สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1. ขับเคลื่อนและยกระดับโมเดลการเชื่อมโยง และกระจายผลผลิตอาหารเพื่อสุข ภาวะ ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสงขลา เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยให้กับ ประชาชนโดยกลไกตลาดเขียวในโรงงานอุตสาหกรรม 1 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

1.1 ประชุมร่วมกับเทศบาล ต.ปริก โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตเทศบาล โรงงานอุตสาหกรรมในเขตอำเภอสะเดา (ที่มีในระบบ โรงงานเซฟสกินกับถาวรอุตสาหกรรมยางพารา) โรงพยาบาลสะเดา โรงพยาบาลปาดังเบซาร์ และเกษตรกรในอำเภอสะเดา เพื่อประเมินแนวทางการการพัฒนาตลาดเขียวในโ 1 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

2.1 ประสานกับวิทยุมอ.88 หาดใหญ่ มอ.ปัตตานี เอามาออกแบบการพัฒนาประเด็นสื่อสาร ข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรกรรมยั่งยืน ตลาดสีเขียวในชุมชน อาหารปลอดภัย นโยบายแก้ปัญหาด้านโภชนาการ เช่นเด็กเตี้ย เด็กผอม 1 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

2. กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย 1 ธ.ค. 2566

 

 

 

 

 

3. การติดตามประเมินผลภายนอก 1 ธ.ค. 2566

 

 

 

 

 

1.2 ทีมนักวิชาการ (เทศบาลปริก กับ สนง.เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน) โรงงงานอุตสาหกรรม ประเมินพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจัดตั้งตลาดเขียว 1 ธ.ค. 2566

 

 

 

 

 

3.1 ติดตามประเมินผลภายในโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับผิดชอบโครงการรวมทั้งช่วยประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่นค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์ 1 ธ.ค. 2566

 

 

 

 

 

1.3 ปฏิบัติการทำตลาดเขียวกับโรงงานอุตสาหกรรม มีกิจกรรมการซื้อขายในตลาดและระบบการซื้อขายกับศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ตลาด กิจกรรมการสร้างความรอบรู้เรื่องอาหารปลอดภัยให้กับผู้ประกอบการ ผู้ผลิตอาหาร(เกษตรกร) และผู้บริโภค 1 ม.ค. 2567

 

 

 

 

 

1.4 นักวิชาการถอดบทเรียนตลาดเขียวในโรงงาน เพื่อทำ model ตลาดอาหารปลอดภัย ในรูปแบบตลาดโรงงานอุตสาหกรรม 1 ม.ค. 2567

 

 

 

 

 

ประชุมระดมความคิดเห็นจัดทำแผนพัฒนาตลาดนัดอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม 9 ม.ค. 2567 9 ม.ค. 2567

 

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี ได้รับฟังข้อคิดเห็น จากกลุ่มผู้บริหารเทศบาลตำบลปริก ประกอบด้วย รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล บุคลากร คณะกรรมการชุมชนและผู้จัดการโรงงานเซฟสกิน เกี่ยวกับเรื่องการนำผลผลิตการเกษตรไปขายในโรงงานเซฟสกิน ได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับจุดรวมรวมผลผลิต จำนวนผู้บริโภคในโรงงาน ผลผลิตที่นำเข้าไปขาย บรรจุภัณฑ์ การวางขายในโรงงาน รายได้จากการขายสินค้า รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆจากการนำผลผลิตไปขายในโรงงงาน

 

มีแนวทางในการพัฒนาตลาดในโรงงาน ดังนี้ 1) การพัฒนาจุดรวบรวมผลผลิตการเกษตรของชุมชน 2) การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรกลุ่มเดิม 15 ราย ให้เพิ่มการผลผลิตอาหาร
3) พัฒนาศักยภาพกลุ่มปลูกผักยกแคร่เดิม 4-5 ราย
4) ขยายกลุ่มเกษตรกร 5) พัฒนามาตรฐานอาหาร ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 6) การพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลสินค้า การทำแผนตลาด การทำปฏิทินการผลิต 7) การทำตลาดล่วงหน้า หรือตลาดออนไลน์ และจุดรับสินค้า

 

การลงพื้นที่ ดูแหล่งรวบรวมผลผลิตและตลาดเขียวในโรงงานเซฟสกิน 15 ม.ค. 2567 15 ม.ค. 2567

 

