สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงานและเชื่อยร้อยเครือข่ายในจังหวัดของแกนนำเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วงและคณะทำงาน28 กรกฎาคม 2562
28
กรกฎาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย นายสมนึก นุ่นด้วง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างเครือข่ายและขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. คณะทำงาน แกนนำ ภาคีที่เกี่ยวข้อง  20 คน ออกเดินทางโดนรถตู้ 2 คัน จากเทศบาลตำบลโคกม่วง  เวลา 09.00 น  ถึงศูนย์เรียนรู้กองทุนยาไส้ยาใจ สวนเรียนรู้พัธุกรรมพืชตำบลลำสินธ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีนายสหจร  ชุมคช เป็นวิทยากร  ให้ข้อคิดเรื่องการใช้พื้นที่สวนยางเป้นแหล่งอาหารของชุมชน ที่สามารถสร้างรายได้เสริมเศรษฐกิจครัวเรื่อนได้         : ป่ายางสร้างความสมบูรณ์  นายสหจร  ชุมคช ได้บอกถึงการสร้างความมั่นคงในสวนยางสรุปได้ว่า  "จากการได้ท่องเที่ยวไปหาประสบการณ์ชีวิตอยู่ภายนอกหลายปี ก่อนที่จะกลับมาทำสวนยางอย่างจริงจัง ด้วยหลักคิดว่าสวนยางต้องมีทุกอย่างที่เราต้องกินต้องใช้ สวนยางจึงต้องเป็นป่ายาง รอบสวนยางผมปลูกกระพ้อ เป็นแนวกันลม ป่ายางมีพืชใต้ดิน พืชคลุมดิน พืชชั้นกลาง พืชชั้นเรือนยอด ซึ่งประกอบด้วยพืชอาหาร  พืชสมุนไพร และพืชเศรษฐกิจ ผมทำป่ายางมา 12 ปี ดินดีขึ้น ความชื้นเพิ่มขึ้น ความหลากหลายทางพันธุกรรมมากขึ้น มีพืชอาหารมากมาย ราคายางจะถูก จะแพง ผมก็มีรายได้ตลอด" รับประทานอาหารว่าง แล้วลงเยี่ยมชมป่ายาง  กลับมารับประทานอาหารกลางวันที่ศูนย์ฯ
    2.  เดินทางถึงตลาดใต้โหนด ตลาดชุมชนอนุรักษ์วิถีชุมชน ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง  เป็นแหล่งซื้อขายผลิต อาหารปลอดภัยจากชุมชนใกล้เคียง ดำเนินการโดยการมุ่งเน้นที่เศรษฐกิจชุมชน สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม  ไม่หวังผลในเชิงธุรกิจ ซึ่งชุมชนใดๆ มีความพร้อมก็สมารถจำลองแบบมาดำเนินการเพื่อการซื้อขาย แลกเปลี่ยนผลิตอาหารปลอดภัยจากชุมชนได้ 3.  เดินทางถึงศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง "ตามรอยพ่อ" ไร่มังกรทอง หมู่ที่ 5 ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เรียนรู้เรื่องการเกษตรธรรมชาติผลิตอาหารปลอดสารเคมี โดยมีนายเริงโรจน์  ปานภักดี  ผู้ช่วยปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง เป็นวิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง "ตามรอยพ่อ" ไร่มังกรทอง ร่วมเรียนรู้การขยายพันธุ์จุลินทรีย์เพื่อการย่อยสลายเพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืชและสัตว์  เพื่อเป้นสารทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีอื่นๆ ในการทำการเกษตรปลอดสารเคมี  เกษตรธรรมชาติ เกษตรผลมผสาน เกษตรอินทรีย์ เพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนต่อไป 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าเรียนรู้ได้เห็น ได้รู้ ได้ทดลอง ได้ลงมือทำ การเก็บจุลินทรีย์  การขยายพันธุ์จุลินทรีย์ เพื่อการย่อยสลายเพื่อปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืชและสัตว์
ได้เห็น ได้เรียนรู้ การหมักปุ๋ยจากวัสดุอินทรีย์ ซากพืช ซากสัตว์ โดยไม่มีกลิ่นรบกวน
ได้เห็น ได้เรียนรู้ การผลิตปุ๋ยน้ำหมักสูตรต่างๆ เพื่อการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ได้เรียนรู้ การเลี้ยงสัตว์ ด้วยวิธีเกษตรธรรมชาติ พึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยไม่มีสิ่งใดที่เหลือจากกระบวนการเลย  ทุกผลผลิตจะเชื่อร้อยกันเป็นห่วงโซ่ ช่วยให้ลดต้นทุน และเป็นแรงจูงใจเสริมพลังสู่การดำเนินการ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

แกนนำหมู่บ้าน 13 คน คณะทำงาน 5 คน ภาคี  2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  1. พื้นที่สมควรจะเชิญวิทยากรไปให้ความรู้เป็นกลุ่มย่อยในพื้นที่ปฏิบัติจริง  เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าถึงง่ายขึ้น และเพิ่มจำนวนผู้เรียนรู้ได้มากขึ้น
  2. แกนนำสมควรรวมกลุ่มเข้าเรียนรู้แบบเข้ม เพื่อพัฒนาศักยภาพ
  3. ควรประสานเครือข่ายไว้เป้นภาคีในการกระจายผลิตในโอกาสต่อไป