนตัวเอง เริ่มจากปลูกผัก ยกแคร่ เริ่มแรกพี่อรก็จะบอกว่าปลูกผักอย่างนี้ ผสมดินอย่างนี้พี่อรก็จะบอกทุกอย่างโดยเริ่มจากทุนเดิมที่บ้าน แฟนเลี้ยงวัวอยู่แล้วตอนนี้ก็เลี้ยงอยู่ 16 ตัว มีแม่พันธุ์เจ็ดตัวเราก็ใช้วิถีเดิม พอมาเริ่มก็เริ่มจากการทำคอกให้เป็นสัดส่วน ส่วน ขี้วัวเราก็ขายได้กระสอบละ 50 บาท ก็ขายอยู่ปกติตอนนี้หนึ่งเดือนก็ขายอยู่ที่ 15 ถึง 30 กระสอบ ที่เป็นรายได้หลักนะ พอพี่อรมาก็จะเริ่มปรับเปลี่ยน แล้วก็ดินที่มีที่ดินมีอยู่ประมาณห้าไร่ก็เริ่มปรับเปลี่ยนเริ่มไถ ส่วนนึงก็แบ่งมาปลูกหญ้าวัว ดินมันเยอะก็เลยมาปลูกอ้อยเพิ่ม อ้อยก็จะแบ่งเป็นสองส่วนแปลงแรกก็ลงไปแล้วตอนนี้ก็เริ่มจะสมบูรณ์แล้วค่ะ อันนี้ก็คืออาชีพใหม่ที่เราเริ่มเรียนรู้ ตั้งปลุกอ้อยแล้วก็การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก อันนี้ก็เป็นสิ่งใหม่ที่เริ่มเรียนรู้เหมือนกันเพราะว่า ก็เป็นการเรียนรู้ใหม่ก็เป็นน้ำครึ่งแก้วก็พยายามโดยที่พี่อรก็สนับสนุน ทุกอย่างก็ความดีให้พี่เค้าเลย พี่เค้าจะบอกปัญหาเวลาปลูกบอกวิธีการผสมดิน บอกว่าต้องทำแบบนี้คือบอกทุกอย่างค่ะ เราก็เป็นคนที่สนใจก็ดึงแม่ยายดึงสามี จากที่แบบเดิมๆก็มีขั้นตอนมีวิธี มีสาระมากขึ้นก็จะลูกก็จะดึงมาช่วย ช่วยในกิจกรรมในบ้านต่อจากนี้ก็เริ่มที่จะเข้าระบบ มากขึ้นอันนี้คือความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น พื้นที่ใกล้ใกล้เหมือนน้าเหมือนญาติใกล้ใกล้ก็เริ่มความสนใจ เห็นความเปลี่ยนแปลงเพราะเราเป็นผู้นำชุมชน จะปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่มันว่างที่มันรกร้าง เปลี่ยนเป็นปลูกผักหน้าบ้านจากที่เรามีต้นไม้ เอาทิ้งไปปลูกผักมะเขือ ตะไคร้จัดระบบเอาแบบว่า ที่มันแบบพอเพียงใช้ไม้ไผ่บ้าง ที่ต้นทุนต่ำนี่แหละไม่ต้องเอาหรูหราหาในพื้นที่ ชุมชนสิ่งที่มันตามมาคือเรามีรายได้เพิ่มขึ้น เราเป็นแหล่งเรียนรู้ก็คือชาวบ้านเค้าเห็นน่ะ ความเปลี่ยนแปลงเริ่มเริ่มเค้าก็อาจจะมาถาม เล็กน้อยในระดับที่เราพอทำได้ มันก็กลายเป็นแบบนี้พอเห็นว่าเราทำจริงมันก็เริ่มเลียนแบบ ส่วนตัวแทคเองก็ในตัวบ้านเริ่มปรับเป็นสัดส่วน ในตอนนี้ก็เมื่อวานก็ไปเอาไม้เศรษฐกิจและจากแปลงของพี่นิภาก็จะพยายามปลูกให้เป็นแนว ในอนาคตที่จะทำเลยก็คือปลูกหญ้าเอาไว้ให้วัวตัวเองที่เหลือก็จะได้ขาย เพราะว่าเรามีพื้นที่เยอะข้างหลังในอนาคตก็อาจจะมีการปลูกไม้เศรษฐกิจเพิ่มเติม ก็ปลูกอ้อยแปลงแรกก็สำเร็จไปแล้วมันสมบูรณ์มากก็จะขยายแปลงก็แปลงต่อไปก็ติดกับหญ้าวัวนะคะ ต่อไปโครงการที่ว่าก็ขี้วัวที่เราขายต่อไปก็มีโครงการที่จะอัดเม็ดอัดแคปซูล อันนี้ก็คืออนาคตที่วางเป้าไว้นะคะ ก็ต้องการปรับเปลี่ยนใน บริเวณ บ้านให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้เท่าที่พอจะทำได้ ปรับเป็นพื้นที่จุดเรียนรู้ปรับเป็นแปลงที่พอเข้าพักได้ ก็เหมือนพี่อรแหละค่ะพี่อรมียุวเกษตรพอมีกิจกรรมก็จะดึงเทเข้าไปตลอด เพราะทีนี้ก็กลายเป็นเราได้เรียนรู้ โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีค่าตอบแทน เพราะคิดว่าพี่อรได้ตอบแทนน้องแล้วการที่ดึงน้องเข้าไปทุกอย่างเวลามีกิจกรรมยุวเกษตร ก็ได้เรียนรู้จากพี่อรกลายเป็นอาจารย์เป็นทุกอย่างได้กับมาใช้ในแปลงของตัวเอง โดยอัตโนมัติเราก็กลายเป็นแปลงย่อยของพี่อรไปเลย ก็กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถปรับในระดับของเราได้ ก็ได้ปรับไปอีกแปลงหนึ่งก็เป็นทำนาที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ตรงนั้นก็เป็นพื้นที่ห้าไร่เหมือนกันก็เป็นพื้นที่ตัวเองแบ่งกับพี่สาว มันมีบ่อปลาอยู่แล้วเพราะอาจจะมีการปลูกหญ้าเพิ่ม ส่วนนึงก็อาจจะมีการอนุอนุรักษ์การทำนาไว้เหมือนเดิม บนบ่อปลาก็อาจจะมีไม้เศรษฐกิจแล้วก็จะมีปลูกอ้อย เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่อันนี้เป็นอนาคตที่เลี้ยงที่เลี้ยงที่จะวางไว้ ก็ประมาณนี้ ค่ะคร่าวๆ
4. ดิฉันนางสาวพัทยา สังข์กมล หรือเรียกสั้นสั้นว่าหญิงนะคะ เป็นตัวแทนของพ่อสวัสดิ์ค่ะ พ่อสวัสก็เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการทำทุกอย่างนะคะส่วนดิฉันก็ ลูกสาวก็อยู่หน้าที่ฝ่ายการตลาด ก็จะไม่ค่อยชำนาญเท่าไหร่เกี่ยวกับการปฏิบัติก็จะเน้นอยู่ฝ่ายขายมากกว่า ชอบออกไปเดินตลาดก็ต้องเอาผลผลิตที่พ่อคุณพ่อทำไว้ออกไปจำหน่าย ก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายยังไงเหมือนกันแต่ว่า
ก็อธิบายอาจารย์ว่าตอนนี้ขายอะไรบ้าง อธิบายได้ว่าว่าขายอะไรบ้าง ขายอะไรบ้างจากสวนในตอนนี้
ค่ะก็ในสวนก็จะแปลมาเป็นปัจจัยในการใช้จ่ายได้ทุกอย่างค่ะ ก็อย่างเช่นผักกูดก็จะเก็บขายเองก็ไม่ได้ขายแพงก็จะขายกรรมละ 10 บาทอะค่ะ อย่างอื่นก็มีหน่อไม้หวานผักเหนียง ช่วงที่ผ่านมาก็จะมีหมากก็หมากก็จะราคาตกหน่อย แล้วก็ตอนนี้ที่กำลังจะออกผลผลิตก็ทุเรียนแล้วก็มังคุด มันเป็นมันไม่ได้เป็นแปลงมันเป็นผสมผสาน ที่สวนก็จะยกความดีคุณชอบให้คุณพ่อเพราะลูกอยากกินอะไรพ่อก็จะปลูก ทุกอย่าง ส่วนหมูนะคะหมูที่เลี้ยงก็เป็นพันธุ์พื้นบ้าน ก็ขายได้อยู่ค่ะก็จะเลี้ยงเป็นรุ่นรุ่นน่ะค่ะ ก็จะมีขายตลอดก็จะตกอยู่ที่กิโลละ 80 บาทค่ะ แล้วก็ผลดีของการเลี้ยงหมูก็คือไม่ต้องลงทุนเยอะ เขาจะให้กินหยวกกล้วยผสมกับรำก็จะผสมกับบอน ที่ขึ้นตามพอดีพูดไม่ถูกอ่ะพอดีเป็นคนพูดไม่เก่ง
5. เริ่มจากไม้ เศรษฐกิจเริ่มแรก นั้นมันชอบอ่ะ ไม่มีใครปลูกหรอกไม้เศรษฐกิจในสวนยาง โคนยางแล้วก็ปลูกไม้ ทีแรกกันว่าจะปลูก 10 เมตร ระหว่างต้นยาง ทีนี้แฟนบอกว่าถ้า 10 เมตรเค้าจะไม่ช่วย ก็เลยขอลดลงมาเป็น 8 เมตรแล้วก็ปลูกไม้เศรษฐกิจ ไม้ป่าระหว่างกลาง พอเรามาปลูก 8 เมตรก็รถไถที่เค้าตัดหญ้าก็เข้าได้ แล้วบางคนบอกว่าปลูกหลังปลูกยางซักสามปี แต่ว่าตัวเองนั้นปลูกพร้อมยาง สิ่งที่ดลใจก็เคยได้ไปอบรมกับคนกล้าคืนถิ่น เหมือนที่ครูถั่วหรือพี่เจริญเจริญที่ไปอบรมรุ่นเดียวกัน จำได้ไหมคะครู เคยไปเที่ยวแปลงแกที่เบตงด้วย เค้าจัดคาราวานคนกล้า แล้วพอเราเข้าเครือข่ายบอกตรงตรงเลยนะว่าการเข้าเครือข่ายเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะบางทีเราทำอยู่ที่แปลงเราคนเดียวนั้นบางทีใจเราก็ตกนะ ถึงเราจะกำลังใจดีแค่ไหนพอเราไปเจอความหลากหลาย ที่ว่าแต่ละคนได้มาพูดมาแลกเปลี่ยนกันก็จะกลายเป็น แรงกระตุ้นให้เรากลับมาสู้ต่อได้ นะคะตรงนี้มันดีมากๆสำหรับเครือข่าย แล้วก็พอหลังจากนั้นเมื่อปีที่แล้วก็ได้ไปอบรมกสิกรรม ก็มาเข้ากลุ่มกสิกรรมธรรมชาติของอาจารย์ยักษ์ การที่ว่าเราติดตามอาจารย์ยักษ์มานานอาจารย์ยักษ์นี่ก็เป็นส่วนหนึ่ง เราก็ส่วนหนึ่งวันนี้ขี้เกียจพอเปิดอาจารย์ยักษ์ฟังก็เป็นการกระตุ้น เราต้องไปแปลงอ่ะอยากจะปลูกไอ้นั่นอยากจะปลูกไอ้นี่ เพราะได้ไปเจอกับอาจารย์แล้วก็ได้มาสืบสานต่อยอดงานของพ่อ ก็ได้รับมาทางด้านนี้ด้วยก็ได้มาเข้าโครงการปลูกป่า กับเครือข่ายกสิกรรม วันนั้นที่ไปอบรมเค้าก็ให้เลือกหัวข้อว่าแต่ละกลุ่มนั้นจะทำอะไร ตัวเราก็เลือกที่จะปลูกป่าคุยไปคุยมา คุยกับอาจารย์ยักษ์ว่าพี่พามีที่เท่าไหร่ ประมาณ 20 ไร่เกือบเกือบแล้วพี่พอจะปลูกกี่ต้น บอกว่า 20,000 ต้น พี่พาจะปลูกได้ยังไง 20,000 ต้นแต่ตอนนั้นเราก็รับปากกับอาจารย์ไว้แล้ว พอเข้าเครือข่ายปั๊บพอลงมาเราก็ลงทะเบียน ก็เอาสวนยางที่เป็นโฉนดที่ดินของเรามาทำก่อน มาเข้าร่วมทางโครงการก็ส่งเจ้าหน้าที่มา มาเยี่ยมมาตรวจแปลงที่เราลงทะเบียน ปลูกต้นไม้ไปปีแรกเค้าก็ให้ต้นละ 14 บาทเลย ก็ข้อความที่เราทำมานานแล้วเรากลับมาเราก็รายงานต้นไม้ที่เรามีได้เลย ของพี่ก็ได้มากกว่าเพื่อนในกลุ่ม
6. ก่อนอื่นขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านนะครับที่ให้โอกาส และสวัสดีเพื่อนเพื่อนทุกท่านนะครับผมเจริญ เป็นเกษตรมาจากเบตงนะครับขอเล่า ขอเล่าเรื่องส่วนตัวนิดหน่อยเพื่อเชื่อมโยงว่าทำไมผมถึงหันมาเป็นเกษตรกร สายเขียวผมอายุประมาณ 43 ถึง 45 ก็ได้แต่งงานกับแฟนคนปัจจุบันนี้แหล่ะพอดีว่าพ่อตามีสวนยางเยอะ 100 กว่าไร่แล้วไม่มีใครอยู่อยู่กันสองคนตายาย ก็ผมเป็นคนขี้เกียจนะเยอะเยอะไม่รู้เอาไว้ทำอะไร ผมก็คุยกับแฟนว่าขอซักห้าไร่ทำไว้เป็นตัวอย่างให้ดู ว่าดีไหมเค้าก็ค้านพี่น้องก็ค้านชี้ให้ ถ้าคุณจะทำคุณต้องทำแค่เนี่ยก็เลยต้องลงมือทำ 20 ไร่ คือถ้าจะให้ผมทำ 20 ไร่นี้นะต้องลดเคมีหมดคือไม่ให้ฉีดหญ้า เพราะว่าสภาพดินเสียหมดแล้วหมดปลูกยางมาหลายรุ่นแล้วใช้แต่ยาฆ่าหญ้า จนสภาพดินนี้ไม่มีหน้าดินเลยผมว่าผมจะทำให้ดู ว่าจะฟื้นให้ได้ภายในสามปีแต่ต้องทำตามแนวทางของผม แล้วก็ถามเขาว่าในพื้นที่เนี่ยคุณจะทำอะไร ปลุกยางสิเราอยู่กับยางมาตลอดชีวิตก็ต้องปลูกยาง แล้วจะไปหาคนงานที่ไหนตัดล่ะทุกวันนี้ถ้าถางหญ้ายังไม่พอ ตัดยางแล้วยังไม่พอค่าถางหญ้าเลยมันแพงเหลือเกิน ที่เบตงนี่ประมาณ 800 บาทต่อไร่นะแพงมากๆผมก็เลยต้องตัดเอง ทุกวันนี้แปลงที่ผมตัดผมก็ต้องตัดหญ้าเองถางหญ้าเอง ใช้เครื่องก็ตัดไปเรื่อยเรื่อยผมก็วางแผนว่า 20 ไร่นี้ ผมจะเรียกที่สวยสวยบุกยางให้คุณคุณตัดไว้วันละกี่ต้น ก็อายุมากแล้ววันละ 200 ต้นพอมั้ง ผมก็ว่าอย่างนี้แล้วกันผมปลูกให้ 500 ต้นผมก็เลือกที่สวยสวย ผมก็ปลูกให้เขา 500 ต้นที่เหลือที่เหลือจะทำยังไง ผมก็ไปปลูกป่าให้เขาแต่ผมเป็นพนักงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีความรู้ ทางการเกษตรก็วิ่งไปศึกษาหาความรู้ จากอาจารย์โจน จันใดที่ตอนหลังเป็นเพื่อนเป็น เกลอกัน ก็ไปศึกษากันว่าคุณอย่าทำแปลงใหญ่เลยทำแปลงใหญ่ก็ขาดทุน ไม่มีกำไรแล้วก็ไม่มีโอกาสมากับด็อกเตอร์เกริก ที่อยู่เขาฉกรรจ์ก็เป็นวนเกษตร ก็ไปศึกษาเค้าว่าต้องทำยังไงจากการล้มละลายจากธุรกิจ มาทำสวนป่ามาทำวนเกษตร แล้วมาที่พ่อเลี่ยมสวนออนซอนที่ฉะเชิงเทรา ก็เป็น เกลอกัน ก็มาที่อาจารย์คำนึง ที่ไปอบรมกันก็เป็นเพื่อนกันจนทุกวันนี้ เจอกันก็กินข้าวกันตลอดก็มีคุณต้มป่าพะยอม คุณอีกคนนึงคุณประไพอีกคนนึง ผมก็มีไปศึกษาจนมีความเข้าใจในเมืองไทยแล้ว ผมก็ไปศึกษาต่อที่ประเทศมาเลเซียเนาะผมก็โชคดี พูดภาษาจีนเป็นพอเข้าไปหาเค้าไม่ไว้วางใจ กลัวผมไปทำธุรกิจอะไรพวกเนี่ยเพราะว่าผมเป็นข้าราชการเก่า เค้าให้เก็บเป็นความลับ เรื่องพันธุ์ยาง ผมก็ตื๊อเขาทุกรอบแหละไปบ่อยไปทุกอาทิตย์เอาของไปฝาก จนเข้าใจผมว่าคนนี้ไว้ใจได้ก็เลยให้ความรู้เรื่องยางพารา จนเขาทดสอบผมปิดตาผม ให้ไปคลำต้นยางดูว่านี่ต้นยางพันธุ์อะไรถูกบ้างผิดบ้าง ก็ศึกษาเป็นอาทิตย์จนได้รู้ว่า พันธุ์ยาง นี้ดีไม่ดี แต่เมืองไทยไม่ค่อยให้ความสนใจเรื่องพันธุ์ยางมากนัก ผมไปศึกษาจนซีรี่ส์ 4000 จนในช่วงหลังนี้รู้สึกว่าจะ 5000 กว่า จะ 6000 แล้วผมก็ไม่ทราบนะครับพัฒนาเร็วจัง สิ่งที่ได้ไปจากการศึกษายังง่ายง่ายคือทำให้เรารู้ว่า มีน้ำยางเค้าแค่เด็ดก้านใบ เด็ดออกมาก็ดูออกออกว่าน้ำยางที่พุ่งออกมาเนี่ย ดีไม่ดีง่ายง่ายไม่ต้องไปกรีดเลยคุณแค่ลองไปเด็ด อันนี้เป็นการศึกษาพันธุ์ยางว่าดีไม่ดี ง่ายเนอะก็ปะยางที่ดีไม่ดีเนี่ยเมื่องอกออกมาลำต้นก็จะลื่นลื่นหน่อย อันนี้แน่นอนว่าน้ำยางจะดีแล้วเปลือกยางก็จะนิ่ม อันนี้พื้นฐานง่ายง่ายไม่ขอพูดยาวแล้ว ก็กลับมาที่ว่าผมปลูกยางก็เหมือนที่อื่นก็คือมันมีระเบียบของการยาง ยังคุมอยู่ก็ต้องทำตามระเบียบของเค้า หลังจากปลูกไปหนึ่งปีผมก็กล้าไม้ แต่ผมพยามขุดหลุมให้ใหญ่ให้ลึก แล้วปรุงดินให้ดีก่อนปลูกทุกครั้งผมขุดดินก่อนนะ ก็ผมจะเตรียมดินดินก่อนให้เรียบร้อยก่อนสมมุติผมขุดได้ 200 หลุมผมก็จะเตรียมสั่งกล้าไม้มา 200 ต้น ก็ปลูกเลยไม่คิดคำนึงรู้สึกถึงสภาพอากาศ แต่หลุมของผมเวลาปลูกไปผมจะทำเป็นครึ่งวงกลม เผื่อเวลาฝนตกหรือให้น้ำก็จะให้สะดวกหรือให้น้ำไปหนึ่งกระป๋องน้ำก็ยังอยู่ในหลุม ไม่ไหลออกไปที่อื่นเนาะครึ่งวงกลม ที่ผมเป็นเขานะก็จะหันขึ้นเขาเพื่อจะดัก ดักน้ำเวลาฝนตกน้ำก็จะไหลเข้าหลุมมากที่สุด แต่ถ้าไม่มีไอ้นี่เลยทำเป็นดินกลบดินเสมอน้ำก็จะไหลวิธีอื่น นี่คือสิ่งที่ผมได้เปรียบแล้วก็ผมไม่เคยใช้ยาพ่นหญ้า ยาฉีดหญ้าผมใช้วิธีถางหญ้าอย่างเดียวแล้วก็เอาใจใส่ศึกษาทำไมถึงเป็นอย่างนั้น คือได้ตั้งไจเรียนเรียนรู้จากการทำงานด้วยจนได้ประสบความสำเร็จ แต่จริงๆใจผมอยากจะทำแค่ห้าไร่เพราะใจผมเป็นคนขี้เกียจ เอาตามที่ผมบอกตั้งแต่ต้นแล้วว่าในห้าไร่เนี่ยผมจะปลูกยาง สองไร่ก็ประมาณ 100 ต้น ในสองไร่นี้ผมก็จะปลูกไม้ป่าเข้าไปอีก 120 ต้น แต่ทำไมถึงผมปลูกแค่นี้ผมคิดว่า ผมตัดวันเว้นวันพอ 100 ตอนเนี่ยผมกรีดยางผมกะได้วันละประมาณ 200 บาทพอ เป็นค่าใช้จ่ายไปตามรายวันแค่นั้นเอง จากพื้นที่ที่ผมปลูกไม้ป่าเข้าไปก็เป็นพื้นที่มาฟีฟรีก็เหมือนทำสองไร่แต่ได้สี่ไร่ ก็อยู่ในพื้นที่ด้วยกันทั้งยางทั้งไม้ป่าแล้วผมก็จะทำสวนทุเรียนอีกสองไร่ประมาณ 40 ต้นเอง แต่ผมใช้ระบบธรรมชาติหมดไม่มีการใช้สปริงเกอร์ไม่มีการวางท่อ แล้วในสองรายนี้ที่เป็นทุเรียนนี้ผมจะมีบ่อปลาอยู่ด้วยบางคนงงว่ามีบ่อปลา คุณต้องงงบ่อปลาผมขุดยังไงไม่คือบ่อปลาผมก็เป็นบ่อแคบแคบแค่ 1 เมตร 50 เซนต์ แต่ความลึกประมาณ 2 เมตรไอ้นี่เอาไว้เก็บน้ำ ทำปุ๋ยระหว่างแถวทุเรียนนี้ก็จะมีร่องทำคูนะ ลึก 50 เซนต์เอาไว้รดน้ำก็จะไม่ใช้ท่อแต่จะใช้คู มีทุกแถวก็เป็นการประหยัดเงิน ก็ให้น้ำเดินไปไม่ต้องเฝ้าก็ไม่ต้องใช้กลไกอะไรแค่เปิดประตูน้ำให้น้ำเข้าไป แล้วก็ขังไว้ให้ให้เต็มคูปล่อยเขาซึมซึมให้เต็ม เมื่อพอแล้วก็ปล่อยน้ำออก เวลาฝนตกมาน้ำก็จะไหลลงไปในบ่อปลาผม ไม่ทำให้น้ำขังไม่ทำให้เป็นโรครากเน่าง่าย แล้วการขุด 50 เซนต์เนี่ยเป็นการสำรวจพื้นที่ว่าน้ำใต้ดินเราสูงขนาดไหน 50 เซนต์นี้ก็จะทำให้รู้ว่าน้ำใต้ดินสูงก็ทุเรียนทุเรียนจะกลัวน้ำใต้ดินพอปีที่สาม ก็จะขุดลูกลงไปอีกเพื่อไล่น้ำใต้ดิน เราต้องควบคุมทุกอย่างให้ได้ถ้าเราปลูกทุเรียน ถ้าเราไม่สามารถควบคุมพื้นฐานตรงนี้ได้จะนำมาซึ่งการตาย อยู่ประจำผมเห็นใน LINE ผมพวกนี้ไม่สามารถแก้ทีหลังได้ แก้ยากถ้าเป็นการเริ่มต้นที่ถูก แล้วผมก็ไม่สนับสนุนให้ท่านปลูกทุเรียนหมอนทองอย่างเดียว ในแปลง 40 ต้นนี้ผมจะมี 10 ชนิด ผมปลูกให้ค้างคาวก่อนเพื่อสร้างพันธุ์ของผมเพื่อที่ว่า ผมเคยปลูกมาแล้วสมัย 11 19 ปีพ่อผมเป็นคนสุราษฎร์ เพราะไม่ได้ เป็นคนอยู่เบตงเค้าก็เอาที่ดินที่ผมทำเนี่ยเอาไปขายทิ้ง ก็ถ้าขายทิ้งก็ไม่เอาก็ไม่มีที่อยู่ก็เลยต้องไปอยู่บ้านพ่อตา ก็พยามจะสร้างแต่ ที่เค้าบอกคือคนทั่วไปจะดื้อก็จริงนะผมก็ดื้อ เค้าจะไม่ค่อยฟังเหตุผลเค้าจะทำไมต้องทำอย่างนี้ทำยังไงให้เสียเวลา ทำไมคุณไม่ปลุกเลยทำไมคุณต้องเว้นวรรค เป็นหกเดือนสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ ทำให้เราทำเกษตรไม่สำเร็จ ผมทำอย่างนี้เพราะอะไรสวนยางเหมือนกับตู้เอทีเอ็ม ไปเอาเมื่อไหร่ก็ได้เงิน ปัจจุบันขายสดเลย ไปส่งงวดนี้ได้เงินงวดนี้ ทุกวันนี้เป็นอย่างนี้หมดส่วนทุเรียน 40 ต้น คุณจะได้เงินเท่าไหร่เรามาคิดร่วมกันเนอะ ถ้าทำแบบ 40 ต้นทำเป็นออร์แกนิคออกมาเป็นพรีเมี่ยม คุณไม่ต้องขยันคุณทำตัวขี้เกียจเหมือนผม ตื่น 6 โมงไปดูห้าต้นไม่ต้องขยันดูหมด ดูห้าต้นพอแล้วไปทำกิจวัตร คุณเป็นข้าราชการคุณไม่ทำงานคุณเป็นลูกจ้างคุณก็ไป แล้วตอนเย็นกลับมาดูอีกห้าต้น ไม่ต้องขยันดูห้าต้นแล้ววันนึงดู 10 ต้น สี่วันก็ 40 ต้นเดือนนึงคุณ ดูหกเที่ยวหกสี่ 24 เดือนนึงดู 24 วัน ยังพักผ่อนอีกอาทิตย์นึง เพราะฉะนั้นก็ทำเกษตรไอ้ขี้เกียจเพราะอาจารย์โจนจันใด คนขยันยิ่งจน ไปเปิดดู ผมก็ถามว่าจนก็ดูสิชาวนาขยัน เกษตรกรขยัน ยังไงแต่ไม่มีเงิน ขายจน ขายที่หมด แล้วเรามาคำนวณพร้อมกันนะครับ 40 ต้น ผมขอสรุปนะเรามีลูกทุเรียน 30 ลูกต่อต้น 40 ต้น ครบหกปีนะให้เขามีทุเรียน 30 ลูก ก็มี 1200 ลูก ไม่ต้องเอาเยอะไม่ต้องไปเผื่อใคร เผื่อลงเผื่อนายทุน เผื่อคนกินทำให้เป็นออร์แกนิค เป็นพรีเมี่ยมผมไม่บอกเป็นยังไงนะคุณไปดูที่ตลาด อตก ซึ่งผมมีเครือข่ายอยู่ซึ่งเค้าบอกว่าคุณส่งมาเลย เค้ารับซื้อจากผมเป็นลูกนะลูกละ 1000 บาท 1000 บาท ไปขายยังไงคุณไม่ต้องอิจฉานะลูกเล็ก สองกิโลกรัม ± เค้าขาย 3500 บาท ลูกหนึ่งเค้าไม่ชั่งกิโลขอให้เป็นออร์แกนิคขอให้เป็นพรีเมี่ยม ลูก 3 กิโลกรัม ± เค้าขาย 4500 บาท ผมไม่อิจฉาแต่ผมได้เท่าไหร่ล่ะผมได้ แล้วพอใจไหมปีนึงผมได้ 1,200,000 บาท ผมก็ไม่ทำงานหนัก ผมก็ขี้เกียจเนี่ยปีนึงผมก็มีปลากิน ผมเลี้ยงปลานิลใส่ในคูปีนึงผมก็ลอกที่ดินขึ้นมา ใส่ในโคนต้นทุเรียนผมก็ประหยัดปุ๋ย แต่การปรุงดินในทุเรียนนี้ไม่เหมือนนะแต่ผมไม่เอามาพูด กลัวมัน จะยาว ที่สวนทุเรียนมีผมเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ได้อาจารย์จะไปเห็นผมผมเลี้ยงปล่อยหมดเลย ถามผมว่าผมมีรายรับไหมแต่ผมไม่มีนะเพื่อนเพื่อนอยากกินก็มาเอา ใครจะมาจับก็เอาผมไม่ได้เน้นทำลายชีวิตเขาพอเลี้ยงแล้วผมก็มีรายได้จากสวนแล้ว ผมพยามสร้างพันธุ์ใหม่ไก่ผมก็สร้างพันธุ์ใหม่เป็นของตัวเอง ทำไมทุเรียนผมจึงปลูก 10 ชนิดผมให้เค้าผสมข้ามพันธุ์ แล้วสร้างเป็นแบรนด์เนมของผมเองผมก็เอาชื่อตายาย ทุเรียน จำไว้เลย ถ้าเค้าขยายขยายข้าม สายพันธุ์หมอนทองก็จะไม่เป็นหมอนทอง ชะนีก็จะไม่เป็นชะนีนี่ผมทำมาแล้ว แล้วขายไม่ทันบางคนก็มาแย่งแย่งบางคนก็ไม่ให้เงิน คืนงี้เกษตรกรเราต้องหัดเป็นคนขี้เกียจ แล้วพยายามสร้างแบรนด์เนมของตัวเองไม่ว่าอะไรก็ตามแล้วอย่าไปปลูกทุเรียน 400 ต้นต้องเอาเวลาไปดูเวลาไม่มีก็ต้องจ้างคนงาน งานไม่มีความรักใจรักเหมือนเราใส่ปุ๋ยก็ใส่ซี้ซั้ว แล้วฉีดยาก็ฉีดซี้ซัว ฉีดเสร็จก็เสร็จ ต้นทุนมันก็หนักทุกวันนี้ที่ปิยะมิตรนะ ไปซื้อโดรนมา เวลาฉีดยาก็ใช้ยาเป็นเท่าตัว เพราะอะไรเวลาพ่นเนี่ยมันไม่ทั่วถึง น่ะ ต้องเสียค่าแรงเพิ่มอีกไปฉีดพ่นเพิ่ม เพราะใต้ใบมันฉีดไม่ถึง บางทีเราใช้เทคโนโลยีเยอะเกินไปคิดว่ามันสะดวก อยู่กรุงเทพแล้วก็กดเปิดน้ำปิดน้ำได้ ผมไม่รู้นะขอให้เป็นแมนนวลแมนนวลหน่อย คืออัตโนมัติหน่อยนะ เปิดเองถึงเวลาพอใจก็ปิด ง่ายง่ายนั่นง่ายง่ายเนอะถ้าเพื่อนเพื่อนมีอะไร สอบถามมีอะไรที่สงสัยก็ยินดี ลงพื้นที่ดีกว่าอย่ามาดูของผมไงพอไปดูของผมกับพื้นที่ของตัวเองมันไม่เหมือนกัน
7. ครับเรียนคณะอาจารย์และพี่พี่เกษตรกรต้นแบบทุกท่านนะครับ ผมทศพล รุ่งเรืองประโยชน์ เป็นเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเบตง ไปสวนก็เดิมทีผมก็เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอยู่ด้วยนะครับ เป็น เลขาของ สหกรณ์แล้ว และเครือข่ายสวนยางในอำเภอเบตง ในสวนก็ทำเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรกรต้นแบบ ผสมผสานในสวนก็ทำหลักๆเลยก็คือการเลี้ยงปลา ปลาพวงชมพู ปลาจีน ปลานิล ปลานิลกระแสน้ำไหลตอนนี้ปลานิลก็จะขึ้นทะเบียนเป็นปลานิลจีไอ แม่ก็จะทำในวันข้างหน้าให้ทำไปเรื่อยเรื่อยครับผมปลานิลจีไอก็จะเป็นปลานิลใสสามโลขึ้นไป โลนึงก็จะขายในพื้นที่ในที่นี้ผมก็จะพูด ไม่ค่อยเยอะนะครับเพราะช่วงบ่ายผมก็ต้องไปขนปุ๋ยที่ ทานโตอีก ในสวนก็ที่ผ่านมาที่ศูนย์ก็คือมีการศึกษาดูงานจากนราธิวาส มาดูที่สวนแล้วก็เดือนหน้าอธิการของกรมตรวจบัญชีบัณฑิต ก็จะมาดูที่สวน ในสวนก็มีหลายอย่างครับแต่ถ้าเล่าก็ได้เอาเป็นว่าพี่พี่ สงสัยอะไรหรืออยากถามข้อมูลอะไรก็ถามเพิ่มเติมได้เลยครับ อาจารย์
8. สวัสดีอาจารย์ นะคะและ เพื่อนเกษตรกรต้นแบบทุกท่านออนอรณภัทร นวลศิลป์ ก็ปัจจัยที่จุดประกายที่มาทำตรงนี้จริงๆ คือเมื่อก่อนทำงานบริษัทอยู่ที่หาดใหญ่ แล้วทีนี้กลับมาอยู่บ้านมาดูแลคนแก่ตอนแรกทำเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกพวดแตงกวาถั่วฝักยาววันนึงก็เก็บที 300 400 กิโลกรัม แล้วทีนี้เจอปัญหาว่าบ้านเราฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาลแล้วพอตกแล้วขังในนา ทำให้น้ำท่วมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ทำให้เกิดความเสียหาย สองปีติดกันก็เลยมองว่า เราน่าจะทำเป็นยกแคร่ แต่ต้นทุนมันจะสูงมาก เฉพาะตัวที่เป็นแคร่เหล็กที่ความยาว 4 เมตรเฉพาะตัวแร่คอย่างเดียวก็ต้นทุนอยู่ที่ 4500 บาท จากการสอบถามช่างแต่ถ้าเรามีแค่สามแคร่สี่แคร่เราไม่สามารถทำเป็นอาชีพ เราได้เพราะว่าการที่จะทำเป็นอาชีพจำเป็นต้องมีผลผลิตหมุนเวียนออกทุกวัน ก็เลยพยายามหาความรู้ในการทำแคร่อย่างง่าย ก็ได้ตัวแคร่อย่างนี้มาต้นทุนจะตกอยู่ที่ 1000 กว่าบาท 4 เมตรก็พีวีซี ซาแลนกระเบื้อง ต้นทุนก็อยู่ที่ประมาณ 1000 กว่าบาท ทำให้สามารถทำได้หลายแคร่ กิจกรรมรายได้ก็จะมาจากดินปลูกด้วย ดินปลูกเนี่ยในช่วงนี้เดือนนึงก็จะจำหน่ายอยู่ที่เดือนละ 100 ถึง 200 กระสอบ คือจะเห็นว่ายังไม่มี package เป็นกระสอบแบบเนี่ยเป็นกระสอบเหลือใช้ที่เราได้มาจากการซื้อมูลวัว ใช้กระสอบอย่างนี้ไปก่อนในหลายคนถามว่าขายดีแล้วทำไมไม่ทำแพ็คเกจ นี้ออนก็มองอย่างนี้ดีมั๊ยเพราะการทำแพ็คเกจเป็นการเพิ่มต้นทุน ออนก็จะต้องลดจำนวนดินลง เอาอย่างนี้ไหม 100 บาทพร้อมขึ้นแคร่ คือมันไม่ใช้กระสอบอ่ะ มันใช้ดินไงก็เลยไม่ยังไม่มีแนวคิดที่จะมี package คือออนไม่คิดตรงนี้เพราะในพื้นที่ตอนนี้ 100 ถึง 200 กระสอบเนี่ยออนยังใช้แรงงาน ของกลุ่มวิสาหกิจได้ก็ตอนนี้ของเขา เค้าก็มีรายได้ในการจ้างผสมอยู่ที่กระสอบละ 10 บาท ตัวเด่นของดินปลูกออนบ้านสวนก็คือน้ำหมักปลา เพราะว่าที่บ้านจะทำน้ำหมักปลาอยู่ที่ประมาณ 30 ถัง เพื่อหมักดินไว้ก่อนที่จะบรรจุกระสอบ ใช้น้ำหนักปลาเนี่ยหมักเข้าไปทำให้ดินของพี่อรทำเนี่ยมีความพิเศษ ลูกค้าที่เอาไปใช้เนี่ยก็จะรู้เลยว่ามันพิเศษยังไง ก็ในส่วนของน้ำหนักปลาเราจะขาย 5 ลิตร ฮาก็คือ 100 บาท ไม่ได้ขายแพงเพราะเราไม่ได้ผ่านการสกัดจากห้องทดลอง หรือห้องแลป ทำให้เราสามารถขายราคานี้ได้ ก็รายได้หลักอีกตัวนึงก็จะเป็นต้นกล้า ต้นกล้าก็จะขายถาดละ 200 บาท คืน 105 หลุม จะมีต้นกล้าผักสวนครัวผักสลัด ก็จะมี ทุกประเภทใดที่ขาย ตรงนี้ก็จะเป็นรายได้หลักเหมือนกันที่จะสามารถสร้างงานให้กับสมาชิกในกลุ่มได้ มีของในสวนก็จะมีข้อจำกัดว่าหนึ่งเรื่องกระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำปลายน้ำเราจบในที่เดียว เราผลิตดินเองเราผลิตต้นกล้าเองเราผลิตปุ๋ยใช้เอง ส่วนดีก็คือออนได้จัดทำงานกับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ศูนย์ดินปุ๋ยชุมชน เราสามารถเอากระบวนการจัดการความรู้ตรงนี้มาจัดการมาเผยแพร่ เกษตรกรที่เข้ามาในแปลงในฐานะ ที่เราเป็นศูนย์เรียนรู้เพราะตรงนี้ที่เราเป็นในเรื่องของยุวเกษตร เข้ามาเข้าค่ายที่บ้าน ก็จะพยามเขาเห็นว่าการที่คุณมีครัวมีคลังอาหารอยู่รอบ บ้านมันทำให้สามารถทำให้คุณมีชีวิตอยู่ได้จริงๆ ทุกคนตอนนี้มีเงินแต่เค้าซื้อสุขภาพ ในเขตเราจะเห็นว่าทำไมจะเห็นว่าพวกดารามาปลูกผักกินเอง เค้าบอกไปเรื่องถึงสุขภาพเพราะตรงนั้นมันซื้อไม่ได้ นั้นการปลูกกินเองที่บ้านมันมันสามารถช่วยในเรื่องสุขภาพได้ เราจะต้องไม่ต้องไปหาหมอไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่ตอนนี้ พื้นที่ที่แ
|
|
อาจารย์สรุปมาได้แล้วก็คือแนวคิด ทางการเกษตร ที่อาจารย์ เคยสัมภาษณ์ พวก เราทุกคน หลักในการ ผลิตการตลาดการจัดการ ได้สัมภาษณ์หมดแล้ว ปัจจัยความสำเร็จอาจารย์ก็เก็บได้ระดับหนึ่งแล้วแหละ ว่าแต่ละคนนั้นมีจุดเงื่อนไขที่สำคัญยังไง บ้างแต่สิ่งที่อาจารย์ต้องไปทำข้อมูลต่อก็คือ วางแผนในที่เราจะขับเคลื่อนในระยะถัดไป หลัง จากนี้ ประมาณเดือนสิงหาอาจารย์อาจต้องลงพื้นที่ที่กลุ่ม สัมภาษณ์เกษตรกรใกล้เคียงสมาชิกกลุ่มนิดนึง ที่ที่กลุ่มของออน กลุ่มของอาเยาะ กลุ่มของมานพ กลุ่มของทศพล กลุ่มของเติบอะไรประมาณเนี่ย สมาชิกที่อยู่ใกล้เคียงเนอะ อาจจะรวบรวมเกษตรกรกลุ่มนั้นนิดนึงเพื่อ ดูว่าเค้ารับรู้ สิ่งที่เราทำ และก็นำไปปรับใช้ ของออนนี่น่าจะเห็นชัด ที่เคยไปเห็น เห็นอยู่หลายแปลงตรงนั้น ที่อาเยาะอาจารย์ต้องเข้าไปดูว่าตรงนั้นมีการติดขัดอะไรบ้าง ก็จะเก็บตรงนั้นแต่ละจุดน่าจะประมาณประมาณ 15 ถึง 20 ราย เหมือนเบตงก็เหมือนกันก็จะเก็บ ประมาณนั้นเพื่อประเมิน ข้อมูลพื้นฐานของเชิงพื้นที่ จะเตรียมการขับเคลื่อน ในระยะถัดไป ถัดไปต่อ ถ้ามีอะไรเราก็สื่อสารผ่าน LINE กลุ่มเนาะก็ขอขอบคุณมาก มีความคึกคักดีเห็นกิจกรรมต่างๆ เวลาอาจารย์อยู่นอกพื้นที่อาจารย์ไม่รู้จักโพสต์อะไรดี ก็โพสต์ว่า ว่าวันนี้ฉันไปทำงานอะไร ก็ขอบคุณทุกที่โพสต์ให้ในกลุ่มคึกคักก็ตอนนี้รู้จักกันหมดแล้วนะก็ต่อไปก็ขับเคลื่อนกลุ่มให้อยู่ในระดับต่อไป
|
|
โครงการตลาดนัดเด็กน้อยแก้มใส ณ โรงเรียนบ้านควนลังงา |
5 ส.ค. 2567 |
5 ส.ค. 2567 |
|
หลังจากทางรพ สต.ทรายขาว พร้อมทั้งคุณครูโรงเรียนบ้านควนลังกา ผู้ปกครองและนักเรียนได้มีการจัดอบรมนักเรียนเรื่องการทำโครงการตลาดนัดเด็กน้อยแก้มใส ในรายละเอียดกระบวนการมีดังนี้.....
