โครงการการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยใน ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง
เพื่อเก็บข้อมูลสารปนเปื้อนในผักสดและอาหารสดมาสู่การวิเคราะห์อาหารปลอดภัยตำบลนาท่อม
คณะทำงาน คคบ ช่วยกันเก็บตัวอย่าง พืชผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์อาหารสอดจากแม่ค้าในตลาด มาทำการตรวจค้าหาสาริคมีตกค้างโดยใช้น้ำยาทางเคมีในการตรวจชุดตรวจหายาฆ่าแมลง(Tv Kit) ชุดทดสอบฟอร์มาลินในอาหาร ชุดทดสอบบอแรกซ์ในอาหาร ชุดทดสอบสารกันรา(ซาลิซิลิค)ในอาหาร ชุดทดสอบสารฟอกขาวในอาหาร ชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ ชุดทดสอบสารเร่งเนื้อแดง
ผลผลิต (Output)
- คคบ.ตำบลนาท่อมจำนวน 14 คน ที่ประกอบไปด้วย 3 ภาคส่วน คือ เทศบาล รพสต.บ้านนาท่อม สสอ.พัทลุง และอสม เป็นตัวแทนภาคประชาสังคม สามารถดำเนินการตรวจอาหารเพื่อหาสารปนเปื้อนได้เอง
ผลลัพธ์ (Outcome)
- คคบ.ตำบลนาท่อม มีความรู้และสามารถดำเนินการตรวจหาสารปนเปื้อนในพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์และอาหารสดในตลาด ได้เอง
- คคบ ที่มาจากภาคส่วนต่างๆ มีความรู้และได้ให้ความรู้แก่ผู้ผู้ประกอบการหรือแม่ค้า ที่เป็นผู้จำหน่าย และได้ให้ความรู้แกผู้บริโภคหรือลูกค้า เพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย
- เก็บตัวอย่าง จำนวน 44 ตัวอย่าง ในวันที่ 21 และ 23 พฤษภาคม 2562 ผลปรากฏว่า ไม่พบ 36 ตัวอย่าง และ พบ จำนวน 8 ตัวอย่าง โดยจำแนกตามชนิดสารปนเปื้อน ดังนี้
- สารตกค้างยาฆ่าแมลง(TvKit) 2 ตัวอย่าง พบ 1 ตัวอย่าง (ผักกาดขาว)
- บอแรกซ์ 7 ตัวอย่าง พบ 1ตัวอย่าง
- สารกันรา 7 ตัวอย่าง พบ 3 ตัวอย่าง
- ฟอร์มาลิน 9 ตัวอย่าง ไม่พบ
- สารฟอกขาว 11 ตัวอย่าง พบ 1ตัวอย่าง
- น้ำมันทอดซ้ำ 5 ตัวอย่าง พบ 2 ตัวอย่าง
- สารเร่งเนื้อแดง 3 ตัวอย่าง ไม่พบ
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลนาท่อม(คคบ) จำนวน 14 คน นำโดยเทศบาลตำบลนาท่อม ประกอบด้วย ปลัดเทศบาล หัวหน้าสำนักงานปลัด และเจ้าหน้าที่ ในส่วนของ รพสต.ตำบลนาท่อม นำโดย ผอ.รพสต ตัวแทนจากสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง 1 คน และจากภาคสวนภาคประชาสังคม คือ อสม ทำหน้าที่ร่วมกันตรวจหาสารเคมี 7 ชนิดที่ตกค้างในอาหารสด ในตลาด ในพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์และอาหารสดที่วางขายในตลาด
1.ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย(แม่ค้า)และผู้บริโภค ลูกค้า ยังขาดความรู้การบิโภคที่ปลอดภัย
- แนวทางแก้ การให้ความรู้จากหน่าวยงานที่มีบทบาทเกี่ยวข้องและจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมีความสำคัญจะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีความรู้เกิดความตระหนักสามารถยกระดับตลาดสดได้ในระยะยาว
1.สนับสนุนการจัดทำสื่อ องค์ความรู้ เผยแพร่ให้ชุมชนมีควมรู้ตระหนักเพิ่ม
เสนอเข้าสู่แผนของเทศบาลทุกปีเพื่อสาร้างและพัฒนากิจกรรมที่สอดกัน