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี และอาจารย์ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี ได้ลงพื้นที่ดูแหล่งรวบรวมผลผลิต แปลงของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างและจุดวางขายสินค้าในโรงงาน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปัญหาของการทำตลาดในโรงงานอุตสาหกรรม

 

  1. จุดรับสินค้า
    ข้อค้นพบจากการไปดูตลาด แนวทางการพัฒนา 1.1. ใบส่งสินค้ามีหลายแบบการตรวจทานค่อนข้างยาก

- พัฒนาระบบใบส่งสินค้าให้มีรูปแบบเดียวกันโดยทำเป็นสมุดบันทึก 2 ชุด มีการเขียนชื่อผู้รับและผู้ส่ง แล้วเก็บไว้ฝ่ายละชุด 1.2 การวางสินค้ามีการวางปะปนกัน วางบนพื้นถนน
- จัดจุดวางสินค้าให้สูงจากพื้น เช่น บนแคร่หรือโต๊ะ - แยกประเภทสินค้าออกเป็นหมวด เช่น ผักพื้นบ้าน ผักยอดนิยม ผลไม้ ขนม อาหาร
-พัฒนากล่องสินค้าให้พร้อมขนส่งที่วางท้ายรถกระบะให้ทับซ้อนกันได้โดยไม่หักช้ำ และเมื่อถึงยกตั้งวางขายที่ตลาดโรงงานให้ได้อย่างรวดเร็วตามหมวดหมู่ 1.3 การขนส่งมีการซ้อนสินค้าระหว่างการขนส่ง ไม่มีที่คลุมสินค้าระหว่างขนส่งทำให้ของตกหลนตามทาง สบัดพริ้วทำให้ช้ำเหี่ยวเฉาไว
- เมื่อจัดวางกล่องสินค้าลงท้ายรถกระหมดแล้วให้ใช้สแลนคลุมสินค้าระหว่างการขนส่ง โดยจัดผูกสแลนที่ไว้กับขอบกระบะให้เรียบร้อย ซึ่งจะช่วยลดการช้ำของผักจากแรงลมที่ทำให้เกิดการสบัดได้ 2. ตลาดในโรงงาน ข้อค้นพบจากการไปดูตลาด แนวทางการพัฒนา 2.1 จุดวางสินค้าที่คละกัน
- ตั้งวางโดยแยกประเภทสินค้าให้ได้โดยไวเมื่อมาถึง - สินค้าแสดงราคาให้ชัดเจน โดยให้ติดราคาที่ตำแหน่งเหมือนกัน - แบ่งจุดชำระเงิน เพิ่ม 2 จุด จ่ายเงินสด และจ่ายผ่านอแปฯ 2.2 สินค้าบางอย่างไม่ได้ระบุราคา ตอนขายต้องหาบิลราคาทำให้เกิดความสับสนล่าช้า และคอยดูแลบริการลูกค้าได้ไม่ประทับใจ
- ระบุราคาสินค้าติดไว้ให้ชัดเจนที่ตำแหน่งเดียวกัน 3. กลุ่มเกษตรกร ข้อค้นพบจากการไปดูแปลงของเกษตรกร แนวทางการพัฒนา 3.1 กลุ่มเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบ เพื่อการสร้างคุณค่าผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต เช่น เรื่องเล่ากระบวนการผลิต การใช้วัสดุเหลือทิ้งทางครัวเรือนและการเกษตรมาเป็นปุ๋ย การกินอาหารให้เป็นยา การสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นต้น
- ทำพื้นที่และระบบการเพาะปลูกให้ได้มาตรฐานสากล เช่น สดาด เป็นกลุ่มหมวดหมู่ วัสดุปลูดและแสงเหมาะสมตามชนิดพืช ให้ปุ๋ยและน้ำตามความต้องการของพืช - จัดทำปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของตนเอง ที่สอดคล้องกับชนิดพืชซึ่งต้องการปลูก โดยดูสภาพพื้นที่เป็นหลัก เพาระจะช่วยลดรายจ่ายได้แนวทางหนึ่ง 3.2 สังเกตุพบมีโรคแมลงทุกรายที่ไปเยี่ยมชม เนื่องจากเพราะขาดความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยปลูกที่ไม่ดีพอหรือเหมาะสม สภาพพื้นที่บางแห่งแสงไม่เพียงพอ
- การจัดการวัสดุปลูกให้เหมาะสมตามชนิดพืช
- วัสดุปลูกเก่าต้องเอามาทำการฟื้นฟูสภาพดินใหม่ โดยนำมาทำการย่อน พักตากแดดกำจัดโรคแมลง แล้วเพิ่มปุ๋ยณาตุอาหารเพื่อนำไปเป็นวัสดุปลูกใหม่ - การจัดการปรับปรุงดิน และการทำปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก - การปรับแต่งสภาพพื้นที่ให้มีแสงส่องถึงพอเพียงตามความต้องการของชนิดพืช