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพวิทยากรโดยนายธีรศักดิ์แก้วประดับตำแหน่งนักวิชาการสาธารณะให้ความรู้เรื่องอาหาร
อบรมให้ความรู้เรื่องวิธีการเลือกผักผลไม้วิทยากรโดยนายซอบรี มณีหิยา
|
|
การจัดกิจกรรมตลาดนัดเด็กน้อยแก้มใสครั้งนี้ได้จัดขึ้นในวันงานกีฬาสีของกลุ่มโรงเรียน โดยกีฬาสีจัดขึ้นทั้วหมด4วันเนื่องจากมีผู้เข้ารวมเป็นจำนวนมากทางคณะจัดกิจกรรมจึงเห็นว่าการเปิดตลาดทดลองในช่วงนี้เป็นการสมควรดึงดูดผู้คนทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง
โดยแกนนำนักเรียนม.ต้นทั้งหมด30คนแบ่งเป็น5ร้านค้า มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนต่างๆเช่นผู้ผลิตอาหารผู้ขายผู้เตรียมของยกของจัดเก็บล้างซื้อมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน เป็นความร่วมมือสร้างความสามัคคีกันอย่างเห็นได้ชัด และนักเรียนแกนนำทุกคนมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมในครั้งนี้ เด็กๆเห็นถึงความสำคัญของอาหารที่ตัวเองทำให้คนอื่นรัยประทานว่าจะต้องมีคุณค่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย เมนูต่างๆที่คิดมาจึงคัดสรรมาเป็นอย่างดี และมีคุณภาพ
ตลาดอาหารมีทั้งหมด5ร้านค้า มีอาหารดังนี้
1.ร้านลาบไก่ มีสมาชิกทั้งหมด6คนดังนี้
เด็กหญิงพัชรินทร์ มะแอ เด็กหญิงกัลยากร สะหลำ เด็กหญิงอามาลีนา สือนิ เด็กหญิงอัสมา สาและ เด็กชายอาลีฟ อาบู เด็กชายรอมฎอน หนุนอานัน
ลาบไก่ดียังไงนอกจากโปรตีนจากเนื้อไก่ส่วนผสมของลาบมีคุณสมบัติที่หลากหลายเช่นหอมแดงช่วยต้านอนุมูลอิสระบำรุงหัวใจผักชีฝรั่งบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรงใบสะระแหน่ช่วยบำรุงสายตาคลายเครียดต้นหอมช่วยป้องกันอาการท้องผูกและลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดประโยชน์จากส่วนประกอบต่างๆ เนื้อไก่เป็นโปรตีนที่ดีมากเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายหอมแดงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดช่วยลดการเกิดโรคในเส้นเลือดผักชีฝรั่งมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงจึงช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ในร่างกายเข้าขั้วบรรเทาโรคโลหิตจางและความดันต่ำ น้ำมะนาวช่วยต่อต้านมะเร็งกระดูกและการทำงานของกล้ามเนื้อน้ำปลาเป็นแหล่งโปรตีนมีแร่ธาตุเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
เหตุผลที่เลือกเมนูนี้ เริ่มจากเด็กๆชอบรับประทานเองเป็นทุนเดิม เคยทำจึงเห็นว่าน่าจะเอาเป็น1ในเมนูที่ทำขายตอนเช้าได้ โดยเสริมด้วยข้าวเหนียวที่ใช้ดอกอัญชัญแช่น้ำเพิ่คุณประโยชน์และทำให้ดูน่ารับประทาน ลาบไก่ถือว่าได้รัยความสนใจอย่างมากจากทั้งเด็กนักเรียนเองและผู้ปกครอง
2.ร้านแซนวิส มีสมาชิกทั้งหมด6คนดังนี้
เด็กหญิงนัจลาอ์ สาเมาะบาซา เด็กหญิงอรวรรณ ยูโซะอาลี
เด็กหญิงประภัสสร ดาโอะ เด็กหญิงซุไอฮัยลา เจ๊ะอุบง เด็กชายชุติพงษ์ ดาเซะ เด็กชายฮาเบ๊บ บุตรเตะ
วัตถุดิบสำคัญในการทำแซนวิชมีขนมปังไข่ไก่ไก่สับมะเขือเทศผักสลัดแครอทซอสมะเขือเทศมายองเนส
คุณประโยชน์ที่ได้จากไข่และไก่ก็ยังมีขนมปังที่ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายมะเขือเทศช่วยบำรุงสายตาผักสลัดทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใสแครอทช่วยในระบบขับถ่ายในการทำส่วนประกอบที่เป็นไข่นักเรียนจะใช้ไข่ดาวนึ่งเพื่อลดการใช้น้ำมันในส่วนของไก่สับเด็กๆจะใช้มะเขือเทศและความหวานจากหอมหัวใหญ่ทำให้ไก่มีรสชาติที่ดียิ่งขึ้น
เป็นเมนูที่เด็กนักเรียนให้ความสนใจเป็นอย่างมากเพราะทั้งทานง่ายและอร่อยซึ่งเด็กๆคุ้นชินกับแซนวิชอยู่แล้วทำให้ขายดีมากๆ เป็นเมนูที่เด็กๆเห็นว่าควรมีขายในทุกเช้า ซึ่งทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก
3.ร้านสุกี้โรล มีสมาชิกทั้งหมด 6 คนดังนี้
เด็กหญิงนาลิซ่า หมัดแกแรต เด็กหญิงนูรนีนา อีซอมูซอ เด็กหญิงอุสะนิสา คำเสน เด็กหญิงชรินทร์ทิพย์ จันทร์จร เด็กชายอาสิท มุดมาหัด นายธนาพล สมานกาเส็ม
วัตถุดิบเนื้อไก่ผักกาดขาวแครอทเห็ดเข็มทอง การเลือกมีเมนูนี้เด็กๆเห็นว่าการนำผักกาดขาวมาเป็นส่วนประกอบของอาหารจะทำให้เด็กได้กินผักเพิ่มมากขึ้นทั้งยังมีแครอทด้วยประโยชน์การกินผักกาดขาวช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดช่วยบำรุงสมองประสาทเห็ดเข็มทองช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบการเผาผลาญในร่างกายวิธีทำถึงแม้จะมีความยุ่งยากจากการทั้งต้องลวกผักลวกวุ้นเส้นนำส่วนประกอบต่างๆมารวมกันแล้วแต่เมื่อได้เป็นเมนูออกมารวมถึงน้ำจิ้มที่เด็กๆได้คิดสูตรขึ้นมาทำเองโดยการใช้การผสมระหว่างน้ำจิ้มที่มีความหวานและน้ำจิ้มสุกี้และน้ำจิ้มซีฟู้ดทำให้รสชาติออกมาดีอร่อยทั้งเด็กๆและผู้ปกครองชอบเมนูนี้มากรวมถึงผักกาดที่มีทั้งความนิ่มทำให้รับประทานง่ายยิ่งขึ้นเด็กเล็กๆก็สามารถรับประทานได้
4.ร้านขนมจีบเกี๊ยวน้ำ มีสมาชิก 6 คนดังนี้
เด็กหญิงวัชราวดี ณีย์ เด็กหญิงตัสนีม เด็กหญิงฮูซัยฟะห์ ดอล่าโดย เด็กชายอัฟฮัม สาเล็ง เด็กชายกาฟิว อินทฤทธิ์
ประโยชน์ที่ได้จากเมนูขนมจีบไก่สับเนื้อไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและมีไขมันน้อยแครอทมีเบต้าแคโรทีนวิตามินเอช่วยเรื่องการบำรุงสายตาและกระดูกกระเทียมบรรเทาอาการไอแก้หอบหืดขับเสมหะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดการเลือกทำเมนูนี้นักเรียนเห็นว่าทานง่ายและสะดวกในการรับประทานนอกจากจะกินเป็นขนมจีบแล้วยังสามารถทำเป็นเกี๊ยวน้ำได้อีกด้วยเป็นเมนูที่ทานง่ายได้ทุกเพศทุกวัยเด็กเล็กๆก็สามารถทานได้ผักที่สับละเอียดใส่ลงไปในผสมกับไก่สับทำให้เด็กๆได้กินผักไปด้วย
5.ร้านน้ำเพื่อสุขภาพ มีสมาชิกทั้งหมด 6 คนดังนี้
เด็กหญิงอริษา สุทธิการ เด็กหญิงอันดานี ยะปา เด็กหญิงฟาเดียร์ สุทธิการ เด็กหญิงสุฐิตา ขเดมิน เด็กชายอิสมาเเอล ตูกังหัน เด็กชายอาดิล ดามัน
การเลือกเมนูน้ำที่เป็นน้ำเพื่อสุขภาพจะช่วยให้เด็กๆในโรงเรียนลดการดื่มน้ำอัดลมซึ่งดีต่อสุขภาพเมนูน้ำที่นักเรียนเลือกมาเป็นเมนูที่ทานง่ายและมีประโยชน์น้ำเก๊กฮวยช่วยลดระดับความดันโลหิตน้ำกระเจี๊ยบแดงช่วยลดไขมันในเลือดน้ำดอกอัญชันช่วยบำรุงสมองและช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเฉาก๊วยช่วยบรรเทาอาการแก้ร้อนในดับกระหายลำไยลำไยมีธาตุแคลเซียมสูงมีส่วนช่วยในเรื่องของการทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง
แกนนำทั้ง 30 คนรู้สึกมีความสุขที่ได้ทำโครงการนี้อย่างน้อยๆจะช่วยให้เด็กๆในโรงเรียนได้มีอาหารเช้าที่มีคุณภาพและมีประโยชน์เป็นตัวเลือกอีก 1 ตัวเลือกที่สามารถช่วยผู้ปกครองในเรื่องของการไม่มีเวลาดูแลเรื่องอาหารเช้าของเด็กๆได้และยังมีความเห็นว่าหากร้านค้าในโรงเรียนจะนำเมนูที่มีประโยชน์เหล่านี้ไปขายในวันปกติก็สามารถทำได้โดยพวกเขาจะเป็นคนไปแนะนำเพื่อให้เห็นว่าอาหารที่ดีมีประโยชน์ก็ทำได้ง่ายๆและเด็กๆก็ชอบรับประทานด้วยเช่นกัน เบื้องต้นอาจจะขายทุกๆวันศุกร์แต่หากทางโรงเรียนเห็นว่าดีและมีประโยชน์ก็อยากจะทำทุกวันหรือหากทำไม่ได้ทุกวันก็จะไปประชาสัมพันธ์กับแม่ค้าที่ขายอยู่ในบริเวณโรงเรียนแนะนำเมนูที่มีประโยชน์เหล่านี้ให้กับแม่ค้าได้นำมาขายให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนทานต่อไป
ผลตอบรับจากผู้บริโภคเห็นได้ชัดว่าเด็กๆและผู้ปกครองก็มาซื้ออาหารที่แกนนำทั้ง 30 คนได้ร่วมกันจัดหามาทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอาหารดีและมีประโยชน์อร่อยกินง่ายและราคาไม่แพงหากมีอาหารแบบนี้ขายในโรงเรียนจะทำให้เด็กๆได้รับสารอาหารในตอนเช้าที่ครบถ้วนและมีประโยชน์สามารถอยู่ท้องได้จนถึงมื้อเที่ยงอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้ไปเรื่อยๆ
ข้อเสนอแนะของเด็กๆอยากให้มีกิจกรรมฐานการเรียนรู้ที่จะให้ความรู้เรื่องโภชนาการด้านอาหารกับเด็กนักเรียนในโรงเรียนอาจจะเป็นกิจกรรมที่จัดต่อเนื่องหรือเป็นบอร์ดนิทรรศการโดยเด็กนักเรียนทั้ง 3 คนสามารถเป็นแกนนำให้ความรู้กับน้องๆในโรงเรียนได้
รายชื่อคุณครูที่ปรึกษา
คุณครูรอหะนี เจะโซะ
คุณครูไสนะ ดอเลาะ
คุณครูโนรียา สาหลำสุรี
|
|
ตลาดอาหารโรงเรียนบ้านล้อแตก ต.บางโกระ |
9 ส.ค. 2567 |
9 ส.ค. 2567 |
|
หลังจากทางรพ. สต. บางโกระและคุณครูโรงเรียนบ้านล้อแตกได้ประชุมนักเรียนคัดสรรนักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 18 คนผู้ดูแล 2 คนรวมเป็น 20 คนมาทำกิจกรรมให้ความรู้อาหารเพื่อสุขภาพและสุขภาพอาหารทำให้เกิดโครงการตลาดอาหารในโรงเรียนบ้านลอแตกเกิดขึ้นกิจกรรมก่อนหน้านั้นมีการให้ความรู้เรื่อง 1 อาหารสุขภาพคืออะไรกินแล้วสุขภาพดูดีได้จากไม่อ้วนไม่ผอมสัดส่วนของร่างกายน้ำหนักส่วนสูงองค์ประกอบของร่างกายมวลกล้ามเนื้อไขมันกระดูกระบบร่างกายทำงานปกติการตรวจสุขภาพการเจ็บป่วยปลอดภัยไม่มีปัญหาที่เกิดจากการกินอาหารเช่นท้องเสียคลื่นไส้อาเจียนแพ้อาหารต่างๆ
2 หลักการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการช่วยส่งเสริมและป้องกันโรคได้ด้วยอาหารจะต้องสมดุลทั้งสารอาหารและโภชนาการให้คิดเสมอว่าอาหารคือตัวเราเพราะฉะนั้นองค์ประกอบทั้งหมดในร่างกายเรามาจากอาหารที่เรากินเข้าไปในแต่ละคนอาจจะมีสัดส่วนในการต้องการอาหารแร่ธาตุน้ำไขมันคาร์โบไฮเดรตโปรตีนวิตามินที่แตกต่างกัน
3 เลือกอย่างไรที่เรียกว่าฉลาดเลือกบริโภค how to สารอาหารครบปลอดภัยปริมาณเพียงพอ
4 เลือกอาหารอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ 1 ข้าวแป้งสิ่งที่ได้คาร์โบไฮเดรตธัญพืชที่ไม่ขัดสีอาหารวิตามินบีธาตุเหล็กสังกะสีควรเป็นประเภทที่ไม่ขัดสีพืชตระกูลถั่วที่หลากหลายผักที่มีแป้งเยอะพืชมีหัว 2 ผักผลไม้สิ่งที่ได้จากผักผลไม้คือวิตามินเกลือแร่ใยอาหารสารพฤกษ์เคมีคาร์โบไฮเดรตสีในผักผลไม้มีสารสำคัญที่มีสรรพคุณที่แตกต่างกันดังนั้นจึงต้องกินผักผลไม้ที่หลากหลายเช่นสีขาวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันสีเขียวกำจัดพิษสีเหลืองความงามสีส้มป้องกันมะเร็งสีแดงดีต่อหัวใจสีม่วงอายุยืนการฉลาดเลือกอาหารชนิดผลไม้ให้มีน้ำตาลมากน้อยแตกต่างกันตามชนิดผลไม้ต้องจำกัดปริมาณผลไม้ 1 ส่วนมีน้ำตาลเทียบเท่าปริมาณ 3 ช้อนชา 3 เนื้อสัตว์ไข่นมถั่วสิ่งที่ได้คือโปรตีนระหว่างไขมันอิ่มตัวคอเลสเตอรอลวิตามินเกลือแร่แคลเซียมธาตุเหล็กสังกะสีไอโอดีนวิตามินบี 12 วิธีการเลือกหมอนเนื้อสัตว์นมไข่เนื้อไม่ติดมันนมพร่องมันเนยไข่สัปดาห์ละ 3 ฟองปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายมีกรดไขมันชนิดดีเรื่องอาหารแปรรูปซึ่งมีโซเดียมสูง 4 ไขมันน้ำมันใช้น้ำมันพืชแทนการใช้น้ำมันสัตว์ใช้น้ำมันถูกประเภทสำหรับการทอดผัดแต่ใช้ประมาณ 5 ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
สรุปเลือกอย่างไรให้ได้สารอาหารครบ 1 กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวันให้หลากหลาย 2 ฉลาดเลือกอาหารในแต่ละหมู่แป้งข้าวไม่ขัดสีถั่วสีต่างๆผักผลไม้หลากหลายสีผลไม้ที่ไม่หวานจัดเนื้อสัตว์ไม่ติดมันปลานมไข่ไขมันน้ำมันพืชตามประเภทสำหรับทอดน้ำมันถั่วเหลืองสำหรับผัดน้ำมันรำข้าวดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
5 กินปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอดีพลังงานที่แนะนำ 1,600 กกแคลอรี่สำหรับเด็ก 6-13 ปีและหญิงวัยทำงาน 2,000 กิโลแคลอรี่สำหรับวัยรุ่นและชายวัยทำงาน 2400 กิโลแคลอรี่สำหรับนักกีฬาและผู้ใช้แรงงาน 1,400 กกแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60-80 ที่มีกิจกรรมเบามากแทบจะไม่ได้ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมที่ใช้กำลังกายน้อยมาก 1,600 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60 ถึง 80 ที่มีกิจกรรมเบาคือการออกกำลังกาย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ 1,800 กิโลแคลอรี่สำหรับผู้สูงอายุ 60 - 80 ที่มีกิจกรรมปานกลางคือออกกำลังกาย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
6 กินอย่างไรให้ปลอดภัยการปนเปื้อนสารพิษในอาหารเกิดขึ้นได้อย่างไรยาสารกระตุ้นการเจริญเติบโตปุ๋ยสารอื่นๆที่อันตรายเชื้อโรคสารเสริมเติมแต่งอาหารสุขลักษณะการผลิตที่ไม่ดีสารเติมแต่งอาหารสุขลักษณะในการผลิตไม่ดีต่อสารมะเร็งก่อนการปรุง
7 แนวทางการป้องกัน 1 ปรุงอาหารกินเองโดยทำความสะอาดให้ทั่วถึงแยกเก็บอาหารสุกดิบให้ความร้อนอาหารสุกทั่วถึงเก็บอาหารไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม 2 หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโอกาสสูงที่มีสารพิษเจือปน 3 เลือกร้านที่ถูกสุขลักษณะ
หลังจากให้ความรู้กับนักเรียนในเรื่องของอาหารต่างๆสุขภาวะอาหารที่ปลอดภัยแล้ว จึงได้จัดอบรมในการทำอาหารที่มีประโยชน์เพื่อที่จะนำมาเปิดตลาดโดยแบ่งเป็นกลุ่มและให้แต่ละกลุ่มเลือกที่จะนำผลิตอาหารมาขายในโรงเรียนให้กับเด็กนักเรียนรุ่นน้องรวมถึงผู้ปกครองที่มาเยี่ยมชม โดยการฝึกฝนนักเรียนรวมถึงการซื้ออุปกรณ์ที่จะใช้ได้ต่อเนื่องเป็นต้นทุนสำหรับการผลิตอาหารตอนเช้าให้กับนักเรียนในโรงเรียน
|
|
ตลาดอาหารโรงเรียนบ้านล้อแตก
ร้านค้าที่นักเรียนได้แบ่งกลุ่มในการนำมาขายให้กับนักเรียนในโรงเรียนคุณครูและผู้ปกครองมีดังนี้
1 ไข่พระอาทิตย์
สำหรับไข่พระอาทิตย์เด็กๆเห็นว่าการทำไข่พระอาทิตย์ง่ายและสะดวกในการรับประทานมีทั้งข้าวไข่ผักทำให้ง่ายต่อการรับประทานซึ่งเป็นเมนูตอนเช้าที่สามารถทานได้ง่ายๆและทำได้ง่าย จะพัฒนาปรับปรุงไปเรื่อยๆในการหาวัตถุดิบมาทำอาหาร
2 แซนวิช
3 ขนมโดนัทขนมถ้วยฟูและขนมดอกจอก
4 ซูชิหน้าต่างๆ
5.น้ำไมโลนมเผือกน้ำลำไย
จากการที่นักเรียนได้ทดลองขายได้มาพูดคุยกับคุณครูว่าอยากที่จะนำของที่ตัวเองทำมาทดลองขายนั้นไปวางขายตามร้านค้าต่างๆเช่นขนมดอกจอกขนมถ้วยฟูและขนมโดนัทหรือเอามาวางขายตรงที่สหกรณ์ของโรงเรียนเพื่อสร้างรายได้ให้กับนักเรียนต่อไปและทางโรงเรียนจะจัดให้มีการขายอาหารตอนเช้าในทุกวันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์โดยการเตรียมอาหารเตรียมวัตถุดิบตอนเย็นวันพฤหัสบดีและขายในตอนเช้าของวันศุกร์หรือจะนำไปขายที่สหกรณ์ของโรงเรียนได้อีกทางหนึ่ง
ซึ่งทางโรงเรียนเห็นว่าเป็นการสร้างอาชีพให้กับเด็กๆด้วยเนื่องจากว่าเด็กบางคนอาจจะไม่ได้เรียนต่อในระดับชั้นต่อไปเขาก็จะมีอาชีพหรือแม้กระทั่งช่วงวันหยุดเด็กก็ยังสามารถนำความรู้ที่ได้ตรงนี้ไปทำประกอบอาชีพขายหน้าบ้านของตัวเองได้และยังได้รู้ถึงอาหารที่ตัวเองกินเข้าไปว่ามีประโยชน์มากน้อยเพียงใดรู้จักเลือกอาหารที่ตัวเองจะรับประทานและสามารถบอกต่อกับน้องๆในโรงเรียนได้ด้วยทางโรงเรียนเห็นว่าจะพัฒนารุ่นต่อรุ่นตอนนี้ป 4 ป 5 ป 6 และจะเริ่มให้น้องป. 3 เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตลาดอาหารในครั้งนี้ต่อไป และมีโครงการขยายผลต่อหากมีการจัดประชุมของรพ. สตอบตก็จะนำขนมที่เด็กๆทำไปเป็นของว่างในการจัดประชุมนั้นๆได้ด้วย ในส่วนของนักเรียนโรงเรียนบ้านลอแตกมีเด็กพิเศษรวมอยู่ด้วยในการเรียนการสอนส่วนใหญ่แล้วเด็กจะสนใจในเรื่องของการทำอาหารการประกอบอาชีพซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ก็ตอบโจทย์กับนักเรียนกลุ่มนี้ได้อย่างมากทีเดียว
ในส่วนของผู้บริหารท่านผอก็เห็นถึงความสำคัญของการสร้างอาชีพให้กับเด็กๆดังนั้นกิจกรรมที่ทางโครงการจัดขึ้นจึงทางผู้บริหารจึงเห็นว่าเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนให้เด็กได้ทำกิจกรรมตรงนี้ต่อไป และยังช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รู้จักการทำบัญชีรายรับรายจ่ายอีกด้วย
และยังมองไปถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้ปกครองโดยการที่ทางโรงเรียนจะมีสวนผักอาจจะเป็นเห็ดมีปลาดุกปลูกผักที่ทางโรงเรียนเริ่มที่จะเริ่มเพาะปลูกและสอนให้เด็กทำเมื่อทางชุมชนมามีส่วนร่วมผู้ปกครองมามีส่วนร่วมก็จะทำให้เรื่องอาหารที่เด็กจะได้รับประทานไปเป็นไปในทิศทางเดียวกันและจากการทดลองให้เด็กลองปลูก เด็กๆชอบและมีความรับผิดชอบในสวนผักเล็กๆที่ตัวเองดูแล
ในส่วนของผู้ปกครองที่มาดูกิจกรรมเด็กๆรู้สึกแปลกใจที่ลูกหลานของตัวเองมาทำกิจกรรมตรงนี้ได้เพราะโดยปกติแล้วอยู่ที่บ้านจะไม่ทำอะไรเลยแต่พอมาเห็นในวันนี้รู้สึกประทับใจแล้วก็ชื่นชมที่มีกิจกรรมแบบนี้ฝึกให้เด็กรู้จักการทำอาหารและมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองและช่วยเหลือเพื่อนๆ อยากให้มีกิจกรรมแบบนี้ไปเรื่อยๆจะทำให้เด็กและผู้ปกครองได้เห็นถึงความสำคัญของอาหารโดยเฉพาะอาหารเช้าในส่วนของการให้ความรู้นั้นผู้ปกครองนำเสนอว่าอยากจะให้ทางโรงเรียนหรือทางคณะจัดกิจกรรมจัดอบรมผู้ปกครองถึงเรื่องอาหารที่มีประโยชน์และมื้อของอาหารที่เด็กควรได้รับในแต่ละวันอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้นจัดอบรมโดยเฉพาะผู้ปกครองหรือผู้ที่มีหน้าที่ในส่วนที่ต้องดูแลอาหารของเด็กในแต่ละวัน
|
|
ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและแกนนำชุมชนด้านการเขียนโครงการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น |
13 ส.ค. 2567 |
13 ส.ค. 2567 |
|
ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและแกนนำชุมชนด้านการเขียนโครงการระบบอาหารและโภชนาการสมวัยเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น โดยมีบุคลากร รพ.สต. และแกนนำชุมชนจำนวน 120 คน เข้าร่วม workshop การเขียนข้อเสนอโครงการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาโภชนาการในพื้นที่ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเสนอโครงการฯเพื่อของบประมาณได้ 2 แหล่งทุน คือ 1) งบกลไกร่วมทุนของ อบจ.ปัตตานี ซึ่งวางงบประมาณไว้โครงการละ 90,000 บาท จำนวน 15 โครงการ ซึ่งสามารถเริ่มดำเนินการได้ปีงบประมาณ เดือนตุลาคม 2568 2) งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล ซึ่งพัฒนาข้อเสนอโครงการในเว็บไซต์ https://localfund.happynetwork.org โดยมีวิทยากร ภก.สมชาย ละอองพันธ์ุ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา อาจารย์อาหมัด หรีขาหลี พี่เลี้ยงกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ สำหรับการพัฒนาข้อเสนอโครงการงบร่วมทุน อบจ.ปัตตานี มีทีมพี่เลี้ยง อบจ.ปัตตานี มาร่วมชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการยืน
|
|
- มี รพ.สต. จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ รพ.สต. ทุ่งพลา,บางโกระ,นาเกตุ,(อำเภอโคกโพธิ์) รพ.สต.ตรัง,ลางา (อำเภอมายอ) รพ.สต.บาราโหม (เมืองปัตตานี) รพ.สต.ป่าไร่ (อำเภอแม่ลาน) รพ.สต.ละหาร (สายบุรี) รพ.สต.ปุโละปุโย (อำเภอหนองจิก) พัฒนาข้อเสนอโครงการของบประมาณร่วมทุน จาก อบจ.ปัตตานี
- มี รพ.สต.จำนวน 25 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บางเก่า,ละหาร,น้ำดำ,แหลมโพธิ์,ปล่องหอย,เกาะเปาะ,มะนังยง,ตาโล๊ะกาโปร์,ปะเสยะวอ,ระแว้ง,ศาลาหยุดพระ,บาราโหม,คลองใหม่,สะดาวา,บ้านนอก,ทุ่งนเรนทร์,เกาะจัน,ทรายขาว,เกาะเปาะ,ยะหริ่ง,
ซึ่งสถาบันฯ จะมีการติดตามและนัดประชุมกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพแต่ละแห่ง เพื่อให้ความเห็นกับข้อเสนอโครงการในช่วงเดือนกันยายน 2567
|
|
ตลาดอาหาร |
28 ส.ค. 2567 |
28 ส.ค. 2567 |
|
ตลาดอาหารสุขภาพโรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้
รายละเอียดการดำเนิน กิจกรรมโครงการตลาดนัดอาหาร เด็กน้อยแก้มใสในโรงเรียน อิ่มท้องสมองไบรท์
โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ อำเภอโคกโพธ์ จังหวัดปัตตานี
กลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนชั้น ป.3-ป.6 จำนวน 28 คน ครูผู้ดูแลจำนวน 2 คน
1. กิจกรรมที่ 1 ประชุมครูที่รับผิดชอบเรื่องรายละเอียดโครงการ วางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆเจ้าหน้าที่ รพ.สต ร่างแผนกิจกรรมที่จะดำเนินการ แบ่งหน้าที่
2. กิจกรรมที่ 2 แบ่งกลุ่มเด็กในการทำกิจกรรม พร้อมจัดทำใบสมัครตามกลุ่ม แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบพร้อมทั้งจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์กิจกรรม ไวนิลตลาดนัดหน้าโรงเรียน แผ่นพับ เสียงตามสาย
3. กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม เด็กจำนวน 28 คน และผู้ปกครองจำนวน 12 คน
วันที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการนักเรียนในโรงเรียน
ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ณ โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้
-ให้ความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ
- ให้ความรู้เรื่องอาหารแปรรูป
-ให้ความรู้เรื่องวิธีการเลือกผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์
-กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดเห็นระหว่างเด็กนักเรียน ผู้ปกครองและครู
-ภาคปฏิบัติ อบรมวิธีการทำอาหาร เมนูที่ 1แซนวิส เมนูที่2 ไข่ตุ๋น เมนูที่3 ผักริมรั้วทอดกรอบ
วันที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการเลือกอาหารให้หลักโภชนาการที่ถูกต้องวันที่ 16 สิงหาคม 2567
ณ โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้
- ทำอาหารธรรมด๊า ธรรมดาให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพได้
- การทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย
- ภาคปฏิบัติอบรมวิธีการทำอาหาร เมนูที่4 ปังซิ เมนูที่ 5 เกี๊ยวห่มผ้า
สรุปจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนในกิจกรรมที่ 3
- วันเปิดตลาดนัดเป็นวันที่ 28 สิงหาคม 2567 และหลังจากนั้นจะมีการเปิดทุกสัปดาห์บางวันจะมีผู้ปกครองมาร่วมด้วย และจะมีการวางขายผักจากการปลูกของนักเรียนในโรงเรียน บูรณาการกันหากมีการจัดงาน ณ วัดช้างให้ นักเรียนและผู้ปกครองจะร่วมกันออกบูธขายอาหารเพื่อสุขภาพ
- นักเรียนแบ่งกลุ่มได้ทั้งหมด 5 กลุ่ม
- จะมีครูพี่เลี้ยงประจำกลุ่มแต่ละกลุ่มคอยดูแลนักเรียน
- อาหารที่ถูกหลักโภชนาการจากไส้กรอกเปลี่ยนเป็นไข่ เพื่อให้นักเรียนได้รับสารอาหารครบ
- เมนูข้าวยำเด็กๆไม่ค่อยชอบกิน อยากให้แปลรูปเป็นข้าวยำห่อไข่ ทำให้ดูน่ากิน
- เมนูผักทอด สามารถเอาผักที่มีตามบ้านมาแปรรูปอาหาร เด็กๆชอบใจ และได้รับความนิยมอย่างมากบางคนไม่กินผัก ก็กินได้
- ขายอาหารช่วงเช้าสลับเมนูกันไป เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ
กิจกรรมก่อนเปิดตลาดนัด
- ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมาย ภาคีเครือข่ายเข้าร่วม
