สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการการขยายผลรูปแบบการดำเนินงานบูรณาการระบบอาหารปลอดภัยใน ต.นาท่อม อ.เมือง จ.พัทลุง

ประชุมคณะทำงาน 47 พฤศจิกายน 2561
7
พฤศจิกายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย นายถาวร คงศรี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อหารูปแบบแนวทางการจัดการระบบอาหารปลอดภัยระดับตำบลนาท่อม ในประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย อย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

            กลุ่มผู้เข้าร่วมประชุม คุยประเด็นแผนงานอาหารปลอดภัยของตำบลนาท่อมกับสภาแกนนำ ที่ได้นำเสนองานตัวเองจนได้รับการคัดเลือกให้เป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่มีอัตลักษณ์ การจัดการอาหารปลอดภัยโดดเด่น  โดยใช้สัญลักษณ์ มัสคอสผึ้งยิ้มหิ้วปิ่นโต  สะท้อนการเป็นชุมชนที่ปลอดสารเคมี  มีอาหารที่ปลอดภัย เป็นชุมชนที่น่าอยู่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
          คณะทำงาน ร่วมกับ สภาแกนนำ สื่อสารการเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการอาหารปลอดภัย ในระดับตำบล ที่มีการสื่อสารด้วย เพลง  ด้วย VCD  ด้วยแผ่นพับ  ด้วยสื่อทางเฟสบุก ผ่านช่องทางไลน์  5  วัน ระว่างวันที่ 7- 11  พ.ย 2560  สถานที่ เซ็นต์ทรัลเฟสติเวล หาดใหญ่ โดยการแนะนำชุมชนให้เป็นที่รู้จัก สร้างเครือข่ายโดยมีเป้าประสงค์ให้ชุมชนเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีผลผลิตอาหารที่ปลอดภัย มีกิจกรรมปั่นจักรยานโดดเด่นสะท้อนให้เห็นคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  อยากเชิญชวนให้คนมาท่องเที่ยว จับจ่ายชื้อของผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยของชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนบ้านหูยาน เป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่มีอัตลักษณ์ การจัดการอาหารปลอดภัย โดยใช้มัสคอสผึ้ง สะท้อนการเป็นชุมชนที่ปลอดสารเคมี มีอาหารที่ปลอดภัย เป็นชุมชนที่น่าอยู่คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  • ชุมชนหูยานมีสื่อสารการเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการอาหารปลอดภัย ในระดับตำบล ที่มีการสื่อสารด้วย เพลง ด้วย VCD ด้วยแผ่นพับ ด้วยสื่อทางเฟสบุก ผ่านช่องทางไลน์ 5 วัน ระว่างวันที่ 7- 11 พ.ย 2560  สถานที่ เซ็นต์ทรัลเฟสติเวล หาดใหญ่
  • เทศบาลตำบลนาท่อมตั้งงบประมาณเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนที่ใช้ กิจกรรม ผึ้งจะรักษ์นาท่อมสื่อสาร ขยายผลการเลี้ยงผึ้งทั้งตำบลและร่วมกันประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพตำบลนาท่อมที่มุ่งเน้นเรื่องการจัดการอาหารปลอดภัย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน 6 คน เป็นคณะทำงานท่องเที่ยวชุน OTOP นวัตวิถี
  • สภาแกนนำบ้านหูยาน 6 คน นำเสนอพื้นที่ชุมชนหูยาน เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่เน้นการท่องเที่ชุมชน ครอบครัวอบอุ่น คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาหารที่ปลอดภัย ใช้มัสคอสผึ้งสื่อสารถึงความอุดมสมบูรณ์ มีผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยตัวอื่นๆหลากหลาย
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

งบประมาณ - ความต่อเนื่องของงบประมาณเทศบาลในการสนับสนุน แนวทางแก้ไข - แปลงเป็นนโยบาย เป็นหลักสูตรการเรียนการสอน พัฒนาด้านเศรษฐกิจอาหารปลอดภัย สร้างสือที่เป็นอัตลักษณ์

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

เพิ่มการสื่อสารเชิงสัญลักษ์มากขึ้น ใช้ตัวมัสคอสเพื่อการสื่อสารสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นกับทุกวัยในเรื่อง การเลิกใช้สารเคมีในชุมชน