 

ประชุมวางแผนการพัฒนาตลาดในโรงงานอุตหกรรม 19 ม.ค. 2567 19 ม.ค. 2567

 

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี  ได้สรุปแนวทางการพัฒนาตลาดในโรงงานเซฟสกิน ให้กับทางประธานกลุ่ม สมาชิกและ ผู้จัดการโรงงานได้นำไปปรับแก่ไข โดยมีละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาจุดรับสินค้าก่อนจะส่งมาขายในโรงงาน การพัฒนาตลาดในโรงงาน และการพัฒนากลุ่มเกษตรกรที่ยังขาดความรู้และความเข้าใจในระบบ

 

  1. จุดรับสินค้า
      1.1 พัฒนาระบบใบส่งสินค้าให้มีรูปแบบเดียวกันโดยทำเป็นสมุดบันทึก 2 ชุด มีการเขียนชื่อผู้รับและผู้ส่ง แล้วเก็บไว้ฝ่ายละชุด
      1.2 การวางสินค้า
        - ปรับพื้นที่บริเวณจุดรับสินค้า ให้ถูกสุขลักษณะ โดยมีเต๊น โต๊ะ เพื่อวางสินค้า ผลผลิตอาหาร     - ประชุมสมาชิกส่งสินค้า เพื่อให้สมาชิกแยกหมวดอาหาร เช่น ผักพื้นบ้าน ผักยอดนิยม ผลไม้ ขนม
          อาหารปรุงสุกพร้อมทาน ใส่ในกระตร้าแยกประเภท เพื่อเตรียมขนส่ง     - กล่องบรรจุสินค้า เพื่อแยกประเภทอาหารที่จำหน่าย   1.3 การขนส่ง     - สแลนกันลม
  2. ตลาดในโรงงาน   2.1 จุดวางสินค้าที่คละกัน     - ป้ายแสดงราคาสินค้า     - จัดโซนประเภทอาหาร   2.2 การจำหน่ายผลผลิตให้กับร้านอาหารในโรงงาน
        - การทำตลาดล่วงหน้า ตลาดออนไลน์กับผู้จำหน่ายอาหารในโรงงาน
  3. กลุ่มเกษตรกร   3.1 กลุ่มเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบ และพบโรคแมลงทุกราย     - สนับสนุนการทำเกษตรอัจริยะ จำนวน 20 ราย     - พัฒนาระบบการให้คำปรึกษาของทีมนักวิชาการ เรื่องเกษตรผ่านระบบไลน์กลุ่มสมาชิก
        - จัดทำปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของตนเอง ที่สอดคล้องกับชนิดพืชซึ่ง
          ต้องการปลูก โดยดูสภาพพื้นที่เป็นหลัก
        - การอบรมให้ความรู้ด้านการเกษตร ตามเนื้อหาที่สมาชิกต้องการ

 

2.2 จัดเวทีนโยบายในพื้นที่(คลายๆ Thai pbs) 1 มี.ค. 2567

 

 

 

 

 

ประชุมคณะกรรมการชุมชนเทศบาลตำบลปริก ประจำเดือนธันวาคม 2566 ครั้งที่ 2/2567 26 ธ.ค. 2566 26 ธ.ค. 2566

 

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี ได้นำเสนอโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ให้กับผู้บริหารเทศบาลตำบลปริก ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล บุคลากรและคณะกรรมการชุมชน เพื่อสร้างความร่วมมือการทำงานขับเคลื่อนและยกระดับโมเดล (good practice) ในการกระจาย เชื่อมโยงผลผลิตอาหารเพื่อสุขภาวะให้กับประชาชนในชุมชน ผ่านกลไกต่างๆ ไปสู่การขยายผล (Model for Scaling up) โดยเลือกพื้นที่การทำตลาดในเขตพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม โดยเบื้องต้นจากการหารือกับนายกเทศมนตรีตำบลปริก ทางเทศบาลมีการดำเนินงานเรื่องนี้กับโรงงานเซฟสกิน แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งในขณะนี้เทศบาลตำบลปริกได้มีนโยบายให้คนในชุมชนรวมกลุ่มโดยใช้ชื่อว่า กลุ่มคนปริกมีกินมีใช้ ซึ่งจะพยายามขยายให้เกิดความครอบคลุมทุกชุมชน ให้เกิดรูปแบบชุมชนที่มีการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร

 

ทางเทศบาลมีข้อเสนอให้เรื่องการทำตลาดในโรงงานอุตสาหกรรมเชื่อมกับงานวิจัยด้านโภชนาการที่ทาง อ.กุลทัต หงส์ชยางกูร ได้ศึกษาไว้ โดยให้กองสวัสดิการสังคม และกองการศึกษาเป็นหน่วยงานประสานการทำงานกับสถาบันนโยบายสาธารณะ

 

ประชุมปฏิบัติการเชิงออกแบบจุดรวบรวมผลผลิตอาหารชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเทศบาลตำบลปริก 10 มิ.ย. 2567 10 มิ.ย. 2567

 

กระบวนการการออกแบบจุดรวมผักตลาดเซฟสีเขียวอย่างมีส่วนร่วมภายใต้การขับเคลื่อนและยกระดับโมเดลการเชื่อมโยงและการกระจายผลผลิตอาหารเพื่อสุขภาพในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสงขลาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยให้กับประชาชน ขั้นตอนการดำเนิดงาน 10มิ.ย.2567 -ทีมCROSS พร้อมทีมสนส.ลงสำรวจพื้นที่ -รวมพูดคุยกับเจ้าของสถานที่รูปแบบกิจกรรม เสนอภาพรวม วางพื้นที่ใช้สอย -จัดกระบวนการวางผัง(Zoning)รวมกับผู้เข้าร่วมประชุม -แบ่งกลุ่ม word cafe 4 กลุ่ม ดังนี้ 1.การจัดการพื้นที่เก็บผัก 2.การจัดการพื้นที่ห้องประชุม/ห้องปฏิบัติการ 3.เนื้อหางานสื่อสารสำหรับเครือข่าย 4.การใช้สอยจากความเป็นไปได้อื่นๆ จากนั้นมีการรวมกลุ่มออกแบบสร้างหุ่นจำลองศูนย์ผัก เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะส่งผลลัพธ์ให้กับทางชุมชนเพื่อดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงสร้างต่อไป

 

กระบวนการการออกแบบจุดรวมผักตลาดเซฟสีเขียวอย่างมีส่วนร่วมภายใต้การขับเคลื่อนและยกระดับโมเดลการเชื่อมโยงและการกระจายผลผลิตอาหารเพื่อสุขภาวะในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสงขลาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยให้กับประชาชน จากที่ทีมcrossสำรวจพื้นที่ที่จะที่เป็นจุดรวมผักเพื่อกระจายผักไปตามจุดต่างๆแล้วจึงได้มาทำกิจกรรมเพื่อเสนอภาพรวมและพื้นที่ใช้สอยตามโครงสร้างอาคารเดิมที่มี โดยแบ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยได้ข้อสรุปดังนี้ 1.พื้นที่จัดการผัก -ปัญหาหลักของการรับผักมาแล้วคือการเอาผักมากกองไว้อยู่ทางด้านหน้าของอาคารทำให้ดูไม่ถูกสุขลักษณะและไม่สวยงามจึงเห็นว่าควรจะนำผักที่รับมามาวางไว้ด้านข้างของตัวอาคารและแยกผักเป็นแต่ละประเภทในแต่ละวันจะมีผักมากน้อยไม่เท่ากันจึงต้องเพิ่มชั้นมาวางผักทั้งที่เป็นผักหนักและผักเบา -อยากให้มีการเสริมโต๊ะเก้าอี้ที่เราสามารถนำมาเป็นชั้นวางผักได้เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยที่สมบูรณ์ -มีการออกแบเพิ่มรางเลื่อนขึ้นมาเพื่อช่วยในการขนย้ายผักที่เป็นผักหนักที่อยู่ในตะกร้าเพื่อความเปนระเบียนเรียบร้อย -อยากให้เพิ่มผู้ดูแลพื้นที่ที่อยู่ประจำจัดการในเรื่องมาตรฐานผักบัญชีและสถานที่พร้อมทั้งมีโต๊ะเพื่อให้สะดวกในการจัดเก็บเอกสารและจดรายการ -อยากให้เพิ่มตู้เย็นตู้แช่ถังน้ำแข็งสำหรับผักค้างคืน -เพิ่มระบบจัดการผักระหว่างขนส่งอาจมีการห่อหุ้มกระดาษหรือผ้าพรมน้ำในระหว่างการขนส่งเพื่อผักที่ไปถึงปลายทางจะได้คงสภาพที่สวยงามและสดชื่น