- จัดเตรียมสถานที่
- จัดซื้ออุปกรณ์แต่ละกลุ่ม เพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
- จัดทำป้ายไวนิลแต่ละกลุ่ม จัดทำแผ่นพับการทำอาหาร
กิจกรรมที่ 4 เปิดตลาดนัด โครงการตลาดนัดอาหาร เด็กน้อยแก้มใสในโรงเรียน อิ่มท้องสมองไบรท์ ณ โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
|
|
ตลาดอาหารสุขภาพโรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้
วันที่ 28 สิงหาคม 2567
- กล่าวรายงานเปิดโครงการโดย นางมารีนี ใบเย็มหมะ ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
- กล่าวเปิดพิธีโดย นายปรีชา กาฬแก้ว ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา
- กล่าวต้อนรับโดย ผุ้อำนวยการโรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้
- เยี่ยมชมบูธทั้ง 5 บูธ พร้อมอุดหนุนอาหารของนักเรียน
- สัมภาษณ์นักเรียน
- สัมภาษณ์คณะทำงาน
โดยมีภาคีเครือข่ายและผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมเปิดตลาดนัดในวันดังกล่าว และมีการจัดตั้งบูธอาหารของแต่ละกลุ่ม ซึ่งกิจกรรมในวันดังกล่าวผ่านไปด้วยดี
-ความคิดเห็นของผอ.โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้กับโครงการตลาดนัดอาหารของเด็กๆในครั้งนี้ผอ.เห็นว่ากิจกรรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่ดีทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและเห็นด้วยไม่ว่าจะเป็นนักเรียนผู้ปกครองหรือชุมชนเพราะทางโรงเรียนได้มีการลง facebook ป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายติดรถรับส่งนักเรียน ในกิจกรรมครั้งนี้ทำให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมและเห็นถึงความสำคัญของอาหารของเด็กๆมากยิ่งขึ้นและกิจกรรมในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากหลังจากที่โรงเรียนไม่ได้มีกิจกรรมประเภทนี้มาสักพักหนึ่ง มีความรู้สึกภูมิใจและเหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้นอาหารบางประเภทเด็กยังไม่เคยทานเช่นแซนวิชหรือว่าผักบางประเภทพอดได้ทานแล้วเขาก็รู้สึกชอบทำให้มีความเห็นว่ากิจกรรมแบบนี้จะเป็นการสร้างความยั่งยืนในเรื่องของการรับประทานอาหารของเด็กได้เด็กบางคนก็จะเลือกรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น และจะทำให้เป็นนโยบายของทางโรงเรียนเช่นทุกวัน(ระบุวันตามความเหมาะสม)จะมีตลาดอาหารเชิญชวนมาร่วมกิจกรรมตรงนี้ได้ทั้งผู้ปกครองและบุคคลบริเวณภายในชุมชน และสามารถเป็นการทำงานร่วมกันได้กับของโหนดปัตตานีเพราะได้มีการทำแปลงผักปลูกผักภายในโรงเรียนจะได้นำมาใช้ในการปรุงอาหารในมื้อในกลางวันของทางโรงเรียนด้วยทางโรงเรียนก็อยากเปิดตลาดของโรงเรียนโดยให้ทางผู้ปกครองมามีส่วนร่วมอาจจะเป็นพืชผักสวนครัวที่ผู้ปกครองเป็นคนปลูกอยู่ที่โรงเรียนแล้วนำมาขายภายในโรงเรียนให้ทุกคนได้มีผักที่ปลอดภัยรับประทานกัน
ปกติทางโรงเรียนจะมีแม่ครัวมาทำอาหารเช้าขายภายในโรงเรียนอยู่แล้วแต่หากมีโครงการแบบนี้ก็อาจจะต้องจัดเป็นกลุ่มของเด็กในการเพิ่มเมนูอาหารเช้าเด็กจะได้มีตัวเลือกในการรับประทานอาหารเช้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมตลาดนัดอาหารของเด็กในครั้งนี้เป็นการตอบโจทย์อย่างมากเพราะจะมีเด็กบางส่วนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาจากที่บ้านแล้วพอมาถึงโรงเรียนก็ซื้อขนมข้างนอกมากินถ้าเรามีแบบนี้เด็กก็จะมีตัวเลือกมากยิ่งขึ้นบางเด็กบางคนอาจจะไม่อยากกินข้าวผัดหรือของที่ทางแม่ครัวทำเพราะบางทีก็เป็นเมนูที่เดิมๆการมีเมนูแบบนี้ทำให้เด็กมีตัวเลือกมากยิ่งขึ้นแล้วก็เขาก็รู้สึกว่ามันอร่อยมันแตกต่างจากที่เขาเคยกิน
อย่างเช่นผักทอดเด็กบางคนจะไม่รู้เลยว่าผักชนิดนี้สามารถเอามาทำเป็นอาหารได้หรือดอกไม้ก็สามารถเอามาทำเป็นอาหารได้เมื่อลองให้ทำกินกันเองเด็กก็รู้สึกว่า"มันอร่อยมันกินได้เหรอเออเดี๋ยวผมจะเอาผักที่บ้านมาลงทอดบ้าง"
บางคนก็กลับไปเอาใบบัวบกที่ตัวเองคิดว่ามันกินได้แต่กับน้ำพริกก็ลองเอามาทอดทำให้กินง่ายขึ้นซึ่งปกติเด็กก็อาจจะไม่กินบ้านของเด็กนักเรียนบางคนก็มีการปลูกผักสวนครัวอยู่แล้วอย่างเช่นฟักทองถั่วฝักยาวผักบุ้งเมื่อเด็กได้มีการเรียนรู้เรื่องอาหารภายในครัวเรือนหรือว่าผลผลิตภายในครัวเรือนที่เราปลูกแล้วนำมาสามารถกินได้เลยเด็กก็จะอยากที่จะใช้ของที่อยู่ภายในบ้านของตัวเองมาปรุงอาหารมากยิ่งขึ้นโดยที่ไม่ต้องไปซื้อในตลาด
และกิจกรรมครั้งนี้ก็ทำให้เห็นถึงความสามัคคีแล้วก็การร่วมมือร่วมใจกันของนักเรียนไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้หญิงเด็กผู้ชายตัวเล็กเด็กโตเด็กเล็กมีความร่วมมือกันหมดทุกคนช่วยกันทำให้เห็นว่ากิจกรรมบางกิจกรรมก็สามารถทำให้เห็นถึงการพัฒนาการทางอารมณ์ของเขาได้ด้วย
ในการเลือกเมนูมาทำอาหารนั้นทางรพ. สตได้มีการติดต่อไปทางอาจารย์ที่มีความชำนาญด้านอาหารโดยตรงและตั้งโจทย์ไปให้ว่าในเมนูนั้นจะต้องมีอาหารครบทั้ง 5 หมู่สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่เพื่อที่จะให้เด็กกินแล้วมีประโยชน์กับร่างกายของเขาอย่างเต็มที่และต้องเป็นวัตถุดิบที่เด็กสามารถกินได้ด้วย
สิ่งหนึ่งที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้คือการที่ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในการทำอาหารและคิดเมนูกับเด็กทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัว โดยปกติโรงเรียนหากมีการทำกิจกรรมใดๆก็จะเชิญผู้ปกครองมาร่วมทุกกิจกรรมอยู่แล้วซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองเด็กและครูได้มากยิ่งขึ้น และอาจเป็นแนวทางเสริมอาชีพให้กับผู้ปกครองและครอบครัวของเด็กได้ด้วย เด็กๆหลายคนมีความคิดที่จะทำเมนูใหม่ๆขึ้นมาโดยใช้วัตถุดิบหรืออาหารท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาให้มันน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นเช่นเมนูข้าวยำไข่ม้วน
เด็กได้เสริมทักษะในชีวิตเพิ่มมากขึ้นทั้งความคิดสร้างสรรค์ การคำนวณค่าใช้จ่ายหรือคำนวณปริมาณอาหารเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ส่งเสริมเด็กได้ดีมาก
การเลือกเมนูอาหารใช้ไอเดียเซเว่นก็คือรวดเร็วหน้าตาน่ากินและเด็กชอบกินแต่ใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบและมีประโยชน์ เช่นเด็กชอบกินขนมซองเราก็จะทำยังไงให้ผักมีลักษณะใกล้เคียงกันซึ่งพอทำมาเป็นผักทอดเด็กก็ชอบมาก
ในส่วนของคุณครูที่รับผิดชอบโครงการมีความรู้สึกดีใจและประทับใจเป็นอย่างมากที่มีโครงการแบบนี้ช่วงแรกอาจจะรู้สึกมีความกังวลว่ากิจกรรมจะไปได้ไหมจะทำได้ไหมแต่เมื่อกระจายงานไปแล้วคุณครูทุกคนในโรงเรียนให้ความร่วมมือจึงมีกำลังใจที่จะทำงานและอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้ไปเรื่อยๆเพราะเห็นผลดีที่เกิดขึ้นกับเด็กโดยตรงอยากให้เป็นโครงการที่ยั่งยืนต่อเนื่องไปตลอด
ในส่วนของการปรับปรุงในครั้งต่อไปจะเปลี่ยนตัววัตถุดิบเช่นพวกไส้กรอกหรือปูอัดเปลี่ยนเป็นใช้ปลาหรือใช้เนื้อสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้นเพราะเด็กจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจริงๆ และในส่วนของซุ้มอาหารก็อาจจะลดปริมาณลงอาจจะเหลือ 2-3 ซุ้ม เพื่อที่จะให้ผู้ขายเปลี่ยนเป็นผู้ซื้อบ้าง เด็กก็จะไม่เหนื่อยเกินไปรวมถึงคุณครูด้วยจัดกลุ่มสลับกันไปในแต่ละสัปดาห์ตามที่ทางโรงเรียนกำหนด
ในส่วนของนักเรียนที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมโครงการ
-ซูซิโร รู้สึกว่าอาหารที่ตัวเองทำมีประโยชน์หากทำแบบนี้ทุกวันก็จะดี 1 ชิ้นก็ได้ปริมาณสารอาหารที่ครบถ้วน ดีใจที่เพื่อนๆที่มาซื้อแซนวิชก็บอกว่าอร่อยแล้วก็ชอบ
-เกี๊ยวห่มผ้า ไก่ ไข่ แครอท ต้นหอม พริกไทย กระเทียม เครื่องปรุง ที่เลือกเมนูนี้เพราะรู้สึกว่ามันน่ากินและทำได้ไม่ยากกินแล้วก็อิ่มท้องและมีความอร่อยด้วย อยากทำแบบนี้ทุกครั้งเพราะสนุกด้วยแล้วก็ได้กินอาหารที่หลากหลาย
-แซนวิส ขนมปัง ไข่กุ้ง ไข่ สาหร่าย มายองเนส เป็นเมนูที่ทุกคนให้ความสนใจเพราะมีปริมาณที่เยอะและอิ่มพอดีแต่ครั้งหน้าจะเปลี่ยนจากไข่กุ้งเป็นเนื้อปลาหรือเนื้อไก่
-ผักทอด เมนูผักทอดเป็นเมนูที่ชอบเพราะผักสามารถหาได้ทั่วไปโดยที่ไม่ต้องซื้อทั้งผักริมรั้วและผักที่ปลูกเป็นผักสวนครัวรวมถึงดอกไม้ก็สามารถนำมาทอดได้แล้วก็ทดแทนพวกขนมถุงซองได้เป็นอย่างดี ผักที่เอามาทอดวันนี้คือ ตำลึง เห็ดเข็มทอง ฝักทอง ข้าวโพดอ่อน ดอกเฟื่องฟ้า ดอกอัญชัญ ผักบุ้ง มันฝรั่ง
-ไข่ตุ่น เป็นเมนูที่ทำง่ายและอร่อยสามารถกินได้ทุกวัยโดยปกติแล้วชอบที่จะทำเมนูนี้อยู่แล้วเลยเลือกที่ทำเมนูนี้ขาย
ความรู้สึกจากตัวแทนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
อยากขอบคุณที่มีโครงการแบบนี้เกิดขึ้นเพราะทำให้เพื่อนๆน้องๆในโรงเรียนได้มีอาหารที่หลากหลายแล้วก็อร่อยเพิ่มมากขึ้นอยากให้ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ
ในส่วนของผู้ปกครองรู้สึกประทับใจที่มีโครงการนี้เห็นลูกๆหลานๆได้ทำกิจกรรมและมีความสุขกับกิจกรรมที่ทำทำให้เห็นถึงศักยภาพของลูกหลานตัวเองว่าจากปกติอยู่บ้านอาจจะไม่เคยทำแต่พอมีกิจกรรมนี้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันทำให้ผู้ปกครองรู้สึกมีความสุขไปด้วยโดยปกติผู้ปกครองจะมามีส่วนร่วมในกิจกรรมของทางโรงเรียนอยู่บ่อยๆแต่ยังไม่เคยมีกิจกรรมที่เด็กๆทำอาหารมาแลกเปลี่ยนหรือขายกันแบบนี้หากมีการจัดกิจกรรมแบบนี้ต่อไปก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
|
|
ตลาดนัดโรงเรียนบ้านคลองช้าง ต.นาเกตุ |
29 ส.ค. 2567 |
29 ส.ค. 2567 |
|
ตลาดนัดโรงเรียนบ้านคลองช้างตำบลนาเกตุ
สรุปขั้นตอนเปิดตลาดนัดในโรงเรียนบ้านคลองช้าง ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
1.ประชุมหารือภายใน รพ.สต.เพื่อหาโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ ผลที่ได้คือโรงเรียนบ้านคลองช้าง เหตุผลที่เลือก
1.1 เป็นโรงเรียนทีมีเด็กในพื้นที่เรียนในโรงเรียนนี้ 98% ทำให้เด็กและผุ้ปกครองในตำบลนาเกตุได้รับประโยชน์ในเรื่องโภชนาการเต็มที่
1.2นักเรียนในโรงเรียนเป็นมุสลิม 100% เวลาเลือกซื้ออาหารจะได้ไม่ต้องเลือกร้าน
1.3ผอ.และคุณครูในโรงเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
- วันที่ 20 มิถุนายน 2567 ผอ.ประสพพร สังข์ทอง และเจ้าหน้าที่รพ.สตนาเกตุ เข้าชี้แจงโครงการตลาดนัดในโรงเรียน ให้แก่ ผอ.โรงเรียน และครูผุ้รับผิดชอบงานอาหารกลางวัน โดยอธิบายถึงรายละเอียด วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเปิดตลาดนัด หลังจากอธิบายเสร็จผอ.ขอเวลาพูดคุยกับทีมครูในโรงเรียนแล้วจะให้คำตอบวันถัดไป
3.คุณครูโทรแจ้งว่า ผอ.อนุมัติให้เปิดตลาดในโรงเรียนได้
4.วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 เจ้าหน้าที่รพ.สต ลงโรงเรียนเพื่อพูดคุยกับคุณครูอีกครั้ง โดยให้ครูเปิดรับสมัครนักเรียน 30 คน เป็นตัวแทนเปิดร้านขายอาหารเช้าในโรงเรียน คุณครูขอแบ่งกลุ่มๆละ6คน จะได้ทั้งหมด 5 ร้าน โดยแต่ละร้านจะมีครูผู้รับผิดชอบ และผู้ปกครองของนักเรียนมาช่วยปรุงอาหาร
5.วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 เจ้าหน้าที่รพ.สต.เชิญนักเรียนมาให้ความรู้เรื่อง อาหารแปรรูป วิธีการเลือกผักผลไม้และเนื้อสัตว์ ให้ความรู้อาหารสุขภาพและภาวะโภชนาการอาหารที่ถูกต้อง ให้ความรู้เรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ให้ความรู้วิธีการถ่ายวีดีโอ หลังจากให้ความรู้เสร็จ มีการระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเปิดตลาดนัด
6.วันที่ 5 สิงหาคม 67 เจ้าหน้าที่รพ.สตลงโรงเรียนอีกครั้งเพื่อกำหนดวันเปิดตลาดนัด พร้อมสอบถามนักเรียนและคุณครูว่าจะขายอาหารอะไรบ้าง และเตรียมความพร้อมของสถานที่
7.วันที่8สิงหาคม2567 เปิดตลาดโครงการตลาดนัดอาหารเด็กน้อยแก้มใสในโรงเรียน(อิ่มท้อง สมองไบร์ท)วันแรก โดยร้านที่ 1 ข้าวต้มไก่ ถ้วยละ 5 บาท
ร้านที่2 ขนมปังปิ้งแยมสตอเอร์รี่ ช็อคโกเลต เชอรรี่ และหมี่ผัดไข่ ชิ้นละ5บาท
ร้านที่3เซนวิสไข่ ชิ้นละ 10 บาท
ร้านที่4 ขนมปังโรยไมโล ชิ้นละ5บาท ขนมปังใส่กล้วย ชิ้นละ 5บาท ไข่นกกระทาทอด 3ลูก5บาท
ร้านที่5 ข้าวยำไข่ต้ม 10บาท หรือข้าวหมกไก่ต้ม 10 บาท กับน้ำผลไม้ตามฤดุกาลและน้ำไมโล ถุงละ 5บาท
8 เจ้าที่รพ.สต.ลงโรงเรียนพบปะคุณครูและนักเรียนเพื่อสอบถามปัญหาอุปสรรค จากการเปิดร้านวันแรก
ปัญหาคือ 1.ผู้ขายกินไม่ทันเนื่องจากเด็กที่ซื้อมีจำนวนมากของที่เตรียมมาหมด
2. ขณะขายอาหารผู้ซื้อต่อแถวยาวมากผู้ขายทำไม่ทันทำให้ใช้เวลาในการขายของนานเลยเวลาเคารพธงชาติ เช่นร้านขนมปังปิ้ง กับร้านเซนวิส
3.ปกติเวลาที่เปิดร้านเป็นเวลาเก็บขยะของนักเรียนทำให้วันแรกที่เปิดร้านขยะเยอะมากนักเรียนไม่ทันเก็บ
วิธีแก้ปัญหา 1.เก็บอาหารที่ผุ้ขายจะกินไว้ก่อนแล้วที่เหลือนำมาขาย
2. อาหารที่สามารถทำไว้ล่วงหน้าก่อนที่ผุ้ซื้อจะมาซื้อให้ทำตั้งไว้ก่อนครึ่งหนึ่งเพื่อลดเวลาในการขาย
3.นักเรียนที่กินอาหารเสร็จก่อนให้เริ่มเก็บขยะก่อน เพื่อความสะอาดของโรงเรียน
ข้อดี ของกิจกรรม จะเห็นได้ว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้ทานอาหารเช้ามาจากบ้านการมีตลาดอาหารเช้าทำให้เด็กกลุ่มนี้ได้รับสารอาหารในช่วงเช้าที่มีประโยชน์และ นักเรียนเกือบทุกคนอยู่ในรั่วโรงเรียน เพราะปกติก่อนมีตลาดนัดนักเรียนจะออกไปซื้ออาหารเช้าหรือขนมกรุบกรอบนอกโรงเรียน ซึ่งมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เพราะเคยมีเหตุการณ์นักเรียนโดนรถชนหน้าโรงเรียน
ข้อเสีย คุณครูและนักเรียนผู้ประกอบการต้องมาเตรียมตลาดแต่เช้าทำให้เหนื่อยในวันเปิดตลาด แต่นักเรียนมีความสุขมากกว่า
9.ทางโรงเรียนเปิดตลาดสัปดาห์ละ 2วัน วันอังคารกับวันพฤหัสบดี โดยผอ.โรงเรียนบ้านคลองช้างเห็นด้วยกับการเปิดตลาดนัดขายอาหารเช้าให้กับนักเรียนในโรงเรียน และมีความเห็นอยากจะขายต่อหลังจากหมดโครงการนี้
|
|
ผลลัพธ์ ตลาดนัดโรงเรียนบ้านคลองช้างตำบลนาเกตุ
ความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนจากกิจกรรมที่จัดขึ้น
เป็นกิจกรรมที่ดีได้รับความสนใจจากนักเรียนเป็นจำนวนมากจากเมื่อก่อนที่เด็กจะซื้ออาหารที่หน้าโรงเรียนซึ่งจะเป็นอาหารทั่วๆไปแต่พอมีอาหารเพื่อสุขภาพมาขายในโรงเรียนและเป็นการขายโดยเพื่อนนักเรียนด้วยกันเด็กจึงให้ความสนใจแล้วก็มาโรงเรียนเร็วขึ้นพอรู้ว่าวันไหนที่จะมีตลาดเด็กก็จะรีบมาโรงเรียนแต่เช้าเพื่อที่จะมากินของที่ขายในโรงเรียน
ที่สำคัญคือนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าร้อยละ 80 คือจะเตรียมเงินมาเพื่อที่จะซื้ออาหารเช้าที่โรงเรียนในเรื่องของราคาจะอยู่ระหว่าง5-10บาท ราคาไม่แพง 20 บาทสามารถกินได้ทุกร้านแต่ละร้านเริ่มต้นที่ 5 บาทเด็กก็จะได้รับประทานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นกินทำให้เด็กอิ่มท้อง
ในส่วนของผู้ปกครองเมื่อรู้ว่ามีตลาดก็มาซื้ออาหารในโรงเรียนซึ่งเขาบอกว่ามันมีความหลากหลายซึ่งร้านค้าในชุมชนไม่มีและมีรสชาตที่อร่อย หน้าตาก็น่ารับประทานมีผู้ปกครองหลายคนนำปิ่นโตมาซื้อก็มี
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชน อย่างเช่นวันไหนที่ทางโรงเรียนมีตลาดบางร้านค้าบริเวณหน้าโรงเรียนก็จะขายของไม่ได้เลยซึ่งแนวทางการแก้ไขของทางโรงเรียนก็จะเป็นโครงการต่อไปก็คือคุยและประชาสัมพันธ์กับร้านค้ารอบโรงเรียนซึ่งอาจจะดึงมาเข้าร่วมโครงการโดยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารที่มีประโยชน์มีคุณภาพหากทางร้านค้าเข้าร่วมก็จะเป็นการดีอย่างยิ่งเพราะเด็กก็จะได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตลอดไปทุกวันและทางร้านค้าก็ไม่เสียผลประโยชน์ด้วย
กิจกรรมในครั้งนี้ได้คุยกับทางคุณครูผู้รับผิดชอบว่าอย่างน้อยควรจะมีสัปดาห์ละ 1 ครั้งเพื่อที่จะให้เด็กได้มีเมนูที่หลากหลายและมีประโยชน์รับประทานต่อไปเพื่อที่จะให้ร้านค้าข้างนอกได้เห็นว่าอาหารแบบนี้ถ้าทำเด็กชอบเด็กรับประทานเขาก็จะได้เอาไปปรับปรุงกับเมนูที่เขามีขายอยู่แล้วหรือคิดเมนูขึ้นมาใหม่รวมถึงคนในชุมชนก็จะได้กินอาหารที่มีประโยชน์ด้วยจากร้านค้าในชุมชมเอง
อีกประการหนึ่งที่เด็กจะได้ก็คือให้เด็กได้ฝึกเรื่องการค้าขายเรื่องการคำนวณต้นทุนรายรับรายจ่ายปริมาณอาหารที่นำมาขายแต่ละวันเด็กได้ฝึกทักษะเพิ่มมากขึ้น
ก่อนหน้าที่จะมีโครงการนี้เกิดขึ้นโดยปกติแล้วเด็กจะไม่ค่อยได้รับประทานอาหารมาจากบ้านหรือไม่ก็เป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์เช่นของกินง่ายๆขนมซองมาม่าเนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่ไปทำงานกรีดยางตอนเช้าก็จะไม่มีเวลาหาอาหารหาข้าวให้เด็กกินตอนเช้าก็จะใช้วิธีวางเงินไว้ให้กับลูกมาหาซื้อของกินหน้าโรงเรียนแทนพอมีกิจกรรมนี้ผู้ปกครองก็ชอบมากแล้วก็ให้ความร่วมมือ และเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ดีควรทำต่อเนื่อง
เมนูที่นักเรียนชอบ 50% ก็คือข้าวต้มหลังจากนั้นก็ทยอยไปซื้ออย่างอื่น
ความคิดเห็นจากนายอัสมี เจ๊ะอ๊ะ ประธานคณะกรรมการการศึกษา
อยากให้มีการขยายผลให้ทำจริงจังในเรื่องของการส่งเสริมด้านอาชีพของเด็กที่ชอบในด้านของการค้าขายและมีความหลากหลายของอาหารและดีใจที่ได้เห็นศักยภาพของเด็กที่นอกจากจะอยู่ในห้องเรียนแล้วเขายังยังสามารถมีศักยภาพด้านอื่นนอกห้องเรียนที่นำมาใช้ได้จริงจึงอยากให้สนับสนุนเด็กในส่วนนี้อย่างจริงจัง การที่มีตลาดในโรงเรียนมีข้อดีหลายอย่างหรือเรื่องความปลอดภัยเด็กก็ไม่ต้องวิ่งข้ามถนนไปซื้อของแล้วก็เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกันของเด็กในการช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือทั้งผู้หญิงผู้ชายรวมถึงการแบ่งหน้าที่กันทำงาน
สิ่งที่อยากให้มีการพัฒนาคือเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ใส่อาหารให้มันมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นอย่างเช่นโฟมก็ต้องให้เลิกใช้ไปเลยให้มันมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นรวมถึงหัวใจของการบริการด้วยหากเด็กได้เรียนรู้ไปตรงนี้เขาจะได้รู้ว่าการที่จะเป็นพ่อค้าแม่ค้าเราต้องบริการลูกค้ายังไงพูดจายังไงยิ้มแย้มแจ่มใสจะได้ฝึกเขาไปในตัวเรื่องการตกแต่งร้านอาหารต้องน่ากินสะอาดอันนี้เราต้องให้ความรู้เขาด้วยแต่ว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็ดีมากๆแล้วรู้สึกว่าเด็กทุกคนทั้งพ่อค้าแม่ค้าและลูกค้าก็มีความสุขกับกิจกรรมตรงนี้รวมถึงคุณครูและผู้ปกครองด้วย
ในส่วนของโรงเรียนตอนนี้ก็มีการนำพื้นที่มาทำแปลงผักเล้าไก่บ่อเลี้ยงปลา ซึ่งขณะนี่ได้มีการดำเนินการปลูกผักบางชนิด เช่นผักบุ้ง ผักคะน้า มันญี่ปุ่นแล้วก็กำลังรอไก่เลี้ยงเพื่อเอาไข่มาใช้ในการประกอบอาหารในมื้อเที่ยงของโรงเรียน เป็นการให้เด็กได้เรียนรู้กันปลูกผักสวนครัวด้วยเผื่อจะได้เป็นอาชีพของเขาต่อไป ให้เขาได้รู้ถึงประโยชน์ของดิน ทำดินให้มีชีวิตทำดินให้มีประโยชน์ไม่ให้มันเป็นพื้นที่ว่างทำให้มันกินได้ทั้งในโรงเรียนแล้วก็ในบ้านของตัวเอง
ความรู้สึกของคุณครูที่ทำกิจกรรมครั้งนี้
ความรู้สึกแรกที่ได้รับโครงการนี้ตอนแรกก็ไม่ค่อยอยากจะรับเพราะอาจจะมีปัญหากับเรื่องของเวลาของเด็กนักเรียนแล้วก็ของตัวครูเองแต่เมื่อเห็นรูปแบบของโครงการแล้วจึงเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีก็เลยให้ความร่วมมือโดยโดยการประสานกับทางผู้ปกครองด้วยเพราะว่ามีบางอย่างที่เด็กทำไม่ได้ก็จะให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในการช่วยให้ความรู้กับเด็กในแต่ละขั้นตอนของการทำอาหาร กิจกรรมครั้งนี้มีประโยชน์หลายอย่างนักเรียนได้บูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ได้มีการคำนวณมีการคิดเลขการซื้อขายการทอนเงิน และเด็กๆก็มีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมในครั้งนี้
ความรู้สึกของนักเรียนที่ได้มาทำกิจกรรมในครั้งนี้
-รู้สึกดีใจชอบทำอาหารอยู่บ้านปกติก็ทำกับข้าวอยู่แล้ว
-อยากให้มีตลาดขายทุกวัน
-รู้สึกชอบที่มีกิจกรรมแบบนี้เพราะบางคนที่ไม่ได้กินอาหารมาจากบ้านก็จะได้มีอาหารที่มีประโยชน์กินที่โรงเรียนและที่มีราคาที่ไม่แพงด้วย
-ปกติก่อนที่จะมีตลาดก็จะมากินข้าวที่ข้างหน้าโรงเรียนแต่พอมีตลาดในโรงเรียนมีอาหารหลากหลายก็จะสลับกินกันกับของที่เพื่อนขายรู้สึกมีความสุขที่มีโครงการนี้
-ต่อไปจะคิดเมนูเพิ่มขึ้นเช่นข้าวผัดเพื่อให้มีอาหารที่หลากหลายมาขายให้เพื่อนๆในโรงเรียน
เมนูที่ทำขายในวันนี้
-เมนูแซนวิสไข่ดาว เป็นเมนูที่มีประโยชน์มีแผ่นขนมปังซอสไข่ผักเป็นเมนูที่กินง่ายและคนชอบกิน
-เมนูขนมปังปิ้ง/หมี่ผัด สลับกันแต่ละรอบ ปังปิ้งเป็นเมนูที่ทำง่ายมีส่วนผสมที่น้อยจะได้ใช้เวลาสั้นๆในการทำก็จะมีเป็นไส้ช็อกโกแลตไส้สตอเบอรี่และบูลเบอรี่
-เมนูข้าวยำ/ข้าวหมก จะสลับกันแต่ละรอบ เป็นเมนูที่กินง่ายมีประโยชน์และคุ้นเคยอยู่แล้ว
-เมนูข้าวต้ม เป็นเมนูที่ทำง่ายเพื่อนๆในโรงเรียนชอบกิน
-น้ำไมโล/น้ำสัปปะรด
แนวทางของทางการของการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไปก็คือจะทำทุกสัปดาห์แต่อาจจะเหลือแค่ 2 หรือ 3 ร้านและเปลี่ยนเมนูเพื่อสร้างความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของรพ.สต มีความเห็นว่าหากต่อไปมีการร่วมมือการระหว่างผู้ปกครองกับชุมชนในการทำเมนูอาหารเพื่อสุขภาพขายนักเรียนก็จะเป็นการดีเพราะมันเป็นความยั่งยืนของนักเรียนในมื้อเช้าของทุกวันเพราะถ้านักเรียนขายอาจจะได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งแต่ถ้าเป็นผู้ปกครองหรือเป็นคนในชุมชนขายเอง โดยที่อยู่ในเงื่อนไขของอาหารที่มีคุณภาพที่ถูกสุขลักษณะและถูกตามหลักโภชนาการแล้วเด็กหรือคนในชุมชนก็จะได้กินอาหารเช้าที่มีประโยชน์และหลากหลายได้ในทุกๆวัน
อีกส่วนหนึ่งมีความเห็นว่าเนื่องจากเป็นโครงการที่ดีอยากจะขยายกิจกรรมแบบนี้ไปที่โรงเรียนอื่นๆด้วยให้ทำกิจกรรมแบบเดียวกันซึ่งทำให้เด็กในพื้นที่ทั้งหมดเนี่ยมีโอกาสได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นอย่างน้อยก็เป็นการให้ความรู้กับผู้ปกครองคนในชุมชนผู้ที่ดูแลเด็กได้เห็นถึงความสำคัญของอาหารเช้าและอาหารในทุกๆมื้อของเด็กมากยิ่งขึ้น
|
|
ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการด้านระบบอาหารและโภชนาการสมวัยเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นครั้งที่ 2 วันที่ 3 กันยายน 2567 ณโรงแรม CS ปัตตานี |
3 ก.ย. 2567 |
3 ก.ย. 2567 |
|
กำหนดการ....
|
|
โครงการทั้ง14ตำบล.....