2.ห้องประชุม/ปฏิบัติการสาธิต ในส่วนของห้องประชุมจะมีการใช้อยู่ 1 ถึง 2 ครั้งต่อเดือนหรือ 2-3 เดือนครั้งเป็นอย่างน้อยจึงเห็นว่าน่าจะมีการนำนวัตกรรมโต๊ะที่พับเก็บได้มาใช้เป็นห้องประชุม -เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เก้าอี้ที่ใช้นั่งประชุมควรเป็นเก้าอี้ที่วางผักได้ด้วย -เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงการบริโภคจะกินผักสดก็อยากจะบริโภคเป็นผักที่สำเร็จหรือพร้อมใช้งานเช่นอยากได้ผักที่พร้อมปรุงชุดน้ำพริกกะปิชุดแกงจืดชุดแกงเลียงจึงเห็นว่าควรจะมีส่วนตรงนี้เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า -อยากให้เพิ่มจอมอนิเตอร์สำหรับผู้ที่มาดูงานจะได้เปิดใช้งานได้เลยรวมถึงไมโครโฟนลำโพงเครื่องเสียงเพราะจากเดิมคือขอความอนุเคราะห์จากทางอบต.

3.เนื้อหางานสื่อสาร content -จัดให้มีเอกสารเนื้อหาไว้แจกสำหรับผู้มาเยี่ยมชมและมีคนอธิบาย -ส่งเสริมการทำรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์เช่น facebook -จัดทำนิทรรศการเล่าเรื่องราวความเป็นมาของกลุ่มเอกลักษณ์และความโดดเด่นของกลุ่มอาทิเช่นการปลูกผักแบบปลอดภัยรวมถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่ม -รับสมัครสมาชิกกลุ่มให้ชัดเจนและมีรูปสมาชิก -จัดทำแผนผังคณะกรรมการที่มีส่วนร่วมพร้อมภาพสมาชิก -สร้างกลุ่มไลน์โดยมี admin เป็นตัวเชื่อมระหว่างกลางระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิต -จัดบอร์ดนำเสนอข้อมูลสินค้าขายดี -จัดทำบอร์ดนิทรรศการแบบพับได้เพื่อลดการใช้พื้นที่ -จัดอบรมให้ความรู้เรื่องผักปลอดภัยต่อสมาชิกในกลุ่ม -จัดทำนิทรรศการที่สามารถเคลื่อนย้ายไปออกนอกสถานที่ได้ -จัดทำคนต้นแบบแปลงผักต้นแบบเพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิก -ภาพตัวอย่างสินค้า -จัดทำข้อมูลนำเสนอสินค้าขายดีของสมาชิกแต่ละคนในแต่ละเดือน -ผลิตคลิปลง YouTube เพื่อกระจายความรู้ให้คนภายนอก -จัดทำข้อมูลรวบรวมผลผลิตของสมาชิกในแต่ละเดือน -จัดทำข้อมูลวิธีการปลูกผักที่ปลอดสารเคมี -จัดทำข้อมูลสรรพคุณของผักแต่ละชนิดที่นำไปปรุงอาหารว่าได้ประโยชน์อย่างไรหรือควรนำผักชนิดนั้นๆไปใช้ยังไงให้เกิดประโยชน์ด้านคุณค่าทางอาหารสูงสุด -จัดทำ story เชื่อมโยงระบบการขายจากชุมชนไปที่โรงงานเพื่อให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ -จัดบอร์ดที่มาของกลุ่มทีมงานและการบริหารกลุ่มโดยละเอียด -อยากให้มีการแนะนำชาวบ้านและคนในชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญของการปลูกผักทานเอง -อยากให้มีนิทรรศการที่อัพเดทข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