|
|
กิจกรรมถอดบทเรียนตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ |
6 ก.ย. 2567 |
6 ก.ย. 2567 |
|
ยกระดับโภชนาการเด็กด้วยกิจกรรมสร้างความรอบรู้เรื่องอาหารในมิติต่างๆ โดย ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล และ อ.ศรีลา สะเดาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
นำเสนอผลงานของแต่ละพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ
สะท้อนรูปแบบกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งข้อดีและข้อเสียรวมถึงแนวทางแก้ไข
ออกแบบไอเดียยกระดับกิจกรรมตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของแต่ละพื้นที่
|
|
1.กิจกรรมสร้างความรอบรู้ทางอาหารและโภชนาการ
ความรอบรู้ด้านสุขภาพคือความสามารถหรือลักษณะของบุคคลในการเข้าถึงเข้าใจข้อมูลสุขภาพตอบโต้สักถามจนสามารถประเมินตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลือกรับบริการเพื่อการจัดการสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสมและสามารถบอกต่อผู้อื่นได้
1.การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพคุณลักษณะที่สำคัญ 1 เลือกแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพและบริการสุขภาพรู้วิธีการค้นหาและการใช้อุปกรณ์ในการค้นหา 2 ค้นหาข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพที่ถูกต้อง 3 สามารถตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่งได้เพื่อยืนยันความเข้าใจของตนเองและได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง
2.ความรู้ความเข้าใจ 1 มีความรู้และจำในเนื้อหาสาระสำคัญด้านสุขภาพ 2 สามารถอธิบายถึงความเข้าใจในประเด็นเนื้อหาสาระด้านสุขภาพในการที่จะนำไปปฏิบัติ 3 สามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบเนื้อหาแนวทางการปฏิบัติด้านสุขภาพได้อย่างมีเหตุผล
3.ทักษะการสื่อสาร 1 สามารถสื่อสารข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพด้วยวิธีการพูดอ่านเขียนให้บุคคลอื่นเข้าใจ 2 สามารถโน้มน้าวให้บุคคลอื่นยอมรับข้อมูลด้านสุขภาพ
4.ทักษะการตัดสินใจ 1 กำหนดทางเลือกและปฏิเสธหลีกเลี่ยงหรือเลือกวิธีการปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี 2 ใช้เหตุผลหรือวิเคราะห์ผลดีผลเสียเพื่อการปฏิเสธหลีกเลี่ยงเลือกวิธีการปฏิบัติ3 สามารถแสดงทางเลือกที่เกิดผลกระทบน้อยต่อตนเองและผู้อื่น
5.ทักษะการจัดการตนเองการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 1 สามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนการปฏิบัติ2 สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดได้ 3 มีการทบทวนและปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติตนเพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
6.การรู้เท่าทันสื่อ"บอกต่อ"1 ตรวจสอบความถูกต้องความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่นำเสนอ 2 เปรียบเทียบวิธีการเลือกรับสื่อเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น 3 ประเมินข้อความสื่อเพื่อชี้แนะแนวทางให้กับชุมชนหรือสังคม
สังคมแห่งความรอบรู้ด้านสุขภาพคือสังคมที่มี 1 ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเข้าใจได้และสามารถปฏิบัติได้ 2 สถานบริการสาธารณสุขปรับข้อมูลด้านสุขภาพและการจัดบริการในสถานบริการสาธารณสุขให้เป็นลักษณะประชาชนเป็นศูนย์กลาง 3 สนับสนุนการเรียนรู้การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีการพัฒนาทักษะเพื่อก่อให้เกิดการมีสุขภาพที่ดีเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังโรคติดต่อและอุบัติเหตุ
การจัดกิจกรรมตลาดนัดโภชนาการเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กในเรื่อง
เด็กเตี้ยเด็กผอมเด็กอ้วน สามารถทำได้โดย
-หาปัญหาสุขภาพในพื้นที่
-วิเคราะห์ปัญหา
-ปัจจัยที่เป็นสาเหตุ
-วิธีการแก้ปัญหา
ประชาชนในพื้นที่กลุ่มต่างๆจะต้องเข้าถึงข้อมูลเข้าใจปัญหาสามารถวิเคราะห์ปัญหาได้วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมของแต่ละพื้นที่เพื่อลดการเจ็บป่วยลดการเข้ารักษาพยาบาลโดยไม่จำเป็นลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและคุณภาพของชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
2.การจัดกิจกรรมตลาดนัดอาหารของแต่ละชุมชนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
1.โรงเรียนวัดโคกหญ้าคาตำบลคลองใหม่
ความคิดเห็นของนักเรียนครูผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่รพ. สต มีดังนี้
-ข้อดีของการจัดตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ
นักเรียนมีสุขภาพที่ดีแข็งแรง,ทำให้มีการพบกันระหว่างผู้ปกครองและเด็กมีการทำงานร่วมกัน,ในระยะยาวเด็กไม่เจ็บป่วยง่าย,ไดรัยประทานอาหารที่มีประโยชน์สุขภาพแข็งแรง,ได้ฝึกทำอาหารเอง,ได้รับประทานอาหารที่ครบ 5 หมู่,ทำให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้าที่หลากหลาย,นักเรียนมีรายได้,ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์,มีน้ำหนักที่ผ่านเกณฑ์,ได้รู้จักอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากยิ่งขึ้น,ร่างกายเติบโตตามวัยสมส่วนมีความคิดที่ดีมีสมองที่ดี
-อุปสรรคในการจัดตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ
ต้นทุนอาหารค่อนข้างสูงอาหาร,แต่ละชนิดยังไม่ครบ 5 หมู่,มีการจัดการเรื่องการทอนตังยังไม่ดี,นักเรียนบางคนยังไม่รับประทาน,ผักเจ้าหน้าที่ในการดูแลยังไม่เพียงพอ
แนวทางแก้ไข
-เพิ่มการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง,ลดปริมาณวัตถุดิบ,เลือกใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น,อยากให้มีคูปองในการไปซื้ออาหาร,ผักต้องเป็นชิ้นเล็กๆในการปรุงอาหาร,บอกต่อผู้ปกครองในวันที่จัดกิจกรรมตลาดอาหาร,เพิ่มความใส่ใจในการรับประทานอาหารของเด็กให้มากยิ่งขึ้น,ลดอาหารที่เป็นประเภทสำเร็จรูป,เพิ่มเมนูใหม่ๆในแต่ละสัปดาห์
2.โรงเรียนบ้านล้อแตกตำบลบางโกระ
ข้อดีในการจัดตลาดนัดอาหารสุขภาพ
ฝึกการทำงานเป็นทีม,มีอาหารที่หลากหลาย,ได้ความรู้เรื่องโภชนาการเกี่ยวกับอาหาร,ได้ลงมือปฏิบัติจริง,มีความสนุก,เด็กๆได้มีกิจกรรมร่วมกันได้,รู้จักกับทางโรงเรียนอื่น,ได้ทำอาหารรับประทานเอง,อาหารที่เกิดขึ้นเกิดจากความคิดของนักเรียน,ได้ทำขนมที่มีประโยชน์,ได้รับประทานอาหารที่หลากหลาย,เด็กๆได้มีความรู้ในการทำอาหารด้วยตัวเอง,อาหารสะอาดสุขภาพดีร่างกายแข็งแรง,เด็กนักเรียนกล้าแสดงออกในการทำกิจกรรม,มีความสุขสนุกสนาน,เด็กได้รับสารอาหารที่ดีได้กินอาหารที่ปลอดภัย,มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำขนม
-อุปสรรคในการจัดตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ
ขาดวิทยากรที่ให้ความรู้เรื่องการทำขนม,มีเวลาเตรียมอุปกรณ์น้อย,เด็กขาดความรู้การคิดคำนวณต้นทุนกำไรขาดทุน,งบประมาณไม่เพียงพอ,มีเวลาขายน้อย,ขาดการประชาสัมพันธ์,พื้นที่แคบเกินไป,ขาดการประชาสัมพันธ์กับชุมชน
-แนวทางแก้ไข
เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและชุมชนทราบและเข้ามามีส่วนร่วม,เพิ่มรายการอาหารที่มีประโยชน์ให้มากขึ้นในทุกๆสัปดาห์,ทำป้ายประชาสัมพันธ์ตลาดนัดติดหน้าโรงเรียน,จัดให้มีหลักสูตรเสริม,เพิ่มกิจกรรมในการทำอาหาร,เพิ่มระยะเวลาในการขายและการเตรียมอุปกรณ์,อยากให้มีสื่อกิจกรรมเกี่ยวกับโภชนาการติดในโรงเรียน,เพิ่มระยะเวลาการจัดกิจกรรม
3.โรงเรียนบ้านควนลังงาตำบลทรายขาว
-ข้อดีในการจัดตลาดอาหารสุขภาพ
เด็กๆมีอาหารที่มีประโยชน์รับประทาน,มีความสนุกสนาน,ทำให้เด็กๆในโรงเรียนได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน,ทำให้มีความรู้เรื่องเกี่ยวกับอาหารเพิ่มขึ้น,สร้างความสามัคคีในกลุ่มนักเรียน,เด็กๆได้มีสุขภาพที่ดีขึ้น,ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย,ทำให้ร่างกายสุขภาพแข็งแรง,และนักเรียนได้รับประทานอาหารตอนเช้าที่หลากหลาย
-อุปสรรคในการจัดตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารไม่สามารถไว้นานได้,การจัดเก็บการบริหารเวลาไม่เพียงพอ,การทิ้งขยะไม่ลงถัง,เด็กๆไม่ต่อแถวขณะซื้อ,มีการคำนวณต้นทุนที่ผิดพลาดทำให้ขาดทุน,ขาดความร่วมมือกันในกลุ่ม,ผู้ซื้อบ่นต้องรอคิวนาน,เวลาจัดการขายน้อยเกินไป,อุปกรณ์ทำอาหารไม่เพียงพอ
-แนวทางการแก้ไข
ต้องเตรียมอาหารที่สดๆใหม่ๆทุกวัน,วัตถุดิบต้องเลี้ยงในโรงเรียนเช่นไก่ปลา,ใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ทุกวัน,จัดการการรอคิวมีบัตรคิว,ลดใช้วัสดุที่เป็นมลพิษเช่นโฟมกล่องพลาสติกใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติเช่นใบตอง,ควรแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจนคนซื้อคนขายคนเก็บเงิน,จัดให้ความรู้เรื่องการบริหารเงินให้เพียงพอรายรับรายจ่าย,ประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เพียงพอ,ควรเก็บอาหารไว้ในตู้เย็นอีกและแสงแดด
4.โรงเรียนบ้านสิเดะตำบลสดาวา
-ข้อดีการจัดตลาดอาหารนัดเพื่อสุขภาพ
เด็กๆมีความสามัคคีร่าเริงแจ่มใสมีความสุขกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น,ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพ,กิจกรรมที่เกิดขึ้นสามารถนำไปเป็นอาชีพได้,มีความรู้เรื่องสูตรอาหารต่างๆ,อาหารที่เลือกมาทำหาวัตถุดิบได้ง่าย,เด็กได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์,เด็กนักเรียนได้รู้จักอาหารและตระกนักถึงคุณค่าของอาหารที่มีประโยชน์,ได้เรียนรู้วิธีการกระบวนการการจัดการเมนูอาหารและการทำตลาด,อาหารตอนเช้ามีประโยชน์ทั้งต่อเด็กและผู้ใหญ่ผู้ปกครองบางท่านก็มาซื้ออาหารรับประทาน,รู้จักการทำรายรับรายจ่าย,ได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
-อุปสรรคในการทำตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ
มีเวลาจำกัดในการเปิดตลาดทำให้ทำอาหารไม่ทัน,วัตถุดิบบางอย่างต้องหาจากนอกพื้นที่,ยังไม่รู้วิธีการจัดการไฟของกระทะทำให้อาหารไหม้,เด็กๆยังใช้วัตถุดิบแปรรูปทางอาหารมาใช้ในการปรุงอาหาร,อาหารหมดเร็วและบางอย่างสุกช้า,อุปกรณ์ในการทำอาหารไม่เพียงพอ,บางร้านอาหารไม่ครบ 5 หมู่,ต้นทุนสูงขายถูกทำให้ขาดทุน
แนวทางแก้ไข
อยากให้เพิ่มเวลาขยายเวลาในการเปิดตลาด,สร้างความรู้ความเข้าใจเสริมองค์ความรู้ในเรื่องเมนูอาหารเพื่อสุขภาพของเด็กๆให้มากขึ้น,อยากให้ชุมชนจัดทำหรือปลูกผักในพื้นที่เพื่อเป็นการหมุนเวียนใช้ในชุมชนและโรงเรียน,หาวัตถุดิบของใช้ที่ได้จากท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น,ต้องเตรียมอาหารไว้ก่อนล่วงหน้าเช่นสลัดโรล,เพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้นปริมาณอาหารเหมาะกับราคา,ปรับราคาให้สูงขึ้นเพื่อไม่ให้ขาดทุน,ซื้ออุปกรณ์เพิ่มขึ้น,หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป,ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับอาหารสุขภาพให้กับนักเรียนมากขึ้น
5.โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ตำบลทุ่งพลา
-ข้อดีในการจัดตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ
เด็กๆชอบมีความสนุกสนานมีสีสัน,มีอาหารที่มีประโยชน์และมีโภชนาการที่ดีรับประทาน,เด็กๆได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่รสหวานมันเค็ม,ได้ความรู้และได้อิ่มท้อง,ได้รับอาหารที่ปลอดภัยครบ 5 หมู่,เด็กๆมีความสุขกับการทำอาหารและมีความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน,ทำให้เด็กมีสมาธิและมีสมองที่ดีขึ้นในระยะยาว,เด็กๆสนุกกับกิจกรรมและมีความรู้ในการประกอบอาชีพ,สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองนักเรียนและโรงเรียน,เด็กๆได้รับประทานอาหารเช้าทุกวันเด็กๆ,ได้มีความรู้เรื่องการทำอาหารที่ปลอดภัย,มีความสามารถความสามัคคีในหมู่คณะ,เด็กบางคนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาก็มีอาหารเช้ารับประทาน,เพิ่มทักษะชีวิตให้กับเด็กๆ,เด็กบางคนสามารถกินผักได้เพิ่มมากขึ้น,มีทักษะในการทำอาหารเพิ่มมากขึ้น,มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ได้รับมอบหมาย,อาหารที่เลือกมาทำให้ไม่อ้วนและไม่ผอมจนเกินไปในระยะยาวและมีสุขภาพที่แข็งแรง
-อุปสรรคในการจัดตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ
เมนูอาหารบางอย่างเป็นอุปสรรคในการนำมาประกอบที่โรงเรียน,ระยะเวลาในการทำอาหารรอนานทำเนื่องจากอุปกรณ์มีเพียงชุดเดียว,อาหารไม่เพียงพอกับการขาย,วัตถุดิบในการทำต้องให้ผู้ปกครองไปซื้อจึงต้องใช้เวลามาก,เครียดและกังวลกับอาหารที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าจนทำให้เหนื่อยและรู้สึกว่ายากลำบาก
-แนวทางแก้ไข
ทำเมนูง่ายๆพร้อมนำเสนอขาย,ให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในการจำหน่าย,ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการคิดเมนู,จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำในแต่ละวันเป็นหลายชุด,ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไปควรเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น,จัดเตรียมอาหารให้เพียงพอต่อความต่อจำนวนประชากรที่เข้าร่วมกิจกรรม,วางแผนการทำแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบจะได้ไม่เหนื่อยจนเกินไป
6.โรงเรียนบ้านคลองช้าง
ข้อดีของการจัดกิจกรรมตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ
เด็กๆได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์,เด็กๆได้รับประทานอาหารเช้าที่เพียงพอเพิ่มพลังสมอง,เด็กๆสนุกกับการเปิดตลาด,ทำให้รู้จักการวางแผนการใช้เงินรู้คุณค่าของเงิน,ฝึกทักษะด้านต่างๆให้กับนักเรียน,เด็กๆมีความคิดสร้างสรรค์,มีรายได้เสริมสามารถนำประกอบอาชีพได้ในอนาคต,เด็กๆรู้จักการนำผักผลไม้และสิ่งต่างๆมาใช้ในการประกอบอาหาร,เด็กๆรู้จักการบริหารเวลา
-อุปสรรคของการจัดตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพ
ยังมีการใช้อาหารแปรรูปมาทำอาหาร,ยังมีการใช้กล่องโฟมสำหรับใส่อาหาร,มีการรอคิวที่ซื้ออาหารนาน,ยังมีการใช้ถุงพลาสติก,เด็กๆบางคนยังติดอาหารหวาน,ในการเปิดตลาดอาหารวันแรกมีขยะเยอะเพราะยังไม่สามารถจัดการได้
-แนวทางแก้ไข
ให้เด็กๆพากระปุกใส่อาหารมา,รณรงค์ให้ลดใช้อาหารแปรรูป,เน้นการทำอาหารจากวัตถุดิบพื้นบ้าน,อาหารที่สามารถทำไว้ล่วงหน้าได้ต้องทำตั้งไว้ก่อนเพื่อลดเวลาในการเข้าแถวของเด็กๆ,แนะนำให้เด็กๆพาแก้วน้ำหรือกระบอกน้ำมาเอง,การจัดการขยะเด็กที่กินเสร็จแล้วให้เก็บขยะก่อนเพื่อความสะอาดของโรงเรียน,พยายามให้เด็กบางคนที่ติดหวานลดหวานน้อยลงและให้เด็กเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น,จัดเตรียมถุงดำถังขยะให้พร้อมต่อการทิ้งขยะของผู้รับบริการ
3.ออกแบบไอเดียยกระดับกิจกรรมตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของแต่ละพื้นที่
1.โรงเรียนวัดโคกหญ้าคาตำบลคลองใหม่
เพิ่มการประชาสัมพันธ์ในชุมชนผ่านนักเรียนผู้ปกครองและผู้นำในหมู่บ้าน,มีการเล่นเกมต่างๆในวันที่จัดกิจกรรม,พยายามให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน,ต่อยอดการเลี้ยงนกกระทาเพื่อเพิ่มผลผลิตนำมาบริโภคในโรงเรียนและขายให้กับชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง,ปรับปรุงรสชาติให้อร่อย,ช่วยกันส่งเสริมผลผลิตในตำบล,เพิ่มเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลาย,เพิ่มร้านค้าที่มีอาหารหลากหลายและมีประโยชน์,ต้องมีการปลูกผักและส่งเสริมให้ทางโรงเรียนเลี้ยงนกกระทาเพิ่มเพื่อต่อยอดและปลูกผักในโรงเรียนปลูกผักเพื่อลดต้นทุน,จัดให้มีการสาธิตการทำอาหารที่มีประโยชน์,จัดกิจกรรมสะสมแต้มซื้อครบแถม 1 ,เปลี่ยนเมนูอาหารทุกอาทิตย์,เปิดตลาดนัดอาหารเป็นเดือนละครั้งและประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
2.โรงเรียนบ้านล้อแตกตำบลบางโกระ
ในวันจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมและมีเกมต่างๆให้เด็กๆอนุบาล,เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น,เพิ่มสินค้า OTOP ที่ทำมาจากสิ่งของในชุมชนออกบูธตามงานต่างๆ,เพิ่มเวลาในการขายจาก 2 อาทิตย์ครั้งเป็นอาทิตย์ละครั้ง,จัดให้ความรู้เรื่องอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์,จัดกิจกรรมสร้างความรู้เกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นโบราณโดยให้คนในชุมชนมาสอน,เพิ่มการขายเป็นออนไลน์,ขยายให้เป็นตลาดนัดสุขภาพของตำบล
3.โรงเรียนบ้านควนลังงาตำบลทรายขาว
จัดให้มีการออกไปขายในตลาดนัดชุมชนทุกวันศุกร์,ประกวดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ,เชิญยูทูปเบอร์ชื่อดังมาชิมอาหารและประชาสัมพันธ์สู่โซเชียล,จัดระบบการซื้ออาหารเพิ่มบัตรคิว,จัดประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของโรงเรียนและหมู่บ้านโปรโมทร้านค้าของตัวเองในวิธีต่างๆ,ให้ผู้ปกครองช่วยเสนอแนะเมนูเพิ่มขึ้น,หากมีกิจกรรมในโรงเรียนให้เสริมตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพเข้าไปด้วย,ให้ผู้ปกครองมาส่งวัตถุดิบพืชผักสวนครัวที่มีในบ้านมาใช้ในการประกอบอาหาร,ประกวดอาหารดีมีประโยชน์,ในวันจัดกิจกรรมให้มีการไลฟ์เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีๆมีประโยชน์
4.โรงเรียนบ้านสิเดะตำบลสดาวา
จัดตลาดนัดให้ใหญ่กว่าเดิม,ขยายให้มีอาหารที่หลากหลาย,ในวันจัดกิจกรรมให้มีเกมและสันทนาการเพิ่มมากขึ้น,ให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในการทำอาหารขายด้วยกัน,จัดประกวดร้านเพื่อสุขภาพอาหารอร่อย,จัดตลาดนัดในชุมชนให้เด็กและผู้ปกครองได้นำอาหารเพื่อสุขภาพไปขาย,เพิ่มอาหารที่แปลกใหม่,จัดทำคูปองซื้ออาหารแล้วชิงโชคในวันจัดเก็บกิจกรรมใหญ่ๆในชุมชนจัดให้มีการนำตลาดนัดของอาหารไปร่วมด้วย,ในโรงเรียนเปิดให้คนนอกมาขายด้วยแต่ต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์
5.โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ตำบลทุ่งพลา
ขยายเวลาในการจัดกิจกรรมให้มากขึ้น,จัดมหกรรมตลาดนัดเพื่อสุขภาพ,ให้ชุมชนนำสินค้าจากการเกษตรเช่นผักผลไม้ในชุมชนมาขายให้ผู้ปกครองนำพืชผักที่บ้านและไข่มาขายในโรงเรียน,เปิดตลาดนัดวันเว้นวันโดยให้ผู้ปกครองมาทำอาหารขายภายในโรงเรียน,จัดเป็นตลาดนัดของตำบลให้ทุกโรงเรียนมาขายอาหารรวมกัน,จัดให้มีการออกแบบกิจกรรมในตลาดนัดอาหาร,ปรับปรุงอาหารให้มีประโยชน์และสีสันสวยงาม,พัฒนาอุปกรณ์ในการใส่อาหารให้ถูกสุขลักษณะมากยิ่งขึ้น,หากภาคีเครือข่ายมาร่วมในการสนับสนุนของกิจกรรมโครงการอย่างต่อเนื่อง,เพิ่มเมนูเกี่ยวกับไข่ให้มากขึ้น,จัดนิทรรศการประกวดอาหารเมนูอาหารท้องถิ่นถูกหลักโภชนาการ,สร้างกลุ่มไลน์ถามตอบเมนูอาหารสุขภาพสำหรับเด็ก,ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม,จัดหลักสูตรอาหารให้มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น,จัดอบรมให้มีการนำของที่เหลือใช้จากการทำอาหารพวกเศษอาหารไปทำเป็นปุ๋ยแล้วใส่ต้นไม้,ในวันจัดกิจกรรมสร้างความบันเทิงที่หลากหลายให้กับนักเรียน
6.โรงเรียนบ้านคลองช้างตำบลนาเกตุ
ขายผลผลิตอื่นๆที่ปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ภายในโรงเรียนเช่นขายผักไข่เพื่อเป็นต้นทุน,จัดโครงการขายขยะเพื่อเพิ่มกิจกรรมและรายได้ให้กับนักเรียน,ผู้ปกครองหรือผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการเข้ามาร่วมขายอาหารในโรงเรียนอยู่ภายใต้เงื่อนไขของอาหารที่ถูกสุขลักษณะและมีโภชนาการที่ดี,เพิ่มการประชาสัมพันธ์กลุ่มลูกค้าในชุมชนให้ได้รับความรู้ของกิจกรรมนี้ให้มากยิ่งขึ้น,ประชาสัมพันธ์กับร้านค้ารอบโรงเรียนเพื่อดึงเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการตั้งกติกาการขายเช่นไม่ขายอาหารแปรรูป,นำวัตถุดิบที่ได้มาจากชุมชนมาแปรรูปเป็นอาหารหรือน้ำเช่นอัญชันแปรรูปข้าวยำที่ทำจากดอกอัญชันและน้ำอัญชันมะนาว
ทุกพื้นที่ให้การตอบรับกับกิจกรรมเป็นอย่างดีและอยากให้กิจกรรมนี้มีต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยการขยายสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารที่ถูกสุขลักษณะและมีประโยชน์
|
|
เวที Policy Forum สื่อสารข้อเสนอเชิงนโยบายด้สนระบบอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการ) |
18 ก.ย. 2567 |
18 ก.ย. 2567 |
|
กำหนดการ วันพุธที่ 18 กันยายน 2567 เวลา 08.30-16.00 น
สถานที่การจัดงาน ณ โรงแรมปาร์คอินทาวน์ ปัตตานี อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี
งบประมาณและทรัพยากรในการจัดงาน
1. ระยะก่อนการจัดงาน สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การสนับสนุนจาก แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สสส. ให้ดำเนินโครงการ“ขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)” ซึ่งสนับสนุนกระบวนการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายจากการขับเคลื่อนงานของโครงการฯ และโครงการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ จากสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ ซึ่งสนับสนุนกลไกวิชาการ และกลไกการสื่อสาร
2. ระหว่างงาน วันพุธที่ 18 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดงาน จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. และภาคีสนับสนุนอื่น ๆ
3. หลังงาน การจัดทำ Road map และแผนการขับเคลื่อน สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส.สนับสนุนกระบวนการ และเครือข่ายวิชาการสนับสนุนการทำกระบวนการจัดทำ Raod map และแผนการขับเคลื่อน และงบประมาณ สำหรับพื้นที่นำร่องในการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติ ในปี 2568 สนับสนุนโดย อบจ.ปัตตานี หน่วยงาน อปท.และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กำหนดการจัดเวที Policy Forum
เพื่อสื่อสารข้อเสนอเชิงนโยบายด้านระบบอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยและโภชนาการ)ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)”
ภายใต้ชื่องาน “ พลังความร่วมมือร่วมใจ ทุกนโยบายห่วงใยระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ
Food system in all policy”
วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2567 ณ โรงแรมปาร์คอินทาวน์ ปัตตานี อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี
08:30 – 08:50 น. ลงทะเบียน
08:50 – 09:00 น. ชมวิดิโอ รูปธรรมการขับเคลื่อนระบบอาหารที่ยั่งยืนสามจังหวัดชายแดนใต้
09:00 - 09:10 น. การแสดงต้อนรับจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
09:10 - 09:20 น. กล่าวต้อนรับ โดย นายชูชีพ ธรรมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
09:20 - 09:30 น. กล่าวรายงาน โดย นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
09:30 - 09:40 น. กล่าวเปิดงาน โดย นายแพทย์พงค์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์
ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
09:40 - 09:50 น. กล่าวแสดงความยินดี โดย นางประภาศรี บุญวิเศษ กรรมการกองทุน สสส.
***ถ่ายภาพร่วมกันบนเวที
09:50 - 10:20 น. ปาฐกถา เรื่อง “บทบาทของ สสส. ในการสนับสนุนระบบอาหารที่ยั่งยืนในพื้นที่สาม
จังหวัดชายแดนใต้”
โดย นายแพทย์พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
10:20 - 10:35 น. การพัฒนาระบบและกลไก สนับสนุนการบูรณาการระบบอาหาร
โดย ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สสส.)
10:35 - 11:35 น. เสวนาเรื่อง “แนวทางการบูรณาการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เพื่อสร้างความ มั่นคงทางอาหารและโภชนาการ อย่างยั่งยืนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ”
นายแพทย์อนุรักษ์ สารภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี
ภก.สมชาย ละอองพันธุ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา
คุณมาริสา เกียรติศักดิ์โสภน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข อบจ.ปัตตานี
คุณกัลยา เอี่ยวสกุล ผู้แทนสมัชชาสุขภาพจังหวัดปัตตานี
คุณอภิชญา โออินทร์ ผู้แทนจาก UNDP ประเทศไทย
ดำเนินรายการโดย ดร.สง่า ดามาพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.
11:35 – 12:00 น. แถลงข่าว โดย นายแพทย์พงค์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการ สสส.
นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายก อบจ.ปัตตานี
ผศ.ภก.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ม.อ.
นางกนกรัตน์ เกื้อกิจ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต.
12:00 – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 น. เสวนาเรื่อง “ปัญหาโภชนาการในเด็ก 0-5 ปีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภัยเงียบ ต่อความมั่นคงของมนุษย์ ปัญหาและความท้าทาย”
• ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
• นายแพทย์พงค์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
• ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ประธานกรรมการกำกับทิศทางแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สสส.
• นางกนกรัตน์ เกื้อกิจ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต.
• นางพรรณทิพา รัตนะ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้
• นายแพทย์วีรพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา
• นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
• ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วข.ปัตตานี
ดำเนินรายการโดย คุณณาตยา แวววีรคุปต์ Thai PBS
15:00 – 15:30 น. ประกาศเจตนารมณ์
สรุปผลการจัดเวที Policy Forum และพิธีปิดการประชุม
|
|
มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 900 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากส่วนราชการ หน่วยงานกำหนดนโยบายในระดับจังหวัด เช่นเกษตรจังหวัด ปศุสัตว์ ศึกษาธิการ ประมง พัฒนาชุมชน จากสามจังหวัด ตัวแทนหน่วยงานวิชาการเช่น ศูนย์อนามัยที่ 12 สภาพัฒน์ภาคใต้ ศอบต.-ภาควิชาการ จาก ม.สงลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่ และปัตตานี ม.นราธิวาสราชนครินทร์ วสส.ยะลา -ผู้แทนจากองค์กรปกครองท้องถิ่น จาก อบจ. ผู้แทน อปท.ในปัตตานีทุกแห่ง ครู ศพด.-ผู้แทนโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม-ภาคประชาสังคม ในจังหวัดปัตตานี และยะลา อสม. โดยเมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ 18 ก.ย. 2567 ที่โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ อ.เมือง จ.ปัตตานี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา และภาคีเครือข่าย จัดเวที Policy Forum พลังความร่วมมือร่วมใจ ทุกนโยบายห่วงใยระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ “Food system in all policy” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า การขับเคลื่อนงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ เป็น 1 ใน 7 ประเด็นการทำงานตามทิศทางและเป้าหมายระยะ 10 ปี ของ สสส. มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างสมดุล ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อ (NCDs) โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและนำไปสู่การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ จากสถานการณ์ด้านโภชนาการพื้นที่ชายแดนใต้ ปี 2565 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและยูนิเซฟ พบว่า พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) มีปัญหาทุพโภชนาการติด 1 ใน 5 อันดับสูงสุดของประเทศ พบเด็กอายุ 1-5 ปี มีภาวะเตี้ยแคระแกร็นหรือมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุ 20% สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศอยู่ที่ 13% ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดสารอาหารต่อเนื่อง กระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในระยะยาว รวมถึงส่งผลต่อความไม่มั่นคงของมนุษย์ และเศรษฐกิจประเทศ
“สสส. เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น ได้เร่งสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่าย นำร่องพัฒนาตำบลต้นแบบบูรณาการระบบอาหารในพื้นที่ จ.ปัตตานี จนเกิดการยกระดับการทำงานเชิงระบบและเกิดข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ 3 เรื่อง 1.สร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน 2.สร้างระบบอาหารปลอดภัย จ.ปัตตานี 3.แก้ปัญหาโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก วัยเรียน และกลุ่มเปราะบาง จ.ปัตตานี การจัดงานครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การสร้างความร่วมมือจัดทำ Road map การขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ ระยะ 3 ปี เพื่อขับเคลื่อนและขยายผลข้อเสนอเชิงนโยบายในพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป” ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว
นายชูชีพ ธรรมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล ผลิตอาหารได้เองเพียง 10% ของความต้องการโดยเฉลี่ย ประกอบกับผลกระทบจากราคาสินค้าผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ส่งผลต่อรายได้และความยากไร้ของประชากร ซึ่งมีสัดส่วนคนจนสูงสุดติด 1 ใน 10 อันดับของประเทศ ส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ การกำหนดนโยบายด้านระบบอาหาร ถือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างศักยภาพประชาชนให้เท่าทันกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี เสริมความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจให้กับคนในพื้นที่ ทั้งนี้ นโยบายด้านระบบอาหารจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทำงานจังหวัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ ขยายผลในทางปฏิบัติต่อไป
นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า จ.ปัตตานี ใช้กลไกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 38 แห่ง ร่วมกับ Thailand Policy Lab สภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน ให้สามารถจัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ปัญหา สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกิดแนวร่วมในชุมชนให้เห็นพิษภัยของอาหารที่ใช้สารเคมี ทั้งอาหารแปรรูป ชาไทย ที่มีสีสังเคราะห์ปนเปื้อนในอาหาร และอาหารทะเล ที่มีสารฟอร์มาลีน โลหะหนัก สารหนู สารตะกั่วปนเปื้อนในอาหาร โดยส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัย และเสริมสร้างความรอบรู้ให้ผู้บริโภคฉลาดเลือก เนื่องจากผู้ปกครองยังมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของอาหารต่อการพัฒนาสมอง และบางส่วนคิดว่าภาวะเตี้ยในเด็กเป็นเรื่องปกติ และการสร้างนิสัยการกินที่ดีเป็นหน้าที่หลักของครู การส่งเสริมให้เด็กทุกคนได้รับสารอาหารที่เพียงพอเหมาะสมตามวัย และร่วมกันแก้ปัญหาของคนในชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่ออนาคตของเด็กและเยาวชน จ.ปัตตานี ที่จะเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ สามารถพัฒนาบ้านเมือง และเป็นแกนนำสร้างสังคมสุขภาวะยั่งยืน
นางกนกรัตน์ เกื้อกิจ ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ปัญหาภาวะทางโภชนาการของเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่าปัจจุบันมีจำนวนกว่า 40,000 คน ที่ประสบปัญหาตั้งแต่ในครรภ์มารดาเมื่อคลอดออกมามีน้ำหนักไม่ถึงตามเกณฑ์ที่กำหนด ขาดสารอาหาร เตี้ย แคระ แกร็น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสติปัญญา ทั้งนี้ด้วยสาเหตุหลักคืออาจจะมาจากความไม่พร้อมของครอบครัว ไม่มีอาชีพไม่มีรายได้ มาจุนเจือเลี้ยงดู ปล่อยปละละเลย จนทำให้เด็กขาดการดูแลเอาใจใส่ ส่งผลต่อการเรียนการศึกษา รวมถึงการมีงานทำและเศรษฐกิจในอนาคต ดังนั้นทุกหน่วยงานจะต้องร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่อย่างเร่งด่วน โดยศอ.บต.จะเป็นศูนย์กลางในการผลักดันชี้นำแนวทาง หนุนเสริมเติมเต็มเดินหน้าไปพร้อมๆ กัน ลดอัตราของจำนวนเด็กที่ประสบปัญหาให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่เปรียบเสมือนลูกหลานของเราเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมีสติปัญญาที่ดีและในภายภาคหน้าสามารถเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญในการร่วมกันคลี่คลายปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ม.อ. กล่าวว่า การเข้าถึงอาหารปลอดภัย รวมทั้งความรอบรู้และพฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีปัญหาค่อนข้างสูงกว่าพื้นที่อื่น สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ. จึงเร่งบูรณาการทำงานเครือข่ายนักวิชาการทั้งในและนอกพื้นที่ ช่วยเป็นพี่เลี้ยงหนุนเสริมการทำงานส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ สร้างระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยเพิ่มขีดความสามารถของกลไกหน่วยงานในพื้นที่ ให้เกิดแผนปฏิบัติการจัดการระบบอาหารอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ใช้องค์ความรู้ทางวิชาการขยายผลเชิงนโยบาย และเกิดการเรียนรู้ของเครือข่ายที่ทำงานในพื้นที่ อาทิ เครือข่ายตลาดนัดอาหารเช้าโรงเรียน 6 แห่งใน จ.ปัตตานี ให้นักเรียนเป็นผู้ประกอบการ ผลิตอาหารปลอดภัย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน ส่งเสริมโครงการปลูกผักยกแคร่ สร้างโรงเรือนปลูกผักในที่สูงป้องกันวัชพืช ทำให้กลไกชุมชนจังหวัดปัตตานี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่ต้นแบบที่เข้มแข็ง ช่วยสร้างแนวทางการกำหนดนโยบายที่แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
|
|
ตลาดนัดอาหารโรงเรียนบ้านสิเดะตำบลสะดาวา |
20 ก.ย. 2567 |
20 ก.ย. 2567 |
|
ขั้นตอนการดำเนินงานตลาดนัดอาหารโรงเรียนสิเดะ ต.สะดาวา
ตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพโรงเรียนบ้านสิเดะ
รายละเอียดการดำเนิน กิจกรรมโครงการตลาดนัดอาหาร เด็กน้อยแก้มใสในโรงเรียน อิ่มท้องสมองไบรท์ โรงเรียนสมบ้านสิเดะอำเภอโคกโพธ์ จังหวัดปัตตานี
กลุ่มเป้าหมาย
เด็กนักเรียนชั้น ป.5-ป.6 จำนวน 30 คน ครูผู้ดูแลจำนวน 2 คน
กิจกรรมที่ 1
1.ประชุมเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เพื่อคัดเลือกโรงเรียนในการเข้าร่วมโครงการ (โรงเรียนที่คัดเลือก คือ โรงเรียนบ้านสิเดะ)
2.แจ้งประสานไปยังโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เราเลือก
3.ประชุมครูที่รับผิดชอบเรื่องรายละเอียดโครงการ วางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆเจ้าหน้าที่ รพ.สต ร่างแผนกิจกรรมที่จะดำเนินการ และแบ่งหน้าที่
กิจกรรมที่ 2
แบ่งกลุ่มเด็กในการทำกิจกรรม พร้อมจัดทำใบสมัครตามกลุ่ม แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบพร้อมทั้งจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์กิจกรรม ไวนิลตลาดนัดหน้าโรงเรียน แผ่นพับ เสียงตามสาย
กิจกรรมที่ 3
จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม เด็กจำนวน 30 คน และผู้ปกครองจำนวน 10 คน
ให้ความรู้เรื่องการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการนักเรียนในโรงเรียน
-ให้ความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ
- ให้ความรู้เรื่องอาหารแปรรูป
-ให้ความรู้เรื่องวิธีการเลือกผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์
-กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดเห็นระหว่างเด็กนักเรียน ผู้ปกครองและครู
- อบรมการทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย
สรุปจากกิจกรรม
- วันทดลองเปิดตลาดนัดเป็นวันที่ 30 สิงหาคม 2567 มีผู้ปกครองมาร่วมด้วย ร้านที่เปิดทั้งหมด 10 ร้าน ทั้ง 10 ร้านจะมีครูพี่เลี้ยงประจำกลุ่มแต่ละกลุ่มคอยดูแลนักเรียน จะมีและมีร้านของผู้ปกครอง 1 ร้าน เป็นร้านขายผัก ทั้ง10 ร้านจะเน้นอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่ถูกหลักโภชนาการจากไส้กรอกเปลี่ยนเป็นไข่ เพื่อให้นักเรียนได้รับสารอาหารครบ
กิจกรรมก่อนเปิดตลาดนัดอย่างเป็นทางการ
- ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมาย ภาคีเครือข่ายเข้าร่วม
- จัดเตรียมสถานที่
- จัดซื้ออุปกรณ์แต่ละกลุ่ม เพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
- จัดทำป้ายไวนิลแต่ละกลุ่ม จัดทำแผ่นพับการทำอาหาร
กิจกรรมที่ 4 เปิดตลาดนัด โครงการตลาดนัดอาหาร เด็กน้อยแก้มใสในโรงเรียน อิ่มท้องสมองไบรท์ ณ โรงเรียนบ้านสิเดะพ่ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี อย่างเป็นทางการ เปิดตลาดโดยนายอำเภอยะรัง และมีภาคีเครือข่ายในตำบล ผู้ปกครองเข้ามาร่วมในกิจกรรมครั้งนี้
|
|
ตลาดนัดอาหารโรงเรียนบ้านสิเดะ ต.สะดาวา
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ตลาดนัดอาหาร เด็กน้อยแก้มใสในโรงเรียน อิ่มท้องสมองไบรท์ โรงเรียนสมบ้านสิเดะ
วันที่ 30 สิงหาคม 2567 วันทดลองตลาดนัด
วันที่ 20 กันยายน 2567 วันเปิดตลาดนัดอย่างเป็นทางการ และจะมีครั้งต่อๆไป
- กล่าวต้อนรับโดย นายนิมะนาเซ สามะอาลี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสิเดะ
- กล่าวรายงานเปิดโครงการโดย นางสุดนิสา เจ๊ะอบง ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะดาวา
- กล่าวเปิดพิธีโดย นายดนุช นาคสง่า นายอำเภอยะรัง
- กล่าวแสดงความยินดี ดยนางสาววรรณา สุวรรณชาตรี เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- เยี่ยมร้านทั้ง 12 ร้าน พร้อมอุดหนุนอาหารของนักเรียน
- สัมภาษณ์นักเรียน - สัมภาษณ์คณะทำงาน โดยมีภาคีเครือข่ายและผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมเปิดตลาดนัดในวันดังกล่าว และมีการจัดตั้งบูธอาหารของแต่ละกลุ่ม ซึ่งกิจกรรมในวันดังกล่าวผ่านไปด้วยดี
-ความคิดเห็นของผอ.โรงเรียนบ้านสิเดะ ให้กับโครงการตลาดนัดอาหารของเด็กๆในครั้งนี้ผอ.เห็นว่ากิจกรรมครั้งนี้เป็นเป็นกิจกรรมที่สร้างความรู้นอกห้องเรียนให้กับเด็กนักเรียน ทำให้เด็กรู้จักการเลือกซื้ออาหารที่มีประโชน์ และเป็นกิจกรรมที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและเห็นด้วยไม่ว่าจะเป็นนักเรียนผู้ปกครองหรือชุมชนเพราะทางรพ.สต.ได้มีการลง youtube ป้ายประชาสัมพันธ์ ในกิจกรรมครั้งนี้ทำให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมและเห็นถึงความสำคัญของอาหารของเด็กๆมากยิ่งขึ้นและกิจกรรมในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากหลังจากที่โรงเรียนไม่ได้มีกิจกรรมประเภทนี้มาสักพักหนึ่ง มีความรู้สึกภูมิใจและเหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์มากยิ่งขึ้นอาหารบางประเภทเด็กยังไม่เคยทานเช่นแซนวิชที่มีผักด้วย ทานแล้วเขาก็รู้สึกชอบทำให้มีความเห็นว่ากิจกรรมแบบนี้จะเป็นการสร้างความยั่งยืนในเรื่องของการรับประทานอาหารของเด็กได้เด็กบางคนก็จะเลือกรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น และจะทำให้เป็นนโยบายของทางโรงเรียนเช่นทุกวัน(ระบุวันตามความเหมาะสม)จะมีตลาดอาหารเชิญชวนมาร่วมกิจกรรมตรงนี้ได้ทั้งผู้ปกครองและบุคคลบริเวณภายในชุมชน ปกติโดยส่วนใหญ่เด็กจะไม่ค่อยรับประทานอาหารเช้าก่อนมาโรงเรียน หากมีโครงการแบบนี้ก็อาจจะต้องจัดเป็นกลุ่มของเด็กในการเพิ่มเมนูอาหารเช้าเด็กจะได้มีตัวเลือกในการรับประทานอาหารเช้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
กิจกรรมตลาดนัดอาหารของเด็กในครั้งนี้เป็นการตอบโจทย์อย่างมากเพราะจะมีเด็กบางส่วนที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาจากที่บ้านแล้วพอมาถึงโรงเรียนก็ซื้อขนมข้างนอกมากินถ้าเรามีแบบนี้เด็กก็จะมีตัวเลือกมากยิ่งขึ้นบางเด็กบางคนอาจจะไม่อยากกินข้าวผัดหรือของบ้านที่เป็นเมนูเดิมๆการมีเมนูแบบนี้ทำให้เด็กมีตัวเลือกมากยิ่งขึ้นแล้วก็เขาก็รู้สึกว่ามันอร่อยมันแตกต่างจากที่เขาเคยกิน และกิจกรรมครั้งนี้ก็ทำให้เห็นถึงความสามัคคีแล้วก็การร่วมมือร่วมใจกันของนักเรียนไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้หญิงเด็กผู้ชายตัวเล็กเด็กโตเด็กเล็กมีความร่วมมือกันหมดทุกคนช่วยกันทำให้เห็นว่ากิจกรรมบางกิจกรรมก็สามารถทำให้เห็นถึงการพัฒนาการทางอารมณ์ของเขาได้ด้วย
ในการเลือกเมนูมาทำอาหารนั้นทางรพ. สต.ได้มีการติดต่อไปทางอาจารย์ที่มีความชำนาญด้านอาหารโดยตรงและตั้งโจทย์ไปให้ว่าในเมนูนั้นจะต้องมีอาหารครบทั้ง 5 หมู่สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่เพื่อที่จะให้เด็กกินแล้วมีประโยชน์กับร่างกายของเขาอย่างเต็มที่และต้องเป็นวัตถุดิบที่เด็กสามารถกินได้ด้วย และวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้บรรจุอาหาร ต้องเป็นวัสดุมาจากธรรมชาติไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สิ่งหนึ่งที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้คือการที่ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในการทำอาหารและคิดเมนูกับเด็กทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัว โดยปกติโรงเรียนหากมีการทำกิจกรรมใดๆก็จะเชิญผู้ปกครองมาร่วมทุกกิจกรรมอยู่แล้วซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองเด็กและครูได้มากยิ่งขึ้น และอาจเป็นแนวทางเสริมอาชีพให้กับผู้ปกครองและครอบครัวของเด็กได้ด้วย เด็กๆหลายคนมีความคิดที่จะทำเมนูใหม่ๆขึ้นมาโดยใช้วัตถุดิบหรืออาหารท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาให้มันน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นเช่นเมนูข้าวยำไข่ม้วน
เด็กได้เสริมทักษะในชีวิตเพิ่มมากขึ้นทั้งความคิดสร้างสรรค์ การคำนวณค่าใช้จ่ายหรือคำนวณปริมาณอาหารเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ส่งเสริมเด็กได้ดีมาก
ในส่วนของการปรับปรุงในครั้งต่อไปจะเปลี่ยนตัววัตถุดิบเช่นพวกปูอัดเปลี่ยนเป็นใช้เนื้อสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้นเพราะเด็กจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจริงๆ และในส่วนของซุ้มอาหารก็อาจจะลดปริมาณลงอาจจะเหลือ 5-6 ร้านเพื่อที่จะให้ผู้ขายเปลี่ยนเป็นผู้ซื้อบ้าง เด็กก็จะไม่เหนื่อยเกินไปรวมถึงคุณครูด้วยจัดกลุ่มสลับกันไปในแต่ละสัปดาห์ตามที่ทางโรงเรียนกำหนด
ในส่วนของนักเรียนที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมโครงการ
รู้สึกว่าอาหารที่ตัวเองทำมีประโยชน์ปริมาณสารอาหารที่ครบถ้วน ดีใจที่เพื่อนๆที่มาซื้อแซนวิชก็บอกว่าอร่อยแล้วก็ชอบ
อาหารที่เปิดขายโดยนักเรียน 10 ร้าน
1.ผัดซีอิ๊ว ไก่ ไข่ กุ้ง แครอท ต้นหอม พริกไทย กระเทียม เครื่องปรุง ที่เลือกเมนูนี้เพราะรู้สึกว่ามันน่ากินและทำได้ไม่ยากกินแล้วก็อิ่มท้องและมีความอร่อยด้วย อยากทำแบบนี้ทุกครั้งเพราะสนุกด้วยแล้วก็ได้กินอาหารที่หลากหลาย
2. วาลเฟิล เป็นเมนูทานเล่นสำหรับเด็กๆ ร้านนี้เด็กต่อคิวยาวมาก
3. สลัดโรล ปกติเป็นเมนูที่เด็กไม่ชอบกิน เพราะมีแต่ผัก แต่เมื่อมีขายที่โรงเรียนเด็กมีอาการอยากจะลองกิน กินแล้วทำให้เด็กติดใจมาก
4.ข้าวผัดไข่ เป็นเมนูที่เด็กๆชอบกินได้ทุกวัน
5. เบอร์เกอร์ไข่ขยี้ ขนมปัง ไข่ มายองเนส ผัก เป็นเมนูที่ทุกคนให้ความสนใจเพราะมีปริมาณที่เยอะและอิ่มพอดี
6. มันทอด กินกับผักเป็นเมนู เมื่อมีขายที่โรงเรียนเด็กมีอาการอยากจะลองกิน กินแล้วทำให้เด็กติดใจมาก
7.ข้าวยำ เป็นเมนูที่ทำง่ายและอร่อยสามารถกินได้ทุกวัยมีสารอาหารครบ 5 หมู่
8. สลัดผัก ไข่ ไก่และผักต่างๆ เป็นเมนูที่เด็กๆไม่ค่อยชอบ แต่เมื่อมีขายเด็กๆดูแล้วน่ากินมาก เมื่อได้ลองแล้ว ทำให้เด็กรู้สึกชอบในการที่จะกินผักมากขึ้น
9.ข้าวต้มทรงเครื่อง เป็นเมนูอาหารอ่อนๆเด็กๆทุกคนชอบกันมากๆ
10.น้ำสมุนไพร น้ำอัญชัญมะนาว น้ำสัปปะรด น้ำโยเกิตแมงลัก เป็นน้ำเพื่อสุขภาพที่ดีต่อผู้เข้าร่วมงานทุกคน
ความรู้สึกจากตัวแทนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
อยากขอบคุณที่มีโครงการแบบนี้เกิดขึ้นเพราะทำให้เพื่อนๆน้องๆในโรงเรียนได้มีอาหารที่หลากหลายแล้วก็อร่อยเพิ่มมากขึ้นอยากให้ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ อยากให้เปิดตลาดทุกวัน
ในส่วนของผู้ปกครองรู้สึกประทับใจที่มีโครงการนี้เห็นลูกๆหลานๆได้ทำกิจกรรมและมีความสุขกับกิจกรรมที่ทำให้เห็นถึงศักยภาพของลูกหลานตัวเองว่าจากปกติอยู่บ้านอาจจะไม่เคยทำแต่พอมีกิจกรรมนี้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันทำให้ผู้ปกครองรู้สึกมีความสุขไปด้วยโดยปกติผู้ปกครองจะมามีส่วนร่วมในกิจกรรมของทางโรงเรียนอยู่บ่อยๆแต่ยังไม่เคยมีกิจกรรมที่เด็กๆทำอาหารมาแลกเปลี่ยนหรือขายกันแบบนี้หากมีการจัดกิจกรรมแบบนี้ต่อไปก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
|
|
การบูรณาการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายร่วมกับจังหวัดปัตตานี |
9 ต.ค. 2567 |
9 ต.ค. 2567 |
|
หาแนวทางความร่วมมือในการบูรณาการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบาย จากเวที Policy forum ที่ผ่านมา และการขับเคลื่อนระบบอาหารจังหวัดปัตตานี โดยกลไกคณะกรรมการอาหารระดับจังหวัด ตามคำสั่งคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ที่ 1/2567
|
|
แนวทางการดำเนินงานร่วมกันดังนี้
1.แนวทางการขับเคลื่อนข้อเสนอนโยบายของโครงการ ฯ จากเวที Policy forum ได้มีการกำหนดพื้นที่ต้นแบบบูรณาการระดับอำเภอในเบื้องต้น จำนวน 6 อำเภอ คืออำเภอมายอ ยะหริ่ง ปานาเระ โคกโพธิ์ ทุ่งยางแดง ยะรัง (และอาจมีกำหนดพื้นที่เพิ่มเติมภายหลังได้อีก) โดยหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดได้คัดเลือกจากพื้นที่ ๆ ที่ปัญหาโภชนาการรุนแรง มีต้นทุน กลไกการทำงานที่ส่วนราชการที่ลงไปขับเคลื่อนในพื้นที่อยู่แล้ว โดยรูปแบบการดำเนินงานร่วมกันตามห่วงโซ่ระบบอาหาร ทั้งประเด็นความมั่นคงทางอาหาร การขยายผลรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนในพืชเชิงเดี่ยว ประเด็นอาหารปลอดภัย การพัฒนารูปแบบกลไกการเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย และการจัดการภาวะโภชนาการในพื้นที่โดยใช้กลไกกองทุนตำบล กลไก รพ.สต.ถ่ายโอน กลไกนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัด และการพัฒนาแผนงาน โครงการเข้าสู่แผนจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน
2.ผลการหารือเรื่องกลไกคณะกรรมการอาหารระดับจังหวัด ตามคำสั่งคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ที่ 1/2567 เรื่องแต่งตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการจัดการอาหารประเทศไทยระดับจังหวัด ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ท่านรอง ผวจ.ปัตตานี ประธานที่ประชุม มอบหมายให้เลขานุการร่วม 3 หน่วยงาน ตามคำสั่ง อาหารระดับจังหวัด ไปสรรหาผู้แทนจากท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และเสนอรายชื่อเพื่อจัดทำคำสั่งอย่างเร่งด่วน และให้กำหนดประชุมคณะกรรมการ ฯ นัดแรกภายในเดือนพฤศจิกายน 2567 โดย ให้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)” สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับผิดชอบ จัดทำข้อมูล จะร่างแผนการขับเคลื่อนระบบอาหารที่ยั่งยืนของจังหวัดปัตตานี และแผนปฏิบัติการ ๆ ในดำเนินงานร่วมกัน ในการประชุมนัดแรกของคณะกรรมการ ฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2567
|
|
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อรบ้านสวน |
19 ต.ค. 2567 |
19 ต.ค. 2567 |
|
นัดประชุมสมาชิกในกลุ่มเพื่อสร้างความเข้าใจ ข้อตกลง รวบรวมผลผลิตที่จะนำมาเข้ากลุ่ม
วัตถุประสงค์ในการตั้งกลุ่ม ร้านกินดีอยู่ดีที่โคกโพธิ์
-ส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชมปลูกผักปลอดภัยกินเองและเหลือเผื่อขาย
-สร้างจุดรวบรวมผลผลิตของสมาชิกในกลุ่ม
|
|
วันที่19ตุลาคม2567ประชุมแลกเปลี่ยนและข้อตกลงในการเปิดร้าน ณ อรบ้านสวน อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
สมาชิกเข้าร่วม 60คน
ข้อตกลงในการสร้างร้านค้า ภายในตลาดเงาไม้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
1.ชื่อ ร้านกินดีอยู่ดีที่โคกโพธิ์
2.จัดทำเสื้อทีมงาน
3.ต่อเติมร้านจากที่มีอยู่เดิมให้ได้มาตราฐาน
4.สินค้าที่จะขายเบื้องต้นมีดังนี้ ผักสลัด,ผักคะน้า,เห็ดนางฟ้า,กล้วยเล็บมือนาง,กล้วยหอมทอง,สลัดโรล,สลัดผัก,ต้นอ่อนทานตะวัน,มะนาว,มะเขือ,ถั่วพู,ไข่เค็ม,หมี่กรอบ
5.มาตราการการจัดการระบบการขาย -ผู้ผลิตส่งผลิตผลให้ร้าน
6.ผูุ้ดูแลจัดการร้าน,การบริหารร้านและเปอร์เซ็นในการขาย
7.การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ในการแพ็คสินค้า
8.วันเวลาในการเปิดร้าน-ทุกวันอังคารและศุกร์ เวลา6.00-13.00น.
วันที่30ตุลาคม2567ศึกษาดูงาน ณ ตลาดเกษตร มอ.หาดใหญ่
วันที่1พฤศจิกายน2567 เปิดร้านครั้งแรก ณ ตลาดเงาไม้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
ผลตอบรับจากผู้ที่มาซื้อ- มีตัวเลือกในการซื้อเพิ่มขึ้นและเป็นสินค้า(ผัก)ที่ปลอดสารสบายใจในการรับทาน
|
|
ประชุมสร้างความร่วมมือบูรณาการขับเคลื่อนแลกยกระดับต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส |
22 ต.ค. 2567 |
22 ต.ค. 2567 |
|
ประชุมสร้างความร่วมมือบูรณาการขับเคลื่อนแลกยกระดับต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
-ผลการถอดบทเรียนต้นแบบเกษตรกร
-แนวทางการขับเคลื่อนขยายผลในระดับชุมชน
-เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากต้นแบบเกษตรกร
วิทยากร โดย ดร.ไชยยะ คงมณี รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดยมีหัวข้อดังนี้
1.รูปแบบระบบการผลิตแบ่งเป็นระบบเกษตรกรรมหลากหลาย,แบบระบบพืชร่วมยาง,แบบระบบเกษตรผสมผสาน
2.รูปแบบเกษตรกรต้นแบบความรู้ความเชี่ยวชาญและผลสำเร็จแบ่งเป็น นวัตกรรมทางการเกษตร,ฟาร์มผลสำเร็จเชิงประจักษ์,smart farm
1.แนะนำเกษตรกรต้นแบบ
1.คุณจิราภรณ์ อินทรสกุล ประสบการณ์ทำเกษตรกร 5 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 3 ปีลักษณะระบบเกษตรผสมผสานปลูกผักยกแคร่เลี้ยงปลาเลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ดปลูกไม้เกษตรกิจกล้วยและมะพร้าวน้ำหอม
2.คุณนิภา สุขแก้วมณี ประสบการณ์ทำเกษตร 30 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 10 ปี ลักษณะระบบพืชร่วมยางและระบบเกษตรผสมผสานระบบพืชร่วมยางไม้เศรษฐกิจร่วมยางไม้ตัดใบร่วมยางระบบเกษตรผสมผสานไม้ตัดใบทำนาเลี้ยงปลาผักตะไคร้และมะพร้าว
3.คุณเนตรนภา มณีศรี ประสบการณ์ทำเกษตร 10 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 5 ปี ลักษณะระบบเกษตรผสมผสานผักยกแรกกล้วยเลี้ยงวัวเลี้ยงปลาขายดินปลูกทำนา
4.คุณสวัสดิ์ สังข์สุมล ประสบการณ์ทำเกษตร 65 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 65 ปี ลักษณะระบบพืชร่วมยางและระบบเกษตรผสมผสานระบบพืชร่วมยางยางพาราผักกูดระบบเกษตรผสมผสานทุเรียนเลี้ยงสัตว์ปลาเลี้ยงนกทำนา
5.คุณกัญญาภัค นวลศิลป์ ประสบการณ์ทำเกษตร 4 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 4 ปี ลักษณะระบบเกษตรผสมผสานปลูกแบบยกแค่ผักกินใบพืชกินผลขายดินปลูกกล้าพันธุ์ผักไก่ดำเลี้ยงปลา
6.คุณเจริญ เวชวัฒนาเศรษฐ ประสบการณ์ทำเกษตร 30 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 9 ปี ลักษณะระบบพืชร่วมยางยางพาราไม้เศรษฐกิจไม้ป่า
7.คุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก ประสบการณ์ทำเกษตร 20 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 20 ปี ลักษณะระบบเกษตรผสมผสานยางพาราเลี้ยงปลากบทุเรียนมังคุดไม้เศรษฐกิจเนื้อไก่ไก่ไข่
8.คุณสุขสรรค์ วุฒิพิทักษ์ศักดิ์ ประสบการณ์ทำเกษตร 10 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 10 ปี ลักษณะระบบเกษตรผสมผสานแบบแยกแปลงมังคุดร่วมลองกองสะตอและเงาะทุเรียนสวนยาง
9.คุณมานพ จีคีรี ประสบการณ์ทำเกษตร 20 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 5 ปี ระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนปาล์มน้ำมันและวัวส่วนปาล์มน้ำมันร่วมกับโกโก้และชันโรงสวนปาล์มน้ำมัน
10.คุณอับดุลรอแม เจ๊ะยิ ประสบการณ์ทำเกษตร 50 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 20 ปี ลักษณะระบบเกษตรผสมผสานสวนยางพาราร่วมเกษตรผสมผสานเกษตรผสมผสานมะนาวมะพร้าวส้มโอลำใย
|
|
ประชุมสร้างความร่วมมือบูรณาการขับเคลื่อนแลกยกระดับต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส
ระดมความคิดจากผู้เข้าร่วมอบรมจังหวัดปัตตานี
กิจกรรมที่ 1 การขยายผลรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนของกรณีศึกษา
ท่านจะสนับสนุนหรือนำไปสู่การปฏิบัติในหน่วยงานหรือชุมชนอย่างไรในจังหวัดปัตตานี
-สนับสนุนให้อปท.ในพื้นที่อบรมให้ความรู้เกษตรกร,สร้างเกษตรกรในชุมชนให้เข้มแข็งและเป็นต้นแบบ
-โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพเสริมในสวนยางโดยศึกษาเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์
-เงินกู้ยืมเพื่อทำอาชีพเสริมรายละ 50,000 บาทดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปีระยะเวลา 2 ปี
-ส่งเสริมการสร้างช่องทางการจำหน่ายในรูปแบบการตลาดนำการผลิต
-สนับสนุนสินค้าการเกษตรสู่ครัวโรงเรียน
-ส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักเรียน
-ส่งเสริมองค์ความรู้ในสถานศึกษานำปราชญ์ชาวบ้านมาสนับสนุนการศึกษา
-กษ.มีการส่งเสริมมาโดยตลอดตามภารกิจสิ่งที่ขาดคือ 1 ทุน 2 การบริหารจัดการทุกมิติตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำ
-แปลงสาธิตโรงเรียนสถานศึกษาพอเพียง
กิจกรรมที่2หากจะต้องนำองค์ความรู้ของกรณีศึกษาไปสู่การทำคู่มือการจัดการเชิงระบบทำเกษตรกรรมยั่งยืน
ท่านคิดว่าควรมีเนื้อหาในประเด็นใดบ้าง
-องค์ความรู้ในการลดต้นทุนของการผลิตและการเพิ่มผลผลิต
-องค์ความรู้ในการผลิตแบบอินทรีย์สู่ตลาดคนรักสุขภาพ
-ภาพความสำเร็จของเกษตรกรต้นแบบวิธีการทำการเกษตรให้สำเร็จ
-การขนส่งในการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตร
-ผลผลิตทางการเกษตรที่ได้มาตรฐานรับรอง
-การนำมาใช้ของเกษตรกรทั้ง 3 ระบบให้อยู่ในงบพื้นฐานของอัตลักษณ์ของท้องถิ่นหรือชุมชนเกษตรกรรม 60% อุตสาหกรรมเกษตร 40%
-แนวคิดและหลักการของเกษตรกรรมยั่งยืน
-กรอบแนวคิดการจัดการเชิงระบบในการเกษตรการวิเคราะห์ระบบการเกษตรด้านการผลิตการตลาดและการจัดการทรัพยากรการบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมสมัยใหม่
-กรณีศึกษาเกษตรกรรมยั่งยืน
-การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในระบบการเกษตร
-เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเกษตรยั่งยืน
-การจัดการแปลงการวางแผนผังแนวทางการจัดการด้านการตลาด
-จัดทำคู่มือการทำเกษตรกรรมภายในโรงเรียนเนื้อหาผลผลิตที่ได้จากเกษตรกรในพื้นที่ที่นำมาเป็นอาหารกลางวันที่ทำเป็นอาหารกลางวัน
-ให้มีกิจกรรมฝึกผลิตในส่วนที่จะรับประทานปลูกผักกินเองที่เหลือแบ่งจำหน่าย
-จัดทำข้อมูลการปลูกพืชผสมผสานจากพื้นที่ขนาดเล็กจนถึงพื้นที่ขนาดใหญ่ภายในโรงเรียน
-ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติปลูกพืชที่มีในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมรายได้
กิจกรรมที่3การนำรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนไปสู่การขยายผลกับเครือข่ายเกษตรกรนำร่องจำนวน 200 ราย
ระบุกลุ่มที่ควรขยายผลในแต่ละอำเภอของท่าน
-คัดเลือกคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนเช่นกลุ่มที่สามารถขับเคลื่อนได้ทันทีต่อจากเดิมที่เคยทำอยู่
-เลือกจากจุดเด่นแต่ละพื้นที่
ระดมความคิดจากผู้เข้าร่วมอบรมจังหวัดยะลา
กิจกรรมที่ 1 การขยายผลรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนของกรณีศึกษา
ท่านจะสนับสนุนหรือนำไปสู่การปฏิบัติในหน่วยงานหรือชุมชนอย่างไรในจังหวัดยะลา
-สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรกรโดยผลักดันให้เป็นสินค้ามูลค่าสูง
-สร้างเครือข่ายโดยใช้วิธีการสร้างแกนนำเกษตรกรเพื่อการขยายฐานสมาชิก
-สนับสนุนการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าสูงโดยการรับรองมาตรฐานสินค้าการส่งเสริมการแปรรูปการพัฒนาบรรจุภัณฑ์การสร้างแบรนด์การพัฒนาคุณภาพสินค้า
-สนับสนุนการสร้างเครือข่ายของตลาดตามนโยบายกระทรวงเกษตรการตลาดนำนวัตกรรมเสริมเพิ่มรายได้
-โครงการของเกษตรที่สามารถเข้าไปช่วย support ได้คือการให้เกษตรกรเผยแพร่ผลงานของตัวเองผ่านโครงการต่างๆแต่หากต้องศึกษาดูงานงบประมาณอาจจะไม่เพียงพอ
-ส่งเสริมการขยายผลต้นแบบเช่นจัดทำวีดีโอตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้จะศึกษาดูงานแต่สามารถเลือกสถานที่ได้ข้ามจังหวัดได้
-จัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืนแก่ครูบุคลากรทางการศึกษาเพื่อนำความรู้ส่งต่อให้กับผู้เรียน
-บูรณาการหลักสูตรในสถานศึกษาจัดทำจัดกิจกรรมเปิดฟาร์มเพื่อให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม
-ส่งเสริมให้โรงเรียนมีโครงการเกษตรกรยั่งยืน
สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเกษตรกรต้นแบบชุมชนและโรงเรียน
-สนับสนุนให้เกษตรกรขยายสร้างเครือข่ายพัฒนาให้ความรู้ภายในชุมชนและตัวเกษตรกรเองจากหน่วยงานต่างๆ
-การผลิตอาหารสัตว์ในการลดต้นทุนด้านปศุสัตว์และการประมงสนับสนุนปัจจัยต่อยอดธุรกิจลดต้นทุนของเกษตรกร
-ปลูกจิตสำนึกให้กับเกษตรกรรุ่นใหม่ในการใช้ชีวิตเกษตรกิจพอเพียงอยู่อย่างมีความสุขไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใครไม่มีหนี้สินใช้ชีวิตอย่างมีความสุขทั้งในชุมชนและตัวเราเอง
-การใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆในการแก้ปัญหาด้านการประมงและปศุสัตว์ในบริบทการเลี้ยงและดำเนินการในด้านต่างๆ
กิจกรรมที่ 2 หากจะต้องนำองค์ความรู้ของกรณีศึกษาไปสู่การทำคู่มือการจัดการเชิงระบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืน
ท่านคิดว่าควรมีเนื้อหาในประเด็นใดบ้าง
-แนวทางนโยบายภาครัฐในการผลักดันสินค้าเกษตรมูลค่าสูง
-การติดตามประเมินผลเพื่อใช้ในการสนับสนุนเครือข่ายที่เข้มแข็ง
-แบบแปลนการจัดสวนของเกษตรกรต้นแบบแนวคิดความสำเร็จ
-ส่งเสริมให้องค์ความรู้กับนักเรียนให้มีใจรักการเกษตรโดยผ่านกิจกรรมเสริมหลักสูตรการนำหลักปรัชญามาใช้ในชีวิตประจำวัน
-ส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนตามความชอบและลงมือทำ
สร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาด้านอาชีพ
-หลักการเกษตรกรรมยั่งยืน,การวางแผนผลผลิต,การจัดการทรัพยากร,การจัดการผลผลิต,การตลาดการจำหน่ายผลผลิต,การติดต่อการประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง,แหล่งข้อมูลในพื้นที่
กิจกรรมที่ 3 การนำรูปแบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืนไปสู่การขยายผลกับเครือข่ายเกษตรกรนำร่องจำนวน 200 ราย
ระบุกลุ่มที่ควรขยายผลในแต่ละอำเภอ
-ขยายผลทั้งกลุ่มเกษตรกรใหม่และเก่าเพื่อขับเคลื่อนในทุกมิติ
-ขยายผลสู่เกษตรกรที่มีความพร้อมด้านผลผลิตเพื่อนำเข้าสู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูง
-คัดเลือกเกษตรกรอบรมถ่ายทอดความรู้แนะนำตลาดสร้างตลาดสร้างความยั่งยืน
-สร้างพื้นที่เกษตรให้กับโรงเรียนที่ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตร
-นำต้นแบบขยายผลต่อยุวกาชาดเพื่อนำผลที่ได้ไปสู่โรงเรียน
-กลุ่มผู้ปลูกดอกไม้รามัญกลุ่มผู้ปลูกผักตำบลลำใหม่ขยายผลโดยให้ไปดูงานเกษตรต้นแบบอำเภอโคกโพธิ์
ระดมความคิดจากผู้เข้าร่วมอบรมจังหวัดนราธิวาส
กิจกรรมที่ 1การขยายผลรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนของกรณีศึกษา
ท่านจะสนับสนุนหรือนำไปสู่การปฏิบัติในหน่วยงานหรือชุมชนอย่างไรในจังหวัดนราธิวาส
-สร้างเครือข่ายองค์ความรู้การผลิตและการตลาด
-เสริมกิจกรรมในแปลงเพิ่มเพื่อเพิ่มรายได้
-ส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม
-บูรณาการงบและกิจกรรมในหน่วยงานเพื่อส่งเสริมด้านเนื้อหา
-สร้างการมีส่วนร่วมการบูรณาการกับภาครัฐเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
-สนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
-ส่งเสริมต่อยอดบรรจุภัณฑ์สินค้าของเกษตรกรต้นแบบ
-เพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าของเกษตรกร
-ส่งเสริมความรู้ในด้านการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อนำไปต่อยอดและเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
-เข้าร่วมการขึ้นทะเบียนการรับรองมาตรฐานต่างๆด้านการแปรรูป
-ส่งเสริมองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการภายในแปลงของกลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ
-ทำเกษตรมูลค่าสูงแปรรูปสินค้า
กิจกรรมที่ 2 หากจะต้องนำองค์ความรู้ของกรณีศึกษาไปสู่การทำคู่มือการจัดการเชิงระบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืน
ท่านคิดว่าควรมีเนื้อหาในประเด็นใดบ้าง
-เทคนิคเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิต
-องค์ความรู้โรคแมลงศัตรูพืชและการป้องกันการรักษา
-องค์ความรู้การเจริญเติบโตของพืชน้ำปุ๋ยแสงดินที่เหมาะสม
-ต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ
-การคิดต้นทุนการผลิตต่อไร่เพื่อให้เห็นผลกำไร
-สภาพปัญหาของแปลงแนวทางการแก้ไขปัญหาวิธีการบริหารจัดการแปลงจนประสบความสำเร็จ
-การลดต้นทุนในการผลิต
-ข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่
กิจกรรมที่ 3 การนำรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนไปสู่การขยายผลกับเครือข่ายเกษตรกรนำร่องจำนวน 200 ราย
ระบุกลุ่มที่ควรขยายผลในแต่ละพื้นที่
-ขยายผลด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้ศึกษาดูงานให้กับเกษตรกรที่สนใจ
-จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน
-เชิญวิทยากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้
-ประชาสัมพันธ์บูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ
-ขยายผลสู่กลุ่มแม่บ้าน"บ้านเกษตรสมบูรณ์"ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
-กลุ่ม TPMAP ที่มีในพื้นที่
-กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันในทุกอำเภอหรือผู้ที่ปลูกปาล์ม
-กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการกับสำนักงานเกษตรจังหวัด
-ขยายผลต่อสำหรับผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มความรู้การเป็นผู้ประกอบการการขยายธุรกิจการอบรมเพื่อเป็นวิทยากร
|
|
สวนคุณกัญญาภัค นวลศิลป์ |
25 พ.ย. 2567 |
25 พ.ย. 2567 |
|
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนคุณกัญญาภัค นวลศิลป์
|
|
สวนคุณกัญญาภัค นวลศิลป์
คุณกัญญาภัค นวลศิลป์ “การทำเกษตรแบบประณีต โมเดลผักยกแคร่สู่การจัดการตลาดเชิงพาณิชย์ และสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่เครือข่าย”
โดยดร.ไชยยะ คงมณี รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประสบการณ์ทำเกษตร 4 ปีประสบการณ์ทำเกษตรผสมผสาน 4 ปี ลักษณะระบบเกษตรผสมผสานปลูกแบบยกแคร่ ผักกินใบพืช กินผล ขายดินปลูกกล้าพันธุ์ผัก เลี้ยงไก่ดำ และเลี้ยงปลา
เกษตรกร ที่ทำการเกษตรผสมผสาน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอ ส่งเสริมการทำการเกษตร ในโครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ กิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก ใน 12 อำเภอ จังหวัดปัตตานี จากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวสู่การทำเกษตรผสมผสาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2564 โดยใช้พื้นที่บริเวณรอบบ้านปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายและเสริมรายได้
ประชุมสวนพี่อร
กระบวนการ: เยี่ยมชมแปลงคุณกัญญาภัค
อ.ไชยยะ คงมณี สะท้อนข้อมูลจากแปลงคุณกัญญาภัค
• พื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่ปัตตานีโดยเฉลี่ย 5-10ไร่ ต่อคน รายได้ต่อปีจะไม่เกิน 50,000บาท
• การทำสวนยางเพียงอย่างเดียวไม่พอต่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน
• การเปลี่ยนแปลงพื้นที่สวนยางของคุณกัญญาภัค เพื่อทำเกษตรผสมผสาน ทำให้มีรายได้ต่อปี 300,000 บาท ต่อไร่
• ความน่าสนใจ ต้องมีเทคนิคที่ประหยัดแรง ทำงานอย่างมีความสุข และมีรายได้จากสวนที่หลากหลาย
• สวนคุณกัญญาภัค เป็นการปลูกผักกินใบ,ผักกินผล
• คุณกัญญาภัคสามารถสร้างเครือข่ายในการขายในการผลิต (ดินปุ๋ย,กล้าพันธุ์)
• มีตลาดที่แน่นอนและมีการเชื่อมโยงกับตลาดผู้บริโภค ความแน่นอนของยอดซื้อ
• สามารถกำหนดราคาเองได้ และผลิตสินค้าที่คนอื่นไม่มี
• การดึงคนในชุมชนมามีส่วนร่วม (เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่) และผลิตตามความต้องการของตลาด
• จุดเด่น - ผักยกแคร่ แคร่ที่ดัดแปลงใช้กับวัสดุที่เรามีเพื่อลดต้นทุน (นวัตกรรมให้สอดคล้องกับของและพื้นที่ที่เรามี)
• เกษตรกรจะต้องมีทักษะในการเรียนรู้ เรียนรู้เทคโนโลยีในการประกอบการ ทาเกษตรต้องทาแบบธุรกิจการเกษตร(ทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ)
• การมีเครือข่าย ภาคประชาชน ภาครัฐ ที่พอดี ไม่มากไม่น้อยไป
หลักการสำคัญของเกษตรผสมผสาน
หมุนเวียนพืช: ปลูกพืชชนิดต่างๆ สลับกันไปมา เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน และลดปัญหาโรคแมลง
ใช้ปุ๋ยหมัก: ใช้ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์และเศษพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และลดการใช้ปุ๋ยเคมี
ควบคุมศัตรูพืช: ใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืช เช่น ใช้แมลงตัวหวน กินเพลี้ย
อนุรักษ์น้ำ: ใช้ระบบชลประทานที่ประหยัดน้ำ เช่น ระบบน้ำหยด
ใช้พลังงานทดแทน: ใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
ประโยชน์ของเกษตรผสมผสาน
1. เพิ่มผลผลิต: ได้ผลผลิตทั้งพืช ผลไม้ และสัตว์
2. ลดต้นทุนการผลิต: ลดการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และลดการซื้อปัจจัยการผลิตภายนอก
3. สร้างความมั่นคงทางอาหาร: มีอาหารบริโภคตลอดทั้งปี
4. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: ช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ป้องกันการกัดเซาะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
5. สร้างรายได้/สร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน: เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย
โมเดลผักยกแคร่
เป็นแนวทางการทำเกษตรที่ได้รับความสนใจและได้รับการเผยแพร่ในวงกว้าง เนื่องจากเป็นวิธีการปลูกพืชที่ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ และสามารถจัดการได้ง่าย เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยและผู้ที่สนใจทำเกษตรเป็นอาชีพเสริม
จุดเด่นของโมเดลผักยกแคร่
การจัดการง่าย: สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ในการปลูกพืชได้ดี เช่น น้ำ ปุ๋ย และแสงแดด
ลดต้นทุน: ลดการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และลดการสูญเสียผลผลิตจากโรคและแมลง
ผลผลิตมีคุณภาพ: ผักที่ปลูกได้มีคุณค่าทางอาหารสูง ปลอดภัย และเป็นที่ต้องการของตลาด
เพิ่มรายได้: สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาสูง และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูป
พัฒนาชุมชน: สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายผู้ผลิต
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. การเตรียมแปลงปลูก: ก่อสร้างแปลงปลูกแบบยกสูง เพื่อระบายน้ำได้ดี และป้องกันโรคแมลง
1.1 เลือกวัสดุ: เลือกวัสดุที่แข็งแรงทนทาน เช่น ไม้ ไม้ไผ่ หรือเหล็ก มาทำเป็นโครงสร้างของ
แคร่
1.2 เตรียมดิน: ผสมดินกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน
1.3 ระบายน้ำ: ทำการระบายน้ำให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขัง
2. การเตรียมดิน: ปรับปรุงดินให้มีสภาพดี โดยการใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และวัสดุอินทรีย์อื่นๆ
3. การเลือกพันธุ์พืช: เลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ และมีความต้องการของตลาด
4. การปลูก: ปลูกพืชโดยใช้ระยะห่างที่เหมาะสม เพื่อให้พืชได้รับแสงแดดและอากาศถ่ายเทสะดวก
5. การดูแลรักษา: ดูแลรักษาพืชอย่างสม่ำเสมอ โดยการให้น้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย และกำจัดวัชพืช
6. การเก็บเกี่ยว: เก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อถึงอายุที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
7. การแปรรูปและการตลาด: นำผลผลิตไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผักดอง ผักสดบรรจุถุง หรือแปรรูปเป็นอาหารพร้อมรับประทาน เพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายช่องทางการตลาด
ปุ๋ยผักยกแคร่: การเลือกปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับผักยกแคร่นั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชโดยตรง โดยทั่วไปแล้ว ผักยกแคร่ต้องการปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบถ้วน ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพื่อให้พืชเจริญเติบโตแข็งแรง ออกดอก ผล และให้ผลผลิตสูง
1. ปุ๋ยคอก: เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากมูลสัตว์ เช่น มูลวัว มูลไก่ ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดิน
ข้อดี: อุดมไปด้วยธาตุอาหารหลากหลายชนิด ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยปรับปรุงคุณภาพดินในระยะยาว
ข้อเสีย: อาจมีปริมาณเชื้อโรคสูง หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการเผาไหม้พืชได้
- ปุ๋ยหมัก: เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์ต่างๆ เช่น เศษใบไม้ เศษอาหาร เปลือกผลไม้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับปุ๋ยคอก
ข้อดี: อุดมไปด้วยธาตุอาหารหลากหลายชนิด ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน
ข้อเสีย: กระบวนการผลิตใช้เวลานาน
- ปุ๋ยชีวภาพ: เป็นปุ๋ยที่ผลิตจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น แบคทีเรีย รา เห็ดรา ช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาให้พืชใช้ และช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน
ข้อดี: เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ลดต้นทุนการผลิต ช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง
ข้อเสีย: ผลที่ได้อาจช้ากว่าปุ๋ยเคมี
การปลูกผักไมโครกรีน: สวนผักจิ๋ว บรรจุคุณค่าทางอาหารสูง
ผักไมโครกรีน หรือ Microgreens คือ ต้นกล้าอ่อนๆ ของพืชผักต่างๆ ที่ปลูกในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะเก็บเกี่ยว โดยมีขนาดเล็กจิ๋วแต่เต็มไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูง เช่น วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เป็นที่นิยมของผู้รักสุขภาพและเชฟมากขึ้นเรื่อยๆ
ประโยชน์ของการปลูกผักไมโครกรีน
1. คุณค่าทางอาหารสูง: มีสารอาหารเข้มข้นกว่าผักโตเต็มวัยหลายเท่า
2. รสชาติเข้มข้น: มีรสชาติที่เข้มข้นและหลากหลายตามชนิดของพืช
3. ปลูกง่าย: ไม่ต้องใช้พื้นที่มาก สามารถปลูกได้ในที่แคบๆ
4. เติบโตเร็ว: เก็บเกี่ยวได้ภายใน 7-14 วัน
5. ตกแต่งอาหาร: เพิ่มความสวยงามและน่ารับประทานให้กับอาหาร
การตลาดเชิงรุกสำหรับผักไมโครกรีน: สู่ความสำเร็จในตลาด
การปลูกผักไมโครกรีนในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากคุณค่าทางอาหารสูงและความสะดวกในการปลูก แต่การจะประสบความสำเร็จในตลาดนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่แข็งแกร่ง เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงคุณประโยชน์และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของเรา
กลุ่มเป้าหมาย:
1. ผู้รักสุขภาพ: เน้นคุณประโยชน์ต่อสุขภาพและความปลอดภัยของอาหาร
2. ร้านอาหาร: เชฟและเจ้าของร้านอาหารที่ต้องการวัตถุดิบสดใหม่และมีคุณภาพสูง
3. โรงแรม: โรงแรมหรูที่ต้องการเสิร์ฟอาหารที่มีเอกลักษณ์และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
4. ผู้บริโภคทั่วไป: ผู้ที่สนใจลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และใส่ใจสุขภาพ
5. คู่แข่ง: ศึกษาคู่แข่งในตลาด ทั้งในแง่ของผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อวางแผนกลยุทธ์ที่แตกต่างและโดดเด่น
กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก
1. สร้างชื่อแบรนด์: เลือกชื่อแบรนด์ที่สื่อถึงความสดใหม่ สะอาด และมีคุณภาพ
2. ออกแบบโลโก้: ออกแบบโลโก้ที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์
3. สร้างสรรค์เรื่องราว: เล่าเรื่องราวของแบรนด์ เช่น การปลูกผักแบบธรรมชาติ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์คุณภาพ เป็นต้น
วิธีการเพาะ
1. ใส่วัสดุเพาะ ประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ถึง 2 นิ้ว ให้เรียบเสมอกัน
2. โปรยเมล็ดไมโครกรีน ให้ทั่วโดยไม่ให้ชิดกันจนเกินไป
3. โรยดินกรบเมล็ดบางๆ โดยใช้ตะแกรงหยาบๆ ในการร่อน
4. ฉีดน้ำด้วยกระบอกฉีดน้ำ(ฟ็อกกี้) เล็กน้อยพอให้ชุ่ม
5. ปิดภาชนะด้วยผ้า หรือถุงดำเพื่อพลางแสง
6. รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ให้ดินชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ
7. หลังจากเพาะ 2-3 วันเมื่อเริ่มเห็นใบ สามารถนำผ้าหรือถุงดำออกได้
8. รอประมาณ 8-14 วัน เพียงเท่านี้ก็เก็บเกี่ยวมาใช้ประกอบอาหารได้แล้ว
ช่องทางการขาย:
1. ตลาดชุมชน: ขายตรงถึงผู้บริโภค
2. ร้านอาหารและโรงแรม: สร้างความสัมพันธ์กับร้านอาหารและโรงแรม
3. ออนไลน์: ขายผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น เว็บไซต์, Facebook, Instagram
หน่วยงานหลักที่ให้การสนับสนุนด้านการเกษตร
Public Policy Institute สถาบันนโยบายสาธารณะ มอ.: ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานแบบเครือข่าย โดยระดมนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เครือข่ายประชาสังคม องค์กรชุมชน ราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี: เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรในจังหวัดปัตตานี โดยมีโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่สนับสนุนเกษตรกรในการทำเกษตรผสมผสาน เช่น การจัดอบรม การให้คำปรึกษา และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต
ศูนย์ส่งเสริมการเกษตร: ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรในแต่ละอำเภอมีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเทคนิคการทำเกษตรผสมผสาน
มหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยในจังหวัดปัตตานี เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร และให้บริการวิชาการแก่เกษตรกร
เครือข่ายชุมชน/กลุ่มเกษตรกร: กลุ่มเกษตรกรในชุมชนมีบทบาทสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสนับสนุนกันและกันในการทำเกษตรผสมผสาน
มุมมองของคุณกัญญาภัค นวลศิลป์ (พี่อร)
“นักธุรกิจการเกษตร”
เกษตรกรนักธุรกิจ คือเกษตรกรที่มองการทำเกษตรเป็นธุรกิจ ไม่ใช่แค่การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการนำความรู้และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการผลิตและการตลาด เพื่อสร้างผลกำไรและความยั่งยืนให้กับธุรกิจการเกษตร
เทคนิคการเป็นเกษตรกรนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
1. ต้องมีความจริงจัง ตั้งใจที่จะเป็นเกษตรกรที่ดี
2. ต้องวางแผนธุรกิจ: กำหนดเป้าหมาย วางแผนการผลิต วางแผนและเข้าใจความต้องการของตลาด และการจัดการด้านบัญชีและการเงิน
3. ต้องมีความรู้ เลือกพืชหรือสัตว์ที่เหมาะสม: เลือกพืชหรือสัตว์ที่ตลาดมีความต้องการ และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
4. สามารถใช้เทคโนโลยี: นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต เช่น ระบบน้ำ หรือการดูแลรักษา การวัดความชื้น
5. สามารถสร้างแบรนด์: สร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคจดจำได้
6. สร้างเครือข่าย: สร้างเครือข่ายกับเกษตรกรรายอื่นๆ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
7. ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต: ติดตามข่าวสารและเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ
เกษตรในพื้นที่
1. คุณสวัสดิ์ เป็นเกษตรกรอีกหนึ่งท่านที่ใช้หลักการเกษตรผสมผสาน
2. คุณนิภา เป็นเกษตรกร มีหัวด้านการทำธุรกิจ ปลูกไม้เศรษฐกิจและเพาะกล้าไม้ ไม้ตัดใบ การทำโคกหนองนา ซึ่งรายได้หลักมาจากไม้ตัดใบ ซึ่งปลูกอยู่ในแปลงร่วมกัน
3. คุณเนตรนภา เกษตรกรรุ่นใหม่ ปลูกยาง เลี้ยงวัว ปลูกผักยกแคร่ กล้วยอ้อย ปุ๋ย ดิน เทคนิค ผู้ที่ได้รับการแนะนำจากคุณกัญญาภัคในเรื่องวิธีการปลูก และการตลาด
|
|
การประชุมเชิงปฏิบัติการณ์ปรับปรุงข้อเสนอโครงการด้านการจัดการระบบอาหารและโภชนาการ |
16 ธ.ค. 2567 |
16 ธ.ค. 2567 |
|
รอเพิ่มข้อมูล
|
|
รพ.สต.ระดมความคิดปรับปรุงโครงการด้านการจัดการระบบอาหารและโภชนาการ ครั้งที่3
จำนวน27แห่ง
1.รพ.สต.ดอนรัก ชื่อโครงการ เด็ก 3-5ปี ตำบลดอนรัก สูงดีสมวัย (ส.ป.ส.ช)
2.รพ.สต.ปุโละปุโย ชื่อโครงการ ส่งเสริมโภชนาการเด็กกอายุ 0-5ปีตำบลปุโละปุโย (ส.ส.ส.)