4.อื่นๆ(จุดขายของ/ห้องน้ำ/เคาน์เตอร์) -จากโครงสร้างเดิมที่มามีอยู่อยากปรับปรุงตัวอาคารตัวหลังคาเพื่อให้มีความแข็งแรงและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น -อยากเพิ่มความเย็นให้กับตัวอาคารมีผู้เสนออยากให้มีสปริงเกอร์เพื่อที่จะเอาน้ำขึ้นไปข้างบนจะได้ลดความร้อนตรงจุดนี้ได้ -ที่สำคัญคือป้ายกลุ่มที่ใหญ่และเห็นชัดเจนติดไว้ด้านหน้า -อยากให้มีการแยกห้องน้ำหญิงชายและเปลี่ยนเป็นชักโครกเนื่องจากมีผู้สูงอายุมาใช้บริการอยู่บ่อยๆ -การดูแลสินค้าเนื่องจากผักผลไม้บางชนิดเป็นประเภทอ่อนไหวต่ออากาศและการขนส่งจึงอยากให้มีกล่องที่ปิดมิดชิดเพื่อความสะอาดและความปลอดภัยในระหว่างการขนส่งด้วย -อยากให้มี packaging ที่เป็นแบรนด์ของกลุ่มจะทำให้ดูน่าเชื่อถือและพัฒนาเป็นของฝากเป็นของที่ระลึกได้ -เรื่องการดูแลการบริหารจัดการ อยากให้เพิ่มจำนวนคนทำบัญชีที่มีระบบที่อยู่เป็นประจำโดยอาจจะมีค่าแรงมอบให้ มีพื้นที่ในการเก็บเงินที่ชัดเจน การทำบิลให้ดูมาตรฐาน เสนอให้มีการลงโปรแกรมดูความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายซึ่งอาจจะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยจัดการในส่วนนี้ หลัวจากนั้นทางทีมCROSSจึงได้ออกแบบโครงสร้างตัวอาคารให้เข้ากับความต้องการของทางกลุ่มเพื่ินำเานอให้ทางกลุ่มคุยกับทางช่างอีกครั้งหนึ่ง

 

กิจกรรมเปิดป้ายจุดรวบรวมและกระจายผลผลิตอาหาร พร้อมมอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวม และจำหน่ายผลผลิตให้แก่วิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์) 2 ก.ย. 2567 2 ก.ย. 2567

 

“กิจกรรมเปิดป้ายจุดรวบรวมและกระจายผลผลิตอาหาร พร้อมมอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวมและจำหน่ายผลผลิตให้แก่วิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์)” - กล่าวรายงานการดำเนินงานการเชื่อมโยงผลผลิตอาหารของชุมชน (การรวมกลุ่ม การจัดตั้งจุดรวบรวม และจุดจำหน่าย (ตลาดเวฟสกินฯ)โดยนายศุภชัย ชูเชิด ประธานวิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์) - นโยบายของเทศบาลในการสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ที่เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ) โดยนายสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก - การสนับสนุนของบริษัท เซฟสกิน เมดิคอล แอนด์ ไซเอนทิฟิก ประเทศไทย จำกัด ในการพัฒนาความร่วมมือด้านการส่งเสริมตลาดชุมชน โดยผู้เทนจากบริษัท เซฟสกินฯ - ความร่วมมือการทำงานยกระดับจุดรวบรวมและกระจายผลผลิตอาหาร ของเทศบาลตำบลปริก โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ -      กล่าวเปิดงาน และให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรแบบหลากหลาย การส่งเสริมอาชีพ เน้นย้ำเรื่องการสร้างอาชีพเสริมโดยท่านนายอำเภอ นายวิเชษต์ สายกี้เส้ง นายอำเภอสะเดา
-      เปิดป้ายจุดรวบรวมและกระจายผลผลิตอาหารของวิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์) โดยนายอำเภอสะเดา นายวิเชษต์ สายกี้เส้ง และตัวแทนจากสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เทศบาลตำบลปริก และบริษัท เซฟสกิน เมดิคอล แอนด์ไซเอนทิฟิก ประเทศไทย จำกัด -      เยี่ยมชมตลาดเซฟสีเขียวของบริษัท เซฟสกิน เมดิคอล แอนด์ ไซเอนทิฟิก ประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นตลาดจำหน่ายผลผลิตของวิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์)

 

ทางผู้บริหารเทบาลตำบลปริก ได้วางแนวทางในการแก้ปัญหา โดยการแปลงหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียงสู่การ