3.รพ.สต.คอลอตันหยง ชื่อโครงการ เครือข่ายโภชนาการเพื่อเด็กคอลอตันหยง (ส.ส.ส)
4.รพ.สต.คลองใหม่ ชื่อโครงการ เด็กคลองใหม่โภชนาการดีด้วยวิถี30วัน30เมนู(ส.ป.ส.ช.)
5.รพ.สต.มะนังยง ชื่อโครงการ แก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ0-5ปรตำบลมะนังยงปี2568(ส.ป.ส.ช.)
6.รพ.สต.ป่าไร่ ชื่อโครงการ เด็กป่าไร่โภชนาการดีเก่งมีสุข(ส.ป.ส.ช.)
7.รพ.สต.ทุ่งนเรนทร์ ชื่อโครงการ โภชนาการในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก0-5ปี สูงดีสมวัย รพ.สต.ทุ่งนเรนทร์(ส.ป.ส.ช.)
8.รพ.สต.เขาตูม ชื่อโครงการ กิจกรรมพัฒนาภาวะโภชนาการ0-5ปีต.เขาตูม(ส.ป.ส.ช.)
9.รพ.สต.ตะโละกาโปร์ ชื่อโครงการ โภชนาการดีสู่พัฒนาการสมวัยตำบลตะโละกาโปร์ ปี2568(ส.ป.ส.ช.)
10.รพ.สต.บือเระ ชื่อโครงการ เด็ก0-5ปีโภชนาการดีสู่พัฒนาการสมวัยห่าวไกลโรคต.บือเระปี2569(ส.ป.ส.ช.)
11.รพ.สต.ตรัง ชื่อโครงการ ส่งเสริมภาวะโภชนาการและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก0-5ปีในชุมชนบ้านเขาวัง(ส.ส.ส.)
12.รพ.สต.บางปู ชื่อโครงการ ส่งเสริมโภชนาการตามวัยและลดภาวะซีดในเด็ก0-30เดือนและหญิงตั้งครรภ์ในตำบลบางปู(ส.ส.ส.)
13.รพ.สต.บางเก่า ชื่อโครงการ ส่งเสริมดูแลแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัย0-5ปีอ.บางเก่า (ส.ป.ส.ช.)
14.รพ.สต.ละหาร ชื่อโครงการ การส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอายุ0-5ปีต.ละหาร อ.สายบุรี จ.ปัตตานี(ส.ป.ส.ช.)
15.รพ.สต.บาราโหม ชื่อโครงการ ส่งเสริมภาวะโภชนาการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารในเด็กอายุ0-5ปี ม.1-ม.3 ต.บาราโหม (ส.ส.ส.)
16.รพ.สต.เตราะบอน ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพแบบบูรณาการเด็กปฐมวัยต.เตาระบอน สู่ SMART KIDS(ส.ป.ส.ช.)
17.รพ.สต.ทรายขาว ชื่อโครงการ เด็กศพด.เก่งฉลาดสุขภาพ้ด็กด้วย3ดี(ส.ป.ส.ช.)
18.รพ.สต.ทุ่งพลา ชื่อโครงการ ปั้นพื้นฐานสุขภาพเด็ก 0-5ปี ต.ทุ่งพลาผ่านSMART KIDS(ส.ป.ส.ช.)
19.รพ.สต.นาเกตุ ชื่อโครงการ แก้ปัญหาภาวะโภชนาการเด็ก0-5ปีในต.นาเกตุ(ส.ป.ส.ช.)
20.รพ.สต.บางโกระ ชื่อโครงการ เด็ก0-5ปี โภชนาการดี สูงดี สมส่วนและบดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ในต.บางโกระ(ส.ส.ส)
21.รพ.สต.ปะเสยะวอ ชื่อโครงหาร แก้ไขปัญหาภาวะซีดในเด็กนักเรียน(ส.ป.ส.ช.)
22.รพ.สต.บ้านน้ำบ่อ ชื่อโครงการ แก้ไขปัญหาภาวะซีดในเด็ก6เดือน-12ปี ต.บ้านน้ำบ่อ(ส.ป.ส.ช.)
23.รพ.สต.สะดาวา ชื่อโครงการ เด็กสะดาวาสุขภาพดีพัฒนาการสมบูรณ์(ส.ป.ส.ช.)
24.รพ.สต.ระแว้ง ชื่อโครงการ เด็ก0-5ปีต.ระแว้งโภชนาการดีด้วยมื้ออาหารคุณภาพ(ส.ป.ส.ช.)
25.รพ.สต.เกาะจัน ชื่อโครงการ เด็ก0-5ปีต.เกาะจัน โภชนาการดี พัฒนาการสมวัยห่างไกลภาวะซีด(ส.ป.ส.ช.)
26.รพ.สต.น้ำดำ ชื่อโครงการ ส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก0-5ปีต.น้ำดำ(ส.ส.ส)
27.รพ.สต.ปล่องหอย ชื่อโครงการ บาซามากันนันกาเนาะ กาเนาะ บ้านบาโงสาเมาะ(ส.ป.ส.ช.)
|
|
อบรมปฏิบัติการพลังอสมเพื่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กด้วยโภชนาการ |
20 ธ.ค. 2567 |
20 ธ.ค. 2567 |
|
ผู้เข้าร่วมอบรมกลุ่มตัวแทนอสม.ในอำเภอทุ่งยางแดง,กะพ้อ,หนองจิก,โคกโพธิ์
ก่อนเข้าอบรมผู้เข้าร่วมจะตอบคำถามผ่านคุณ google form
กิจกรรมพลังโภชนาการกับการเติบโตเต็มศักยภาพของเด็กการลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์
กิจกรรมพลังอสมกับการพัฒนาศักยภาพเด็ก
กิจกรรมสมุดสีชมพูมีคุณค่ามากกว่าที่คิด
กิจกรรมโภชนาการที่ดีอยู่ที่การจัดการอาหารที่ดี
กิจกรรมเทคนิคการเป็นนักสื่อสารข้อมูลด้านโภชนาการการเฝ้าระวังทางโภชนาการกับผู้ดูแลเด็กในชุมชน
|
|
โครงการ (พลังอสม.เพื่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กด้วยโภชนาการ)
วันที่20ธันวาคม 2567
กลุ่มเป้าหมายตัวแทนอสม. ทุ่งยางแดง,กะพ้อ,หนองจิก,โคกโพธิ์ จำนวน 94 คน
กิจกรรมแบ่งออกเป็นดังนี้
กิจกรรมที่ 1 พลังโภชนาการกับการเติบโตเต็มศักยภาพของเด็ก(การลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์)
บรรยายโดยอาจารย์ลักษณา หัวข้อเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของโภชนาการกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์
กิจกรรมที่ 2 พลังอสม.กับการพัฒนาศักยภาพเด็ก โดยอาจารย์ศรีลา
-รูปแบบกิจกรรมเกมบอลพูดได้สื่อรักจากใจ
กำหนดโจทย์ หากมีเด็กน้อยในพื้นที่ของเรามีภาวะขาดสารอาหารตัวเตี้ยผอมในฐานะที่เราเป็นอสมและสมาชิกในชุมชนเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยเด็กคนนี้ให้มีโอกาสเติบโตได้เต็มศักยภาพจากโจทย์ข้างต้นแบ่งเป็น 9 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่1.ส่งเสริมให้เด็กกินอาหารให้มีประโยชน์,สนับสนุนให้ความรู้เรื่องความสำคัญของการดื่มนม,หลีกเลี่ยงขนมที่มีผงชูรส,หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม,ส่งเสริมให้เด็กกินผักปลาไข่ผลไม้ตามฤดูกาล,ให้ความรู้ผู้ปกครองจัดกิจกรรมให้แม่และเด็กเรื่องการขยับร่างกาย,ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำอาหารดัดแปลงออกแบบอาหารให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก,ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเปรียบเทียบเกณฑ์สัดส่วน,ติดตามพัฒนาการของเด็กคัดกรองประเมินเน้นย้ำผู้ปกครองให้เห็นถึงความสำคัญในสมุดสีชมพู,อสม.เป็นตัวกลางในการสื่อสารในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อการรักษาเด็กแต่ละคน
กลุ่มที่2.ติดตามชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงฉีดวัคซีนตามเกณฑ์,แนะนำให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์,แนะนำให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญในการกินอาหารของเด็ก,อสม.ลงพื้นที่ติดตามเรื่องโภชนาการของเด็ก,แนะนำประโยชน์ของสารอาหารของแต่ละประเภท,ชี้แจงผู้ปกครองในการหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อร่างกาย,แนะนำเด็กให้กินนมจืด,กระตุ้นให้กินอาหารผักผลไม้ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย,หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมน้ำหวานในปริมาณที่มาก,ฝึกให้เด็กกินอาหารธรรมชาติที่ไม่แปรรูป,แนะนำแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่,แนะนำแม่ให้เด็กออกกำลังกายพักผ่อนให้เพียงพอ,แนะนำผู้ปกครองให้พาเด็กตรวจเช็คช่องปากและฟันตามระยะเวลาที่กำหนด
กลุ่มที่3.ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเด็กที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์,แนะนำผู้ปกครองให้เด็กกินนมอาหารโปรตีนให้ทานผักผลไม้,ติดตามในส่วนของเด็กที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์ให้ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงใหม่กรณีที่ยังไม่ได้ตามเกณฑ์แนะนำแจ้งผู้ปกครองให้ความรู้โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีการให้มีการแจกไข่และนม,มีการจัดโครงการอบรมโภชนาการเด็กที่รพ. สต.และเชิญผู้ปกครองและนำเด็กมาด้วยกรณีเด็กน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์(เด็กอ้วน)ให้ลดการกินอาหารแปรรูปแป้งของทอดลดการกินน้ำหวานน้ำอัดลม,แนะนำพ่อแม่ดูแลอาหารการกินของลูก,แนะนำให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึง 6 เดือน,ฉีดวัคซีนตามเกณฑ์
กลุ่มที่4.แจกนมให้เด็กที่มีน้ำหนักน้อยแจกไข่ให้เด็กที่มีน้ำหนักน้อยต่ำกว่าเกณฑ์,ติดตามวัดส่วนสูงชั่งน้ำหนักเด็ก 0-5 ปี,แนะนำผู้ปกครองเกี่ยวกับอาหารการกินเด็กควรได้รับอาหารครบถ้วนเน้นการให้นมแก่เด็ก,ทำโครงการเกี่ยวกับโภชนาการต่อเด็ก,ให้ความรู้เรื่องอาหารเด็ก 0-5 ปี,ในเด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เชิญวิทยากรจากมอหาดใหญ่มาให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับโภชนาการอาหาร,ติดตามเด็กในพื้นที่ที่มีน้ำหนักน้อยโดยอสม.แต่ละเขตรับผิดชอบทุก 1 เดือนเยี่ยมบ้านกลุ่มเด็กที่มีน้ำหนักน้อยเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองให้รางวัลเช่นนมไข่ในเด็กที่มีภาวะโภชนาการที่มีแนวโน้มดีขึ้น,ให้ความรู้และแนะนำโภชนาการแก่ผู้ปกครองเรื่องเสริมผักกับเด็กเช่นตำลึงถั่วเสริมไอโอดีนโดยมีเกลือไอโอดีนเสริมอาหารธาตุเหล็กเช่นตับเนื้อสัตว์และอาหารทะเล,ติดตามให้เด็กกินยาธาตุเหล็กสัปดาห์ละครั้งในเด็ก 0-6 เดือน,แนะนำการเลี้ยงดูลูกวัยนี้ด้วยนมแม่
กลุ่มที่5.สำรวจเด็ก 0-5 ปีในชุมชนที่ขาดสารอาหาร,จัดอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครองของเด็กที่ขาดสาร,อาหารแนะนำให้ผู้ปกครองนำเด็กไปตรวจพัฒนาการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงรอบศีรษะ 4 ไตรมาส 3 เดือนครั้ง,แนะนำให้ผู้ปกครองเสริมสร้างไอโอดีนให้กับเด็ก,ส่งรายละเอียดของเด็กที่ขาดโภชนาการเพื่อของบสนับสนุนจากอบต.,ลงเยี่ยมบ้านให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเรื่องโภชนาการอาหาร,จัดทำโครงการเพื่อเสนออบต.ในการจัดซื้อนมและอาหารกลางวันให้เด็กที่ต่ำกว่าเกณฑ์ตามศูนย์เด็กเล็กในชุมชน,จัดทำโครงการปลูกผักสวนครัวเพื่อเสริมแร่ธาตุต่างๆให้กับเด็กเช่นผักหวานผักโขมผักกูด,จัดทำโครงการลานกีฬาให้เด็กสนามเด็กเล่นเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกาย,แนะนำให้บริโภคอาหารที่มีธาตุไอโอดีนสูงเช่นปลาทะเล
กลุ่มที่6.ชั่งน้ำหนักเด็ก 0-5 ปีติดตามชั่งน้ำหนักทุกๆ 3 เดือน,แนะนำอาหารเช่นรับประทานอาหารนมไข่,แนะนำให้เด็กออกกำลังกายกินอาหารที่มีประโยชน์อาหารหลัก 5 หมู่ตามช่วงวัย,เด็กที่มีความเตี้ยแนะนำให้กินอาหารที่มีแคลเซียมเช่นนมจืดผลไม้ผักใบเขียวที่ปลูกเอง,แนะนำให้บริโภคเกลือที่มีสารไอโอดีน,แนะนำให้เด็กมีที่มีภาวะซีดให้กินอาหารเสริมธาตุเหล็ก,ในกรณีที่เจอเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ อสม.จะปรึกษาเจ้าหน้าที่เพื่อแนะนำให้ความรู้มารดาเรื่องโภชนาการอาหาร,ติดตามฉีดวัคซีนเด็ก 0-5 ปี,ตรวจพัฒนาการตามช่วงวัย,แนะนำมารดาให้นมบุตรจนถึง 6 เดือน,จัดกิจกรรมแม่และเด็กในชุมชนเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและวัคซีนของเด็ก,แนะนำประโยชน์และโทษของอาหารของเด็ก 0-5 ปี
กลุ่มที่7.แนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงตามเกณฑ์ทุกครั้ง,แนะนำแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเรื่องอาหารครบ 5 หมู่,แจกนมให้กับเด็กที่ไม่ถึงเกณฑ์ตรวจพัฒนาเด็กทุกปีการเคลื่อนไหวการได้ยินตรวจฟันเคลือบฟลูออไรด์ส่วนสูง,แนะนำผู้ปกครองให้ดูแลเรื่องอาหารการกินของเด็ก,แนะนำให้กินนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือน,แนะนำให้เด็กออกกำลังกายให้สมวัย,จัดกิจกรรมให้เด็กเล่นร้องเพลงเต้นเล่นเกมกีฬา,อบรมผู้ปกครองให้พาเด็กไปฉีดวัคซีนให้ตรงเวลา,อบรมผู้ปกครองให้ความรู้เรื่องการพัฒนาการของเด็ก,จัดให้มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ร่วมกันกับอสม.เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ,แนะนำเรื่องการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ,สร้างความคุ้นชินให้กับเด็กใส่ใจเด็ก,ส่งเสริมให้ความรู้ในการซื้อขนมกินเองของเด็ก
กลุ่มที่8.ให้ความรู้ในเรื่องการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่,ให้เด็กเข้าสังคมกับเพื่อน,แนะนำให้มารดาฝากครรภ์,ฉีดวัคซีนชั่งน้ำหนักเด็กทุก 3 เดือนหรือตามกำหนดที่หมอนัด,ปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็ก,จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ร่างกายและพัฒนาสมองให้ได้เต็มที่,ให้ความรู้เรื่องการใช้โทรศัพท์ที่ถูกต้อง,แนะนำเรื่องอาหารการกินสำหรับหญิงตั้งครรภ์,แนะนำเรื่องอาหารหวานมันเค็ม,เล่านิทานเรื่องฟันอาหารร่างกายและสังคมให้กับเด็ก
กลุ่มที่9.แนะนำผู้ปกครองเรื่องโภชนาการส่งเสริมให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์,ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง,ส่งเสริมการออกกำลังกาย,แนะนำให้มีกิจกรรมกินเล่นกอดเล่า,เแนะนำให้กินอาหารเสริมที่มีน้ำมันตับปลาส่งเสริมธาตุเหล็ก,มีกิจกรรมเกี่ยวกับเด็ก,ส่งเสริมให้เด็กนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ,ให้การแนะนำตั้งแต่หญิงตั้งครรภ์ให้ฝากครรภ์ครบตามกำหนด,กินอาหารให้ครบ 5 หมู่,แนะนำการกินยาเสริมธาตุเหล็กเสริมไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์,แนะนำติดตามให้ผู้ปกครองฉีดนำเด็กมาฉีดวัคซีนตามช่วงอายุ,ติดตามเด็กให้มาตรวจพัฒนาการตามช่วงอายุ,ติดตามการชั่งน้ำหนักทุกไตรมาสให้ครบ 100% ,มีการอบรมให้ความรู้ฟื้นฟูกับอสม.และผู้ปกครองในการใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก,ให้อสม.และผู้ปกครองมีความรู้ในการใช้สมุดตรวจพัฒนาการ
กิจกรรมที่3.สมุดสีชมพูมีคุณค่ามากกว่าที่คิด -แนะนำการใช้สมุดสีชมพูโดยอาจารย์ลักษณาอาจารย์สีลาวิธีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงที่ถูกต้องการดูแลโภชนาการอาหารฝึกปฏิบัติในการวัดส่วนสูงทดลองให้อสมทุกคนทำการ plot graph
กิจกรรมที่4.โภชนาการดีอยู่ที่การจัดการอาหารที่ดีโดยอาจารย์ลักษณาอาจารย์สีลาฝึกปฏิบัติการจัดเมนูอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็กโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มที่ 1 วางแผนเมนูอาหาร 5 วันสำหรับเด็ก 6 เดือนถึง 1 ปีกลุ่มที่ 2 วางแผนอาหาร 5 วันสำหรับเด็ก 1-5 ปี
กลุุ่มที่1.มีเมนูอาหาร เด็ก 1-5 ปี ดังนี้
วันที่ 1 มื้อเช้าโจ๊กหมูสับแครอทใส่ไก่ตับ-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวไก่สับส้มครึ่งลูกกล้วยน้ำว้า-มื้อเย็นข้าวแกงจืดตำลึงหมูสับตับนม 1 กล่อง
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวหมกไก่แตงกวานม 1 กล่อง-มื้อเที่ยงข้าวปลาทอดผักรวมนมจืดส้ม-มื้อเย็นผัดซีอิ้วใส่ไข่เนื้อไก่นมจืดเค้กกล้วยหอม
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวไข่เจียวนมกล้วยผัดฟักทองไทยขนมอาแปกล้วย-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวน้ำแตงโมนมแอปเปิ้ล-มื้อเย็นข้าวต้มไก่ต้มนมคุกกี้ธัญพืช
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวผัดอเมริกันไข่ดาวนมจืด 1 กล่องไข่นกกระทา-มื้อเที่ยงข้าวไข่พะโล้ไก่ผัดผักกาดขาวมะม่วงสุกครึ่งลูก-มื้อเย็นข้าวไข่ดาวไก่ทอดผักต้มโรตี 1 แผ่นต้มถั่วเขียว
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มหมูใส่ไข่กับตำลึงนมจืด 1 กล่องขนมจีบ-มื้อเที่ยงข้าวผัดรวมมิตรไก่สับมะละกอ 5 ชิ้นชมพู่-มื้อเย็นข้าวต้มปลาไข่เจียวทรงเครื่องซาลาเปาไส้ไก่นมสด
กลุ่มที่2.มีเมนูอาหาร เด็ก 1-5 ปีดังนี้
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มไก่ไข่ใส่ผักปลาจิงจัง-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวผัดใส่ตับ-มื้อเย็นข้าวแกงจืดไก่สับ
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวผัดไก่ใส่ไข่-มื้อเที่ยงข้าวแกงจืดเต้าหู้ไข่นม-มื้อเย็นก๋วยเตี๋ยวน้ำใส
วันที่ 3 มื้อเช้าหมี่ผัดใส่ไข่-มื้อเที่ยงข้าวต้มปลาไข่ตุ๋น-มื้อเย็นข้าวฟักทองผัดไข่ปลาทอดขมิ้น
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มกุ้งบดใส่บรอกโคลี่-มื้อเที่ยงข้าวแกงเขียวหวานไก่ใส่บวบกล้วย-มื้อเย็นผัดรวมมิตรใส่กุ้งนมจืด
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวผัดรวมมิตรใส่ไข่-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวน้ำไก่ต้ม-มื้อเย็นข้าวต้มไก่ใส่ผัก
(ทุกวันกินนมจืดวันละ 2 กล่องผลไม้ตามฤดูกาลวันละ 1 มื้อ)
กลุ่มที่3.มีเมนูอาหาร เด็ก 1-5 ปีดังนี้
วันที่ 1 มื้อเช้าต้มจืดไก่ตำลึงถั่วเขียวต้มน้ำตาลแอปเปิ้ล-มื้อเที่ยงข้าวต้มไก่สับใส่ไข่ต้มจืดผักใส่เต้าหู้ไข่ฟักทองตำลึงกล้วยน้ำว้าส้ม-มื้อเย็นต้มยำกุ้งข้าวข้าวโพดนึ่งน้ำ
วันที่ 2 มื้อเช้าแกงจืดเต้าหู้ข้าวส้ม-มื้อเที่ยงข้าวสวยต้มส้มปลาทูผลไม้ตามฤดูกาลนมรสจืด-มื้อเย็นข้าวไข่ต้มนมรสจืดแกงต้มฟักแกงจืดฟักส้มเขียวหวาน
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวต้มกุ้งผัดมักกะโรนีแอปเปิ้ล 1 ผล-มื้อเที่ยงข้าวปลาทอดน้ำส้มคั้นผัดผักรวม-มื้อเย็นแกงจืดเต้าหู้ไข่ตุ๋นข้าวต้มไก่แอปเปิ้ล
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวหมกไก่ข้าวต้มข้าวยำน้ำเปล่านมจืด-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวกล้วยน้ำว้ามื้อ-เย็นก๋วยเตี๋ยวขนมจีนฝรั่งข้าวสวยแกงกะทิปลาทู
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวไข่เจียวข้าวต้มขนมเค้กกล้วย-มื้อเที่ยงปลาต้มแกงจืด-มื้อเย็นโจ๊กไข่ผัดผักข้าวสวยกล้วยนมจืดกล้วย
กลุ่มที่4.เมนูอาหารเด็ก 1-5 ปีมีดังนี้
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มปลานม 1 กล่อง-มื้อเที่ยงข้าวสวยต้มฟักไก่ต้ม-มื้อเย็นข้าวสวยแกงส้มปลาทูแครอทลวกกล้วย
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวต้มตับไก่มื้อ-เที่ยงข้าวผัดไข่แครอทมะละกอ-มื้อเย็นข้าวสวยแกงจืดไข่ไก่ทอดแอปเปิ้ล
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวยำไข่ต้ม 2 ฟอง-มื้อเที่ยงข้าวสวยแกงจืดผักรวมแตงโม-มื้อเย็นผัดหมี่กุ้งไก่
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มไก่นม 1 กล่อง-มื้อเที่ยงข้าวสวยต้มข่าไก่แอปเปิ้ล-มื้อเย็นข้าวสวยซุปไก่ไข่เจียว
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวสวยแกงจืดไข่เต้าหู้ตำลึง-มื้อเที่ยงข้าวสวยปลาทูทอดแกงส้มกุ้งกล้วยน้ำว้า-มื้อเย็นข้าวยำไก่ย่างไข่ต้ม 1 ฟองฝรั่ง
กลุ่มที่5.เมนูอาหารเด็ก 6 เดือนถึง 1 ปีดังนี้
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มใส่ตับไก่ผักโขมนมจืด-มื้อเที่ยงแกงจืดผักหวานปลาทะเลนมแม่อะโวคาโด-มื้อเย็นไก่บดบล็อกโคลี่นึ่งนมจืด
วันที่ 2 มื้อเช้าเข้าบดตับไก่ตำลึงซุปฟักทองผสมข้าวโพดนมจืด-มื้อเที่ยงไข่ต้มข้าวบดเนื้อปลาแซลมอนข้าวผัดผักรวมไข่นมจืด-มื้อเย็นตับไก่ทอดนมจืดแอปเปิ้ล
วันที่ 3 มื้อเช้าน้ำต้มผักข้าวโพดแครอทแอปเปิ้ลหัวผักกาดหัวหอมโครงไก่ผลไม้สุกบดละเอียด-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวผัดไข่ข้าวบดข้าวต้มใส่ผักหวานผสมไข่แดง-มื้อเย็นน้ำส้มคั้นด้วยสุกมะละกอผักรวมนึ่งสุก
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มเนื้อปลาบดข้าวต้มตับผักหวานผักโขม-มื้อเที่ยงข้าวคลุกปลาทูทอดข้าวผัดไข่ฟักทองซุปข้าวโพดสลับฟักทอง-มื้อเย็นแก้วมังกรบดผสมนมผักสุก 1 ช้อนข้าวบดละเอียดนมจืด 1 แก้ว
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มสุกบดละเอียดมักกะโรนีผัดไข่ข้าวต้มปลาผักหวาน-มื้อเที่ยงข้าวผัดปลาทูไข่ต้มแกงจืดตำลึงกล้วยสุกมะละกออะโวคาโดแอปเปิ้ลนึ่งสุก-มื้อเย็นผักต้มกล้วยบดนมจืดน้ำผลไม้ปั่น
กลุ่มที่6.เมนูอาหารเด็ก 6 เดือนถึง 1 ปีดังนี้
วันที่ 1 กล้วยน้ำว้าบดข้าวบดไข่แดงข้าวต้มสุกบดละเอียดข้าวสวยนิ่มนมแม่อย่างเดียวข้าวบด + แกงจืดใบตำลึง
วันที่ 2 ต้มจืดปลาบดยอดตำลึงข้าวสวยหูนิ่มๆบดใส่ปลาทูผักส้มเขียวหวานแซนวิชใส่ไข่ขาวไข่แดงบด
วันที่ 3 ข้าวต้มสุขบุญละเอียดใส่ไข่แดงฟักทองบดผักบดไข่แดงข้าวต้มกล้วยนมจืดโยเกิร์ตธรรมชาติข้าวสวยไข่
วันที่ 4 ข้าวต้มบดใส่ตับไก่เนื้อมะละกอสุกนมจืดปลาเล็กปลาน้อยขนมจีนเปล่าๆ
วันที่ 5 ต้มแครอทบล็อคโคลี่บดละเอียดน้ำมันตับปลาใส่ผสมในข้าว 1-2 หยดขนมปังก๋วยเตี๋ยวแอปเปิ้ลข้าวเหนียวไก่ทอด
กลุ่มที่7เมนูอาหารเด็ก 6 เดือนถึง 1 ปีดังนี้
6 เดือนนมแม่เข้าบดผสมฟักทองไข่แดงตับบดผลไม้สุกบดละเอียดน้ำผลไม้ข้าวต้มสุกบดละเอียดไข่แดงสุกครึ่งฟองข้าวบดฟักทองกล้วยน้ำว้ากล้วยสุกบ่ละเอียดข้าวบดกับฟักทอง
7 เดือนถึง 1 ปีกินนมแม่ข้าวต้มสุกบดหยาบผักต้มเปื่อยข้าวบดละเอียดกับเนื้อกุ้งมะละกอกล้วยบดเนื้อสัตว์ตับไข่แดงไก่บดละเอียดผักสุกหั่นชิ้นเล็กก๋วยเตี๋ยวน้ำใสน้ำสะอาดผักสุกทุกชนิดเต้าหู้อ่อนนมรสจืด
กลุ่มที่8เมนูอาหารเด็ก 1-5 ปีดังนี้
วันที่ 1 มื้อเช้าเด็กช่วงอายุ 1-3 ปีดื่มนมวันละ 2 แก้วโจ๊กไก่บดผลไม้ตามฤดูกาลข้าวต้มปลา-มื้อเที่ยงข้าวสวยบดฟักทองแครอทไข่ต้มต้มใส่ผักตำลึงไข่-มื้อเย็นข้าวสวยผักต้มปลาทอดน้ำบูดู
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวยำไข่ต้มนม-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวน้ำซุปไก่นมสปาเก็ตตี้ผักเนื้อสัตว์-มื้อเย็นมะม่วงสุกแก้วมังกรฝรั่งข้าวสวยไข่ห่อผัก
วันที่ 3 มื้อเช้าซุปเต้าหู้ไข่โรตีไข่โรตีกล้วยส้ม-มื้อเที่ยงไข่ตุ๋นทรงเครื่องแกงจืดไก่สับมักกะโรนีผักเนื้อสัตว์อะโวคาโด-มื้อเย็นแซนวิชข้าวผัดกุ้งไข่
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มมัดข้าวเหนียวไก่-มื้อเที่ยงไก่กลับกรอบผักไข่ลูกเขยผัดเปรี้ยวหวาน-มื้อเย็นก๋วยเตี๋ยวน้ำไก่ผักเค้กโดนัท
วันที่ 5 มื้อเช้าผัดไทย-มื้อเที่ยงเบอร์เกอร์เนื้อ-มื้อเย็นข้าวหมกไก่ต้มกล้วยแอปเปิ้ล
กลุ่มที่9.เมนูอาหารเด็ก 6 เดือนถึง 1 ปีดังนี้
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวบดเนื้อสัตว์ผักข้าวต้มปลาใส่ผักโขมนม -มื้อเที่ยงผักบดสุกผลไม้สุกบดข้าวสวยบดไข่แดง-มื้อเย็นข้าวสวยบดตับวัวนม
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวต้มผักเปื่อยไข่แดงต้มสุกขนมปังไข่ดาวนม-มื้อเที่ยงผลไม้บดสุกฟักทองต้มเปื่อยข้าวสวยบดนมส้มแตงโม-มื้อเย็นแครอทนึ่งนมข้าวสวยบดผักต้มเปื่อยตับบด
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวสวยเนื้อสัตว์ผักผลไม้นม-มื้อเที่ยงข้าวสวยบดตับต้มสุกผักปั่นผลไม้ปั่นส้มแครอทข้าวสวยปลาบดน้ำเต้าหู้ผลไม้มะละกอสุก-มื้อเย็นข้าวบดข้าวต้มไข่แดงกล้วยน้ำว้านมมะละกอ
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มสุกบดละเอียดไข่แดงสุกผักต้มเปื่อย-มื้อเที่ยงกล้วยสุกบดละเอียดไข่แดงข้าวสวยแกงจืดต้มกระดูกใส่เต้าหู้อ่อนตำลึง-มื้อเย็นข้าวบดกับไข่แดงปลาบดกับข้าวมะละกอบดน้ำนมถั่วเหลืองเต้าหู้ต้ม
วันที่ 5 มื้อเช้าขนมปังผลไม้บดสุกกล้วยน้ำว้านมข้าวสวยไข่แดงสุกไก่บดกับบดกล้วยสุก-มื้อเที่ยงข้าวต้มเนื้อสัตว์บดฟักทองนม-มื้อเย็นนมข้าวบดฟักทองตำลึงผลไม้บดสุกละเอียด
กิจกรรมที่ 5. เทคนิคการเป็นนักสื่อสารข้อมูลด้านโภชนาการการเฝ้าระวังโภชนาการกับผู้ดูแลเด็กในชุมชนวิทยากรคุณพัชรกัญญ์ ยังปากน้ำ และทีมงาน
กิจกรรมมีดังนี้
1.กลวิธีการสื่อสารเพื่อเป็นนักศึกษาชุมชนบรรยายและเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์โดยแบ่งเป็นฐานการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเทคนิคการสื่อสารในกลุ่ม
2.สื่อประเด็นมาเป็นเรื่อง ผู้เข้าอบรมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนเทคนิคการสื่อสารข้อมูลโภชนาการให้กับผู้ดูแลเด็กการให้คำปรึกษาและแนะนำทางโภชนาการ
3.โชว์&แชร์ เทคนิคการสื่อสารสูตรสำเร็จพิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย
โดยแต่ละกลุ่มเลือกปัญหาที่มีในชุมชนมา 1 ปัญหาพร้อมวิธีการสื่อสารที่จะบอกแก่ผู้ปกครองและคนในชุมชน
กลุ่มที่1.ปัญหาคือเด็กอายุ 0-5 ปีขาดสารอาหารผอมเตี้ยสาเหตุเกิดจากการเลือกกิน
วิธีการสื่อสาร 1. อสม.ลงเยี่ยมบ้านให้คำแนะนำเรื่องโภชนาการของเด็ก 015 ปี 2.เชิญวิทยากรหรืออสมในการปฏิบัติจริงในการประกอบอาหารอาหารไม่จำเป็นต้องแพง 3. แจกคู่มือที่สามารถหาวัตถุดิบที่หาง่ายในชุมชน 4.การแนะนำเมนูอาหารเป็นบางกรณีโดยใช้ LINE กลุ่มกรณีติดตามแล้วให้คำแนะนำแล้วแต่เด็กยังไม่ดีขึ้นยังขาดสารอาหารอยู่แนะนำให้พบแพทย์ตามกระบวนการต่อไป
กลุ่มที่2.ปัญหาคือร้านค้าในชุมชนจำหน่ายอาหารที่ไม่มีประโยชน์กับเด็กเช่นลูกอมขนมขบเคี้ยวน้ำหวาน
วิธีการสื่อสาร 1. สื่อสารกับผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองให้เห็นถึงโทษของการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์เหล่านั้นและ 2. แนะนำอาหารว่างที่มีประโยชน์กับเด็กแทนขนมที่เด็กซื้อ 3. แนะนำให้เด็กทานอาหารหลักให้ครบทั้ง 3 มื้อ 4. สอบถามถึงปัญหาที่เด็กไม่ยอมกินอาหารพร้อมแนะนำการแก้ปัญหาควบคู่ไปด้วย
กลุ่มที่ 3.ปัญหาคือผู้ปกครองไม่มีความรู้ด้านโภชนาการตามช่วงอายุ 0-5 ปีช่วงไหนควรกินอาหารอย่างไรทำให้เด็กขาดสารอาหารไม่โตตามวัย
วิธีการสื่อสาร 1. ลงพื้นที่แนะนำผู้ปกครองเรื่องโภชนาการการกินอาหารตามวัยตามสัดส่วนตามวัยของเด็กดูจากสมุดสีชมพู 2. แนะนำการฉีดวัคซีน 3. การวัดสัดส่วนส่วนสูงชั่งน้ำหนัก 4. แจ้งเจ้าหน้าที่รพสต.ให้ทราบถึงปัญหาของเพื่อนบ้านที่ยากจนเกี่ยวกับอาหารการกินของเด็ก
กลุ่มที่ 4. ปัญหาคือเด็กขาดสารอาหารไม่ชอบทานข้าวไม่ชอบกินผักทำให้ผอมน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
วิธีการสื่อสาร 1. สอบถามข้อมูลการบริโภคและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเด็ก 2.พูดคุยกับผู้ปกครองถึงแนวทางการแก้ปัญหารวมถึงการให้ข้อมูลผลกระทบของเด็กที่มีปัญหาจากการขาดสารอาหาร 3. เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเช่นงดขนมถุงกรุบกรอบก่อนมื้ออาหารหลักเพิ่มกิจกรรมทางกายเพื่อกระตุ้นให้เด็กหิวและให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำอาหารส่งเสริมให้เด็กดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2 กล่อง 4. ติดตามประเมินผลเช่นชั่งน้ำหนักและส่วนสูง
กลุ่มที่ 5. ปัญหาคืออสมยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านคุณประโยชน์โภชนาการอาหารจึงทำให้การสื่อสารไม่สัมฤทธิ์ผล
วิธีการสื่อสาร1.จัดการอบรมเพิ่มเสร็จกายภาพให้อสมเช่นการคิดคำนวณค่าช่วงอายุให้แม่นยำจะได้ไม่เกิดการคลาดเคลื่อนทำให้เกณฑ์มาตรฐานผิดพลาด 2. จัดทีมเจ้าหน้าที่ร่วมกับอสมลงพื้นที่เพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ปกครอง
กลุ่มที่ 6. ปัญหาคือเด็กอยู่กับปู่ย่าตายายเลยเป็นปัญหาในการดูแลด้านอาหารตามวัยเด็กในพื้นที่ไม่ยอมทานอาหารเด็กชอบกินขนมขบเคี้ยวเด็กที่มีฟันผุเด็กติดโทรศัพท์ทำให้ไม่อยากอาหารสถานะทางครอบครัวเช่นพ่อแม่ทำงานซื้ออาหารแกงถุง
วิธีการสื่อสาร ต้องรู้และเข้าใจปัญหาครอบครัวนั้นทำความเข้าใจเรื่องของประโยชน์ทางโภชนาการอาหารที่มีประโยชน์และโทษให้กับผู้ปกครองแนะนำผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก 0-5 ปีด้านโภชนาการ
กลุ่มที่ 7. ปัญหาคือ พ่อแม่ไม่มีเวลาไม่เน้นการทำอาหารให้ลูกเช่นอาหารแปรรูปลูกชิ้นไส้กรอกไม่มีความรู้เรื่องอาหารและการสื่อสารระหว่างลูกกับพ่อแม่ไม่ค่อยใส่ใจลูก
วิธีการสื่อสาร ให้เจ้าหน้าที่และอสมลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้กับการดูแลเด็กให้มากขึ้น
กลุ่มที่ 8. ปัญหาคือ เด็กอยู่กับปู่ย่าตายายขาดความรู้เรื่องโภชนาการอาหารทำให้เด็กไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวันเด็กไม่ได้รับอาหารเช้าอาหารที่กินไม่มีประโยชน์อาหารแปรรูปขนมขบเคี้ยว
วิธีการสื่อสาร 1. เจาะจงไปหาบ้านที่มีเด็กที่ไม่สมส่วน 2. จัดทีมอสมผู้นำชุมชนให้ความรู้ทำความเข้าใจเรื่องโภชนาการอาหารให้กับผู้ที่ดูแลเด็ก 3. จัดอบรมสาธิตวิธีทำอาหารเช้าให้เด็กผู้ปกครองที่ดูแลเด็ก 4. จัดทีมอสมแนะนำให้ความรู้ให้กับผู้ดูแลเด็ก 5. จัดทำเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์
กลุ่มที่ 9.ปัญหาคือผู้ปกครองในสพดยังซื้อขนมซองให้ลูกใส่กระเป๋าไปทุกวัน
วิธีการสื่อสาร 1. ประชุมผู้แจ้งผู้ปกครองและครูสพดและโรงเรียนเด็กปฐมวัย 2. เชิญเจ้าหน้าที่หรือวิทยากรด้านโภชนาการมาให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและครูพร้อมทั้งตั้งกติกาภายในสภ.ดและโรงเรียนเด็กปฐมวัย 3. ประสานงานเชิญผู้ปกครองผ่านกลุ่มไลน์ facebook 4. จัดระเบียบร้านค้าหน้าโรงเรียนและหน้าสพดและสถานศึกษาปฐมวัยจัดให้มีอาหารเช้าสำหรับเด็กๆเช่นนมน้ำเต้าหู้ข้าวต้ม
กิจกรรมที่ 6 กลับไปฉันตั้งใจจะทำให้เด็กน้อยเติบโตเต็มศักยภาพ
จากการมาอบรมในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมเขียนความตั้งใจที่จะนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อให้กับคนในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กให้เติบโตสมวัยดังนี้
ให้ความรู้กับผู้ปกครองในเรื่องการขาดสารอาหารและแนะนำพฤติกรรมการกินกลับไปคุยกับเพื่อนๆอสมเพื่อทำงานต่อขอกลับไปแก้ปัญหาในชุมชนด้านโภชนาการของเด็กโดยเข้าไปแนะนำอาหารการกินในเขตรับผิดชอบของตนเองจะติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดทำความเข้าใจกับทุกเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการกลับไปปรับการสื่อสารให้ผู้ปกครองเข้าใจในการให้ความรู้เรื่องโภชนาการแก้ปัญหาด้านต่างๆความรู้และแนะนำให้ผู้ปกครองเข้าใจเรื่องอาหารสำหรับเด็กให้ความรู้กับผู้ดูแลเด็กในชุมชนเรื่องโภชนาการสำหรับเด็กๆกลับไปคุยกับเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการต่อยอดเรื่องโภชนาการของเด็ก 0-5 ปีทำความเข้าใจกับผู้ปกครองในเรื่องโภชนาการตรวจสุขภาพปากของเด็กการกินอาหารที่ถูกหลักอนามัยจัดระเบียบร้านค้าในบริเวณโรงเรียนและรอบโรงเรียนกลับไปบอกต่อในชุมชนเรื่องความสำคัญของอาหารสำหรับเด็ก 0-5 ปีกลับไปถ่ายทอดเรื่องการคำนวณเพื่อนำไปพัฒนาการในเด็กและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปบอกต่อผู้ปกครองที่มีลูกหลานที่ไม่กินที่ไม่ถึงเกณฑ์ว่าต้องทำอย่างไรสร้างโมเดลแม่ตัวอย่างโดยเริ่มจากครอบครัวอสมในพื้นที่กลับไปทำเมนูให้ลูกกินโดยไม่ใส่ผงชูรสและแนะนำการกินอาหารของเด็กๆให้ผู้ปกครองจัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองได้ทราบถึงประโยชน์และเมนูอาหารที่ครบ 5 หมู่และเรื่องของช่องปากในวัยเด็กจัดอบรมให้ข้อมูลความรู้เรื่องโภชนาการอาหารนำความรู้ที่ได้ทั้งหมดไปบอกต่อกับคนในชุมชน
|
|
อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อการพัฒนาศักยภาพการเจริญเติบโตของเด็กด้วยโภชนาการ |
21 ธ.ค. 2567 |
21 ธ.ค. 2567 |
|
กำหนดการการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อการพัฒนาศักยภาพการเจริญเติบโตของเด็กด้วยโภชนาการกลุ่มเป้าหมายตัวแทนอสม. อำเภอมายอ,ปะนาเระ,สายบุรี,แม่ลาน
ก่อนเข้าอบรมผู้เข้าร่วมจะตอบคำถามผ่านคุณ google form
กิจกรรมพลังโภชนาการกับการเติบโตเต็มศักยภาพของเด็กการลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์
กิจกรรมพลังอสมกับการพัฒนาศักยภาพเด็ก
กิจกรรมสมุดสีชมพูมีคุณค่ามากกว่าที่คิด
กิจกรรมโภชนาการที่ดีอยู่ที่การจัดการอาหารที่ดี
กิจกรรมเทคนิคการเป็นนักสื่อสารข้อมูลด้านโภชนาการการเฝ้าระวังทางโภชนาการกับผู้ดูแลเด็กในชุมชน
|
|
โครงการ (พลังอสม.เพื่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กด้วยโภชนาการ)
วันที่21ธันวาคม 2567
กลุ่มเป้าหมายตัวแทนอสม.อำเภอมายอ,ปะนาเระ,สายบุรี,แม่ลาน
กิจกรรมแบ่งออกเป็นดังนี้
กิจกรรมที่ 1 พลังโภชนาการกับการเติบโตเต็มศักยภาพของเด็ก(การลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์)
บรรยายโดยอาจารย์ลักษณา หัวข้อเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของโภชนาการกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์
กิจกรรมที่ 2 พลังอสม.กับการพัฒนาศักยภาพเด็ก โดยอาจารย์ศรีลา
-รูปแบบกิจกรรมเกมบอลพูดได้สื่อรักจากใจ
กำหนดโจทย์ หากมีเด็กน้อยในพื้นที่ของเรามีภาวะขาดสารอาหารตัวเตี้ยผอมในฐานะที่เราเป็นอสมและสมาชิกในชุมชนเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยเด็กคนนี้ให้มีโอกาสเติบโตได้เต็มศักยภาพจากโจทย์ข้างต้นแบ่งเป็น10กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่1.แนะนำให้เด็กดื่มนมในปริมาณที่เหมาะสม,ให้ความรู้เรื่องโภชนาการเช่นเสริมไอโอดีนนมไข่แก่พ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก,แนะนำทานอาหารให้ครบ 5 หมู่,แนะนำให้มีการกินกอดเล่นเล่าในครอบครัว,จัดให้มีการประเมินชั่งน้ำหนักว่าส่วนสูง,จัดให้มีการซักถามการรับประทานอาหารทานอาหารประเภทไหนบ้าง,จัดให้มีการติดตามโภชนาการเด็ก,ประสานเจ้าหน้าที่รพ. สต.จัดอบรมผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี
กลุ่มที่2.หากพบเด็กขาดสารอาหารแนะนำอาหารหรือหากมีเด็กที่เรียนหนังสือให้ดื่มนมที่โรงเรียนให้เป็นประจำทาน,อาหารประเภทถั่วเช่นถั่วเขียวต้มน้ำเต้าหู้ปลาผักผลไม้,ส่งเสริมให้เด็กในอนาคตด้วยการแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ทานยาเม็ดเสริมไอโอดีนและธาตุเหล็กและทานธาตุเหล็กจนถึงอายุบุตร 6 เดือนเมื่อบุตรคลอดออกมาแล้วติดตามการให้วัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ติดตามการประเมินโภชนาการทุก 3 เดือน,ติดตามให้ประเมินพัฒนาการตามอายุที่กำหนดแนะนำการเคลือบฟลูออไรด์เมื่อฟันซี่แรกขึ้น,ติดตามการรับประทานยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในเด็กตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป,แนะนำเรื่องการไม่ส่งเสริมให้เด็กติดจอ,ไม่ขู่เด็กว่าหากทำตัวไม่ดีหมอจะฉีดยา,ส่งเสริมให้เล่านิทานเกี่ยวกับการสอนใจหรือศาสนา,จัดกิจกรรมกิน กอด เล่น เล่า นอนเฝ้าดูฟัน
กลุ่มที่3.ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเด็ก 0-5 ปีทุก 3 เดือนอย่างต่อเนื่อง,แนะนำเรื่องโภชนาการการกินอาหารให้กับผู้ดูแลเด็ก,ประเมินการเจริญเติบโตของเด็กในวัยเรียน,ส่งเสริมให้เด็กกินนมเป็นประจำ,ประเมินการเจริญเติบโตด้วยการจุดกราฟโภชนาการ,แนะนำการกินอาหารเสริมไอโอดีนเช่นปลาทะเลเกลือเสริมไอโอดีน,จัดโครงการส่งเสริมโภชนาการจากนมไข่กลุ่มเด็กเตี้ยผอมระยะเวลา 3 เดือน,ติดตามการทานยาเสริมธาตุเหล็กทุกครั้งที่ชั่งน้ำหนัก,อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องโภชนาการที่ดี
กลุ่มที่4.ส่งเสริมให้กินอาหารครบ 5 หมู่,แนะนำให้ออกกำลังกายให้กินนมทุกวัน,หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวานน้ำอัดลม,เน้นความสะอาดปรุงสุก,งดอาหารขยะเช่นขนมซองช็อกโกแลตลูกอมเฟรนฟรายลูกชิ้นไส้กรอก,เน้นกิจกรรมนอกบ้านจัดจำกัดเวลาในการใช้เทคโนโลยี,ส่งเสริมภาวะทางอารมณ์เกี่ยวกับการตัดสินใจ,ผู้ปกครองเป็นต้องเป็นตัวอย่างแบบอย่างที่ดี,ส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้,เล่นกับลูกสร้างความผูกพัน,ติดตามการเจริญเติบโตเด็กอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปตามเกณฑ์,ติดตามการฉีดวัคซีนให้ครบ
กลุ่มที่ 5.แนะนำผู้ดูแลเด็กเรื่องโภชนาการอาหาร,ติดตามการทานยาเสริมธาตุเหล็ก,แนะนำตรวจสุขภาพช่องปากของเด็ก,อบรมผู้ปกครองเรื่องกิจกรรมเสริมพัฒนาการของเด็กตามวัย,จัดเวลาให้กับเด็กมากขึ้นภายในครอบครัว,อสม.พบผู้ปกครองเป็นประจำ
กลุ่มที่ 6.แนะนำให้ผู้ดูแลเด็กเลือกอาหารที่มีประโยชน์,ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงปีละ 4 ครั้งในเด็กอายุ 0-5 ปี,แนะนำผู้ปกครองเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน,แนะนำการออกกำลังกายจัดการกับอารมณ์เด็ก,แนะนำให้แม่เด็กไปฉีดวัคซีน,แนะนำให้ฝากครรภ์ตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์,กระตุ้นพัฒนาการโดยการเล่นกับลูกเล่านิทานการกอด,ลดขนมขยะขนมน้ำอัดลมน้ำหวาน,ตรวจสุขภาพช่องปากตามกำหนด,อบรมให้ความรู้กับผู้ปกครองเรื่องพัฒนาการของเด็กตามวัย,ติดตามพัฒนาการของเด็ก,ให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีน
กลุ่มที่ 7.ชั่งน้ำหนักว่าส่วนสูงรอบศีรษะ,ประเมินพัฒนาการของเด็ก,สอบถามเรื่องอาหารการกินในแต่ละวัน,ประเมินกิจกรรมเด็กและการเคลื่อนไหวของเด็ก,แนะนำให้ฉีดวัคซีนตามช่วงอายุ,แนะนำผู้ปกครองให้เด็กกินผัก,ส่งเสริมการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่,ทำโครงการโภชนาการเด็กเช่นแจกไข่และนม,แจ้งผู้ปกครองกรณีเด็กน้ำหนักน้อยให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล,อบรมผู้ปกครองเกี่ยวกับโภชนาการเด็กและวัคซีนเด็ก
กลุ่มที่ 8.ชั่งน้ำหนักว่าส่วนสูงประเมินโภชนาการเทียบอายุกับน้ำหนักส่วนสูง,แนะนำให้กินไข่ปลา,สนับสนุนให้มีกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายอารมณ์สังคมสติปัญญา,แนะนำให้กินอาหารครบ 5 หมู่,ประเมินซ้ำให้อยู่ตามเกณฑ์,ส่งเสริมกิจกรรมการกินก่อนเล่นเล่า,เสริมไอโอดีนแนะนำกินอาหารทะเล,แนะนำเมนูอาหารกับผู้ปกครอง,แสดงกราฟและอธิบายภาวะโภชนาการเด็กให้กับผู้ปกครองทราบ
กลุ่มที่ 9.แนะนำให้กินอาหารให้ครบ 5 หมู่,แนะนำให้กินอาหารที่เสริมที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตออกกำลังกาย,แนะนำให้ผู้ปกครองนำเด็กมาฉีดวัคซีนให้ตามเวลาที่กำหนด,ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายจิตใจสังคม,หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง,หลีกเลี่ยงน้ำหวานน้ำอัดลมลดอาหารหวานมันเค็ม,กำหนดเวลาดูโทรศัพท์เด็กและผู้ปกครอง,หลีกเลี่ยงขนมขบเคี้ยว
กลุ่มที่ 10.ให้ความรู้ดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์,วัดส่วนสูงชั่งน้ำหนักวัดรอบศีรษะ,ให้ความรู้เรื่องการดื่มนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือน,ส่งเสริมให้ความรู้ด้านโภชนาการพัฒนาการตามวัยของเด็กเช่นกินก่อนเล่นเล่า,สอนวิธีการเพิ่มส่วนสูงผ่านการออกกำลังกายเช่นกระโดดเชือกดื่มนมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
กิจกรรมที่3.สมุดสีชมพูมีคุณค่ามากกว่าที่คิด -แนะนำการใช้สมุดสีชมพูโดยอาจารย์ลักษณาอาจารย์สีลาวิธีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงที่ถูกต้องการดูแลโภชนาการอาหารฝึกปฏิบัติในการวัดส่วนสูงทดลองให้อสมทุกคนทำการ plot graph
กิจกรรมที่4.โภชนาการดีอยู่ที่การจัดการอาหารที่ดีโดยอาจารย์ลักษณาอาจารย์สีลาฝึกปฏิบัติการจัดเมนูอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็กโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มที่ 1 วางแผนเมนูอาหาร 5 วันสำหรับเด็ก 6 เดือนถึง 1 ปีกลุ่มที่ 2 วางแผนอาหาร 5 วันสำหรับเด็ก 1-5 ปี
กลุ่มที่1.เมนูอาหารเด็ก6 เดือนถึง 1 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้ม-มื้อเที่ยงข้าวสวยบดไข่แดงสุกมะละกอสุก-มื้อเย็นแกงเลียงใส่ฟักทองแครอทบด
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวไข่แดงสุก-มื้อเที่ยงไข่ตุ๋นใส่ฟักทองใส่ผักใบเขียวกล้วยน้ำว้า -มื้อเย็นต้มจืดไก่สับใส่ตำลึง
วันที่ 3 มื้อเช้าฮีแกซีแงข้าวบด-มื้อเที่ยงกล้วยบดผัดไข่ใส่แครอทข้าวบด-มื้อเย็นไข่ตุ๋นใส่ผักตับ
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มปลา-มื้อเที่ยงต้มจืดไก่สับมะละกอ-มื้อเย็นต้มฟักทองบดข้าวต้ม
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มปลา-มื้อเที่ยงข้าวบดตับไก่ฟักทองตำลึงน้ำส้ม-มื้อเย็นข้าวบดใส่เครื่องในตับบดใส่ไข่
กลุ่มที่ 2 เมนูอาหารเด็ก 1 ปีถึง 5 ปี
วันที่ 1 ไข่แดงต้มปลาต้มแกงจืดไก่-มื้อเที่ยงข้าวผัดไข่ปลาทอด-มื้อเย็นแกงเลียงตำลึงข้าวสวยไข่ต้มมะละกอ
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวสวยไข่ต้มไข่เจียวปลาทอดนมข้าวกุ้งสับ-มื้อเที่ยงแกงจืดปลาบดตำลึงข้าวผัดมะระผัดไข่-มื้อเย็นนมขนมปังข้าวไข่เจียวข้าวผัดมะระใส่กุ้งผลไม้ตามฤดูกาล
วันที่ 3 มื้อเช้าแกงกะทิปลาไข่ดาวปลาทอดข้าวต้มข้าวยำก๋วยเตี๋ยวข้าวสวยมะละกอสุก-มื้อเที่ยงแกงจืดผักโขมปลาทอดกล้วยนม-มื้อเย็นข้าวสวยต้มหมึกผลไม้
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวยำสมุนไพรข้าวผัดข้าวสวย-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวไข่เจียวข้าวต้มฟักทองมื้อ-เย็นข้าวผัดกุ้งแกงจืดลูกชิ้นผลไม้ตามฤดูกาล
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มข้าวยำข้าวไข่เจียว-มื้อเที่ยงข้าวมันไก่ปลาทอดผลไม้ตามฤดูกาล-มื้อเย็นข้าวสวยแกงจืดวุ้นเส้นไข่ดาวนมผลไม้ตามฤดูกาล
กลุ่มที่ 3 เมนูอาหารเด็ก 6 เดือนถึง 1 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มบดละเอียดนมแม่-มื้อเที่ยงข้าวบดละเอียดผสมไข่ต้มผสมแครอทเนื้อบด-มื้อเย็นนมข้าวผัดผงนิ่มมะม่วงสุกต้มจืด
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวสวยหุงนิ่มบดหยาบ-มื้อเที่ยงข้าวต้มข้าวบดฟักทอง-มื้อเย็นข้าวหุงนิ่มผักต้มบดไข่แดงฟักทองบดผลไม้สุกชิ้นพอคำ
วันที่ 3 มื้อเช้านมกล้วย-มื้อเที่ยงข้าวบดไข่ตำลึงกล้วยน้ำว้า-มื้อเย็นข้าวสวยหุงนิ่มบดหยาบซุปข้าวโพดส้มแกงจืดข้าวผัด
วันที่ 4 มื้อเช้ากล้วยบดนมแม่-มื้อเที่ยงข้าวบดไข่แดงแกงจืดไก่บด-มื้อเย็นข้าวซอยหุงนิ่มใบตำลึงผักสุกกล้วยนมแม่
วันที่ 5 ผลไม้สุกบดละเอียดนมแม่-มื้อเที่ยงไก่ปลาต้มนมแม่ข้าวบดหยาบไข่เนื้อปลา-มื้อเย็นข้าวเนื้อสัตว์ไข่ต้มแกงจืดผักผลไม้นมแม่
กลุ่มที่ 4 เมนูอาหารเด็ก 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวไข่ดาวนมโจ๊กไก่ใส่ไข่นม-มื้อเที่ยงแกงจืดเต้าหู้ซุปผักไข่ไก่สับไข่ข้าวผัดกุ้ง-มื้อเย็นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กอัญชันปีกไก่ตุ๋นแกงจืดเต้าหู้
วันที่ 2 มื้อเช้านมข้าวต้มไก่ไข่ลวกนมสดขนมปัง-มื้อเที่ยงผัดหมี่ไข่ดาวนมผักผัดผักรวมกุ้งไก่หมึก-มื้อเย็นข้าวหมกไก่ทอดต้มซุปผัดผักรวมนมแกงจืดนม 1 กล่อง
วันที่ 3 มื้อเช้าไข่ตุ๋นนมข้าวต้มกุ้งกล้วยน้ำว้านมจืด-มื้อเที่ยงข้าวแกงจืดไข่ใบตำลึงมะละกอสุกยำไข่ดาวผลไม้เกี๊ยวกุ้ง-มื้อเย็นข้าวผัดกุ้งไข่ดาวปลาทูทอดผักลวกปลานึ่งข้าวโพดต้ม
วันที่ 4 มื้อเช้าโจ๊กไข่นมเกี๊ยวน้ำกล้วยน้ำว้าข้าวต้มกุ้งขนมปังไข่ดาว-มื้อเที่ยงข้าวปลาต้มส้มราดหน้ารวมมิตรทะเลส้มข้าวผัดทะเล-มื้อเย็นผัดผักรวมใส่ตับซุปไข่มักกะโรนีข้าวเหนียวไก่หยองนม
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มยำไข่เค็มผัดผักรวมปลากระพงทอดขมิ้นมะละกอนมจืดโรตี-มื้อเที่ยงผัดผักบุ้งน้ำส้มปั่นผัดซีอิ้วแกงจืดฟักอกไก่-มื้อเย็นข้าวปลาทูแกะผักต้มแกงจืดสับผักรวมมิตรมะละกอ
กลุ่มที่ 5 เมนูอาหารเด็ก 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มไข่ปลากุ้ง-มื้อเที่ยงเต้าหู้ทรงเครื่องข้าวผัดไข่ดาวผลไม้ปั่น-มื้อเย็นผัดฟักทองใส่ไข่แกงจืดยัดไส้เนื้อบดนมถั่วเหลือง
วันที่ 2 มื้อเช้าแกงจืดไข่ผักวุ้นเส้นนมจืดไข่ต้ม-มื้อเที่ยงข้าวผัดรวมมิตรส้มแตงโม-มื้อเย็นข้าวบดใส่แครอทข้าวไข่ต้มผักหั่นเล็กๆนม
วันที่ 3 มื่อเช้าเข้าบทใส่ปลาทูทอดหั่นผักเล็กๆไข่ต้มข้าวยำไข่ต้ม-มื้อเที่ยงแกงจืดไข่น้ำไก่สับห่อไข่แกงจืดตำลึงไข่ไก่ก๋วยเตี๋ยวน้ำกล้วยน้ำว้ามะละกอ-มื้อเย็นฟักทองนึ่งแครอทผัดไข่ข้าวแกงจืด
วันที่ 4 มื้อเต้าหู้ทรงเครื่องข้าวต้มไก่-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวผัดแกงจืดผักรวมกล้วยน้ำว้ามะละกอ-มื้อเย็นต้มจืดไข่ผักรวมข้าวผัดไข่ข้าวไข่ทอดมะม่วงสุกน้ำส้มคั้นเต้าหู้
วันที่ 5 มื้อเช้าไข่เจียวหมูสับขนมปังชุบไข่ตุ๋นทรงเครื่องฟักทองต้ม-มื้อเที่ยงแกงจืดหมูสับผักรวมกล้วยน้ำว้า-มื้อเย็นข้าวเหนียวไก่ทอดมะละกอสุกนม
กลุ่มที่ 6 เมนูอาหารเด็ก 6-12 เดือน
วันที่ 1 เด็ก 6 เดือน มื้อเช้านมแม่-มื้อเที่ยงข้าวบดละเอียดนมแม่-มื้อเย็นนมแม่
วันที่ 2 เด็ก 7 เดือน มื้อเช้านมแม่-มื้อเที่ยงข้าวบดละเอียดไข่ตับ-มื้อเย็นนมแม่
วันที่ 3 เด็ก 8 เดือน มื้อเช้าข้าวนมแม่-มื้อเที่ยงข้าวต้มไก่กล้วยน้ำว้าบด-มื้อเย็นนมแม่
วันที่ 4 เด็ก 9 เดือน มื้อเช้าข้าวบดนมแม่-มื้อเที่ยงฟักทองข้าวบดเนื้อปลาบดละเอียด-มื้อเย็นนมแม่
วันที่ 5 เด็ก 10-12 เดือน มื้อเช้าข้าวบดหยาบผักชิ้นเล็กๆ-มื้อเที่ยงนมแม่เข้าสวยนิ่มๆตับบดผลไม้สุกหั่นชิ้นพอคำ-มื้อเย็นข้าวต้มใส่ฟักนมแม่
กลุ่มที่ 7 เมนูอาหารเด็ก 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าซุปไก่นมจืด-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวผัดรวมมิตร-มื้อเย็นปลาทอดขมิ้นผลไม้มะละกอ
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวต้มกุ้งนมจืด-มื้อเที่ยงข้าวหมกไก่แพนเค้กกล้วย-มื้อเย็นก๋วยเตี๋ยวราดหน้าส้ม
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวยำไข่ต้ม-มื้อเที่ยงข้าวผัดรวมมิตรนมจืด-มื้อเย็นตับตับผัดกระเทียมโรตีไข่โรตีกล้วย
วันที่ 4 มื้อเช้าแกงกะทิปลา-มื้อเที่ยงข้าวมันไก่มะม่วง-มื้อเย็นผัดซีอิ้ว
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวสวยปลาต้มผัดผักรวม-มื้อเที่ยงแกงจืดไข่ขนมไข่นกกระทา-มื้อเย็นผัดซีอิ้วองุ่น
กลุ่มที่ 8 เมนูอาหารเด็ก 6-1 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าโจ๊กข้าวต้มบดไข่ผักรวม-มื้อเที่ยงส้มข้าวสวยนิ่มไข่ต้มส้มฟักทอง-มื้อเย็นข้าวสวยปลาทอดนมจืดเต้าหู้อ่อน
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวต้มไก่มะละกอ-มื้อเที่ยงกล้วยสุกบดข้าวสวยนิ่มๆแกงจืดไข่-มื้อเย็นขนมปังนมแกงจืดไก่บดวุ้นเส้นข้าวสวย
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวต้มปลานมส้ม-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวน้ำนม-มื้อเย็นข้าวผัดรวมกล้วย
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มตับไก่นมมื้อ-เที่ยงข้าวสวยแกงเลียงกุ้งไข่เจียว-มื้อเย็นขนมเค้กนมข้าวผัด
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มกุ้งส้ม-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวผัดนม-มื้อเย็นข้าวสวยไข่เจียวทรงเครื่องถั่วเขียวบด
กลุ่มที่ 9 เมนูอาหารเด็ก 6-1 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มสุขบทหยาบส้ม-มื้อเที่ยงข้าวต้มสุกบดหยาบใส่ไข่ตับไก่ใบตำลึงกล้วยน้ำว้า-มื้อเย็นผักสุกผลไม้มะละกอข้าวบดเนื้อไก่นมฟักทองกล้วย
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวต้มไข่แดงฟักทองบดกล้วยน้ำว้า-มื้อเที่ยงข้าวสวยบดตำลึงส้ม-มื้อเย็นข้าวบดละเอียดแครอทชิ้นเล็กๆไก่ต้มส้ม
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวต้มสุกตับบด-มื้อเที่ยงไข่แดงฟักทองข้าวสุก-มื้อเย็นไก่บดผักสุกข้าวสวย
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวไข่แดงตำลึงบดข้าวต้มสุกบดละเอียดผักต้มเปื่อย-มื้อเที่ยงมะละกอส้มข้าวบดละเอียดกับไก่นมแม่-มื้อเย็นข้าวต้มกับตำลึงข้าวบดหยาบฟักทองตำลึงแครอทมะละกอส้มนม
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มบดละเอียดไข่แดงกล้วย-มื้อเที่ยงข้าวต้มบดหยาบตำลึงส้ม-มื้อเย็นข้าวหุงนิ่มๆบดหยาบแกงจืดฟักทองตำลึงไข่ไก่สับมะละกอ
กลุ่มที่ 10 เมนูอาหารเด็ก 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มใส่เนื้อปลาไข่ผักตำลึง-มื้อเที่ยงข้าวสวยแกงจืดลูกชิ้นใส่ผักแอปเปิ้ลนม-มื้อเย็นแกงเลียงฟักทองใบตำลึงกุ้งสับ
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวยำข้าวสวยปลาบดข้าวต้ม-มื้อเที่ยงแกงจืดไก่ผัดสุกนมจืดกล้วยน้ำว้า-มื้อเย็นแกงจืดใส่ตับไก่
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวผัด-มื้อเที่ยงข้าวสวยแกงจืด-มื้อเย็นข้าวสวยไข่เจียวกุ้งสับผักแครอทผลไม้ชมพู่
วันที่ 4 มื้อเช้านมแอปเปิ้ล-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวน้ำ-มื้อเย็นข้าวสวยผัดฟักทองไข่มะละกอไข่ตุ๋น
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวผัด-มื้อเที่ยงผัดซีอิ้วกล้วยเชื่อม-มื้อเย็นข้าวผัดไข่ต้มด้วยน้ำว้า
กิจกรรมที่ 5. เทคนิคการเป็นนักสื่อสารข้อมูลด้านโภชนาการการเฝ้าระวังโภชนาการกับผู้ดูแลเด็กในชุมชนโดย วิทยากรจากวสส…………
กิจกรรมบรรยายหัวข้อ
เทคนิคการเป็นนักสื่อสารข้อมูลด้านโภชนาการการเฝ้าระวังทางโภชนาการกับผู้ดูแลเด็กในชุมชน
-เทคนิคการใช้คำถามและการฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อการค้นหาข้อมูลทางโภชนาการในเด็กการดูแลเด็ก
-เทคนิคการสะท้อนคิดเพื่อการเสริมสร้างกำลังใจและการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลเด็ก
กิจกรรมฝึกปฏิบัติการค้นหาข้อมูลสื่อสารโภชนาการให้กับผู้ดูแลเด็กให้คำแนะนำทางโภชนาการสร้างกำลังใจและเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลเด็ก โดยการแสดงบทบาทสมมุติจากวิทยากรประจำกลุ่มโดยมีโจทย์ดังนี้
โจทย์:ท่านเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ซึ่งได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการติดตามและจัดการแก้ปัญหาโภชนาการเด็ก 0-5 ปีในพื้นที่รับผิดชอบและจากการติดตามเฝ้าระวังผ่านการชั่งน้ำหนักและว่าส่วนสูงที่ผ่านมาพบว่ามี 1 ครอบครัวที่พบเด็กที่มีปัญหาทางโภชนาการและต้องการให้ท่านลงพื้นที่เพื่อดำเนินการค้นหาข้อมูลลักษณะของปัญหาและให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลเด็กซึ่งเป็นผู้สูงอายุโดยมีข้อมูลเบื้องต้นที่ท่านทราบและได้รับเพิ่มเติมจากรพ. สต.แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนที่เป็นอาสาสมัครไปคุยกับผู้ดูแลเด็กจำนวน 2 คนที่เหลือเป็นผู้สังเกตการณ์บันทึกวิธีการพูดคุยการถามตอบของตัวแทนกลุ่มเพื่อวิเคราะห์เทคนิคการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
(รอเพิ่มมเติมเนื้อหา
กิจกรรมที่ 6 กลับไปฉันตั้งใจจะทำให้เด็กน้อยเติบโตเต็มศักยภาพ
จากการมาอบรมในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมเขียนความตั้งใจที่จะนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อให้กับคนในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กให้เติบโตสมวัยดังนี้
-แนะนำให้ผู้ปกครองดูแลเรื่องการกินอาหารให้เด็กๆลูกๆหรือหลานๆให้กินอาหารให้เพียงพอของดีมีประโยชน์จะได้มีไอคิวที่ดีและร่างกายที่แข็งแรง
-แนะนำโภชนาการเด็ก 0-5 ปีให้กับผู้ปกครองที่มีรูปและหลานให้ได้รับโภชนาการที่ครบ 5 หมู่
-จะทำหน้าที่อสม. ที่ดีต่อประชาชนและนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการลงทุนที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
-แนะนำให้เด็กออกกำลังกายกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
-กลับไปประเมินเด็กในละแวกบ้านและแนะนำส่งเสริมโภชนาการอาหารที่ดีมีประโยชน์
-จะกลับไปพัฒนาตัวเองให้คนในพื้นที่ยอมรับและศึกษาหาความรู้ที่จะนำไปบอกต่อกับผู้ดูแลเด็กรวมถึงคนในชุมชน
-จะนำความรู้ที่ได้รับในการอบรมในครั้งนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเวลาลงพื้นที่จะพยายามฟังให้เยอะมากขึ้นและเก็บข้อมูลให้มากยิ่งขึ้น
-จะเยี่ยมบ้านและติดตามเด็ก 0-5 ปีเรื่องการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงให้ดีกว่าเดิมและแม่นยำมากยิ่งขึ้นเพื่อไม่ให้เด็กทานอาหารสารอาหาร
-จะกลับไปแนะนำผู้ปกครองในเรื่องสุขภาพและในเรื่องอาหารสำหรับเด็ก 0-5 ปี
-จะพัฒนาตัวเองในการเข้าหากลุ่มเป้าหมายทั้งเรื่องอารมณ์การตั้งใจฟังให้มากกว่าเดิม
-จะกลับไปทำหน้าที่อสมให้ที่ให้ดีที่สุดเพื่อที่จะดูแลคนในชุมชนให้มีสุขภาพดีกว่าเดิม
-แนะนำให้เด็กๆกินอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
-อยากกลับไปเยี่ยมบ้านคนในชุมชนและแนะนำเมนูอาหารง่ายๆแต่ครบ 5 หมู่ให้กับผู้ดูแลเด็ก
-จะปรับทัศนคติในการทำงานและเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากยิ่งขึ้นเพื่อฟังปัญหาได้มากยิ่งขึ้นจะได้แก้ปัญหาได้ตรงจุด
-ในฐานะอสม.หลังจากนี้จะตรวจสอบข้อมูลก่อนลงพื้นที่ทุกครั้ง
-จะศึกษาหาข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับเรื่องโภชนาการอาหารจะได้นำความรู้ที่ทันสมัยไปพูดคุยกับผู้ดูแลเด็กได้อย่างถูกต้องชัดเจนมากกว่าเดิม
|
|
อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อการพัฒนาศักยภาพการเจริญเติบโตของเด็กด้วยโภชนาการ |
24 ธ.ค. 2567 |
24 ธ.ค. 2567 |
|
การอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อการพัฒนาศักยภาพการเจริญเติบโตของเด็กด้วยโภชนาการกลุ่มเป้าหมายตัวแทนอสม. จากอำเภอยะหริ่ง,ยะรัง,ไม้แก่น,อำเภอเมือง
ก่อนเข้าอบรมผู้เข้าร่วมจะตอบคำถามผ่านคุณ google form
กิจกรรมพลังโภชนาการกับการเติบโตเต็มศักยภาพของเด็กการลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์
กิจกรรมพลังอสมกับการพัฒนาศักยภาพเด็ก
กิจกรรมสมุดสีชมพูมีคุณค่ามากกว่าที่คิด
กิจกรรมโภชนาการที่ดีอยู่ที่การจัดการอาหารที่ดี
กิจกรรมเทคนิคการเป็นนักสื่อสารข้อมูลด้านโภชนาการการเฝ้าระวังทางโภชนาการกับผู้ดูแลเด็กในชุมชน
|
|
โครงการ (พลังอสม.เพื่อการพัฒนาศักยภาพของเด็กด้วยโภชนาการ)
วันที่24ธันวาคม 2567
กลุ่มเป้าหมายตัวแทนอสม.อำเภอยะหริ่ง,ยะรัง,ไม้แก่น,อำเภอเมือง
กิจกรรมแบ่งออกเป็นดังนี้
กิจกรรมที่ 1 พลังโภชนาการกับการเติบโตเต็มศักยภาพของเด็ก(การลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์)
บรรยายโดยอาจารย์ลักษณา หัวข้อเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของโภชนาการกับการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์
กิจกรรมที่ 2 พลังอสม.กับการพัฒนาศักยภาพเด็ก โดยอาจารย์ศรีลา
-รูปแบบกิจกรรมเกมบอลพูดได้สื่อรักจากใจ
กำหนดโจทย์ หากมีเด็กน้อยในพื้นที่ของเรามีภาวะขาดสารอาหารตัวเตี้ยผอมในฐานะที่เราเป็นอสมและสมาชิกในชุมชนเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยเด็กคนนี้ให้มีโอกาสเติบโตได้เต็มศักยภาพจากโจทย์ข้างต้นแบ่งเป็น 10 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 สิ่งที่ทำไป แล้วตรวจพัฒนาการเด็ก,เก็บข้อมูลเด็กชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง,ให้ความรู้ด้านโภชนาการเช่นอาหารน้ำหนัก,พอร์ทกราฟน้ำหนักส่วนสูง,วัคซีนตามเกณฑ์,ติดตามพัฒนาการเด็กตรวจฟันและนำเรื่องฟันเด็ก
สิ่งที่จะทำในอนาคต สร้างความร่วมมือกับผู้ปกครองให้ความรู้กับผู้ดูแลเด็กเรื่องการดูแลเด็ก,ติดตามเด็กอย่างต่อเนื่องวัดไอคิวเด็ก,ให้ความรู้ด้านโภชนาการ,จัดกิจกรรมประเมินพัฒนาการตามวัยติดตามหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์
กลุ่มที่ 2 สิ่งที่ทำไปแล้ว ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงทุก 3 เดือน,ติดตามเด็กที่ไม่ได้ตามเกณฑ์,ติดตามเด็กที่ขาดสารอาหารทุก 3 เดือน,แนะนำผู้ปกครองปรุงอาหารให้เสริมเกลือแร่ไอโอดีน,แนะนำให้ดูแลเด็กแรกเกิดกินนมแม่อย่างเดียว,แนะนำอาหารที่มีประโยชน์ให้ผู้ปกครอง,ลงพื้นที่แจกนมแจกไข่ให้เด็กที่ขาดสารอาหาร,แนะนำผู้ปกครองให้เด็กกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
สิ่งที่จะทำในอนาคต ติดตามกลุ่มเด็กอายุ 0-1 ปีในการกินนมและอาหาร,ติดตามเด็กทุพโภชนาการเตี้ยผอมทุก 1 เดือน,ในกลุ่มเด็กที่มีน้ำหนักส่วนสูงเพิ่มจะมีการแจกรางวัล,จัดอบรมให้ความรู้โภชนาการเด็กปฐมวัยแก่ผู้ปกครอง,จัดเรียงตามสายในชุมชนเรื่องโภชนาการอาหาร,แนะนำให้เด็กกินยาธาตุเหล็กทุกสัปดาห์,ติดตามให้ผู้ปกครองพาเด็กมาคัดกรองพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มที่ 3 สิ่งที่ทำไปแล้ว มีการติดตามการตรวจพัฒนาการเด็กชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงตามเกณฑ์อายุเด็ก,มีการทำสื่อเกี่ยวกับการกระตุ้นพัฒนาการ,มีการมอบรางวัลการประกวดเด็กสุขภาพดี,มีโครงการเกี่ยวกับเด็กที่เตี้ยผอมเพื่อให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีมากขึ้น,มีการส่งเสริมด้านการโภชนาการอาหารมีการให้เด็กได้รับอาหารเสริมตามวัย,ติดตามเด็กให้ฉีดวัคซีนให้ครบส่งเสริมไอโอดีนให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับอาหารที่ดีมีประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกในอนาคต
สิ่งที่จะทำในอนาคต ส่งเสริมให้เด็กกินนมแม่อย่างเดียวครบ 6 เดือน,ส่งเสริมให้เด็กกินผลไม้และผักแทนการกินขนมขยะ,ส่งเสริมให้เด็กได้รับอาหารเสริมตามวัย,อยากให้มีหน่วยงานสนับสนุนงบประมาณให้อาหารเสริมแก่เด็กเช่นนมไข่,ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ฝากท้องทุกคน,อยากให้แม่ทำอาหารให้ลูกกินเองโดยมีเมนูอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ,มีการส่งเสริมให้ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว
กลุ่มที่ 4 สิ่งที่ทำไปแล้ว แนะนำโภชนาการเรื่องอาหารพูดคุยกับแม่เด็กติดตามชั่งน้ำหนักทุกๆ 3 เดือน,แนะนำโภชนาการเรื่องอาหารครบ 5 หมู่,แนะนำให้เด็กออกกำลังกาย,ติดตามฉีดวัคซีนเด็ก,แนะนำเสริมยาธาตุเหล็ก,แนะนำการฝากครรภ์,แนะนำการพัฒนาทางอารมณ์ของแม่ในระหว่างตั้งครรภ์,แนะนำให้เด็กกินนมแม่แรกเกิดถึง 6 เดือน, สิ่งที่จะทำในอนาคต สอนและลงมือทำคุยกับคนในบ้านในชุมชนติดตามวัดส่วนสูงน้ำหนักรอบหัวทุกๆเดือน,ติดตามวินัยการกินตามวัย,ติดตามกิจกรรมเด็กฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์,แนะนำการกินยาธาตุเหล็กผักเขียวตับ,แนะนำกินยาบำรุงเลือดในส่วนของหญิงตั้งครรภ์,สนับสนุนกิจกรรมกินก่อนเล่นเล่านอน,ตรวจสุขภาพฟันเด็ก
กลุ่มที่ 5 สิ่งที่ทำไปแล้ว ชั่งน้ำหนักว่าส่วนสูง,แนะนำให้แม่ไปฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์,แนะนำให้กินอาหารที่มีประโยชน์เช่นกินไข่สลัดผักเป็นต้น,ให้ข้อมูลเรื่องการดูแลสุขภาพฟันของลูกถ้าฟันเสียลูกไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ส่งผลในการกิน สิ่งที่จะทำในอนาคต
จัดกิจกรรมอบรมผู้ปกครองในการดูแลด้านโภชนาการ,เด็กติดตามพัฒนาการของเด็ก,แนะนำให้แม่ใช้สมุดบันทึกสุขภาพสีชมพู,ติดตามการฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์,ส่งเสริมธาตุเหล็กในเด็ก
กลุ่มที่ 6 สิ่งที่ทำไปแล้ว ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กและพัฒนาการเด็ก,แนะนำการฝากครรภ์,แนะนำการทานอาหารที่มีประโยชน์,ส่งเสริมการทานยาบำรุงในหญิงตั้งครรภ์,ส่งเสริมไอโอดีนธาตุเหล็ก,ติดตามภาวะซีดในเด็ก,ตรวจสุขภาพฟันในเด็ก, สิ่งที่จะทำในอนาคต แนะนำเตรียมความพร้อมในหญิงตั้งครรภ์,แนะนำให้แม่ส่งเสริมโภชนาการให้เด็ก,อบรมผู้สมรสด้านโภชนาการ,แนะนำทานอาหารทะเล
กลุ่มที่ 7 สิ่งที่ทำไปแล้ว ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง,แนะนำแม่ของเด็กด้านโภชนาการอาหารการกินของเด็ก,แนะนำการออกกำลังกายในขณะตั้งครรภ์,แนะนำหญิงตั้งครรภ์ฝากท้องก่อน 3 เดือน,ติดตามหญิงตั้งครรภ์รับประทานยาเม็ดเสริมไอโอดีนและธาตุเหล็ก,ติดตามการฉีดวัคซีนของเด็ก,แนะนำการให้นมแม่อย่างต่อเนื่อง,ติดตามพัฒนาการของเด็ก,ฝึกให้เด็กกินผักและอาหารสะอาดปลอดภัย,ตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กการเคลือบฟลูออไรด์,คัดกรองภาวะซีดของเด็ก สิ่งที่จะทำในอนาคต แจกนมและไข่สำหรับเด็กที่ขาดสารอาหารโดยประสานกับหน่วยงานอบตหรือผู้ใหญ่บ้าน,แนะนำหญิงตั้งครรภ์ควรกินอาหารที่มีประโยชน์,แนะนำเรื่องโภชนาการด้านอาหารสำหรับผู้ดูแลเด็ก,จัดกิจกรรมความสัมพันธ์สานสายใยแม่และลูก,จัดกิจกรรมดูแลสุขภาพฟันที่ดี
กลุ่มที่ 8 สิ่งที่ทำไปแล้ว ประเมินพัฒนาการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง,แนะนำฉีดวัคซีนตามเกณฑ์,ติดตามพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี,แนะนำเรื่องโภชนาการในเด็กครบอาหารครบ 5 หมู่,ดูแลสุขภาพช่องปากการเคลือบฟลูออไรด์,แนะนำด้านสุขลักษณะเช่นเล็บผมร่างกายความสะอาด,แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เมื่อรู้ว่าท้อง,แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่,แนะนำการรับยาเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์,เยี่ยมหลังคลอดวัดความดันให้ความรู้ด้านโภชนาการอาหารเด็ก,ชั่งน้ำหนักตรวจเลือดเด็ก, สิ่งที่จะทำในอนาคต อบรมให้ความรู้แม่หรือผู้ปกครองให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีตามเกณฑ์,ส่งเสริมให้เด็กดื่มนมเป็นประจำ,สนับสนุนการตั้งครรภ์ในหญิงวัยเจริญพันธุ์,แนะนำวางแผนครอบครัวก่อนมีบุตรให้ความรู้พ่อแม่ให้เห็นถึงความสำคัญในช่วงอายุเด็ก 0-5 ปีเพื่อกระตุ้นสมองจัดกิจกรรมในชุมชนเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว,อบรมวัยรุ่นให้มีบุตรเมื่อพร้อม,จัดกิจกรรมแม่ลูกกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ในชุมชน,ส่งเสริมกิจกรรมกอดลูก กินก่อนเล่นเล่า
กลุ่มที่ 9 สิ่งที่ทำไปแล้ว ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง,แนะนำให้เด็กรับวัคซีนตามเกณฑ์,ติดตามเด็กมาเจาะเลือดตรวจความซีด,ติดตามเด็กหลังคลอดแนะนำให้กินนมแม่ครบ 6 เดือน,ติดตามการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก,ติดตามการรับประทานอาหารตามวัย,จัดทำโครงการแจกนมไข่ให้เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ,หยอดวัคซีนโปลิโอแรกเกิดถึง 5 ปีในช่วงรณรงค์,ติดตามการตรวจพัฒนาการของเด็กตามกลุ่มเป้าหมาย,เฝ้าระวังสุขภาพช่องปากของเด็ก, สิ่งที่จะทำในอนาคต แนะนำกับผู้ปกครองให้เด็กกินอาหารครบ 5 หมู่,ให้ข้อมูลการจัดเวลาให้ลูกให้เหมาะสมเพื่อห่างไกลจากจอโทรศัพท์,อบรมผู้ปกครองเรื่องพัฒนาการโภชนาการของเด็กอย่างถูกวิธี,แนะนำผู้ปกครองให้เป็นแบบอย่างที่ดี,แนะนำในการกินยาเสริมธาตุเหล็กอย่างถูกวิธี,จัดทำโครงการแจกนมไข่อย่างต่อเนื่อง,ติดตามและประเมินผลทุกปัญหาอย่างต่อเนื่อง,จัดกิจกรรมการออกกำลังกายในวัยเด็ก,จัดกิจกรรมการประกวดเด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์
กลุ่มที่ 10 สิ่งที่ทำไปแล้ว ติดตามเด็กมาฉีดวัคซีนชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงวัดรอบศีรษะเด็กหยอดโปโล,ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับสารอาหารที่มีประโยชน์ 0-5 ปี,ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็ก 0-5 ปี,ให้ความรู้เกี่ยวกับการกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน,แนะนำการกินนมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยแรกเกิดถึง 2 ปี,แนะนำแก่แม่วัยรุ่นเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์, สิ่งที่จะทำในอนาคต ส่งเสริมติดตามให้เด็กฉีดวัคซีนให้ครบ,จัดอาสาสมัครให้มีการติดตามสมุดชมพูให้ต่อเนื่อง,ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์รู้ว่าเมื่อตั้งครรภ์ให้มาฝากครรภ์ที่รพ. สตทันที
กิจกรรมที่3.สมุดสีชมพูมีคุณค่ามากกว่าที่คิด -แนะนำการใช้สมุดสีชมพูโดยอาจารย์ลักษณาอาจารย์สีลาวิธีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงที่ถูกต้องการดูแลโภชนาการอาหารฝึกปฏิบัติในการวัดส่วนสูงทดลองให้อสมทุกคนทำการ plot graph
กิจกรรมที่4.โภชนาการดีอยู่ที่การจัดการอาหารที่ดีโดยอาจารย์ลักษณาอาจารย์สีลาฝึกปฏิบัติการจัดเมนูอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็กโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มที่ 1 วางแผนเมนูอาหาร 5 วันสำหรับเด็ก 6 เดือนถึง 1 ปีกลุ่มที่ 2 วางแผนอาหาร 5 วันสำหรับเด็ก 1-5 ปี
กลุ่มที่ 1 เมนูอาหารเด็ก 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มไก่ไข่ข้าวสวยนมกล้วยน้ำว้า-มื้อเที่ยงแกงจืดข้าวสวยตำลึงแครอทฟักทองมะละกอ-มื้อเย็นต้มข่าไก่ข้าวสวยข้าวสุก
วันที่ 2 มื้อเช้าผัดฟักทองใส่ไข่นมแตงโม-มื้อเที่ยงแกงจืดไข่ข้าวสวยเต้าหู้ส้ม-มื้อเย็นข้าวผัดไข่ข้าวโพดสุกนม
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวต้มกุ้งเต้าหู้สาหร่ายฟักทองนึ่ง-มื้อเที่ยงเนื้อสับข้าวสุกแครอทผักแอปเปิ้ล-มื้อเย็นข้าวสวยไข่ตุ๋นกล้วย
วันที่ 4 มื้อเช้าผัดผักปลาทอดข้าวสวย-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวมะม่วงสุก-มื้อเย็นข้าวผัดไข่ดาวนม
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวยำสมุนไพรไข่ต้มนม-มื้อเที่ยงกุ้งอบวุ้นเส้นชมพู่-มื้อเย็นขนมปังชุบไข่นมจืด
กลุ่มที่ 2 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 6-12 เดือน
วันที่ 1 เด็ก 6 เดือนมื้อเช้าข้าวต้มบดละเอียดไข่แดงสุก
เด็ก 7-8 เดือนมื้อเช้าเข้าบดปลานมแม่ข้าวต้มผสมเนื้อสัตว์ผักถั่ว
เด็ก 9-12 เดือนมื้อเช้าข้าวสวยบดผสมปลานึ่งฟักทองผลไม้มะละกอ
-มื้อเที่ยงเด็ก 9-12 เดือนข้าวสวยบดผลไม้สุกชิ้นพอคำ-มื้อเย็น 9-12 เดือนเข้าสวยบดหยาบผักสุก
วันที่ 2 เด็ก 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียวมื้อเที่ยงเย็นมีต้มผักเปื่อยเสริมและผลไม้สุกเช่นกล้วยเสริม
-มื้อเที่ยงเด็ก 7-12 เดือนข้าวต้มสุกบดหยาบไข่ต้มสุกฟักทอง-มื้อเย็นข้าวสวยบดหยาบผลไม้สุกชิ้นพอคำ
วันที่ 3 เด็ก 6 เดือนกินนมแม่เวลาหิวกล้วยบดละเอียด -มื้อเที่ยงเด็ก 7-12 เดือนเข้าบดผสมไข่ฟักทองตับไก่ผักใบเขียวผลไม้ตามฤดูกาล-มื้อเย็นข้าวสวยหุงนิ่มบดหยาบไก่สับ
วันที่ 4 เด็ก 6 เดือนกินนมแม่ข้าวต้มสุกบดละเอียด -มื้อเที่ยงเด็ก 7-12 เดือนข้าวสวยบดหยาบข้าวต้มปลาบดผลไม้ชิ้นพอคำ-มื้อเย็นข้าวสวยไก่สับผักสับผลไม้
วันที่ 5 เด็ก 6 เดือนข้าวต้มสุกไข่สุกบดตับไก่ผักต้มเปื่อยผลไม้สุกบด-มื้อเที่ยงเด็ก 7-12 เดือนฟักทองบดผสมไข่ใบตำลึงนมแม่ข้าวสวยบดเนื้ออกไก่-มื้อเย็นข้าวสวยบดไข่ต้มมะละกออกไก่
กลุ่มที่ 3 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้านมข้าวต้มไก่กล้วยหอมสุก-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวเนื้อผักแตงโม-มื้อเย็นข้าวแกงจืดเต้าหู้ไก่สับน้ำเต้าหู้
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวยำไข่ต้มนมจืด-มื้อเที่ยงแกงจืดผักกาดขาวไก่สับปลาทูทอดแอปเปิ้ล-มื้อเย็นเส้นใหญ่ผัดซีอิ้วใส่ไข่ไก่กุ้ง
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวต้มปลานมจืดผัดผักบุ้ง-มื้อเที่ยงข้าวสวยแกงเนื้อส้มผัดผักรวมมิตร-มื้อเย็นข้าวสวยแกงจืดกุ้งใส่ผักนมจืด
วันที่ 4 มื้อเช้านมจืดข้าวต้มกุ้งใส่เต้าหู้-มื้อเที่ยงข้าวมันไก่น้ำซุปกล้วย-มื้อเย็นข้าวไข่เจียวโหระพาผัดผักนมจืด
วันที่ 5 มื้อเช้านมจืดไข่พะโล้ใส่เต้าหู้-มื้อเที่ยงข้าวผัดทะเลใส่ผักกล้วย-มื้อเย็นข้าวไก่ทอดผัดผักใส่ไข่นมจืด
กลุ่มที่ 4 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวบดนมแม่-มื้อเที่ยงไข่ตุ๋นเต้าหู้ไข่-มื้อเย็นกล้วยน้ำว้าสุก
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวบดไข่แดงฟักทอง-มื้อเที่ยงฟักทองผัดไข่บด-มื้อเย็นมะละกอสุกบดละเอียด
วันที่ 3 มื้อข้าวบดบรอกโคลี่ไข่แดง-มื้อเที่ยงไข่น้ำ + ข้าว-มื้อเย็นมะม่วงสุกบดละเอียด
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวปลาต้มตำลึง-มื้อเที่ยงซุปมักกะโรนีไก่-มื้อเย็นแอปเปิ้ลบดละเอียด
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวตับแครอทผักหวาน-มื้อเที่ยงแกงจืดตำลึงไก่ใส่เต้าหู้ไข่-มื้อเย็นแก้วมังกร
กลุ่มที่ 5 เมนูสำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มตับไก่ไข่นม-มื้อเที่ยงสปาเก็ตตี้ผัดไข่มะละกอเส้นหมี่วุ้นเส้น-มื้อเย็นข้าวสวยผัดฟักทองใส่ไก่หนุ่มมะละกอนมจืด
วันที่ 2 มื้อเช้าไข่ตุ๋นทรงเครื่องแอปเปิ้ลนม-มื้อเที่ยงข้าวเปล่าปลาทอดผัดไข่ผัดฟักทอง-มื้อเย็นแกงจืดไก่สับไข่น้ำปลาย่างน้ำส้มคั้น
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวต้มปลากุ้งผักตับไข่ตุ๋นไข่ต้ม-มื้อเที่ยงผัดซีอิ้วไก่ไข่ผักมะละกอ-มื้อเย็นข้าวต้มปลาทูแครอทแตงกวากล้วยนมจืด
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มใส่กุ้งนมส้ม-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวผัดกุ้งไก่ไข่ผลไม้-มื้อเย็นก๋วยเตี๋ยวผัดใส่ไก่นมข้าวต้มปลาทู
วันที่ 5 เมื่อเช้าข้าวไก่ปลาทอดนมจืดมะละกอ-มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กปีกไก่ตุ๋นน้ำส้มคั้นมะม่วง-มื้อเย็นข้าวผัดกุ้งแอปเปิ้ลแตงกวานม
กลุ่มที่ 6 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าเข้าสวยไข่ต้มฟักทอง-มื้อเที่ยงข้าวต้มสุกบดละเอียดไข่แดงฟักทองใส่น้ำมันพืช-มื้อเย็นกล้วยน้ำว้าสุก
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวสวยบดหยาบไก่ต้มแครอทน้ำมันพืช-มื้อเที่ยงข้าวสวยบดหยาบปลาทูบดหยาบตำลึงน้ำมันพืช-มื้อเย็นข้าวบดไข่แดงผลไม้มะละกอ
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวสวยกุ้งบดผักกาดขาวน้ำมันพืช-มื้อเที่ยงข้าวสวยไข่ตุ๋นปลาทูฟักเขียวต้มน้ำมันกับหอมกระเทียมเจียว-มื้อเย็นข้าวผัดกุ้งแครอทข้าวโพดไข่ฝรั่งนิ่มๆ
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มไข่แดงฟักทอง-มื้อเที่ยงข้าวผัดแครอทตำลึง-มื้อเย็นข้าวต้มกล้วย
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวบดตับไก่ มื้อเที่ยงข้าวบดผัก มื้อเย็นข้าวต้มฟักทองบด
กลุ่มที่ 7 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มไก่สับไข่ผักนม มื้อเที่ยงข้าวสวยผัดผักกุ้งผลไม้ มื้อเย็นข้าวผัดกุ้งนม
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวต้มไก่นม มื้อเที่ยงข้าวแกงจืดฟักทอง มื้อเย็นข้าวผัดกุ้งแตงกวามะละกอ
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวต้มตำลึงปลานมส้ม มื้อเที่ยงข้าวสวยแกงจืดผักกาดขาวมะละกอนม มื้อเย็นข้าวสวยเนื้อสัตว์ต้มทอดผลไม้
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวต้มไก่ผักนมแอปเปิ้ล มื้อเที่ยงข้าวผัดผักไก่ มื้อเย็นข้าวหมกไก่แตงกวานม
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มกับฟักทอง มื้อเที่ยงข้าวสวยแกงจืดแอปเปิ้ล มื้อเย็นโรตีไข่นม
กลุ่มที่ 8 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 1-12 เดือน
วันที่ 1 มื้อเช้าไข่ต้มบด มื้อเที่ยงผลไม้สุพรรณพอดีคำ มื้อเย็นไข่แดงสุกตับไก่
วันที่ 2 มื้อเช้านมแม่ไข่ต้มบด มื้อเที่ยงแตงโมบดละเอียด มื้อเย็นข้าวฟักทองบดหยาบเนื้อปลา
วันที่ 3 มื้อเช้าข้าวกับไก่แครอทผักโขมบดหยาบ มื้อเที่ยงกล้วยน้ำว้าสุกบดละเอียด มื้อเย็นข้าวไข่แดงบล็อกโคลี่บดละเอียด
วันที่ 4 มื้อเช้าไข่ตุ๋นผักรวมข้าวบดหยาบ มื้อเที่ยงผลไม้สุกหั่นชิ้นพอคำ มื้อเย็นผลไม้สุกบดละเอียด
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มสุกบดละเอียดผักสุกผลไม้สุกบด มื้อเที่ยงอะโวคาโดข้าวบดหยาบ มื้อเย็นข้าวสวยไก่ตับบดบดหยาบผักสุกผลไม้สุก
กลุ่มที่ 9 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 1-5 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าข้าวต้มปลานมจืด มื้อเที่ยงข้าวผัดไก่กล้วย มื้อเย็นข้าวหมกไก่นม
วันที่ 2 มื้อเช้าขนมปังโฮลวีตแครอทด้วยน้ำว้าไข่นม มื้อเที่ยงข้าวผัดไก่บรอกโคลี่กล้วย มื้อเย็นข้าวสวยปลาทอดผัดฟักทองนึ่งแตงโม
วันที่ 3 มื้อเช้าโจ๊กไข่ลวกแครอทนึ่งนม มื้อเที่ยงก๋วยเตี๋ยวน้ำใสผักรวมส้ม มื้อเย็นข้าวสวยไข่ต้มผัดผักน้ำเต้าหู้
วันที่ 4 มื้อเช้าข้าวยำไข่ต้มผลไม้มะละกอนมโจ๊กไข่ลวกน้ำเต้าหู้ มื้อเที่ยงข้าวผัดไก่น้ำส้ม มื้อเย็นข้าวเหนียวไก่ทอดต้ม
วันที่ 5 มื้อเช้าข้าวต้มไก่สับนมจืด มื้อเที่ยงข้าวหมกไก่ทอดมะม่วง มื้อเย็นข้าวแกงจืดกล้วยสุกนม
กลุ่มที่ 10 เมนูอาหารสำหรับเด็กอายุ 6-1 ปี
วันที่ 1 มื้อเช้าไข่แดงสุกครึ่งฟองข้าวสวยหุงนิ่มบดหยาบ มื้อเที่ยงข้าวบดตับไก่ผักหวานกล้วยบดมะละกอบด มื้อเย็นโจ๊กปลาน้ำมันครึ่งช้อนชาคลุกผสมอาหาร
วันที่ 2 มื้อเช้าข้าวต้มสุกบดละเอียด มื้อเที่ยงข้าวบดปลาทูฟักทองแซลมอนย่างบล็อกโคลี่ใส่น้ำมันรำข้าวข้าวผัด มื้อเย็นข้าวผักต้มเปลือยข้าวไก่ต้มใส่ผักใส่ไข่ฟักทอง
วันที่ 3 มื้อเช้าไข่แดงมื้อ เที่ยงข้าวสวยบดหยาบข้าวผัดปลาแซลมอนหยอดน้ำมันมะกอก มื้อเย็นข้าวไข่ขยี้กุ้งตับไก่บรอกโคลี่ฟักทอง
วันที่ 4 ผลไม้รวมบด มื้อเที่ยงผักต้มเปื่อยข้าวต้มสุกไข่เจียวข้าวโพดทอดกรอบ มื้อเย็นข้าวสวยบดใส่ตับผักผลไม้สุกบดหยาบ
วันที่ 5 ผลไม้สุกกล้วยบด มื้อเที่ยงซุปไข่ปูอัดไข่แดงฟักทองก้วยปั่น มื้อเย็นข้าวต้มสุกบดหยาบปลาบดผักบดผลไม้สุกบดหยาบ
กิจกรรมที่ 5. เทคนิคการเป็นนักสื่อสารข้อมูลด้านโภชนาการการเฝ้าระวังโภชนาการกับผู้ดูแลเด็กในชุมชนโดย วิทยากรจากวสส…………
กิจกรรมบรรยายหัวข้อ
เทคนิคการเป็นนักสื่อสารข้อมูลด้านโภชนาการการเฝ้าระวังทางโภชนาการกับผู้ดูแลเด็กในชุมชน
-เทคนิคการใช้คำถามและการฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อการค้นหาข้อมูลทางโภชนาการในเด็กการดูแลเด็ก
-เทคนิคการสะท้อนคิดเพื่อการเสริมสร้างกำลังใจและการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลเด็ก
กิจกรรมฝึกปฏิบัติการค้นหาข้อมูลสื่อสารโภชนาการให้กับผู้ดูแลเด็กให้คำแนะนำทางโภชนาการสร้างกำลังใจและเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลเด็ก โดยการแสดงบทบาทสมมุติจากวิทยากรประจำกลุ่มโดยมีโจทย์ดังนี้
โจทย์:ท่านเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ซึ่งได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการติดตามและจัดการแก้ปัญหาโภชนาการเด็ก 0-5 ปีในพื้นที่รับผิดชอบและจากการติดตามเฝ้าระวังผ่านการชั่งน้ำหนักและว่าส่วนสูงที่ผ่านมาพบว่ามี 1 ครอบครัวที่พบเด็กที่มีปัญหาทางโภชนาการและต้องการให้ท่านลงพื้นที่เพื่อดำเนินการค้นหาข้อมูลลักษณะของปัญหาและให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลเด็กซึ่งเป็นผู้สูงอายุโดยมีข้อมูลเบื้องต้นที่ท่านทราบและได้รับเพิ่มเติมจากรพ. สต.แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนที่เป็นอาสาสมัครไปคุยกับผู้ดูแลเด็กจำนวน 2 คนที่เหลือเป็นผู้สังเกตการณ์บันทึกวิธีการพูดคุยการถามตอบของตัวแทนกลุ่มเพื่อวิเคราะห์เทคนิคการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย
บทบาทของการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข
1. การส่งเสริมสุขภาพ: สร้างความตระหนักด้านสุขภาพให้กับชุมชน
2. การป้องกันโรค: สนับสนุนการป้องกันโรคติดต่อและไม่ติดต่อ
3. การดูแลผู้ป่วย: สนับสนุนการดูแลผู้ป่วยในชุมชน
4. การรวบรวมข้อมูลสุขภาพ: รวบรวมข้อมูลสุขภาพของชุมชนเพื่อนำไปวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงาน
5. การเป็นตัวแทนของชุมชน: เป็นตัวแทนของชุมชนในการสื่อสารกับหน่วยงานสาธารณสุข เช่น รพสต.
สมรรถนะของ อสม. ในการลงพื้นที่
การประชุมครั้งนี้เป็นการฝึกปฏิบัติการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านของทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อยเพื่อสังเกตและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสื่อสารกับชาวบ้าน การรวบรวมข้อมูล และการจัดการปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะปัญหาด้านโภชนาการของเด็ก
ประเด็นสำคัญ
ทักษะการสื่อสาร
1. การฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening): การรับฟังผู้อื่นอย่างเต็มที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อเข้าใจความรู้สึก ความคิด และข้อความที่ผู้พูดต้องการสื่อสารออกมาเพื่อให้เข้าใจบริบทและความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่การได้ยินเสียง แต่เป็นการมีส่วนร่วมในการสนทนาอย่างจริงจัง
2. การพูดที่ชัดเจนและตรงประเด็น: ใช้คำพูดที่เหมาะสม การพูดด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ และการจัดลำดับคำพูดให้เป็นขั้นเป็นตอน และการให้ความสำคัญในสัดส่วนของวัตถุประสงค์ของการสนทนาและวัตถุประสงค์ของการมาเยี่ยมชุมชน
3. ภาษาที่เหมาะสม: การเลือกใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเหมาะสมกับผู้ฟัง
4. การสะท้อนพฤติกรรมผู้พูด: สามารถสร้างความเชื่อมโยงทำให้ผู้พูดรู้สึกว่าได้รับการฟังและเข้าใจ ช่วยลดความเข้าใจผิดและความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น
5. การจับประเด็น: ผู้ฟังไม่ควรตั้งคำถามทันที อาจทำให้ผู้พูดที่ยังต้องการสื่อสารอยู่ไม่สามารถสื่อสารได้ครบถ้วน ทำให้ผู้ฟังได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนเช่นกัน ควรให้ความสนใจกับสิ่งที่กำลังฟังอยู่ โฟกัสไปที่ใจความสำคัญ หลีกเลี่ยงการคิดเรื่องอื่น หรือประเด็นระหว่างสนทนา
6. ภาษากาย: การใช้ท่าทางและสีหน้าที่สื่อถึงความมั่นใจและเปิดใจ
7. การเขียน: การสื่อสารผ่านข้อความหรือรายงาน ต้องมีความชัดเจน ตรงประเด็น และถูกต้องตามหลักภาษา
วิธีการสื่อสารในบทบาทของ อสม. และการพัฒนาทักษะการสื่อสาร
1. การทักทาย แนะนำตัว และขออนุญาตเข้าบ้าน
2. การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้พูด (ชาวบ้าน) เล่ารายละเอียดและไม่ควรตั้งคำถามในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเล่ารายละเอียดของผู้พูด
3. การฟังอย่างตั้งใจ เพื่อจับประเด็นและความรู้สึกของผู้พูด
4. ฝึกฝนการฟัง: พยายามฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจและไม่ขัดจังหวะ
5. ฝึกฝนการพูด: พูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และกล้าแสดงความคิดเห็น
6. เข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมการสื่อสาร: เช่น การสัมมนา การอบรม หรือการทำกิจกรรมกลุ่ม
การรวบรวมข้อมูล
1. ไม่ควรสรุปข้อมูลจากการเดาหรือใช้ประสบการณ์ตนเองเป็นตัวตั้ง
2. พยายามหาข้อมูลให้ครบถ้วนจากการซักถามและสังเกต
3. ระมัดระวังการหลงประเด็นจากสิ่งรบกวนหรือการเปลี่ยนเรื่อง หรือประเด็น
การจัดการปัญหา
1. ไม่ควรบังคับหรือสั่งให้ชาวบ้านปฏิบัติตาม แต่ร่วมหาทางออกด้วยกัน
2. ชี้ให้เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลง
3. สร้างเป้าหมายร่วมกันระหว่าง อสม. กับชาวบ้านในชุมชน
กิจกรรมที่ 6 กลับไปฉันตั้งใจจะทำให้เด็กน้อยเติบโตเต็มศักยภาพ
จากการมาอบรมในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมอบรมเขียนความตั้งใจที่จะนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อให้กับคนในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กให้เติบโตสมวัยดังนี้
-ในฐานะอสมกลับไปจะพัฒนาเด็กในหมู่บ้านและลูกๆให้เติบโตอย่างมีศักยภาพที่ดีเยี่ยม
-ตั้งเป้าว่าเด็กจะต้องมีสุขภาพแข็งแรงกินอาหารให้ครบ 5
-รณรงค์ให้เด็กงดรับประทานขนมซองที่มีโซเดียม
-จะกลับไปปรับปรุงพัฒนาโภชนาการของลูกตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อเป็นตัวอย่างให้เด็กๆในชุมชน
-แนะนำพ่อแม่ในการดูแลโภชนาการของลูกติดตามวัดส่วนสูงชั่งน้ำหนักเด็กว่าอยู่ในตามเกณฑ์หรือไม่เพื่อแก้ไขต่อไป
-จะหาเวลาอยู่กับลูกให้มากขึ้นและจะพยายามคุยอ่านหนังสือให้ลูกฟังพาลูกดูสถานที่ต่างๆและกินอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาให้เวลากับลูกให้มากที่สุด
-ส่งเสริมพัฒนาการในเรื่องโภชนาการอาหารของเด็กในชุมชนและใส่ใจเรื่องการเล่นของลูกให้มาก
-ในฐานะอสมจะเป็นแรงกระตุ้นส่งเสริมโภชนาการที่ดีให้เด็กในชุมชน
-จะกลับไปดูแลเด็กๆในชุมชนให้มากกว่าเดิม
-การนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาศักยภาพของเด็กในตำบลของตัวเองจะไม่ให้มีเด็กไม่สมส่วนภายในชุมชน
-จะส่งเสริมให้เด็กในชุมชนดื่มนมทุกวัน
-จะเน้นย้ำให้คำแนะนำกับผู้ปกครองที่มีลูกและกำลังวางแผนที่จะมีลูกในอนาคตด้วยการเตรียมตัวในด้านความพร้อมของร่างกายที่ดีโภชนาการที่ดี
-กลับไปจะทำกับข้าวให้ลูกทานของที่มีประโยชน์เพื่อได้มีพัฒนาการที่ดีและสุขภาพที่ดีและการนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ได้มากที่สุดกับคนในชุมชน
-จะติดตามพัฒนาการด้านโภชนาการอาหารของเด็กในพื้นที่เพื่อให้สมส่วนตามอายุและวัยของเด็ก
-จะพัฒนาลูกของตนเองโดยการเล่นกอดเหล้านอนพร้อมเตรียมอาหารมื้อเย็นให้ลูกอย่างมีประโยชน์
|
|